Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1231 - 1260 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

The Relationship Between Starbucks Brand’S Image, Trust, And Online Engagement, Wei-Chih Chen Jan 2021

The Relationship Between Starbucks Brand’S Image, Trust, And Online Engagement, Wei-Chih Chen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research are to explore brand image, brand trust, online brand engagement of Starbucks, as well as to explore the relationship among these three variables. Data are collected through an online survey with 230 respondents, who are Starbucks Thailand’s customers, aged between 18 to 40 years old are asked to participate in the online survey. The results depict that the respondents had a positive brand image of Starbucks Thailand (M = 4.21). Moreover, the results show that the respondents had fairly high trust in Starbucks Thailand (M = 4.21) and moderately engaged with Starbucks Thailand Facebook page …


The Influence Of Brand Ambassador On Brand Image And Purchasing Decision Of C-Vitt Among Expatriates And Locals, Agung Baskara Jan 2021

The Influence Of Brand Ambassador On Brand Image And Purchasing Decision Of C-Vitt Among Expatriates And Locals, Agung Baskara

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to examine the influence of brand ambassador on brand image and purchasing decision of product vitamin C drinks, C-Vitt, among 2 different groups which were expatriates and Thai. The study also examined the relationship of each variable whether it’s positively related or negatively related. Study of this paper was conducted with a quantitative approach. Online questionnaire was distributed across several online expats and Thai communities. 213 valid respondents had been collected in 4 weeks period of data collection. The outcome of this research showed each of the variables were positively related. Moreover, it also illustrated that there …


The Influence Of Samsung Smartphone Social Media Advertising On Thai Consumers’ Attitude And Purchase Intention, Seint Sandi Tun Jan 2021

The Influence Of Samsung Smartphone Social Media Advertising On Thai Consumers’ Attitude And Purchase Intention, Seint Sandi Tun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aims to investigate Thai consumers' attitude towards Samsung smartphone social media advertising and their purchase intention toward both the advertised product and brand "Samsung”. Furthermore, it explores the relationship between consumers’ attitude and their purchase intention, as well as the influence of social media advertising by comparing gender and different types of brand users. The quantitative research was conducted through online survey collecting data from 300 respondents whose age range is between 18-40 years. The results revealed that Thai consumers have positive attitude towards Samsung smartphone social media advertising and moderate purchase intention. As a result, from Pearson’s …


การแก้ไขปัญหาโจรสลัดในช่องแคบมะละกา: สิงคโปร์กับรัฐที่อยู่นอกกรอบอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปราบปรามการกระทำที่ผิดกฎหมายต่อความปลอดภัยของการเดินเรือ ค.ศ. 1988, ภูภัฎ โรจน์ตระกูล Jan 2021

การแก้ไขปัญหาโจรสลัดในช่องแคบมะละกา: สิงคโปร์กับรัฐที่อยู่นอกกรอบอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปราบปรามการกระทำที่ผิดกฎหมายต่อความปลอดภัยของการเดินเรือ ค.ศ. 1988, ภูภัฎ โรจน์ตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการและความร่วมมือในการจัดการปัญหาโจรสลัดและการปล้นเรือของสิงคโปร์ร่วมกับรัฐชายฝั่งในช่องแคบมะละกา จากการศึกษาด้วยการวิเคราะห์เอกสารและใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับระบอบระหว่างประเทศในฐานะที่เป็นจุดประสานความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมาย ถึงผลประโยชน์ร่วมกันของรัฐ และงานวิจัยได้ข้อค้นพบดังนี้ ประการที่หนึ่ง ปัญหาโจรสลัดเป็นปัญหาที่ประเทศใดประเทศหนึ่งไม่อาจแก้ไขให้สำเร็จได้ถ้าหากไม่ได้รับความร่วมมือจากประเทศอื่น ๆ เพราะโจรสลัดและการปล้นเรือใช้ทะเลที่เป็นน่านน้ำระหว่างประเทศเป็นเส้นทางปฏิบัติการต่อเป้าหมาย ระบอบระหว่างประเทศที่เรียกว่า อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปราบปรามการกระทำที่ผิดกฎหมายต่อความปลอดภัยของการเดินเรือ ค.ศ. 1988 (SUA Convention) จึงได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อวางกรอบประสานความร่วมมือระหว่างประเทศสำหรับแก้ไขปัญหาดังกล่าว และประการที่สอง ประเทศที่ตั้งอยู่ในช่องแคบมะละกา มีเพียงสิงคโปร์ที่เป็นภาคีอนุสัญญาฯ ในขณะที่อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย มิได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของระบอบระหว่างประเทศดังกล่าว เพราะกังวลว่าอาจกระทบต่ออธิปไตยและอัตตาณัติในการดำเนินนโยบายของตน แต่สิงคโปร์สามารถประสานความร่วมมือกับรัฐชายฝั่งเหล่านี้ได้ ในรูปแบบข้อตกลงระดับทวิภาคี และระหว่างหน่วยงานฝ่ายปฏิบัติของสิงคโปร์กับของรัฐชายฝั่งแต่ละประเทศ ประการที่สาม แม้ระบอบระหว่างประเทศจะไม่ได้มีผลบังคับต่อประเทศที่มิได้เป็นสมาชิก แต่ประเทศที่เป็นสมาชิกสามารถปรับหลักการ บรรทัดฐาน และมาตรการดำเนินการหลายอย่างที่ระบอบระหว่างประเทศวางไว้เป็นกรอบอันเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ มาเป็นแนวทางประสานความร่วมมือกับประเทศที่มิได้เป็นสมาชิก ดังเช่นที่สิงคโปร์สามารถประสานความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว


ปัญหาและอุปสรรคต่อการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมของไทยภายใต้พันธกรณีของอนุสัญญาออตตาวา, ภควุฒิ รามศิริ Jan 2021

ปัญหาและอุปสรรคต่อการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมของไทยภายใต้พันธกรณีของอนุสัญญาออตตาวา, ภควุฒิ รามศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคต่อการเก็บกู้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลของประเทศไทยภายใต้พันธกรณีของอนุสัญญาออตตาวา โดยเฉพาะการปฏิบัติตามพันธกรณีข้อ 5 ว่าด้วยการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิดภายใต้เขตอำนาจหรือการควบคุมของรัฐภาคีภายในกรอบระยะเวลา 10 ปี หลังจากอนุสัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อรัฐภาคี โดยจะใช้กรอบทฤษฎีประกอบสร้างนิยม (Constructivism) ในการศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคต่อการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมของประเทศไทยที่ยังไม่สามารถปฏิบัติได้ตามพันธกรณีในอนุสัญญาออตตาวา ซึ่งจากการศึกษา พบว่า อนุสัญญาที่เผยแพร่บรรทัดฐานที่เน้นมนุษย์ (Human-centric) ขัดต่อบรรทัดฐานที่เน้นรัฐ (State-centric) ที่เคยยึดถือกันมาอย่างยาวนาน ส่งผลให้ระบบการปกครองในแต่ละรัฐบาลของประเทศไทยให้ความสำคัญในเรื่องการเก็บกู้ทุ่นระเบิดไม่เท่ากัน และเกิดความไม่ต่อเนื่องในการปฏิบัติตามบรรทัดฐาน รวมทั้งการไม่มี Norm entrepreneur ภายในประเทศเข้ามาผลักดันประเด็นปัญหานี้ได้อย่างเต็มที่ จึงทำให้การรับเอาบรรทัดฐานเข้ามากลายเป็นเรื่องของการคล้อยตามทางสังคม (Social conformity) ซึ่งอยู่ในระดับรัฐที่มีการยอมรับแบบผิวเผิน และต้องการแสดงให้ประชาคมระหว่างประเทศเห็นว่าตนเองให้ความสำคัญและสามารถปฏิบัติตามบรรทัดฐานนี้ได้ เพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุเป็นหลัก นอกจากนี้ยังเกิดความขัดกันของแนวทาง (Contestation) ในการช่วยเหลือของประเทศสหรัฐอเมริกา ในกระบวนการคิดกับวิธีการกวาดล้างทุ่นระเบิดที่ไม่ตรงกับบริบทของประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยมีภูมิประเทศที่แตกต่างจากประเทศฝั่งตะวันตก เช่น พื้นที่สูงชัน ป่ารกทึบ ห่างไกล และยากต่อการเข้าถึง ทั้งนี้ จึงทำให้การปฏิบัติการเก็บกู้ทุ่นระเบิดของประเทศไทยมีประสิทธิภาพน้อย และไม่สามารถปฏิบัติภารกิจให้เสร็จสิ้นได้ภายในกรอบระยะเวลา 10 ปี


นโยบายต่างประเทศของจีนต่ออัฟกานิสถาน ในช่วงหลังเหตุการณ์ 9/11, ภัทรพล รัตนวรรณ Jan 2021

นโยบายต่างประเทศของจีนต่ออัฟกานิสถาน ในช่วงหลังเหตุการณ์ 9/11, ภัทรพล รัตนวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษานโยบายต่างประเทศของจีนที่มีต่ออัฟกานิสถาน หลังเหตุการณ์ 9/11 โดยจะศึกษานโยบายของจีนที่เดิมมักจะได้ข้อสรุปว่า เป็นไปเพื่อการแข่งขันอิทธิพลของสหรัฐฯ และมหาอำนาจอื่น ๆ ในอัฟกานิสถานและภูมิภาคนั้น การศึกษาของสารนิพนธ์นี้จะพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นเหตุผลประกอบในการตัดสินใจดำเนินนโยบายต่างประเทศของจีน ซึ่งมีทั้งจากปัจจัยภายนอกที่เกิดจากการเข้ามาของสหรัฐฯ จนอาจเป็นการแข่งขันทางอำนาจในระบบระหว่างประเทศ และจากปัจจัยภายในด้านเสถียรภาพและความมั่นคงของจีนเองที่ต้องการเสริมสร้างความเข้มแข็งของบูรณภาพแห่งดินแดนในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ผลการศึกษาพบว่าการดำเนินนโยบายต่างประเทศของจีนต่ออัฟกานิสถานในช่วงหลังเหตุการณ์ 9/11 นั้น ปัจจัยภายในเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะบทบาทของจีนในอัฟกานิสถาน เป็นไปเพื่อการจัดการปัญหาด้านความมั่นคงภายใน การเสริมสร้างเสถียรภาพ และเพื่อรักษาฐานอำนาจความชอบธรรมของพรรคคอมมิวนิสต์จีน จากการประสบปัญหาการก่อเหตุรุนแรงเพื่อต่อต้านรัฐบาลจีนในพื้นที่เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความชอบธรรมของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการปกครองประเทศ ด้านสภาวะดุลแห่งอำนาจ (Balance of Power) ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคจนส่งผลให้มีลักษณะของการแข่งขันอิทธิพลของประเทศมหาอำนาจนั้น เป็นเพียงแต่ผลพลอยได้ที่ตามมาจากการดำเนินนโยบายต่างประเทศของจีนเพื่อปกป้องเสถียรภาพด้านความมั่นคงภายในของจีนเอง ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของจีนที่มีต่ออัฟกานิสถาน


