Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 481 - 510 of 2268

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

Prioritization Of Mutation Test Case Generation With Centrality Measures, ศุภชัย ทรัพย์มาก Jan 2021

Prioritization Of Mutation Test Case Generation With Centrality Measures, ศุภชัย ทรัพย์มาก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทดสอบการกลายพันธุ์สามารถนำไปใช้กับการประเมินคุณภาพของกรณีทดสอบได้ การจัดลำดับความสำคัญของการสร้างการทดสอบการกลายพันธุ์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของแนวปฏิบัติทางอุตสาหกรรมที่จะมีส่วนช่วยในการประเมินกรณีทดสอบ โดยทั่วไปแล้ว อุตสาหกรรมจะส่งมอบผลิตภัณฑ์ภายใต้เงื่อนไขของเวลาสู่ตลาด ดังนั้นจึงต้องเสียสละงานทดสอบซอฟต์แวร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าจะต้องใช้กรณีทดสอบจำนวนมากสำหรับการตรวจสอบซอฟต์แวร์ การใช้การวัดศูนย์กลางเครือข่ายสังคม เพื่อจัดลำดับความสำคัญของการสร้างการทดสอบการกลายพันธุ์ ซอร์สโค้ดที่มีค่าเพจแรงก์สูงสุด จะถูกเน้นก่อนเมื่อพัฒนากรณีทดสอบ เนื่องจากโมดูลเหล่านี้เสี่ยงต่อข้อบกพร่องหรือความผิดปกติซึ่งอาจทำให้เกิดข้อบกพร่องที่ตามมาในโมดูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ นอกจากนี้ แนวทางดังกล่าวจะช่วยระบุกรณีทดสอบที่ลดได้ในชุดทดสอบ โดยยังคงรักษาเกณฑ์เดียวกันกับจำนวนกรณีทดสอบเดิม


การเปรียบเทียบวิธีในการพยากรณ์ราคาหุ้นด้วยแบบจำลองอารีม่า, โครงข่ายประสาทเทียม และตัวแบบผสม, กาญจน์ภิวรรณ จงศิริวิโรจ Jan 2021

การเปรียบเทียบวิธีในการพยากรณ์ราคาหุ้นด้วยแบบจำลองอารีม่า, โครงข่ายประสาทเทียม และตัวแบบผสม, กาญจน์ภิวรรณ จงศิริวิโรจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ราคาปิดหุ้นรายวันในอนาคต โดยใช้ตัวแบบอารีม่าซึ่งสร้างจากวิธีการค้นหาแบบกริด โครงข่ายประสาทเทียมและตัวแบบผสมในการพยากรณ์ราคาของหุ้น ภายใต้ตัวอย่างหุ้นที่ถูกเลือกมาตามระดับความผันผวนจากสูงไปต่ำ ในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ HANA, DELTA และ SVI ตามลำดับ โดยเก็บข้อมูลราคาปิดรายวันของหุ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ( 5 ปีย้อนหลัง ) ซึ่งอาศัยการแบ่งชุดข้อมูลฝึกสอนด้วยวิธี ตรวจสอบไขว้ (rolling forward validation) ทั้งวิธีตรวจสอบไขว้แบบสะสม และวิธีตรวจสอบไขว้แบบ moving window ซึ่งผลการวิจัยพบว่า เมื่อใช้ค่าเฉลี่ยของร้อยละความผิดพลาดสัมบูรณ์เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกตัวแบบ ทั้งสองวิธีการแบ่งชุดข้อมูลย่อยนั้น โครงข่ายประสาทเทียมมีความแม่นยำมากที่สุดในการพยากรณ์ราคาปิดของหุ้น HANA, DELTA และ SVI รวมถึงตัวแบบผสมดังกล่าวไม่จำเป็นต้องมีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้แต่ละตัวแบบเพียงลำพังเสมอไป ตัวแบบอารีม่าซึ่งสร้างจากวิธีการค้นหาแบบกริดสามารถพยากรณ์ได้ดีกว่าในหุ้นที่มีระดับความผันผวนกลางและระดับต่ำ ในขณะที่โครงข่ายประสาทเทียมสามารถพยากรณ์ได้ดีในทุกระดับความผันผวนราคาหุ้น


โครงข่ายประสาทเทียมสำหรับการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นตามบริบทนัยทั่วไป, ชยานนท์ ขัตติยาภิรักษ์ Jan 2021

โครงข่ายประสาทเทียมสำหรับการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นตามบริบทนัยทั่วไป, ชยานนท์ ขัตติยาภิรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาความสัมพันธ์เชิงเส้นตามบริบท คือปัญหาที่มีตัวแปรต้นที่แบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ โดยในแต่ละกลุ่มจะมีความสัมพันธ์กับผลเฉลยในลักษณะเชิงเส้นที่แตกต่างกัน ทางผู้วิจัยได้สนใจที่จะนำวิธีโครงข่ายประสาทเทียม (Neural Networks) มาแก้ไขปัญหาประเภทดังกล่าว โดยพัฒนาโครงสร้างที่ชื่อว่า Generalized Contextual Regression (GCR) และเปรียบเทียบกับโครงสร้างที่เคยมีมาก่อน ได้แก่ Feedforward Neural Networks (FNN) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้่นฐาน และ Contextual Regression (CR) ซึ่งนำเสนอโดย Liu และ Wang (2017) งานวิจัยนี้จะศึกษาเฉพาะปัญหาการถดถอยเชิงเส้น ที่ตัวแปรต้นไม่เกิน 10 ตัว ซึ่งมีตัวแปรเชิงบริบทไม่เกิน 3 ตัวเท่านั้น โดยจากผลการวิจัยพบว่าวิธี GCR มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์เชิงเส้นตามบริบทเมื่อเปรียบเทียบกับวิธี FNN และ CR


การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการสร้างช่วงความเชื่อมั่นสำหรับสัมประสิทธิ์การถดถอยลอจิสติกในข้อมูลที่มีมิติสูง โดยใช้การประมาณสองขั้นตอนด้วยวิธี Lasso + Mle And A Bootstrap Lasso + Partial Ridge, ณิชากร ไทยวงษ์ Jan 2021

