Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2021

Discipline
Institution
Keyword
Publication
Publication Type
File Type

Articles 24601 - 24630 of 25407

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

Do I Desire Chatbots To Be Like Humans? Exploring Factors For Adoption Of Chatbots For Financial Services, Moses Sugumar, Shalini Chandra Jan 2021

Do I Desire Chatbots To Be Like Humans? Exploring Factors For Adoption Of Chatbots For Financial Services, Moses Sugumar, Shalini Chandra

Journal of International Technology and Information Management

AI-powered chatbots are gaining traction across various industries, especially in the financial sector. Despite these implementations, chatbot adoption and usage among consumers is still low. Grounding on the unified theory of acceptance and use of technology 2 (UTAUT2) model and the Belief Desire Intentions (BDI) model, this study explores factors influencing the adoption of chatbots for financial sectors by emphasizing on the role of user desires in addition to human beliefs. Explicitly, the research hypothesizes the role of the humanness in chatbots influencing consumer adoption in the financial services sector. The suggested research model was tested via a sample of …


An Analysis Of Covid-19 Vaccine Allergic Reactions, Robert Schumaker, Michael Veronin, Trevor Rohm, Rohit Dixit, Shadi Aljawarneh, Juan Lara Jan 2021

An Analysis Of Covid-19 Vaccine Allergic Reactions, Robert Schumaker, Michael Veronin, Trevor Rohm, Rohit Dixit, Shadi Aljawarneh, Juan Lara

Journal of International Technology and Information Management

From our study, all three covid-19 vaccines have a similar proportion of adverse reaction reports in which the patient had a history of allergies. However, the proportion of life-threatening outcomes were lower for those with the Janssen vaccine (0.62% hospitalization rate for Janssen versus 2.59% for Pfizer and 0.60% death for Janssen versus 5.15% for Moderna). In terms of specific allergies, patients with *cillin or sulfa allergies had the most adverse reactions to covid-19 vaccines, however, Janssen again had the lowest percentage of reported deaths (1.39% for *cillin-related allergy deaths for Janssen versus 6.10% for Pfizer). In terms of patient …


Innovativeness To Enlarge Digital Readiness - How To Avoid Digital Inertia?, Paul Morsch Jan 2021

Innovativeness To Enlarge Digital Readiness - How To Avoid Digital Inertia?, Paul Morsch

Journal of International Technology and Information Management

Technological developments go fast and are interrelated and multi-interpretable. As consumer needs change, the technological possibilities to meet those needs are constantly evolving and new technology providers introduce new disruptive business models. This makes it difficult to predict what the world of tomorrow will look like for an organization and that makes the risks for organizations substantial. In this context, it is difficult for organizations to determine what constitutes a good strategy to adopt digital developments.

This paper describes a first step of a study with the objective to design a method for organizations to formulate a future-proof strategy in …


Exploring The Behavioral Intention To Use Collaborative Commerce: A Case Of Uber, C. Christopher Lee, Sinéad Ruane, Hyoun Sook Lim, Ruoquing Zhang, Heechang Shin Jan 2021

Exploring The Behavioral Intention To Use Collaborative Commerce: A Case Of Uber, C. Christopher Lee, Sinéad Ruane, Hyoun Sook Lim, Ruoquing Zhang, Heechang Shin

Journal of International Technology and Information Management

The goal of our research study is to develop a hybrid instrument built on the revised Unified Theory of Acceptance and Use of Technology (UTAUT2) framework, which is reliable in predicting the behavioral intention to use the Uber ridesharing app. It focuses on extending the UTAUT2 in collaborative consumption, particularly from a consumer and ridesharing-app perspective. Our proposed framework, UTAUT-CC, preserves existing UTAUT2 constructs – performance expectancy, effort expectancy, social expectancy, and facilitating conditions. It also retains demographic moderating variables of age and gender, while maintaining some of the key integral relationships depicted in those models. We integrated three new …


Consumers’ Perceived Credibility Of Beauty Key Opinion Leaders And Online Engagement With Beauty Brands On Twitter, Natchapa Deeudomwongsa Jan 2021

Consumers’ Perceived Credibility Of Beauty Key Opinion Leaders And Online Engagement With Beauty Brands On Twitter, Natchapa Deeudomwongsa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to explore how consumers perceived the credibility of beauty key opinion leaders, how consumers engage with beauty brands reviewed by these beauty key opinion leaders and whether the two variables correlate with one another. The research was conducted on 200 respondents with the age range of 18 to 37 who were followers of one of the two beauty key opinion leader representatives on Twitter. Through the use of online questionnaire, the results indicated that overall, the perceived credibility of beauty key opinion leaders was positive (M = 4.08) with expertise receiving the highest average score of 4.15. …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานช่วงWfh และความท้าทายในการจัดการของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, ปิยฉัตร คีรีมาศทอง Jan 2021

ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานช่วงWfh และความท้าทายในการจัดการของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, ปิยฉัตร คีรีมาศทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานช่วง WFH ของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานช่วง WFH ของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดสรรบุคลากรของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในการทำงานในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 (COVID 19) ใช้วิธีวิจัยเชิงผสมผสาน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 400 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 6 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานช่วง WFH ของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 2) ปัจจัยด้านการทำงานที่มีผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานช่วง WFH ของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ด้านลักษณะงาน ด้านเทคโนโลยี และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 3) ผลการศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพทำให้ทราบถึงการจัดแผนการดำเนินงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 (COVID 19) และแนวทาง ข้อเสนอแนะในการปรับรูปแบบการบริหารจัดการ การบริหารทรัพยากรบุคคล การเตรียมความพร้อม และการวางแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินในอนาคตของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย


Fear Appeals For Increasing Intentions To Have Colorectal Cancer Screening Among High-Risk Adults: Moderating Role Of Tripartite Self-Construal, Suprapa Sa-Ngasri Jan 2021

Fear Appeals For Increasing Intentions To Have Colorectal Cancer Screening Among High-Risk Adults: Moderating Role Of Tripartite Self-Construal, Suprapa Sa-Ngasri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Colorectal cancer (CRC) is considered a threat to life. Early detection is key to effective treatment. Fear appeal is one of the most famous techniques to persuade people to uptake CRC screening. This current study attempted to replicate the congruent effect of cultural orientation at an individual level and fear message types. A 3 (self-construal) x 2 (self-threatened versus family-threatened) factorial research design was employed to examine the effect of tripartite self-construal and the types of fear message on the perceived threat, feelings of fear, attitude and intention toward CRC screening among Thais. One hundred and thirty-three adults aged between …


ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและองค์การสาธารณกุศลในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย: กรณีศึกษาอุทกภัย จังหวัดนครศรีธรรมราช, พรรณภัทร ราชาภรณ์ Jan 2021

