Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2023

Discipline
Institution
Keyword
Publication
Publication Type
File Type

Articles 18241 - 18270 of 19741

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การสำรวจความเชื่อทางจรรยาบรรณของผู้ให้บริการทางสุขภาพจิตในประเทศไทย, พรพรหม ลิขิตโฆษิตกุล Jan 2023

การสำรวจความเชื่อทางจรรยาบรรณของผู้ให้บริการทางสุขภาพจิตในประเทศไทย, พรพรหม ลิขิตโฆษิตกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลด้านความเชื่อทางจรรยาบรรณของผู้ให้บริการทางสุขภาพจิตในประเทศไทยจำแนกตามเพศ ช่วงวัย อาชีพ และประเภทชุมชนที่ปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ให้บริการทางสุขภาพจิต ผู้มีหน้าที่ในการดูแลหรือรักษาบุคคลทั่วไปหรือผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรม โดยใช้กระบวนการจิตบำบัดหรือการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ จำนวน 160 คน อายุเฉลี่ย 35.5 ปี (SD = 9.54 ปี) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถามความเชื่อทางจรรยาบรรณของผู้ให้บริการทางสุขภาพที่พัฒนาจากการศึกษาก่อนหน้า จำนวน 78 ข้อ นำผลที่ได้มาหาค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีการของ Cronbach’s Alpha ซึ่งผลที่ได้จากการคำนวณพบว่า ค่าความเที่ยง = .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่ามี 12 ข้อที่ผู้ให้บริการทางสุขภาพจิตเชื่อว่าเป็นพฤติกรรมที่ผิดจรรยาบรรณอย่างแน่นอน มี 1 ข้อที่ผู้ให้บริการทางสุขภาพจิตเชื่อว่าเป็นพฤติกรรมที่ถูกจรรยาบรรณอย่างแน่นอน และมี 9 ข้อเป็นพฤติกรรมที่ผู้ให้รับบริการทางสุขภาพจิตส่วนใหญ่ตอบว่าไม่รู้หรือไม่แน่ใจ และผลการวิเคราะห์ความแตกต่างพบว่าผู้ให้บริการทางสุขภาพจิตที่มีเพศ อาชีพ และประเภทชุมชนที่ปฏิบัติงานแตกต่างกันมีความเชื่อทางจรรยาบรรณโดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ผู้ให้บริการทางสุขภาพจิตที่มีช่วงวัยแตกต่างกัน มีความเชื่อทางจรรยาบรรณโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


Food Tourism As A Means Of Promoting Food Sustainability: A Case Study Of Street Food In Bangkok, Marissa Soltoff Jan 2023

Food Tourism As A Means Of Promoting Food Sustainability: A Case Study Of Street Food In Bangkok, Marissa Soltoff

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In 2002, the Thai government lauched two gastrodiplomacy initiatives to promote cultural awareness, increase export revenue, and boost tourism by increasing the number and quality of Thai restaurants abroad. These iniatives have been vastly successful and have since been emulated by other countries. This paper builds on the gastrodiplomacy initiatives' success by exploring the possibility of the same methods being applied to promotion of food sustainability. This research addresses the questions surrounding the factors that both enable and risk food sustainability, the sustainability projects currently being pursued in Thailand, any possible link between food sustainability and gastrodiplomacy with regards to …


Thailand's Role In Asean's Preventive Diplomacy, Usaimeen Waenalai Jan 2023

Thailand's Role In Asean's Preventive Diplomacy, Usaimeen Waenalai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research delves into Thailand's pivotal role in the context of ASEAN's preventive diplomacy efforts, aiming to provide a nuanced understanding of the nation's contributions and challenges in maintaining regional stability and conflict prevention. As a key member of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN), Thailand's diplomatic engagements have significant implications for the collective security of the region. The study employs a multidimensional approach, combining historical analysis, policy evaluation, and case studies to elucidate the evolution of Thailand's preventive diplomacy strategies within the ASEAN framework. The research begins by examining the foundational principles and historical antecedents of preventive diplomacy, …


Sexual Orientation Microaggressions And Mental Health Concerns: A Conditional Process Modeling Of Protective Effects Of Microaffirmations, Rapinpat Yodlorchai Jan 2023

Sexual Orientation Microaggressions And Mental Health Concerns: A Conditional Process Modeling Of Protective Effects Of Microaffirmations, Rapinpat Yodlorchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Mental health disparities existed globally for sexual minority populations compared to heterosexuals. Experiences of subtle discrimination called microaggressions contributed to poor mental health outcomes. Conversely, microaffirmations may buffer these negative effects. To further study these processes among lesbian, gay, bisexual, queer/questioning (LGBQ+) Thais, culturally validated tools were needed to quantify microaggression and microaffirmation experiences within Thailand's high-context culture. Objectives: This two-part study aimed to: 1) develop and validate Thai language scales measuring microaggressions and microaffirmations related to sexual orientation; and 2) test a conceptual moderated mediation model elucidating relationships between microaggressions, microaffirmations, sexual orientation concealment, internalized heterosexism, and mental …


ประสบการณ์ทางจิตใจจากการเขียนสะท้อนความคิดความรู้สึก, กันตพร สวนศิลป์พงศ์ Jan 2023

ประสบการณ์ทางจิตใจจากการเขียนสะท้อนความคิดความรู้สึก, กันตพร สวนศิลป์พงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจจากการเขียนสะท้อนความคิดความรู้สึก ด้วยระเบียบวิธีวิจัยการวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกในชุดคำถามกึ่งโครงสร้าง ผู้เข้าร่วมวิจัยคือผู้เคยมีประสบการณ์การเขียนสะท้อนความคิดความรู้สึกตามเกณฑ์ได้แก่ เป็นการเขียนที่มีลักษณะของการสะท้อน สำรวจ ใคร่ครวญ เกี่ยวกับความคิดความรู้สึก เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้และเยียวยาตนเอง และเป็นการเขียนระหว่างที่ได้รับการบำบัดจากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา จำนวน 6 ราย มีอายุระหว่าง 23-36 ปี ผลการวิจัยแบ่งได้เป็น 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) องค์ประกอบที่ชักนำให้สนใจการเขียนสะท้อนความคิดความรู้สึก ประกอบด้วย ความคุ้นเคยกับการเขียนการอ่านและการจดบันทึก การขาด ‘พื้นที่ปลอดภัยทางความรู้สึก’ หล่อหลอมให้แสวงหาพื้นที่แสดงออก และ การกระตุ้นที่นำไปสู่การมองหาหนทางเยียวยา 2) ช่องทางและเวลาในการเขียนสะท้อนความคิดความรู้สึก ประกอบด้วย เลือกใช้ช่องทางการเขียนที่ตนเองถนัดและตอบโจทย์ความต้องการ เขียนในพื้นที่และเวลาที่ให้บรรยากาศความเป็นส่วนตัว ใช้เวลากับการเขียนอย่างยืดหยุ่นตามระดับความต้องการภายใน 3) รูปแบบวิธีการเขียนและกระบวนการที่ดำเนินไประหว่างการเขียนสะท้อนความคิดความรู้สึก ประกอบด้วย บอกเล่าเรื่องราวตามวิถีธรรมชาติของตนเอง เกิดกระบวนการสำรวจ กลั่นกรอง ใคร่ครวญ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวและตนเอง และเกิดความตระหนักรู้จากการ ‘ค้นพบ’ และ ‘มองเห็น’ โลกภายในตนเองได้แจ่มชัด) 4) ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการเขียนสะท้อนความคิดความรู้สึก ประกอบด้วยผลที่สังเกตได้หลังการลงมือเขียนแต่ละครั้ง และผลเมื่อทำซ้ำจนตกผลึกภายในตนเอง ผลที่สังเกตได้หลังการลงมือเขียนแต่ละครั้ง ได้แก่ ความปลอดโปร่งจากความทุกข์และความอึดอัดที่คลี่คลายลงไป เกิดความตระหนักและยอมรับความรู้สึกตนเองโดยไม่ตัดสิน เกิดความเข้าใจในความเป็นตนเองบนพื้นฐานประสบการณ์ส่วนตัว ตั้งสติและมองเห็นหนทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมแก่ตนเองได้ และรู้สึกอิ่มเอมจากการได้ถ่ายทอดเรื่องราวที่มีความหมายและเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ผลเมื่อทำซ้ำจนตกผลึกภายในตนเอง ได้แก่ เกิดสัมพันธภาพและการสื่อสารภายในตนที่มีคุณภาพ เรียบเรียงความคิดความรู้สึกเพื่อสื่อสารกับคนรอบข้างได้ดีขึ้น รับรู้ถึงอำนาจและพลังการยืนยันภายในตนเอง เห็นความเชื่อมโยงภายในตนจากอดีตสู่ปัจจุบันและรับรู้ศักยภาพในการกำกับดูแลตนเอง และ กลับสู่ความเป็นตัวเองที่แท้ รู้สึกเติมเต็มภายในตนและเข้าใจธรรมชาติชีวิต 5) การรับรู้ประโยชน์ของการเขียนสะท้อนความคิดความรู้สึกและการนำไปใช้ ประกอบด้วย เป็นพื้นที่ประคับประคองเยียวยาและทำความเข้าใจตนเองที่ปลอดภัยและเป็นส่วนตัว เป็นเครื่องมือสื่อสารทดแทนในเรื่องที่ยากหรือลำบากใจจะเอ่ย และ ต่อยอดเป็นงานสร้างสรรค์ที่ใช้วัตถุดิบภายในตน งานวิจัยนี้ช่วยเติมเต็มความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์การเขียนสะท้อนความคิดความรู้สึกในคนไทยว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดการสำรวจและตระหนักรู้ภายในตนเองได้ ผู้สนใจสามารถนำมาใช้ดูแลตนเองเบื้องต้น และนักจิตวิทยาการปรึกษาสามารถนำเครื่องมือนี้มาใช้ประกอบการให้คำปรึกษาเพื่อผลลัพธ์การทำงานร่วมกับผู้รับบริการที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


