Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 901 - 930 of 2268

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

Geological And Mineralogical Characteristics Of Pilok And Takua Pit Thong Tin-Tungsten Deposits, Western Thailand, Karn Phountong Jan 2019

Geological And Mineralogical Characteristics Of Pilok And Takua Pit Thong Tin-Tungsten Deposits, Western Thailand, Karn Phountong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Pilok and Takua Pit Thong mine were one of tin-tungsten mines associated with the Western Granitoid Belt. Despite the very poor condition of the outcrop, petrographic and geochemical studies reveal two granitoid units: porphyritic granite and equigranular granite, which show similar petrography characteristics except for tourmaline that appears only in equigranular granite, and their textures. Based on whole-rock geochemistry, porphyritic granite is ferroan to magnesian, alkalic, peraluminous granite whereas equigranular granite is ferroan to magnesian, alkali to alkali-calcic, peraluminous granite. Both granites show S-type affinity. The REE patterns show enrichment in LILE (e.g. K, Rb) and HFSE (e.g. Nb, Ta). …


Geology And Mineralization Characteristics Of Epithermal Gold, Suwan Prospect, Changwat Phitsanulok, Tanad Soisa Jan 2019

Geology And Mineralization Characteristics Of Epithermal Gold, Suwan Prospect, Changwat Phitsanulok, Tanad Soisa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Suwan prospect is located about 6 km northwest of the Chatree gold mine in Phitsanulok province, central Thailand. Gold-silver mineralization occurs as veins and stockworks hosted in volcaniclastic and volcanogenic-sedimentary rocks of Late Permian- Early Triassic age which is classified as a low sulfidation epithermal deposit base on mineralization texture, alteration pattern and sulfide mineral assemblages. From top to bottom, the hosted volcanic succession can be divided into 3 units, namely 1) Felsic volcanic unit (Unit 1), 2) Volcanogenic-sedimentary unit (Unit 2), and 3) Porphyritic andesite unit (Unit 3). Unit 1 consists predominantly of quartz-rich fiamme breccia, lithic-rich fiamme …


Organic Geochemical Characteristics Of Coal Deposits In Lampang Province, Patthapong Chaiseanwang Jan 2019

Organic Geochemical Characteristics Of Coal Deposits In Lampang Province, Patthapong Chaiseanwang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ถ่านหินและหินตะกอนจำนวน 31 ตัวอย่างจากแหล่งถ่านหินแม่ตีบและแหล่งถ่านหินแม่ทานที่ตั้งอยู่ในจังหวัดลำปางทางตอนเหนือของประเทศไทยถูกนำมาศึกษาลักษณะเฉพาะทางธรณีเคมีอินทรีย์ (Organic geochemistry) ผลจากการวิเคราะห์ปริมาณสารอินทรีย์ทั้งหมด (Total organic carbon) พบว่าตัวอย่างถ่านหินจากแหล่งแม่ตีบมีค่าระหว่าง 30.12 - 73.71 wt. % และสูงกว่าตัวอย่างถ่านหินของแหล่งแม่ทานซึ่งมีค่าระหว่าง 23.48 - 52.50 wt. % หินดินดานจากทั้งสองแหล่งมีค่าใกล้เคียงกันระหว่าง 4.82 - 19.49 wt. % ในแหล่งแม่ตีบ และ 14.00 - 24.87 wt. % ในแหล่งแม่ทาน ค่าที่น้อยที่สุดของปริมาณสารอินทรีย์ทั้งหมดปรากฏในตัวอย่างหินโคลนซึ่งมีค่าระหว่าง 0.88 – 4.92 wt. % ในแหล่งแม่ตีบ และค่าระหว่าง 0.59 – 5.98 wt. % การวิเคราะห์ปริมาณสารอินทรีย์ที่สกัดได้ (Extractable organic matter) ในตัวอย่างหินของแหล่งแม่ตีบมีค่าระหว่าง 1,277 - 9,764 ppm ในขณะที่ตัวอย่างหินของแหล่งแม่ทานมีค่ามากกว่าโดยอยู่ระหว่าง 1,256-16,421 ppm จากข้อมูลข้างต้นทั้งสองแหล่งมีศักยภาพการเป็นชั้นหินต้นกำเนิดของแหล่งปิโตรเลียมอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีเยี่ยมยกเว้นหินโคลนบางตัวอย่าง ข้อมูลลักษณะเฉพาะทางธรณีเคมีอินทรีย์ศึกษาจากแก๊สโครมาโตแกรม (Gas chromatogram) ได้มาจากการวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือแก๊สโครมาโตกราฟี-แมสสเปกโตมิเตอร์ (Gas chromatography-mass spectrometer) ซึ่งให้ข้อมูลของตัวชี้วัดทางชีวภาพ (Biomarker and non-biomarker) ที่มีประโยชน์ในการตีความทั้งระดับความพร้อมสมบูรณ์ (Maturity) ชนิดของอินทรีย์วัตถุ (Organic matter input) และสภาพแวดล้อมการสะสมตัวในอดีต (Depositional environment) ในการศึกษานี้ถ่านหินมีระดับความพร้อมสมบูรณ์เทียบเคียงกับระดับถ่านหิน (coal rank) อยู่ในระดับลิกไนต์ถึงบิทูมินัสสารระเหยสูงระดับซี (Lignite – high volatile bituminous C) อ้างอิงจากตัวชี้วัดความพร้อมสมบูรณ์ทางชีวภาพ (Biomarker maturity) ซึ่งบ่งชี้ว่าตัวอย่างหินมีระดับความพร้อมสมบูรณ์อยู่ในระดับตอนต้น (immature-early mature stage) แก๊สโครมาโตแกรมของแอลเคนสายตรง (n-alkanes) …


Terrain Analysis In Phetchabun Province, Tanapat Pichetsopon Jan 2019

Terrain Analysis In Phetchabun Province, Tanapat Pichetsopon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Phetchabun province, lower northern Thailand is vulnerable to geohazards, landslide and flooding with the potential for significant harm to people and property. In addition, Phetchabun province has many lineaments that could be potential source of tectonic activities. In this study, terrain analysis techniques are used through 30 meters resolution Digital Elevation Model (DEM) data in order to determine geomorphic indices related to tectonic activity. The statistic index method (Si) is calculated in relation of six parameters to indicate landslide susceptible area. and the hydromorphometric contrast index (HCI) is used to identify sensitive area to flooding by evaluating five parameters. According …


Color Enhancement Of Tourmaline By Electron Beam Irradiation, Waratchanok Suwanmanee Jan 2019

Color Enhancement Of Tourmaline By Electron Beam Irradiation, Waratchanok Suwanmanee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Tourmaline is a semi-precious stone that is quite popular in gem market. Red-purple tourmaline, so-called “Rubellite”, is particularly famous. Consequently, pink tourmalines have recently been enhanced by gamma radiation to intensify color as rubellite. In this study, an electron beam technique was applied for experimental treatment. Moreover, gamma ray irradiation was also applied to treat the same sample collection for comparison. Color enhancement was designed for both radiations at three levels of doses, i.e., 400, 800, and 1,200 kilogreys. Pink and green tourmalines from Nigeria were collected for the experiment. Each sample was cut into two tablets for experimental irradiations …


Method Development For Determination Of Ss-Agonists Using Colorimetric And Electrochemical Sensors, Atchara Lomae Jan 2019

Method Development For Determination Of Ss-Agonists Using Colorimetric And Electrochemical Sensors, Atchara Lomae

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This dissertation focused on the development of analytical sensors for quantitative analysis of various electroactive compounds such as β-agonists and neurotransmitters, which could be considered as important indicators for food-safety monitoring, drug doping control in sports, clinical testing, and health care inspection. Up to date, colorimetry and electrochemistry are the two attractive approaches that have extensively been employed as analytical sensing tools, due to their simple operation and interpretation, fast analysis time, good ability of coupling with other techniques, and high capability of miniaturization. With these two detection platforms, this dissertation would then be divided into two main parts: (1) …


อุปกรณ์ไฮบริดเซลล์สุริยะ/เทอร์โมอิเล็กทริกสำหรับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างมีประสิทธิภาพ, สุทธิดา จงอุดมฤกษ์ Jan 2019

อุปกรณ์ไฮบริดเซลล์สุริยะ/เทอร์โมอิเล็กทริกสำหรับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างมีประสิทธิภาพ, สุทธิดา จงอุดมฤกษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยที่ผ่านมามีแนวความคิดสร้างอุปกรณ์ร่วมระหว่างเซลล์สุริยะและเทอร์โมอิเล็กทริกเพื่อใช้แปลงพลังงานจากแสงและความร้อนที่ได้จากดวงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้าได้ในเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ร่วมดังกล่าวผลิตจากวัสดุมีที่มีโลหะหนักและเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ในงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาสมบัติทางเทอร์โมอิเล็กทริกของพอลิเมอร์ที่มีหมู่ฟังก์ชั่นชนิดพอลิ(3,4เอททีลีนไดออกซีไทโอฟีน):พอลิ(สไตรีนซัลโฟเนต) (PEDOT:PSS) เพื่อนำมาใช้เป็นวัสดุเทอร์โมอิเล็กทริกทดแทนวัสดุที่เป็นพิษดังกล่าวข้างต้น จากผลการทดสอบเบื้องต้น พบว่า สภาพนำไฟฟ้าของ PEDOT:PSS เมื่อเติมสารเจือชนิดเอททีลีนไกลคอล (EG) เพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณร้อยละของ EG เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่สัมประสิทธิ์ซีเบกมีค่าคงที่และมีค่าเพิ่มขึ้นเป็น 20.0±0.1 μV/K เมื่อเติมสารเจือชนิดไฮดราซีนไฮเดรต ร้อยละ 1.58 โดยน้ำหนัก อย่างไรก็ตาม สภาพนำไฟฟ้าของ PEDOT:PSS เจือด้วย EG ร้อยละ 48 โดยน้ำหนักมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเติมสารเจือชนิดไฮดราซีนไฮเดรต เมื่อพิจารณาผลของแฟกเตอร์กำลังไฟฟ้ามีค่าสูงสุดที่ 4.38±0.40 µW/m∙K2 เมื่อเติมสารเจือ EG ร้อยละ 48 โดยน้ำหนักและปราศจากการเจือด้วยสารเจือชนิดไฮดราซีนไฮเดรต ผลการนำสารละลาย PEDOT:PSS ที่ผ่านการปรับปรุงสมบัติทางเทอร์โมอิเล็กทริกมาขึ้นรูปเป็นวัสดุเทอร์โมอิเล็กทริกเพื่อใช้ในอุปกรณ์ร่วมเซลล์สุริยะ/เทอร์โมอิเล็กทริก พบว่า อุปกรณ์ร่วมเซลล์สุริยะ/เทอร์โมอิเล็กทริกสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้มากกว่าเซลล์สุริยะเดี่ยวได้ถึง ร้อยละ 15 ที่ผลต่างอุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียสระหว่างฝั่งด้านร้อนและด้านเย็นของเทอร์โมอิเล็กทริก ผลงานวิจัยที่ได้สามารถใช้เป็นพื้นฐานเพื่อต่อยอดแนวคิดสำหรับการพัฒนาอุปกรณ์ร่วมเซลล์สุริยะ/เทอร์โมอิเล็กทริก สำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์อย่างมีประสิทธิผลโดยใช้วัสดุเทอร์โมอิเล็กทริกฐานพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