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและองค์การสาธารณกุศลในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย: กรณีศึกษาอุทกภัย จังหวัดนครศรีธรรมราช, พรรณภัทร ราชาภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อุทกภัยปี 2563 ในจังหวัดนครศรีธรรมราชสร้างความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างมาก สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครศรีธรรมราชร่วมมือกับองค์การสาธารณกุศล เพื่อกระจายความช่วยเหลือให้ผู้ประสบภัยอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว จากการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จระหว่างองค์กรภาครัฐและองค์การสาธารณกุศลในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย: กรณีศึกษาอุทกภัย จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ปัจจัยผู้นำ ที่มีความเข้าใจในงาน มีความเด็ดขาดช่วยแก้ไขปัญหา และใส่ใจในผู้ปฏิบัติงาน, ปัจจัยวัตถุประสงค์ของแต่ละองค์การที่ชัดเจนและสอดคล้องกัน และปัจจัยอำนาจตัดสินใจในการปฏิบัติงาน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติงานได้รวดเร็วและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันที ส่วนปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคของความร่วมมือฯ ได้แก่ ปัจจัยการติดต่อสื่อสารและประสานงาน ที่ยังมีความยากลำบากและความยุ่งยากในความร่วมมือ, ปัจจัยความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานซึ่งแตกต่างกัน ทำให้การปฏิบัติงานเกิดความติดขัด, ปัจจัยทรัพยากรในการปฏิบัติงาน ทั้งงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์กู้ภัยยังไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และปัจจัยการแสวงหาผลประโยชน์และการแทรกแซงการปฏิบัติงานจากบุคคลภายนอก นำไปสู่การลาออกของผู้ปฏิบัติงาน ผู้วิจัยได้นำเสนอตัวแบบสานพลังจัดการสาธารณภัยเพื่อปรับปรุงและพัฒนาความร่วมมือของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครศรีธรรมราชกับองค์การสาธารณกุศลในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีกระบวนการความร่วมมือเป็น 3 ระยะ ตั้งแต่ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย


การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาโครงการที่ได้รับรางวัลประเภทสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม, คณิศรา มีธรรมสวนะ Jan 2021

การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาโครงการที่ได้รับรางวัลประเภทสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม, คณิศรา มีธรรมสวนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รางวัลประเภทสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม (Effective Change) เป็นประเภทรางวัลที่สำนักงานก.พ.ร. มอบให้กับหน่วยงานของรัฐเพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจในการเปิดระบบราชการ นำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานภาครัฐและคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งนี้ ผู้วิจัยต้องการศึกษาถึงโครงการที่ประสบผลสำเร็จในการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมว่าปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเกิดการมีส่วนร่วมของโครงการ โดยศึกษาจากการให้รางวัลของสำนักงาน ก.พ.ร. จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ การบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมในระบบนิเวศ 3 น้ำ แพรกหนามแดง โครงการชลประทานสมุทรสงคราม และโครงการก้าวสู่อุทยานธรณีโลกด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน จังหวัดสตูล (Global Geoparks) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยด้วยเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) แบ่งเป็นตัวแทนจากภาครัฐและภาคประชาชน 2 โครงการรวมทั้งสิ้นจำนวน 14 คน ซึ่งจากการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเกิดการมีส่วนร่วม ได้แก่ ปัจจัยผู้นำ ปัจจัยความรู้ในการเข้าร่วมโครงการ ปัจจัยการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ปัจจัยความพร้อมด้านบุคลากร และปัจจัยการจัดสรรทรัพยากร นอกจากนี้พบว่าปัจจัยความรู้ในการเข้าร่วมโครงการและปัจจัยความพร้อมด้านบุคลากรเป็นปัญหาอุปสรรคที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้สรุปประเด็นเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของแต่ละปัจจัยในการดำเนินโครงการและได้เชื่อมโยงผลการศึกษากับแนวคิดกลยุทธ์การพัฒนาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานภาครัฐอื่น


ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกปฏิบัติต่างเพศในที่ทำงานกับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานที่มีอัตลักษณ์หลากหลายทางเพศ โดยมีกลยุทธ์การจัดการอัตลักษณ์ทางเพศในที่ทำงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ณัชนิกข์ เชี่ยวชาญ Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกปฏิบัติต่างเพศในที่ทำงานกับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานที่มีอัตลักษณ์หลากหลายทางเพศ โดยมีกลยุทธ์การจัดการอัตลักษณ์ทางเพศในที่ทำงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ณัชนิกข์ เชี่ยวชาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลส่งผ่านของกลยุทธ์การจัดการอัตลักษณ์ทางเพศในที่ทำงานต่อความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกปฏิบัติต่างเพศในที่ทำงานกับความพึงพอใจในการทำงาน โดยการเก็บข้อมูลจากพนักงาน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มชายรักชาย (gay), พนักงานกลุ่มหญิงรักหญิง (lesbian) และพนักงานกลุ่มรักสองเพศ (bisexual) จำนวน 200 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามสมมติฐาน พบว่า การเลือกปฏิบัติต่างเพศในที่ทำงานมีความสัมพันธ์ทางลบต่อความพึงพอใจในการทำงาน (b = -.31, p < .01) และพบว่ากลยุทธ์การปกปิดและกลยุทธ์การเปิดเผยอย่างไม่ได้ตั้งใจมีอิทธิพลส่งผ่านระหว่างการเลือกปฏิบัติต่างเพศ ในที่ทำงานและความพึงพอใจในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแบบบางส่วน (partial meditation) (bCO = -.08, p < .01) (bIO = -.05, p < .01) หมายความว่า ทั้งกลยุทธ์การปกปิดและกลยุทธ์การเปิดเผยอย่างไม่ได้ตั้งใจไม่สามารถ ทำให้อิทธิพลระหว่างการเลือกปฏิบัติต่างเพศในที่ทำงานและความพึงพอใจในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลยุทธ์การข้ามผ่านและกลยุทธ์การเปิดเผยอย่างไม่ได้ตั้งใจไม่มีอิทธิพลส่งผ่านระหว่างการเลือกปฏิบัติต่างเพศในที่ทำงานและความพึงพอใจในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (bPA = -.02, p = .75) (bEO = -.03, p = .70) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเลือกปฏิบัติต่างเพศในที่ทำงานมีอิทธิต่อความพึงพอใจในการทำงานเป็นอย่างมากและกลยุทธ์การจัดการอัตลักษณ์ทางเพศในที่ทำงานไม่สามารถมีอิทธิพลส่งผ่านอย่างสมบูรณ์ (fully mediation)ได้ ดังนั้นองค์การควรสนับสนุนให้เกิดการยอมรับและลดการเลือกปฏิบัติต่างเพศในที่ทำงานด้วยการกำหนดนโยบายและมีการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อเสริมสร้างความรู้สึกปลอดภัยกับพนักงานที่มีอัตลักษณ์หลากหลายทางเพศในที่ทำงาน