วัฒนธรรมองค์การกับการขับเคลื่อนไปสู่ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน กรณีศึกษากรมส่งเสริมวัฒนธรรม, ชะตารักษ์ เมฆกมล Jan 2023

วัฒนธรรมองค์การกับการขับเคลื่อนไปสู่ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน กรณีศึกษากรมส่งเสริมวัฒนธรรม, ชะตารักษ์ เมฆกมล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องวัฒนธรรมองค์การกับการขับเคลื่อนไปสู่ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน กรณีศึกษากรมส่งเสริมวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์การที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนกรมส่งเสริมวัฒนธรรมไปสู่ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน ประกอบไปด้วย ข้าราชการระดับผู้บริหาร/ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า ข้าราชการระดับผู้อำนวยการกลุ่ม และข้าราชการระดับผู้ปฏิบัติงาน ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และใช้มิติวัฒนธรรมองค์การแบบเน้นความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของ Bradley และคณะ (2008) เป็นกรอบในการศึกษา พบว่า มิติด้านผลกระทบต่ออาชีพ และมิติด้านการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน มีความสอดคล้องกับมิติวัฒนธรรมองค์การแบบเน้นความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน กล่าวคือ ข้าราชการกรมส่งเสริมวัฒนธรรมสามารถใช้สิทธิประโยชน์ เช่น วันลา ได้อย่างไม่กังวล เนื่องจากรับรู้ขอบเขตของการใช้สิทธิ และเคารพในสิทธิการลาของเพื่อนร่วมงาน รวมถึงกรมส่งเสริมวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งในภาพรวมขององค์การ และในระดับกลุ่มงาน อย่างไรก็ตามในมิติด้านการสนับสนุนจากหัวหน้างานหรือผู้บริหารนั้น ปรากฏลักษณะหัวหน้างานให้ความสำคัญในเรื่องของสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานมากกว่าผู้บริหาร และองค์การยังมีการจัดสวัสดิการหรือนโยบายด้านนี้ที่ค่อนข้างน้อย และในมิติด้านเวลา พบว่า ความคาดหวังระยะเวลาในการทำงานปรากฏให้เห็นถึงการกระทบต่อชีวิตส่วนตัวของข้าราชการ โดยในมิตินี้มีความซับซ้อนของความเป็นวัฒนธรรมองค์การแบบข้าราชการแฝงอยู่ ซึ่งส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเครียด กดดัน หรือกังวลขึ้น งานวิจัยชิ้นนี้จึงนำไปสู่การตั้งคำถามเชิงนโยบายในเรื่องของเวลาและการพูดถึงเรื่องความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของข้าราชการผู้ปฏิบัติงานในกรมส่งเสริมวัฒนธรรม


ประเด็นด้านทรัพยากรและวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ส่งผลต่อการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี, ณัฐวัฒน์ จารุวัฒน์ Jan 2023

ประเด็นด้านทรัพยากรและวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ส่งผลต่อการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี, ณัฐวัฒน์ จารุวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งตอบคำถามเกี่ยวกับประเด็นด้านทรัพยากรและวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ส่งผลต่อการตัดสินใจถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้กรณีศึกษาจากกรณีการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี โดยวิเคราะห์เชื่อมโยงกับทฤษฎีปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติของ Van Meter และ Van Horn ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการถ่ายโอน ผลการศึกษา พบว่า การสื่อสารเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการถ่ายโอน มีการทำผ่านหลายช่องทาง ทั้งคู่มือที่มีรายละเอียด การประชุม และสื่อสารระหว่างหน่วยงาน บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจในทิศทางเดียวกันในวัตถุประสงค์ของนโยบาย คือเพื่อกระจายอำนาจด้านการบริหารงานด้านสาธารณสุขเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน ขณะที่การถ่ายโอนยังมีปัญหาในเรื่องความไม่ชัดเจนของกฎระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงานโดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับงบประมาณและความกังวลต่ออิทธิพลทางการเมือง สำหรับปัจจัยทรัพยากร กลุ่มตัวอย่างคาดหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนที่เพิ่มมากขึ้นทั้งด้านบุคลากรและงบประมาณ โดยต้องการเห็นความชัดเจนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด การค้นพบได้สะท้อนไปสู่ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกถ่ายโอนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ (1) บุคลากร (2) งบประมาณและวัสดุครุภัณฑ์ (3) กฎหมายและระเบียบ (4) การปฏิบัติงาน สำหรับกรณีขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี มีความพร้อมในด้านทรัพยากร แต่เนื่องจากปัจจัยด้านกฎหมายและระเบียบและการสื่อสารในเรื่องแนวทางการปฏิบัติตามระเบียบที่ยังไม่มีความชัดเจน จึงยังทำให้มีความกังวลอยู่ในกลุ่มโรงพยาบาลที่ยังไม่ได้ถ่ายโอน และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งต้องการความชัดเจนที่มากขึ้น


การส่งเสริมบทบาทและสถานะไต้หวันในเวทีระหว่างประเทศในรัฐบาลประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน, ธนกฤษ เกตุเนตร Jan 2023

การส่งเสริมบทบาทและสถานะไต้หวันในเวทีระหว่างประเทศในรัฐบาลประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน, ธนกฤษ เกตุเนตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินนโยบายเพื่อส่งเสริมบทบาทของไต้หวันในเวทีระหว่างประเทศในสมัยประธานาธิบดีไช่ อิง เหวิน ซึ่งจากการศึกษาการดำเนินนโยบายดังกล่าวที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากหลักการจีนเดียว (One China policy) ของประธานาธิบดีสี จิ้น ผิง ที่หวังจะรวมไต้หวันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของจีน เป็นเหตุให้ไต้หวันภายใต้การนำของประธานาธิบดีไช่ อิง เหวิน จำเป็นต้องดำเนินนโยบายเพื่อส่งเสริมบทบาทของไต้หวันในเวทีระหว่างประเทศและการรักษาอธิปไตยของไต้หวัน อีกทั้งเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความสัมพันธ์กับรัฐภายนอก โดยประธานาธิบดีไช่ อิง เหวิน ได้มีการดำเนินนโยบายเพื่อการส่งเสริมบทบาทของไต้หวันในเวทีระหว่างประเทศเพื่อให้สังคมเกิดความแตกต่างจากความเป็นจีน ผ่านนโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southbound policy) โดยมีวัตถุประสงค์พัฒนาความร่วมมือและเพื่อให้ไต้หวันกลับมามีบทบาทในการพัฒนาและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงเอเชียใต้ผ่านดำเนินนโยบายผ่านการพัฒนาบุคคลให้เป็นศูนย์กลาง (people-centered) เพื่อพัฒนาทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคผ่านกรอบความร่วมมือระดับทวิภาคีและพหุภาคีทั้ง 4 รูปแบบได้แก่ 1) การสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ 2) การแลกเปลี่ยนทักษะและองค์ความรู้ระหว่างกันเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 3) การแบ่งปันทรัพยากร รวมถึงค่านิยมและวัฒนธรรมความเป็นไต้หวันเพื่อให้เกิดความร่วมมือ 4) สร้างความสัมพันธ์ระดับภูมิภาค ทั้งนี้เพื่อให้ไต้หวันสามารถมีอำนาจต่อรองในภูมิภาคและสร้างการยอมรับจากเวทีระหว่างประเทศอีกทั้งเพื่อรักษาสถานะเดิมของไต้หวันและถ่วงดุลอำนาจจีน


การศึกษาการจัดการด้านสวัสดิการของพนักงานสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย, ปณิธาน ชูแก้ว Jan 2023

การศึกษาการจัดการด้านสวัสดิการของพนักงานสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย, ปณิธาน ชูแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการจัดการด้านสวัสดิการของพนักงานสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจัดการด้านสวัสดิการของพนักงานสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยและเพื่อเสนอแนวโน้มความต้องการด้านสวัสดิการของพนักงานสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จำนวน 201 คน ผลการวิจัยพบว่า พนักงานสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย มีความพึงพอใจในสวัสดิการด้านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจในสวัสดิการด้านค่าเล่าเรียนบุตร-ค่าคลอดบุตรในระดับมาก ความพึงพอใจในสวัสดิการด้านค่ารักษาพยาบาลและประกันในระดับมาก และความคาดหวังการเข้าสู่ภาะวะสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ตามลำดับ และมีการสำรวจความคาดหวังการเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) พนักงานกลุ่มที่เกิดในช่วงปี (พ.ศ. 2489-2507) พบว่าพนักงานมีพึงพอใจมากที่สุดหากถ้าสำนักงานฯจัดให้มีสิทธิค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณอายุความต้องการค่ารักษาพยาบาลหลังสวัสดิการ และการจัดให้มีสิทธิสวัสดิการหลังพนักงานเกษียณอายุไปแล้ว จะสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายของพนักงานหลักเกษียณ โดยสวัสดิการที่พนักงานต้องการเพิ่มเติมดังกล่าวสามารถจัดอยู่ในสวัสดิการด้านค่ารักษาพยาบาลและประกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพนักงานมีความคำนึงถึงสุขภาพ และความมั่นคงในอนาคต เมื่อเปรียบเทียบความมพึงพอใจในสวัสดิการของพนักงาน พบว่า เพศ อายุ สถานภาพ ครอบครัว ระดับการศึกษา เงินเดือน ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน ของ กพท. ที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในสวัสดิการที่ไม่ต่างกัน ส่วนต้นสังกัด มีความพึงพอใจในสวัสดิการที่แตกต่าง


ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการการให้บริการซ่อมและพัฒนาเครื่องจักรกลเพื่อความคุ้มค่าเงินทุนหมุนเวียนค่าเครื่องจักรกลของกรมทางหลวง, บุญเกตุ ขุนทรัพย์ Jan 2023

ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการการให้บริการซ่อมและพัฒนาเครื่องจักรกลเพื่อความคุ้มค่าเงินทุนหมุนเวียนค่าเครื่องจักรกลของกรมทางหลวง, บุญเกตุ ขุนทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการบริหารจัดการการให้บริการซ่อมและพัฒนาเครื่องจักรกลเพื่อความคุ้มค่าเงินทุนหมุนเวียนค่าเครื่องจักรกลของกรมทางหลวง เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งแนวทางการพัฒนาปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการให้บริการซ่อมและพัฒนาเครื่องจักรกล และเพื่อความคุ้มค่าเงินทุนหมุนเวียนค่าเครื่องจักรกล ของส่วนพัฒนาเครื่องจักรกล สำนักเครื่องกลและสื่อสาร กรมทางหลวง โดยใช้รูปแบบการศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกและการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม โดยมีประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลางในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผู้ปฏิบัติงาน และผู้รับบริการ ผลการศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดลักษณะของทีมการทํางานที่มีประสิทธิภาพ 11 ด้านของ Woodcock (2018) พบว่าประสิทธิภาพการทำงานของทีมปฏิบัติงานสามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างคุ้มค่า ทันเวลาและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการ โดยปัจจัยที่องค์การสามารถนำมาปรับแนวทางการบริหารจัดการเหมาะสม ส่งเสริมให้เกิดลักษณะทีมทำงานมีประสิทธิภาพในปัจจุบัน อาทิเช่น ความสมดุลในบทบาทตามหน้าที่และทักษะความสามารถที่แตกต่างกัน ในทีมปฏิบัติงานเพื่อร่วมกันทำงาน การเปิดเผยและการเผชิญโดยทีมปฏิบัติงานสามารถแสดงความรู้สึกความคิดเห็นของตนต่อการทํางานได้อย่างตรงไปตรงมา มีการเปิดเผยข้อมูลยอมรับปัญหาในการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ การบริหารจัดการที่ศึกษายังมีลักษณะการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่-NPM พบว่าส่วนพัฒนาเครื่องจักรกลมีการบริหารจัดการการให้บริการที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการด้วยระบบการวางแผนทรัพยากรในองค์กร (Enterprise Resource Planning- ERP) อย่างไรก็ตามส่วนพัฒนาเครื่องจักรกลควรพัฒนาบุคลากรเรื่องทักษะในการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลในเชิงป้องกันและการซ่อมเมื่อชำรุดให้เท่าทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ของเครื่องจักรกลที่ทันสมัยขึ้น นำความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องเช่นผู้รับบริการมาใช้เป็นแนวทางพัฒนาการทำงานร่วมกันกับผู้บริหาร จะส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและนำมาซึ่งประโยชน์ต่อองค์การมากยิ่งขึ้น


การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานของพนักงานสอบสวน กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ, ปรีดาพล ใยสวัสดิ์ Jan 2023

การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานของพนักงานสอบสวน กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ, ปรีดาพล ใยสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พนักงานสอบสวน กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจในการรวบรวมพยานหลักฐาน และการดำเนินการต่าง ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เกี่ยวกับภาษีอากรทั่วราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560, พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 และประมวลรัษฎากร ซึ่งในปัจจุบัน มีแนวโน้มจำนวนคดีและมูลค่าความเสียหายสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ พ.ศ.2563 ในปีที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ต้องงดการเดินทางเข้า-ออก ประเทศ เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ และประชาชนเกิดการว่างงาน แน่นอนว่าเป็นที่มาของการก่ออาชญากรรมทางภาษีเพิ่มขึ้น นอกจากนี้แต่ละคดีจะปริมาณเอกสารและขั้นตอนการดำเนินการแต่ละคดีมีเป็นปริมาณมาก เมื่อเทียบกับกองกำกับการอื่น ๆ และสถานีตำรวจท้องที่ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อีกทั้งกฎหมายภาษีถือเป็นกฎหมายพิเศษซึ่งมีความซับซ้อนสูง ไม่สามารถโอนสำนวนไปให้สถานีตำรวจท้องที่ดำเนินการได้ เหมือนหน่วยงานอื่น ดังนั้นผู้วิจัยจึงเลือกที่จะทำสารนิพนธ์ในหัวข้อ “การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานของพนักงานสอบสวน กรณีศึกษา กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ” เพื่อที่หาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานของพนักงานสอบสวน กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ การทำสารนิพนธ์ในหัวข้อดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงาน และแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานของพนักงานสอบสวน กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งจะทำการรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การสังเกตการณ์ และท้ายสุดจะเป็นการสัมภาษณ์ พนักงานสอบสวน และผู้บังคับบัญชาของกองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ จำนวน 10 คน ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงาน หลัก ๆ มาจากด้านกฎหมาย คำสั่ง และระเบียบที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานที่ล้าสมัย สร้างความยุ่งยาก และไม่สนับสนุนความก้าวหน้าของพนักงานสอบสวน ด้านปริมาณงานแต่ละคดีที่มีเป็นจำนวนมากและเวลาในการทำสำนวนการสอบสวนที่น้อย ด้านสมรรถนะของพนักงานสอบสวนที่ยังไม่เพียงพอ ด้านค่าใช้จ่ายที่มีเรื่องการเบิกค่าสำนวนการสอบสวนได้ล่าช้า ส่วนแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงาน พบว่า แต่ละคนมีการวางแผนในการปฏิบัติงานที่ใกล้เคียงกัน มีการพัฒนาสมรรถนะทั้งด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ด้านภาษาต่างประเทศ ด้านเทคโนโลยี และด้านบัญชี สุดท้ายเรื่องของการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่แพ้กัน


ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง: กรณีศึกษาไทย - กัมพูชา, ปิยพัชร เหล่าสมบัติ Jan 2023

ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง: กรณีศึกษาไทย - กัมพูชา, ปิยพัชร เหล่าสมบัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ผ่านโครงการต่างๆ ภายใต้กรอบ ACMECS ระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ยังคงมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและน่าจะมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-กัมพูชา เพราะประเทศไทยกับกัมพูชา เป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน มีแนวเขตแดนที่ติดกัน ทำให้ทั้ง 2 ประเทศมีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศาสนา และรูปแบบการดำรงชีวิตของประชาชนที่คล้ายคลึงกัน ด้วยเหตุนี้ทำให้ประชาชนไทยกับกัมพูชามีความสัมพันธ์ด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว เป็นอย่างดี และไทยกับกัมพูชาก็ได้มีกรอบความร่วมมือหรือยุทธศาสตร์ที่ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ โดยสารนิพนธ์นี้ผู้เขียนได้นำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) มาเป็นกรณีศึกษา โดยไทยเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นมา ในสมัยรัฐบาลของนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และหลังจากได้มีการปรับเปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยนนายกรัฐมนตรีตามยุคสมัย จนถึงสมัยรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งทำให้ความมุ่งหมายของนโยบายต่างประเทศของไทยย่อมปรับเปลี่ยน ผู้เขียนจึงสนใจที่จะศึกษาว่าโครงการต่างๆ ระหว่างไทย-กัมพูชา ภายใต้กรอบ ACMECS นี้ มีโครงการใดที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และน่าจะมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย-กัมพูชา โดยผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร รายงาน วิทยานิพนธ์ ข่าวสาร และบทความวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยผลการวิจัยพบว่า ทั้งไทยและกัมพูชาต่างให้ความสำคัญกับกรอบ ACMECS โดยมีโครงการที่เป็นรูปธรรม บรรลุวัตถุประสงค์ของกรอบ ACMECS และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง


การนำนโยบายป้องกันและปราบปรามการละเมิดเครื่องหมายการค้าไปปฏิบัติของภาครัฐไทย (พ.ศ. 2562 - 2566), ปิยะพล ภูดี Jan 2023