นโยบายรัฐบาลอัฟกานิสถานต่อการพัฒนาสิทธิสตรีในสมัยประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ระหว่าง ค.ศ. 2001 - 2014, มุกขรินทร์ ลาวัณลักขณา Jan 2021

นโยบายรัฐบาลอัฟกานิสถานต่อการพัฒนาสิทธิสตรีในสมัยประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ระหว่าง ค.ศ. 2001 - 2014, มุกขรินทร์ ลาวัณลักขณา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยนี้ศึกษาและวิเคราะห์นโยบายรัฐบาลอัฟกานิสถานต่อการพัฒนาสิทธิสตรีในสมัยประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ภายหลังการล่มสลายของตาลีบันระหว่าง ค.ศ. 2001 – 2014 โดยใช้หลัก “วัฏจักรของบรรทัดฐาน” (Norm Life Cycle) ภายใต้แนวคิดพลวัตรของบรรทัดฐานระหว่างประเทศ (International Norm Dynamics) เป็นกรอบวิเคราะห์นโยบายของรัฐบาลอัฟกานิสถานต่อการพัฒนาสิทธิสตรี ใน 3 ด้านสำคัญ ได้แก่ ด้านการดำเนินชีวิตในสังคมและสิทธิทางการเมือง ด้านการศึกษาและการทำงาน และด้านสาธารณสุข เพื่อวิเคราะห์ว่า อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐบาลอัฟกานิสถานในสมัยประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ระหว่าง ค.ศ. 2001 – 2014 ไม่สามารถดำเนินนโยบายส่งเสริมสิทธิสตรีได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความวิจัยนี้ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อตกลงระหว่างประเทศ เอกสารราชการของอัฟกานิสถาน หนังสือและบทความจากวารสารทางวิชาการที่นำเสนอเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาลอัฟกานิสถานต่อการพัฒนาสิทธิสตรีในสมัยประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ระหว่าง ค.ศ. 2001 – 2014 รวมถึงรายงานสรุปสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อสนับสนุนข้อเสนอของบทความวิจัยนี้ คือ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐบาลอัฟกานิสถานไม่สามารถดำเนินนโยบายพัฒนาสิทธิสตรีได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ ปัจจัยระดับรัฐบาลและระดับสังคม


อิทธิพลของสถาบันขงจื่อในมุมมองของสหรัฐอเมริกา, สุรจักษ์ จิรปัญจวัฒน์ Jan 2021

อิทธิพลของสถาบันขงจื่อในมุมมองของสหรัฐอเมริกา, สุรจักษ์ จิรปัญจวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษามุมมองของสหรัฐอเมริกาที่มีต่ออิทธิพลของสถาบันขงจื่อในสังคมอเมริกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจว่าเพราะเหตุใดอิทธิพลของสถาบันขงจื่อ ถึงถูกภาคการเมืองอเมริกันมองเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา จากบริบทการแข่งขันทางอำนาจระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนในเวทีเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ เมื่อจีนก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจใหม่ ซึ่งเป็นการท้าทายมหาอำนาจเดิมอย่างสหรัฐฯ ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมของสถาบันขงจื่อที่อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดจากรัฐบาลอเมริกัน จนนำไปสู่การจำกัดอิทธิพลของสถาบันขงจื่อในสังคมอเมริกัน ดังนั้นผู้เขียนจะนำแนวคิดการพองตัวอย่างผิดปกติของภัยคุกคาม หรือ Threat Inflation มาอธิบายปรากฎการณ์ดังกล่าว ซึ่งจากการศึกษาพบว่าสถาบันขงจื่อที่ดำเนินกิจกรรมอยู่ทั่วสหรัฐฯ มีโครงสร้างการบริหารงานที่ถูกผูกติดกับรัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนจนแยกไม่ออก กอปรกับสถาบันขงจื่อมีอิทธิพลเหนือกว่าสถาบันการศึกษาอเมริกัน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อเสรีภาพทางวิชาการในระบบการศึกษาของสหรัฐฯ ส่งผลให้ผู้นำสังคมอเมริกันเริ่มออกมาต่อต้านการมีอยู่ของสถาบันขงจื่อ โดยเฉพาะภาคการเมืองอเมริกันที่พยายามสร้างภาพความน่ากลัวของสถาบันขงจื่อให้ขยายตัวใหญ่ขึ้น จนนำไปสู่การสร้างมุมมองให้กับสังคมอเมริกันว่าสถาบันขงจื่ออาจจะเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา เพื่อให้รัฐได้รับความชอบธรรมในการดำเนินการจำกัดอิทธิพลของสถาบันขงจื่อในสังคมอเมริกัน


บทเรียนจากสมรภูมิ: สงครามลับในลาวกับการปรับยุทธศาสตร์ต่อต้านการก่อความไม่สงบของไทย, สุริยัน จิ๋วเจริญ Jan 2021

บทเรียนจากสมรภูมิ: สงครามลับในลาวกับการปรับยุทธศาสตร์ต่อต้านการก่อความไม่สงบของไทย, สุริยัน จิ๋วเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงหลักนิยมและแนวทางการต่อสู้คอมมิวนิสต์ที่กองทัพไทยได้กำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางการเอาชนะสงครามประชาชน สารนิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งได้ใช้กรอบแนวคิดการเรียนรู้เชิงนโยบายความมั่นคง มีจุดยืนว่าการเปลี่ยนแปลงหลักนิยมและแนวทางการต่อต้านการก่อความไม่สงบของไทยมีการเรียนรู้เป็นสองชั้น คือ การเรียนรู้ระดับบุคคลและการเรียนรู้ระดับองค์กร ชั้นที่หนึ่งคือประสบการณ์ส่วนบุคคลของนายทหารไทยกลุ่มหนึ่งที่เคยเข้าร่วมสงครามลับในลาวเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง หนึ่งในบทเรียนสำคัญที่สุดจากประสบการณ์ในสงครามคือการตระหนักถึงข้อจำกัดพื้นฐานและความไม่มีประสิทธิภาพของยุทธศาสตร์ตั้งแนวป้องกันนอกประเทศของสหรัฐอเมริกา และการต่อต้านการก่อความไม่สงบที่เน้นการใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามอย่างรุนแรงตามแบบอย่างปฏิบัติการของสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนามซึ่งรัฐบาลทหารไทยสมัยนั้นได้นำมาใช้เป็นหลักนิยมความมั่นคงของชาติ อย่างไรก็ตามการเรียนรู้ในระดับบุคคลถึงแม้ว่าจะเป็นส่วนสำคัญยิ่ง แต่ก็ยังถือว่าเป็นเพียงก้าวแรกเท่านั้น หลังจากสงครามลับในลาวสิ้นสุดลง นายทหารกลุ่มหนึ่งได้กลับมายังประเทศไทยและได้รับมอบภารกิจการต่อสู้คอมมิวนิสต์ นายทหารกลุ่มนั้นนำโดยพลเอกสายหยุด เกิดผล ได้ปรับเปลี่ยนหลักนิยมและแนวทางการต่อต้านการก่อความไม่สงบขึ้นใหม่ ซึ่งมุ่งเน้นการเอาชนะจิตใจประชาชนและสร้างความชอบธรรมทางการเมืองโดยใช้มาตรการพัฒนาเศรษฐกิจและการเมือง ขยายบทบาทงานด้านกิจการพลเรือนของกองทัพ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ก่อความไม่สงบที่ยอมมอบตัวให้เข้าร่วมเป็น “ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย” ชั้นที่สองคือการเรียนรู้ระดับองค์กรที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนหลักนิยม เกิดจากปัจจัยสำคัญยิ่งคือการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลทหารที่ปกครองประเทศมากว่าสิบห้าปี ได้สร้างโอกาสสู่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยเช่นเดียวกับเปิดโอกาสให้เกิดการปรับหลักนิยมความมั่นคงของชาติ เป็นช่วงเวลาที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้ซึ่งให้การสนับสนุนและมีบทบาทหลักต่อการใช้หลักนิยมใหม่ ได้ก้าวเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและนายกรัฐมนตรี การยกระดับไปสู่หลักนิยมใหม่นี้เกิดขึ้นภายใต้การนำของเขา