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการสร้างช่วงความเชื่อมั่นสำหรับสัมประสิทธิ์การถดถอยลอจิสติกในข้อมูลที่มีมิติสูง โดยใช้การประมาณสองขั้นตอนด้วยวิธี Lasso + Mle And A Bootstrap Lasso + Partial Ridge, ณิชากร ไทยวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบวิธีการสร้างช่วงความเชื่อมั่นสำหรับสัมประสิทธิ์การถดถอยลอจิสติกในข้อมูลที่มีมิติสูง โดยใช้การประมาณสองขั้นตอนด้วยวิธี Lasso+MLE และวิธี Lasso+ Partial Ridge ซึ่งในการศึกษานี้จะจำลองข้อมูลทั้งหมด 8 ชุด และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของช่วงความเชื่อมั่นที่ได้จากการสร้างช่วงความเชื่อมั่นทั้งหมด 4 วิธี ได้แก่ วิธี Parametric Bootstrap Lasso+MLE, วิธี Parametric Bootstrap Lasso+Partial Ridge, วิธี Paired Bootstrap Lasso+MLE และวิธี Paired Bootstrap Lasso+Partial Ridge โดยใช้เกณฑ์ในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของช่วงความเชื่อมั่น คือ ความกว้างเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่น ค่าความน่าจะเป็นครอบคลุม ค่าความแม่นยำ และค่าความไว จากการศึกษาภายใต้ขอบเขตดังกล่าวผลปรากฏว่า วิธี Parametric Bootstrap Lasso+Partial Ridge มีประสิทธิภาพในการสร้างช่วงความเชื่อมั่นมากที่สุด รองลงมาคือ วิธี Paired Bootstrap Lasso+Partial Ridge และวิธี Paired Bootstrap Lasso+MLE ตามลำดับ และวิธีที่มีประสิทธิภาพในการสร้างช่วงความเชื่อมั่นน้อยที่สุด ก็คือ วิธี Parametric Bootstrap Lasso+MLE ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การสร้างช่วงความเชื่อมั่นสำหรับสัมประสิทธิ์การถดถอยลอจิสติกโดยใช้การประมาณสองขั้นตอนด้วยวิธี Lasso+Partial Ridge มีประสิทธิภาพมากกว่าวิธี Lasso+MLE


การแบ่งส่วนรูปภาพดอกไม้ด้วยการใช้ซาเลียนซีแมปร่วมกับการประยุกต์ใช้ปริภูมิสีเอชเอสวีและหน้ากากสี, ธนณัฏฐ์ หงษ์ทอง Jan 2021

การแบ่งส่วนรูปภาพดอกไม้ด้วยการใช้ซาเลียนซีแมปร่วมกับการประยุกต์ใช้ปริภูมิสีเอชเอสวีและหน้ากากสี, ธนณัฏฐ์ หงษ์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การจำแนกประเภทรูปภาพดอกไม้เป็นสิ่งที่ท้าทาย เนื่องจากความคล้ายคลึงกันทางกายภาพของดอกไม้ เทคนิคการแบ่งส่วนรูปภาพ (Image segmentation) สามารถลดความซับซ้อนขององค์ประกอบภายในพื้นหลังภาพ ทำให้การจำแนกประเภทรูปภาพดอกไม้มีประสิทธิภาพมากขึ้น งานวิจัยชิ้นนี้ได้นำเสนอแนวคิดการแบ่งส่วนรูปภาพ โดยอิงการใช้ประโยชน์จากซาเลียนซีแมป (Saliency map) ในการเลือกบริเวณที่สนใจภายในภาพ และการใช้ปริภูมิสีเอชเอสวี (HSV) ผนวกกับการใช้หน้ากากสี (Color mask) ในการช่วยลดรายละเอียดที่ไม่สำคัญภายในพื้นหลังของรูปภาพ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าวิธีการที่นำเสนอให้ผลลัพธ์การแบ่งส่วนรูปภาพโดยวัดจากค่าเฉลี่ย IoU เท่ากับ 54% (ซึ่งมากกว่างานวิจัยก่อนหน้า 13 %) ในขณะที่ค่าความถูกต้อง ความแม่นยำ ค่าความครบถ้วน และค่า F1 เมื่อจำแนกประเภทดอกไม้ด้วยแบบจำลอง VGG16 ที่ผ่านการปรับโครงสร้างเท่ากับ 87 %


การฝึกปรปักษ์เสมือนด้วยการรบกวนแบบถ่วงน้ำหนักโทเค็นในการจัดประเภทข้อความ, ธีรพงศ์ แซ่ลิ้ม Jan 2021

การฝึกปรปักษ์เสมือนด้วยการรบกวนแบบถ่วงน้ำหนักโทเค็นในการจัดประเภทข้อความ, ธีรพงศ์ แซ่ลิ้ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การจัดประเภทข้อความ (Text classification) เป็นกระบวนการคัดแยกข้อความให้เป็นหมวดหมู่อย่างถูกต้อง ตัวแบบจำลองการฝึกอบรมล่วงหน้าโดยใช้ตัวเข้ารหัสแบบสองทิศจากทรานฟอร์เมอร์ หรือเรียกว่า BERT ช่วยทำให้ตัวแบบจำลองเรียนรู้บริบทของคำแบบสองทิศทาง ส่งผลให้สามารถจัดประเภทข้อความได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ ถึงแม้ว่าตัวแบบจำลอง BERT และตัวแบบจำลองที่เกิดขึ้นจากสถาปัตยกรรมนี้ จะสามารถจัดการงานด้านการประมวลผลทางธรรมชาติได้อย่างยอดเยี่ยม แต่กลับพบว่าตัวแบบจำลองนี้ยังพบเจอปัญหา Overfitting กล่าวคือ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ชุดข้อมูลในการฝึกอบรมมีจำนวนตัวอย่างน้อย ตัวแบบจำลอง BERT จะให้ความสนใจไปที่คำบางคำมากเกินไปจนไม่สนใจบริบทของประโยค จนทำให้ตัวแบบจำลองไม่สามารถทำนายข้อมูลในชุดการทดสอบได้ถูกต้อง ซึ่งส่งผลในประสิทธิของตัวแบบจำลองลดลง ดังนั้นในงานวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนวทาง วิธีการฝึกปรปักษ์เสมือนด้วยการรบกวนแบบถ่วงน้ำหนักโทเค็น ซึ่งรวมการรบกวนสองระดับเข้าด้วยกัน ได้แก่ การรบกวนระดับประโยค และการรบกวนแบบถ่วงน้ำหนักโทเค็น เพื่อสร้างการรบกวนที่มีความละเอียดกว่าการฝึกปรปักษ์เสมือนแบบดั้งเดิม ที่อาศัยเพียงการรบกวนระดับประโยคเท่านั้น วิธีการนี้จะช่วยให้ตัวแบบจำลองสามารถเรียนรู้โทเค็นที่สำคัญในประโยค จากการทดลองบนเกณฑ์มาตรฐานการประเมินความเข้าใจภาษาทั่วไป (GLUE) แสดงให้เห็นว่าวิธีการที่นำเสนอสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของตัวแบบจำลองโดยได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 79.5 ซึ่งมีประสิทธิภาพเหนือกว่าตัวแบบจำลอง BERT และสามารถแก้ไขปัญหา Overfitting ในชุดข้อมูลขนาดเล็ก


การเปรียบเทียบวิธีบูตแสตรปในการประมาณช่วงความเชื่อมั่นของค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเชิงเส้นที่มีมิติสูงด้วยวิธีลาสโซ่แบบปรับปรุงและพาร์เชียลริดจ์, พริษฐ์ ชาญเชิงพานิช Jan 2021