ผลของการบำบัดโดยใช้ถาดทรายเป็นสื่อต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีประสบการณ์การถูกกลั่นแกล้งรังแก, ปุณณภา จิราวัฒนกูล Jan 2021

ผลของการบำบัดโดยใช้ถาดทรายเป็นสื่อต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีประสบการณ์การถูกกลั่นแกล้งรังแก, ปุณณภา จิราวัฒนกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลองทดลองแบบกรณีเดียว (Single-case Experimental Design) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบำบัดโดยใช้ถาดทรายเป็นสื่อต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีประสบการณ์การถูกกลั่นแกล้งรังแก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อายุระหว่าง 15-18 ปี มีประสบการณ์การถูกกลั่นแกล้งรังแกรูปแบบต่างๆ และมีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองในเชิงลบ จำนวน 5 คน โดยกลุ่มตัวอย่างทุกคนจะถูกเข้าร่วมโปรแกรมการบำบัดโดยใช้ถาดทรายเป็นสื่อรูปแบบรายบุคคลสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง รวม 8 ครั้ง ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ และเก็บข้อมูลจากแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองของ Rosenberg (RGSE) จากทั้งหมด 3 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนดำเนินการบำบัดโดยใช้ถาดทรายเป็นสื่อเพื่อวัดเป็นเส้นฐาน 4 ครั้ง ระยะการบำบัดโดยใช้ถาดทรายเป็นสื่อ 8 ครั้ง และระยะติดตามผล 4 ครั้ง รวมเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 16 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าความเปลี่ยนแปลงของคะแนน (Level comparison) และการวิเคราะห์ขนาดอิทธิพล (PEM) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองที่สูงขึ้นในระยะจัดกระทำและระยะติดตามผลเมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนในระยะเส้นฐาน โดยส่งอิทธิพลต่อการเพิ่มขึ้นของการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในระดับสูง จำนวน 4 คน และระดับปานกลาง จำนวน 1 คน


ความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานต่อความเหนื่อยล้าในการทำงาน โดยมีงานที่มีความหมายเป็นตัวแปรกำกับ ในพนักงานรับฝากพัสดุ องค์การขนส่งและโลจิสติกส์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, พรพิเศษ ศศิวิมล Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานต่อความเหนื่อยล้าในการทำงาน โดยมีงานที่มีความหมายเป็นตัวแปรกำกับ ในพนักงานรับฝากพัสดุ องค์การขนส่งและโลจิสติกส์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, พรพิเศษ ศศิวิมล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานต่อความเหนื่อยล้าในการทำงาน และศึกษาอิทธิพลกำกับของงานที่มีความหมายต่อความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานกับความเหนื่อยล้าในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานรับฝากพัสดุ องค์การขนส่งและโลจิสติกส์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 441 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย (1) ข้อคำถามข้อมูลทั่วไป เช่น เพศ อายุงาน (2) มาตรวัดภาระงาน (workload scale) 3 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ (3) มาตรวัดงานที่มีความหมาย (the Work and Meaning Inventory scale: WAMI scale) และ (4) มาตรวัดความเหนื่อยล้าในการทำงาน (the Three-Dimensional Work Fatigue Inventory: 3D-WFI scale) 3 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ผลการวิเคราะห์พบว่า งานที่มีความหมายมีอิทธิพลกำกับทางลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานทางจิตใจกับความเหนื่อยล้าในการทำงานด้านจิตใจ (β = -.24, p < .05) และมีอิทธิพลกำกับทางลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานทางจิตใจกับความเหนื่อยล้าในการทำงานด้านอารมณ์ (β = -.26, p < .05) อย่างมีนัยสำคัญ งานวิจัยนี้ยืนยันสมมติฐานหลักที่ว่า การที่พนักงานรับรู้ถึงคุณค่าและงานที่มีความหมายจะช่วยลดความเหนื่อยล้าในการทำงานด้านจิตใจและอารมณ์ อันเกิดจากความตึงเครียดของภาระงานทางด้านจิตใจได้ ดังนั้น องค์การควรมีการสนับสนุนในด้านการรับรู้ถึงงานที่มีความหมายของพนักงาน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดความเหนื่อยล้าในการทำงานโดยเฉพาะด้านจิตใจและด้านอารมณ์


ความสัมพันธ์ระหว่างกรอบความคิดแบบเติบโตและการผูกใจมั่นในการเรียนรู้ออนไลน์โดยมีการรับรู้ความสามารถเป็นตัวแปรส่งผ่าน และการสนับสนุนให้อิสรภาพเป็นตัวแปรกำกับ, วิสสุตา ภักดีกุล Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างกรอบความคิดแบบเติบโตและการผูกใจมั่นในการเรียนรู้ออนไลน์โดยมีการรับรู้ความสามารถเป็นตัวแปรส่งผ่าน และการสนับสนุนให้อิสรภาพเป็นตัวแปรกำกับ, วิสสุตา ภักดีกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษากลไกความสัมพันธ์ระหว่าง กรอบความคิดแบบเติบโต และการผูกใจมั่นในการเรียนรู้แบบออนไลน์ โดยมีการรับรู้ความสามารถเป็นตัวแปรส่งผ่าน และมีการสนับสนุนอิสรภาพเป็นตัวแปรกำกับ การวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่านพบว่า ผลจากการวิเคราะห์เส้นทาง พบว่า กรอบความคิดแบบเติบโตส่งอิทธิพลทางบวกต่อการรับรู้ความสามารถ (β = .28, SE = .07, LL = .13, UL = .44], p < .001) และการรับรู้ความสามารถส่งอิทธิพลทางบวกต่อการผูกใจมั่นในการเรียนรู้ออนไลน์ (β = .59, SE = .07, LL = .45, UL = .72], p < .001) ทั้งนี้พบอิทธิพลทางตรงระหว่างกรอบความคิดแบบเติบโตต่อการผูกใจมั่นในการเรียนรู้แต่ไม่ถึงระดับนัยสำคัญ (β= .08, SE = .07, LL = -.05, UL = .21, p = .23) และพบว่ากรอบความคิดแบบเติบโตส่งอิทธิพลทางบวกต่อผูกใจมั่นในการเรียนรู้ออนไลน์ โดยมีการรับรู้ความสามารถเป็นตัวแปรส่งผ่านถึงระดับนัยสำคัญ (β = .25, SE = .08, LL = .09, UL = .40, p <.01) การวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่านตัวแปรกำกับ พบว่าการสนับสนุนอิสรภาพเป็นตัวแปรกำกับระหว่างกรอบความคิดแบบเติบโตและการรับรู้ความสามารถ (β = .20, SE = .07, LL = .06, UL = .34, p <.01) และ การสนับสนุนอิสรภาพไม่ได้เป็นตัวแปรกำกับระหว่างการรับรู้ความสามารถและการผูกใจมั่นในการเรียนรู้ (β = .01, SE = .07, LL = -.12, UL = .15, p =.86)


การสำรวจปัญหาและแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทยผ่านมุมมองซอฟต์พาวเวอร์, กฤชพนธ์ ศรีอ่วม Jan 2021

การสำรวจปัญหาและแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทยผ่านมุมมองซอฟต์พาวเวอร์, กฤชพนธ์ ศรีอ่วม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจปัญหาและสถานการณ์ของอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทย และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทยผ่านมุมมองซอฟต์พาวเวอร์ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบนิเวศอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ ได้แก่ ผู้ผลิตคาแรคเตอร์, อาจารย์มหาวิทยาลัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง, หน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน, ผู้ผลิตสินค้าคาแรคเตอร์, และกลุ่มผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมทั้งหมด 15 ท่าน เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยผู้วิจัยประยุกต์ใช้แนวคิดเกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์ 6 ด้าน มาเป็นกรอบในการศึกษาแนวทางส่งเสริมต่ออุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทย ได้แก่ ความเป็นไทย การศึกษา การส่งออกและการร่วมมือระหว่างประเทศ การประยุกต์ใช้ดิจิทัล ผู้ประกอบการจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และภาครัฐ ผลการวิจัยพบว่า อุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทยเผชิญกับสถานการณ์และปัญหาที่แตกต่างกันตามแต่ละภาคส่วน โดยปัญหาที่เป็นจุดร่วมของทั้งระบบนิเวศคือ ความเข้าใจต่อโครงสร้างของระบบนิเวศอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ และไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เป็นต้น โดยผู้วิจัยหยิบยกปัญหาที่มีความสำคัญเหล่านี้มานำเสนอเป็นแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทย ประกอบไปด้วย แนวทาง 3 วาระ ได้แก่ วาระที่ 1) แก้ปัญหาและสร้างตัวตนแก่อุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทย วาระที่ 2) พัฒนาต่อยอดคาแรคเตอร์ไทย วาระที่ 3) สร้างความผูกพันธ์ระหว่างคาแรคเตอร์ไทยกับผู้บริโภคในวงกว้าง ตลอดจนนำเสนอความเป็นไทยในแง่มุมต่าง ๆ ผ่านคาแรคเตอร์ไทย


การตกเป็นเหยื่อการซื้อขายผลิตภัณฑ์ด้านความงามผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, จิตลดา สุจิตต์ Jan 2021

การตกเป็นเหยื่อการซื้อขายผลิตภัณฑ์ด้านความงามผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, จิตลดา สุจิตต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัญหาการซื้อขายผลิตภัณฑ์ด้านความงามผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในสังคมไทย ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตกเป็นเหยื่อและการกระทำผิด รวมถึงผลลัพธ์ของการตกเป็นเหยื่อ และแนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่อ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่ม จำนวน 19 คน ประกอบด้วย ผู้เสียหาย ผู้กระทำความผิด เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีและกำกับดูแล และผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์ด้านความงามบนสื่อออนไลน์ และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยเก็บข้อมูลจากผู้เสียหายด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 27 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาที่พบ ได้แก่ ด้านกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย การชดเชยเยียวยา การควบคุมและกำกับดูแลร้านค้าออนไลน์ การควบคุมความปลอดภัยของสินค้ และการโฆษณาบนสื่อออนไลน์ โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตกเป็นเหยื่อ ได้แก่ ค่านิยมการให้คุณค่าความงาม โอกาสในการตกเป็นเหยื่อ การมีส่วนร่วมของเหยื่อ การพึ่งพาเทคโนโลยีสมัยใหม่และพฤติกรรมของเหยื่อ ทั้งนี้ การพัฒนาแนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่อในเรื่องนี้ ประกอบด้วย การปรับปรุงอัตราโทษทางกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องสำอางให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน การกำกับดูแลเพื่อควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ การบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานของต่างประเทศในการสืบสวนสอบสวน เป็นต้น


การรับมือของภาครัฐกับการก่อการร้ายทางไซเบอร์ในประเทศไทย, นัทธมน เพชรกล้า Jan 2021

การรับมือของภาครัฐกับการก่อการร้ายทางไซเบอร์ในประเทศไทย, นัทธมน เพชรกล้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นับตั้งแต่อินเทอร์เน็ตถูกคิดค้นขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในโลกไซเบอร์ ปัญหาสำคัญที่สังคมกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้คือการเพิ่มขึ้นของการโจมตีทางไซเบอร์ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับการก่อการร้ายทางไซเบอร์ แต่ละประเทศในโลกกำลังเริ่มที่จะจัดการกับข้อกังวลของการก่อการร้ายทางอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นวิธีการใหม่ในการบรรลุเป้าหมายทางการเมือง ประเทศไทยเป็นหนึ่งที่กำลังตื่นตระหนกและให้ความสนใจในประเด็นนี้ แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดหลาย ๆ ประการจึงทำให้ความก้าวหน้าในการจัดการกับประเด็นนี้มีไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์การก่อการร้ายทางไซเบอร์ในประเทศไทยและสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในประเทศไทยในอนาคต วิจัยนี้จะทบทวนคำจำกัดความของคำว่าการก่อการร้ายทางไซเบอร์เพื่อกำหนดทิศทางการทำนโยบาย และแผนการเตรียมการของหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงของการก่อการร้ายทางไซเบอร์ไปในทางที่ถูกต้อง โดยการใช้เครื่องมือวิจัยในการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้ายไซเบอร์ของแต่ละองค์กร เพื่ออธิบายสถานการณ์การก่อการร้ายทางไซเบอร์และวิธีจัดการกับมันในอนาคต ผลการศึกษาพบว่าสถานการณ์การก่อการร้ายไซเบอร์ในประเทศไทยนั้นเป็นเพียงแค่ภัยคุกคามทางไซเบอร์เท่านั้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามหน่วยงานภาครัฐของไทยก็มีศักยภาพในเรื่องของการออกกฎหมาย การใช้งบประมาณ และการเข้าถึงทางเทคโนโลยีอย่างปลอดภัยสำหรับประชาชน หากพิจารณาไปยังจุดอ่อนพบว่าประเทศไทยยังต้องมีการปรับปรุงในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย ข้อบกพร่องทางเทคโนโลยี และจำนวนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อลดจุดอ่อนที่กล่าวมา รัฐบาลจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการกระทำความผิดทางไซเบอร์ สร้างช่องทางทางอินเทอร์เน็ตใหม่ โดยที่รัฐสามารถควบคุมช่องทางทางไซเบอร์ได้ เพิ่มหลักสูตรความมั่นคงไซเบอร์ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย สร้างเครือข่ายสำรองกับประเทศอื่น ๆ หรือกับภาคเอกชนอื่น ๆ เพื่อรองรับการโจมตี


การนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ในศาลเยาวชนและครอบครัว : ศึกษาการพัฒนามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาชั้นหลังฟ้องคดี, อุดม ลาภิเศษพันธุ์ Jan 2021

การนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ในศาลเยาวชนและครอบครัว : ศึกษาการพัฒนามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาชั้นหลังฟ้องคดี, อุดม ลาภิเศษพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง การนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ในศาลเยาวชนและครอบครัว : ศึกษาการพัฒนามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาชั้นหลังฟ้องคดี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนโดยศาลเยาวชนและครอบครัวผ่านการดำเนินการตามมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาชั้นหลังฟ้องคดี ที่ได้นำแนวทางการศึกษาการนำนโยบายไปปฏิบัติมาใช้เป็นแนววิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคผ่านปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวจากขั้นตอนการนำไปปฏิบัติ และศึกษาเปรียบเทียบกับกระบวนการของต่างประเทศ นำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการดำเนินการตามมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาชั้นหลังฟ้องคดี เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการนำไปปฏิบัติโดยศาลเยาวชนและครอบครัวได้ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสังเกต การอภิปรายกลุ่ม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ให้ได้ข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์แบบอุปนัย สร้างข้อสรุปเพื่อตอบคำถามการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินการตามมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาชั้นหลังฟ้องคดี เป็นทางเลือกหนึ่งแทนกระบวนการทางตุลาการปกติ ซึ่งประยุกต์มาจากงานยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ที่ผู้กระทำสำนึกผิดเข้าสู่กระบวนการของการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายผ่านการพูดคุย ให้ได้ผลเชิงสมานฉันท์ที่ผู้เสียหายได้รับการชดเชยเยียวยา และผู้กระทำผิดได้แก้ไขบำบัดฟื้นฟูเพื่อกลับคืนสู่สังคมด้วยดี ซึ่งพบปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติโดยศาลเยาวชนและครอบครัว 5 ประการ คือ ด้านกฎหมาย ด้านคุณภาพและความพอเพียงของทรัพยากร ด้านลักษณะหน่วยงานผู้ปฏิบัติ ด้านการสื่อสารและควบคุมดูแล และด้านสภาพแวดล้อมหรือบริบท โดยสมควรปรับปรุงกฎหมาย จัดสรรทรัพยากร เพิ่มเติมหน่วยงานในองค์กรของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ และติดตามควบคุมดูแล เพื่อแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเยาวชนอย่างสมดุลกับการชดเชยเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากอาชญากรรมอย่างเหมาะสมกับบริบทของสังคม


Financial Statement Analysis : A Comparison Between Bangkok Dusit Medical Services Pcl, Bumrungrad Hospital Pcl And Thonburi Healthcare Group Pcl During Covid Pandemic, Phongsathorn Chuisrikaeo Jan 2021

Financial Statement Analysis : A Comparison Between Bangkok Dusit Medical Services Pcl, Bumrungrad Hospital Pcl And Thonburi Healthcare Group Pcl During Covid Pandemic, Phongsathorn Chuisrikaeo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Many industries are suffering greatly because of the COVID pandemic, and the hospital industry is one of them that has been disrupted since the disease first spread in Thailand in early 2020. This study demonstrates the financial performance of three Thai healthcare firm groups, BDMS, BH, and THG, as a result of economic activities intervening on both the demand and supply sides. This study will examine the financial performance of BDMS, BH, and THG during the COVID pandemic in Thailand, using financial ratio analysis to compare their performance in four areas: liquidity, efficiency, profitability, and leverage. Operational statistics analysis and …


The Determinants Of Export Performance And The Perspective To Improve International Competitiveness For Thai Fisheries Sector., Phatcharaphorn Kantasen Jan 2021

The Determinants Of Export Performance And The Perspective To Improve International Competitiveness For Thai Fisheries Sector., Phatcharaphorn Kantasen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand has been one of the major exporters in the global fish market. As globalization and economic integrations continue to increase, the Thai fisheries industry is facing increasingly tough competition from other competitors. Understanding Thailand's global competitiveness is important for the fisheries industry there to compete successfully. The study seeks to determine whether significant indicators have a significant relationship to export value and to explore ways to improve Thai fisheries sector export competitiveness. This study of export performance as the competitiveness in the fisheries sector is obtained through Porter’s diamond model and multiple regression method. The results clarify the determinants …


Assessing The Access: The Significance Of Internet Penetration On Economic Output In Thailand, Anan Vichitanan Jan 2021

Assessing The Access: The Significance Of Internet Penetration On Economic Output In Thailand, Anan Vichitanan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The COVID-19 pandemic and the digitalization of industries have emphasized the importance of Internet access in Thailand. Thai households that could not access the Internet during the COVID-19 pandemic were left behind in both education and employment. The digital divide has never become any more apparent during this moment. As such it is important to study how the Internet penetration rate, the proportion of Internet users relative to the entire population, across Thai provinces affects their economic output through productivity. The effects of the rate of Internet penetration on the growth of Gross Provincial Product will be studied. Other factors …


The Impact Of Covid-19 On Exchange Rate: Evidence Through Thai Baht, Sitang Ketloi Jan 2021

The Impact Of Covid-19 On Exchange Rate: Evidence Through Thai Baht, Sitang Ketloi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper illustrates the impact of the COVID-19 pandemic on exchange rate of Thailand by using COVID-19 confirmed cases and deaths to measures how Thai Baht volatile during the pandemic period. To examine the impact of COVID-19 on exchange rate of Thailand, the daily data of COVID-19 confirmed cases and deaths of Thailand also the historical data of Thai Baht exchange rate, determine by USD/THB, JPY/THB, and EUR/THB were collected. All data covers the period from March 1, 2020, to December 31, 2021. This study employed Ordinary Least Squares (OLS) regression to estimate the relationship of the variables. The result …


Collocation-Based Retokenization Methods For Latent Dirichlet Allocation Topic Models, Jin Cheevaprawatdomrong Jan 2021

Collocation-Based Retokenization Methods For Latent Dirichlet Allocation Topic Models, Jin Cheevaprawatdomrong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Latent Dirichlet Allocation (LDA) discovers hidden themes in documents by using words as input. Past studies show that merging the words into collocation improves topic coherence in English. However, there are still questions about the best merging strategies, especially in the languages without clear word boundaries, such as Thai and Chinese. We compare chi-squared measure, t-statistics, and raw frequency strategies, and show that merging input tokens with appropriate strategies can improve the goodness of fit and topic coherence of the model.