การนำนโยบายป้องกันและปราบปรามการละเมิดเครื่องหมายการค้าไปปฏิบัติของภาครัฐไทย (พ.ศ. 2562 - 2566), ปิยะพล ภูดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งตอบคำถามเกี่ยวกับสาเหตุที่การนำนโยบายป้องกันและปราบปรามการละเมิดเครื่องหมายการค้าไปปฏิบัติของภาครัฐไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2562 – 2566 จึงยังไม่สามารถบรรลุผลได้ รวมถึงเพื่อนำผลการศึกษาที่ได้มาจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้การนำนโยบายดังกล่าวไปปฏิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยวิเคราะห์เชื่อมโยงกับปัจจัยในการนำนโยบายไปปฏิบัติตามทฤษฎีของ Van Meter และ Van Horn เพื่อสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการดำเนินนโยบายดังกล่าว งานวิจัยชิ้นนี้อาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินนโยบาย ทั้งหน่วยงานภาครัฐและผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบาย รวมถึงการศึกษาวิเคราะห์จากเอกสารทุติยภูมิ ทั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุที่การนำนโยบายป้องกันและปราบปรามการละเมิดเครื่องหมายการค้าไปปฏิบัติของภาครัฐไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2562 – 2566 จึงยังไม่สามารถบรรลุผลได้ มีอยู่ 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) สภาพตลาดสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าในปัจจุบัน เช่น รูปแบบการจำหน่ายสินค้าละเมิดถูกนำมาจำหน่ายในช่องทางออนไลน์มากขึ้นทำให้การบังคับใช้กฎหมายในการปราบปรามยากต่อควบคุม 2) ปัญหาจากกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติของภาครัฐ เช่น งบประมาณและบุคลากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ความไม่คล่องตัวของระบบราชการไทย 3) อิทธิพลของการเมืองในประเทศและระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา เช่น ระดับการให้ความสำคัญในการปราบปรามของตัวแสดงทางการเมืองภายในประเทศแต่ละช่วงเวลาที่ไม่เท่ากันส่งผลให้เกิดความไม่ต่อเนื่องในการดำเนินนโยบาย รวมถึงการเมืองระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา ที่มีผลโยชน์ทางการค้าระหว่างกันเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐควรมุ่งเน้นการบังคับใช้กฎหมายในการปิดกั้นช่องทางการจำหน่ายสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าในช่องทางออนไลน์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมถึงจัดสรรงบประมาณและจำนวนบุคลากรให้มีความเหมาะสม ปรับปรุงระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติงานให้มีความคล่องตัวและเหมาะสมกับรูปแบบการละเมิดในปัจจุบัน สร้างระบบทรัพย์สินทางปัญญาไทยให้เป็นมาตรฐานสากล รวมถึงเพิ่มความเข้มข้นในการสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้ประกอบการไทยให้เห็นถึงความสำคัญของการปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า


แนวทางการพัฒนาการเตรียมความพร้อมข้าราชการที่จะไปประจำการในต่างประเทศ:กรณีศึกษา สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ, พรนรินทร์ มีกลิ่นหอม Jan 2023

แนวทางการพัฒนาการเตรียมความพร้อมข้าราชการที่จะไปประจำการในต่างประเทศ:กรณีศึกษา สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ, พรนรินทร์ มีกลิ่นหอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องแนวทางการพัฒนาการเตรียมความพร้อมข้าราชการที่จะไปประจำการในต่างประเทศ กรณีศึกษาสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาประสบการณ์และความท้าทายในมิติของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิตของข้าราชการในการไปประจำการ ณ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ และวิเคราะห์หลักสูตรการเตรียมความพร้อมก่อนไปประจำการ โดยนำข้อมูลที่ได้รับจากผลการศึกษาที่ได้ข้อมูลจากผู้ไปประจำการซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการสร้างข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสำหรับผู้ไปประจำการต่อไป การศึกษาดังกล่าวใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้มีประสบการณ์ในการไปประจำการ และฝ่ายทรัพยากรบุคคลของหน่วยงาน จำนวน 11 ราย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงช่องว่างในการปรับตัวของข้าราชการที่ไปประจำการ โดยพบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความท้าทายในการไปประจำการ ณ สคต. 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ความหลากหลายของภูมิหลังก่อนรับตำแหน่ง ความไม่คุ้นเคยในเนื้องานในต่างประเทศ และการปรับตัวเข้ากับภารกิจและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ใหม่ ในส่วนของความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรการเตรียมความพร้อมข้าราชการที่จะไปประจำการในต่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ความเพียงพอของหลักสูตรการเตรียมความพร้อมฯ และข้อเสนอแนะหัวข้อที่ต้องการให้บรรจุเพิ่มเติมหรือการปรับปรุงรายละเอียดหลักสูตรการเตรียมความพร้อมฯ โดยผลการศึกษาดังกล่าว นำไปสู่ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการเตรียมความพร้อมข้าราชการที่จะไปประจำการในต่างประเทศ ได้แก่ ข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับปรุงหลักสูตรการเตรียมความพร้อมข้าราชการที่จะไปประจำการในสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ และข้อเสนอเชิงนโยบายในการคัดเลือกผู้ไปประจำการ


คุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของผู้ปฏิบัติงานฝ่ายบำรุงรักษาเครื่องกล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, พรรณอร รัชตมุทธา Jan 2023

คุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของผู้ปฏิบัติงานฝ่ายบำรุงรักษาเครื่องกล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, พรรณอร รัชตมุทธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของผู้ปฏิบัติงานฝ่ายบำรุงรักษาเครื่องกล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ในรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) โดยการสำรวจความคิดเห็นและใช้การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 231 คน ที่มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) จากผู้ปฏิบัติงานฝ่ายบำรุงรักษาเครื่องกล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย แล้วจึงดำเนินการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก (Convenient sampling) ให้ครบตามจำนวนที่กำหนด จากนั้นนำมาประมวลผลผ่านโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS และใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาด้วยวิธีแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อีกทั้งในกรณีวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ได้เลือกใช้เทคนิคการทดสอบด้วยวิธีการถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression) เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความผูกพันต่อองค์กร ผลการศึกษาพบว่า ในแง่ภูมิหลัง ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ และด้านระยะเวลาการทำงานส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือระยะเวลาและประสบการณ์ที่เพิ่มมากขึ้นตามอายุมีส่วนเหนี่ยวนำให้เกิดความผูกพันต่อองค์กรอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานของผู้ตอบแบบสอบถามในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยรายด้านอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน อีกทั้งเมื่อนำไปใช้พยากรณ์ระดับความผูกพันต่อองค์กร ก็พบว่าปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านชีวิตและการทำงานที่มีความสมดุลกันโดยส่วนรวม (2) ด้านลักษณะงานที่ส่งเสริมให้เกิดการเติบโตและมั่นคงในงาน และ (3) ด้านการได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอ ต่างส่งผลต่อระดับความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นปัจจัยทั้ง 3 ด้านนี้จึงเป็นสิ่งที่องค์กรต้องหันมาให้ความสำคัญ เพื่อเป็นรักษาไว้ซึ่งผู้ปฏิบัติงานของตนให้เกิดความผูกพันและคงอยู่กับองค์กรอย่างยั่งยืน


ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดตราด ผ่านกระบวนการและบทบาทของศูนย์ดำรงธรรม โดยอธิบายในระดับอำเภอและจังหวัด (กรณีศึกษา จังหวัดตราด), อนุพัฒน์ วัฒนา Jan 2023

ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดตราด ผ่านกระบวนการและบทบาทของศูนย์ดำรงธรรม โดยอธิบายในระดับอำเภอและจังหวัด (กรณีศึกษา จังหวัดตราด), อนุพัฒน์ วัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง "ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดตราด ผ่านกระบวนการและบทบาทของศูนย์ดำรงธรรม โดยอธิบายในระดับอำเภอและจังหวัด (กรณีศึกษาจังหวัดตราด) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ผ่านกระบวนการและบบาทของศูนย์ดำรงธรรม โดยได้นำแนวคิดการบริหารจัดารภาครัฐแนวใหม่ (NPM) แนวคิดหลัก Good Governace ทฤษฎีการนำนโยบายไปปฏิบัติ แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความหมายและกระบวนการนโยบายสาธารณะ แนวคิดการบริหารเวลาและการประสานงาน ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาในพื้นที่ผ่านกระบวนการของศูนย์ดำรงธรรม และปัจจัยที่ทำให้การนำนโยบายไปปฏิบัติแล้วประสบความสำเร็จและล้มเหลว ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นการเก็บข้อมูลแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และการเก็บข้อมูลจากการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ข้อมูลและ Infographic เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดและครอบคลุม โดยมุ่งพรรณนาเชิงวิเคราะห์ (Analytical Description) ที่มา ความสำคัญและสาระสำคัญของการจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรม และสถิติการรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ของศูนย์ดำรงธรรมของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดตราด ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอบ่อไร่ ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเขาสมิง และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเกาะช้าง โดยมีการเปรียบเทียบสถิติประเภทเรื่องร้องเรียนที่คงค้างและไม่สามารถแก้ไขได้ และประเภทเรื่องร้องเรียนที่สามารถแก้ไขได้ในแต่ละอำเภอและภาพรวมทั้งจังหวัด และนำมาวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดตราดของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ และวิเคราะห์ปัจจัยความแตกต่างในเรื่องพื้นที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและอำเภอ ผลการศึกษา พบว่า ผู้วิจัยได้สรุปผลการศึกษาออกมาเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหาจากแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (NPM) และ แนวคิดหลัก Good governance เพื่อแสดงให้เห็นว่าปัจจัยใดที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหาผ่านบทบาทของศูนย์ดำรงธรรม เป็นไปตามแนวคิดดังกล่าวหรือไม่ 2) การนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหาผ่านกระบวนการและบทบาทของศูนย์ดำรงธรรม ว่ามีความประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลว ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหาคือ ข้อกฎหมาย คำสั่ง หลักเกณฑ์ ระเบียบ และนโยบาย, อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานและประสิทธิภาพของการบูรณาการของหน่วยงานในพื้นที่ และ ทักษะและประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติงานหรือบุคลากร 3) ประสิทธิภาพของศูนย์ดำรงธรรมในการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นส่วนสรุปของการวิจัยทั้งหมดนี้เพื่อนำมาสู่การประเมิน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลนโยบายตลอดการมีอยู่ของศูนย์ดำรงธรรมมาตลอด 9 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 โดยยกกรณีศึกษาจังหวัดตราด และ อำเภอในจังหวัดตราดที่แตกต่างกันในเชิงพื้นที่ ทั้งบริบทสภาพแวดล้อม สังคม และหน่วยงานของรัฐในพื้นที่มา 3 อำเภอ คือ อำเภอบ่อไร่ อำเภอเขาสมิง และอำเภอเกาะช้าง และจากผลการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยอภิปรายมานั้นแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ในเชิงกระบวนการการทำงาน การบริหารราชการในเชิงพื้นที่ให้เกิดการบูรณาการและการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นเพียงเท่านั้น ยังไม่สามารถตอบสนองต่อประชาชนได้มากเพียงพอประกอบกับในบางเรื่องร้องเรียนที่มีความสลับซับซ้อน ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของศูนย์ดำรงธรรมก็ไม่สามารถบรรลุในผลลสัมฤทธิ์อย่างครบถ้วนเท่าที่ควร …