ความท้าทายในการบูรณาการของชาวจีนใหม่ในกัมพูชา, นันทนัท สุวรรณชัย Jan 2021

ความท้าทายในการบูรณาการของชาวจีนใหม่ในกัมพูชา, นันทนัท สุวรรณชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาความท้าทายของชาวจีนใหม่กับการบูรณาการกับสังคมกัมพูชาภายใต้สภาพแวดล้อมที่เผชิญการกดดันจากภาคประชาชนในประเทศและความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับจีน โดยจะมุ่งพิจารณาในสามระดับได้แก่ พฤติการณ์ของชาวจีนใหม่กับสังคมกัมพูชา ท่าทีของชาวกัมพูชาต่อการเข้ามาของชาวจีนกลุ่มนี้ และโครงสร้างพื้นฐานสถาบันทางสังคมของกัมพูชาที่เอื้อต่อการปรับตัวของชาวจีนใหม่ จากการศึกษาพบว่า ชาวจีนใหม่ไม่สามารถปรับตัวกับสังคมกัมพูชาได้เท่าที่ควร สาเหตุจากการที่ชาวจีนใหม่เลือกที่จะรักษาอัตลักษณ์ความเป็นจีนและไม่ปฏิสัมพันธ์กับคนกัมพูชา มีพฤติการณ์ไม่เคารพระเบียบกฎหมายท้องถิ่น และก่ออาชญากรรมสร้างความขัดแย้งกับคนกัมพูชา ด้วยเหตุนี้ การเข้ามาของชาวจีนใหม่จึงก่อให้เกิดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของกัมพูชาและสร้างกระแสต่อต้านชาวจีนในกัมพูชาที่เพิ่มมากขึ้น โดยที่กัมพูชายังไม่มีโครงสร้างสถาบันทางสังคมเพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งหรือดูแลชาวจีนกลุ่มนี้อย่างจริงจัง ประกอบกับในภาวะมิติความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างประเทศของกัมพูชากับจีน เป็นความท้าทายของรัฐบาลกัมพูชาในการกำหนดแนวทางหรือบังคับใช้มาตรการต่อชาวจีนใหม่ได้อย่างเสรีภาพและมีประสิทธิภาพ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวในการใช้อำนาจรัฐ จนทำให้ผลกระทบจากชาวจีนใหม่มีแนวโน้มก่อให้เกิดปัญหาเรื้อรังทางสังคม


ญี่ปุ่นกับการนำเสนอ “ภาพลักษณ์การไม่ยอมแพ้” ในโตเกียวโอลิมปิกส์ 2020, กนกนันท์ ธูปะเตมีย์ Jan 2021

ญี่ปุ่นกับการนำเสนอ “ภาพลักษณ์การไม่ยอมแพ้” ในโตเกียวโอลิมปิกส์ 2020, กนกนันท์ ธูปะเตมีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาภาพลักษณ์ของชาติที่ญี่ปุ่นต้องการนำเสนอจากการยืนหยัดจัดโอลิมปิกท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นี้ โดยเน้นวิเคราะห์ภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นและแนวทางการสร้างภาพลักษณ์นั้น อันประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ สาระ และกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ แล้วเปรียบเทียบกับภาพลักษณ์และแนวทางการสร้างในโตเกียวโอลิมปิกส์ 2020 ยุคก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และในโตเกียวโอลิมปิกส์ 1964 จากการศึกษาพบว่าภาพลักษณ์ ‘ไม่ยอมแพ้’ ของญี่ปุ่นใน ค.ศ.2021 เห็นได้จากการนำยุทธศาสตร์การป้องกันโรคและการใช้คำพูดสร้างความเชื่อมั่นของผู้นำไปปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อมภายในประเทศและแสดงให้นานาชาติเห็นว่าญี่ปุ่นพร้อมจัดโอลิมปิกอย่างปลอดภัยแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภาพลักษณ์ในตอนนั้นคือการฟื้นฟูบูรณะจากภัยพิบัติที่ญี่ปุ่นต้องเผชิญในปี ค.ศ.2011 ด้วยยุทธศาสตร์การเติบโตทางเศรษฐกิจของ ‘อาเบะโนมิกส์’ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวซึ่งเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กับการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่ได้รับความเสียหาย และภาพลักษณ์ของโตเกียวโอลิมปิกส์ 1964 คือการกลับสู่ประชาคมโลกที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ในฐานะประเทศรักสันติ ด้วยยุทธศาสตร์การเร่งพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศให้ทัดเทียมกับประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำอื่น ๆ และการปลูกฝังความเป็นสากลให้ประชากรญี่ปุ่น ก่อนการจัดโอลิมปิกฤดูร้อนของญี่ปุ่นแต่ละครั้งที่ผ่านมา ญี่ปุ่นอยู่ในบริบทที่ประเทศต้องเผชิญกับความสูญเสียอย่างมาก โตเกียวโอลิมปิกส์ 1964 เกิดหลังจากการแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 โตเกียวโอลิมปิกส์ 2020 เกิดหลังจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวใหญ่และสึนามิ ค.ศ.2011 และต้องเลื่อนการจัดงานเพราะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การฟื้นฟูประเทศอย่างไม่ลดละตามนโยบายของผู้นำ ประกอบกับการร่วมด้วยช่วยกันของประชากรญี่ปุ่น ทำให้ประเทศญี่ปุ่นสามารถจัดโอลิมปิกให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ในสายตาชาวโลกได้


การจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพเรือ กับการสร้างสมดุลของไทยหลังการรัฐประหารปี ๒๐๑๔, กังสดาล สุจเร Jan 2021

การจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพเรือ กับการสร้างสมดุลของไทยหลังการรัฐประหารปี ๒๐๑๔, กังสดาล สุจเร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยฉบับนี้วิเคราะห์อิทธิพลของมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และจีนในศตวรรษที่ ๒๑ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการรัฐประหารปี ๒๐๑๔ ในฐานะปัจจัยภายนอก และการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยตามยุทธศาสตร์การประกันความเสี่ยง (Hedging) ในการสร้างสมดุลระหว่างอิทธิพลมหาอำนาจดังกล่าวในฐานะปัจจัยภายใน ว่าทั้งสองส่วนนี้ส่งผลกระทบอย่างไรต่อการจัดหายุทโธปกรณ์ของ ทร. โดยเสนอผ่านกรอบแนวคิดการประกันความเสี่ยง ของ Evelyn Goh และการจัดหายุทโธปกรณ์เป็นเครื่องมือทางการทูต (Procurement Diplomacy) เพื่อมุ่งตอบคำถามว่า การจัดหายุทโธปกรณ์ของ ทร. ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสมดุลภายใต้อิทธิพลของมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และจีนอย่างไร ซึ่งเมื่อศึกษาจากนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ และจีน ประกอบกับระเบียบและแนวทางที่เกี่ยวข้องกับการจัดหายุทโธปกรณ์ของไทย รวมถึงบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ และการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านการจัดหายุทโธปกรณ์ของ ทร. แล้วพบว่า การจัดหายุทโธปกรณ์ของ ทร. แบบรัฐบาลต่อรัฐบาล ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสมดุลภายใต้อิทธิพลของสหรัฐฯ และจีน ส่งผลให้เกิดความหลากหลายของยุทโธปกรณ์ในชนิดเดียวกัน และกระทบต่อขีดความสามารถของกำลังรบ ทร. ซึ่งเป็นผลการวิจัยที่แสดงในบทความฉบับนี้


การท่องเที่ยวเชิงภูมิรัฐศาสตร์: กรณีศึกษาลาดักห์, ชมพูนุท คชโส Jan 2021

การท่องเที่ยวเชิงภูมิรัฐศาสตร์: กรณีศึกษาลาดักห์, ชมพูนุท คชโส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ลาดักห์เป็นเมืองหนึ่งที่ซ่อนตัวอยู่ในหุบเขาและเทือกเขาที่สลับทับซ้อนกันในทางเหนือของประเทศอินเดีย เป็นพื้นที่ชายแดนที่รายรอบไปด้วยความขัดแย้งในทางการเมืองระหว่างประเทศจากเพื่อนบ้านอย่างจีนและปากีสถาน โดยเฉพาะจีนที่ได้เกิดการกระทบกระทั่งกันมาตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบันจากการพยายามแย่งชิงพื้นที่และอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนบางส่วนของลาดักห์ ลาดักห์จึงได้ถูกทำให้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลภายใต้ยุคของชวาหะลาล เนห์รู อินทิรา คานธี มานโมฮัน ซิงห์ และนเรนทรา โมดิ ได้นำมาใช้เพื่อสร้างอำนาจให้แก่อินเดียด้วยการทำให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว โดยประโยชน์ที่จะได้จากการท่องเที่ยวก็คือการนำมาซึ่งการพัฒนาโครงสร้างของพื้นที่ให้เจริญ ไม่ว่าจะเป็น ระบบสาธารณูปโภค ระบบขนส่งและคมนาคม การศึกษา เศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ รวมไปถึงการทำให้พื้นที่รกร้างว่างเปล่านั้นเต็มไปด้วยผู้คนซึ่งก็คือนักท่องเที่ยวจากหลากหลายประเทศ โดยที่อินเดียใช้ประโยชน์จากภูมิรัฐศาสตร์ของลาดักห์ที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติอันสวยงาม มีทรัพยากรทางรากฐานทางวัฒนธรรมที่แปลกใหม่ชวนค้นหาสำหรับโลกภายนอก เพื่อดึงดูดให้เกิดการเดินทางเข้าไปยังพื้นที่ จากสถานที่ที่ไม่ค่อยมีใครเคยได้ยินชื่อ จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักในหมู่นักเดินทางมากขึ้น การดำเนินนโยบายของอินเดียแสดงออกถึงการมีสิทธิดำเนินนโยบายจากเจ้าของพื้นที่ด้วยการลงทุน การพัฒนาในพื้นที่ และเป็นการตอกย้ำถึงเขตแดนและอาณาบริเวณด้วยการใช้พยานอย่างนักท่องเที่ยวที่ต้องเดินทางเข้าประเทศอินเดียเพื่อไปยังเมืองลาดักห์ให้เป็นหลักฐานที่ประจักษ์ต่อเวทีโลก แต่เมื่อลาดักห์กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวมีชื่อและมีความสำคัญก็ส่งผลกระทบต่อจีน เพราะนั่นแสดงว่าจีนต้องมีท่าทีที่ระมัดระวังในการดำเนินนโยบายต่อพื้นที่ชายแดนจีน-อินเดีย หากจีนมีท่าที่เป็นอันตรายและก้าวร้าว ก็จะทำให้ทั่วโลกประณามจีนในฐานะที่ไม่มีสิทธิบุกรุกอาณาเขตของประเทศอื่นและเป็นผู้ทำลายสันติภาพระหว่างประเทศ จีนเองจึงต้องมียุทธศาสตร์ใหม่ที่ผ่านการไตร่ตรองมาอย่างรอบคอบหากจะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับลาดักห์ การสร้างให้เกิดการท่องเที่ยวในลาดักห์ของอินเดียจึงไม่ใช่แนวทางการสร้างให้เกิดความร่วมมือตามแนวชายแดนเพื่อลดความขัดแย้งกับจีน แต่เป็นการแสวงหาอำนาจจากข้อได้เปรียบทางภูมิรัฐศาสตร์เพื่อตั้งตนเป็นปฏิปักษ์กับความขัดแย้ง ในดินแดนที่มีความมั่นคงจากการพัฒนาและความเจริญ เพื่อป้องกันไม่ให้จีนก้าวล่วงเข้ามารุกล้ำในพื้นที่ของอินเดียอีกต่อไป


นโยบายด้านกลาโหมของสหราชอาณาจักรภายใต้โกลบอลบริเทน กับการหันหาสู่ภูมิภาค อินโด-แปซิฟิก : กรณีศึกษากรอบความร่วมมือทางกลาโหมระหว่างสหราชอาณาจักร-ออสเตรเลีย, จิรัฏฐ์ เหราบัตย์ Jan 2021

นโยบายด้านกลาโหมของสหราชอาณาจักรภายใต้โกลบอลบริเทน กับการหันหาสู่ภูมิภาค อินโด-แปซิฟิก : กรณีศึกษากรอบความร่วมมือทางกลาโหมระหว่างสหราชอาณาจักร-ออสเตรเลีย, จิรัฏฐ์ เหราบัตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกรอบความร่วมมือ กลไก และผลประโยชน์ทางด้านกลาโหมที่ถูกสร้างร่วมกันระหว่าง สหราชอาณาจักรกับออสเตรเลีย ผ่านนโยบายโกลบอลบริเทนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก โดยอาศัยกรอบการวิเคราะห์จากทฤษฎี สัจนิยมเชิงโครงสร้าง เพื่อนำมาวิเคราะห์ผลประโยชน์และเป้าหมายสูงสุดของความร่วมมือทางกลาโหมระหว่าง 2 รัฐนี้ รวมถึงพฤติกรรมของสหราชอาณาจักรผ่านนโยบายฯในภูมิภาคแห่งนี้ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ที่กำลังเปลี่ยนแปลง และถูกท้าทายของจีน ซึ่งถือเป็นเป็นภัยคุกคามต่อผลประโยชน์และความมั่นคงของทั้ง 2 รัฐดังกล่าว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยอาศัยวิธีการวิจัยเอกสารเป็นหลัก โดยเน้นศึกษานโยบายและยุทธศาสตร์ทางด้านกลาโหมและความมั่นคงของสหราชอาณาจักร และตัวแสดงที่เกี่ยวข้องที่มีต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ผลการศึกษาพบว่าการสร้างประโยชน์ร่วมกันระหว่างสหราชอาณาจักรกับประเทศออสเตรเลียผ่านกรอบความร่วมมือทางด้านกลาโหมภายใต้นโยบายโกลบอลบริเทนนั้น ได้สร้างโอกาสในการเปิดกว้างของพื้นที่ปฏิบัติการในทุกมิติทางการรบ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการขยายอำนาจอิทธิพลของสหราชอาณาจักรเข้ามาในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ในเวลาเดียวกันประเทศออสเตรเลียที่ได้แสวงหาประโยชน์ในด้านต่างๆ จากภูมิภาคแห่งนี้ได้รับประโยชน์ทางด้านกลาโหมและความมั่นคงจากการเลือกดำเนินนโยบายที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในภูมิภาคและสภาพการเมืองโลก จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 รัฐนี้ล้วนได้ประโยชน์จากการร่วมมือกันทางด้านกลาโหมเพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติของตน ซึ่งในเวลาเดียวกันก็เป็นการสร้างแนวร่วมที่แข็งแกร่งในการทัดทานรัฐที่เป็นดั่งภัยคุกคามร่วมในมิติต่างๆ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ซึ่งถือได้ว่าเป็นกระบวนการหนึ่งของการถ่วงดุลอำนาจตามแนวคิดทฤษฎีสัจนิยมเชิงรับอย่างแท้จริง


การรัฐประหารในเมียนมา ปี พ.ศ.2564 กับการเพิ่มขึ้นของปัญหายาเสพติดในไทย, ชนะศึก โรจนพิทยากร Jan 2021

การรัฐประหารในเมียนมา ปี พ.ศ.2564 กับการเพิ่มขึ้นของปัญหายาเสพติดในไทย, ชนะศึก โรจนพิทยากร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์งานวิจัยสองข้อคือ หนึ่ง เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงระหว่าง การรัฐประหารในเมียนมาในปีพ.ศ. 2564 กับการเพิ่มขึ้นของยาเสพติดในไทย โดยพิจารณาจากเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในเมียนมา ความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยและรัฐบาลทหาร จนทำให้เกิดสงครามภายในประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดการผลิตยาเสพติดที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อไทย และอีกข้อหนึ่งคือ เพื่ออธิบายแนวทางการดำเนินการของไทยเพื่อแก้ปัญหายาเสพติดที่เพิ่มขึ้น สารนิพนธ์นี้มีกรอบแนวคิดการประกอบสร้างความมั่นคงของสำนักปารีสที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาปัจเจกที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความมั่นคง ให้ความสำคัญกับผู้ปฏิบัติในการรับมือกับปัญหาและความร่วมมือกันในลักษณะต่างๆ การเพิ่มขึ้นของปัญหายาเสพติดในไทย ส่วนหนึ่งเกิดจากความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ในเมียนมากับทหารเมียนมาซึ่งก่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ด้วยการที่กองทัพทหารเมียนมาต้องการให้ปกครองภายใต้รัฐบาลเดียว จึงต้องการให้ชนกลุ่มน้อยต่างๆ อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาล ทำให้กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยจัดตั้งกองกำลังต่างๆ เพื่อสกัดกั้นการใช้กำลังของกองทัพเมียนมา โดยแสวงประโยชน์จากช่วงการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 และความไม่มั่นคงทางการเมือง เพิ่มกำลังการผลิตยาเสพติดขึ้นเพื่อนำรายได้ไปซื้ออาวุธ รวมถึงใช้ยาเสพติดแลกกับอาวุธ เป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพของกองกำลัของตนเอง ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ยาเสพติดในภูมิภาคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบต่อสังคมไทย ซึ่งไทยเตรียมดำเนินมาตรการหลายประการเพื่อแก้ปัญหาและรับมือยาเสพติดที่เพิ่มขึ้น สำหรับ สารนิพนธ์นี้มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในไทยและหน่วยงานระหว่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา เพื่อสร้างความมั่นคงและความสงบสุขต่อไป


นโยบายการเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคตะวันออกกลางของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ธำรงศักดิ์ สุนทรภัค Jan 2021

นโยบายการเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคตะวันออกกลางของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ธำรงศักดิ์ สุนทรภัค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ตัดสินใจดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อยกระดับขีดความสามารถของตนในมิติต่าง ๆ ให้โดดเด่นในเวทีระหว่างประเทศมากขึ้น โดยใช้กรอบการวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับบุคคล ระดับรัฐ และระดับระหว่างประเทศ เป็นกรอบแนวคิดหลัก ผู้วิจัยพบว่าปัจจัยระดับบุคคลคือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มากที่สุด โดยเฉพาะ Mohammed bin Zayed al-Nahyan มกุฎราชกุมารแห่งรัฐอาบูดาบีที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการบริหารราชการแผ่นดินและมีอิทธิพลต่อกระบวนการกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มากขึ้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา ทำให้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศจากการวางตัวเป็นกลางและมุ่งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนานาประเทศเป็นนโยบายต่างประเทศที่พยายามมุ่งพัฒนาขีดความสามารถในมิติต่าง ๆ ได้แก่ การทูต เศรษฐกิจ เทคโนโลยี พลังงาน และการทหาร ให้โดดเด่นอย่างชัดเจน เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงให้กับประเทศในระยะยาวท่ามกลางสถานการณ์ระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น


การดำเนินนโยบายความมั่นคงของฟิลิปปินส์ต่อจีนในกรณีพิพาททะเลจีนใต้ ค.ศ.2010-2016, ณัฐเชษฐ์ เสงี่ยมพงษ์ Jan 2021

การดำเนินนโยบายความมั่นคงของฟิลิปปินส์ต่อจีนในกรณีพิพาททะเลจีนใต้ ค.ศ.2010-2016, ณัฐเชษฐ์ เสงี่ยมพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาการดำเนินนโยบายของประเทศจีนในการขยายอาณาเขตทางทะเลบริเวณทะเลจีนใต้ และศึกษาการดำเนินการของประเทศฟิลิปปินส์หลังจากการดำเนินการของจีนที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติทางทะเล เพื่อนำมาสู่งการวิเคราะห์การกระทำของฟิลิปปินส์หลังถูกกระทบด้านความมั่นคงจากการขยายอิทธิพลของจีนในพื้นที่พิพาททะเลจีนใต้ ผลวิจัยพบว่าจากการที่จีนยังคงยืนยันการอ้างสิทธิ์ในกรณีพิพาททะเลจีนใต้ เป็นความพยายามที่ต้องการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ทะเลจีนใต้ อีกทั้งต้องการขยายเศรษฐกิจประเทศของตนเพื่อตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ Chinese Dream ซึ่งมีความต้องการครอบครองเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ เพื่อเป็นประตูทางทะเลของประเทศออกสู่มหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ส่งผลกระทบด้านความมั่นคงต่อประเทศพิพาทอย่างประเทศฟิลิปปินส์ ทำให้การดำรงชีวิตของประชาชนฟิลิปปินส์มีความไม่ปลอดภัยจากการดำรงชีพตามวิถีเดิมของตน อีกทั้งประเด็นทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ทับซ้อน ฟิลิปปินส์จึงต้องมียุทธศาสตร์ขึ้นมาเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในการขยายอิทธิพลทางทะเลของประเทศจีน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันตน อีกทั้งได้พยายามสร้างพันธมิตรเพื่อสร้างความสมดุลขึ้นในระบบระหว่างประเทศ โดยได้ใช้ความสัมพันธ์ที่มีมายาวนานกับมหาอำนาจโลกอย่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น เข้ามามีบทบาทสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศ ซึ่งงานวิจัยนี้จะทำให้เห็นความพยายามของฟิลิปปินส์ที่ดำเนินนโยบายในการป้องกันประเทศในการถูกผลกระทบจากประเทศมหาอำนาจที่พยายามขยายอิทธิพล จนกระทบต่อความมั่นคงของประเทศตนเองแล้วกำหนดออกมาเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ ซึ่งนับได้ว่าเป็นตัวอย่างในการดำเนินการที่ดีในการป้องกันประเทศ


การดำเนินนโยบายมุ่งใต้ใหม่ของไต้หวันในฐานะเครื่องมือในการสร้างมิตรประเทศ, ณัชพล สังขะโห Jan 2021

การดำเนินนโยบายมุ่งใต้ใหม่ของไต้หวันในฐานะเครื่องมือในการสร้างมิตรประเทศ, ณัชพล สังขะโห

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบคำถามว่าไต้หวันพยายามถ่วงดุลอำนาจจีน โดยใช้นโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southbound Policy) เป็นเครื่องมืออย่างไร จากการศึกษาพบว่า นโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southbound Policy) เป็นเครื่องมือของไต้หวันในการถ่วงดุลอำนาจจีนแบบละมุนละม่อม (soft balancing) โดยผลักดันให้เกิดการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับ “มิตรประเทศ” เป้าหมายยุทธศาสตร์ของไต้หวัน 18 ประเทศ ซึ่งให้ความสำคัญกับบุคคลเป็นศูนย์กลาง (people-centered) และแลกเปลี่ยนความรู้และทรัพยากรระหว่างไต้หวันกับประเทศเป้าหมายยุทธศาสตร์ในด้านต่าง ๆ เช่น การค้า การศึกษา การเกษตร การท่องเที่ยว การแพทย์ สังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น เพื่อลดการพึ่งพาทางเศรษฐกิจจากจีนและเป็นการสร้าง “แนวร่วม” ที่มีผลประโยชน์และเป้าหมายร่วมกัน (like-minded nations) เนื่องจากมิตรประเทศต้องพึ่งพาเศรษฐกิจกับไต้หวัน จึงต้องรักษาผลประโยชน์ของตน อีกทั้งเป็นการรวมกลุ่มของมิตรประเทศค่านิยมทางการเมืองร่วมกันจากการเป็นรัฐประชาธิปไตย จึงเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความมั่นคงของไต้หวันในการยับยั้งจีนไม่ให้คุกคามไต้หวันจากหลักการจีนเดียวและเป็นการรักษาสถานะเดิมที่เป็นอยู่ของไต้หวัน


การเล่าเรื่องเพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับธุรกิจผ่านซีรีส์เรื่อง Start-Up, ไปรยา สุระชัย Jan 2021

การเล่าเรื่องเพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับธุรกิจผ่านซีรีส์เรื่อง Start-Up, ไปรยา สุระชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เกาหลีใต้มีความพยายามในการผลักดันระบบเศรษฐกิจใหม่ โดยให้ความสำคัญกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และธุรกิจสตาร์ทอัพ ซึ่งนอกจากจะสร้างนโยบายออกมาเพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจใหม่แล้ว ยังส่งเสริมและผลักดันผ่านสื่อบันเทิงในรูปแบบของซีรีส์อีกด้วย การวิจัยในครั้งจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาการเล่าเรื่องเพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจในซีรีส์เรื่อง Start-Up และเพื่อวิเคราะห์การตระหนักรู้ต่อการถ่ายทอดความรู้ที่เกิดขึ้นในซีรีย์ โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบทและการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ชมและผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการเล่าเรื่องเพื่อถ่ายทอดความรู้ของซีรีส์เรื่องนี้จะประกอบไปด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ โครงเรื่องที่แบ่งออกเป็น 2 เส้นเรื่อง คือ เส้นเรื่องหลักจะนำเสนอเกี่ยวกับการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ และเส้นเรื่องความสัมพันธ์ นำเสนอเรื่องราวความสัมพันธ์ในครอบครัวและความรักสามเศร้าของตัวละคร โดยมีปมความขัดแย้งเป็นพาหะในการขับเคลื่อนเรื่องราวเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับธุรกิจสตาร์ทอัพ และในส่วนของตัวละครหลักในเรื่องจะมีลักษณะแบบพลวัต มีพัฒนาการในการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างชัดเจน ซึ่งช่วยทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกเชื่อในเนื้อหาความรู้ที่ผู้สร้างสอดแทรกเอาไว้ในเนื้อเรื่อง ในส่วนของการตระหนักด้านการเล่าเรื่องเพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ พบว่าซีรีส์เรื่องนี้เปรียบเสมือนเป็นบันไดขั้นแรกที่ทำให้ผู้ชมได้เข้าใจระบบนิเวศน์และการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยกลุ่มผู้ชมทั่วไปจะมีความตระหนักและได้รับความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับธุรกิจมากกว่ากลุ่มผู้ชมที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกิจสตาร์ทอัพที่ปรากฎในซีรีส์เรื่องนี้เป็นข้อมูลระดับพื้นฐานของการทำธุรกิจที่ตัวผู้เชี่ยวชาญต่างทราบอยู่ก่อนแล้ว ในขณะเดียวกันแม้ว่าซีรีส์เรื่องนี้จะมีกลวิธีการเล่าเรื่องที่ใช้เส้นเรื่องความสัมพันธ์เข้ามาดึงดูดความสนใจของผู้ชม แต่กลุ่มผู้ชมกลับรู้สึกว่าเส้นเรื่องความสัมพันธ์กลับเป็นส่วนที่รู้สึกว่าถูกยัดเยียดเข้ามา จนความเข้มข้นของเนื้อหาการทำธุรกิจขาดหายไป และแม้ว่าซีรีส์เรื่องนี้จะมีการถ่ายทอดเนื้อหาเกี่ยวกับการทำธุรกิจที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงอยู่บ้าง เนื่องจากซีรีส์เป็นสื่อละครเพื่อความบันเทิง จึงไม่สามารถสอดแทรกความรู้ลงไปได้ทั้งหมด แต่ในภาพรวมซีรีส์เรื่องนี้ก็สามารถทำให้ผู้ชมเกิดตระหนักและมีความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ทางธุรกิจสตาร์ทอัพได้ดียิ่งขึ้น


การวิเคราะห์ความเป็นอื่นของตัวละครในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง Finding Nemo และ Finding Dory, ภาพเพรง เลี้ยงสุข Jan 2021

การวิเคราะห์ความเป็นอื่นของตัวละครในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง Finding Nemo และ Finding Dory, ภาพเพรง เลี้ยงสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ความเป็นอื่นของตัวละครในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง Finding Nemo และ Finding Dory มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อวิเคราะห์การออกแบบเนื้อหาของภาพยนตร์แอนิเมชัน เรื่อง Finding Nemo และ Finding Dory และ 2. เพื่อวิเคราะห์ความเป็นอื่นของตัวละครในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง Finding Nemo และ Finding Dory โดยใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ศึกษาแก่นความคิด โครงเรื่อง ฉาก และตัวละครของภาพยนตร์ทั้งสองเรื่อง ด้วยการวิเคราะห์ตัวบท แนวคิดเกี่ยวกับสัญวิทยา และการสร้างตัวละคร เพื่อใช้ข้อมูลมาประกอบการตีความร่วมกับแนวคิดเรื่อง ความเป็นอื่น (Otherness) เพื่อทำความเข้าใจในการนำเสนอตัวละครที่มีลักษณะเป็นอื่นในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวละครส่วนใหญ่ของภาพยนตร์ชุดนี้ ผลการวิจัยพบว่า ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนำเสนอแก่นความคิดเกี่ยวกับความซับซ้อนในความสัมพันธ์ของมนุษย์ ซึ่ง Finding Nemo มีแก่นความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์พ่อแม่-ลูก และ Finding Dory มีแก่นความคิดเกี่ยวกับการยอมรับตนเองและความสัมพันธ์ในครอบครัว แก่นความคิดของภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนำเสนอเนื้อหาสาระเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับคนรอบตัวที่สามารถเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นได้ ข้อค้นพบจากการศึกษาโครงเรื่อง พบว่า Finding Nemo และ Finding Dory มีจุดเริ่มและจุดสิ้นสุดของเรื่อง ณ ฉากเดียวกัน คือ ฉากแนวปะการังริมผาขาด ส่วนผลการวิเคราะห์ความเป็นอื่นของตัวละครในภาพยนตร์สองเรื่องนี้พบว่า มีแนวทางในการนำเสนอความเป็นอื่นผ่านการสร้างความหมาย 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 การใช้ภาษาที่มีลักษณะแบบขั้วตรงข้าม ในบทพูดและภาพ และรูปแบบที่ 2 การเหมารวมทางสังคมที่สร้างชุดความหมายให้พันธุ์ปลาเทียบเคียงได้กับชาติพันธุ์มนุษย์ มีการจัดกลุ่มแบ่งแยกกลุ่มคนในสังคม ซึ่งทำให้ตัวละครบางส่วนในเรื่องมีภาพแทนเชิงสังคมที่มีลักษณะเป็นอื่น


ประเภทและคุณลักษณะของเนื้อสารบนช่องทางยูทูบของนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ ในช่วงปี พ.ศ.2563-2565, นภสวรรณ สินธุรัตนพันธุ์ Jan 2021

ประเภทและคุณลักษณะของเนื้อสารบนช่องทางยูทูบของนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ ในช่วงปี พ.ศ.2563-2565, นภสวรรณ สินธุรัตนพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทและคุณลักษณะของเนื้อสารบนช่องทางยูทูบของ นักพูดสร้างแรงบันดาลใจ ในช่วงปี พ.ศ.2563-2565 โดยใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับเนื้อหาสารในการสร้างแรงบันดาลใจ หลักจูงใจของมอนโร องค์คณะแห่งความคิด และการเชื่อมโยงกับผู้รับสารของนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ ในการศึกษา คลิปวิดีโอบนช่องทางยูทูบ จำนวน 25 คลิป สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) ตามกรอบตารางบันทึกข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ประเภทของเนื้อสารคลิปวิดีโอที่นักพูดสร้างแรงบันดาลใจใช้ในการสื่อสารเพื่อสร้าง แรงบันดาลใจ จำแนกออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ 1) การสร้างแรงจูงใจภายใน พบการสร้างแรงจูงใจภายใน ด้านทัศนคติมากที่สุด 4 หมวดหมู่ โดย 3 อันดับแรกที่พบการใช้มากที่สุด ได้แก่ ทัศนคติต่อการจัดการความคิด/ การตัดสินใจ, ทัศนคติต่อความสำเร็จและความล้มเหลว และทัศนคติต่อความสัมพันธ์กับตนเอง 2) การสร้างแรงจูงใจภายนอก พบการสร้างแรงจูงใจภายนอก ด้านใฝ่สัมพันธ์และสังคม ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมบุคลิกภาพที่ดี ในด้านคุณลักษณะของเนื้อสารคลิปวิดีโอที่นักพูดสร้างแรงบันดาลใจใช้ในการสื่อสารเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ มีการใช้เทคนิคทางวัจนภาษาที่หลากหลายในแต่ละขั้นตอนตามกรอบโครงสร้างการพูดของมอนโร ประกอบด้วย 1) ขั้นตอนความสนใจ (Attention) พบการ “ตั้งคำถามชวนสงสัย” มากที่สุด 2) ขั้นตอนความต้องการ (Need) พบการ “ให้คำตอบคลายสงสัย” มากที่สุด 3) ขั้นตอนความพอใจ (Satisfaction) และ 4) ขั้นตอนทำให้เห็นภาพ (Visualization) ช่วงส่วนต้นของเนื้อความ พบการ “ยกตัวอย่างเปรียบเทียบ เปรียบเปรยเพื่อขยายความให้เข้าใจ” มากที่สุด และช่วงส่วนปลายของเนื้อความ พบการ "เน้นซ้ำย้ำความ” มากที่สุด 5) ขั้นตอนเรียกร้องให้ลงมือทำ (Call to Action) ในส่วนการเชื่อมโยง (Bridge) พบ “การบอกว่าจะทำตามข้อเสนอได้อย่างไร” มากที่สุด ตามด้วยการ “ชวนให้ลงมือทำ” ในส่วนการเรียกร้องให้ลงมือทำ นอกจากนี้ ยังพบว่า นักพูดสร้างแรงบันดาลใจบางท่านใช้ลีลา (Style) ที่สามารถสร้างสีสัน (Color) และความสนุกสนานแก่ผู้ฟังให้จดจำ ได้แก่ …


การศึกษาโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว : ศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินงานภายใต้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรัฐบาล พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา, กันตพงษ์ ธนยศธีรนันท์ Jan 2021

การศึกษาโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว : ศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินงานภายใต้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรัฐบาล พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา, กันตพงษ์ ธนยศธีรนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแทรกแซงตลาดของภาครัฐ มีทั้งวิธีการออกกฎหมายบังคับ การใช้มาตรการภาษี มาตรการทางการเงิน หรือมาตรการอื่น ๆ อันมีเป้าหมายเพื่อให้ระดับราคาสินค้ามีราคาที่สูงหรือต่ำกว่าราคาตลาด เป็นการช่วยเหลือผู้ผลิตหรือผู้บริโภคไม่ให้เสียผลประโยชน์มากจนเกินไป สำหรับการผลิตภาคการเกษตรของไทย มีการแทรกแซงตลาดจากรัฐบาลมาตั้งแต่สมัยอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน ด้วยเกษตรกรเป็นอาชีพของประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ของประเทศ อีกทั้งยังเป็นฐานคะแนนเสียงที่สำคัญในการเลือกตั้ง นโยบายที่เป็นการดูแลเกษตรกรจึงเป็นนโยบายในลำดับแรกที่ทุกพรรคการเมืองจะใช้ในการหาเสียง ประกอบกับ ผลผลิตข้าว ถือเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ทั้งการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออกข้าว ภายหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายสำคัญคือการเก็บ “พรีเมี่ยมข้าว” หรือภาษีส่งออก ก่อนพัฒนาเป็นการจำนำข้าวที่มีการดำเนินงานที่ต่างกันในแต่ละสมัย ผ่านโครงการรับจำนำข้าว โครงการประกันรายได้ ซึ่งโครงการประกันรายได้นี้เองก็ได้ถูกดำเนินการมา 2 สมัยแล้วคือในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งดำเนินการในช่วงปี 2552 – 2553 และในสมัยรัฐบาล พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน การศึกษาในครั้งนี้จึงมุ่งหวังเพื่อศึกษาเปรียบเทียบ โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการอื่น ๆ ที่ดำเนินการควบคู่ ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร และโครงการดังกล่าวสร้างภาระทางการคลังไว้อย่างไร จากผลการศึกษาทำให้ทราบว่า โครงการประกันรายได้ เป็นโครงการที่รัฐบาลรับภาระชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาประกันกับราคาตลาด แต่ในขณะเดียวกัน มาตรการอื่น ๆ ที่ดำเนินการควบคู่ กลับเป็นการดูดซับอุปทานข้าวออกจากตลาด โดยการส่งเสริมให้ชะลอการขายข้าว ไปขายนอกฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งจะเป็นส่วนที่พยุงราคาไม่ให้ราคาข้าวต่ำจนเกิดไป จนทำให้รัฐบาลต้องรับภาระในการจ่ายชดเชยมากเกินความจำเป็น โดยการดำเนินโครงการในสมัยรัฐบาล พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา ได้มีการปรับปรุงแก้ไขโครงการให้สะดวกขึ้นกว่าเดิม ซึ่งสำหรับภาระทางการคลังที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ เนื่องจากตั้งงบประมาณเพื่อชดเชยภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวมีข้อจำกัดจากหลาย ๆ ปัจจัย จึงทำให้การดำเนินโครงการในลักษณะนี้จะต้องใช้ระยะเวลานานในการชำระคืน ดังนั้น การดำเนินโครงการในลักษณะนี้ จึงเหมาะสมกับการดำเนินการในระยะสั้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งอาจปรับเปลี่ยนเป็นการให้ความช่วยเหลือในรูปแบบอื่น และควรพิจารณาดำเนินโครงการสร้างความยั่งยืนในการผลิต เช่น เกษตร Zoning เป็นต้น


ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโครงการชุมชนอุดมสุขของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร: ศึกษากรณีชุมชนบ้านดอนสีนนท์ จังหวัดฉะเชิงเทรา, กันตรัตน์ นามสมมุติ Jan 2021

ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโครงการชุมชนอุดมสุขของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร: ศึกษากรณีชุมชนบ้านดอนสีนนท์ จังหวัดฉะเชิงเทรา, กันตรัตน์ นามสมมุติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาบทบาทด้านการพัฒนาชุมชนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยใช้พื้นที่ชุมชนบ้านดอนสีนนท์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นกรณีศึกษา โดยมุ่งตอบคำถามที่ว่า โครงการชุมชนอุดมสุขของ ธ.ก.ส. ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของชุมชนบ้านดอนสีนนท์อย่างไร และทำให้เศรษฐกิจของชุมชนบ้านดอนสีนนท์เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หรือไม่ งานวิจัยใช้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติเป็นเกณฑ์ชี้วัดผลการพัฒนาจากโครงการชุมชนอุดมสุขของ ธ.ก.ส. และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ ของ ธ.ก.ส. กลุ่มผู้นำและคณะกรรมการชุมชน กลุ่มสมาชิกชุมชนทั้งที่เข้าร่วมและไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งหมด 12 คน รวมทั้งการสังเกตสภาพความเป็นอยู่ภายในชุมชน งานวิจัยพบว่า โครงการชุมชนอุดมสุขของ ธ.ก.ส. ส่งผลกระทบด้านการลดรายจ่ายและเพิ่มเงินออม โดยเฉพาะผลกระทบที่เป็นการต่อยอดการทำงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของชุมชน แต่ในด้านการเพิ่มรายได้และผลิตภาพการผลิตไม่สามารถเห็นผลได้ชัดเจนนัก ผลจากโครงการจึงเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านที่ 2 ในการเพิ่มการเข้าถึงความรู้และบริการทางการเงิน และเป้าหมายที่ 8 ในการเสริมความแข็งแกร่งและการเข้าถึงสถาบันการเงินและบริการทางการเงิน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากการวิจัยสะท้อนว่า ผลลัพธ์เชิงบวกที่เกิดขึ้นกับชุมชนบ้านดอนสีนนท์เกี่ยวข้องอย่างมากกับระดับการพัฒนาเดิมของชุมชนที่มีพื้นฐานค่อนข้างดีอยู่แล้ว และยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างบทบาทของ ธ.ก.ส. ในฐานะเจ้าหนี้กับบทบาทของ ธ.ก.ส. ในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย ซึ่ง ธ.ก.ส. ควรเข้าให้ถึงความต้องการที่แท้จริงของชุมชน โดยคำนึงถึงบริบทชุมชนและความเป็นไปได้จากการพัฒนา รวมทั้งควรศึกษา กำหนดหรือให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดเชิงคุณภาพที่สามารถนำมาใช้ประเมินผลโครงการพัฒนาชุมชนในครั้งต่อ ๆ ไป


ประสิทธิภาพของระบบบริการข้อมูลศาลยุติธรรม (Cios): กรณีศึกษาความคิดเห็นของทนายความในจังหวัดอ่างทอง, ธีระ แก้วรัตนศรีโพธิ์ Jan 2021

ประสิทธิภาพของระบบบริการข้อมูลศาลยุติธรรม (Cios): กรณีศึกษาความคิดเห็นของทนายความในจังหวัดอ่างทอง, ธีระ แก้วรัตนศรีโพธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพระบบบริการข้อมูลศาลยุติธรรม (CIOS) ผ่านความคิดเห็นของทนายความผู้ใช้ระบบบริการข้อมูลศาลยุติธรรมออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของทนายความที่มีต่อการปรับใช้งานระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรม ของสำนักงานศาลยุติธรรม อีกทั้งเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดเห็นการปรับใช้งานระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรมของสำนักงานศาลยุติธรรม และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุง ระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรม โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือทนายความที่มีสำนักงานตั้งอยู่ภายในพื้นที่จังหวัดอ่างทองจำนวน 20 คน ซึ่งในการเก็บข้อมูลนั้น แบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่การเก็บแบบสอบถามปลายปิดและทำการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยนำผลการเก็บแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน(one way anova) หรือ F-test และในส่วนของการสัมภาษณ์นั้นจะใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) โดยผลสรุปจากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งสองแบบนั้นแสดงได้ว่าทนายความส่วนใหญ่มีความคิดว่าระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรมนั้นสามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ในระดับดี แต่ทั้งนี้ยังคงมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในเรื่องความปลอดภัยในการใช้งานระบบและการให้ข้อมูลการใช้งานของเจ้าหน้าที่ และมีความคิดเห็นบ้างส่วนแสดงให้เห็นว่าระบบนี้นั้นเหมาะกับงานคดีบ้างประเภทเท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมในการให้บริการในทุกรูปแบบคดี


การศึกษาประสิทธิผลของนโยบายการคุ้มครองคนไร้บ้าน ในการสนับสนุนให้คนไร้บ้านมีงานทำ, นภัสสร วัฒนศิริ Jan 2021

การศึกษาประสิทธิผลของนโยบายการคุ้มครองคนไร้บ้าน ในการสนับสนุนให้คนไร้บ้านมีงานทำ, นภัสสร วัฒนศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาประสิทธิผลของนโยบายคุ้มครองคนไร้บ้าน ในการสนับสนุนให้คนไร้บ้านมีงานทำ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสม และประสิทธิผลของการนำนโยบายสนับสนุนการมีงานทำให้แก่คนไร้บ้านไปปฏิบัติและเสนอแนวทางในการปรับปรุงนโยบายในการสนับสนุนคนไร้บ้านให้มีงานทำ โดยใช้วิธีการศึกษาผ่านเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งผู้ให้สัมภาษณ์ออกเป็น 6 กลุ่มได้แก่ กลุ่มคนไร้บ้าน กลุ่มที่เป็นผู้มีบทบาทในการกำหนดนโยบาย กลุ่มที่เป็นผู้สนับสนุนและประสานงานนโยบาย กลุ่มที่เป็นผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ กลุ่มหน่วยงานภายนอกที่มีบทบาทในการช่วยเหลือคนไร้บ้าน และหน่วยงานผู้ทำหน้าที่ในการจัดหางานให้แก่คนไร้บ้าน ผลการศึกษาพบว่า การสนับสนุนให้คนไร้บ้านมีงานทำเช่น การรับคนไร้บ้านเข้ารับการคุ้มครองในศูนย์พักพิงคนไร้ที่พึ่งและส่งไปยังสถานประกอบการ และจุดประสานงานที่เปิดโอกาสให้คนไร้บ้านสามารถเข้ามาสมัครงานได้ ไม่มีประสิทธิผลและไม่เหมาะสม เนื่องจาก คนไร้บ้านสนใจเข้ารับการคุ้มครองและใช้บริการในจุดประสานในสัดส่วนที่น้อยมาก รวมทั้งจำนวนของผู้ที่ได้เข้ารับการทำงานในสถานประกอบการก็มีสัดส่วนที่น้อยมาก อีกทั้งงานที่ภาครัฐหามาให้นั้น ไม่ตรงกับความต้องการของคนไร้บ้าน แต่บางนโยบาย เช่น การทำ สัญญาข้อตกลงร่วมกับบริษัทเอกชน รวมทั้งโมเดลนโยบายต้นแบบอย่างที่อยู่อาศัยคนละครึ่ง ที่รัฐหันมาทำหน้าที่ในฐานะผู้สนับสนุนที่อยู่อาศัยและกระตุ้นให้คนไร้บ้านทำงาน กลับประสบความสำเร็จและมีประสิทธิผลเป็นอย่างมาก เนื่องจากคนไร้บ้านให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังได้รับการจ้างงาน มีรายได้ และมีความมั่นคงในชีวิตเพิ่มขึ้น


การวัดระดับสมรรถนะที่พึงประสงค์ของเจ้าหน้าที่ให้บริการข้อมูลทางโทรศัพท์ (Call Center) กรณีศึกษา ศูนย์บริการข้อมูลทางโทรศัพท์สายด่วน 1694 (1506 กด 2) กรมการจัดหางาน, ปัญญดา ปัญญาคำเลิศ Jan 2021

การวัดระดับสมรรถนะที่พึงประสงค์ของเจ้าหน้าที่ให้บริการข้อมูลทางโทรศัพท์ (Call Center) กรณีศึกษา ศูนย์บริการข้อมูลทางโทรศัพท์สายด่วน 1694 (1506 กด 2) กรมการจัดหางาน, ปัญญดา ปัญญาคำเลิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาเพื่อวัดระดับสมรรถนะที่พึงประสงค์ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้บริการข้อมูลทางโทรศัพท์ (Call Center) ในศูนย์บริการข้อมูลทางโทรศัพท์สายด่วน 1694 (1506 กด 2) กรมการจัดหางาน และเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำและพัฒนาสมรรถนะหลัก (Core Competency) ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการที่ดียิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้วิจัยได้ทำการกำหนดสมรรถนะที่พึงประสงค์ (Competency Model) ของเจ้าหน้าที่คอลเซ็นเตอร์กรมการจัดหางาน ซึ่งประกอบด้วยสมรรถนะ 5 ด้าน ได้แก่ สมรรถนะด้านที่ 1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ คือความรู้ในข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและการให้บริการ ด้านที่ 2 การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ คือทักษะการสื่อสาร การพูด การฟังเพื่อจับประเด็นและทักษะการใช้เทคโนโลยี ด้านที่ 3 การบริการที่ดี คือความตั้งใจและความพยายามในการให้บริการ ด้านที่ 4 การทำงานเป็นทีม คือการทำงานร่วมกันในทีม และด้านที่ 5 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือทัศนคติ บุคลิก อุปนิสัย และแรงจูงใจในการทำงาน เป็นต้น โดยจากผลการวิจัยพบว่าสมรรถนะด้านที่ 1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ เป็นด้านที่ควรนำไปพิจารณาปรับปรุงในด้านการให้บริการข้อมูล เรื่องการดำเนินการขออนุญาตทำงานของแรงงานต่างชาติระดับฝีมือผู้ชำนาญการ ซึ่งเจ้าหน้าที่คอลเซ็นเตอร์ส่วนใหญ่มีผลคะแนนเฉลี่ยรายด้านต่ำกว่าเกณฑ์สมรรถนะในระดับที่คาดหวังอยู่ 1 ระดับ โดยผลคะแนนเฉลี่ยที่ต่ำที่สุดอยู่ที่ 3.17 สมรรถนะอยู่ในช่วง “ผู้ปฏิบัติ” จากระดับที่คาดหวังคือระดับ 4 สมรรถนะอยู่ในช่วง “ผู้ชำนาญ” และสมรรถนะด้านที่ 5 คุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นด้านที่ควรนำไปพิจารณาปรับปรุง ซึ่งพบว่าเป็นประเด็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นและส่งผลต่อระดับสมรรถนะในปัจจุบันของเจ้าหน้าที่คอลเซ็นเตอร์คือการขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยรู้สึกถึงความไม่มั่นคงในงาน ไม่ก้าวหน้า อันเนื่องมาจากระบบการจ้างที่เรียกว่าระบบ “จ้างเหมาบริการ”


ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในองค์การ กรณีศึกษา บริษัท รักษาความปลอดภัย ไทยซีคอม จำกัด, บัณฑิต ฉายาขจรพันธ์ Jan 2021

ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในองค์การ กรณีศึกษา บริษัท รักษาความปลอดภัย ไทยซีคอม จำกัด, บัณฑิต ฉายาขจรพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในภายในองค์การ กรณีศึกษา บริษัท รักษาความปลอดภัย ไทยซีคอม จำกัด โดยเพื่อนำผลที่ได้จากการวิจัยไปเพื่อใช้ในการสร้างแรงจูงใจ ปรับปรุงโครงสร้างสวัสดิการ ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือพนักงานที่ปฏิบัติงานในสำนักงานใหญ่ บริษัท รักษาความปลอดภัย ไทยซีคอม จำกัด จำนวน 192 คน การวิจัยครั้งนี้ได้ใช้วิธีการระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม คือการวิจับแบบเชิงปริมาณและการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล การวิจัยแบบเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม ส่วนการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Sample t-test, One-Way ANOVA ,Chi-Square และการวิเคราะห์การถดถอยของตัวแปรแบบพหุคูณ (Multiple Regression) จากการวิจัยพบว่า 1) พนักงานบริษัท รักษาความปลอดภัย ไทยซีคอม จำกัด มีความคิดเห็นด้วยมากด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 2) ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ด้านระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในระดับต่ำมาก 3) ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยปัจจัยด้านความสำเร็จของงานส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมากที่สุด 4) ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยแผนกลยุทธ์ขององค์กร ตรงตามวิสัยทัศน์ เป้าหมายวัตถุประสงค์และบริษัทฯ มีความเป็นมืออาชีพในธุรกิจ พนักงานมีทักษะ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลกระทบจากการขาดแคลนบุคลากรมากประสบการณ์จากการเกษียณอายุราชการ ต่อผลการปฏิบัติงานภายในกองตรวจสอบอากร, กฤติน ทองมาก Jan 2021