ประสิทธิภาพในการป้องกันอาชญากรรมของเจ้าหน้าที่สายตรวจผ่านการใช้งานระบบตู้แดงรหัสคิวอาร์: กรณีศึกษา เขตพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง, เสฎฐวุฒิ คำนามะ Jan 2021

ประสิทธิภาพในการป้องกันอาชญากรรมของเจ้าหน้าที่สายตรวจผ่านการใช้งานระบบตู้แดงรหัสคิวอาร์: กรณีศึกษา เขตพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง, เสฎฐวุฒิ คำนามะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

“ตู้แดง” ถือเป็นเครื่องมือช่วยสำคัญของเจ้าหน้าที่สายตรวจเพื่อใช้ในการดำเนินงานเพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรมตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน หน้าที่หลักคือการวางจุดตรวจตู้แดงบริเวณพื้นที่เสี่ยงและสถานที่สำคัญต่างๆ เพื่อลดการเกิดอาชญากรรม ทั้งนี้หน่วยงานต่างๆ ได้มีความพยายาม ในการพัฒนาขีดความสามารถของตู้แดงและระบบที่เกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางสังคมในยุคต่างๆ ด้วยเหตุนี้ “ระบบตู้แดงรหัสคิวอาร์” (Red Box QR Code) จึงได้รับการพัฒนาขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวางถือเป็นสถานีตำรวจนำร่องตัวอย่างที่มีการใช้งานระบบ ตู้แดงรหัสคิวอาร์มาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1.) เพื่อศึกษาถึงลักษณะความเหมือนและ ความแตกต่างของตู้แดงแบบปกติในอดีตกับตู้แดงรหัสคิวอาร์ในปัจจุบัน 2.) เพื่อศึกษาถึงผลกระทบและประโยชน์ของระบบตู้แดงรหัสคิวอาร์ที่มีต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานเพื่อป้องกันอาชญากรรมของเจ้าหน้าที่สายตรวจในเขตพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง ผลการวิจัยพบว่า “ระบบตู้แดงรหัสคิวอาร์” สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่สายตรวจจากสถานีตำรวจนครบาลห้วยขวางได้ดีกว่าการใช้งานตู้แดงในอดีต โดยเฉพาะด้านความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่สายตรวจในการใช้งานระบบตู้แดงรหัสคิวอาร์ อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาถึงระบบอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อให้ทุกระบบสามารถทำงานร่วมกันและช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรมให้มีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้ารับ หรือไม่รับราชการ ของคนรุ่นใหม่ที่จบการศึกษาจากสาขาวิชาที่มีวิชาชีพเฉพาะ กรณีศึกษา สาขาวิชาบัญชี/การเงิน, มาศญา ศรีสุข Jan 2021

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้ารับ หรือไม่รับราชการ ของคนรุ่นใหม่ที่จบการศึกษาจากสาขาวิชาที่มีวิชาชีพเฉพาะ กรณีศึกษา สาขาวิชาบัญชี/การเงิน, มาศญา ศรีสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้ารับหรือไม่รับราชการของคนรุ่นใหม่ที่จบการศึกษาจากสาขาวิชาชีพเฉพาะ ในสาขาวิชาบัญชีและการเงิน และ เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานภาครับนำไปปรับใช้กับกระบวนการสรรหาและการรักษาคนรุ่นใหม่ในระบบราชการ โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือคนที่มีอายุระหว่าง 22 - 30 ปี ที่จบการศึกษาจากสาขาที่มีวิชาชีพเฉพาะ ในสาขาวิชาบัญชีและการเงินที่รับราชการในหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 255 คน และทำงานในหน่วยงานภาคเอกชนอื่น ๆ จำนวน 254 คน รวม 509 คน โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผ่านแบบสอบถามปลายปิด (Close Ended Question) และการวิเคราะห์ผลการวิจัยโดยวิธีการ Independent Sample T-Test ซึ่งเป็นการทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่มีความเป็นอิสระต่อกัน และ Chi Square ซึ่งเป็นการทดสอบที่ไม่อิงการแจกแจงของประชากร จากการวิเคราะห์ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยจูงใจมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้ารับหรือไม่รับราชการของคนรุ่นใหม่ที่จบการศึกษาจากสาขาวิชาชีพเฉพาะ ในวิชาชีพบัญชี / การเงิน ในขณะที่ปัจจัยค้ำจุนไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้ารับหรือไม่รับราชการของคนรุ่นใหม่ที่จบการศึกษาจากสาขาวิชาชีพเฉพาะ ในวิชาชีพบัญชี / การเงิน ส่วนปัจจัยเรื่องรูปแบบองค์การที่แตกต่างกัน และปัจจัยส่วนบุคคล มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้ารับหรือไม่รับราชการของคนรุ่นใหม่ที่จบการศึกษาจากสาขาวิชาชีพเฉพาะ ในวิชาชีพบัญชี / การเงิน ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าวสามารถเสนอเป็นแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐนำไปปรับใช้กับกระบวนการสรรหาและการรักษาคนรุ่นใหม่ในระบบราชการได้


การศึกษาแนวทางการนำผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, วสุธร โชคไพบูลย์ Jan 2021

การศึกษาแนวทางการนำผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, วสุธร โชคไพบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรในการนำผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นและสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจและติดตามผู้ประกอบการนอกระบบและผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งถอดบทเรียนจากแนวทางการนำผู้ประกอบการพาณิชย์เข้าสู่ระบบของประเทศเกาหลีใต้และประเทศญี่ปุ่น ผลการศึกษาสามารถสรุปประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) ปัญหาด้านการบูรณาการข้อมูลระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐควรสร้างความชัดเจนหรือเป้าหมายในการบูรณาการข้อมูล และจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลฐานข้อมูลดิจิทัล 2) ปัญหาด้านกฎหมายควรพัฒนากฎหมายให้ทันสมัย ยกเลิกกฎหมายและระเบียบที่สร้างความล่าช้า รวมทั้งพัฒนากฎหมายให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม และ 3) ปัญหาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม หน่วยงานภาครัฐควรกำหนดแผนพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามาร่วมลงทุน การจะพัฒนาแนวทางการนำผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบภาษีให้มีประสิทธิภาพได้ต้องเกิดจากความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม นำจุดแข็งของแต่ละฝ่ายซึ่งประกอบด้วย ความเชี่ยวชาญของภาครัฐในการสำรวจและติดตามผู้ประกอบการ การร่วมลงทุนและการสร้างนวัตกรรมของภาคเอกชน และการเป็นพลเมืองที่ดี มาบูรณาการเพื่อสร้าง Big Data และนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อให้กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และสร้างความเป็นธรรมทางภาษีอากรให้กับประชาชนในประเทศ


ความสัมพันธ์ของการปฏิบัติงานระหว่างราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่นในการจัดการภาวะฉุกเฉินเหตุอุทกภัย ปี พ.ศ.2563 กรณีศึกษา อําเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี, อภิวุฒิ ชาวเมือง Jan 2021

ความสัมพันธ์ของการปฏิบัติงานระหว่างราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่นในการจัดการภาวะฉุกเฉินเหตุอุทกภัย ปี พ.ศ.2563 กรณีศึกษา อําเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี, อภิวุฒิ ชาวเมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเหตุอุทกภัยในภาวะฉุกเฉิน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการจัดการเหตุอุทกภัยระดับพื้นที่ และ 3) นำไปสู่การเสนอแนะกลไกการบริหารจัดการเหตุอุทกภัยเพื่อให้สอดรับกับพื้นที่ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจาก 1) กรณีศึกษาหลัก อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรีและกำหนดหน่วยวิเคราะห์ย่อย จำนวน 3 กรณี สัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 24 คน 2) ใช้การวิจัยเอกสาร ทบทวนแนวคิดทฤษฎี โดยมีข้อค้นพบ ดังนี้ 1) ความสัมพันธ์แบบเป็นทางการ (Formal Relation) ในการจัดการเหตุอุทกภัยในภาวะฉุกเฉิน พบว่า การจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ระดับอำเภอ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการจัดการในภาวะฉุกเฉินภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System :ICS) เนื่องจาก ผู้บัญชาการเหตุการณ์อำเภอขาดความเข้าใจกลไกและระบบการทำงานภายใต้มาตรการการจัดการในภาวะฉุกเฉิน และโครงสร้างระบบบัญาชาการที่ถูกกำหนดไว้ในแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัด จึงเป็นปัญหาสำคัญ แม้จะมีการกำหนดโครงสร้าง การทำงานอย่างเป็นระบบ แต่ไม่ได้นำระบบบัญชาการเดี่ยว (Single command) และการกำหนดกติกา (Code of Conduct) มาใช้ในการปฏิบัติงาน ทำให้ตัวแสดงภายใต้มาตรฐานการจัดการในภาวะฉุกเฉินไม่เป็นไปตามแผน 2) ความสัมพันธ์ในการทำงานที่ไม่เป็นทางการ (Working Relation) ในการจัดการเหตุอุทกภัยในภาวะฉุกเฉินพบว่า เมื่อผู้บัญชาการเหตุการณ์ไม่เข้าใจระบบของการบริหารจัดการภายใต้โครงสร้างของระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System :ICS) และไม่ใช้ระบบบัญชาการเดี่ยว (Single Command) อย่างที่ควรจะเป็น จึงทำให้รูปแบบการทำงานในความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ (Working Relation) ไม่เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ หน่วยงานการปฏิบัติในพื้นที่ต่างทำงานตามความสามารถและศักยภาพของกลไกตนเองที่มีอยู่ ความสัมพันธ์ในการทำงาน (Working Relation) จึงไม่เกิดขึ้นและไม่สามารถประสานขอทรัพยากร เพราะไม่รู้ว่าใครมีศักยภาพในเรื่องใด และมีทรัพยากรใดบ้าง สุดท้ายนำไปสู่ความล่าช้าในการทำงานและให้ความช่วยเหลือ ผลการศึกษาพบว่า ในแง่ความสัมพันธ์แบบเป็นทางการตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด พบว่าในการนำไปใช้หน้างานตามโครงสร้างมาตรฐานการทำงานที่ถูกกำหนดในแผนดังกล่าว ไม่ถูกนำมาใช้ปฏิบัติอย่างเป็นระบบ จึงไม่เป็นไปตามมาตรฐานของการจัดการในภาวะฉุกเฉิน ส่งผลให้การปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดความเชื่อใจในการทำงาน และขาดการแลกเปลี่ยนข้อมูล ทรัพยากรต่างๆ ด้วยความล่าช้า จนนำไปสู่การปฏิบัติงานตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น สำหรับข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยพิจารณาจากผลการศึกษา โดยเสนอให้ดำเนินการตามแนวคิดเครือข่ายที่บริหารโดยองค์การหลัก (Network Administrative Organization : NAO) เนื่องจาก เป็นเครือข่ายที่มีรูปแบบการกำกับดูแลร่วมกัน …


การพัฒนาและปรับปรุงช่องว่างขีดความสามารถ (Competency Gap) ของหัวหน้าเวรและพยาบาลวิชาชีพ เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วยวิกฤต กรณีศึกษา โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, ปภาวดี คณะสุวรรณ์ Jan 2021

การพัฒนาและปรับปรุงช่องว่างขีดความสามารถ (Competency Gap) ของหัวหน้าเวรและพยาบาลวิชาชีพ เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วยวิกฤต กรณีศึกษา โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, ปภาวดี คณะสุวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาสมรรถนะการทำงาน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ให้บุคคลากรพร้อมต่อการเข้าสู่ตำแหน่งในอนาคต และปฏิบัติงานได้บรรลุผลตามเป้าประสงค์ขององค์การ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนากรอบสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (2) เพื่อศึกษาการพัฒนาบุคลากรเข้าสู่ตำแหน่ง และช่องว่างขีดความสามารถ (Competency gap) ที่พยาบาลหัวหน้าเวร และพยาบาลวิชาชีพควรพัฒนาเพื่อขึ้นสู่ตำแหน่งพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยวิกฤต ในบริบทของงานวิจัยนี้ ผู้ให้ข้อมูลคือพยายาบาลหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จำนวน 9 คน ได้แก่ หัวหน้าหอผู้ป่วยวิกฤต จำนวน 1 ราย หัวหน้าเวร จำนวน 6 ราย และพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 2 ราย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการค้นคว้าเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมแล้วพยาบาลหัวหน้าเวรและพยาบาลวิชาชีพทั้ง 9 คน มีความพร้อมที่จะขึ้นสู่ตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วยวิกฤต โดยได้รับสมรรถนะทั้ง 5 หมวด อยู่ในระดับผู้เชี่ยวชาญ (Expert) แต่ยังมีรายละเอียดบางประการที่ต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติม ได้แก่ สมรรถนะด้านการวิจัยและการสื่อสารกับผู้ร่วมงานและสหวิชาชีพในการปฏิบัติงานร่วมกันให้เป็นไปตามหลักการเพื่อการให้บริการทางการพยาบาลเป็นไปตามหลักวิธีที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังพบข้อเสนอแนะ การพัฒนาระดับบุคลากรควรมีการพัฒนาเกณฑ์ด้านสมรรถนะในการเข้าสู่ตำแหน่งเพิ่มขึ้น อาทิ ด้านการบริหารจัดการ และการพัฒนาระดับโรงพยาบาลให้มีความสามารถของหอผู้ป่วยวิกฤตที่สอดคล้องต่อบริบทความต้องการของพื้นที่ เป็นต้น


ความสัมพันธ์ระหว่างอียิปต์กับจีนระหว่าง ค.ศ 2018-2021: ศึกษากรณีโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง, ประดับพร วงศ์ปัญญา Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างอียิปต์กับจีนระหว่าง ค.ศ 2018-2021: ศึกษากรณีโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง, ประดับพร วงศ์ปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาและวิเคราะห์ถึงผลประโยชน์ของอียิปต์ผ่านโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน (The Belt and Road Initiative: BRI) โดยใช้แนวคิดภูมิรัฐศาสตร์แบบดั้งเดิม จากการศึกษาพบว่า อียิปต์ตระหนักดีว่า ลักษณะภูมิประเทศของอียิปต์เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญที่จะช่วยผลักดันโครงการ BRI ให้สำเร็จ รวมถึงได้ปฏิรูปมาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อดึงดูดการลงทุนจากจีนและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ จีนและอียิปต์เห็นพ้องต้องกันว่า โครงการ BRI กับการพัฒนาตามวิสัยทัศน์อียิปต์ ค.ศ. 2030 (Egypt Vision 2030) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจีนได้เข้ามาลงทุนในเศรษฐกิจอียิปต์ โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในโครงการสำคัญของ BRI และวิสัยทัศน์อียิปต์ ค.ศ. 2030 เช่น เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าคลองสุเอซ เขตพัฒนาอุตสาหกรรมคลองสุเอซ และโครงการเมืองหลวงแห่งใหม่ ทำให้ได้รับผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง สามารถสร้างงานให้กับประชาชน แต่อียิปต์ไม่ได้รับผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองจากโครงการ BRI มากเท่าที่ควร เพราะตลอดระยะเวลา 8 ปีที่อียิปต์เข้าร่วมโครงการ BRI จีนลงทุน ในอียิปต์ภายใต้โครงการ BRI เพียง 4 โครงการ และไม่ได้เป็นประเทศผู้ลงทุนหลักในอียิปต์ รวมถึงอียิปต์ยังคง มีข้อท้าทายความสัมพันธ์กับจีนในเรื่องเขื่อนแกรนด์เอธิโอเปียเรเนซองส์ ในเอธิโอเปีย นอกจากนี้ อียิปต์ยังต้องรักษาความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา เพราะหากพึ่งพาจีนมากเกินไป สหรัฐอเมริกาอาจจะพิจารณาลดหรือระงับงบประมาณความช่วยเหลือทางการทหาร


การผลักดันนโยบายกับการพัฒนาสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (Lgbtqi+) ในญี่ปุ่น ช่วงปี 2015 – 2021, รัตติกาล นุระธนะ Jan 2021

การผลักดันนโยบายกับการพัฒนาสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (Lgbtqi+) ในญี่ปุ่น ช่วงปี 2015 – 2021, รัตติกาล นุระธนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยนี้ศึกษาถึงแนวทางหรือกลยุทธ์ในการผลักดันนโยบายกับการพัฒนาสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) ในญี่ปุ่น โดยใช้กรอบการวิเคราะห์แนวคิดเรื่องแนวทางการผลักดันนโยบาย (policy entrepreneurship) เพื่อมุ่งตอบคำถามว่า ในช่วงปี 2015 – 2021 ญี่ปุ่นมีแนวทางในการผลักดันเรื่องการยอมรับกลุ่ม LGBTQI+ กับการพัฒนาสิทธิของกลุ่ม LGBTQI+ อย่างไร บทความวิจัยนี้เสนอว่าญี่ปุ่นมีแนวทางในการผลักดันการยอมรับกลุ่ม LGBTQI+ กับการพัฒนาสิทธิของกลุ่ม LGBTQI+ โดยแบ่งออกเป็นสองแนวทาง คือ 1) ผู้ผลักดันนโยบาย (policy entrepreneurs) ซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของญี่ปุ่นต่างรณรงค์ รวมกลุ่มจัดกิจกรรมเพื่อผลักดันให้มีการยอมรับกลุ่ม LGBTQI+ โดยอาศัย “ช่องโอกาส” (windows of opportunity) เป็นเครื่องมือที่กระตุ้นให้เกิดการผลักดันการยอมรับกลุ่ม LGBTQI+ 2) การใช้แรงกดดันจากการที่องค์กรระหว่างประเทศ หรือนานาชาติต่างยอมรับกลุ่ม LGBTQI+ เป็นเหตุผลข้ออ้างผลักดันให้ญี่ปุ่นดำเนินการเพื่อเป็นที่ยอมรับตามบรรทัดฐานสากล ในเรื่องนโยบายการยอมรับกลุ่ม LGBTQI+ ในประเทศ โดยใช้กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศ (Universal Periodic Review หรือ UPR) เป็นเครื่องมือกดดันเพื่อให้ญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านสิทธิต่อกลุ่ม LGBTQI+ มากขึ้นจนเป็นบรรทัดฐานใหม่ในสังคมญี่ปุ่น


Airbnbs In The Rural Midwest: Optimizing Listing Content For User’S Decision-Making Processes, Mary Catherine Kosacki Jan 2021

Airbnbs In The Rural Midwest: Optimizing Listing Content For User’S Decision-Making Processes, Mary Catherine Kosacki

Masters Theses

This research examines the effectiveness of rural Airbnb listing content in influencing user decision-making. The peer-to-peer economy has been rapidly growing over the past decade, providing new opportunities for individuals to offer goods and services to other individuals through corporate platforms. Specifically, the Airbnb platform has rapidly grown, becoming the largest online platform for peer-to-peer property rentals, and one of the largest companies in the peer-to-peer sector of the economy. Previous research on the Airbnb platform has focused primarily on urban areas; however, Airbnbs have a proportionally large impact on local economies in rural areas.

Several methods were employed to …