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, อภิชญา กาญจนกิจสกุล Jan 2023

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, อภิชญา กาญจนกิจสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง "ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง" มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยเป็นการศึกษาเชิงปริมาณ เพื่อนำผลการวิเคราะห์จากปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง มาเป็นข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแนวทางการรักษาบุคลากร ทั้งในด้านค่าตอบแทน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านบทบาทของหัวหน้างาน ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา ด้านเส้นทางรวมถึงด้านความก้าวหน้าในสายอาชีพ ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 201 คน และใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายข้อมูลเชิงประชากรศาสตร์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน เพื่อทดสอบสมมติฐานของงานวิจัย ได้แก่ T-Test F-Test และสถิติการถดถอยเชิงพหุ เพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพ อายุ วุฒิการศึกษา รายได้รวมต่อเดือน และอายุงาน ที่แตกต่างกันส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยความพึงพอใจที่มีผลต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้แก่ ด้านความก้าวหน้า และด้านค่าตอบแทนซึ่งมีอิทธิพลในทิศทางบวกต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยความผูกพันที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้แก่ ด้านความภาคภูมิใจ และด้านผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอิทธิพลในทิศทางบวกต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ศาลเตี้ยออนไลน์ : กรณีศึกษาสถานการณ์ ปฏิสัมพันธ์ และผลกระทบที่เกี่ยวกับคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงแต่ถูกสืบสวนและตัดสินในโลกออนไลน์, เขมสรณ์ หนูขาว Jan 2023

ศาลเตี้ยออนไลน์ : กรณีศึกษาสถานการณ์ ปฏิสัมพันธ์ และผลกระทบที่เกี่ยวกับคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงแต่ถูกสืบสวนและตัดสินในโลกออนไลน์, เขมสรณ์ หนูขาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ศาลเตี้ยออนไลน์ : กรณีศึกษาสถานการณ์ ปฏิสัมพันธ์ และผลกระทบที่เกี่ยวกับคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงแต่ถูกสืบสวนและตัดสินในโลกออนไลน์” สามารถสรุปผลการศึกษาโดยอาศัยข้อมูลจากการวิจัยเชิงคุณภาพได้ว่า ศาลเตี้ยออนไลน์คือพื้นที่ทางอารมณ์ที่แสดงบทบาทคู่ขนานไปกับกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก ในรูปแบบของพิธีกรรมที่ทุกคนสามารถริเริ่มและมีกลุ่มคนเข้าร่วมในภายหลัง กลายเป็นการกระทำซ้ำ ๆ ที่มีการเตรียมการ การปฏิบัติการ และการลงโทษ โดยเป็นการใช้อำนาจผ่านสื่อออนไลน์ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งและนำมาซึ่งความรุนแรง ประกอบด้วย 4 ตัวแสดงที่มีบทบาทแตกต่างกัน ได้แก่ 1) ผู้แสดงส่วนที่ 1 หมายถึง สื่อออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อสังคม 2) ผู้แสดงส่วนที่ 2 หมายถึง กลุ่มคนที่มาร่วมแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์ 3) ใช้การมองเห็นและการรับรู้เป็นอาวุธจนเกิดการแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง และ 4) เหยื่อหรือผู้ได้รับผลกระทบ ประกอบด้วยสถานการณ์ 5 รูปแบบ เรียงลำดับจากความรุนแรงน้อยไปหามาก ตั้งแต่การให้ข้อมูล การตีแผ่ การปักธง การสืบสวน และการไล่ล่า ซึ่งเป็นกระบวนการของสถานการณ์ที่ก่อรูปทรงจากพื้นที่ทางอารมณ์ จนกลายเป็นพลังงานทางอารมณ์ และแสดงออกผ่านปฏิสัมพันธ์แบบมีบทบาทแลกเปลี่ยน ที่อาจนำไปสู่ผลกระทบตามมาหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านผู้กระทำ ด้านเหยื่อหรือผู้ได้รับผลกระทบ ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านกระบวนการยุติธรรม และด้านสังคม อย่างไรก็ดี ศาลเตี้ยออนไลน์สามารถพิจารณาได้ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ด้านหนึ่งอาจก่อให้เกิดความอยุติธรรม กลายเป็นกระบวนการยุติธรรมไวรัลหรือกระบวนยุติธรรมแบบปากต่อปากในโลกออนไลน์ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงที่จะเกิดการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมและการลงโทษที่ไม่ได้สัดส่วน อีกด้านหนึ่งเปรียบได้ดั่งรูปแบบคู่ขนานของกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก ที่ช่วยถ่วงดุลกระบวนการยุติธรรมผ่านเลนส์เทคโนโลยี จึงจำเป็นจะต้องสนับสนุนด้านบวกและควบคุมด้านลบ เพื่อนำศาลเตี้ยออนไลน์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง


แนวทางการป้องกันอาชญากรรมบนเทคโนโลยีการเงินแบบกระจายศูนย์ (Defi) : กรณีศึกษาปรากฏการณ์ล้มทั้งยืน (Rug Pull), กุลนันทน์ ศรีเจริญ Jan 2023

แนวทางการป้องกันอาชญากรรมบนเทคโนโลยีการเงินแบบกระจายศูนย์ (Defi) : กรณีศึกษาปรากฏการณ์ล้มทั้งยืน (Rug Pull), กุลนันทน์ ศรีเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา รูปแบบ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดปรากฏการณ์ล้มทั้งยืน (Rug Pull) ซึ่งเป็นอาชญากรรมบนเทคโนโลยีการเงินแบบกระจายศูนย์ (DeFi) เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่สังคมและนำไปสู่การแสวงหาแนวทางป้องกันที่เหมาะสม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการบูรณาการการวิจัยเชิงเอกสาร การสังเกตแบบชาติพันธุ์วรรณาดิจิทัลและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญของหน่วยงานรัฐ หน่วยธุรกิจและตัวแทนนักลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล จำนวน 16 ราย ผลการศึกษา พบว่า ปรากฎการณ์ล้มทั้งยืน (Rug Pull) เป็นอาชญากรรมไซเบอร์ที่อาศัยความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของ DeFi เจตนาหลอกลวงให้นักลงทุนนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาฝากในแพลตฟอร์ม จากนั้นเกิดสถานการณ์ทำให้นักลงทุนสูญเสียเงินลงทุนบางส่วน หรือทั้งหมด หรืออาจจะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่กล่าวอ้าง ด้วยสภาพปัญหา 4 ด้าน คือ 1) ด้านโลกาภิวัตน์ ผู้ใช้งานสามารถทำธุรกรรมโดยไม่ระบุตัวตนของคู่สัญญาด้วยความรวดเร็วผ่านระบบนิเวศ DeFi การระบุพื้นที่ หรือเขตอำนาจศาลในการลงโทษผู้กระทำผิดจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก 2) ด้านสังคมความเสี่ยง เกิดขึ้นการจากนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อน โดยมีสัญญาอัจฉริยะเป็นกลไกหลักในการควบคุมเงื่อนไขต่าง ๆ 3) ด้านกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ไม่มีตัวกลางในการกำกับดูแล ทำให้ขาดการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงจากภาครัฐ เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นจากการฉ้อโกง หรือให้บริการที่ไม่เป็นธรรม จึงไม่ได้รับการคุ้มครอง และ 4) ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งขาดกระบวนการส่งต่อ หรือรับข้อมูลสำคัญที่จะนำมาใช้ในการติดตามตรวจสอบ สืบหาตัวผู้กระทำผิด ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ล้มทั้งยืนสามารถเกิดขึ้นได้ 3 รูปแบบ คือ 1) การขโมยสภาพคล่อง 2) การจำกัดการซื้อขาย และ การลากและทุบ โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดปรากฎการณ์ล้มทั้งยืน 3 ปัจจัยหลัก คือ 1) เกิดจากผู้ที่มีความสามารถในการก่ออาชญากรรม 2) เกิดจากนักลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล และ 3) เกิดจากขาดผู้พิทักษ์ที่มีความสามารถ ทั้งนี้ แนวทางการป้องกัน ได้แก่ การพัฒนาการกำกับดูแลและการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลบน DeFi ที่เป็นสากลและชัดเจน การสร้างเครือข่ายเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลบน DeFi การส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยและพัฒนาเครื่องมือ หรือกลไกการป้องกันฯ ให้มีประสิทธิภาพ การออกมาตรการกำกับดูแลผู้ให้บริการตรวจสอบสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract Security Audit) สำหรับแพลตฟอร์ม DeFi และการสร้างกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและผู้ให้บริการสินทรัพย์เสมือน (VASP) เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมไซเบอร์รูปแบบใหม่ ซึ่งจะสามารถลดช่องโอกาสของการเกิดปรากฎการณ์ล้มทั้งยืน (Rug …


พลวัต เครือข่าย และกรอบโครงความคิดของขบวนการต่อต้านทักษิณในจังหวัดเชียงใหม่, จุฑามาศ สังข์เงิน Jan 2023

พลวัต เครือข่าย และกรอบโครงความคิดของขบวนการต่อต้านทักษิณในจังหวัดเชียงใหม่, จุฑามาศ สังข์เงิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ศึกษาเรื่องขบวนการต่อต้านทักษิณในจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างปีพ.ศ.2548 – พ.ศ.2557 ศึกษาผ่านกรอบแนวคิดการระดมทรัพยากร แนวคิดการสร้างกรอบโครงความคิด และแนวคิดการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม ในการตอบวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1. เพื่อศึกษาการก่อตัว พัฒนาการ และพลวัตของขบวนการต่อต้านทักษิณในจังหวัดเชียงใหม่ และ 2. เพื่อศึกษากรอบโครงความคิดของขบวนการต่อต้านทักษิณในจังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ 2 ข้อดังนี้ วัตถุประสงค์ข้อที่ 1. ขบวนการต่อต้านทักษิณเชียงใหม่ก่อตัวขึ้นจากความร่วมมือระหว่างเครือข่ายภาคประชาสังคมนักพัฒนาเอกชน คนเดือนตุลา ชนชั้นกลาง นักวิชาการ นักศึกษา และนักการเมืองท้องถิ่นที่เคยเป็นขบวนภาคประชาชนที่สนับสนุนขบวนการประชาธิปไตย ในช่วงการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร ฯ พวกเขารวมกลุ่มกันภายใต้การนำของกลุ่มนักพัฒนาเอกชนและเคลื่อนไหวร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ จนกระทั่งเกิดความขัดแย้งทางความคิดภายในขบวนการจนเครือข่ายนักพัฒนาเอกชน เครือข่ายนักศึกษา และเครือข่ายนักการเมืองล่าถอยออกจากขบวนการ ทำให้ขบวนการอยู่ภายใต้การนำของเครือข่ายชนชั้นกลางและเสื่อมพลังลงจนยุติการเคลื่อนไหว ขบวนการต่อต้านทักษิณจังหวัดเชียงใหม่กลับมาก่อตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงกลุ่มกปปส. ภายใต้การนำของเครือข่ายนักการเมืองท้องถิ่นโดยได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายชนชั้นกลางเชียงใหม่ ทำให้ขบวนการกลับมาเคลื่อนไหวและได้รับการสนับสนุนขบวนการอย่างสูง แต่เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างเครือข่ายแนวร่วมทั้งสองทำให้เครือข่ายชนชั้นกลางล่าถอยออกจากขบวนการในที่สุด วัตถุประสงค์ข้อที่ 2. ขบวนการต่อต้านทักษิณจังหวัดเชียงใหม่มีกรอบโครงความคิดที่แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ ความคิดทางการเมืองแบบเสรีนิยมและความคิดทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยม ในการก่อตัวของขบวนการช่วงกลุ่มพันธมิตร ฯ พวกเขามีความคิดทางการเมืองแบบเสรีนิยมทำให้ขบวนการมีความหลากหลายทางความคิดและเปิดกว้างให้เครือข่ายแนวร่วมที่มีจุดยืนทางการเมืองแตกต่างเข้าต่อสู้ร่วมกันได้โดยมีเป้าหมายในการขับไล่รัฐบาลทักษิณจากการเมืองไทย แต่ในเวลาต่อมากลุ่มที่มีความคิดทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยมที่ชูแนวทางกษัตริย์นิยม ศาสนานิยม ชาตินิยม และนิยมทหารได้เข้ามามีบทบาทนำเหนือขบวนการผ่านการขยายกรอบโครงความคิดและการระดมทรัพยากร ทำให้กลุ่มที่มีความคิดทางการเมืองแบบเสรีนิยมถอนตัวจากขบวนการต่อต้านทักษิณเชียงใหม่ ต่อมาในการกลับมาของกลุ่มกปปส. ขบวนการก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มที่มีความคิดทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยมโดยในระยะแรกพวกเขามีเป้าหมายร่วมกันเพื่อขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ต่อมาพวกเขารับเอาแนวทางของกลุ่มกปปส.ที่ชูแนวทางต่อต้านประชาธิปไตยและใช้แนวทางแบบชาตินิยม ศาสนานิยม และนิยมทหารจนนำไปสู่การสนับสนุนให้ทหารยึดอำนาจรัฐบาลยิ่งลักษณ์


การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินศักยภาพพื้นที่สีเขียวสำหรับความยืดหยุ่นปรับตัวของเมืองในจังหวัดสมุทรสาคร, กรรณิการ์ จันทร์ชิดฟ้า Jan 2023

การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินศักยภาพพื้นที่สีเขียวสำหรับความยืดหยุ่นปรับตัวของเมืองในจังหวัดสมุทรสาคร, กรรณิการ์ จันทร์ชิดฟ้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การกลายเป็นเมืองอย่างรวดเร็วของจังหวัดสมุทรสาครส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่สีเขียวและพื้นที่สาธารณะของเมืองทำให้มีความจำเป็นเร่งด่วนในการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อปรับปรุงระบบนิเวศที่จำเป็นของเมืองและสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่สีเขียวในจังหวัดสมุทรสาคร และประเมินศักยภาพพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสมต่อความยืดหยุ่นปรับตัวของเมืองในจังหวัดสมุทรสาคร ด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การวิเคราะห์แบบหลายเกณฑ์โดยวิธีกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ความเชื่อมโยงพื้นที่สีเขียวและความยืดหยุ่นปรับตัวของเมือง โดยใช้ข้อมูลจากกรมพัฒนาที่ดิน ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และการสัมภาษณ์ผู้รู้ในพื้นที่ ผลการศึกษามีดังนี้ (1) จังหวัดสมุทรสาครมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินระหว่าง ปี พ.ศ. 2543 ถึง ปี พ.ศ. 2564 เท่ากับ ร้อยละ 35.13 ของพื้นที่จังหวัด โดยพื้นที่เกษตรกรรมเป็นพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนไปเป็นที่ดินประเภทอื่น ๆ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 63.20 ของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินทั้งหมด ซึ่งเป็นการเปลี่ยนไปเป็นการใช้ที่ดินประเภทพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างมากที่สุด ร้อยละ 59.46 ของการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่เกษตรกรรม ทำให้เห็นว่าพื้นที่สีเขียวมีแนวโน้มลดลงและพื้นที่เมืองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยรูปแบบการใช้ที่ดินนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงตามการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพของจังหวัด (2) การประเมินศักยภาพพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสมต่อความยืดหยุ่นปรับตัวของเมือง ประกอบด้วยเกณฑ์หลัก 4 ด้าน คือ เศรษฐกิจ-สังคม กายภาพ ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม และการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ผลการประเมินศักยภาพของพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสมต่อความยืดหยุ่นปรับตัวของเมือง พบว่า นอกเหนือจากร้อยละ 26.72 ที่เป็นพื้นที่เมืองแล้วนั้น พื้นที่ร้อยละ 73.28 ของจังหวัด คือ พื้นที่ศักยภาพ ซึ่งสามารถจำแนกเป็น 5 ระดับตามศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับการขยายตัวของเมือง ประกอบด้วย ศักยภาพสูงมาก (ร้อยละ 3.86) ศักยภาพสูง (ร้อยละ 61.48) ศักยภาพปานกลาง (ร้อยละ 34.13) ศักยภาพต่ำ (ร้อยละ 0.49) และศักยภาพต่ำมาก (ร้อยละ 0.05) ตามลำดับ พื้นที่ระดับศักยภาพสูงมากส่วนใหญ่เป็นการใช้ที่ดินหลากหลายประเภท ประกอบด้วย สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พืชสวน แหล่งน้ำธรรมชาติ ไม้ผล พื้นที่นา พื้นที่ลุ่ม และ ป่าชายเลน ตามลำดับ พื้นที่เหล่านี้กระจายอยู่ในตำบลต่างๆ ใกล้พื้นที่เขตเมืองและอุตสาหกรรมของจังหวัด เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ต้องการพื้นที่สีเขียวรองรับการขยายตัวของเมืองเพื่อส่งเสริมให้เมืองมีความยั่งยืนและยืดหยุ่น


Covid-19 Infodemic And Social Media Platforms In Thailand, Abhibhu Kitikamdhorn Jan 2023

Covid-19 Infodemic And Social Media Platforms In Thailand, Abhibhu Kitikamdhorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aims to fill a knowledge void on disinformation in a non-western context by examining the infodemic phenomenon in Thailand covering an extensive period from 31 December 2019 to 31 July 2021. The research examines how disinformation about COVID-19 spreads on Facebook and Twitter in Thailand, as well as the effectiveness of counter-disinformation approaches, and policy gaps in addressing the infodemic. Data collection relies on these methodologies—content analysis, sentiment analysis, social network analysis, in-depth interviews, and document analysis. Content analysis of sampled data shows that herbal medicine claims, and politicized COVID-19 information, especially about censorship, are prevalent. Contextual factors …


ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในการคัดกรองและตรวจสอบผู้โดยสารของตำรวจตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานดอนเมือง, รัฐพล สุวรรณรัฐ Jan 2023

ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในการคัดกรองและตรวจสอบผู้โดยสารของตำรวจตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานดอนเมือง, รัฐพล สุวรรณรัฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในการคัดกรองและตรวจสอบผู้โดยสารของตำรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานดอนเมืองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของตำรวจตรวจคนเข้าเมืองในการป้องกันอาชญากรรมในการคัดกรอง และตรวจสอบผู้โดยสารที่เดินทางเข้าประเทศไทยผ่านท่าอากาศยานดอนเมือง 2)เพื่อเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรอง และตรวจสอบผู้โดยสารที่เดินทางเข้าประเทศไทยผ่านท่าอากาศยานดอนเมืองใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (semi-structured selection interview) สัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานระดับผู้บริหาร ผู้ควบคุมการปฏิบัติ และผู้ปฏิบัติงานในการคัดกรองและตรวจสอบผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานดอนเมืองที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามาในช่วงเวลาชั่วโมงหนาแน่น ทำให้ระบายผู้โดยสารได้ช้า หรือบุคลากรที่มีในหน่วยงานไม่เพียงพอ ระบบเทคโนโลยีไม่เสถียร ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน เป็นต้น แนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานควรมีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน เช่น ข้อมูลหมายจับ ข้อมูลประวัติบุคคลพ้นโทษ และมีการอัพเดทข้อมูลต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้การตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเป็นไปได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสนามบินและในหลายพื้นที่ต้องปฏิบัติ หน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งมีความจำเป็นต้องประสานตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ จึงควรมีช่องทางกลางในการประสานงานร่วมระหว่างหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิด และสามารถติดต่อสอบถามได้ตลอด 24 ชั่วโมง


พลวัตของแนวคิดและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในยุคหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 และผลกระทบต่อชุมชนพื้นที่รับน้ำ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา, อาทิตย์ ภูบุญคง Jan 2023

พลวัตของแนวคิดและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในยุคหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 และผลกระทบต่อชุมชนพื้นที่รับน้ำ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา, อาทิตย์ ภูบุญคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ประกอบด้วยวัตถุประสงค์การศึกษา 3 ส่วนคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและพัฒนาการของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในประเทศไทย ก่อนและหลังรัฐประหาร 2557 2) เพื่อศึกษาปฏิบัติการ กลไกการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่เกิดขึ้นจริงในระดับพื้นที่ และ 3) เพื่อศึกษาผลกระทบของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับชุมชน ผลการศึกษาพบว่า การจัดการน้ำในยุคหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ถูกกำหนดทิศทางโดยโครงสร้างใหม่ผ่าน 3 เสาหลัก ประกอบด้วย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี และพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 โครงสร้างนี้มีเป้าประสงค์ร่วมคือการแก้ปัญหาการจัดการน้ำของไทยที่ขาดการบูรณาการ และยังมุ่งเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการน้ำระดับลุ่มน้ำและระดับพื้นที่อีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ในเชิงเนื้อหาการจัดการน้ำที่สถาปนาขึ้นใหม่เสมือนมีความก้าวหน้าอย่างมาก ทว่ายังมีรายละเอียดหลายส่วนที่ยังคงสะท้อนว่าอำนาจการจัดการน้ำยังคงรวมศูนย์ไว้ที่รัฐ สำหรับการจัดการน้ำระดับปฏิบัติการในพื้นที่รับน้ำบางบาลนั้น ได้มีการกำหนดโครงสร้างการจัดการน้ำหลายระดับให้สอดคล้องกับโครงสร้างระดับชาติ เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการลุ่มน้ำเจ้าพระยา และการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ ไม่เพียงเท่านั้น การจัดการน้ำในพื้นที่แห่งนี้ยังอยู่ภายใต้นโยบายพื้นที่รับน้ำบางบาล ซึ่งมุ่งปกป้องพื้นที่เมืองและอุตสาหกรรมให้ปลอดภัยจากปัญหาน้ำท่วม ซึ่งกระบวนการกำหนดนโยบายนี้ดำเนินไปโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีความหมาย ภายใต้โครงสร้างการจัดการน้ำที่ที่โยนภาระให้ชาวบ้านรับน้ำ ประกอบกับการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมยังไม่เกิดขึ้นจริงนั้น ได้ก่อให้เกิดผลกระทบหลายประการในพื้นที่ทั้งปัญหาน้ำท่วมและการขาดแคลนน้ำ เหตุดังนี้ ชาวบ้านในพื้นที่จึงสร้างพื้นที่การต่อสู้ต่อรองเพื่อเปลี่ยนแปลงการจัดการน้ำที่เป็นอยู่ให้เป็นธรรมมากยิ่งขึ้น 2 รูปแบบได้แก่ การต่อสู้ต่อรองในพื้นที่สื่อ และการต่อสู้ต่อรองในพรมแดนความรู้ผ่านงานวิจัยชาวบ้าน


A Survey Of Cybersecurity Awareness Among Undergraduate Students At Yunnan University Of Finance And Economics In China, Xiaoyu Du Jan 2023

A Survey Of Cybersecurity Awareness Among Undergraduate Students At Yunnan University Of Finance And Economics In China, Xiaoyu Du

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Telecommunications and cyber fraud are prevalent online risks that have caused trouble for college students. Undergraduate students are particularly vulnerable to fraud due to a lack of experience and cybersecurity awareness. It is essential for educators to provide cybersecurity-related training to raise the students’ level of cybersecurity awareness. The aim of this study was to see how Chinese undergraduate students learned about cybersecurity and examine a relationship between training and cybersecurity awareness. A questionnaire was administered to survey cybersecurity learning approaches and a degree of cybersecurity awareness of undergraduates at Yunnan University of Finance and Economics in China. Four aspects …


การดำเนินงานการแปลงเอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่ให้เป็นดิจิทัลของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, พีรสันต์ ลำต้น Jan 2023

การดำเนินงานการแปลงเอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่ให้เป็นดิจิทัลของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, พีรสันต์ ลำต้น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของเอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติได้รับมอบและจัดเก็บไว้ รวมถึงแหล่งที่มาและวิธีการได้มา และศึกษาการดำเนินงานการแปลงเอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่ให้เป็นดิจิทัลของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ในด้านนโยบายการแปลงให้เป็นดิจิทัล ด้านขั้นตอนการแปลงให้เป็นดิจิทัล และปัญหาที่ประสบ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติส่วนใหญ่จัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่ที่มีลักษณะเป็นแผนที่ แผนผัง และแบบแปลน โดยได้รับเอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่จากหน่วยงานภาครัฐ และมีการกำหนดนโยบายการแปลงเอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่ให้เป็นดิจิทัล หอจดหมายเหตุแห่งชาติส่วนใหญ่จัดจ้างหน่วยงานภายนอกให้ดำเนินการแปลงเอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่ให้เป็นดิจิทัลโดยมีการกำหนดราละเอียดการว่าจ้างได้แก่ ค่าใช้จ่ายมีความเหมาะสมกับงบประมาณที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติได้รับ ความรวดเร็วในการส่งมอบงาน และหน่วยงานผู้รับจ้างมีประสบการณ์หรือเคยได้รับการว่าจ้างจากหอจดหมายเหตุในโครงการก่อนหน้า และหอจดหมายเหตุแห่งชาติมีการกำหนดประเภทของไฟล์ดิจิทัลที่โดยใช้รูปแบบ JPEG และ TIFF ที่มีความละเอียดระหว่าง 200-600 dpi และใช้สื่อจัดเก็บประเภทฮาร์ดไดรฟ์ ปัญหาที่ประสบได้แก่ ปัญหาด้านงบประมาณ ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาด้านนโยบาย และปัญหาด้านเทคโนโลยี


การศึกษาการประยุกต์ใช้มาตรฐานเมทาดาทาเพื่อการสงวนรักษาพรีมิส (Preservation Metadata: Implementation Strategies - Premis) สำหรับคอลเลกชันหนังสือหายากดิจิทัล, ศิริพร คำยาด Jan 2023