การเปรียบเทียบวิธีบูตแสตรปในการประมาณช่วงความเชื่อมั่นของค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเชิงเส้นที่มีมิติสูงด้วยวิธีลาสโซ่แบบปรับปรุงและพาร์เชียลริดจ์, พริษฐ์ ชาญเชิงพานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอวิธีบูตแสตรปตัวประมาณสัมประสิทธิ์การถดถอยลาสโซ่แบบปรับปรุงและพาร์เชียลริดจ์ ซึ่งเป็นตัวประมาณแบบ 2 ขั้นตอน คือใช้วิธีลาสโซ่แบบปรับปรุงในการคัดเลือกตัวแปรอิสระจากนั้นใช้วิธีริดจ์ในการประมาณค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย และเปรียบเทียบกับวิธีบูตแสตรปตัวประมาณสัมประสิทธิ์การถดถอยลาสโซ่และพาร์เชียลริดจ์ โดยทดลองบูตแสตรป 2 วิธีคือ วิธีสุ่มส่วนเหลือและวิธีสุ่มตัวแปรตามพร้อมกับตัวแปรอิสระ ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้วัดประสิทธิภาพคือ ความกว้างของช่วงความเชื่อมั่น ความน่าจะเป็นครอบคลุม อัตราผลบวกเทียม และอัตราผลลบเทียม งานวิจัยนี้ศึกษาสัมประสิทธิ์การถดถอยใน 2 ลักษณะได้แก่ บางเบาอย่างอ่อนและบางเบาอย่างรุนแรง และจำลองข้อมูลจากการแจกแจงแบบปกติหลายตัวแปรโดยใช้เมทริกซ์ความแปรปรวนร่วมของค่าคลาดเคลื่อนที่แตกต่างกัน ทั้งหมด 8 กรณี ผลการศึกษาพบว่าวิธีบูตแสตรปแบบสุ่มส่วนเหลือตัวประมาณลาสโซ่แบบปรับปรุงและพาร์เชียลริดจ์มีประสิทธิภาพสูงสุดในแง่การให้ความกว้างของช่วงความเชื่อมั่นโดยเฉลี่ยสั้นที่สุดในเกือบทุกกรณี และวิธีบูตแสตรปแบบสุ่มตัวแปรตามพร้อมกับตัวแปรอิสระตัวประมาณลาสโซ่และพาร์เชียลริดจ์มีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อพิจารณาด้วยเกณฑ์อัตราผลบวกเทียม อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาด้วยเกณฑ์ความน่าจะเป็นครอบคลุมและอัตราผลลบเทียมพบว่าไม่ปรากฏวิธีการบูตแสตรปแบบใดแบบหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างชัดเจน


การศึกษาเปรียบเทียบการประมาณค่าจากตัวแบบการถดถอย สำหรับข้อมูลที่มีการแจกแจงแบบล็อกนอร์มอล ที่ถูกตัดปลายทางขวาแบบสุ่มที่มีการแจกแจงแบบเบตา, ธัญพิชชา ยอดแก้ว Jan 2021

การศึกษาเปรียบเทียบการประมาณค่าจากตัวแบบการถดถอย สำหรับข้อมูลที่มีการแจกแจงแบบล็อกนอร์มอล ที่ถูกตัดปลายทางขวาแบบสุ่มที่มีการแจกแจงแบบเบตา, ธัญพิชชา ยอดแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการประมาณค่าจากตัวแบบการถดถอย สำหรับข้อมูลที่มีการแจกแจงแบบล็อกนอร์มอล ที่ถูกตัดปลายทางขวาแบบสุ่มที่มีการแจกแจงแบบเบตา ด้วยวิธีการประมาณค่าแบบกำลังสองต่ำสุด (OLS) วิธีของแชตเทอร์จีและแมคลีช (CM) วิธีภาวะน่าจะเป็นสูงสุดด้วยขั้นตอนวิธีอีเอ็ม (MLE_EM) วิธีภาวะน่าจะเป็นสูงสุดด้วยขั้นตอนอีเอ็ม เมื่อมีการปรับค่าข้อมูลก่อนคำนวณด้วยค่าเฉลี่ย (MLE_EM_MEAN) และวิธีภาวะน่าจะเป็นสูงสุดด้วยขั้นตอนอีเอ็ม เมื่อมีการปรับค่าข้อมูลก่อนคำนวณด้วยค่ามัธยฐาน (MLE_EM_MED) เปรียบเทียบจากค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ของค่าเฉลี่ยของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสอง โดยจำลองข้อมูลทั้งหมด 2187 สถานการณ์ จากการศึกษาพบว่า 1) เมื่อข้อมูลมีขนาดเล็กหรือปานกลาง (n=30,50) และมีเปอร์เซ็นต์ในการถูกตัดปลายทางขวาน้อย (r1=10) วิธี OLS และ CM เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แตกต่างกันตามลักษณะการกระจายตัวของตัวแปรอิสระและความคลาดเคลื่อน 2) วิธีในกลุ่ม MLE_EM มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อตัวอย่างขนาดปานกลาง (n=50) ถูกตัดปลายทางขวาปานกลางหรือมาก (r1=20,30) และตัวอย่างขนาดใหญ่ (n=100) โดยแบ่งตามช่วงการเข้ามาของข้อมูล เมื่อข้อมูลเข้ามาในช่วงต้นของการเปิดรับ วิธี MLE_EM_MED มีประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะที่เมื่อข้อมูลเข้ามาในช่วงกลางของการเปิดรับ วิธีในกลุ่ม MLE_EM จะมีประสิทธิภาพสูงสุด และเมื่อข้อมูลเข้ามาในช่วงท้ายของการเปิดรับ วิธี MLE_EM และ MLE_EM_MEAN เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด 3) ทุกวิธีมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อตัวอย่างมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือข้อมูลถูกตัดปลายทางขวาน้อยลง หรือสัดส่วนของช่วงเวลาที่เปิดรับข้อมูลเข้ามาเพื่อศึกษาต่อช่วงเวลาที่ศึกษาข้อมูลลดลง หรือความคลาดเคลื่อนกระจายตัวน้อยกว่าตัวแปรอิสระ


การวิเคราะห์โครงข่ายของโรคที่เกิดร่วมกันในผู้สูงอายุไทย, อรพินท์ สิงห์โตทอง Jan 2021

การวิเคราะห์โครงข่ายของโรคที่เกิดร่วมกันในผู้สูงอายุไทย, อรพินท์ สิงห์โตทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาวะโรคร่วม หรือ Comorbidity คือการเกิดโรคร่วมกันตั้งแต่สองโรคขึ้นไปในผู้ป่วยรายเดียวและเป็นประเด็นที่น่าสนใจทางด้านสาธารณสุข ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาการวิเคราะห์โครงข่ายของภาวะโรคร่วมในผู้สูงอายุไทยโดยมีการเปรียบเทียบรูปแบบของโครงข่ายของภาวะโรคร่วม โดยใช้ข้อมูลประวัติการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในปี พ.ศ.2562 ที่ได้จากฐานข้อมูลผู้ป่วยภายใต้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จากการศึกษาพบว่า การกำหนดรูปแบบและเกณฑ์ในการแบ่งรูปแบบปฏิสัมพันธ์ที่แตกต่างกันสำหรับการแสดงผลของโครงข่ายนั้นจะมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกัน สำหรับกรณีที่ผู้ศึกษาต้องการดูภาพรวมของโครงข่ายทั้งหมดว่ามีโรคใดบ้างที่พบมากเป็นลำดับแรก ๆ ควรกำหนดให้เกณฑ์ค่าความชุกในตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่ต่ำ เพื่อให้โครงข่ายแสดงโหนดออกมาในจำนวนมากแต่ทั้งนี้อาจจะไม่เหมาะสำหรับการดูประเภทของรูปแบบปฏิสัมพันธ์เนื่องจากอาจเกิดเส้นเชื่อมจำนวนมากทำให้มีโครงข่ายความซับซ้อน สำหรับกรณีที่ต้องการทราบว่า โรคใดบ้างที่มีความสัมพันธ์กันสูง ควรจะกำหนดเกณฑ์ค่าลิฟต์ให้มีค่าสูง เนื่องจากค่าลิฟต์เป็นค่าที่บ่งบอกถึงระดับความสัมพันธ์ระหว่างคู่โหนดนั่นเอง และการกำหนดคุณลักษณะที่เหมาะสมให้กับส่วนประกอบของโครงข่ายจะทำให้เข้าใจถึงภาวะโรคร่วมได้ดี และโดยทั่วไปแล้วผู้วิจัยแนะนำให้ใช้การแสดงผลแบบ Fruchterman-Reingold เนื่องจากเป็นรูปแบบที่มีการกำหนดให้แต่ละเส้นเชื่อมตัดกันน้อยที่สุด รวมถึงการกระจายของโหนดอย่างเท่าเทียมทำให้โครงข่ายที่ได้มีความสวยงามและเข้าใจง่าย หรือทั้งนี้ผู้ใช้งานอาจจะพิจารณาจากหลายโครงข่ายประกอบกัน


ความเหมาะสมของโมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนแบบสะท้อนและแบบก่อตัว : การวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบเบส์, พิมพ์ลักษณ์ เจริญวานิชกูร Jan 2021

ความเหมาะสมของโมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนแบบสะท้อนและแบบก่อตัว : การวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบเบส์, พิมพ์ลักษณ์ เจริญวานิชกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความเหมาะสมของโมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระหว่างโมเดลการวัดแบบสะท้อนและแบบก่อตัว 2) เปรียบเทียบความเป็นพลเมืองดิจิทัลและองค์ประกอบของความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนที่มีภูมิหลังต่างกัน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 450 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัล จำนวน 46 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบเบส์ และการวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบความถี่ ด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนแบบสะท้อน (Reflective-Reflective) มีความเหมาะสมมากกว่าโมเดลการวัดแบบก่อตัว (Reflective-Formative) 2) ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียน เมื่อเปรียบเทียบตามเพศ ระดับชั้น ระยะเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการพักผ่อน และระยะเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อพบปะกับเพื่อนฝูง พบว่ามีความเป็นพลเมืองดิจิทัลแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อเปรียบเทียบตามแผนการเรียน ขนาดโรงเรียน และระยะเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา พบว่ามีความเป็นพลเมืองดิจิทัลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบปฏิสัมพันธ์ระหว่างขนาดโรงเรียนและแผนการเรียน พบว่า โรงเรียนขนาดกลาง นักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนวิทย์–คณิตและศิลป์–คำนวณมีความเป็นพลเมืองดิจิทัลสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนศิลป์–ภาษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พิจารณาองค์ประกอบของความเป็นพลเมืองดิจิทัล พบว่า องค์ประกอบที่ 1 การรู้ดิจิทัล นักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนวิทย์–คณิตและศิลป์–คำนวณมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนศิลป์–ภาษา นักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดกลาง และนักเรียนที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา 5-6 ชั่วโมง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ใช้เวลา 3-4 ชั่วโมงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบที่ 2 การมีส่วนร่วมทางดิจิทัล นักเรียนหญิงมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนชาย นักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนวิทย์–คณิตและศิลป์–คำนวณมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนศิลป์–ภาษา นักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบที่ 3 การรักษาอัตลักษณ์ในโลกดิจิทัล นักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนวิทย์–คณิตและศิลป์–คำนวณมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในแผนการเรียนศิลป์–ภาษา นักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนขนาดกลาง และนักเรียนที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา 5-6 ชั่วโมง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ใช้เวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมง 1-2 ชั่วโมง และ 3-4 ชั่วโมง และนักเรียนที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษามากกว่า 6 ชั่วโมง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ใช้เวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมง และ 3-4 ชั่วโมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบที่ 4 การมีจริยธรรมในการใช้ดิจิทัล …


การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโมเดลการถดถอยเชิงลำดับชั้นที่มีอัตสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่และโมเดลการถดถอยพหุระดับสำหรับการทำนายความอยู่ดีมีสุขของนักเรียน, ประภาพรรณ ยดย้อย Jan 2021

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโมเดลการถดถอยเชิงลำดับชั้นที่มีอัตสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่และโมเดลการถดถอยพหุระดับสำหรับการทำนายความอยู่ดีมีสุขของนักเรียน, ประภาพรรณ ยดย้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความอยู่ดีมีสุขของนักเรียนเป็นสิ่งสำคัญทางการศึกษาเชิงบวกและโรงเรียนมีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมให้นักเรียนทุกคนมีความอยู่ดีมีสุข การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะความอยู่ดีมีสุขของนักเรียน บรรยากาศโรงเรียน และความร่วมมือระหว่างโรงเรียนจำแนกตามภูมิหลังและพื้นที่ (2) เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุของความอยู่ดีมีสุขของนักเรียนระหว่างโมเดลการถดถอยเชิงลำดับชั้นที่มีอัตสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ (Hierarchical Spatial Autoregressive Model: HSAR) กับโมเดลการถดถอยพหุระดับ (Multilevel Regression Model: MLM) ด้วยวิธีการประมาณค่าแบบเบย์ (Bayesian estimation) และใช้อัลกอรึทึมการสุ่มตัวอย่างด้วยลูกโซ่มาร์คอฟมอนติคาร์โล (Markov Chain Monte Carlo) โดยใช้ข้อมูลจริงจากนักเรียน 1,981 คน และคุณครู 282 คน ของโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 55 โรงเรียน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน มีตัวแปรทำนายสำคัญ คือ บรรยากาศโรงเรียน และความร่วมมือระหว่างโรงเรียนซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ข้ามระดับ (cross-level interaction term) ของความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับบรรยากาศโรงเรียนโดยความร่วมมือระหว่างโรงเรียนเป็นตัวแปรปรับ (moderator) และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นตัวแปรควบคุม (covariate) ผลการวิจัยพบว่า โมเดลทั้งสองมีประสิทธิภาพในการทำนายความอยู่ดีมีสุขของนักเรียนใกล้เคียงกัน (R2 MLM = 0.534, R2 HSAR = 0.529, LLMLM = -2039.6, LLHSAR = -2389.75, DICMLM = 4151.91, DICHSAR = 4955.43) แต่ให้สารสนเทศในมุมมองที่แตกต่างกัน โดยโมเดล HSAR จะให้รายละเอียดได้มากกว่าโดยเฉพาะการแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของความสัมพันธ์เชิงพื้นที่อย่างมีนัยสำคัญ (Lambda = 0.70 , SE = 0.30) ในขณะที่โมเดล MLM ไม่สามารถให้ผลวิเคราะห์ส่วนนี้ได้อีกทั้งยังตรวจพบอัตสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ในเศษเหลือของโมเดล MLM (Moran’s I = 0.09, p-value = 0.031) ซึ่งเป็นการละเมิดข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์ถดถอยอีกด้วย โมเดล HSAR จึงเป็นโมเดลที่เหมาะสมในการอธิบายปัจจัยเชิงสาเหตุของความอยู่ดีมีสุขของนักเรียนมากกว่า ผลการวิเคราะห์จากโมเดล HSAR …


การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา, อักษราภัคส์ โกสินรุ่งเรือง Jan 2021

การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา, อักษราภัคส์ โกสินรุ่งเรือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพของทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน 2) ตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 893 คน และครูผู้สอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 78 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งเก็บข้อมูลจากโรงเรียนจำนวน 39 แห่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดกรุงเทพมหานคร สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามสำหรับนักเรียน และแบบสอบถามสำหรับครู การวิเคราะห์สถิติบรรยายด้วยโปรแกรม SPSS 22.0 และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ (The Multilevel Structural Equation Model: MSEM) ด้วยโปรแกรม Mplus 8.8 ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพของทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง เพศหญิงและเพศชายมีระดับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมไม่แตกต่างกัน 2) โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 86.903, df = 71, p-value = 0.0966 และ RMSEA = 0.016) โดยระดับนักเรียน พบว่า การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย เจตคติต่อการเรียน และความเชื่ออำนาจภายในตน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน อีกทั้งการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยยังส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนโดยส่งผ่านความเชื่ออำนาจภายในตนของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับระดับโรงเรียนพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และบรรยากาศในชั้นเรียน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตัวแปรทำนายทั้งหมดในระดับนักเรียนและระดับโรงเรียนสามารถอธิบายความแปรปรวนของทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมได้ร้อยละ 71 และ 95 ตามลำดับ


คลังข้อมูล ธุรกิจอัจฉริยะ และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงของธุรกิจค้าปลีกโทรศัพท์มือถือมือสอง, ธานี ธีรวณิช Jan 2021

คลังข้อมูล ธุรกิจอัจฉริยะ และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงของธุรกิจค้าปลีกโทรศัพท์มือถือมือสอง, ธานี ธีรวณิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ทั่วโลกกำลังได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำส่งผลให้การบริโภคของผู้บริโภคเป็นไปด้วยความระมัดระวัง โทรศัพท์มือถือมือสองจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการลดรายจ่ายในภาวะวิกฤตินี้ การนำข้อมูลของธุรกิจมาศึกษาและวิเคราะห์จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อสร้างความเข้าใจในธุรกิจ ช่วยให้องค์กรได้เห็นมุมมองใหม่ ๆ เป็นประโยชน์ในการวางแผนการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือส่งเสริมการผลิตและจัดจำหน่ายได้มากขึ้น ช่วยสนับสนุนให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจ กำหนดกลยุทธ์ที่สำคัญ และแนวทางการดำเนินของธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โครงการคลังข้อมูล ธุรกิจอัจฉริยะ และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงของธุรกิจค้าปลีกโทรศัพท์มือถือมือสองประกอบด้วย 5 ระบบหลัก ได้แก่ (1) ระบบวิเคราะห์การขายและกำไร (2) ระบบวิเคราะห์ราคาตลาด และผลต่างการประมาณต้นทุน (3) ระบบวิเคราะห์การรับประกัน (4) ระบบวิเคราะห์การมีปฏิสัมพันธ์บนเครือข่ายสังคมและ (5) ระบบพยากรณ์จำนวนปฏิสัมพันธ์บนเครือข่ายสังคม ระบบได้ถูกพัฒนาขึ้นด้วยระบบจัดการฐานข้อมูล Microsoft SQL Server 2017 โดยใช้โปรแกรม Tableau Desktop 10.5 ในการจัดทำระบบวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูล ระบบที่พัฒนาขึ้นสำหรับโครงการพิเศษนี้จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ วิเคราะห์ได้หลายมุมมอง ใช้ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มความสามารถในการทำกำไร สร้างความได้เปรียบในสภาวะการแข่งขันที่สูง และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว


ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจค้าบิตคอยน์, ศุภพงศ์ คงเจริญ Jan 2021

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจค้าบิตคอยน์, ศุภพงศ์ คงเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันสกุลเงินคริปโตบิตคอยน์ ถือเป็นสินทรัพย์สำหรับการลงทุนตัวหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเนื่องด้วยความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ และความผันผวนของสกุลเงินปกติ ซึ่งวิธีการลงทุนในสกุลเงินบิตคอยน์ก็มีหลากหลายวิธี หนึ่งในนั้นคือการลงทุนโดยอาศัยการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคที่ประยุกต์มาจากการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็ว เพราะเป็นการใช้หลักการทางคณิตศาสตร์แปลงราคาของสินทรัพย์ออกมาเป็นปัจจัยชี้วัด ซึ่งปัจจัยชี้วัดนั้นมีหลากหลายชนิด แต่ละชนิดมีการตั้งค่าได้หลากหลายวิธี ทำให้โดยปกติการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคจะมีการใช้ปัจจัยชี้วัดเพียงไม่กี่ตัว ดังนั้น เพื่อเพิ่มจำนวนปัจจัยชี้วัดที่ใช้ในการวิเคราะห์ จำเป็นต้องอาศัยคอมพิวเตอร์โดยใช้การเรียนรู้ของเครื่อง มาช่วยวิเคราะห์และพยากรณ์ราคาบิตคอยน์ โครงการ “ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจค้าบิตคอยน์” ประกอบด้วย 5 ระบบหลัก ได้แก่ (1) ระบบรวบรวมข้อมูลธุรกรรมด้านบิตคอยน์ (2) ระบบสร้างปัจจัยทางเทคนิค (3) ระบบสร้างโมเดลพยากรณ์ราคาบิตคอยน์ล่วงหน้า (4) ระบบแนะนำการค้าบิตคอยน์ (5) ระบบเว็บแอปพลิเคชั่นสำหรับการพยากรณ์ราคาบิตคอยน์ โดยระบบถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้ระบบฐานข้อมูล PosgreSQL 14 และภาษาโปรแกรม Python 3.7 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจค้าบิตคอยน์ จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างโมเดลพยากรณ์ราคาบิตคอยน์ ผ่านส่วนติดต่อผู้ใช้งานได้อย่างสะดวกมากขึ้น และสรุปข้อมูลออกมาเป็นกราฟแสดงผล และสร้างคำแนะนำสำหรับการซื้อขายบิตคอยน์ในแต่ละวันได้อย่างรวดเร็วแก่ผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ


คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ทางด้านหลักทรัพย์, วริศรา รุ่งจิรธนานนท์ Jan 2021

คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ทางด้านหลักทรัพย์, วริศรา รุ่งจิรธนานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ทางด้านหลักทรัพย์มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก ทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างสูง ทั้งในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการให้บริการ เพื่อให้สามารถรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง องค์กรจึงให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูลในมุมมองต่างๆ เพื่อให้สามารถมองเห็นถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างรวดเร็ว และช่วยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจวางแผนพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และการให้บริการ บริหารจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร และยังสามารถวางแผนกำลังคนเพื่อรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต อีกทั้งยังช่วยให้เข้าใจความต้องการของลูกค้า และนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่จะช่วยให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้ตามกลยุทธ์ที่วางไว้ เป็นการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า และทำให้องค์กรได้เปรียบคู่แข่ง โครงการ “คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ทางด้านหลักทรัพย์” ประกอบด้วย 5 ระบบ ได้แก่ ระบบวิเคราะห์การแจ้งปัญหา ระบบวิเคราะห์การใช้บริการ ระบบวิเคราะห์ความพึงพอใจ ระบบวิเคราะห์การปฏิบัติงานของพนักงาน และระบบวิเคราะห์การติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ โดยพัฒนาขึ้นบนฐานข้อมูล Microsoft SQL Server 2017 และใช้โปรแกรม Tableau Desktop 2021.2 ในการจัดทำระบบวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูล


คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจค้าปลีกของใช้ในบ้านบนตลาดออนไลน์, ไปรยา หล้าเตจา Jan 2021

คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจค้าปลีกของใช้ในบ้านบนตลาดออนไลน์, ไปรยา หล้าเตจา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันการซื้อขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม E-Marketplace มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการธุรกิจจำนวนมากจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางการออนไลน์มากขึ้น อันจะนำไปสู่การแข่งขันทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ต้องเผชิญกับความท้าทาย และในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสทางธุรกิจ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์วางแผนกลยุทธ์ สนับสนุนการตัดสินใจในการดำเนินงานของธุรกิจ เพื่อให้รองรับกับความต้องการของลูกค้าและปรับตัวกับสถานการณ์ของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง โครงการ “คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของธุรกิจค้าปลีกของใช้ในบ้านบนตลาดออนไลน์” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยผู้บริหารวิเคราะห์ธุรกิจในมุมมองที่สนใจได้อย่างรวดเร็ว และง่ายต่อการใช้งาน โดยประกอบด้วย 5 ระบบหลัก ได้แก่ ระบบวิเคราะห์การขาย ระบบวิเคราะห์กําไรและต้นทุน ระบบวิเคราะห์รายการส่งเสริมการขาย ระบบวิเคราะห์คลังสินค้า และระบบวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า โดยได้พัฒนาขึ้นบนระบบการจัดการฐานข้อมูล Microsoft SQL Server 2019 และใช้เครื่องมือต่างๆ ของชุดโปรแกรม Microsoft Power BI Desktop 2021.3.0 ระบบสารสนเทศจากโครงการพิเศษนี้จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในมุมมองต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจที่จะสามารถเอาชนะความท้าทายในการแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความได้เปรียบให้กับบริษัท


คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของร้านอาหารทะเล, สุจิตรา กวินเมธาวันต์ Jan 2021

คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของร้านอาหารทะเล, สุจิตรา กวินเมธาวันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจร้านอาหารถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีการแข่งขันที่รุนแรงในประเทศไทย พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตทำให้ร้านอาหารต้องปรับตัวเพื่อที่จะตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งปัจจุบันธุรกิจร้านอาหารยังเจอกับวิกฤติจากสภาพแวดล้อมภายนอกคือการระบาดของ Covid-19 ซึ่งส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อธุรกิจร้านอาหาร ดังนั้นธุรกิจร้านอาหารต้องมีการปรับตัวเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการจะช่วยทำให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและช่วยให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โครงการ “คลังข้อมูลและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของร้านอาหารทะเล” ประกอบด้วย 5 ระบบหลักได้แก่ ระบบวิเคราะห์การขายและกำไรขั้นต้น ระบบวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า ระบบวิเคราะห์กิจกรรมส่­งเสริมการขาย ระบบวิเคราะห์การใช้โต๊ะอาหาร และ ระบบวิเคราะห์การขายอาหารแบบจัดส่งถึงบ้าน โดยระบบได้พัฒนาขึ้นบนระบบจัดการฐานข้อมูล Microsoft SQL Server 2019 และใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ของ Tableau Version 2020.1 ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นนี้จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในมุมมองต่าง ๆ ได้อย่าง ถูกต้องและรวดเร็ว เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันของธุรกิจโต๊ะจีนนอกสถานที่, ภูริน โชครัศมีศิริ Jan 2021

การใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันของธุรกิจโต๊ะจีนนอกสถานที่, ภูริน โชครัศมีศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจโต๊ะจีนเป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดเลี้ยง โดยเป็นการให้บริการจัดเลี้ยงนอกสถานที่ ซึ่งนิยมใช้ในงานมงคล และงานเลี้ยงสังสรรค์ต่าง ๆ โดยเป็นธุรกิจที่จะช่วยอำนวยความสะดวก ให้กับผู้จัดงานที่ต้องการเลี้ยงคนจำนวนมาก โดยเป็นการให้บริการตั้งแต่จัดโต๊ะและอุปกรณ์บนโต๊ะ บริการอาหารและเครื่องดื่ม จนกระทั่งการให้บริการภายในงานโดยพนักงานบริการ ซึ่งเป็นการลดภาระของผู้จัดงานหรือผู้ใช้บริการลงไปได้ส่วนหนึ่ง ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้ธุรกิจโต๊ะจีนนอกสถานที่แบบเดิม ๆ ซึ่งติดต่อกันผ่านทางโทรศัพท์และทางแอปพลิเคชันไลน์ ไม่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากพอในการให้บริการลูกค้า ดังนั้นการนำการคิดเชิงออกแบบมาประยุกต์กับเว็บแอปพลิเคชันของธุรกิจโต๊ะจีนนอกสถานที่จะทำให้เกิดเว็บแอปพลิเคชันต้นแบบที่ช่วยให้ธุรกิจโต๊ะจีนนอกสถานที่นี้ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ระบบต้นแบบที่ได้จากโครงการนี้จะช่วยให้การดำเนินงานของธุรกิจโต๊ะจีนนอกสถานที่ ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น โดยจะช่วยให้ได้เว็บแอปพลิเคชันที่มีความน่าสนใจและตอบโจทย์ผู้ใช้งานจริงมากยิ่งขึ้น


ระบบจัดการการประมูลอสังหาริมทรัพย์แบบเปิด, สรวิศ โพธิ์ศิริกุล Jan 2021

ระบบจัดการการประมูลอสังหาริมทรัพย์แบบเปิด, สรวิศ โพธิ์ศิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจการประมูลอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทยในปัจจุบัน เริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น ตามพัฒนาการของการประมูลทางสื่อออนไลน์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เจ้าของทรัพย์สินสนใจนำทรัพย์สินของตนมาเสนอขายด้วยวิธีการประมูล ด้วยเหตุนี้จึงเกิดบริษัทใหม่ในธุรกิจจัดประมูลอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น ถึงกระนั้นบริษัทที่เริ่มต้นใหม่ส่วนมากยังไม่มีการนำระบบสารสนเทศมาช่วยสนันสนุนการดำเนินงานของธุรกิจมากนักซึ่งนำมาสู่การจัดทำ "โครงการระบบจัดการการประมูลอสังหาริมทรัพย์แบบเปิด" นี้ขึ้น โครงการ “ระบบจัดการการประมูลอสังหาริมทรัพย์แบบเปิด” ประกอบไปด้วย 7 ระบบ ได้แก่ ระบบจัดการบัญชีผู้ใช้ ระบบจัดการข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ระบบจัดการกิจกรรมการประมูล ระบบนัดหมายการเข้าชมอสังหาริมทรัพย์ ระบบประมูลอสังหาริมทรัพย์ ระบบขายอสังหาริมทรัพย์ และระบบวิเคราะห์ยอดขายและรายได้การประมูล โดยใช้ Microsoft SQL Server 2019 ในการจัดการฐานข้อมูล ใช้โปรแกรม Visual Studio 2019 เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบและใช้โปรแกรม Tableau Desktop 2021.1 เป็นเครื่องมือในการพัฒนาธุรกิจอัจฉริยะ


Isolation Of Α-Glucosidase Inhibitors And Cytotoxic Compounds From Heartwood Of Mansonia Gagei Drumm, Le Thi Thu Huong Jan 2021

Isolation Of Α-Glucosidase Inhibitors And Cytotoxic Compounds From Heartwood Of Mansonia Gagei Drumm, Le Thi Thu Huong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Phytochemical and biological investigations were carried out on the heartwoods of M. gagei. Twelve known compounds (1–11, 29), ten new sesquiterpenoids (12–21), seven novel compounds (22–28) and one new neolignan (30) were isolated. Their structures were elucidated by spectroscopic data analysis (UV-Vis, FTIR, 1D, 2D NMR and HRESIMS), and their absolute configurations were established by calculation of ECD data. Isolated compounds were evaluated for antioxidant, cytotoxic activity and enzyme inhibitory activity against α-glucosidase. Interestingly, mansonialactam (21) showed significant inhibitory activity against α-glucosidase from the yeast with the IC50 value of 0.2 ± 0.05 mM which was 468 times lower than …


Development Of Copper Complexes Containing Quinoline Derivatives As Photoredox Catalysts For Atra Reactions, Pawittra Chaibuth Jan 2021

Development Of Copper Complexes Containing Quinoline Derivatives As Photoredox Catalysts For Atra Reactions, Pawittra Chaibuth

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The photocatalytic for C-C and C-S bond formations by ATRA reaction is an attractive topic in green organic synthesis. In the first part of this dissertation, a series of aminoquinoline-methylpyridine conjugates (1Q, 2Q, and 3Q) was synthesized, characterized, and used as a ligand for complexing Cu(II) ion. The ligand containing one aminoquinoline unit and two methylpyridine (1Q), gave the complex with the highest catalytic activity for haloalkylation of alkenes. The reaction proceeds well with high chemo- regio- and stereoselectivity for over 20 examples of alkenes. The mechanistic study is consistent with the visible-light-induced homolysis (VLIH) of Cu(II)-X bond to Cu(I) …


Colorimetric Sensors For Formaldehyde Detection And Electrochemiluminescent For Pathogens Detection, Uma Pongkitdachoti Jan 2021

Colorimetric Sensors For Formaldehyde Detection And Electrochemiluminescent For Pathogens Detection, Uma Pongkitdachoti

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this work, two methods for the detection of formaldehyde and one assay for detection of Cryptosporidium parvum DNA (C. parvum) in water samples were developed. For the detection of formaldehyde, silver-doped hydroxyapatite (Ag-HAP) was used to extract formaldehyde from high volume samples and the Tollens’ reaction occurred on the solid surface. After the reaction, silver nanoparticles were produced on the material resulting in the material color change from off-white to yellow or brown depending on the concentration of formaldehyde. By using the Ag-HAP, the detection of formaldehyde was achieved by measuring the color intensity. Under the optimized conditions, this …


Nanocellulose-Chitosan-Metal Organic Framework Composites For Arsenic Removal, Yatika Paisart Jan 2021

Nanocellulose-Chitosan-Metal Organic Framework Composites For Arsenic Removal, Yatika Paisart

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this work, a new composite sponge of chitosan, nanocellulose, and MIL-53(Fe) metal-organic-framework were synthesized and applied for As(III) and As(V) removal. Nanocellulose with an average size of 433.5 ± 41.0 nm were prepared and used. The octahedron crystalline MIL-53(Fe) was successfully synthesized. The nanocellulose was mixed with chitosan and MIL-53(Fe) before crosslinking and freeze-drying. The obtained materials were characterized by Fourier transform infrared spectroscopy, nitrogen adsorption, scanning electron microscope, and energy dispersive x-ray spectroscopy. The results showed that the composite sponge was successfully fabricated with a suitable weight ratio of 2CS: 1NC: 1.5MIL-53(Fe). The CS-NC-MIL-53(Fe) composite exhibited a highly …


การประกอบตัวด้วยตนเองและการตอบสนองโดยการเปลี่ยนสีของวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอเซทิลีน/โลหะออกไซด์ โดยวิธีการผสมในรูปแบบสารละลาย, จิดาภา แสงวารินทร์ Jan 2021

การประกอบตัวด้วยตนเองและการตอบสนองโดยการเปลี่ยนสีของวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอเซทิลีน/โลหะออกไซด์ โดยวิธีการผสมในรูปแบบสารละลาย, จิดาภา แสงวารินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการประกอบตัวของวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอเซทิลีน/โลหะออกไซด์ และพฤติกรรมการตอบสนองโดยการเปลี่ยนสีต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก โดยทำการสังเคราะห์โลหะออกไซด์ได้แก่ ซิลิกาจากวิธีโซล-เจล และซิงก์ออกไซด์จากวิธีโซลโวเทอร์มอล และนำมาเตรียมเป็นวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอเซทิลีน/โลหะออกไซด์ โดยใช้ 10,12 pentacosadiynoic acid (PCDA) เป็นมอนอเมอร์ ด้วยวิธีการผสมในรูปแบบสารละลาย จากนั้นทดสอบสมบัติการตอบสนองโดยการเปลี่ยนสีต่ออุณหภูมิ และกรด-เบสของวัสดุเชิงประกอบที่เตรียมได้ เนื่องจากโซล-เจลซิลิกา มีลักษณะเป็นทรงกลม ขนาดเล็ก และมีขนาดสม่ำเสมอ ทำให้วัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอเซทิลีน/ซิงก์ไอออน/โซล-เจลซิลิกา มีปริมาณผลิตภัณฑ์ที่สูงกว่าการเตรียมโดยใช้ผงซิลิกาที่ได้มีการศึกษามาก่อน และมีความไวในการตอบสนองโดยการเปลี่ยนสีต่อกรด-เบสที่สูงกว่า นอกจากนี้พบว่า วัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอเซทิลีน/ซิงก์ไอออน/โซล-เจลซิลิกา สามารถเกิดการเปลี่ยนสีแบบผันกลับได้เมื่อทำการเพิ่ม-ลดอุณหภูมิ สำหรับวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอเซทิลีน/ซิงก์ไอออน/ซิงก์ออกไซด์ เตรียมจากซิงก์ออกไซด์ที่สังเคราะห์ให้มีขนาดและรูปร่างของซิงก์ออกไซด์ที่แตกต่างกัน ได้แก่ ทรงกลม รูปแท่ง และรูปร่างไม่สม่ำเสมอ โดยขนาดและรูปร่างของอนุภาคซิงก์ออกไซด์ส่งผลต่อการประกอบและจัดเรียงตัวของสายโซ่พอลิเมอร์ วัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรที่เตรียมจากซิงก์ออกไซด์ทรงกลมและรูปแท่งที่มีขนาดระดับนาโนเมตร เกิดการประกอบตัวได้เหมาะสม สามารถเกิดพอลิเมอไรเซชันได้ดี จึงได้ปริมาณผลิตภัณฑ์ที่สูงกว่าการใช้ซิงก์ออกไซด์รูปร่างไม่สม่ำเสมอและมีขนาดใหญ่ระดับไมโครเมตร วัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอเซทิลีน/ซิงก์ไอออน/ซิงก์ออกไซด์ ทั้งหมดเกิดการเปลี่ยนสีแบบผันกลับได้ต่ออุณหภูมิ และแสดงการตอบสนองโดยการเปลี่ยนสีต่อกรดและเบส


Using Deep Learning Technique For Price Action Analysis In Gold Trading, Kwan Boon-Long Jan 2021

Using Deep Learning Technique For Price Action Analysis In Gold Trading, Kwan Boon-Long

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

We introduce a new structural deep learning model purposing is to be able to learn price action trading features that subjective traders are using to make trading decisions based on the visual recent and actual price movements, rather than relying solely on technical indicators. The model combines convolutional neural networks (CNN) and long short-term memory (LSTM) to improve the trend forecasting of gold prices for better trading signals compared to traditional strategies. As the gold price is a time series data, it is appropriate to apply CNN and LSTM for forecasting. The concept of our model is that CNN could …


Temporal Distribution Of Air Pollutants (Pm2.5, Pm10 And O3) In Yangon City, Myanmar During 2019-2021, Tin Saw Pyae Jan 2021

Temporal Distribution Of Air Pollutants (Pm2.5, Pm10 And O3) In Yangon City, Myanmar During 2019-2021, Tin Saw Pyae

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, the rise in air pollution can be seen around the world especially in urban city. Studying the distribution of air pollution becomes one of the essential ways to know the characteristics and nature of air pollutants for air pollution mitigation actions around the world. In Myanmar, there are very few studies focusing on this area and these very few studies were carried out for short term periods. Therefore, this study was aimed to investigate the temporal distribution of air pollutants (PM2.5, PM10 and O3) following by MLR modeling for the influence of meteorological factors on air pollutant concentrations and …


Health Risk Assessment Of Burmese Related To Consumption Of Heavy Metals Contaminated Fish From Local Market In Bangkok, Thailand, Myat Myitzu Jan 2021

Health Risk Assessment Of Burmese Related To Consumption Of Heavy Metals Contaminated Fish From Local Market In Bangkok, Thailand, Myat Myitzu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Heavy metals contamination in human through the ingestion of contaminated fish may lead to serious health problems. This study was a cross sectional study conducted during February and March 2022 in Bangkok, Thailand. The objectives of this study were 1) to find the concentration of heavy metals contaminated in fish from local market in Thailand 2) to find the cancer risk and non-cancer risk of heavy metals from fish consumption. Face-to-face interview and online questionnaire were used to collect the personal information of 400 Burmese living in Bangkok. As, Cd, Cr, Pb, and Hg were analyzed by ICP-MS from four …


Optimization Of Ethanol-Based Reactive Extraction Process For Spent Coffee Grounds Biodiesel Production Using Duo-Function Diazabicycloundecene As Catalyst And Solvent, Huan Luong Trien Jan 2021

Optimization Of Ethanol-Based Reactive Extraction Process For Spent Coffee Grounds Biodiesel Production Using Duo-Function Diazabicycloundecene As Catalyst And Solvent, Huan Luong Trien

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The intention of this master's thesis was conducted to evaluate the potential of using 1,8-Diazabicyclo [5.4.0] undec-7-ene (DBU) as an eco-friendly solvent and catalyst in the in-situ transesterification (in-situ TE) process for producing fatty acid ethyl ester (FAEE) from spent coffee grounds (SCGs) waste. Several parameters were also optimized the FAEE yield in this process by response surface methodology, including temperature, time, ethanol and DBU loading and water content in ethanol. Results showed that promising FAEE yield could achieved under 40 °C. Moreover, FAEE yield tended to decrease under high temperatures due to DBU and ethanol evaporation at 70 °C. …


เรื่องจากปก: จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีชมพูจากนาเกลือ...จุลินทรีย์ทนเค็มทนด่างที่มาพร้อมความสามารถอันหลากหลาย, ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์ Oct 2020

เรื่องจากปก: จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีชมพูจากนาเกลือ...จุลินทรีย์ทนเค็มทนด่างที่มาพร้อมความสามารถอันหลากหลาย, ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

Thai Environment

No abstract provided.


บทความ: "ไซโคลน" เครื่องมือคัดแยกฝุ่นในภาคอุตสาหกรรม, รัชชานนท์ เปี่ยมใจสว่าง Oct 2020

บทความ: "ไซโคลน" เครื่องมือคัดแยกฝุ่นในภาคอุตสาหกรรม, รัชชานนท์ เปี่ยมใจสว่าง

Thai Environment

No abstract provided.