ผลกระทบจากการขาดแคลนบุคลากรมากประสบการณ์จากการเกษียณอายุราชการ ต่อผลการปฏิบัติงานภายในกองตรวจสอบอากร, กฤติน ทองมาก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รายงานวิจัย “ผลกระทบจากการขาดแคลนบุคลากรมากประสบการณ์จากการเกษียณอายุราชการ ต่อผลการปฏิบัติงานภายในกองตรวจสอบอากร” จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากการขาดแคลนบุคลากรมากประสบการณ์จากการเกษียณอายุราชการ ต่อผลการปฏิบัติงานภายในกองตรวจสอบอากร สังกัดกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ข้าราชการเพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทุกๆปี และเสนอแนะแนวทางในการวางแผนการจัดการทรัพยากรบุคคลแก่กองตรวจสอบอากร สำหรับการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และกระบวนการทำงานของข้าราชการ ทั้งนี้ในช่วงการดำเนินงานได้มีการประสานความร่วมมือและรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านทรัพยากรบุคคลภายในหน่วยงาน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ มีการสัมภาษณ์ของผู้ให้สัมภาษณ์เพื่อได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึก อีกทั้งการเก็บข้อมูลงานวิจัยเชิงปริมาณจากแบบสอบถามจากบุคลากรภายในหน่วยงาน และได้มีการศึกษาทบทวนวรรณกรรมงานวิจัย และข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อได้มาซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพที่สุด โดยการปฏิบัติงานภายในกองตรวจสอบอากรมีองค์ประกอบที่หลากหลาย ซึ่งต้องการทักษะเฉพาะด้านในแต่ละองค์ประกอบ อาทิ การจัดเก็บอากร การตรวจสอบเอกสาร การตรวจสอบพิกัดศุลกากร การตรวจสอบบัญชีเอกสาร การวิเคราะห์ความเสี่ยง และการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น จากการทำการวิจัยได้ผลลัพธ์การวิจัยว่า การเกษียณอายุราชการส่งผลกระทบต่อผลการปฏิบัติงานภายในกองตรวจสอบอากรในหลากหลายด้าน อาทิ การจัดเก็บและตรวจสอบเอกสารหลังผ่านพิธีการศุลกากร การตรวจสอบพิกัดอัตราศุลกากร และการขอรับสิทธิประโยชน์ทางอากรให้ครบถ้วน การกำหนดแนวทางหรือมาตรการด้านการตรวจสอบการจัดเก็บอากรและสิทธิประโยชน์ทางอากร กระบวนการและมาตรการในการจัดเก็บภาษีอากร เป็นต้น ซึ่งผลกระทบจะแตกต่างกันออกไปตามตำแหน่งของบุคลากรที่ได้เกษียณอายุราชการไป โดยตำแหน่งที่เมื่อเกษียณอายุราชการแล้วส่งผลกระทบต่อผลการปฏิบัติงานภายในกองตรวจสอบอากรมากที่สุดคือ ตำแหน่งนักวิชาการศุลกากรชำนาญการ ที่สะสมองค์ความรู้ไว้มาก และมีอัตราการเกษียณอายุที่สูงที่สุดภายในหน่วยงาน เพื่อลดผลกระทบจากการเกษียณอายุดังกล่าว กองตรวจสอบอากรควรมีการวางแผนการสอนงานผ่านระบบการโค้ช (Coaching) และระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) พิจารณาการสรรหาบุคลากรที่มีชุดประสบการณ์ใกล้เคียงกันจากหน่วยงานอื่นภายในกรมศุลกากรมาทดแทน รวมไปถึงในระยะยาว ควรมีการปรับปรุงนโยบายวางแผนทรัพยากรบุคคล และการปรับตัวชี้วัดให้มีความเชื่อมโยงกันภายในกลุ่มด้วย


การนำนโยบายชุมชนท่องเที่ยว Otop นวัตวิถี ไปปฏิบัติ กรณีศึกษาตำบลคลองพระอุดม อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี, คมสัน ดาวทอง Jan 2021

การนำนโยบายชุมชนท่องเที่ยว Otop นวัตวิถี ไปปฏิบัติ กรณีศึกษาตำบลคลองพระอุดม อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี, คมสัน ดาวทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลการนำนโยบายชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีไปปฏิบัติ รวมทั้ง ปัญหา อุปสรรค จากการดำเนินโครงการ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง และวิธีการสุ่มตัวอย่าง จากผู้ให้ข้อมูลในพื้นที่ จำนวน 3 กลุ่ม 26 ราย ทำการตรวจสอบด้วยวิธีการสามเส้า (Triangulation) จากการศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พบว่าผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พบว่าผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ไม่ว่าจะเป็นด้านรายได้ ที่เกิดขึ้นภายในชุมชน ด้านจำนวนนักท่องเที่ยวภายในชุมชน ด้านการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการพัฒนา พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้น มากขึ้นกว่าตอนที่ยังไม่ได้ดำเนินโครงการ อีกทั้งด้านผลกระทบทางสังคม และสิ่งแวดล้อมนั้น พบว่าในด้านผลกระทบต่อวิถีชีวิตคนในชุมชนนั้น ไม่มีปัญหาใดๆ แต่ด้านผลกระทบ ทางสิ่งแวดล้อมนั้นพอมีอยู่บ้าง แต่สามารถควบคุมและแก้ไขได้ ไม่ก่อผลกระทบที่รุนแรงกับชุมชน ในการดำเนินงานของโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เช่น สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันยังไม่ดี ทำให้ประชาชนลดการใช้จ่าย มีการใช้จ่ายอย่างประหยัดทำให้การกระจายรายได้สู่ชุมชนยังไม่เต็มที่เท่าที่จะควร ปัญหาการขาดการให้ความช่วยเหลือจากผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัญหาความร่วมมือของคนภายในชุมชน และปัญหาการขาดการประชาสัมพันธ์หมู่บ้านท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักอย่างทั่วถึงในวงกว้าง และข้อเสนอแนะจากการดำเนินงานของโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ได้แก่ ทางราชการควรมีงบประมาณในการต่อยอดการดำเนินโครงการฯ เพิ่มเติม เพื่อการปรับปรุงโครงสร้างร้านค้า ตลาดชุมชนให้มีความมั่นคงแข็งแรง การประชาสัมพันธ์หมู่บ้านให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น การสนับสนุนให้หน่วยงานราชการต่างๆ ไปศึกษาดูงานชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี การส่งเสริมความร่วมมือทั้งหน่วยงานราชการท้องถิ่น ท้องที่ และชาวบ้านในพื้นที่ให้ร่วมมือกันทำงานด้วยกันทุกฝ่าย


ภารกิจและการบริหารมูลนิธิเพื่อการพัฒนาสังคมและประชาธิปไตยแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี : กรณีศึกษา มูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์, อรพรรณ สุวรรณวัฒนกุล Jan 2021

ภารกิจและการบริหารมูลนิธิเพื่อการพัฒนาสังคมและประชาธิปไตยแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี : กรณีศึกษา มูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์, อรพรรณ สุวรรณวัฒนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ชิ้นนี้มุ่งตอบคำถามที่ว่า ภารกิจของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาสังคมและประชาธิปไตยแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นอย่างไร และมีอิทธิพลต่อกระบวนการในการบริหารองค์การอย่างไร โดยมีมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ เป็นกรณีศึกษา รวมทั้งตอบคำถามว่า กระบวนการในการบริหารของมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ ประกอบด้วยขั้นตอนใดบ้าง โดยศึกษาเจาะลงไปที่มูลนิธิฯ ในประเทศไทย ซึ่งผู้วิจัยได้ทบทวนแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับองค์การพัฒนาเอกชน และกระบวนการในการบริหารองค์การ ตลอดจนองค์ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องของประเทศเยอรมนี ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ คือ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารรายงานการดำเนินงานประจำปีของมูลนิธิฯ บทความประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรม รายละเอียดโครงการความร่วมมือ รายงานสรุปการดำเนินโครงการ รวมทั้งการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานในมูลนิธิฯ จากการศึกษา ได้ข้อค้นพบว่า ภารกิจของมูลนิธิฯ เกี่ยวโยงกับภูมิหลังที่มาที่ไปตามประวัติศาสตร์ของประเทศเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ส่งผลให้วิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์การมุ่งส่งเสริมการพัฒนาสังคมในมิติต่าง ๆ และเสริมสร้างความมั่นคงของประชาธิปไตย ผ่านการให้การสนับสนุนองค์การในความร่วมมือทั่วโลก วิสัยทัศน์และพันธกิจนั้นเชื่อมโยงไปยังวัตถุประสงค์และประเด็นการดำเนินงานของมูลนิธิฯ รวมทั้งการวางกรอบนโยบายการทำงานที่เป็นขั้นตอน และการวางองค์ประกอบการทำงานภายในมูลนิธิฯ เพื่อการปฏิบัติงานที่คล่องตัว ในส่วนของกระบวนการในการบริหารงานมูลนิธิฯ ที่ปฏิบัติงานในประเทศไทยนั้น มีการประเมินสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อนำเอาผลมาพิจารณาวางแผนยุทธศาสตร์การทำงาน ซึ่งมีทั้งระยะยาว 3 ปี ระยะกลาง 1 ปี และระยะสั้นภายในระยะเวลา 1 ปี องค์ประกอบองค์การมีตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานในสายงานหลักและสายงานสนับสนุนที่มีหน้าที่รับผิดชอบของตนชัดเจน มีลำดับขั้นบังคับบัญชาน้อยมากและไม่ซับซ้อน การควบคุมผลการดำเนินงานเน้นการควบคุมให้มีการติดตามและประเมินผลโครงการที่ชัดเจน การรายงานการใช้จ่ายงบประมาณที่รวดเร็วโปร่งใส ท้ายสุด ในการวัดประสิทธิผลองค์การ มูลนิธิฯ วัดโดยยึดที่ความสามารถในการบรรลุเป้าหมาย และวัดที่ความพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของมูลนิธิฯ