Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1261 - 1290 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านแรงงานฝีมือทักษะสูง ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, นรเศรษฐ์ คำบำรุง Jan 2021

แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านแรงงานฝีมือทักษะสูง ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, นรเศรษฐ์ คำบำรุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านแรงงานทักษะฝีมือสูง ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความท้าทายด้านการพัฒนาแรงงานทักษะฝีมือสูงในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2) เพื่อหาแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาแรงงานทักษะฝีมือสูงให้มีความรวดเร็วและได้จำนวนเพียงพอต่อความต้องการ การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านแรงงานฝีมือทักษะสูงโดยตรง จำนวนทั้งสิ้น 17 คน แบ่งเป็น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจ้าง/ใช้แรงงานฝีมือทักษะสูง (4 คน) กลุ่มผู้พัฒนาแรงงานฝีมือทักษะสูง (7 คน) กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพที่ได้รับการพัฒนาทักษะฝีมือ (6 คน) ผลการศึกษาพบว่า 1) เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ต้องการแรงงานฝีมือทักษะสูงด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน การออกแบบสร้างสรรค์และปรับปรุงกระบวนการทำงาน และทักษะเกี่ยวกับระบบอัตโนมัติสมัยใหม่ ซึ่งแรงงานในส่วนนี้ยังไม่ได้รับตอบสนองด้านการพัฒนาทักษะฝีมือได้อย่างรวดเร็วทันท่วงทีตามความต้องการของเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 2) การพัฒนาแรงงานฝีมือทักษะสูงยังคงมีความท้าทายในหลายด้าน ซึ่งส่งผลต่อจำนวน คุณภาพ และความรวดเร็วในการพัฒนาที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการแข่งขันขององค์กร โดยมีอุปสรรคจากการจัดสรรงบประมาณและการสนับสนุนที่ไม่ทั่วถึง ทำให้ระยะเวลาและจำนวนแรงงานที่ได้รับการพัฒนาทักษะขั้นสูงไม่ตรงตามจำนวนความต้องการของเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก


การศึกษาทัศนคติของบุคลากรและปัจจัยองค์กรเพื่อพัฒนาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา ผู้บริหารระดับต้นของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), กฤตยา อินทรวิเชียร Jan 2021

การศึกษาทัศนคติของบุคลากรและปัจจัยองค์กรเพื่อพัฒนาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา ผู้บริหารระดับต้นของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), กฤตยา อินทรวิเชียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภายใต้สถานการณ์ Digital Disruption การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้มีส่วนทำให้องค์กรอยู่รอดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นตัวอย่างรัฐวิสาหกิจไทยที่ต้องปรับตัว โดยทัศนคติของผู้บริหารระดับต้นถือมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ตามหลักวินัย 5 ประการของPeter Senge ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ พบว่าผู้บริหารระดับต้นของ รฟม. มีทัศนคติต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในระดับที่สูงมาก ปัจจัยองค์กร ได้แก่ ผู้นำองค์กร วัฒนธรรมองค์กร การจัดการความรู้ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่ามีความสัมพันธ์ต่อระดับทัศนคติของผู้บริหารระดับต้นของ รฟม. ต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผลการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง ได้สะท้อนว่าผู้นำมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ จากการวิเคราะห์ TOWS Matrix ได้พบกลยุทธ์แนวทางการพัฒนา รฟม. ไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ 8 ข้อ ได้แก่ (1) ส่งเสริมทักษะทางด้านเทคโนโลยีแก่บุคลากร (2) ส่งเสริมการถ่ายทอดและถ่ายโอนงานด้านวิศวกรรมระบบรางจากภาคเอกชน (3) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรองรับความเสี่ยงในการทำงาน (4) ผู้บริหารองค์กรต้องสื่อสารและสร้างความเข้าใจทิศทางการพัฒนาขององค์กร (5) ส่งเสริมการทำงานเชิงบูรณาการ (6) พัฒนาระบบการจัดการความรู้ขององค์กร (7) การทำงานเป็น Agile Organization และ (8) จัดตั้ง Intelligent Unit ด้านพัฒนาธุรกิจและด้านวิศวกรรมระบบราง


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) ของบุคลากรในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) กรณีศึกษา : กรมศุลกากร, จารุณี อามานนท์ Jan 2021

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) ของบุคลากรในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) กรณีศึกษา : กรมศุลกากร, จารุณี อามานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) ของข้าราชการในช่วงวิกฤติการเกิดโรคระบาดของบุคลากรกรมศุลกากร ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ประกอบด้วยการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครืองมือ คือ แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างบุคลากรกรมศุลกากร สำนักงานใหญ่ จำนวน 266 คน โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของบุคลากรกรมศุลกากร ในช่วงวิกฤติการเกิดโรคระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2. เพื่อศึกษาแนวทางในการปรับปรุงให้การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของบุคลากรกรมศุลกากรให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรกรมศุลกากรสายงานสนับสนุน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ภาพรวมปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง เปรียบเทียบก่อนและระหว่างปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของบุคลากรกรมศุลกากรมากที่สุดคือ ด้านเทคโนโลยี เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home; WFH) มากกว่าด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุน และมากกว่าด้านการติดต่อสื่อสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การทดสอบสมมติฐาน พบว่าปัจจัยด้านเทคโนโลยี ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุน และปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสาร ไม่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home; WFH) ของบุคลากรกรมศุลกากร ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปฏิเสธสมมติฐานที่ 1 และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) ของบุคลากรกรมศุลกากรในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ก่อน WFH และระหว่าง WFH มีความแตกต่างกัน ยอมรับสมมติฐานที่ 2 แนวทางการปรับปรุง พบว่า ควรปรับเปลี่ยนหน่วยงานให้มีฐานข้อมูลที่เป็นดิจิตอล กำหนดเป้าหมายของงานที่ชัดเจน มีตารางงาน ลดขั้นตอนการทำงานลงโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุนบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งให้มีประสิทธิภาพโดยจัดหาอุปกรณ์อุปกรณ์เทคโนโลยีสำหรับบุคลากรให้เพียงพอ


มุมมองและประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้งานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ภายในสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, ศรัณย์พงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ Jan 2021

มุมมองและประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้งานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ภายในสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, ศรัณย์พงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) มุมมองและความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีระบบบริหารการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในองค์กรระบบราชการ, 2) ประสบการณ์ว่าด้วยปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในองค์กรระบบราชการ, 3) กระบวนการปรับตัวในการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในองค์กรระบบราชการ โดยกำหนดให้เป็นการวิจัยเอกสารและการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานสารบรรณในองค์กรระบบราชการ ซึ่งในที่นี้ก็คือสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์ที่สำคัญของงานวิจัยนี้มีจำนวน 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ภายในสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบันมีรูปแบบการดำเนินงานที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ทำให้การปฏิบัติงานมีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ทั้งในแง่การ รับ – ส่ง เอกสาร และการจัดเก็บ/บันทึกเอกสาร ตลอดจนการสืบค้น/ตรวจสอบเอกสารย้อนหลัง ประการที่ 2 ปัญหาที่พบจากการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานบางส่วนยังติดกรอบรูปแบบการปฏิบัติงานของงานสารบรรณในรูปแบบเก่า, การขาดความเสถียรของระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์, การขาดทักษะ/ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์, การขาดกฎหมาย/ระเบียบที่เกี่ยวข้อง/ส่งเสริมให้เกิดการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบ ประการสุดท้าย การปรับตัวที่เกี่ยวกับงานสารบรรณที่เกิดขึ้นภายในสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน กล่าวคือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 มีส่วนทำให้ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานต่างพยายามขวนขวายที่จะปรับตัวเพื่อให้การดำเนินงานสารบรรณยังเป็นไปได้ตามปกติ แต่กระนั้นก็ยังพบว่าสมาชิกในองค์กรบางรายไม่ได้มีความสุขที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองแต่อย่างใด ดังนั้นพวกเขาจึงเลือกที่จะปรับตัวไปในทางที่ตัวเองต้องการมากกว่าความต้องการหรือการเปลี่ยนแปลงขององค์กร


ความตระหนักรู้ด้านการข่าวของข้าราชการกรมศุลกากรที่ปฏิบัติหน้าที่สืบสวนและปราบปราม, อัษฎา หิรัญบูรณะ Jan 2021

ความตระหนักรู้ด้านการข่าวของข้าราชการกรมศุลกากรที่ปฏิบัติหน้าที่สืบสวนและปราบปราม, อัษฎา หิรัญบูรณะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กรมศุลกากรได้มีการนำระบบการข่าวกรองมาใช้ประกอบกับหลักการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 แต่จวบจนปัจจุบัน (พ.ศ. 2565) ยังไม่เคยมีการศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการใช้งานระบบการข่าวกรองในมุมของบุคลากรเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสืบสวนและปราบปราม งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อทราบถึงระดับความตระหนักรู้ด้านการข่าวของข้าราชการผู้ปฏิบัติงานด้านสืบสวนและปราบปรามของกรมศุลกากร 2. เพื่อทราบถึงความแตกต่างด้านความตระหนักรู้ด้านการข่าวของข้าราชการผู้ปฏิบัติงานด้านสืบสวนและปราบปรามของกรมศุลกากร เมื่อแบ่งกลุ่มจำแนกตามระดับตำแหน่ง ช่วงอายุ ช่วงอายุราชการ ช่วงประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการสืบสวนและปราบปราม จำนวนครั้งที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการข่าว และสังกัดปฏิบัติงาน 3. สามารถกำหนดแนวทางการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ด้านการข่าวของเจ้าหน้าที่ภายในกรมศุลกากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยรูปแบบผสมศึกษาประชากรเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสืบสวนและปราบปรามของกรมศุลกากร ผ่านการแจกแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างจำนวน 81 รายเพื่อศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 6 รายเพื่อศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสืบสวนและปราบปรามของกรมศุลกากรมีระดับความรู้ความเข้าใจโครงสร้างองค์การเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 55.4 มีระดับสมรรถนะด้านการข่าวเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 58.8 และมีแนวโน้มทัศนคติด้านการข่าวในเชิงบวก โดยจำนวนครั้งที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการข่าวมีผลต่อมีแนวโน้มทัศนคติด้านการข่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยมี 3 ประการ ได้แก่ 1. หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการข่าวควรมีสถานะโครงสร้างที่ชัดเจนเพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติหน้าที่ ซี่งจะส่งผลให้การสนับสนุนด้านการข่าวแก่หน่วยงานด้านสืบสวนและปราบปรามเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 2. การจัดทำระบบเทคโนโลยีฐานข้อมูลใหม่เป็นสิ่งที่น่าริเริ่มศึกษา เนื่องจากระบบเทคโนโลยีฐานข้อมูลของกรมศุลกากรในปัจจุบันมีการบูรณาการเชื่อมโยงระหว่างฐานข้อมูลน้อยและไม่เอื้อต่อการใช้งาน (user - unfriendly) จนเป็นภาระต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสืบสวนและปราบปราม 3. การจัดฝึกอบรมด้านการข่าวและการสืบสวนและปราบปรามในระดับต่าง ๆ ทั้งระดับพื้นฐานและระดับสูงขึ้นไปจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะที่เหมาะสมให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสืบสวนและปราบปรามที่มีระดับประสบการณ์แตกต่างกันได้


การพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลสู่องค์การคล่องตัว: กรณีศึกษา โปรแกรมโต้ตอบอัตโนมัติการบริหารทรัพยากรบุคคล (Hr Chatbot) กองบริหารทรัพยากรบุคคล กรมศุลกากร, จักรกฤษณ์ ทิพย์ปัญญา Jan 2021

การพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลสู่องค์การคล่องตัว: กรณีศึกษา โปรแกรมโต้ตอบอัตโนมัติการบริหารทรัพยากรบุคคล (Hr Chatbot) กองบริหารทรัพยากรบุคคล กรมศุลกากร, จักรกฤษณ์ ทิพย์ปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์และแนวทางในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมศุลกากรเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การที่มีความคล่องตัว (Agile Organization) 2) วิเคราะห์รูปแบบของการให้บริการข้อมูลด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลแก่ผู้รับบริการของกรมศุลกากร และ 3) นำผลการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้เหมาะสมกับบริบทในภาครัฐ ผลการศึกษา พบว่า 1) กองบริหารทรัพยากรบุคคล มีการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้องค์การเกิดความคล่องตัวและรวดเร็ว รวมถึงพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ และความสามารถ พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เป็นไปตามแนวทางของแผนระดับประเทศ 2) การพัฒนาโปรแกรมโต้ตอบอัตโนมัติ Dada HR Chatbot สร้างความสะดวกและรวดเร็วในการให้บริการข้อมูลด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์แก่บุคลากร ทำให้องค์การมีความคล่องตัวมากขึ้น ในด้านการใช้งาน บุคลากรสามารถสอบถามข้อมูลได้ทั้งการพิมพ์ถามตอบ หรือกดปุ่มในประเด็นที่ต้องการ และ 3) แนวทางการพัฒนาและปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้เหมาะสมกับบริบทในภาครัฐไทย มีความคาดหวังว่า องค์การจะสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในการให้บริการมากที่สุด เช่น การเพิ่มช่องทางในการให้บริการข้อมูลพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยี รวมถึงสร้างสรรค์นวัตกรรรมการทำงานให้กับบุคลากรภายในมากขึ้น


การรับรู้ของผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยผู้สูงอายุเกี่ยวกับการคำนวณและขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา เทศบาลนครรังสิต, เจริญรัตน์ แท่นทอง Jan 2021

การรับรู้ของผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยผู้สูงอายุเกี่ยวกับการคำนวณและขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา เทศบาลนครรังสิต, เจริญรัตน์ แท่นทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยมติคณะรัฐมนตรี ได้ประกาศให้ประเด็นเรื่องสังคมสูงอายุเป็นระเบียบวาระแห่งชาติ ซึ่งประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมในเรื่องการจัดสรรสวัสดิการให้กับผู้สูงอายุคือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยผู้สูงอายุเกี่ยวกับการคำนวณวันที่ยื่นลงทะเบียน วันที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (2) เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยผู้สูงอายุเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนในการขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในบริบทของงานวิจัยนี้ผู้ให้ข้อมูล คือประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 55 - 58 ปี มีคุณสมบัติที่จะได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของกระทรวงมหาดไทย จำนวน 15 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการรับยื่นลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครรังสิต จำนวน 1 คน ผลการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมด เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับมาตรา 16 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 และแก้ไขเพิ่มเติม และแนวปฏิบัติที่กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือแจ้งเวียนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อวิเคราะห์ว่าการรับรู้ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญสอดคล้องกับระเบียบและหลักเกณฑ์ที่รัฐกำหนดหรือไม่อย่างไร โดยในภาพรวมพบว่า ผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยผู้สูงอายุมีการรับรู้พื้นฐานที่ดีเกี่ยวกับสถานที่ยื่นลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพ ช่องทางการรับรู้ข่าวสารการประชาสัมพันธ์ และความหมายของเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แต่ยังขาดการรับรู้ความเข้าใจในรายละเอียดสำคัญ ๆ ที่จะทำให้ยื่นตรงเวลา ได้รับสิทธิ์ตามที่ควรจะเป็น


จากสตาร์ทอัพสู่ยูนิคอร์น: ศึกษากรณีการปรับตัวด้านกลยุทธ์การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของ บริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด, ชวิน พนังนุวงศ์ Jan 2021

จากสตาร์ทอัพสู่ยูนิคอร์น: ศึกษากรณีการปรับตัวด้านกลยุทธ์การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของ บริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด, ชวิน พนังนุวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษานี้มุ่งตอบคำถามวิจัยที่ว่า 1) บริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด มีกลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างไร ในช่วงปรับตัวสู่การเป็นสตาร์ทอัพยูนิคอร์น และ2) กลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทฯ มีส่วนอย่างไรต่อความสำเร็จของบริษัทฯ ในการเป็นสตาร์ทอัพยูนิคอร์น โดยผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดกลยุทธ์การปรับตัวองค์กรของ Daft และทฤษฎีกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ งานศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 25 ราย ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารและพนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ และพนักงานทั่วไป และศึกษาเอกสารของบริษัทฯ ข้อค้นพบของงานวิจัยชิ้นนี้คือ กลยุทธ์หลักในระดับองค์กรของบริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด ถูกกำหนดโดยกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทฯ และกลยุทธ์ของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ถูกกำหนดโดยกลยุทธ์หลักระดับองค์กรอีกทีหนึ่ง โดยสามารถแบ่งกลยุทธ์หลักขององค์กรออกเป็น 3 ยุค ได้แก่ ยุคอันธพาล, ยุคกฎระเบียบ และยุควัฒนธรรม ในยุคอันธพาล กลยุทธ์ของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ คือการเน้นไปที่กระบวนการสรรหาและตอบแทน โดยเน้นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัทฯ และทำยอดจำนวนรับเข้าพนักงานให้มากที่สุด กลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ในยุคกฎระเบียบ มีจุดเน้นที่การสื่อสารองค์กร และการนำเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ เพื่อตอบสนองต่อจำนวนของพนักงานที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และในยุควัฒนธรรม กลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์มีจุดเน้นที่กระบวนการพัฒนาบุคลากรและการสร้างวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้พนักงานเกิดความผูกพันต่อองค์กรและมีศักยภาพที่จะสร้างความเติบโตให้แก่บริษัทฯ อย่างต่อเนื่องในระยะยาว


การตัดสินใจไม่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งของผู้ประกอบการ: ศึกษากรณีผู้ประกอบการบริเวณตลาดอมรพันธ์ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร, อนุกูล กาญจนรัตน์ Jan 2021

การตัดสินใจไม่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งของผู้ประกอบการ: ศึกษากรณีผู้ประกอบการบริเวณตลาดอมรพันธ์ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร, อนุกูล กาญจนรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งตอบคำถามว่าเหตุใดผู้ประกอบการรายย่อยที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขในการเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ซึ่งเป็นโครงการเยียวยาผู้ประกอบการรายย่อยในช่วงวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 จึงตัดสินใจไม่เข้าร่วมโครงการ โดยใช้ผู้ประกอบการรายย่อยในตลาดอมรพันธ์ เขตจตุจักรกรุงเทพมหานคร เป็นกรณีศึกษา ผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดการตัดสินใจเลือกอย่างมีเหตุผล (Rational Choice) ประกอบกับแนวคิด ภาระทางการบริหาร (Administrative Burden) ครอบคลุมทั้งต้นทุนการเรียนรู้ ต้นทุนในการปฏิบัติตามนโยบาย และผลประโยชน์ที่จะได้รับ งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับผู้ประกอบการในตลาดอมรพันธุ์ที่เข้าร่วมโครงการ 2 คน และไม่เข้าร่วมโครงการ 8 คน งานวิจัยชิ้นนี้ค้นพบว่าสาเหตุที่ผู้ประกอบการรายย่อยไม่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งเกี่ยวข้องกับต้นทุนการดำเนินการที่จะเกิดจากการเข้าร่วมโครงการ ประการแรก ผู้ประกอบการรายย่อยที่มีขนาดเล็กมาก จำเป็นต้องใช้เงินหมุนเวียนวันต่อวัน จึงไม่สามารถแบกรับภาระของการรอเงินโอนเข้าบัญชีในวันถัดไปได้ ประการที่สอง ต้นทุนการทำรายการ (Transaction Costs) ที่เกิดขึ้นจากการใช้แอปพลิเคชัน ไม่คุ้มค่าต่อผู้ประกอบการในกรณีที่ราคาต่อหน่วยของสินค้าต่ำมาก ๆ หรือกรณีที่ผู้ประกอบการมีลูกค้าประจำอยู่แล้ว โดยเฉพาะในกรณีของสินค้าบริโภค เช่น น้ำปั่น อาหาร ประการที่สาม ผู้ประกอบการที่มีอายุมากไม่สามารถเรียนรู้วิธีการใช้งานแอปพลิเคชั่นหรือเข้าใจกระบวนการสมัครเข้าร่วมโครงการได้ ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้สะท้อนว่า สาเหตุที่ผู้ประกอบการรายย่อยตัดสินใจไม่เข้าร่วมโครงการฯ ไม่ได้เกิดจากความต้องการหลีกเลี่ยงระบบภาษีตามที่วรรณกรรมส่วนใหญ่เสนอแนะไว้ แต่เกิดจากข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ภาครัฐมองข้ามไป เนื่องจากความไม่เข้าใจลักษณะการประกอบการของผู้ประกอบการรายย่อยที่มีขนาดเล็กมาก เหล่านี้


แนวทางการพัฒนาศักยภาพของข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ได้รับทุนอมรินทร์, อัมพร บันดาลุน Jan 2021

แนวทางการพัฒนาศักยภาพของข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ได้รับทุนอมรินทร์, อัมพร บันดาลุน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนาศักยภาพของข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ได้รับทุนอมรินทร์ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และโอกาสที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องภายหลังสำเร็จการศึกษาของข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ได้รับทุนอมรินทร์ 2. เพื่อศึกษาแนวทาง กระบวนการ ในการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องให้กับข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ได้รับทุนอมรินทร์ให้สามารถปฏิบัติงานภายหลังสำเร็จการศึกษาอย่างเต็มศักยภาพ รูปแบบของการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ประกอบกับการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) โดยดำเนินการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวนทั้งสิ้น 14 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารที่ปฏิบัติงานด้านทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 คน และข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ได้รับทุนอมรินทร์และสำเร็จการศึกษาเรียบร้อยแล้ว และปัจจุบันปฏิบัติงานสังกัดหน่วยงาน/ส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 คน ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ได้รับทุนอมรินทร์ พบว่า การขาดการเข้ามามีบทบาทอย่างชัดเจนของศูนย์บริหารผู้ได้รับทุน (Excellent Center) ส่งผลให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ได้รับทุนอมรินทร์ได้รับการพัฒนาศักยภาพภายหลังสำเร็จการศึกษาไม่แตกต่างจากก่อนรับทุนอมรินทร์ โดยกรุงเทพมหานครไม่ได้มีการกำหนดแนวทาง คำแนะนำในการพัฒนาศักยภาพของข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ได้รับทุนอมรินทร์ภายหลังสำเร็จการศึกษาเอาไว้ เนื่องจากยังไม่ได้มีการจัดตั้งศูนย์บริหารผู้ได้รับทุน (Excellent Center)


การประเมินโครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยหลักสูตรออนไลน์ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง โดยสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท., หทัยทิพย์ เครือวิชฌยาจารย์ Jan 2021

การประเมินโครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยหลักสูตรออนไลน์ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง โดยสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท., หทัยทิพย์ เครือวิชฌยาจารย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของโครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยหลักสูตรออนไลน์ของศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุงตามการประเมินโครงการแบบ CIPP MODEL 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าหน้าที่ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง จำนวน 5 ราย ครู จำนวน 4 ราย และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 ราย ทั้งหมด 15 ราย ผลการศึกษาพบว่า ในแต่ละปัจจัยมีความสัมพันธ์สอดคล้องกันในการส่งผลให้โครงการประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของบริษัท ปตท. และสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โครงการมีความเพียงพอ ความพร้อมของทรัพยากรปัจจัยนำเข้าและบุคลากรมีความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้เกี่ยวกับต้นไม้ แต่ต้องพัฒนาบุคลากรในการผลิตสื่อการเรียนรู้เพิ่มเติม ส่วนเนื้อหาการเรียนรู้และรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เหมาะสมกับนักเรียน การดำเนินงานของโครงการเป็นไปตามแผนการปฏิบัติงาน ผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการโดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการเป็นเกณฑ์ และกลุ่มเป้าหมายจำนวนหนึ่งได้นำความรู้มาใช้ในการปลูกต้นไม้ที่โรงเรียน กลับมาปลูกและดูแลต้นไม้ที่บ้าน ในส่วนข้อเสนอแนะ ต้องการให้มีการลงพื้นที่ที่โรงเรียนจะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มากกว่า ซึ่งจากการประเมินโครงการ บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการในการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในบริบทของชุมชนเมือง และสร้างการตระหนักรู้ถึงคุณค่าของต้นไม้ให้กับนักเรียน แต่ยังไม่มีการวัดประเมินผลประเด็นการตระหนักรู้กับการสร้างภาพลักษณ์ให้กับบริษัท ปตท. อย่างเป็นรูปธรรม ในการทำโครงการครั้งต่อไปควรมีโครงการต่อเนื่องที่ทำกับโรงเรียนเดิม เพื่อสร้างการตระหนักรู้ที่ยั่งยืน และขยายไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆแล้วจะเกิดการรับรู้ชื่อเสียงของบริษัท ปตท. โดยต้องมีการวัดเป็นรูปธรรมต่อไป


การให้ความหมาย, การให้คุณค่า, และการปฏิบัติเกี่ยวกับความสมดุลระหว่างชีวิตกับงานของคนเจเนเรชันวาย : กรณีศึกษาข้าราชการปลัดอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี, ฐิติชญา วงศาโรจน์ Jan 2021

การให้ความหมาย, การให้คุณค่า, และการปฏิบัติเกี่ยวกับความสมดุลระหว่างชีวิตกับงานของคนเจเนเรชันวาย : กรณีศึกษาข้าราชการปลัดอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี, ฐิติชญา วงศาโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการให้ความหมายและการให้คุณค่าเกี่ยวกับความสมดุลระหว่างชีวิตกับงานของข้าราชการปลัดอำเภอเจเนเรชันวายในจังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อศึกษาลักษณะการดำเนินชีวิตโดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างชีวิตกับงานของข้าราชการปลัดอำเภอเจเนเรชันวายในจังหวัดกาญจนบุรี 3) เพื่อศึกษาการให้เหตุผลและความคาดหวังเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตโดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างชีวิตกับงานของข้าราชการปลัดอำเภอเจเนเรชันวายในจังหวัดกาญจนบุรี โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการศึกษาด้วยการใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นปลัดอำเภอเจเนเรชันวายในจังหวัดกาญจนบุรีจำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ทั้งนี้ผลการศึกษาพบว่าผู้ให้ข้อมูลสำคัญให้ความหมายและคุณค่าเกี่ยวกับความสมดุลระหว่างชีวิตกับงานไว้ว่าเป็นการยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการทำงานตามสถานการณ์หรือความเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลาโดยไม่จำเป็นต้องแบ่งสัดส่วนเวลาให้เท่ากัน รวมถึงการมีรูปแบบการดำเนินชีวิตทั้งในเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวที่สามารถดำเนินควบคู่กันได้โดยไม่เกิดความขัดแย้ง ในขณะเดียวกันข้อค้นพบที่น่าสนใจประการหนึ่งเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติและพฤติกรรมที่เกี่ยวกับความสมดุลระหว่างชีวิตกับงาน ก็คือการพบว่าปลัดอำเภอที่มีอายุน้อยมีความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการทำงานได้เป็นอย่างดี รู้จักเรียนรู้นวัตกรรมอย่างสม่ำเสมอ มีความสนใจใฝ่รู้ด้านเทคโนโลยี รวมถึงมีความคิดว่าเทคโนโลยีช่วยทำให้พวกเขาทำงานง่ายขึ้นและเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน ซึ่งความสามารถดังกล่าวมีส่วนช่วยทำให้พวกเขาใช้ชีวิตและทำงานอย่างสมดุลมากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ให้ข้อมูลสำคัญทุกรายก็สามารถทำงานร่วมกับคนทุกช่วงวัยในองค์กรได้เป็นอย่างดี และมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเองด้วยการเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ เพิ่มเติม ได้แก่ ด้านภาษา ด้านกฎหมาย ด้านจิตวิทยา และด้านงานอดิเรก ทั้งนี้พวกเขาต่างเห็นพ้องตรงกันว่าการเรียนรู้ทักษะเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยทำให้พวกเขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงใช้ชีวิตและทำงานได้อย่างสมดุลมากขึ้น


บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเมืองระยองในการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ, ดุรงฤทธิ์ ดุลคนิต Jan 2021

บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเมืองระยองในการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ, ดุรงฤทธิ์ ดุลคนิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ในการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ (Aged-Friendly city) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองระยองต่อการพัฒนาเมืองให้กลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัย (Age-Friendly City) รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัยในเขตอำเภอเมืองระยอง โดยเลือกศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง เทศบาลนครระยอง เทศบาลตำบลเนินพระ และเทศบาลตำบลทับมา ในการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยคำถามแบบกึ่งโครงสร้างและการลงพื้นที่เชิงสังเกต การรวบรวมข้อมูลมีการจัดหมวดหมู่ เป็น 8 หมวด ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก จากนั้นนำมาประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลให้เข้ากับบริบทอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย ผลการวิจัย พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ศึกษาได้มีการดำเนินนโยบายตามแนวทางขององค์การอนามัยโลกครบถ้วนทั้ง 8 ด้าน โดยในแต่ละด้านจะมีความพร้อมต่อการพัฒนาให้พื้นที่เป็นเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุที่แตกต่างกัน แต่ด้านที่ผู้สูงอายุต้องการให้พัฒนามากที่สุด คือด้านการคมนาคมเนื่องจากเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงบริการสาธารณะอื่นๆ ซึ่งถึงแม้จะมีการดำเนินนโยบายตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก แต่ปัจจุบันยังขาดความพร้อม ไม่สะดวกในการใช้งาน และด้านสาธารณสุข ซึ่งผู้สูงอายุจำเป็นต้องพบแพทย์เป็นประจำ แต่มาตรฐานการให้บริการยังไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากขาดแคลนบุคลากรและยังกระจายทรัพยากรไปยังสถานบริการขนาดเล็กได้ไม่เพียงพอ ทำให้ต้องไปแออัดยังสถานพยาบาลขนาดใหญ่เท่านั้น สำหรับแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ รวมถึงกำหนดแผนพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุในพื้นที่ศึกษาเพื่อให้ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วม เนื่องจากการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุเกี่ยวข้องกับหน้าที่ของหลายกระทรวง แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจะมีบทบาทนำเนื่องจากอยู่ใกล้ชิดกับประชาชนและมีอำนาจตามพระราชบัญญัติที่หลากหลาย ครอบคลุมแนวทางทั้ง 8 ขององค์การอนามัยโลก


นโยบายส่งเสริมการส่งออกสินค้าดิจิทัลคอนเทนต์ของไทย : ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล, ณิชา ตั้งวรชัย Jan 2021

นโยบายส่งเสริมการส่งออกสินค้าดิจิทัลคอนเทนต์ของไทย : ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล, ณิชา ตั้งวรชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องนโยบายส่งเสริมการส่งออกสินค้าดิจิทัลคอนเทนต์ของไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารายละเอียดของนโยบายส่งเสริมการส่งออกสินค้าดิจิทัลคอนเทนต์ของไทยและความสำคัญของนโยบายดังกล่าวต่อเศรษฐกิจไทย รวมถึงวิเคราะห์เพิ่มเติมถึงข้อได้เปรียบและข้อจำกัดของนโยบายดังกล่าว อันจะนำไปสู่การแสวงหา แนวทางการปรับปรุงนโยบายนี้ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้นต่อไป โดยการศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ที่มีความสอดคล้องกับนโยบายและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้คำถามการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จากผู้แทนกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนกองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ กรมการท่องเที่ยว และผู้แทนภาคเอกชน ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าดิจิทัลคอนเทนต์ประเภทต่างๆ ผลจากการศึกษาพบว่า ที่ผ่านมาการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจัดว่าไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากเท่าที่ควร และไม่สามารถนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่เป็นที่น่าพึงพอใจของภาคเอกชนมากนัก ทั้งในด้านการกำหนดเป้าหมาย วิธีการดำเนินงาน และตัวชี้วัด ด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ และด้านการประเมินและรายงานผลการปฏิบัติงาน รวมถึงด้านการจัดการสภาพแวดล้อมอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อนโยบาย จึงสมควรเป็นอย่างยิ่งที่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะต้องปรับปรุงแก้ไขการดำเนินการในด้านต่างๆ เช่น การจัดทำและเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมให้มีคุณภาพ การบูรณาการการทำงานของภาครัฐและ/หรือการจัดตั้งหน่วยงานกลางรับผิดชอบดูแลการส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นต้น แนวทางการปรับปรุงการขับเคลื่อนนโยบายให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นสามารถดำเนินการได้หลายแนวทางดังที่ได้กล่าวไปในข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานร่วมกับภาคเอกชนและภาคส่วนอื่นๆ อย่างใกล้ชิดมากขึ้นในทุกกระบวนการ และติดตามบริบทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและนโยบายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาภาคการส่งออกในอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ รวมถึงเศรษฐกิจและสังคมไทยให้ดียิ่งขึ้น


ความสำเร็จในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์การ : กรณีศึกษานายทหารสัญญาบัตร กำเนิดบุคคลพลเรือน/ทหารกองหนุน สังกัดกรมการเงินทหารบก, ชัยวัฒน์ กนิษฐเสน Jan 2021

ความสำเร็จในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์การ : กรณีศึกษานายทหารสัญญาบัตร กำเนิดบุคคลพลเรือน/ทหารกองหนุน สังกัดกรมการเงินทหารบก, ชัยวัฒน์ กนิษฐเสน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพซึ่งมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติต่อองค์การทหารและสาเหตุการตัดสินใจเข้าทำงานในกรมการเงินทหารบกของนายทหารสัญญาบัตรที่มีประเภทการกำเนิดบุคคลพลเรือน/ทหารกองหนุน 2) เพื่อศึกษาแนวทางการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์การอย่างประสบความสำเร็จในกรมการเงินทหารบกของนายทหารสัญญาบัตรที่มีประเภทการกำเนิดบุคคลพลเรือน/ทหารกองหนุน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยนายทหารสัญญาบัตรที่มีประเภทการกำเนิดบุคคลพลเรือน/ทหารกองหนุน ซึ่งปัจจุบันสังกัดกรมการเงินทหารบก จำนวน 10 นาย โดยเลือกจากผู้ที่มีผลคะแนนการประเมินค่าในเกณฑ์ดีเด่นมากที่สุดในช่วงรอบการประเมิน 3 ปีงบประมาณหลังสุด (พ.ศ. 2562 - 2564) โดยแบ่งตามชั้นยศ ร.ท. - ร.อ. จำนวน 5 นาย และชั้นยศ พ.ต. - พ.อ.(พิเศษ) จำนวน 5 นาย โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบตัวต่อตัว ซึ่งมีลักษณะของคําถามเป็นแบบกึ่งโครงสร้าง และดำเนินการวิเคราะห์เนื้อหาพร้อมกับการตีความข้อมูล ทั้งนี้ผลการศึกษาพบว่าผู้ให้ข้อมูลสำคัญเล็งเห็นถึงคุณค่าของอาชีพทหาร ซึ่งเกิดจากทัศนคติที่ว่าเป็นอาชีพข้าราชการอย่างหนึ่ง รวมถึงเป็นค่านิยมของสังคมไทยที่ต้องการให้ตนเองหรือบุคคลใกล้ชิดรับราชการทหาร ตลอดจนการมองว่าภาพลักษณ์ขององค์การทหารแสดงออกถึงบุคคลภายนอกว่ามีความรักสามัคคี และมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งทัศนคติเหล่านี้หล่อหลอมให้พวกตนตัดสินใจทำงานในองค์การทหาร ในขณะเดียวกันเมื่อได้เข้ามาทำงานแล้ว แนวทางการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์การแบบทหารที่พวกเขาได้ยึดถือปฏิบัติ ได้แก่ 1) การสอบถามผู้ที่มีประสบการณ์มาก่อน 2) การพยายามศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตนเอง 3) การสังเกตผู้ที่ได้รับการยอมรับว่ามีการประพฤติปฏิบัติตนที่ดีและนำเอามาปรับปรุงใช้กับตนเอง 4) การเปลี่ยนความคิดและทัศนคติของตนเองให้มีความพึงพอใจกับงานที่ปฏิบัติอยู่


ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับองค์การระหว่างประเทศ ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (Icrc), แทนพร วงศ์บุญเกิด Jan 2021

ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับองค์การระหว่างประเทศ ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (Icrc), แทนพร วงศ์บุญเกิด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษารูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับ ICRC ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินความร่วมมือ เพื่อนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับ ICRC ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงเอกสาร (Documentary Research) จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทั้งแนวนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ แผนปฏิบัติราชการ ตลอดจนเอกสารการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งของภาครัฐและองค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ ICRC นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interview) กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากหน่วยงานภาครัฐ ทั้งในระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติในพื้นที่ รวมถึงจ้าหน้าที่ ICRC ที่รับผิดชอบแผนการดำเนินงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ครอบคลุมและครบถ้วน จากการวิจัย พบว่า รูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและ ICRC ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ในรูปแบบของการประสานงาน (Coordination) ผ่านการพิจารณาเอกสารแผนงานต่าง ๆ โดยที่ทั้งสองฝ่ายจะการปฏิบัติงานจะอยู่ภายใต้ขอบเขตพันธกิจที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และงบประมาณของตน ทั้งนี้ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและ ICRC ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยเป็นรูปแบบการทำงานที่มีข้อตกลงร่วมกัน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่แต่ละฝ่ายต้องการ โดยต่างฝ่ายต่างทำงานของตนเอง โดยใช้การสื่อสารผ่านการติดต่อประสานงานในการดำเนินความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินความร่วมมือหลักๆ ก็คือ ขาดความไว้วางใจระหว่างกัน ดังนั้น จึงควรพัฒนากลไกที่มีอยู่เพื่อกำหนดท่าทีในระดับนโยบายให้ชัดเจน เพื่อให้หน่วยปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับแนวนโยบายจากส่วนกลาง รวมถึงให้มีการประสานงานกับ ICRC อย่างใกล้ชิดและเป็นระบบยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความไว้วางใจระหว่างกัน


ความท้าทายที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการสตรี: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ธันยพร พงศ์เสาวภาคย์ Jan 2021

ความท้าทายที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการสตรี: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ธันยพร พงศ์เสาวภาคย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความท้าทายที่ส่งผลต่อความก้าวหน้า ในอาชีพของข้าราชการสตรีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และหาแนวทางและวิธีการแก้ไข ความท้าทายที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการสตรีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ความท้าทายที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการสตรีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านองค์การ ได้แก่ วัฒนธรรมองค์การแบบระบบอุปถัมภ์ สตรียังขาดการยอมรับและโอกาสจากผู้บังคับบัญชา ในการแสดงความสามารถในงานบางประเภท เช่น งานศาสนพิธี 2) ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ ความรู้ความสามารถ การศึกษา ประสบการณ์ การมีที่ปรึกษา สถานภาพ และฐานะทางการเงิน 3) ปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน ได้แก่ ทัศนคติเชิงบวก ความทะเยอทะยาน ความต้องการประสบความสำเร็จของแต่ละบุคคล การสื่อสาร ความขัดแย้ง และการเลือกปฏิบัติ 4) ปัจจัยด้านอื่นๆ ได้แก่ อำนาจและการเมืองในองค์การ การตีความพระวินัย จากการศึกษา ผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบวัฒนธรรมองค์การให้มีความเป็นประชาธิปไตย ผู้บริหารจะต้องปฏิบัติ ตามระบบคุณธรรมอย่างเคร่งครัด คำนึงถึงความสามารถอย่างแท้จริง ควรสนับสนุนให้สตรีมีบทบาทในการให้คำปรึกษาในเรื่องสำคัญร่วมกับคณะสงฆ์


การประเมินผลโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ (Tambon Smart Team) : กรณีศึกษา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่, ธรรมปพน จันทร์แก้ว Jan 2021

การประเมินผลโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ (Tambon Smart Team) : กรณีศึกษา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่, ธรรมปพน จันทร์แก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง การประเมินผลโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ (Tambon Smart Team) กรณีศึกษา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาว่าโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการสามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้มากน้อยเพียงใด (2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ และ (3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดทำโครงการจ้างงานหรือโครงการที่มีลักษณะใกล้เคียงกันในอนาคตให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การศึกษาวิจัยดังกล่าวใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model เป็นกรอบแนวคิดหลักในการประเมินผลโครงการซึ่งกำหนดรูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ข้าราชการสังกัดกรมการปกครองทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ประกอบด้วย นายอำเภอ ปลัดอำเภอ และเจ้าพนักงานปกครอง จำนวน 5 คน และลูกจ้างเหมาบริการโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ จำนวน 12 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 17 คน ผลการศึกษา สามารถสรุปผลได้ ดังนี้ 1. จากการประเมินผลโครงการตามวัตถุประสงค์ของโครงการทั้ง 3 ประการ พบว่า (1) โครงการสามารถกระตุ้นการบริโภคได้น้อย เนื่องจากเป็นโครงการจ้างงานระยะสั้น โดยจ้างงานตำบลละ 2 คน และจ้างงานเพียง 12 เดือนเท่านั้น (2) ฐานข้อมูล Database เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลหลากหลายด้านของแต่ละหมู่บ้าน ตำบล มารวมไว้ในฐานข้อมูลเดียว ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับใช้เป็นข้อมูลตั้งต้นในการจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ได้เป็นอย่างดี โดยปัจจัยด้านบริบทของโครงการ คือ ความพร้อมบุคลากรของกรมการปกครองเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจัดทำฐานข้อมูล Database ประสบความสำเร็จ (3) เรื่องการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและการพัฒนาพื้นที่ พบว่า โครงการสามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ โดยผ่านปัจจัยนำเข้าของโครงการ คือ ลูกจ้างโครงการ ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนอำเภอในการนำนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล และกรมการปกครอง ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ไปปฏิบัติในพื้นที่ 2. ปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินโครงการ สามารถแบ่งปัญหาที่พบออกเป็น 2 ลักษณะ คือ (1) ปัญหาที่พบในอำเภอขนาดใหญ่ ได้แก่ งบประมาณสำหรับดำเนินโครงการของอำเภอมีไม่เพียงพอ จำนวนบุคลากรของอำเภอมีไม่เหมาะสมกับจำนวนลูกจ้างและปัญหาการปฏิบัติงานของลูกจ้างในเขตชุมชนที่ไม่มีกำนันผู้ใหญ่บ้าน …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) กรณีศึกษา โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย, นัชชา จิตต์กูลสัมพันธ์ Jan 2021

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) กรณีศึกษา โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย, นัชชา จิตต์กูลสัมพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และเพื่อเสนอแนวทางหรือเทคนิคในการจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยการแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 210 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ 9 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า 1) ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้าน พบว่า สถานะทางอาชีพ เศรษฐสถานะและสถานะทางการเงินมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับมากตามลำดับและผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างมีนัยสำคัญและ 2) แนวทางหรือเทคนิคในการจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ควรมีแนวทางหรือเทคนิคในการจัดการเรียนการสอนคือ การใช้วิธีแบบผสมผสาน การกระชับหลักสูตรและปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด 19 การเรียนการสอนด้วยระบบ E-Learning การแบ่งระยะเวลาที่เหมาะสม การคิดค้นกระบวนการวิธีการสอนที่เหมาะสมและใช้แนวคิดในการสลับกันเรียนเพื่อลดการพบปะและยังเป็นไปตามมาตรการการป้องกันอย่างถูกวิธีซึ่งจะทำให้นักเรียนได้เปลี่ยนสถานที่ในการเรียนอีกทางหนึ่ง


การพัฒนาตัวชี้วัดความสำเร็จของวิสาหกิจเริ่มต้น (สตาร์ทอัพ) ด้านการเกษตรของประเทศไทย, ทินวัฒน์ ศรีทัดจันทา Jan 2021

การพัฒนาตัวชี้วัดความสำเร็จของวิสาหกิจเริ่มต้น (สตาร์ทอัพ) ด้านการเกษตรของประเทศไทย, ทินวัฒน์ ศรีทัดจันทา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดความสำเร็จของสตาร์ทอัพด้านการเกษตรของประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานของสากล และเพื่อหาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการหาเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลประกอบการของสตาร์ทอัพด้านการเกษตรและนำไปสู่การพัฒนากิจการของสตาร์ทอัพให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากล การศึกษาตัวชี้วัดความสำเร็จของสตาร์ทอัพด้านการเกษตรในครั้งนี้ ถือเป็นเรื่องใหม่ในวงการสตาร์ทอัพของไทย ผู้วิจัยพัฒนาตัวชี้วัดโดยนิยามเชิงปฏิบัติการและนิยามเชิงทฤษฏี ด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi) โดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และวิเคราะห์ผลด้วยสถิติค่าแนวโน้มเข้าสู่ศูนย์กลาง ตัวชี้วัดนี้ประกอบด้วย 4 มิติ โดยให้ความสำคัญกับการพึ่งพาตนเองทางด้านนวัตกรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่งผลให้มิติที่ 2 นวัตกรรมและความได้เปรียบทางการแข่งขัน และมิติที่ 3 องค์กรและความสามารถทางผู้ประกอบการ มีน้ำหนักที่มากกว่ามิติที่ 1 มูลค่าบริษัทและการเติบโตทางธุรกิจ และมิติที่ 4 การสร้างผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง จากผลการทดสอบการประเมินตัวชี้วัดพบว่า ระดับการพัฒนาสตาร์ทอัพด้านการเกษตรของไทย 5 บริษัท อยู่ในระหว่างขั้น 2 – 4 ส่วนใหญ่เป็นสตาร์ทอัพอยู่ในระดับ 2 ขาดความพร้อมในด้านการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมด้วยตนเองและ สตาร์ทอัพขั้นที่ 3 นวัตกรรมยังไม่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย และสตาร์ทอัพขั้นที่ 4 มีศักยภาพโดดเด่นในด้านศักยภาพทุนมนุษย์ในการสร้างและคิดค้นนวัตกรรม ในอนาคตเพื่อสร้างความแม่นยำและเที่ยงตรงตามมาตราฐานสากล ตัวชี้วัดนี้ควรเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญในการประเมินและความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนสำนักทะเบียนอำเภอสู่ศูนย์ราชการสะดวก :กรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์, นฤดล กลันทกพันธุ์ Jan 2021

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนสำนักทะเบียนอำเภอสู่ศูนย์ราชการสะดวก :กรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์, นฤดล กลันทกพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาถึงการนำนโยบายการขับเคลื่อนสำนักทะเบียนอำเภอสู่ศูนย์ราชการสะดวกไปปฏิบัติ โดยใช้กรณีศึกษาของจังหวัดนครสวรรค์ ที่ได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2563 – 2564) ซึ่งมีสำนักทะเบียนผ่านการรับรองศูนย์ราชการสะดวก 14 แห่ง จาก 878 แห่งทั่วประเทศ และจังหวัดนครสวรรค์ ยังไม่มีสำนักทะเบียนใดผ่านการรับรอง ผู้วิจัยในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติงานทะเบียนจึงสนใจในปรากฏการณ์ดังกล่าวเนื่องจากเป็นนโยบายที่ผู้บริหารของกรมการปกครองให้ความสำคัญ ว่ามีปัจจัยปัญหาอุปสรรคอย่างไรในการดำเนินงาน และควรมีแนวทางอย่างไรเพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายได้สำเร็จ ด้วยหวังดีเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยสะท้อนมุมมองของผู้ปฏิบัติงานทะเบียน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ทั้งการศึกษาจากเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งต่อผลการนำนโยบายการขับเคลื่อนสำนักทะเบียนอำเภอสู่ศูนย์ราชการสะดวกไปปฏิบัติ คือ รูปแบบของบริการสาธารณะมีวัตถุประสงค์ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของนโยบาย ทัศนะคติของผู้ปฏิบัติงานที่กลัวการรับผิด กระบวนการเข้ารับการประเมินที่มีความยุ่งยาก ทรัพยากรไม่เพียงพอ และผู้นำระดับพื้นที่ไม่ได้ให้ความสำคัญ รวมถึงได้มีข้อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย ถือเป็นการสร้างข้อสรุปย่อยไปสู่ข้อสรุปทั่วไปที่เชื่อว่าจะนำไปใช้กับสำนักทะเบียนอื่นๆ ได้ต่อไป เนื่องจากอยู่ภายใต้บริบทของกฎหมาย และรูปแบบของกระบวนการเข้ารับการประเมินที่เหมือนกัน


การศึกษาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กุลเชษฐ วุฒิมานานนท์ Jan 2021

การศึกษาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กุลเชษฐ วุฒิมานานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาความรู้ความเข้าใจในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประเมินและผู้รับการประเมิน และศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่มีต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน สารนิพนธ์ฉบับนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology) โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานหลักเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมจำนวน 20 คน และแจกแบบสอบถามความคิดเห็นของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 400 คน จากการศึกษาพบว่า พนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการมีความรู้และความเข้าใจในระบบการประเมินในระดับมาก ระบบการประเมินมีความสอดคล้องกับข้อบังคับและระเบียบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการมีความเชื่อมั่นในระบบการประเมินในระดับปานกลาง มีการยอมรับในระบบการประเมินในระดับมาก และมีการนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาบุคลากรและองค์กรในระดับปานกลาง นอกจากนี้พบว่า ความรู้และความเข้าใจในระบบการส่งผลต่อความเชื่อมั่น การยอมรับ และการนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาบุคลากรและองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ ควรมีการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยกำหนดตัวชี้วัดหรือสมรรถนะประจำตำแหน่งงานให้มีความชัดเจนและครอบคลุมการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ ควรนำการประเมินผลรอบทิศแบบ 360 องศา มาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน และควรมีการสื่อสารสองทางระหว่างผู้บริหารและพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกันเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความเป็นทีมของพนักงานในองค์กรกรณีศึกษา การโอนย้ายบุคลากรสำนักงานสภาพัฒนาการเมืองเข้ารวมกับสถาบันพระปกเกล้า, มนฤดี ทองกำพร้า Jan 2021

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความเป็นทีมของพนักงานในองค์กรกรณีศึกษา การโอนย้ายบุคลากรสำนักงานสภาพัฒนาการเมืองเข้ารวมกับสถาบันพระปกเกล้า, มนฤดี ทองกำพร้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความเป็นทีมของพนักงานของสถาบันพระปกเกล้า 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการทำงานเป็นทีมของพนักงานสถาบันพระปกเกล้า 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางเชิงนโยบายในการพัฒนาระบบการทำงานเป็นทีมของพนักงานสถาบันพระปกเกล้า ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ แนวคิดเกี่ยวกับทีมงานและการทำงานเป็นทีม องค์ประกอบการทำงานเป็นทีม ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการทำงานเป็นทีม อุปสรรคของการทำงานเป็นทีม แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเป็นทีม ได้แก่ Tuckman’s Stage of Group Development Model แรงจูงใจในการทำงานเป็นทีมโดยใช้ทฤษฎีสองปัจจัย (Two-Factor Theory) ของ Frederick Herzberg และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สมมติฐานการวิจัยครั้งนี้มี 2 ข้อ คือ ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่ง ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และสถานะที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการสร้างความเป็นทีมที่แตกต่างกัน และปัจจัยการทำงานเป็นทีมของพนักงานสถาบันพระปกเกล้าด้านใด ส่งผลต่อการสร้างความเป็นทีม การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานสถาบันพระปกเกล้าจำนวน 157 คน ผู้ตอบกลับจำนวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 62.42 มีการประมวลผลวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) การทดสอบสมมติฐานโดยใช้เทคนิค T-test, F-test และการวิเคราะห์การถดถอย (Regression) ควบคู่กับการใช้วิธีศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (สัมภาษณ์เชิงลึก) ผู้บริหารระดับกลางและพนักงานสถาบันพระปกเกล้า รวมจำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่ง ระยะเวลาการปฏิบัติงาน การสร้างความเป็นทีมไม่แตกต่างกัน ในขณะที่สถานะของพนักงานที่มีการโอนย้ายมาจากสำนักงานสภาพัฒนาการเมือง การสร้างความเป็นทีมกลับแตกต่างกัน 2) ปัจจัยการทำงานเป็นทีม ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีผลต่อการสร้างความเป็นทีม ในขณะที่ปัจจัยด้านความสำเร็จของทีม ด้านการได้รับการยอมรับ ด้านลักษณะงานที่ทำ ด้านความรับผิดชอบ ด้านนโยบายและการบริหารขององค์การ ด้านการบังคับบัญชาและการควบคุมดูแล และด้านความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน ไม่มีผลต่อการสร้างความเป็นทีม ซึ่งสอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์ว่าอุปสรรคในการทำงานเป็นทีม …


การวิเคราะห์ปัญหาและการพัฒนาประสิทธิภาพระบบการรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, วรเมธ ประดิษฐ์อาชีพ Jan 2021

การวิเคราะห์ปัญหาและการพัฒนาประสิทธิภาพระบบการรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, วรเมธ ประดิษฐ์อาชีพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเชิงคุณภาพในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาระบบการรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพระบบการรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ของหน่วยงานดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ผู้วิจัยเลือกใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอพระนครศรีอยุธยา(ได้แก่ นายอำเภอพระนครศรีอยุธยา, ปลัดอาวุโสอำเภอพระนครศรีอยุธยา, ปลัดอำเภอพระนครศรีอยุธยา, พนักงานราชการผู้ปฏิบัติงานศูนย์ดำรงธรรมอำเภอพระนครศรีอยุธยา, และข้าราชการผู้ปฏิบัติงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา) รวมถึงประชาชนผู้ที่เคยใช้บริการศูนย์ดำรงธรรมอำเภอพระนครศรีอยุธยา เมื่อพิจารณาถึงผลการศึกษาเกี่ยวกับสภาพปัญหาระบบการรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอพระนครศรีอยุธยานั้น การศึกษาครั้งนี้พบว่าเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานประจำศูนย์มีจำนวนไม่เพียงพอ เจ้าหน้าที่ยังขาดความเชี่ยวชาญและทักษะการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ รวมทั้งขาดผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน อีกทั้งพบว่าวัสดุอุปกรณ์งบประมาณยังไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน และลักษณะห้องดำเนินงานของศูนย์ยังไม่มีความเหมาะสมเท่าที่ควร ในขณะเดียวกันก็พบว่านโยบาย ระเบียบ และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของศูนย์ยังไม่สามารถตอบสนองหรือเอื้ออำนวยให้การปฏิบัติหน้าที่ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพระบบการรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ของศูนย์จึงประกอบด้วย 1) การพัฒนาและปรับปรุงระเบียบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 2) การปรับลดขั้นตอนการดำเนินงานให้มีความสะดวกรวดเร็ว 3) การจัดสรรงบประมาณ บุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน 4) การพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้มีการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและส่งเสริมให้ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอทุกแห่งเป็นการให้บริการแบบ One stop service และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง


การศึกษาประสิทธิภาพองค์การของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศภายหลังการยกฐานะเป็นองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ, ภูรยาย์ พงษ์พันธ์ Jan 2021

การศึกษาประสิทธิภาพองค์การของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศภายหลังการยกฐานะเป็นองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ, ภูรยาย์ พงษ์พันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศภายหลังการยกฐานะเป็นองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ (2) เพื่อนำผลในด้านมิติต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษาไปเสนอแนะแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในแต่ละมิติของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ โดยอ้างอิงจากทฤษฎีแนวคิดเกี่ยวกับองค์การมหาชนในประเทศไทย แนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการดำเนินงาน แนวคิดเกี่ยวกับการวัดผลการปฏิบัติงานแบบดุลยภาพ (Balanced Scorecard: BSC) แนวคิดเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานและสถานการณ์ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 10 คน คือ กลุ่มตัวอย่างภายในสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศจำนวน 7 คน ซึ่งเป็นเป็นผู้บริหารระดับสูงและผู้อำนวยการฝ่ายส่วนงานที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และกลุ่มตัวอย่างภายนอกสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศจำนวน 3 คน ซึ่งเป็นผู้แทนจากสำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานภาคเอกชนและการสังเกตการณ์ (Observation) จากการบริหารงานภายในองค์การ ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานมิติด้านประสิทธิผล มิติด้านคุณภาพการให้บริการ มิติด้านดูแลกิจการและพัฒนาองค์การและมิติด้านการปฏิบัติงานเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศมีเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานรองรับเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562 อย่างไรก็ตาม การเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานในมิติต่าง ๆ ที่มีเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562 แต่เนื่องจากยังเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ได้ไม่นานยังคงต้องใช้เวลาดำเนินการพัฒนาปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานภายในเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานนำไปสู่การเป็นหน่วยงานที่มีขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ต่อไป


การสำรวจคน Generation Y กับวัฒนธรรมการทำงานแบบราชการ เอกชน และ สตาร์ทอัพ, พิมพ์พิศา คีรีพัฒนานนท์ Jan 2021

การสำรวจคน Generation Y กับวัฒนธรรมการทำงานแบบราชการ เอกชน และ สตาร์ทอัพ, พิมพ์พิศา คีรีพัฒนานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง “คน Gen Y กับวัฒนธรรมการทำงานแบบราชการ เอกชน และ สตาร์ทอัพ : กรณีศึกพนักงานกลุ่ม Gen Y ในสังกัดราชการ เอกชน และสตาร์ทอัพ” เป็นการวิจัยเพื่อทำการสำรวจความต้องการทางด้านรูปแบบวัฒนธรรรมที่คน Gen Y จากทั้ง 3 องค์การต้องและรวมถึงแรงจูงใจที่คน Gen Y ทั้ง 3 องค์การใช้ในการพิจารณาเพื่อเลือกองค์การเข้าทำงาน อันประกอบด้วย เพื่อสำรวจลักษณะวัฒนธรรมการทำงานที่เกิดขึ้นจริงหรือพบเจออยู่ในองค์การที่ทำงานปัจจุบัน และ สำรวจถึงลักษณะวัฒนธรรมการทำงานที่ต้องการให้เกิดขึ้น รวมถึงแรงจูงใจที่ใช้ในการพิจารณาองค์การเข้าทำงาน โดยการวิเคราะห์ผ่านความสอดคล้องระหว่างลักษณะงานที่ทำกับลักษณะวัฒนธรรมที่ต้องการว่ามีความสอดคล้องกันมากเพียงใดและสามารถยอมรับความต้องการนั้นได้หรือไม่ โดยใช้แนวเจเนอเรชั่นวาย และ ทฤษีวัฒนธรรมองค์การที่เหมาะสมของ Charles B. Handy การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบไม่ทดลอง และเป็นการวิจัยในเชิงปริมาณโดยประชากรในงานวิจัยชิ้นนี้คือพนักงานสังกัดราชการ เอกชน และสตาร์ทอัพที่มีช่วงอายุอยู่ในกลุ่มคน Gen Y คือ 24-41ปี ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เลือกโดยไม่ใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็น แต่เลือกจากเป้าประสงค์ที่จำนวน 187 คน ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลแบบสถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistic) ได้แก่ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) และการหาความสัมพันธ์ทางสถิติในส่วนของการหาความแปรปรวนทางเดียว F-Test (One-Way Anova) ผลการวิจัยพบว่าความต้องการของลักษณะวัฒนทำการทำงานของคน Gen Y ในภาพรวมมีความแตกต่างกันแต่ไม่สามารถลงรายละเอียดในแต่ละมิติได้ จึงทำการวิเคราะผลแยกแต่ละองค์กรพบว่าความต้องการของลักษณะวัฒนธรรมการทำงานของคน Gen Y ใน 3 องค์การไม่แตกต่างกันโดยมีความต้องการให้มีรูปแบบวัฒนธรรมที่มีความผสนผสานระหว่างเอกชนและสตาร์ทอัพ และแรงจูงใจที่ใช้พิจารณาองค์การเข้าทำงานมีความแตกต่างกันตามบุคลิกของคนในแต่ละองค์การคือราชการให้ความสำคัญกับความมั่นคงในสายอาชีพ เอกชนและสตาร์ทอัพให้ความสำคัญกับเงินเดือน


การนำระบบการจองคิวหรือนัดหมายล่วงหน้าแบบออนไลน์ด้านการทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชนไปปฏิบัติ : การแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายกรณีศึกษา สำนักทะเบียนอำเภอและสำนักทะเบียนท้องถิ่นในจังหวัดราชบุรี, ผไทมาส นิ่มคำ Jan 2021

การนำระบบการจองคิวหรือนัดหมายล่วงหน้าแบบออนไลน์ด้านการทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชนไปปฏิบัติ : การแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายกรณีศึกษา สำนักทะเบียนอำเภอและสำนักทะเบียนท้องถิ่นในจังหวัดราชบุรี, ผไทมาส นิ่มคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ รวมทั้งปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการนำระบบการจองคิวหรือนัดหมายล่วงหน้าแบบออนไลน์ด้านการทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชนไปปฏิบัติในสำนักทะเบียนอำเภอและสำนักทะเบียนท้องถิ่น โดยใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยแบบผสมทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และมีขอบเขตในการศึกษาวิจัย คือ สำนักทะเบียนอำเภอเมืองราชบุรีและสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองราชบุรี อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี โดยมีประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ได้แก่ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานประจำสำนักทะเบียนอำเภอและสำนักทะเบียนท้องถิ่น และประชาชนผู้รับบริการ ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า การนำระบบการจองคิวหรือนัดหมายล่วงหน้าแบบออนไลน์ด้านการทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชนไปปฏิบัติในสำนักทะเบียนอำเภอและสำนักทะเบียนท้องถิ่นมีประสิทธิภาพ อันเกิดจากสมรรถนะหลักขององค์การทั้ง 5 ประการ ได้แก่ โครงสร้างองค์การที่มีผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอหรือผู้ช่วยนายทะเบียนท้องถิ่นเป็นผู้กำกับติดตามการปฏิบัติงานเพื่อให้ทุกนโยบายสามารถนำมาสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรของสำนักทะเบียนที่มีความรู้ความสามารถและมีความพร้อมในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในการดำเนินนโยบาย สถานที่ที่ให้บริการมีการจัดสรรพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกและเอื้อต่อการเข้ารับบริการแก่ประชาชนผู้รับบริการทุกระดับ อุปกรณ์และเครื่องมือภายในสำนักทะเบียนที่มีการปรับปรุงและพัฒนาให้มีความพร้อมเพื่อรองรับต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ ต่างมีความพร้อมในการสนับสนุนการปฏิบัติงานและรองรับต่อการให้บริการประชาชน โดยมีความเหมาะสม เป็นธรรม ช่วยประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และเป็นไปตามมาตรการการป้องกันโรคของทางราชการ


นวัตกรรมการส่งรายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานทาง E-Form:กรณีศึกษา กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, มันฑนา สมเทพ Jan 2021

นวัตกรรมการส่งรายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานทาง E-Form:กรณีศึกษา กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, มันฑนา สมเทพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อหาข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์ถึงแนวทางที่เหมาะสมของขั้นตอนและกระบวนเปลี่ยนแปลงการส่งรายงานการจัดการพลังงานโดยผู้ประกอบการในรูปแบบ e-Form ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ผลการศึกษาตามทฤษฎีการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ขององค์การที่นำเอานวัตกรรมการส่งรายงานการจัดการพลังงานทาง e-Form มาใช้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานครั้งสำคัญ แต่ผลการดำเนินงานยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากองค์การขาดความชัดเจนของกระบวนการและทิศทางการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง การสื่อสารของผู้นำถึงทิศทางที่ชัดเจนกว่าเดิมในการขับเคลื่อนองค์การด้วยนวัตกรรมต่อบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียถือเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนองค์การให้ออกไปจากสภาพเดิม จากการวิเคราะห์ SWOT พบว่าระบบ e-Form ยังไม่เสถียรและใช้งานยาก บุคลากรและผู้ประกอบการยังขาดความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญ นำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์เชิงรุกภายใต้ Tows Matrix คือ การจัดทำโครงการนำร่องการพัฒนาระบบ e-Form ในลักษณะ Sandbox และการจัดทำ Roadmap ของการนำระบบ e-Form มาใช้งาน ส่วนกลยุทธ์เชิงแก้ไข คือ การปรับปรุงระบบ e-Form ให้เสถียร ใช้งานง่าย มีการฝึกอบรมวิธีการใช้งาน เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์การใช้ e-Form ที่มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันการติดตามประเมินผลปัญหาอุปสรรคและความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่งผลให้การพัฒนานวัตกรรมการส่งรายงานทาง e-Form ประสบความสำเร็จ


ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับชุมชนในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: กรณีศึกษาการจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด19 โรงเรียนวัดจุฬามณี ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, อภิชญา บูรณวัฒน์ Jan 2021

ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับชุมชนในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: กรณีศึกษาการจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด19 โรงเรียนวัดจุฬามณี ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, อภิชญา บูรณวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับชุมชนในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษาการจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด19 โรงเรียนวัดจุฬามณี ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการมีส่วนร่วมการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมและการบริหารราชการแบบร่วมมือกัน ซึ่งมีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสําคัญที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด19 ทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคประชาชนในชุมชนตำบลบ้านกุ่ม ทั้งนี้ผลการศึกษาพบว่าในช่วงที่มีการระบาดรุนแรง หน่วยงานภาครัฐภายในพื้นที่มีความพยายามที่จะจัดตั้งศูนย์พักคอย แต่มีข้อจำกัดด้านโครงสร้าง งบประมาณ และกฎระเบียบต่างๆ ที่ทำให้การดำเนินการจัดตั้งศูนย์พักคอยมีความล่าช้า ดังนั้น ชาวบ้านในชุมชนตำบลบ้านกุ่มจึงเป็นฝ่ายเริ่มรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวโดยการคัดแยกผู้ป่วยออกจากประชาชนที่ยังไม่ติดเชื้อในชุมชน และนำไปสู่การจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ของตำบลบ้านกุ่มขึ้นมา ทั้งนี้ศูนย์ดังกล่าวได้มีการระดมทรัพยากรทั้งในด้านการเงิน แรงงาน วัสดุอุปกรณ์ และการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนการได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายทางสังคมและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งภาครัฐก็ปรับบทบาทจากการเป็นหน่วยงานหลักในการรับมือกับวิกฤตดังกล่าว มาสู่การเป็นฝ่ายสนับสนุนโดยการให้คำปรึกษาและการประสานงานเกี่ยวกับการดำเนินการจัดตั้งศูนย์ ในขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาถึงแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนในชุมชน ชุมชนดังกล่าวได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นเกี่ยวกับการถอดบทเรียนจากการดำเนินการบริหารจัดการศูนย์ดังกล่าว ซึ่งมีลักษณะเป็นการนำหลักการการมีส่วนร่วมของชุมชน และการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ มาปรับใช้เพื่อการเตรียมการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือสถานการณ์วิกฤติอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายในชุมชนในอนาคต ทั้งนี้จากการถอดบทเรียนในเบื้องต้นพบว่าปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้กระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนประสบผลสำเร็จ ได้แก่ ความเข้มแข็งของผู้นำและชาวบ้าน, ผู้นำและเจ้าหน้าที่ภาครัฐทุกระดับมีทัศนคติที่ดีต่อกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน, ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้องและเพียงพอผ่านการใช้เครื่องมือในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ, การเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม, การมีทรัพยากรที่เพียงพอและสามารถนำทรัพยากรไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การศึกษาวิเคราะห์การบริหารจัดการกําลังพลด้วยสายวิทยาการและระบบเลขหมายความชํานาญการทหารของกองบัญชาการกองทัพไทย, อรณิชา สาลีกงชัย Jan 2021

การศึกษาวิเคราะห์การบริหารจัดการกําลังพลด้วยสายวิทยาการและระบบเลขหมายความชํานาญการทหารของกองบัญชาการกองทัพไทย, อรณิชา สาลีกงชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัย เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์การบริหารจัดการกำลังพลด้วยสายวิทยาการและระบบเลขหมายความชํานาญการทหารของกองบัญชาการกองทัพไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการบริหารจัดการกําลังพลด้วยสายวิทยาการและระบบเลขหมายความชํานาญการทหารของกองบัญชาการกองทัพไทย และนําไปสู่โอกาสในการพัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการกําลังพลด้วยสายวิทยาการและระบบเลขหมายความชํานาญการทหารของกองบัญชาการกองทัพไทย ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม คือ เจ้าหน้าที่หัวหน้าสายวิทยาการ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านกำลังพลของส่วนราชการในกองบัญชาการกองทัพไทย และกำลังพลในสายวิทยาการต่าง ๆ ของกองบัญชาการกองทัพไทย ซึ่งผลการศึกษาพบว่า มุมมองที่มีต่อการบริหารจัดการกำลังพลด้วยสายวิทยาการและระบบเลขหมายความชำนาญการทหารของกองบัญชาการกองทัพไทย มีทั้งมุมมองด้านบวกคือ กำลังพลมีแนวทางในการเจริญเติบโตที่ชัดเจน ช่วยให้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานมากยิ่งขึ้น และมุมมองด้านลบคือ การบริหารจัดการกำลังพลด้วยระบบดังกล่าวเป็นเรื่องใหม่ กำลังพลเองยังขาดความรู้ ความเข้าใจอยู่พอสมควร ขณะที่ข้อดีต่อคือ กำลังพลสามารถวางแผนเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพของตนเอง มีเส้นทางความก้าวหน้าและเจริญเติบโตไปตามลำดับขั้น (Career Path) ทำให้การบริหารจัดการกำลังพลของกองบัญชาการกองทัพไทยเป็นระบบเดียวกัน หน่วยงานสามารถวิเคราะห์อัตรากำลังพลได้ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วย ขณะที่ข้อจำกัดคือ รายละเอียดหรือคุณสมบัติบางประการที่กำหนดไว้ในกฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ได้กลายมาเป็นข้อจำกัดที่ส่งผลต่อโอกาสในการเจริญเติบโตหรือความก้าวหน้าของกำลังพล หน่วยงานมีภาระงานที่เพิ่มขึ้นและยังไม่มีความพร้อมในการปฏิบัติงานบางภารกิจ สำหรับปัญหาข้อขัดข้องจากการปฏิบัติงานพบว่า ระบบสารสนเทศยังไม่ตอบสนองการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนํามาเป็นแนวทางและข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงการบริหารจัดการกําลังพลด้วยสายวิทยาการและระบบเลขหมายความชํานาญการทหารของกองบัญชาการกองทัพไทยให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นต่อไป