การทำนายการยกเลิกบริการของลูกค้าโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เสริมกำลัง, เมธาวี ปัญจสุชาติ Jan 2019

การทำนายการยกเลิกบริการของลูกค้าโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เสริมกำลัง, เมธาวี ปัญจสุชาติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทำนายการยกเลิกบริการของลูกค้าเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับการดำเนินงานธุรกิจในปัจจุบัน เนื่องจากการสูญเสียลูกค้าย่อมส่งผลโดยตรงต่อชื่อเสียง แผนการเงินและการเติบโตขององค์กร พฤติกรรมลูกค้าอาจเปลี่ยนแปลงไปจากเหตุปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้หรือสถานการณ์ที่ไม่อาจคาดคิด ส่งผลกระทบต่อแพตเทิร์นของข้อมูลที่เปลี่ยนไป ซึ่งอาจส่งผลลบต่อความสามารถการทำนายของตัวจำแนกประเภทที่สร้างจากเทคนิคการเรียนรู้แบบมีการชี้นำซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่โต้ตอบ งานวิจัยนี้จึงนำเสนอการประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้เสริมกำลังสำหรับการทำนายการยกเลิกบริการของลูกค้าในธุรกิจโทรคมนาคม แบบจำลองดีคิวเอ็นและโพลิซีเกรเดียนต์ได้ถูกพัฒนาและปรับใช้เพื่อการเรียนรู้บนชุดข้อมูลการยกเลิกบริการของลูกค้าที่ใช้สำหรับงานการจำแนกประเภท ชุดข้อมูลอีกชุดหนึ่งได้ถูกสร้างขึ้นจากชุดข้อมูลเดิมโดยการเพิ่มตัวอย่างที่แสดงถึงพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป สมรรถนะของตัวจำแนกประเภทที่เลือกเปรียบเทียบกับดีคิวเอ็นและโพลิซีเกรเดียนต์ถูกประเมินด้วยค่าตัววัดทั้งสี่ประกอบด้วย ความแม่นยำ ความเที่ยงตรง ความครบถ้วน และเอฟวัน ผลการทดลองพบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับตัวจำแนกประเภทที่เลือกคือ เอกซ์จีบูสต์ แรนดอมฟอเรสต์ และ เคเอ็นเอ็น ตัวเรียนรู้เชิงรุก ดีคิวเอ็นและโพลิซีเกรเดียนต์ มีสมรรถนะที่เหนือกว่าทั้งสองสถานการณ์ กล่าวคือ เมื่อทดสอบด้วยชุดข้อมูลตั้งต้น และเมื่อชุดข้อมูลได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นและวิวัฒนาการจากการเกิดขึ้นของแพตเทิร์นใหม่


การพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนของประเทศไทยด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึก, เฟื่องลดา มะโนกิจ Jan 2019

การพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนของประเทศไทยด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึก, เฟื่องลดา มะโนกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพยากรณ์น้ำฝนมีความสำคัญมากต่อประเทศไทยในเรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เนื่องจากการพยากรณ์น้ำฝนถูกนำไปใช้ในเรื่องการเตือนภัยว่าจะเกิดน้ำท่วม การวางแผนทางด้านเกษตรกรรม และอื่น ๆ งานวิจัยก่อนหน้าได้มีการพยายามทำนายปริมาณน้ำฝนผ่านข้อมูลที่เป็นโทรมาตรหรือสถานีวัดน้ำฝน โดยใช้แบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่อง เช่น แบบจำลองอาริมา แบบจำลองเคเอ็นเอ็นเข้ามาหาแนวทางการทำนาย จนกระทั่งได้มีแบบจำลองการเรียนรู้เชิงลึกเกิดขึ้น ซึ่งพบว่าแบบจำลองการเรียนรู้เชิงลึกสามารถเข้ามาช่วยทำนายและให้ผลการทำนายที่ดีกว่า อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังพบปัญหาในเรื่องชุดข้อมูลไม่สมดุล เนื่องจากประเทศไทยมีช่วงฝนแล้งเป็นปริมาณมากเมื่อเทียบกับช่วงที่ฝนตกจริง ๆ ดังนั้นในงานวิจัยนี้จะนำเสนอแบบจำลองการเรียนรู้เชิงลึกสองแบบจำลองต่อกันเพื่อแก้ปัญหาการทำนายไม่ได้จากชุดข้อมูลไม่สมดุล ได้แก่ แบบจำลองการจำแนกประเภทเพื่อนำมาจำแนกว่าในชั่วโมงข้างหน้าฝนจะตกหรือไม่ และแบบจำลองวิเคราะห์การถดถอยเพื่อทำนายปรืมาณน้ำฝนที่เกิดขึ้นจริงโดยจะใช้ข้อมูลรับเข้าเฉพาะช่วงที่ฝนตกเท่านั้น นอกเหนือจากนี้งานวิจัยนี้ยังเพิ่มคุณลักษณะโทรมาตรใกล้เคียงเข้ามาช่วยทำนาย โดยงานวิจัยนำเสนอแบบจำลองนิวรอลเน็ตเวิร์กคอนโวลูชันร่วมกับโครงข่ายประตูวกกลับ และแบบจำลองนิวรอลเน็ตเวิร์กคอนโวลูชันร่วมกับตัวเข้ารหัสข้อมูลอัตโนมัติ โดยทดลองจะใช้ข้อมูลปริมาณฝนที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. โดยผลลัพธ์ของการทดลอง แบบจำลองที่นำเสนอสามารถให้ค่าความคลาดเคลื่อนต่ำสุดเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณน้ำฝนทั้งหมดในทุกภาค สุดท้ายนี้งานวิจัยจะนำเสนอถึงแนวทางการทำนายหลายชั่วโมงโดยใช้ข้อมูลที่ถูกทำนายรับเข้ามาเป็นข้อมูลรับเข้า


การสร้างแผนภาพการแพร่กระจายเชิงเวลาของคำสำคัญของเฟซบุ๊กเพจ, โสรญา ฉลาด Jan 2019

การสร้างแผนภาพการแพร่กระจายเชิงเวลาของคำสำคัญของเฟซบุ๊กเพจ, โสรญา ฉลาด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เฟซบุ๊กเพจเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์สามารถเผยแพร่และแบ่งปันเนื้อหาข้อมูลไปยังเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วทันกาลและกว้างขวาง ซึ่งเหตุผลหลักของความเชื่อมโยงในด้านเนื้อหาของแต่ละเฟซบุ๊กเพจ คือ การติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็น การทำกิจกรรมร่วมกันหรือความสนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นคู่แข่งทางธุรกิจ เป็นต้น ในปัจจุบัน เฟซบุ๊กเพจยังคงเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงทำให้มีข้อมูลจำนวนมหาศาลอยู่ในเฟซบุ๊กจากการผลิตเนื้อหาของผู้ใช้งานในทุกวัน ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นนักวิเคราะห์สามารถนำไปวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมได้ งานวิจัยนี้นำเสนอการสร้างแผนภาพการแพร่กระจายเชิงเวลาของคำสำคัญที่ปรากฏในเนื้อหาหรือสเตตัสจากข้อมูลในเฟซบุ๊กเพจ ซึ่งรวบรวมเนื้อหาในรูปแบบของโดเมนทั้งหมด 3 โดเมน ได้แก่ ด้านเทคโนโลยี ด้านท่องเที่ยว และด้านบันเทิง เพื่อง่ายต่อการวิเคราะห์การแพร่กระจายเชิงเวลาของคำสำคัญ โดยแต่ละโดเมนจะมีความเชื่อมโยงของเนื้อหาที่แตกต่างกันไป การวิเคราะห์จากความสัมพันธ์ของคำสำคัญนี้จะสามารถมองเห็นโครงสร้างของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผู้ที่เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย หรือแม้กระทั่งผู้ทรงอิทธิพลในเครือข่ายได้ การสร้างแผนภาพการแพร่กระจายเชิงเวลาของคำสำคัญนี้จึงสามารถนำไปวิเคราะห์และต่อยอดในเรื่องของการตลาดได้


การค้นพบโมทีฟและดิสคอร์ดสำหรับอนุกรมเวลา โดยใช้เมทริกซ์โพรไฟล์แบบประมาณที่มีการเพิ่มสมรรถนะ, ชนะพล อ้นวงษา Jan 2019

การค้นพบโมทีฟและดิสคอร์ดสำหรับอนุกรมเวลา โดยใช้เมทริกซ์โพรไฟล์แบบประมาณที่มีการเพิ่มสมรรถนะ, ชนะพล อ้นวงษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การค้นพบโมทีฟและดิสคอร์ดสำหรับอนุกรมเวลา เป็นสาขาหนึ่งของงานวิจัยการทำเหมืองข้อมูลอนุกรมเวลา ซึ่งการค้นหารูปแบบของลำดับย่อยที่เกิดขึ้นซ้ำโดยมีลักษณะคล้ายกัน และรูปแบบของลำดับย่อยที่มีความผิดปกติ คือการค้นพบโมทีฟและการค้นพบดิสคอร์ดตามลำดับ วิธีการหนึ่งที่เป็นที่นิยมสำหรับงานด้านการค้นพบโมทีฟและดิสคอร์ด คือการคำนวณหาเมทริกซ์โพรไฟล์ เนื่องจากเป็นวิธีที่รวดเร็ว และได้คำตอบที่ถูกต้องแม่นยำ แต่ถ้าหากข้อมูลอนุกรมเวลามีขนาดที่ใหญ่มาก จะส่งผลให้เวลาที่ใช้ในการคำนวณนั้นนานมากตามไปด้วย และอีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญ คือการกำหนดค่าพารามิเตอร์ความยาว ของลำดับย่อย ที่ใช้ในการค้นหาโมทีฟ ที่ผู้ใช้ไม่สามารถทราบได้แน่ชัดว่า ควรกำหนดความยาวของลำดับย่อยเป็นเท่าใด เพื่อแก้ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอเมทริกซ์โพรไฟล์แบบประมาณ ที่มีการเพิ่มสมรรถนะ สำหรับทั้งปัญหาการค้นพบโมทีฟและดิสคอร์ด ซึ่งลดเวลาในการคำนวณได้เป็นอย่างมาก และผลลัพธ์ที่ได้มีความใกล้เคียงเดิม อีกทั้งนำเสนออัลกอริทึมสำหรับการกำหนดพารามิเตอร์ค่าความยาวโมทีฟที่เหมาะสม จากผลการทดลอง อัลกอริทึมสามารถลดกระบวนการคำนวณลงได้ ส่งผลให้เวลาที่ใช้ในการคำนวณลดลงได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งผลลัพธ์ที่ได้ มีค่าใกล้เคียงกับการใช้เมทริกซ์โพรไฟล์แบบปกติ และยังสามารถค้นพบโมทีฟได้ โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดค่าความยาวของลำดับย่อย


ซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มแบบบูรณาการเพื่อการแพทย์แม่นยำของโรคมะเร็ง, เนด้า เปอิโรเน Jan 2019

ซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มแบบบูรณาการเพื่อการแพทย์แม่นยำของโรคมะเร็ง, เนด้า เปอิโรเน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแพทย์แม่นยำคือ กลยุทธ์ในการวินิจฉัยโรคและการตัดสินใจเลือกแนวทางการรักษาจากข้อมูลพันธุกรรมเฉพาะบุคคล ด้วยการพัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยีโอมิกส์ไปอย่างรวดเร็ว เช่น การหาลำดับเบสดีเอ็นเอ การหาระดับการแสดงออกของยีนด้วยเทคโนโลยีอาร์เอ็นเอซีเควนซิ่ง เป็นต้น จากผลลัพธ์ของกระบวนการตัวอย่างข้างต้น นำมาวิเคราะห์เพื่อตรวจหาลักษณะจำเพาะของยีนกลายพันธุ์ในผู้ป่วยแต่ละราย หรือวัดระดับการแสดงออกของยีนที่ตอบสนองต่อยา เพื่อช่วยแพทย์เฉพาะทางในการออกแบบการรักษาและการเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ดังนั้น นอกเหนือจากข้อมูลทางคลินิกแล้ว ข้อมูลโอมิกส์จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นในการวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำจำเพาะต่อตัวบุคคล โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มแบบบูรณาการเพื่อการแพทย์แม่นยำของโรคมะเร็ง ซึ่งมีชื่อว่ารันอองโค (RUN-ONCO) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้แพทย์เฉพาะทางและนักวิจัยสามารถดูแลจัดการข้อมูลที่หลากหลายได้โดยง่าย และสามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์ แพลตฟอร์มให้บริการจัดเก็บข้อมูลทางคลินิก ข้อมูลชีววัตถุ และข้อมูลโอมิกส์ ที่สนับสนุนการบูรณาการข้อมูลเข้าสู่ระบบได้ รวมทั้งสามารถดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างฐานข้อมูลสาธารณะ เช่น ฐานข้อมูลสตริง ฐานข้อมูลอองโคเคบี เป็นต้น เนื่องจากงานวิจัยในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลโอมิกส์ร่วมกับไลบารีจาวาสคริปต์ที่ช่วยในการวิเคราะห์และแสดงผลเชิงรูปภาพมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ รันอองโคจึงถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่นสูง โดยออกแบบซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มภายใต้แนวคิดสถาปัตยกรรม 3-เทียร์ และสถาปัตยกรรมเชิงคอมโพเนนท์ นอกจากนี้ยังมีการนำแบบรูปต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มกระบวนการวิเคราะห์และการแสดงผลเชิงรูปภาพที่หลากหลายได้โดยง่าย


การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าของประเทศไทยด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึก, ชูขวัญ สิริทิพากุล Jan 2019

การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าของประเทศไทยด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึก, ชูขวัญ สิริทิพากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในระบบไฟฟ้านั้นความมั่นคงของระบบไฟฟ้าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดและไม่ควรจะเกิดไฟฟ้าดับ เพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นคงให้ระบบไฟฟ้าจึงจำเป็นต้องพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน โดยงานวิจัยนี้จะทำการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าของวันถัดไปรายครึ่งชั่วโมงรวมทั้งหมด 48 ช่วงเวลา ซึ่งในปัจจุบันมีงานวิจัยที่นำเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) มาใช้งานในการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้ามากขึ้น แต่แบบจำลองในอดีตไม่เหมาะสมกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น โดยในงานวิจัยนี้นำเสนอแบบจำลองสำหรับพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าหลายช่วงเวลาล่วงหน้าที่มีการใช้งานกลไกจุดสนใจ 2 ชั้น (Dual-Stage Attention Mechanism) ซึ่งจะพิจารณาทั้งผลกระทบจากช่วงเวลาในอดีตและผลกระทบจากคุณลักษณะที่ส่งผลถึงข้อมูลในอนาคต รวมถึงในแบบจำลองนี้จะมีการพิจารณาคุณลักษณะอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อความต้องการไฟฟ้าด้วย นอกจากนั้นงานวิจัยนี้จะมีการออกแบบฟังก์ชันต้นทุนแบบไม่สมมาตร (Asymmetric Loss Function) สำหรับการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงมากยิ่งขึ้น โดยที่ฟังก์ชันต้นทุนนี้จะให้ค่าต้นทุนที่มากกว่ากับการพยากรณ์ที่ต่ำกว่าผลเฉลย เพื่อให้แบบจำลองพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าได้สูงขึ้นทำให้ลดโอกาสในการเกิดไฟฟ้าดับได้


การออกและแบบพัฒนาวิธีวิเคราะห์ข้อมูลทวิตเตอร์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตลาดทางการเมืองและกลุ่มผู้บริโภคผ่านการเลือกตั้งในประเทศไทยปี พ.ศ. 2562, ชามีมี่ ประเสริฐดำ Jan 2019

การออกและแบบพัฒนาวิธีวิเคราะห์ข้อมูลทวิตเตอร์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตลาดทางการเมืองและกลุ่มผู้บริโภคผ่านการเลือกตั้งในประเทศไทยปี พ.ศ. 2562, ชามีมี่ ประเสริฐดำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเลือกตั้งเป็นส่วนสำคัญในระบอบประชาธิปไตย การเลือกตั้งครั้งล่าสุดในประเทศไทยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการลงคะแนนเสียงครั้งแรกในรอบห้าปี นับตั้งแต่การยึดอำนาจด้วยการรัฐประหาร สื่อสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์เป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการสร้างกระแสโดยพรรคการเมืองและนักการเมือง วิทยาพนธ์นี้ผู้วิจัยเสนอการวิเคราะห์การเลือกตั้งโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากทวิตเตอร์และผลการเลือกตั้งจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูล 6 เดือน จากวันที่ 1 มกราคมถึง 6 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ผู้วิจัยพบคำหลักที่ได้รับความนิยมบนทวิตเตอร์เป็นพรรคอนาคตใหม่ ในขณะที่พรรคที่ได้รับคะแนนโหวตยอดนิยมคือพรรคพลังประชารัฐ และไม่พบความสัมพันธ์กันระหว่างจำนวนการรีทวีตและผลการโหวตเนื่องจากมีเพียงพรรคเดียวเท่านั้นที่มีจำนวนการรีทวีตที่โดดเด่นเมื่อวิเคราะห์ความรู้สึกของข้อความที่กล่าวถึงพรรคการเมืองจากทวีตของผู้บริโภคค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการกล่าวถึงในเชิงบวกและการโหวตเพิ่มเป็น 0.615 เมื่อทำการถอดถอนพรรคอนาคตใหม่ออกจากการวิเคราะห์ อีกทั้งใช้เทคนิคความถี่ของคำ-ส่วนกลับความถี่ของเอกสารวิเคราะห์ข้อความทวีตในระหว่างการรณรงค์แสดงให้เห็นว่าคำที่มาจากแต่ละพรรคมีความหมายตามบริบทที่แตกต่างกัน ในการจัดกลุ่มรีทวีตเตอร์ พรรคอนาคตใหม่มีสัดส่วนกลุ่มผู้บริโภคที่มีอัตรารีทวีตสูงสุดและอัตรารีทวีตต่ำสุดมากกว่าพรรคอื่น จากการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในการตลาดทางการเมือง พบว่ามีกลุ่มเครือข่ายได้ทำการทวีตถึงทุกพรรคแต่สนับสนุนเพียง 2 พรรคการเมือง ได้แก่ พรรคอนาคตใหม่และพรรคเพื่อไทยจากการวิเคราะห์ความรู้สึกผ่านทวีต ซึ่งผู้บริโภคในเครือข่ายเดียวกันมีข้อความทวีตที่คล้ายคลึงกันโดยพิจารณาจากค่าความเหมือนโคไซน์และพบว่าเมื่อสิ้นสุดการเลือกตั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคบางรายได้หยุดการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องการเมืองบนทวิตเตอร์


กลยุทธ์การตัดบนโยโลวีสามสำหรับการตรวจจับวัตถุแบบทันกาล, ณัฐนนท์ กฤตยานวัช Jan 2019

กลยุทธ์การตัดบนโยโลวีสามสำหรับการตรวจจับวัตถุแบบทันกาล, ณัฐนนท์ กฤตยานวัช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานตรวจจับวัตถุ แบบจำลอง YOLOv3 จัดว่าเป็นแบบจำลองที่มีประสิทธิภาพดีในด้านความแม่นยำ แต่ทว่าด้วยจำนวนตัวแปรในแบบจำลองที่มีมากกว่าสิบล้านตัวแปร ส่งผลให้ตัวแบบจำลองไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้งานบนกล้องหรืออุปกรณ์ขนาดเล็ก โดยงานวิจัยชิ้นนี้นำเสนอกลไกการบีบอัดแบบจำลองที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับแบบจำลอง YOLOv3 เพื่อตัดตัวกรองที่ไม่จำเป็นออกจากตัวแบบจำลอง แต่เนื่องจากแบบจำลอง YOLOv3 นั้นประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ โครงข่ายกระดูกสันหลัง และโครงข่ายพีระมิดฟีเจอร์ งานวิจัยชิ้นนี้จึงนำเสนอกลยุทธ์ 3 อย่างดังต่อไปนี้ 1) การตัดแบบแยกส่วน 2) การจำกัดการตัด และ 3) เกณฑ์การหยุด หลังจากนั้นจึงนำกลยุทธ์ทั้ง 3 อย่างมารวมกันเป็นกลไกการตัดแบบทนทานเพื่อตัดแบบจำลองแบบแยกส่วนกัน ด้วยวิธีการนี้ สามารถช่วยป้องกันการตัดส่วนใดส่วนหนึ่งของแบบจำลองมากเกินไป ส่งผลให้แบบจำลองมีเสถียรภาพมากขึ้น


วิธีการสำหรับการสร้างหุ่นยนต์สนทนาไทยโดยใช้หน่วยความจำระยะสั้นแบบยาวแบบสยามและการแต่งเติมข้อมูลเชิงข้อความ, ธนัญญา พีรพัฒนาการ Jan 2019

วิธีการสำหรับการสร้างหุ่นยนต์สนทนาไทยโดยใช้หน่วยความจำระยะสั้นแบบยาวแบบสยามและการแต่งเติมข้อมูลเชิงข้อความ, ธนัญญา พีรพัฒนาการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แนวคิดการนำหุ่นยนต์สนทนามาช่วยในการตอบคำถามปัญหาที่พบบ่อยให้กับผู้รับบริการ เช่น การสอบถามข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ให้บริการ เป็นต้น เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในยุคปัจจุบัน อีกทั้งในการเรียนรู้ของเครื่องสำหรับสร้างหุ่นยนต์สนทนานั้น ชุดข้อมูลที่ใช้สำหรับการเรียนรู้ของแบบจำลอง ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้แบบจำลองให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนข้อมูลจากการไฟฟ้านครหลวงแห่งประเทศไทยที่ได้รวบรวมข้อมูลการให้บริการการตอบปัญหาลูกค้าผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยจำนวนของชุดคำถามที่ได้นั้นมีปริมาณน้อยกว่า 1,500 คำถาม ทำให้จำนวนและความหลากหลายของข้อมูลที่มีนั้นส่งผลกับการเรียนรู้ของเครื่องโดยตรง งานวิจัยนี้จึงนำเสนอแนวคิดในการแต่งเติมข้อมูลด้วยวิธีการแทนที่คำด้วยคำที่มีความหมายคล้ายกันด้วยการวัดระยะห่างระหว่างเวกเตอร์น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับคำที่ต้องการจะนำไปแทนที่ในประโยคเดิม เพื่อเพิ่มจำนวนและความหลากหลายของข้อมูล จากนั้นจึงนำชุดข้อมูลที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับแบบจำลองหน่วยความจำระยะสั้นแบบยาว (Long Short-Term Memory: LSTM) ที่ใช้ร่วมกับการหาระยะทางร่วมกับการทดลองหาระยะทางของเวกเตอร์ทั้ง 3 แบบ ได้แก่ การหาระยะทางแบบยุคลิด (Euclidean Distance) การหาระยะทางแบบแมนฮัตตัน (Manhattan Distance) และ การหาค่าความคล้ายโคไซน์ (Cosine Similarity) เพื่อนำไปใช้ในการค้นคืนคำตอบของคำถามที่ได้รับมาจากผู้ใช้งาน ซึ่งผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าชุดข้อมูลที่ปรับปรุงด้วยวิธีการแต่งเติมข้อมูลเชิงข้อความที่นำเสนอนั้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของแบบจำลองได้ดีกว่าชุดข้อมูลตั้งต้น


หุ่นยนต์สนทนาที่มุ่งงานโดยใช้หน่วยความจำระยะสั้นแบบยาวกับกลไกจุดสนใจสำหรับภาษาไทย, รมณ รอบโลก Jan 2019

หุ่นยนต์สนทนาที่มุ่งงานโดยใช้หน่วยความจำระยะสั้นแบบยาวกับกลไกจุดสนใจสำหรับภาษาไทย, รมณ รอบโลก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หุ่นยนต์สนทนาที่มุ่งงานสามารถช่วยบรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงให้กับผู้ใช้งานได้ เช่น การจองร้านอาหาร เป็นต้น การเรียนรู้ของเครื่องด้วยวิธีกำหนดกฎสำหรับสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้บทสนทนาระหว่างผู้ใช้งานกับหุ่นยนต์ขาดความยืดหยุ่นและมีต้นทุนสูงเมื่อต้องการปรับเปลี่ยนกฎ ที่ผ่านมาหุ่นยนต์สนทนาที่ใช้เทคนิคกำหนดกฎนั้น ไม่สามารถติดตามความต้องการหรือความตั้งใจที่แท้จริงของผู้ใช้งานได้ จึงเริ่มใช้วิธีการทางปัญญาประดิษฐ์ซึ่งทำให้สามารถติดตามความต้องการหรือความตั้งใจที่แท้จริงของผู้ใช้งานได้ นอกจากนี้วิธีการนี้ยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสนทนากับหุ่นยนต์ได้ยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งหุ่นยนต์สนทนาที่ถูกพัฒนาด้วยวิธีนี้ส่วนมากจะใช้คำฝังตัวเป็นตัวแทนข้อความซึ่งถูกพัฒนาโดย Mikolov และคณะ [10] นอกจากนี้มีหลายงานวิจัยที่พยายามสร้างหุ่นยนต์สนทนาที่มุ่งเน้นงานแบบครบวงจรซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับหุ่นยนต์ได้ ตัวอย่างสถาปัตยกรรมแบบครบวงจร ได้แก่ แบบจำลอง Hybrid Code Networks (HCNs) [8] ซึ่งใช้หน่วยความจำระยะสั้นแบบยาว [23] โดยใช้ชุดข้อมูลบทสนทนาการจองร้านอาหารเพื่อวัดประสิทธิภาพของแบบจำลองในการติดตามสถานะบทสนทนาสนทนาและทำนายการตอบโต้ของหุ่นยนต์ ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้เสนอแบบจำลองที่ใช้หน่วยความจำระยะสั้นแบบยาวโดยเพิ่มกลไกจุดสนใจสำหรับการจองร้านอาหาร อย่างไรก็ตามเพื่อให้บทสนทนาจองร้านอาหารมีความซับซ้อนและสมจริงมากขึ้น จึงได้สร้างชุดข้อมูลการจองร้านอาหารที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทยเพื่อทดลองว่าแบบจำลองจะทำงานอย่างไรในสภาพแวดล้อมที่สมจริงยิ่งขึ้น ซึ่งผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าแบบจำลองที่นำเสนอนั้นมีประสิทธิภาพในการบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ


การขยายความสามารถตัวต้นคิดของแกนส์สำหรับการสร้างภาพที่หลากหลายจากภาพร่าง, วรินธร ภูสมสาย Jan 2019

การขยายความสามารถตัวต้นคิดของแกนส์สำหรับการสร้างภาพที่หลากหลายจากภาพร่าง, วรินธร ภูสมสาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเปลี่ยนแปลงลักษณะกายภาพใบหน้าอาจเป็นผลมาจากวัยที่เพิ่มขึ้น การทำศัลยกรรม หรือการปลอมแปลง ผู้ต้องสงสัยหรืออาชญากรปกปิดอัตลักษณ์ของตนด้วยภาพลักษณ์ที่ผิดไปจากเดิม เช่น ใส่วิกผม สวมแว่นตา หรือติดหนวดเครา งานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างลักษณะหลากหลายที่ประดิษฐ์ขึ้นให้ผิดไปจากเดิมของผู้ต้องสงสัย หรือใบหน้าที่เปลี่ยนไปของบุคคลสูญหาย เทคนิคแกนส์ได้ถูกประยุกต์ใช้เพื่อสังเคราะห์ภาพสีจากภาพร่าง โดยภาพผลลัพธ์ที่ได้สามารถสร้างความหลากหลายของใบหน้าที่เกิดจากความแตกต่างของคุณลักษณะบนใบหน้าสลับไปมาได้ 5 แบบ ประกอบด้วย มี/ไม่มีผม มี/ไม่มีการแต่งหน้า ผมตรง/ผมลอน ใส่/ไม่ใส่แว่นตา และมี/ไม่มีหนวดเครา แนวทางที่นำเสนอได้ขยายความสามารถตัวต้นคิดของสตาร์แกน2ด้วยสถาปัตยกรรมยูเน็ต การประเมินสมรรถนะของแบบจำลองที่นำเสนอกระทำผ่านการทดลองเปรียบเทียบกับสมรรถนะของสตาร์แกน2 โดยใช้ค่าคะแนนเอฟไอดีสำหรับวัดคุณภาพของภาพที่สร้างขึ้น พบว่า ค่าคะแนนตัววัดเอฟไอดีบนชุดข้อมูลทดสอบให้ผลน้อยกว่า 40% ของค่าที่ได้จากแบบจำลองเส้นฐานสตาร์แกน2 อีกทั้งผลลัพธ์ภาพสังเคราะห์ที่สร้างขึ้นจากคุณลักษณะหลากหลายบนใบหน้าดูเป็นธรรมชาติและสมจริง


การสร้างภาพมีคุณสมบัติตามต้องการโดยแบบจำลองดิสโกแกนเสริมด้วยการสร้างคุณสมบัติซ้ำ, ธนัทวิทย์ อังศรวณีย์ Jan 2019

การสร้างภาพมีคุณสมบัติตามต้องการโดยแบบจำลองดิสโกแกนเสริมด้วยการสร้างคุณสมบัติซ้ำ, ธนัทวิทย์ อังศรวณีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แนวคิดที่ได้จากการแปลงภาพหนึ่งเป็นอีกภาพหนึ่ง นั้นมีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การเพิ่มความคมชัดให้ภาพ การตกแต่งภาพ การแบ่งสัดส่วนพร้อมบอกความหมายของภาพ โดยแบบจำลองที่เป็นที่นิยมในการใช้แก้ปัญหา คือ แบบจำลองแกน (generative adversarial network - GAN) เช่น แบบจำลองดิสโกแกน (DiscoGAN) และ แบบจำลองวัฏจักรของแกน (CycleGAN) โดยการฝึกแบบจำลองจะใช้ข้อมูลนำเข้าแบบไม่มีคุณสมบัติและสร้างผลลัพธ์เป็นภาพที่มีคุณสมบัติตามต้องการ หลังจากฝึกแบบจำลองจะสามารถสังเคราะห์ภาพที่มีคุณสมบัติตามต้องการ จากภาพที่ไม่มีคุณสมบัติเหล่านั้น อย่างไรก็ตามมีวิธีการฝึกแบบจำลองนั้นไม่เหมือนกับการประยุกต์ใช้จริงคือ การนำไปประยุกต์ใช้จริง ภาพที่รับเข้ามาผ่านแบบจำลองก่อกำเนิด อาจเป็นได้ทั้ง ภาพที่ยังไม่มีคุณสมบัติที่ต้องการ หรืออาจจะเป็นภาพที่มีคุณสมบัติที่ต้องการอยู่แล้ว เราจึงนำเสนอวิธีการฝึกแบบจำลองก่อเนิดให้เหมือนกับการนำไปประยุกต์ใช้จริง ด้วยวิธีการฝึกให้รับข้อมูลนำเข้าจากทั้งภาพมีคุณสมบัติที่ต้องการอยู่แล้ว และภาพที่ยังไม่มีคุณสมบัติที่ต้องการ ซึ่งแบบจำลองที่นำเสนอเป็นการนำแบบจำลองดิสโกแกนมาเสริมด้วยการสร้างคุณสมบัติซ้ำ และ แบบจำลองยังสามารถฝึกกับข้อมูลแบบไร้การจับคู่ได้ ซึ่งข้อมูลไร้การจับคู่จะเตรียมง่ายและมีความครอบคลุมของข้อมูลมากกว่าข้อมูลแบบจับคู่ ซึ่งแบบจำลองที่นำเสนอนั้นให้ผลของค่าเอฟไอดี (Fréchet Inception Distance - FID) ที่ดีกว่าแบบจำลองดิสโกแกน 59.4% สำหรับข้อมูล edges2handbags และ 14.9% สำหรับข้อมูล celebA อย่างเฉลี่ยจากการแปลงหลาย ๆ คุณสมบัติ


รีแฟคทอริงแบบเอ็กซ์แทรกต์แพ็กเกจโดยใช้การตรวจหาคอมมิวนิตีสำหรับแพ็กเกจขนาดใหญ่เกิน, บุณยไชย จันทร์เทียน Jan 2019

รีแฟคทอริงแบบเอ็กซ์แทรกต์แพ็กเกจโดยใช้การตรวจหาคอมมิวนิตีสำหรับแพ็กเกจขนาดใหญ่เกิน, บุณยไชย จันทร์เทียน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคิเทกเจอร์สเมลเป็นการออกแบบโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่ไม่ดีซึ่งเปิดเผยถึงผลกระทบด้านลบต่อคุณภาพซอฟต์แวร์และยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดข้อบกพร่องตามมาในอนาคต งานวิจัยที่ผ่านมาได้กำหนดและนำเสนออาคิเทกเจอร์สเมลไว้ในหลายรูปแบบและแต่ละรูปแบบส่งผลกระทบต่อคุณภาพซอฟต์แวร์ในมุมที่แตกต่างกัน กระบวนการรีแฟคทอริงเชิงสถาปัตยกรรมเป็นกระบวนการที่ใช้กำจัดอาคิเทกเจอร์สเมลและปรับปรุงคุณภาพของระบบโดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานของระบบ อย่างไรก็ตามการกำจัดอาคิเทกเจอร์สเมลรูปแบบหนึ่งอาจก่อให้เกิดอาคิเทกเจอร์สเมลในรูปแบบอื่นขึ้นในระบบ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพซอฟต์แวร์ งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการในการรีแฟคทอริงสำหรับแพ็กเกจขนาดใหญ่เกินซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของอาคิเทกเจอร์สเมล โดยใช้การตรวจหาคอมมิวนิตีในกระบวนการรีแฟคทอริงแบบเอ็กซ์แทรกต์แพ็กเกจ กระบวนการนี้ใช้สำหรับการแยกแพ็กเกจที่ถูกตรวจพบอาคิเทกเจอร์สเมลรูปแบบแพ็กเกจขนาดใหญ่เกินให้มีขนาดเล็กลง และหลีกเลี่ยงผลกระทบอื่น ๆ จากอาคิเทกเจอร์สเมลบนพื้นฐานการพึ่งพา โดยมุ่งเน้นที่อาคิเทกเจอร์สเมลรูปแบบอันสเตเบิลดีเพนเดนซี วิธีการที่นำเสนอนี้ได้ให้แนวทางที่เป็นไปได้ที่จะแก้ไขผลกระทบจากอาคิเทกเจอร์สเมลรูปแบบแพ็กเกจขนาดใหญ่เกิน ซึ่งสามารถประเมินผลโดยการเปรียบเทียบจำนวนอาคิเทกเจอร์สเมลที่ตรวจพบและค่าตัวชี้วัดซอฟต์แวร์ ก่อนและหลังใช้กระบวนการรีแฟคทอริง นอกจากนี้ในงานวิจัยนี้ยังพัฒนาเครื่องมือบนพื้นฐานของวิธีการที่นำเสนอเพื่อที่จะเสนอวิธีการรีแฟคทอริงและสนับสนุนนักพัฒนาเพื่อปรับปรุงคุณภาพซอฟต์แวร์โดยการแก้ไขผลกระทบจากอาคิเทกเจอร์สเมลรูปแบบแพ็กเกจขนาดใหญ่เกินในระหว่างขั้นตอนการพัฒนาและการบำรุงรักษา


เครื่องมือทางชีวสารสนเทศเพื่อตรวจหาการแปรผันเชิงโครงสร้างทางพันธุกรรม, ศักยภาพ ผิวเหลือง Jan 2019

เครื่องมือทางชีวสารสนเทศเพื่อตรวจหาการแปรผันเชิงโครงสร้างทางพันธุกรรม, ศักยภาพ ผิวเหลือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแปรผันเชิงโครงสร้างทางพันธุกรรมคือการเปลี่ยนแปลงลำดับเบสของจีโนมที่ครอบคลุมบริเวณกว้าง การแปรผันเชิงโครงสร้างเหล่านี้มีโอกาสที่จะเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค ดังนั้นการตรวจหาการแปรผันเชิงโครงสร้างจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการหาสาเหตุของโรค อย่างไรก็ตามเครื่องมือสำหรับตรวจหาการแปรผันเชิงโครงสร้างที่มีอยู่มีประสิทธิภาพแตกต่างกันไปในการตรวจหาการแปรผันเชิงโครงสร้างแต่ละประเภท รวมทั้งไม่สามารถตรวจหาการแปรผันได้ครอบคลุมในตำแหน่งส่วนใหญ่ที่ได้ยืนยันจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอวิธีการทางคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจหาการแปรผันเชิงโครงสร้างที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุม โดยพยายามรักษาความแม่นยำของการแปรผันเชิงโครงสร้างที่ตรวจพบผ่านการวิเคราะห์คู่รีด การแตกรีด และการนับรีด เพื่อรวบรวมหลักฐานที่แสดงความเป็นไปได้ในการเกิดการแปรผันเชิงโครงสร้างแต่ละประเภทในแต่ละบริเวณของจีโนม และนำเสนอวิธีการคัดกรองเบรกเอ็นด์ที่แสดงถึงตำแหน่งเริ่มต้นและตำแหน่งสิ้นสุดของการเกิดการแปรผันประเภทต่างๆ วิธีการกรองจะทำการแบ่งตัวอย่างเป็นบล็อกๆ ข้อมูลของบล็อกประกอบไปด้วย จำนวนรีดที่แมพได้ในบล็อกนั้นและจำนวนการแปรผันเชิงโครงสร้างของแต่ละประเภทภายในบล็อก การคัดกรองเบรกเอ็นด์จะอาศัยข้อมูลทั้งจากบล็อกที่เบรกเอ็นด์อยู่และบล็อกที่อยู่ติดกัน ผลลัพธ์จากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการที่นำเสนอกับ SvABA DELLY GROM LUMPY และ Wham พบว่าวิธีการที่นำเสนอได้ผลลัพธ์ดีกว่าเครื่องมืออื่นๆ ในส่วนของความแม่นยำในการตรวจหาลำดับเบสที่เกิดความซ้ำเป็นชุดติดๆกันและลำดับเบสที่เกิดการกลับด้าน และความครบถ้วนในส่วนของการตรวจหาลำดับเบสที่ถูกเพิ่มเข้ามาสำหรับชุดข้อมูลจริง NA12878 และ HG00514 ที่ใช้ในการทดสอบ


หน่วยความจำระยะสั้นแบบยาวแบบสองทิศทางกับกลไกจุดสนใจสำหรับการทำนายความล้มเหลวของรีโมทคอมเพรสเซอร์โดยใช้การสกัดลักษณะสำคัญร่วมกับเทคนิคการลดข้อมูล, วิระศักดิ์ ชมภู Jan 2019

หน่วยความจำระยะสั้นแบบยาวแบบสองทิศทางกับกลไกจุดสนใจสำหรับการทำนายความล้มเหลวของรีโมทคอมเพรสเซอร์โดยใช้การสกัดลักษณะสำคัญร่วมกับเทคนิคการลดข้อมูล, วิระศักดิ์ ชมภู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รีโมทคอมเพรสเซอร์ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญ ซึ่งความล้มเหลวของอุปกรณ์ที่มีความรุนแรงระดับสูงสามารถทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้ วิศวกรต้องใช้ข้อมูลจากเครื่องมือวัดหลายจุดเพื่อวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติในการวางแผนการบำรุงรักษาและการดำเนินงาน แต่เมื่อข้อมูลมีปริมาณมหาศาลจึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการวิเคราะห์โดยมนุษย์ ดังนั้นการทำนายความล้มเหลวล่วงหน้าของรีโมทคอมเพรสเซอร์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอ หน่วยความจำระยะสั้นแบบยาวแบบสองทิศทางกับกลไกจุดสนใจ ซึ่งมีความสามารถในการเรียนรู้ที่มีการอ้างอิงระยะยาวของข้อมูลอนุกรมเวลาและกลไกจุดสนใจที่ช่วยเพิ่มช่วยให้แบบจำลองสามารถเลือกลำดับของเอาต์พุตที่เหมาะสม และเสริมประสิทธิภาพโดยใช้โครงข่ายคอนโวลูชันในการสลัดคุณลักษณะสำคัญอย่างอัตโนมัติจากคุณลักษณะท้องถิ่นที่อิสระต่อเวลา เพื่อเสริมประสิทธิภาพความครอบคลุมแก่แบบจำลอง วิทยานิพนธ์นี้ยังได้นำเสนอเทคนิคการลดข้อมูล เพื่อปรับปรุงประสิทธิโดยแสดงประสิทธิผลของกระบวนการฝึกด้วยชุดข้อมูลขนาดใหญ่ ผู้วิจัยประเมินประสิทธิภาพของวิธีการที่นำเสนอโดยใช้ชุดข้อมูลจริงของรีโมทคอมเพรสเซอร์ เปรียบเทียบคะแนน F1 กับแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องและแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมหลากหลายสถาปัตยกรรม ผลการลดลองชี้ให้เห็นว่าวิธีการที่นำเสนอนี้มีประสิทธิภาพการทำนายความล้มเหลวของรีโมทคอมเพรสเซอร์ที่เหนือกว่าวิธีอื่น


การใช้กลุ่มของภาพฉากเพื่อจำแนกวิดีโอจากรายการโทรทัศน์, อิทธิศักดิ์ เผือกศรี Jan 2019

การใช้กลุ่มของภาพฉากเพื่อจำแนกวิดีโอจากรายการโทรทัศน์, อิทธิศักดิ์ เผือกศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการจำแนกวิดีโอ ด้วยเทคนิคแบบจำลองคอนโวลูชันสองมิติ และการเรียนรู้แบบกึ่งกำกับ โดยทั่วไปการจำแนกวิดีโอที่มีประสิทธิภาพสูง ถูกนำเสนอโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบลึก อย่างไรก็ตามจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนวิดีโอในปัจจุบัน การเรียนรู้ของแบบจำลองเพื่อจำแนกวิดีโอจำเป็นต้องใช้ประสิทธิภาพในการประมวลผลสูง งานวิจัยนี้จึงนำเสนอวิธีการเรียนรู้ด้วยแบบจำลองคอนโวลูชันสองมิติโดยใช้การซ้อนทับกันของภาพฉาก และการจัดกลุ่มของภาพฉากด้วยแผนที่จัดระเบียบด้วยตนเองก่อนนำไปสร้างแบบจำลองจำแนกประเภทรายการ โดยการสร้างแบบจำลองประเภทรายการถูกนำเสนอใน 4 รูปแบบ ประกอบด้วย การออกเสียง การคำนวณค่าความวุ่นวาย การเรียนรู้ด้วยแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม การเรียนรู้ด้วยหน่วยความจำระยะสั้นแบบยาว อีกทั้งยังประเมินจำนวนภาพฉากสำหรับการประมวลผลในการจัดกลุ่มโดยเปรียบเทียบระหว่างระยะเวลาการเรียนรู้และความแม่นยำ วิธีการในงานวิจัยนี้ถูกนำเสนอด้วยประเมินจากการเรียนรู้ด้วยชุดข้อมูลวิดีโอจำนวน 18 ประเภท 912 วิดีโอ จากรายการโทรทัศน์ ในการประเมินด้วยการประเมินผลแบบไขว้ จำนวน 5 โฟลด์ วิธีการในงานวิจัยนี้มีความแม่นยำเฉลี่ยร้อยละ 71.98 และใช้เวลาในการเรียนรู้โดยเฉลี่ยประมาณ 40 นาที นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบกับการเรียนรู้ด้วยแบบจำลองอื่นๆ อาทิ แบบจำลองคอนโวลูชันสามมิติ และแบบจำลองคอนโวลูชันร่วมกับหน่วยความจำระยะสั้นแบบยาว รวมถึงประเมินผลกับชุดข้อมูลพื้นฐาน Hollywood2 ซึ่งการเรียนรู้มีความแม่นยำเฉลี่ยร้อยละ 93.72


พอลิอะนิลีน/เหล็กออกไซด์/รีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์เจือไนโตรเจนคอมพอสิตเพื่อเป็นขั้วไฟฟ้าตัวเก็บประจุยิ่งยวด, กัณจน์ชญาน์ ทุ่งส่วย Jan 2019

พอลิอะนิลีน/เหล็กออกไซด์/รีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์เจือไนโตรเจนคอมพอสิตเพื่อเป็นขั้วไฟฟ้าตัวเก็บประจุยิ่งยวด, กัณจน์ชญาน์ ทุ่งส่วย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาขั้วประจุไฟฟ้ายิ่งยวดจากวัสดุเหล็กออกไซด์/ไนโตรเจนเจือรีดิวซ์ แกรฟีนออกไซด์/พอลิอะนิลีน โดยมีการใช้สารสกัดเซริซินจากกระบวนการลอกกาวไหมเป็นแหล่งไนโตรเจนอะตอมในการเจือ ซึ่งจากกระบวนการเตรียมไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์ด้วยกระบวนการรีฟลักซ์และรีดิวซ์ด้วยกรดวิตามินซี พบว่าสามารถเจือไนโตรเจนถึง 11.68% ในโครงสร้างของไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์ที่สังเคราะห์ได้ วัสดุขั้วไฟฟ้าเหล็กออกไซด์/ไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์/พอลิอะนิลีนคอมพอสิตที่ได้จากการพอกพูนทางไฟฟ้าเคมีแสดงลักษณะสัณฐานวิทยาของนาโนไฟบริลพอลิอะนิลีนร่วมกับโครงสร้างแผ่นไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์ และถูกยืนยันองค์ประกอบต่าง ๆ ด้วยเทคนิคการวัดการกระจายพลังงานของรังสีเอกซ์ ฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรสโคปี และการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ เมื่อนำขั้วไฟฟ้าที่เตรียมได้จากวัสดุไนโตรเจนเจือรีดิวซ์วัสดุพอลิอะนิลีน แกรฟีนออกไซด์/พอลิอะนิลีน และเหล็กออกไซด์/ไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์/พอลิอะนิลีนคอมพอสิตมาประเมินความประสิทธิภาพในการกักเก็บพลังงาน พบว่าให้ค่าเก็บประจุที่ 151.76, 190 และ221 ฟารัดต่อกรัมที่ 1 แอมป์ต่อกรัมตามลำดับ บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในการกักเก็ลพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นเมื่อมีการเติมไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์ และเหล็กออกไซด์ นอกจากนี้ขั้วเหล็กออกไซด์/ไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์/พอลิอะนิลีนคอมพอสิตยังสามารถแสดงเสถียรภาพของประสิทธิภาพต่อรอบการใช้งานทางไฟฟ้าได้สูงถึงร้อยละ 79 หลังการใช้งาน 5000 รอบ ซึ่งจากผลการทดลองบ่งชี้ให้เห็นขั้วไฟฟ้าเหล็กออกไซด์/ไนโตรเจนเจือรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์/พอลิอะนิลีนคอมพอสิตมีความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ในขัอุปกรณ์กักเก็บพลังงานชนิดตัวเก็บประจุยิ่งยวดประสิทธิภาพสูง


การประยุกต์กากหม้อกรองจากโรงงานน้ำตาลเพื่อเป็นวัสดุเพาะเมล็ดโดยผ่านกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน, ชนิตสิรี สุเมธี Jan 2019

การประยุกต์กากหม้อกรองจากโรงงานน้ำตาลเพื่อเป็นวัสดุเพาะเมล็ดโดยผ่านกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน, ชนิตสิรี สุเมธี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตไฮโดรชาร์จากกากหม้อกรองเหลือทิ้งโรงงานน้ำตาล เพื่อให้เป็นวัสดุเพาะเมล็ดคล้ายพีทมอส ด้วยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชันภายใต้อุณหภูมิ 160 180 และ 200 องศาเซลเซียส ที่เวลา 1 2 และ 3 ชั่วโมง และอัตราส่วนกากหม้อกรองต่อน้ำกลั่น 1:5 1:10 และ 1:15 ผลการศึกษาพบว่า สภาวะไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชันที่เหมาะสม คือการทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส เวลา 3 ชั่วโมง อัตราส่วนกากหม้อกรองต่อน้ำกลั่น 1:5 ร้อยละผลผลิตที่ได้เป็น 84 เมื่อทดสอบทางสถิติพบว่าลักษณะสมบัติของไฮโดรชาร์และพีทมอสส่วนใหญ่ค่าไม่แตกต่างกัน ได้แก่ ค่าความสามารถในการอุ้มน้ำสูงสุดเป็น 4.57 และ 3.93 กรัมต่อกรัม ค่าความพรุนทั้งหมดร้อยละ 45.3 และ 38.9 ค่าช่องว่างขนาดใหญ่ร้อยละ 2.8 และ 3.0 และค่าช่องว่างขนาดเล็กร้อยละ 42.4 และ 35.7 ค่าการนำไฟฟ้า 151 และ 140 ไมโครซีเมนส์ต่อเซนติเมตร ปริมาณไนโตรเจนร้อยละ 1.34 และ1.51 ฟอสฟอรัส 188.18 และ 413.73 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และโพแทสเซียม 146.70 และ 372.08 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ จากนั้นนำไฮโดรชาร์และพีทมอสทดสอบปลูกกับพืชสองชนิดพบว่า ต้นอ่อนทานตะวันในวัสดุไฮโดรชาร์และพีทมอส ได้ค่าเปอร์เซ็นต์การงอกร้อยละ 95.31 และ 90.63 ในขณะที่ผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊คในวัสดุไฮโดรชาร์และพีทมอส ได้ค่าเปอร์เซ็นต์การงอกร้อยละ 89.06 และ 87.50 ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่าไฮโดรชาร์มีความสามารถในการเพาะเมล็ดได้เหมือนกับพีทมอส นอกจากนี้ ต้นทุนค่าการดำเนินงานในการผลิตไฮโดรชาร์เท่ากับ 54.64 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งมีราคาต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับพีทมอสที่ขายตามท้องตลาดที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม


การผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักร่วมกากของเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลังดัดแปรร่วมกับตะกอนเลนจากบ่อเลี้ยงกุ้ง, ปิยะวดี ศรีวิชัย Jan 2019

การผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักร่วมกากของเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลังดัดแปรร่วมกับตะกอนเลนจากบ่อเลี้ยงกุ้ง, ปิยะวดี ศรีวิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการหมักร่วมระหว่างกากตะกอนแป้ง (Starch sludge, SS) กับตะกอนสลัดจ์ (Activated biosludge, ABS) จากระบบบำบัดน้ำเสียแอกติเวเต็ดสลัดจ์ของโรงงานแป้งมันสำปะหลังดัดแปร และตะกอนเลน (Shrimp pond sediment, SPS) จากบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล ด้วยระบบถังหมักไร้ออกซิเจนแบบสองขั้นตอน ซึ่งได้ทำการทดลองเบื้องต้นด้วยวิธีบีเอ็มพีโดยออกแบบการทดลองแบบประสมส่วนกลาง และมีการใช้หลักการพื้นผิวตอบสนองของโปรแกรม Design Expert (Trial version 10) เพื่อเลือกอัตราส่วนการหมักร่วมที่เหมาะสม พบว่าที่อัตราส่วน (SS:SPS และ SS:ABS) เท่ากับ 1:0 และ 1:1 มีความเหมาะสม เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพสูง และระบบมีความเสถียรภาพ โดยอัตราส่วนดังกล่าวถูกนำไปใช้ในการเดินระบบหมักกรดด้วยถังปฎิกรณ์กวนสมบรูณ์แบบแบทซ์ โดยศึกษาผลของของแข็งระเหยเริ่มต้น (TVS) ซึ่งพบว่า TVS เริ่มต้นร้อยละ 2 อัตราส่วนการหมักร่วม 1:1 ของ SS:SPS และ SS:ABS มีความเหมาะสม เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการผลิตกรดไขมันระเหยสูง เท่ากับ 319 และ 353 กรัมอะซิติก/กิโลกรัมของของแข็งระเหยเริ่มต้น ตามลำดับ อีกทั้งยังพบว่าถังหมักกรดมีเสถียรภาพมากกว่าการหมัก SS เพียงอย่างเดียว และน้ำหมักกรดที่ผลิตได้จากถัง CSTR ถูกนำไปใช้เพื่อศีกษาผลของอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เริ่มต้น (OLR) ที่มีต่อประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพของถังหมักก๊าซโดยใช้ถังปฎิกรณ์ไร้อากาศแบบแผ่นกั้น (ABR) โดยพบว่าเมื่อเพิ่ม OLR ของทั้งสองชุดการหมักร่วม จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพลดลง และคุณภาพของน้ำที่ปล่อยออกแย่ลง และพบว่าที่ OLR 0.2 Kg COD/m3.day มีประสิทธิภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพสูงสุด เท่ากับ 404 และ 367 L/Kg TVSadded สำหรับการหมักร่วมของ SS:SPS และ SS:ABS ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราส่วนดังกล่าวมีร้อยละมีเทนสูงเท่ากับ 69.30 และ 72.06 ตามลำดับ


สถานการณ์และข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมเอสเอ็มอีให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียว กรณีศึกษาอุตสาหกรรมสาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, ภูริตา นรนาถตระกูล Jan 2019

สถานการณ์และข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมเอสเอ็มอีให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียว กรณีศึกษาอุตสาหกรรมสาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, ภูริตา นรนาถตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีเป้าหมายในการศึกษาสถานการณ์และแนวทางการส่งเสริมนโยบายอุตสาหกรรมสีเขียวของประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) งานวิจัยได้ประยุกต์ใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) และ SWOT เพื่อการวิเคราะห์ปัจจัย โอกาส และอุปสรรค ที่มีต่อการพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวของ SMEs ในสาขาการผลิตผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้วิเคราะห์และพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริม SMEs ให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียวในประเทศไทยให้มีเพิ่มมากขึ้น ผลการศึกษาจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง SMEs พบว่า กลุ่มปัจจัยด้านเศรษฐกิจ กลุ่มปัจจัยด้านสังคม กลุ่มปัจจัยด้านทรัพยากรภายในองค์กร มีผลต่อการตัดสินใจพัฒนาองค์กรเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวของกลุ่ม SMEs ที่ศึกษา โดยมีปัจจัยด้านการเงินเป็นอุปสรรคที่มีความสำคัญเป็นลำดับที่ 1 รองลงมาเป็นปัจจัยด้านเศรษฐกิจและปัจจัยด้านบุคลากร เป็นอุปสรรคที่มีความสำคัญเป็นลำดับที่ 2 และที่ 3 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง พบว่า ปัจจัยย่อยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของ SMEs ในการพัฒนาองค์กรตามหลักการอุตสาหกรรมสีเขียวมากที่สุด ได้แก่ การที่อุตสาหกรรมสีเขียวถูกกำหนดเป็นเงื่อนไขทางการค้า ความเข้มงวดของกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม และ ผู้บริโภคมีความต้องการอุตสาหกรรมสีเขียว แนวทางการส่งเสริม SMEs ให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียว ควรใช้กลไกทางกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจให้ SMEs ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการกำหนดกฎระเบียบบังคับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว และการกำหนดภาษีสินค้าในอัตราที่แตกต่างกันกับสินค้าผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เพื่อยกระดับความตระหนักและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน


ผลของปุ๋ยคอกมูลวัวและถ่านชีวภาพจากไม้กระถินต่อการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารหนูและแมงกานีสในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองแร่ทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระ, อโณทัย โกวิทย์วิวัฒน์ Jan 2019

ผลของปุ๋ยคอกมูลวัวและถ่านชีวภาพจากไม้กระถินต่อการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารหนูและแมงกานีสในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองแร่ทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระ, อโณทัย โกวิทย์วิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยคอกมูลวัว และถ่านชีวภาพจากไม้กระถินต่อการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารหนู และแมงกานีสในกากโลหกรรมปนเปื้อนจากบ่อกักเก็บกากโลหกรรม บริเวณพื้นที่ศักยภาพแหล่งแร่ทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระในโรงเรือนทดลอง โดยแบ่งชุดการทดลองออกเป็น 4 ชุดการทดลอง ได้แก่ 1) ชุดควบคุม (ไม่มีการเติมปุ๋ยคอกและถ่านชีวภาพ) 2) ชุดการทดลองเติมปุ๋ยคอก 3) ชุดการทดลองเติมถ่านชีวภาพ และ 4) ชุดการทดลองเติมปุ๋ยคอกร่วมกับถ่านชีวภาพ ในอัตรา 1, 3 และ 5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก โดยในแต่ละชุดการทดลองทำการเก็บตัวอย่างทุก ๆ 30 วัน เป็นระยะเวลา 120 วัน และทำการศึกษาปริมาณการดูดดึงและสะสมสารหนู และแมงกานีสในส่วนเหนือกากโลหกรรม (ลำต้นและใบ) และส่วนใต้กากโลหกรรม (ราก) ของหญ้าเนเปียร์แคระ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ชุดควบคุมมีการดูดดึงและสะสมสารหนู และแมงกานีสได้สูงที่สุด ในขณะที่ชุดการทดลองที่มีการเติมถ่านชีวภาพที่อัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ สามารถช่วยลดปริมาณการสะสมสารหนู และแมงกานีสในพืชส่วนเหนือกากโลหกรรม และส่วนใต้กากโลหกรรมได้สูงที่สุด คิดเป็น 63.93 และ 78.64 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และสามารถช่วยลดการดูดดึงและสะสมแมงกานีสในส่วนใต้กากโลหกรรม และส่วนเหนือกากโลหกรรมของพืชได้มากที่สุด คิดเป็น 69.93 และ 72.54 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเมื่อนำมาวิเคราะห์การกระจายตัว และการสะสมสารหนูและแมงกานีส ด้วยเทคนิคไมโครเอกซ์เรย์ฟลูออเรสเซนส์ (SR-XRF) พบว่า ไม่สามารถระบุการกระจายตัว และการสะสมสารหนูในพืชได้ เนื่องจากระดับความเข้มข้นของสารหนูในพืชนั้นต่ำเกินกว่าที่สามารถตรวจวัดได้ หากแต่หญ้าเนเปียร์แคระในชุดการทดลองที่มีการเติมถ่านชีวภาพในอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ พบว่า มีการกระจายตัว และสะสมแมงกานีส และธาตุอื่น ๆ ได้แก่ แคลเซียม เหล็ก และซัลเฟอร์ น้อยกว่าชุดควบคุม และพบการสะสมธาตุดังกล่าวในบริเวณเนื้อเยื่อชั้นนอกเป็นหลัก ผลการศึกษารูปฟอร์มทางเคมีของสารหนู และแมงกานีสในตัวอย่างพืชและกากโลหกรรม ด้วยเทคนิคเอกซเรย์แอบซอร์บชั่นสเปคโตรสโกปี (SR-XAS) พบว่า การเติมปุ๋ยคอกและถ่านชีวภาพ ไม่ทำให้สารหนูและแมงกานีสที่ปนเปื้อนในกากโลหกรรมเปลี่ยนรูปฟอร์มทางเคมีแต่อย่างใด จึงสามารถสรุปได้ว่า การเติมถ่านชีวภาพ 5 เปอร์เซ็นต์ มีประสิทธิภาพในการตรึงสารหนู และแมงกานีสได้ดีที่สุด ผลการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ดินปนเปื้อนบริเวณพื้นที่ของการทำเหมือง …


การวิเคราะห์เชิงปริภูมิ-กาลและแบบจำลองเพื่อความยั่งยืนของพื้นที่ป่าและเมืองชายฝั่งอันดามัน: กรณีศึกษาจังหวัดกระบี่, อลิษา สหวัชรินทร์ Jan 2019

การวิเคราะห์เชิงปริภูมิ-กาลและแบบจำลองเพื่อความยั่งยืนของพื้นที่ป่าและเมืองชายฝั่งอันดามัน: กรณีศึกษาจังหวัดกระบี่, อลิษา สหวัชรินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์เชิงปริภูมิ-กาล และแบบจำลองเพื่อการจัดการพื้นที่ชายฝั่งอย่างยั่งยืน เป็นงานวิจัยสหสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยาภูมิทัศน์ ผังเมือง และการจัดการชายฝั่ง เพื่อนำเสนอแนวทางการทำงานด้านสิ่งแลดล้อม โดยใช้มุมมองทางภูมิสถาปัตยกรรม เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่ง วิเคราะห์โครงสร้างและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนปริภูมิกับกระบวนการทำงานของระบบนิเวศป่าชายเลนและเมืองชายฝั่ง และเสนอแบบจำลองทางเลือกในการวางแผนภูมิทัศน์เมืองชายฝั่ง เพื่อให้เกิดการพัฒนาชายฝั่งอย่างยั่งยืน โดยใช้ข้อมูลการสำรวจระยะไกลมาแปลความลักษณะของสิ่งปกคลุมดิน ด้วยโปรแกรม ArcGIS และวิเคราะห์ด้วยดัชนีชี้วัดภูมิทัศน์ เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนปริภูมิในระดับภูมิภาคชายฝั่งอันดามันทั้ง 6 จังหวัดและระดับภูมิภาคเมืองกระบี่ แล้วนำเสนอกระบวนการวางผังภูมินิเวศ ที่ช่วยบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่จากการขยายเมือง บรรเทาความรุนแรงของภัยธรรมชาติ ลดความขัดแย้งจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน และสามารถรับมือกับความไม่แน่นอนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ โดยประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์การวางผัง ร่วมกับการวิเคราะห์ศักยภาพและข้อจำกัดของระบบนิเวศเมืองในการบริการระบบนิเวศ รวบรวมผลการวิเคราะห์ออกมาเป็นแบบจำลองทางเลือกในการพัฒนาภูมิภาคเมืองชายฝั่งที่จะเป็นแนวทางพื้นฐานของการวางผังภูมิภาคเมืองชายฝั่ง โดยยุทธศาสตร์ “โครงข่ายแห่งโอกาส” สร้างโครงข่ายภูมิทัศน์หลากประโยชน์ เป็นแบบจำลองการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพในการทำงานของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศสูงสุด และสามารถนำไปมาพัฒนาพื้นที่ภูมิภาคเมืองกระบี่ ในรูปแบบผังภูมิทัศน์ 3 ระบบ ได้แก่ ระบบน้ำ ระบบพื้นที่สีเขียว และระบบเมือง แต่ละระบบมีกลยุทธ์ทางเลือกในการพัฒนา 4 รูปแบบ เป็นลำดับขั้นได้แก่ พัฒนาผืนระบบนิเวศ พัฒนาทางเชื่อมนิเวศ พัฒนาเป็นโครงข่าย และพัฒนาแบบองค์รวม แต่ละรูปแบบมีบทบาทหน้าที่ คุณลักษณะทางกายภาพแตกต่างกัน ที่สามารถนำไปกำหนดทิศทางการพัฒนาและประยุกต์ใช้กับเมืองชายฝั่งอื่นๆ เพื่อความยั่งยืนของทั้งเมืองและสิ่งแวดล้อมชายฝั่ง


การเตือนการพลิกคว่ำแบบทริปเเละแบบอันทริปด้วยโครงข่ายประสาทเเบบเวลาจริง, ไกรฤกษ์ ตรีทิพสุนทร Jan 2019

การเตือนการพลิกคว่ำแบบทริปเเละแบบอันทริปด้วยโครงข่ายประสาทเเบบเวลาจริง, ไกรฤกษ์ ตรีทิพสุนทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบป้องกันการพลิกคว่ำสำคัญมากสำหรับความปลอดภัยของผู้ขับขี่ การพัฒนาระบบป้องกันการพลิกคว่ำต้องการการประเมินความเสี่ยงในการพลิกคว่ำ ความยากของการประเมินความเสี่ยงคือ การที่ไม่รู้ความสูงจุดศูนย์ถ่วงของรถ หรือน้ำหนักของรถในขณะนั้น เป็นต้น งานวิจัยนี้จะพัฒนาการคาดเดาการพลิกคว่ำโดยที่ไม่รู้ตัวแปรข้างต้น โดยโครงข่ายประสาทใช้ค่าจากเซนเซอร์ที่ติดตั้งบนรถ การทดลองจะใช้โมเดลของรถยนต์ SUV เนื่องจากมีจุดศูนย์ถ่วงที่สูงกว่ารถยนต์ประเภทอื่น การทดสอบใช้รถทดสอบอัตราส่วน 1:5 โดยใช้ทฤษฎีบักกิงแฮมพาย และรถทดสอบได้ติดตั้งเซนเซอร์วัดความเร่ง 5 จุด และไจโรสโกป 1 จุด การเตือนการพลิกคว่ำ แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ปลอดภัย, มีความเสี่ยง และมีความเสี่ยงสูง โดยระบบสามารถเตือนการพลิกคว่ำได้ทั้งแบบทริป และอันทริป ทริป คือการเข้าโค้งและสะดุดหลุม หรือสิ่งกีดขวาง อันทริปคือการเข้าโค้งด้วยความเร็วสูง การเตือนการพลิกคว่ำใกล้เคียงกับค่าดัชนีการพลิกคว่ำที่วัดได้จริง การทดลองด้วยข้อมูลจากโปรแกรมจำลอง “CarSim” งานวิจัยนี้ใช้โครงข่ายประสาทแบบวนกลับ โดยใช้ข้อมูลจากเซนเซอร์ที่ติดตั้งบนตัวรถ ผู้วิจัยทดสอบ และเปรียบเทียบ ชนิดของโครงข่ายประสาท โครงสร้างของโครงข่ายประสาท และข้อมูลรับเข้าที่แตกต่างกัน โดยโครงข่ายประสาทที่เหมาะสมกับการคาดเดาแบบทริปคือแทนเจนต์มีรากที่สองของค่าเฉลี่ยความผิดพลาดกำลังสอง (RMSE) อยู่ที่ 3.66x10-4 และ GRU เหมาะสำหรับการคาดเดาแบบอันทริป โดยมีรากที่สองของค่าเฉลี่ยความผิดพลาดกำลังสองอยู่ที่ 0.131x10-2