การศึกษาการประยุกต์ใช้มาตรฐานเมทาดาทาเพื่อการสงวนรักษาพรีมิส (Preservation Metadata: Implementation Strategies - Premis) สำหรับคอลเลกชันหนังสือหายากดิจิทัล, ศิริพร คำยาด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หนังสือหายากดิจิทัลของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นบนสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วรุดหน้าไปกว่าองค์ความรู้ในการจัดการ เพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้งานหนังสือหายาดิจิทัลในระยะยาว งานวิจัยนี้จึงเน้นศึกษาการประยุกต์มาตรฐานเมทาดาทาเพื่อการสงวนรักษาพรีมิสสำหรับคอลเลกชันหนังสือหายากดิจิทัลในบริบทห้องสมุดมหาวิทยาลัย 3 แห่งในไทย เพื่อเป็นแนวทางกำหนดหน่วยเชิงความหมายในเอ็นทิตี (Entities) และกำหนดค่าข้อมูลในแต่ละหน่วยเชิงความหมายที่เหมาะสมกับบริบทความต้องการของหนังสือหายากดิจิทัล การศึกษาพบว่าบรรณารักษ์ของห้องสมุดทั้ง 3 แห่งกำหนดใช้ 3 เอ็นทิตี ได้แก่ วัตถุ (Object) เหตุการณ์ (Event) และตัวกระทำ (Agent) แต่ไม่เลือกใช้เอ็นทิตีสิทธิ์ (Rights) และกำหนดระดับความสำคัญของหน่วยเชิงความหมายใน 3 เอ็นทิตีที่ระดับความสำคัญต่างกันในแต่ละหน่วยงาน และแตกต่างกับระดับความสำคัญที่ปรากฏในรายการหน่วยเชิงความหมายต้นแบบ นอกจากนี้ บรรณารักษ์ที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมดมีการกำหนดค่าข้อมูลและรูปแบบค่าข้อมูล และใช้แหล่งค่าข้อมูลที่คล้ายกัน เพราะมีกระบวนการจัดการและบรรณารักษ์ผู้ดูแลคอลเลกชันหนังสือหายากดิจิทัลที่มีประสบการณ์และองค์ความรู้ในการปฏิบัติงานที่ใกล้เคียงกัน ปัญหาที่พบจากการใช้มาตรฐานพรีมิส ได้แก่ ความซับซ้อนของมาตรฐานพรีมิสซึ่งกระทบต่อความสามารถในการเรียนรู้และเข้าใจมาตรฐาน ตลอดจนการกำหนดค่าข้อมูลและรูปแบบค่าข้อมูลของบรรณารักษ์ ความสับสนจากลักษณะโครงสร้างของมาตรฐาน และความกังวลเรื่องความสอดคล้องของมาตรฐานกับระบบที่หน่วยงานใช้งานอยู่ และพบความต้องการสิ่งสนับสนุนเพื่อการประยุกต์ใช้มาตรฐานพรีมิสสำหรับหนังสือหายากดิจิทัล ได้แก่ คู่มือ กรณีศึกษา และผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ยังพบความต้องการสิ่งสนับสนุนอื่น ๆ ได้แก่ การศึกษาช่องว่างระหว่างมาตรฐานพรีมิสกับระบบคลังสารสนเทศดิจิทัล ข้อมูลชี้แหล่งค่าข้อมูล เครื่องมือสกัดและบันทึกข้อมูลแทนคน (Automation) และองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการใช้งานมาตรฐานเมทาดาทาพรีมิส


อาเซียนกับความมั่นคงทางพลังงาน, วโรตม์ ชอินทรวงศ์ Jan 2023

อาเซียนกับความมั่นคงทางพลังงาน, วโรตม์ ชอินทรวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษากลไกความร่วมมือทางพลังงานของอาเซียน เพื่อจัดการกับปัญหาความขาดแคลนทางพลังงาน เพื่อไปสู่ความมั่นคงทางพลังงานของภูมิภาคอาเซียน การวิเคราะห์บทบาทตัวแสดงที่สำคัญที่มีส่วนต่อการพึ่งพาอาศัยอันนำไปสู่ความมั่นคงทางพลังงานของภูมิภาคอาเซียน รวมถึงให้ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินนโยบายที่มีส่วนสำคัญต่อความมั่นคงทางพลังงาน ผลวิจัยพบว่าอาเซียนจำเป็นต้องขยายความร่วมมือทางพลังงาน เพื่อจัดการกับปัญหาความขาดแคลนทางพลังงาน และมุ่งไปสู่ความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งมีลักษณะการพึ่งพาอาศัยกันอย่างสลับซับซ้อน (Complex Interdependence) มากยิ่งขึ้นโดยมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ ประการแรก มีช่องทางการปฏิสัมพันธ์และตัวแสดงที่หลากหลายในความร่วมมือ ทั้งบทบาทของรัฐ เอกชน และปัจเจกบุคคล ประการที่สอง ความมั่นคงประกอบไปด้วยประเด็นที่หลากหลายรอบด้านมากกว่าทางการทหาร และความมั่นคงทางพลังงานก็เป็นประเด็นหนึ่งที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียน และประการที่สาม การพึ่งพาอาศัยอย่างสลับซับซ้อน ทำให้มีรัฐเข้าสู่ข้อขัดแย้งที่อาจเกิดการใช้กำลังน้อยลง ส่งเสริมการเกิดสันติภาพขึ้นในภูมิภาคผ่านการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ แต่ก็ยังมีอุปสรรคที่อาเซียนยังต้องร่วมกันแก้ปัญหา และปรับตัวให้ทันกับประเด็นความท้าทายต่อความมั่นคงทางพลังงานในยุคปัจจุบัน


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงในหน่วยงานราชการของประเทศไทย, วิภู ชลานุเคราะห์ Jan 2023

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงในหน่วยงานราชการของประเทศไทย, วิภู ชลานุเคราะห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงในหน่วยงานราชการของประเทศของไทย โดยเป็นงานวิจัยแบบผสมซึ่งอาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหลักฐานและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง 17 ราย จากหน่วยงานราชการทั้งสิ้น 5 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงาน ก.พ. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรมชลประทาน กรมการปกครอง และกรมการพัฒนาชุมชน จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง มีทั้งหมด 19 ปัจจัย ได้แก่ 1. แรงจูงใจในรูปแบบของการพัฒนาตนเอง 2. แรงจูงใจในรูปแบบของเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ 3. แรงจูงใจในรูปแบบของการสร้างเครือข่าย 4. แรงจูงใจในรูปแบบของการมองประโยชน์ขององค์กรเป็นสำคัญ 5. แรงจูงใจจากการเห็นเป็นแบบอย่าง 6. การกำหนดคุณสมบัติด้านภาษาของผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก 7. การมอบอำนาจให้หน่วยงานราชการคัดเลือกข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงเอง 8. ความไม่เข้าใจในสาระสำคัญของกระบวนการพัฒนา 9. ปัญหาด้านงบประมาณเมื่อเวียนกรอบโดยคำสั่งปฏิบัติงาน 10. การลาออกจากระบบระหว่างการเวียนกรอบสั่งสมประสบการณ์ของตัวข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง 11. การหลีกเลี่ยงการอบรมที่ใช้ระยะเวลานาน 12. มุมมองที่ส่วนราชการมีต่อการกำหนดตำแหน่งเป็นการเฉพาะคราว 13. ส่วนราชการไม่ได้จัดสรรค่าตอบแทนพิเศษให้กับข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง 14. การรวบรวมผลงานที่ยากและการเวียนกรอบที่ไม่ตรงกับตำแหน่งเป้าหมาย 15. การติดตามของกองการเจ้าหน้าที่ 16. การดำเนินการของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 17. ข้าราชการผู้ได้รับการกำหนดตำแหน่งเป็นการเฉพาะคราวไม่สามารถกลับเข้าสู่โครงสร้างของหน่วยงานได้ 18. ข้อจำกัดในการขึ้นสู่ระดับเชี่ยวชาญของข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง และ 19. ข้อจำกัดในการขึ้นสู่ระดับอำนวยการของข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง


ภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กรณีศึกษา บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) โรงผลิตสารโอเลฟินส์, วิศิษฏ์ นบน้อม Jan 2023

ภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กรณีศึกษา บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) โรงผลิตสารโอเลฟินส์, วิศิษฏ์ นบน้อม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาภาวะหมดไฟในการทำงานในบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ซึ่งภาวะหมดไฟเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพและประสิทธิภาพของพนักงานในสภาพแวดล้อมที่มีความเครียดในการทำงานสูง ได้ทำการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 122 คน นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานเพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะหมดไฟและผลกระทบที่เกิดขึ้น ผลการศึกษาพบว่าพนักงานส่วนใหญ่ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน มีการรับรู้ถึงภาระงานอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ และรับรู้ถึงทรัพยากรในงานในระดับค่อนข้างสูง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ พฤติกรรมในการทำงานที่เป็นพิษ ปริมาณงาน และ ปัญหาด้านสุขภาพ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ การมีอิสระในการทำงาน ความก้าวหน้าในตำแหน่ง สิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงาน และ ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน โดยที่ปัจจัยที่ใช้ทำนายภาวะหมดไฟในการทำงานคือ ปริมาณงาน ความซับซ้อนของงาน พฤติกรรมในการทำงานที่เป็นพิษ การมีอิสระในการทำงานการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะหมดไฟในการทำงานในด้านองค์กรพบว่า พนักงานส่วนใหญ่ไม่ต้องการลาออกจากที่ทำงาน มีความผูกพันธ์ต่องานและความพึงพอใจในงานอยู่ในระดับค่อนข้างสูง สำหรับด้านสุขภาพ พบว่าภาวะหมดไฟในการทำงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความเสี่ยงต่อโรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้า โดยที่ผู้ที่เริ่มมีความเสี่ยงภาวะหมดไฟในระดับต่ำ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรควิตกกังวลเพิ่มขึ้น 12.9 เท่า และผู้ที่มีความเสี่ยงภาวะหมดไฟระดับปานกลาง มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้น 42 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงภาวะหมดไฟ