Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1291 - 1320 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

บทบาทของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่มีต่อการจัดบริการสาธารณะด้านการรักษาความปลอดภัยกรณีศึกษาหมู่บ้านจัดสรรลดาวัลย์ ศรีนครินทร์ จังหวัดสมุทรปราการ, อิทธิ อินทามระ Jan 2021

บทบาทของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่มีต่อการจัดบริการสาธารณะด้านการรักษาความปลอดภัยกรณีศึกษาหมู่บ้านจัดสรรลดาวัลย์ ศรีนครินทร์ จังหวัดสมุทรปราการ, อิทธิ อินทามระ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต่อการจัดบริการสาธารณะด้านการรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้านจัดสรรด้านการรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้านจัดสรร 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดบริการสาธารณะด้านการรักษาความปลอดภัยของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดบริการสาธารณะด้านการรักษาความปลอดภัยภายในหมู่บ้านจัดสรร จำนวน 12 คน ผลการศึกษาพบว่า บทบาทของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต่อการจัดบริการสาธารณะด้านการรักษาความปลอดภัย ประกอบด้วย การบริหารจัดการระบบรักษาความปลอดภัยภายในหมู่บ้านจัดสรร และการใช้จ่ายงบประมาณด้านการรักษาความปลอดภัย การบริหารจัดการระบบรักษาความปลอดภัยภายในหมู่บ้านจัดสรร ได้แก่ การกำหนดนโยบายและกฎเกณฑ์ด้านการรักษาความปลอดภัย และการว่าจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ในขณะที่การใช้จ่ายงบประมาณด้านการรักษาความปลอดภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยยึดถือผลประโยชน์สูงสุดของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และมีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้จ่ายงบประมาณด้านการรักษาความปลอดภัย และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพอใจต่อการใช้จ่ายงบประมาณด้านการรักษาความปลอดภัย ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการรักษาความปลอดภัย ได้แก่ งบประมาณด้านการรักษาความปลอดภัย การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการรักษาความปลอดภัย ข้อเสนอแนะ คือ ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายด้านการรักษาความปลอดภัย


การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการนวัตกรรมชุมชนไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบพึ่งพาตนเองกรณีศึกษา : หมู่ที่ 8 บ้านวังวนชลประทาน ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, สุชาดา มาลีสุวรรณ Jan 2021

การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการนวัตกรรมชุมชนไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบพึ่งพาตนเองกรณีศึกษา : หมู่ที่ 8 บ้านวังวนชลประทาน ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, สุชาดา มาลีสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงขั้นตอนและวิธีการในการมีส่วนร่วมของประชาชนรวมทั้งปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการนวัตกรรมชุมชนไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบพึ่งพาตนเอง ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการนวัตกรรมชุมชนไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบพึ่งพาตนเอง : กรณีศึกษา หมู่ที่ 8 บ้านวังวนชลประทาน ตำบลหนองตาแต้ม ประกอบไปด้วย 3 มิติ มิติที่หนึ่ง ชนิดของการมีส่วนร่วม พบว่า ทุกชนิดของการมีส่วนร่วมล้วนมีจุดแข็งและจุดอ่อนจึงไม่สามารถกล่าวได้ว่าชนิดใดเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ดีที่สุด เนื่องจากประชาชนได้มีส่วนร่วม คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล มิติที่สอง ใครเป็นผู้มีส่วนร่วม พบว่า กลุ่มผู้มีส่วนร่วมประกอบไปด้วย 3 ประเภท คือ บุคคลในท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่รัฐ และมิติสุดท้าย การมีส่วนร่วมเกิดขึ้นได้อย่างไร พบว่า กระบวนการสำคัญ คือ หลักการขั้นตอนเบื้องต้นของการมีส่วนร่วม รูปแบบของการมีส่วนร่วม ขอบเขตการดำเนินงาน และผลลัพธ์ โดยปัจจัยที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบไปด้วยปัจจัยความเชื่อถือในตัวผู้นำ ความใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่รัฐ การคำนึงถึงผลประโยชน์ตอบแทน ความไม่พอใจต่อสภาพแวดล้อม และฐานะทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้พบปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชน คือ 1) ปัญหาระบบราชการแบบ Red Tape 2) ขาดการสนับสนุนงบประมาณ 3) ปัญหาท้าทายด้านความชอบธรรมการเป็นผู้ครอบครองที่ดินและข้อสรุปการพิสูจน์สิทธิ์ที่ดินของชาวบ้าน


บทบาทศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวกรณีศึกษา ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ตำบลท่าทราย จังหวัดนนทบุรี, อรรคพล ดำเนินผล Jan 2021

บทบาทศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวกรณีศึกษา ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ตำบลท่าทราย จังหวัดนนทบุรี, อรรคพล ดำเนินผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง บทบาทศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ตำบลท่าทราย จังหวัดนนทบุรี วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ เพื่อศึกษาบทบาทศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) โดยเลือกจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา จำนวน 10 คน ผลการศึกษา พบว่า 1. ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมีวิธีการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว โดยมีการดำเนินงานเชิงรุก ได้แก่ การแก้ไขปัญหาความรุนแรง การเฝ้าระวังการเกิดเหตุความรุนแรง เชิงรับ ได้แก่ การส่งเสริมองค์ความรู้ให้ประชาชน การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 2. ปัจจัยที่สนับสนุนการทำงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนให้ประสบความสำเร็จ เกิดจากปัจจัยภายใน คือ องค์ความรู้ของคณะทำงาน ความเข้าใจ และความตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และปัจจัยภายนอก คือ การได้รับสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ความร่วมมือของคนในชุมชน 3. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1) ปัญหาภายในองค์กร ได้แก่ ความเข้มแข็งของคณะทำงาน 2) ปัญหาภายนอก ได้แก่ ความร่วมมือและแรงสนับสนุนจากหน่วยงานในพื้นที่ และ 3) ปัญหาการดำเนินงานจากส่วนกลาง คือ การจัดสรรงบประมาณที่ไม่ต่อเนื่อง การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการดำเนินโครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา กลุ่มเด็กด้อยโอกาส สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, อัครเดช กลิ่นสังข์ Jan 2021

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการดำเนินโครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา กลุ่มเด็กด้อยโอกาส สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, อัครเดช กลิ่นสังข์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการดำเนินโครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษากลุ่มเด็กด้อยโอกาส สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสม เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างครูสอนเด็กด้อยโอกาสและบุคลากรทางการศึกษา และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างระดับนโยบาย ระดับสนับสนุน และระดับปฏิบัติการ ประกอบกับข้อมูลเชิงลึกของเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา กลุ่มเด็กด้อยโอกาส จากแบบบันทึกการทำงานของผู้จัดการรายกรณี (Case Manager: CM) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านกระบวนการ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุดในการดำเนินโครงการ โดยมีค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นเท่ากับ 4.75 นอกจากนั้นยังพบว่าปัจจัยด้านกระบวนการ มีอิทธิพลผลต่อผลกระทบและประสิทธิผลจากการดำเนินโครงการ และปัจจัยนำเข้า มีอิทธิพลผลต่อการถ่ายทอดความสำเร็จจากการดำเนินโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยประเด็นปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินโครงการที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านกระบวนการ ได้แก่ การจัดทำเอกสารการเบิกจ่ายงบประมาณ


ยุทธศาสตร์ข้าวไทย (ปี 2563 - 2567) : ด้านการตลาดต่างประเทศ, อัจจิมา จันทวี Jan 2021

ยุทธศาสตร์ข้าวไทย (ปี 2563 - 2567) : ด้านการตลาดต่างประเทศ, อัจจิมา จันทวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาการขับเคลื่อนของยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563 – 2567 ด้านการตลาดต่างประเทศ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการเนินยุทธศาสตร์ข้าวไทยฯ รวมถึงประเด็นปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าว และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวไทยฯ ต่อไปในอนาคต โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีผู้ให้สัมภาษณ์รวมทั้งหมด 9 คน พบว่าการจัดทำยุทธศาสตร์ข้าวไทยฯ ด้านการตลาดต่างประเทศ นับเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ไขปัญหาการส่งออกข้าวของไทยอย่างเป็นระบบ ด้วยการประสานความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้อง ส่งผลให้การดำเนินงานโครงการเกิดประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ข้าวไทยฯ จึงเป็นแนวทางสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาศักยภาพของข้าวไทย ในมุมมองของการส่งออกข้าวไปยังตลาดต่างประเทศพบว่าปัจจุบันในตลาดโลกนั้น มีการแข่งขันที่รุนแรงและมีผู้เล่นเพิ่มมากขึ้นบางประเทศจากในอดีตที่เป็นผู้นำเข้าข้าวก็ผันตัวมาเป็นผู้ส่งออกข้าว รวมถึงคู่แข่งรายสำคัญต่างมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาการพันธุ์ข้าวให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด เป็นการพัฒนาทั้งด้านปริมาณและคุณภาพเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด รวมถึงปัจจัยด้านเสถียรภาพของค่าเงินบาท และการระบาดของโควิด – 19 ที่เกิดขึ้นต่างส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทยในภาพรวม


ทัศนคติและการรับรู้ของประชาชนต่อการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านกรณีศึกษา ประชาชนในพื้นที่ตำบลที่มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, วัชรพล มหาไวย Jan 2021

ทัศนคติและการรับรู้ของประชาชนต่อการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านกรณีศึกษา ประชาชนในพื้นที่ตำบลที่มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, วัชรพล มหาไวย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยแบบผสมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ทัศนคติและการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน และเพื่อเสนอแนะแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน ผ่านประสบการณ์ของผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ผู้วิจัยเลือกใช้เทคนิคการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ซึ่งดำเนินการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในที่นี้คือ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน และเก็บข้อมูลจากการแจกแบบสอบถาม (Survey) เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติ การรับรู้ และการมีส่วนร่วมจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา การศึกษาครั้งนี้พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านมีทัศนคติว่ากำนัน ผู้ใหญ่บ้านมีความสำคัญต่อตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านมีทัศนคติว่าหมู่บ้านของตนจำเป็นจะต้องมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทำหน้าที่ปกครองดูแลหมู่บ้านต่อไปอยู่ในระดับมากที่สุด ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านมีทัศนคติว่าการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในหมู่บ้านจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในระดับที่ดี รวมทั้งประชาชนมีทัศนคติว่า การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน ทำให้ตนมีส่วนร่วมในการควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านอยู่ในระดับมากที่สุด และการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน ทำให้ตนมีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่ามีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันคือ สถาบันกำนัน ผู้ใหญ่บ้านยังคงมีความสำคัญต่อการปกครองท้องที่ ประชาชนส่วนใหญ่มีทัศนคติเชิงบวกต่อการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน และเห็นด้วยกับการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน โดยประชาชนส่วนใหญ่มีความพร้อมและสมัครใจเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ด้านการรับรู้ ประชาชนโดยส่วนใหญ่มีการรับรู้ที่ดีและเข้ามามีส่วนร่วมต่อการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในระดับที่มาก ประชาชนโดยส่วนใหญ่มีความพร้อมที่จะเข้าร่วมการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน หากตนได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ที่เพียงพอและมีความทั่วถึงครอบคลุม ในขณะเดียวกันปัญหาและอุปสรรคของการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านที่พบคือ ปัญหาการกำหนดวัน และเวลาในการดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน ปัญหาของจำนวนในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในหมู่บ้าน และปัญหาการเล่นพวกพ้อง ในการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน แนวทางการปรับปรุงการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นประกอบด้วย 1) การปรับปรุงการประชาสัมพันธ์และการสร้างการรับรู้แก่ประชาชนในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน 2) การปรับทัศนคติของผู้ดำเนินการประเมินและผู้เข้ารับการประเมิน ให้มีทัศนคติที่ดี รวมถึงการเปิดกว้างต่อการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และ 3) การปรับปรุง แก้ไขระเบียบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


เครือข่ายกับประสบการณ์การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามชุมชน(Community Isolation : Ci) : กรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร, ศิริวัฒน์ เตชะภิญญาวัฒน์ Jan 2021

เครือข่ายกับประสบการณ์การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามชุมชน(Community Isolation : Ci) : กรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร, ศิริวัฒน์ เตชะภิญญาวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง “เครือข่ายกับประสบการณ์การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามชุมชน (Community Isolation : CI) กรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามชุมชน (Community Isolation) ในจังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการร่วมมือของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามชุมชน (Community Isolation) ในจังหวัดสมุทรสาคร 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นปัญหา และอุปสรรคในการตั้งโรงพยาบาลสนามชุมชน (Community Isolation) ในจังหวัดสมุทรสาคร โดยการศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการศึกษาด้วยการใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรง และมีความรู้ความเข้าใจประเด็นต่างๆเกี่ยวกับโรงพยาบาลสนามชุมชน (Community Isolation) ในจังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด (ผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย) ผู้แทนอำเภอ ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนภาคเอกชน ตัวแทนภาคประชาสังคม บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลสนามชุมชน โดยยกกรณีศึกษาของโรงพยาบาลสนามชุมชนในจังหวัด จำนวน 2 แห่ง ที่มีการดำเนินการที่ประสบผลสำเร็จ ได้แก่ โรงพยาบาลสนามชุมชน ตำบลบางหญ้าแพรก (มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสมุทรสาคร) และโรงพยาบาลสนามชุมชน ตำบลบ้านเกาะ (โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลบางปลา) ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยจูงใจมูลเหตุและเงื่อนไขที่นำไปสู่การแสวงหาความร่วมมือกันของเครือข่ายในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามทั้งสองแห่ง ประกอบด้วย 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ข้อบังคับหรือแนวนโยบายจากส่วนราชการที่ถูกกำหนดโดยคณะกรรมการโณคติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร 2) การมีสายสัมพันธ์ระหว่างภาคีภาคส่วนต่างๆอย่างแนบแน่น ซึ่งเป็นผลจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในหลายระดับอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง 3) ความตื่นตัวและความเข้มแข็งของภาคชุมชนและประชาสังคมที่มีต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 4) ข้อจำกัดในเชิงสถาบันและทรัพยากรของภาคีเครือข่าย สำหรับลักษณะกระบวนการในดำเนินการร่วมกันระหว่างเครือข่ายในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามของทั้งสองแห่ง พบว่า ประกอบด้วย 3 ประเด็น ได้แก่ 1) โครงสร้างความร่วมมือที่มีการกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ 2) การวางแผนร่วมกัน โดยมีการกำหนดองค์ประกอบในการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน การกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ และ 3) การสนับสนุนทรัพยากร โดยมีการจัดสรรทรัพยากรระหว่างกันอย่างชัดเจนเป็นทางการที่แต่ละฝ่ายมีอยู่เพื่อขับเคลื่อนภารกิจภายใต้เป้าหมายที่ทุกฝ่ายกำหนดและยึดถือร่วมกัน ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวมีลักษณะหนุนเสริมพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ในขณะที่ปัจจัยอุปสรรคของความร่วมมือกันของเครือข่ายในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามทั้งสองแห่ง พบว่า เกิดจากความไม่ชัดเจนของนโยบายจากผู้กำหนดนโยบายของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดที่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายบ่อยครั้ง


ศุลกากรกับการค้าออนไลน์ : นโยบายรัฐ และความคาดหวังของประชาชน ต่อการให้บริการทางไปรษณีย์ของกรมศุลกากร, วาทินี วัฒนสกลพันธุ์ Jan 2021

ศุลกากรกับการค้าออนไลน์ : นโยบายรัฐ และความคาดหวังของประชาชน ต่อการให้บริการทางไปรษณีย์ของกรมศุลกากร, วาทินี วัฒนสกลพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวนโยบายของรัฐและความคาดหวังของประชาชนต่อการดำเนินงานของกรมศุลกากรที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางไปรษณีย์ ทั้งนี้ เพื่อที่จะได้ทราบและเข้าใจถึงความต้องการของนโยบายรัฐ ตลอดจนความคาดหวังของประชาชน ที่อาจส่งผลต่อการกำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการของกรมศุลกากรในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับไปรษณีย์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการบริหารราชการของกรมศุลกากรในส่วนที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสม โดยงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของกรมศุลกากรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานกับไปรษณีย์ระหว่างประเทศ รวมถึงประชาชนที่พบปัญหาจากการดำเนินงานดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า รัฐมีความคาดหวังต่อการปฏิบัติงานของกรมศุลกากรที่เกี่ยวกับการให้บริการทางไปรษณีย์ไปใน 2 ลักษณะ คือ การจัดเก็บภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ และ การปกป้องสังคมจากการนำเข้าของผิดกฎหมาย โดยกรมศุลกากรได้ดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวทางตามที่รัฐต้องการทั้ง 2 ลักษณะควบคู่กันไป แต่พบปัญหาในส่วนของระบบและกระบวนการทำงาน จึงก่อให้เกิดปัญหาข้อร้องเรียนจากประชาชน และประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของศุลกากรไม่ถูกต้องทั้งหมด โดยประชาชนมีความคาดหวังต่อการปฏิบัติงานของกรมศุลกากรที่เกี่ยวกับการให้บริการทางไปรษณีย์ แบ่งเป็น 5 ประเด็นหลักที่กรมศุลกากรควรให้ความสนใจ ได้แก่ บทบาทของงานศุลกากรที่เกี่ยวข้องกับไปรษณีย์, การใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่และมาตรฐานการปฏิบัติงานของศุลกากรไปรษณีย์, การปฏิบัติงานของกรมศุลกากร และ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด, ภาพลักษณ์ของกรมศุลกากร #ศุลกากรหรือซ่องโจร และปัญหาอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม นโยบายการลงทุนด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และ การดำเนินโครงการตามแผนของกรมศุลกากร รวมถึงการขอความร่วมมือกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และ การสร้างความรู้ความเข้าใจและเพิ่มการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ก็จะช่วยให้การปฏิบัติงานของกรมศุลกากรที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางไปรษณีย์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


การมีส่วนร่วมในกระบวนการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายและจำเลยคดีอาญาของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง, วิรา ยากะจิ ณ พิกุล Jan 2021

การมีส่วนร่วมในกระบวนการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายและจำเลยคดีอาญาของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง, วิรา ยากะจิ ณ พิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้คู่ความเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการคุ้มครองสิทธิของศาลน้อย ผลที่เกิดขึ้น และแนวทางเพิ่มการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพ ผู้ศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษา วิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม แรงจูงใจทางสังคม ความคาดหวัง แนวคิดยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ แนวคิดตัวแบบสมเหตุผล การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนกับประโยชน์ที่ได้รับ และมาตรการคุ้มครองสิทธิทั้งในและต่างประเทศ จากเอกสารทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้เสียหาย ผู้ปกครองเด็กเเละเยาวชนที่เป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยของศาล และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการคุ้มครองสิทธิ แล้วนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมดไปทบทวนในการประชุมกลุ่มย่อย ผลการศึกษาพบว่า เหตุปัจจัยที่มีผลทำให้คู่ความเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการคุ้มครองสิทธิน้อยคือ ปัจจัยขั้นตอนกระบวนการเข้ามามีส่วนร่วม ปัจจัยเรื่องความรู้ ความเข้าใจในข้อกฎหมาย สิทธิและหน้าที่ ปัจจัยโอกาสแสดงความเห็นในการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูและปัจจัยความคาดหวังในผลคดีที่จะเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตน ส่วนผลของการเข้ามามีส่วนร่วมน้อยนั้น หากผู้เสียหายไม่เข้ามาร่วมในการทำแผนฯ คดีก็จะต้องกลับสู่การสืบพยานตามปกติ เสียโอกาสในการนำคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ กรณีหากผู้ปกครองและเยาวชนไม่ให้ความร่วมมือ ปฏิบัติตามเงื่อนไขในแผนฯ ศาลอาจใช้ดุลพินิจยกเลิกการทำแผนและนำคดีเข้าสู่การพิจารณาปกติต่อไป แนวทางหรือนโยบายเพิ่มการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพคือ สร้างความรับรู้ ความเข้าใจถึงความจำเป็นที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพ ชี้ช่องทางให้เห็นประโยชน์ที่คู่ความจะได้รับ เพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่ และเพิ่มช่องทางให้ติดต่อศาลได้สะดวกขึ้น


การประยุกต์ใช้แนวคิดวิสัยทัศน์ร่วมในการพัฒนากลยุทธ์ D2rive ของกรมสรรพากร:กรณีศึกษา สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางรัก 1, ศาขิณี พระจันทร์ Jan 2021

การประยุกต์ใช้แนวคิดวิสัยทัศน์ร่วมในการพัฒนากลยุทธ์ D2rive ของกรมสรรพากร:กรณีศึกษา สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางรัก 1, ศาขิณี พระจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาความสอดคล้องระหว่างวิสัยทัศน์ส่วนบุคคลของบุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางรัก 1 กับวิสัยทัศน์ของกรมสรรพากร และเพื่อประเมินความสำเร็จของการนำกลยุทธ์ D2RIVE มาใช้เพื่อการขับเคลื่อนกรมสรรพากรไปสู่เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ขององค์กร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางรัก 1 จำนวน 15 คน ประกอบด้วยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางรัก 1 ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรประเภท SC ซึ่งเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) กับองค์กร แสดงถึงการมีวิสัยทัศน์ส่วนตัวสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับกรมสรรพากร และมีกรอบความคิดแบบช่างฝีมือ (Craftsman Mindset) ซึ่งเป็นคนที่ต้องการพัฒนาตนเองให้มีความรู้เพื่อสั่งสมความเชี่ยวชาญในการทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการขององค์กร อีกทั้งการขับเคลื่อนกลยุทธ์ D2RIVE ถือว่าประสบสำเร็จ เนื่องจากโครงการต่างๆ ที่มาจากกลยุทธ์ D2RIVE มีอิทธิพลทำให้บุคลากรมีการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีอากรมากขึ้น ตระหนักถึงการให้บริการที่ดีแก่ผู้เสียภาษี แต่ยังต้องพัฒนาปรับปรุงในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) และนวัตกรรมให้ดียิ่งขึ้นและเหมาะสมกับบริบทขององค์กร เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมที่มีพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ตามวิสัยทัศน์ของกรมสรรพากร “องค์กรชั้นนำที่จัดเก็บภาษีอย่างโปร่งใสเป็นธรรม ด้วยนวัตกรรมคุณภาพ เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการคลัง”


แนวทางการปรับตัวและทักษะที่จำเป็นของข้าราชการบรรจุใหม่ ในสถานการณ์โควิด-19 กรณีศึกษา กรมศุลกากร, ชญานิศ ธัชมงคล Jan 2021

แนวทางการปรับตัวและทักษะที่จำเป็นของข้าราชการบรรจุใหม่ ในสถานการณ์โควิด-19 กรณีศึกษา กรมศุลกากร, ชญานิศ ธัชมงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อศึกษาการปรับตัวและทักษะที่จำเป็นของข้าราชการบรรจุใหม่ ในสถานการณ์โควิด-19 2.) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวและทักษะที่จำเป็นของข้าราชการบรรจุใหม่ ในสถานการณ์โควิด-19 3.) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการปรับตัวและทักษะที่จำเป็นของข้าราชการบรรจุใหม่ ในสถานการณ์โควิด-19 โดยใช้รูปแบบการวิจัยทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจากข้าราชการบรรจุใหม่ ตำแหน่งนักวิชาการศุลกากรปฏิบัติการ ที่เข้ารับราชการตั้งแต่ ปี 2562 และปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่คลองเตย กรุงเทพฯ จำนวน 170 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า T-Test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) โดยใช้โปรแกรม SPSS และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก (In-depth interview) จากกลุ่มประชากรข้าราชการบรรจุใหม่จำนวน 6 คนและผู้บังคับบัญชาจำนวน 3 คน เพื่อให้ได้ข้อมูลครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ด้านความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีผลต่อการปรับตัวของข้าราชการบรรจุใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนข้าราชการบรรจุใหม่ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาต่างกัน มีผลต่อการปรับตัวของข้าราชการบรรจุใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 ไม่แตกต่างกัน (2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีผลต่อการทักษะที่จำเป็นของข้าราชการบรรจุใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยบุคคลอื่น ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อทักษะที่จำเป็นของข้าราชการบรรจุใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 ไม่แตกต่างกัน (3) ปัจจัยสภาพแวดล้อมได้แก่ ลักษณะงานที่ปฏิบัติ อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน และความสัมพันธ์กับบุคคลในที่ทำงานแตกต่างกัน มีผลต่อการปรับตัวของข้าราชการบรรจุใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 แตกต่างกัน (4) ปัจจัยสภาพแวดล้อมได้แก่ อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงานและความสัมพันธ์กับบุคคลในที่ทำงานแตกต่างกัน มีผลต่อทักษะที่จำเป็นของข้าราชการบรรจุใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติแตกต่างกัน มีผลต่อทักษะที่จำเป็นของข้าราชการบรรจุใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 ไม่แตกต่างกัน


ผลของการนำระบบการรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ออนไลน์ไปใช้ในงานรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ของศูนย์ดำรงธรรม : กรณีศึกษาศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย สำนักตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, กันต์ธีร์ แสงกล้า Jan 2021

ผลของการนำระบบการรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ออนไลน์ไปใช้ในงานรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ของศูนย์ดำรงธรรม : กรณีศึกษาศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย สำนักตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, กันต์ธีร์ แสงกล้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้นั้นเป็นการศึกษาในเรื่อง “ผลของการนำระบบการรับเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ออนไลน์ไปใช้ในงานรับเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ของศูนย์ดำรงธรรม : กรณีศึกษาศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย สำนักตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาในประเด็นดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการจัดการเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ผ่านระบบการรับเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ออนไลน์ โดยพิจารณาจากร้อยละของจำนวนเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ที่ได้รับผ่านทางระบบออนไลน์ที่สามารถยุติเรื่องได้ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ผ่านระบบการรับเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ออนไลน์ของศูนย์ดำรงธรรม และ 3) เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาระบบการรับเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ออนไลน์ของศูนย์ดำรงธรรม โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งได้กำหนดขอบเขตการวิจัย โดยการศึกษาประสิทธิผลการจัดการเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ผ่านระบบการรับเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ออนไลน์ โดยพิจารณาจากร้อยละของความสำเร็จในการยุติเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้งานระบบการรับเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ ดังกล่าว รวมทั้งปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ผ่านระบบการรับเรื่อง ร้องเรียน / ร้องทุกข์ออนไลน์ของศูนย์ดำรงธรรม ตามองค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัย ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware Resources) 2) ปัจจัยด้านซอฟท์แวร์ (Software Resources) 3) ปัจจัยด้านบุคลากร (People Resources) 4) ปัจจัยด้านข้อมูล (Data Resources) 5) ปัจจัยด้านเครือข่าย (Network Resources)


ผลกระทบจากนโยบายการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work From Home)ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ในหน่วยงานภาครัฐกรณีศึกษา ส่วนบัญชาการกองทัพอากาศ, ณัฐวรินทร์ ภาคาหาญ Jan 2021

ผลกระทบจากนโยบายการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work From Home)ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ในหน่วยงานภาครัฐกรณีศึกษา ส่วนบัญชาการกองทัพอากาศ, ณัฐวรินทร์ ภาคาหาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการนำนโยบายการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from home) มาใช้ในหน่วยงานภาครัฐ กรณีศึกษา ส่วนบัญชาการกองทัพอากาศ ทั้งผลกระทบเชิงบวกและผลกระทบเชิงลบ โดยแบ่งออกเป็นผลกระทบต่อองค์การ และผลกระทบต่อสมาชิกในองค์การ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิง จากผู้ให้ขอมูลสำคัญที่เป็นข้าราชการกองทัพอากาศในหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ สังกัดส่วนบัญชาการ ในตำแหน่งระดับรองหัวหน้าหน่วยขึ้นตรง หรือหัวหน้าหน่วยขึ้นตรง เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบของการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from home) ที่เกิดขึ้นต่อองค์การจำนวน 4 ท่าน และ การวิจัยเชิงปริมาณด้วยการวิจัยเชิง จากข้าราชการกองทัพอากาศในหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ สังกัดส่วนบัญชาการ ในระดับปฏิบัติงานและผู้บังคับบัญชา เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบของการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from home) ที่เกิดขึ้นต่อบุคคล ประชากรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 คน ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากนโยบายการปฏิบัติงานที่บ้านต่อสมาชิกในองค์การ พบว่ากลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยกับผลกระทบในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ ในขณะที่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากนโยบายการปฏิบัติงานที่บ้านต่อสมาชิกในองค์การ พบว่าผู้ให้ข้อมูลสำคัญเห็นว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อองค์การในภาพรวมส่วนมากจะเป็นผลกระทบในเชิงลบมากกว่าเชิงบวก เนื่องจากการปฏิบัติงานที่บ้านทำให้การควบคุมหรือการใช้อำนาจของผู้บังคับบัญชาลดลง ส่งผลให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีอิสระและเสรีภาพในการปฏิบัติงานหรือการตัดสินใจมากขึ้น


แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงบเงินอุดหนุนเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, กรรณิกา ชิดชอบ Jan 2021

แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงบเงินอุดหนุนเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, กรรณิกา ชิดชอบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการและปัญหาอุปสรรคของบริหารงบเงินอุดหนุนเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ของสำนักงาน ป.ป.ส. ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2564 เพื่อประกอบการพิจารณาการปรับปรุงกระบวนงานในปีงบประมาณถัดไป โดยผู้ศึกษากำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 แบบ คือ การค้นคว้าจากเอกสาร แบบสอบถาม จำนวน 40 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 11 คน ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการบริหารงบเงินอุดหนุนฯ ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2564 ของสำนักงาน ป.ป.ส. มีขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน คือ 1. การจัดทำแผนการจัดสรรเงิน 2. การอนุมัติจัดสรรเงิน 3. การบริหารเงิน และ 4. การกำกับติดตาม โดยส่วนกลางจะกระจายอำนาจให้กับหน่วยงานในการตัดสินใจบริหารจัดการด้วยตนเอง ภายใต้แนวนโยบายการใช้จ่ายเงินอุดหนุนฯ และระเบียบว่าด้วยสำนักงาน ป.ป.ส.ว่าด้วยงบเงินอุดหนุนฯ ซึ่งปัญหาการบริหารงานภายในของหน่วยงานที่พบมีทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านเทคนิคการทำงาน 2. ด้านตัวบุคคล 3. ด้านระเบียบการบริหารงบเงินอุดหนุนฯ 4. ด้านผู้ขอรับสนับสนุนเงิน และ 5. COVID-19 เพื่อให้การบริหารงบเงินอุดหนุนฯ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานที่ต้องรวดเร็ว ชัดเจน การพัฒนาระบบกลไกการกำกับติดตาม บุคคลที่ให้ความสำคัญและเอาใจใส่กับการ นอกจากนี้หน่วยงานต้องมีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบการบริหารเงินอุดหนุนฯ เพื่อที่จะได้สามารถรองรับการดำเนินกิจกรรมในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป


แรงจูงใจในการทำงานอาชีพเลขานุการส่วนบุคคล, รัชดา คำรักษ์ Jan 2021

แรงจูงใจในการทำงานอาชีพเลขานุการส่วนบุคคล, รัชดา คำรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจของการทำงานอาชีพเลขานุการส่วนบุคคลแต่ละประเภท 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการสร้างแรงจูงใจในการทำงานอาชีพเลขานุการส่วนบุคคล ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือเลขานุการส่วนบุคคล 3 ประเภท ได้แก่ เลขานุการผู้บริหาร เลขานุการโดยตำแหน่ง และเลขานุการส่วนตัว รวมจำนวน 90 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยเลขานุการส่วนบุคคล ประเภทละ 3 คน รวมจำนวน 9 คน สำหรับผลการศึกษาพบว่า 1) ในภาพรวม เลขานุการโดยตำแหน่งมีแรงจูงใจในการทำงานอาชีพเลขานุการส่วนบุคคลมากที่สุด รองลงมาคือ เลขานุการส่วนตัว และเลขานุการผู้บริหาร 2) ในรายด้าน เลขานุการแต่ละประเภทมีแรงจูงใจในระดับมากที่สุดที่แตกต่างกัน เลขานุการผู้บริหารคือด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน เลขานุการโดยตำแหน่งคือด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ และเลขานุการส่วนตัวคือด้านการยอมรับนับถือ 3) ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างด้วยสถิติเชิงอนุมานพบว่า เลขานุการส่วนบุคคลแต่ละประเภทมีแรงจูงใจที่แตกต่างกันทางด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ 4) จากข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นเพิ่มเติมรวมถึงการสัมภาษณ์ พบว่าปัจจัยด้านการปกครองบังคับบัญชาเป็นแรงจูงใจสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลต่อการทำงานอาชีพเลขานุการส่วนบุคคล ดังนั้น นอกเหนือจากการส่งเสริมปัจจัยจูงใจด้านการทำงาน องค์กรควรให้ความสำคัญในการสร้างแรงจูงใจด้านการสร้างขวัญและกำลังใจ รวมถึงปัจจัยทางด้านผู้บริหารระดับสูงให้แก่ผู้ทำงานอาชีพนี้ด้วย


กลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์การภาครัฐเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีศึกษา กระทรวงมหาดไทย, นิรุต หัตถะผะสุ Jan 2021

กลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์การภาครัฐเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีศึกษา กระทรวงมหาดไทย, นิรุต หัตถะผะสุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษากลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์การภาครัฐเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) กรณีศึกษา กระทรวงมหาดไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการขับเคลื่อนการดำเนินงานและวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของกระทรวงมหาดไทย ในเป้าหมายด้านการกำจัดความยากจนและเป้าหมายด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ และเพื่อศึกษาถึงปัจจัยและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน วิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหา ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของกระทรวงมหาดไทย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยผู้ให้สัมภาษณ์ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ส่วนกลางสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ส่วนกลางระดับกรมที่เกี่ยวข้องสังกัดกระทรวงมหาดไทย และผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัด ซึ่งจะใช้กรอบแนวคิดในการศึกษาที่ศึกษาผ่านปัจจัยความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ และการดำเนินงานร่วมกันระหว่างองค์กร (Cooperation) ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยความสำเร็จในการนำนโยบายด้านการกำจัดความยากจนและด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติไปปฏิบัติ ได้แก่ นโยบายมีความชัดเจนและสอดคล้องกับแผนระดับชาติ นโยบายได้รับความสำคัญจากฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหาร การนำระบบเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม มีความเพียงพอของทรัพยากร หน่วยงานมีความพร้อมและมีการมอบหมายงานที่ชัดเจน บุคลากรมีทัศนคติที่ดีต่องาน แต่ยังขาดความรู้เรื่องความยั่งยืน และการใช้กลไกคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานเป็นหลัก รวมทั้งพบว่า การดำเนินการร่วมกันระหว่างองค์กร (Cooperation) ด้วยการมีกระบวนการประสานการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานที่ดีผ่านเครื่องมือคณะกรรมการ หนังสือราชการ และสื่อออนไลน์ และบุคลากรส่วนใหญ่มีความเข้าใจและเข้าถึงประชาชนเป็นอย่างดี ส่งผลดีต่อพฤติกรรมการดำเนินงานร่วมกัน นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยยังได้สร้างกลไกต่าง ๆ เข้ามาช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยเฉพาะการจัดทำแผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Roadmap) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของกระทรวงมหาดไทยได้


การนำนโยบายลดทอนความเป็นอาชญากรรมในผู้เสพยาเสพติดไปปฏิบัติ : ศึกษากรณี ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 108/2557, ปรางอนงค์ แสงอากาศ Jan 2021

การนำนโยบายลดทอนความเป็นอาชญากรรมในผู้เสพยาเสพติดไปปฏิบัติ : ศึกษากรณี ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 108/2557, ปรางอนงค์ แสงอากาศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาและตอบคำถามวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการการนำนโยบายลดทอนความเป็นอาชญากรรมในผู้เสพยาเสพติดไปปฏิบัติและปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยศึกษากรณี ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 108/2557 โดยวิเคราะห์เชื่อมโยงกับปัจจัยในการนำนโยบายไปปฏิบัติตามทฤษฎีของ Van Meter และ Van Horn เพื่อสะท้อนภาพนโยบายในทางปฏิบัติกับปัจจัยต่าง ๆ ตามทฤษฎีฯ และผลลัพธ์ของนโยบาย งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดนโยบายและนำนโยบายดังกล่าวไปปฏิบัติ พร้อมด้วยการศึกษาจากการสังเกตจากการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม และการศึกษาวิเคราะห์เอกสารทุติยภูมิ ทั้งนี้ การศึกษาพบว่า ในการนำนโยบายไปปฏิบัติตามประกาศฯ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การค้นหาผู้เสพฯ การคัดกรองเพื่อเข้าสู่การบำบัด การบำบัดฟื้นฟู และการติดตามให้ความช่วยเหลือ โดยในทุกขั้นตอนล้วนมีอุปสรรคในการดำเนินงานทั้งหมด โดยขั้นตอนที่ดำเนินการได้ดีที่สุด คือการบำบัดฟื้นฟูฯ จากการจัดสรรทรัพยากร การกำหนดเป้าหมาย เจตนารมณ์ และแนวปฏิบัติละเอียดครบถ้วน มีข้อมูลวิชาการรองรับ ในขณะที่ การติดตามให้ความช่วยเหลือฯ ถือเป็นขั้นตอนที่ต้องปรับปรุงมากที่สุด จากการขาดการจัดสรรทรัพยากร และไม่มีการกำหนดบทบาทหรือแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่งส่งผลให้การประสานงานหรือการสื่อสารระหว่างหน่วยงานไม่มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับกลไกการติดตามและให้ความช่วยเหลือเพิ่มมากขึ้น เพื่อปรับสภาพแวดล้อมและช่วยเหลือผู้เสพไม่กลับสู่วงจรยาเสพติด นอกจากนี้ ในทางปฏิบัตินโยบายนี้ทำให้การเสพยาเสพติดไม่ถูกตีตราจากสังคมแต่อาจเปิดช่องให้เกิดการเสพซ้ำ จึงควรเพิ่มรายละเอียดในการคัดกรองผู้เสพยาเสพติด เพื่อจำแนกผู้เสพให้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูฯ และเฝ้าระวังอย่างเหมาะสม


การศึกษาการรับรู้มาตรฐานการปฏิบัติงาน เกณฑ์ และขอบเขตการประเมินระดับบุคคลของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป): กรณีศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิชชาพร สมมุติรัมย์ Jan 2021

การศึกษาการรับรู้มาตรฐานการปฏิบัติงาน เกณฑ์ และขอบเขตการประเมินระดับบุคคลของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป): กรณีศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิชชาพร สมมุติรัมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การรับรู้เรื่องมาตรฐานการปฏิบัติงาน เกณฑ์ และขอบเขตการประเมินของผู้รับการประเมินที่ถูกต้องจะทำให้การทำงานมีความสอดคล้องกับเป้าหมายและเป็นไปตามความคาดหวังขององค์การ งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้เรื่องมาตรฐานการปฏิบัติงาน เกณฑ์ และขอบเขตการประเมินระดับบุคคลของเจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป) ในสังกัดคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่ามีความสอดคล้องกับเอกสารประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานสายปฏิบัติการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้กำหนด รวมถึงการรับรู้ในเรื่องเดียวกันนี้ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กลุ่มดังกล่าวหรือไม่อย่างไร รูปแบบของการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างแล้วนำมาวิเคราะห์แก่นสาระ (thematic analysis) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 4 กลุ่ม จำนวนทั้งสิ้น 15 คนประกอบด้วย ผู้บริหารภารกิจงานบุคคลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 คน ผู้บริหารภารกิจงานบุคคลระดับคณะฯ 1 คน ผู้บริหารที่ประเมินผลการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป) คณะอักษรศาสตร์ 3 คน และกลุ่มบุคลากรที่ปฏิบัติงานตามสายปฏิบัติการตำแหน่งเจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป) ผู้ได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงาน 9 คน ข้อค้นพบในการศึกษาพบว่า การรับรู้เรื่องมาตรฐานการปฏิบัติงาน เกณฑ์ และขอบเขตการประเมินของเจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป) ในภาพรวมค่อนข้างมีความสอดคล้องกันกับเอกสารประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานสายปฏิบัติการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนด อย่างไรก็ตามยังมีเจ้าหน้าที่บางคนยังไม่เข้าใจเรื่องขอบเขตการประเมินผลการปฏิบัติงานในการให้ความหมายและความเข้าใจของงานด้านยุทธศาสตร์ ส่วนการรับรู้ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป) ทุกท่านมีการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเดียวกันนี้สอดคล้องกับระเบียบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1, ปัทมนันท์ โชติกิจเรืองชัย Jan 2021

แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1, ปัทมนันท์ โชติกิจเรืองชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 โดยศึกษาจากเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมาย 12 คน ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ปฏิบัติงานด้านการบริหารงบประมาณของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 และกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 ผลการศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดมาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 Hurdles ผู้วิจัยเลือกเฉพาะด้านการวางแผนงบประมาณ ด้านการจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ด้านการบริหารทางการเงินและควบคุมงบประมาณ และด้านการรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุการบริหารงบประมาณของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 พบว่าปัญหาที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ปัญหาด้านการบริหารจัดการองค์กร ที่เกี่ยวข้องกับคน การบูรณาการระหว่างหน่วยงาน และการบริหารความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ในระยะสั้น โดยการนำระบบการบริหารการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) มาพัฒนาบุคลากร การทำงานแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกกลุ่มจังหวัด บทบาทผู้นำที่เข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างใกล้ชิด ส่วนปัญหาด้านสถาบันทางการคลังที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างองค์กร กฎระเบียบ และการรวมอำนาจ ซึ่งมีหน่วยงานสำคัญที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และคณะอนุกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (อ.ก.บ.ภ.) ถูกกำหนดให้แก้ไขในระยะยาว โดยการแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงบประมาณให้ยืดหยุ่นและลดขั้นตอนการพิจารณา มีการกระจายอำนาจ ปรับโครงสร้างองค์กรของกลุ่มจังหวัด เพิ่มสวัสดิการแรงจูงใจในการทำงาน และนำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้านเอกสาร


ระดับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19และการกระจายผลประโยชน์ของโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4, ทอแสง จันทร์แสน Jan 2021

ระดับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19และการกระจายผลประโยชน์ของโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4, ทอแสง จันทร์แสน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการมุ่งศึกษา “ระดับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และการกระจายผลประโยชน์ของโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4” โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการกระจายผลประโยชน์ของโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 ว่ากระจายตัวอยู่ในกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ระดับใดมากที่สุด และศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของเหตุผลของการที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งระยะที่ 4 (สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ) ทัศนคติต่อโครงการคนละครึ่งระยะที่ 4 (สำหรับผู้ที่เข้าร่วมโครงการ) โดยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามการวิจัยแบบออนไลน์ ที่ได้จากการศึกษาทบทวนวรรณกรรม ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 412 ชุด และนำมาวิเคราะห์ผลโดย การใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน เครื่องมือการวิเคราะห์การกระจายผลประโยชน์ และวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์การวิจัยทั้ง 3 ข้อ พบว่า 1) การกระจายผลประโยชน์ของโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 กระจายตัวอยู่ในกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ระดับน้อยเป็นจำนวนมากที่สุด 2) การศึกษาเหตุผลของการที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งระยะที่ 4 พบว่า ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า “ตนเองไม่ต้องการหรือไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมโครงการ” 3) การศึกษาทัศนคติต่อโครงการคนละครึ่งระยะที่ 4 พบว่า ผู้ที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีทัศนคติไปในเชิงบวก ทั้งนี้ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยคือการนำผลการวิจัยไปปรับใช้ และปรับปรุงการดำเนินโครงการคนละครึ่งระยะต่อ ๆ ไป


ความคิดเห็นของพนักงานบริษัทจำกัด(มหาชน) ในกลุ่ม ปตท.ที่มีต่อกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เปรียบเทียบระหว่างบริษัทที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจกับเอกชน, ณัฐภาคย์ ภูปกรณ์เศรษฐ์ Jan 2021

ความคิดเห็นของพนักงานบริษัทจำกัด(มหาชน) ในกลุ่ม ปตท.ที่มีต่อกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เปรียบเทียบระหว่างบริษัทที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจกับเอกชน, ณัฐภาคย์ ภูปกรณ์เศรษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของพนักงานบริษัทจำกัด (มหาชน) ในกลุ่ม ปตท. ที่มีต่อกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง 2) เพื่อสำรวจปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความคิดเห็นเรื่องกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและ 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเรื่องกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างจากพนักงานบริษัทจำกัด (มหาชน) ในกลุ่ม ปตท.ระหว่างบริษัทที่มีสถานะรัฐวิสาหกิจกับเอกชน ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ใช้ระเบียบวิธิวิจัยเชิงผสมผสาน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 408 คน แล้วทำการวิเคราะห์ผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบ t-test และสถิติทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One Way-ANOVA) ในขณะที่การวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็ยบข้อมูลโดยเลือกจำนวน 6 คนจากรัฐวิสาหกิจ 3 คน และเอกชน 3 คน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมระดับความคิดเห็นต่อกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างฯของพนักงานบริษัทจำกัด (มหาชน) ในกลุ่ม ปตท. อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาระดับความคิดเห็นต่อกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างฯ ของพนักงานบริษัทจำกัด (มหาชน) ในกลุ่ม ปตท. ตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านสถานะของบริษัท สังกัดบริษัท หน่วยงานที่สังกัด ประสบการณ์ในการจัดซื้อจัดจ้าง ขนาดขององค์กร และปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านสื่อมวลชน และกลุ่มและสังคมที่เกี่ยวข้อง มีผลต่อระดับความคิดเห็นต่อกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างฯของพนักงานบริษัทจำกัด (มหาชน) ในกลุ่ม ปตท. ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับตำแหน่งงานและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ไม่มีผลต่อระดับความคิดเห็นต่อกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างฯของพนักงานบริษัทจำกัด (มหาชน) ในกลุ่ม ปตท. ในขณะที่ผลการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นไปในทิศทางเดียวกับการวิจัยเชิงปริมาณ โดยได้มีประเด็นที่ควรเพิ่มเติม คือ 1) กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างควรอยู่ในรูปแบบออนไลน์ 2) ทิศทางในอนาคตของการจัดซื้อจัดจ้างต้องลดขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินงาน และ 3) ผู้นำส่งผลต่อการจัดซื้อจัดจ้าง ผลจากการเปรียบเทียบคิดเห็นเรื่องกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างจากพนักงานบริษัทจำกัด (มหาชน) ในกลุ่ม ปตท.ระหว่างบริษัทที่มีสถานะรัฐวิสาหกิจกับเอกชน จำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มรัฐวิสาหกิจและเอกชนมีความคิดเห็นแตกต่างกัน ได้แก่ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเป็นระบบ มีแบบแผนในการทำงาน และ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างควรมีความร่วมมือกันระหว่างฝ่ายงานต่าง ๆ ในองค์กร 2) กลุ่มรัฐวิสาหกิจและเอกชนมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ได้แก่ …


การศึกษาข้อจำกัดในการสร้างรายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, เสกสรรค์ นามบัวศรี Jan 2021

การศึกษาข้อจำกัดในการสร้างรายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, เสกสรรค์ นามบัวศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาข้อจำกัดในการสร้างรายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างรายได้ของรัฐวิสาหกิจ ข้อจำกัดในการสร้างรายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ของ รฟม. และเสนอแนวทางการพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อเพิ่มรายได้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์บุคลากรของ รฟม. พบว่า การสร้างรายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ของ รฟม. มีข้อจำกัดแบ่งเป็น ข้อจำกัดด้านกฎหมาย ได้แก่ การใช้ประโยชน์จากที่ดินของโครงการรถไฟฟ้าซึ่งได้จากการเวนคืนที่ดิน พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 มาตรา 75 (6) ซึ่งกำหนดให้การให้เช่าหรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีมูลค่าเกินสิบล้านบาทต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินการได้ การกำหนดรูปแบบการลงทุนและการแบ่งผลตอบแทน และการกำกับดูแลจากหน่วยงานภายนอก สำหรับข้อจำกัดที่ไม่ใช่กฎหมาย ได้แก่ วิสัยทัศน์ผู้บริหารระดับสูงของ รฟม. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงธุรกิจ และการสร้างความร่วมมือระหว่างส่วนงานภายในองค์การ ข้อเสนอแนะในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นโดยการพัฒนาเชิงพาณิชย์ในบริเวณโครงการรถไฟฟ้า (Transit-Oriented Development: TOD) การปรับกฎหมายที่เป็นข้อจำกัดของการใช้ที่ดินเพื่อการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ทบทวนการแบ่งผลตอบแทนจากการลงทุนเมื่อรับรู้รายได้มากขึ้น พัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงธุรกิจ และเร่งรัดการเชื่อมต่อระหว่างโครงการรถไฟฟ้ากับระบบขนส่งสาธารณะอื่น


ภาวะผู้นำของสตรีในบทบาทการบริหารสถานศึกษา ระดับโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม, พิชญา พรหมเจริญ Jan 2021

ภาวะผู้นำของสตรีในบทบาทการบริหารสถานศึกษา ระดับโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม, พิชญา พรหมเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของสตรีในบทบาทการบริหารสถานศึกษาในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และแนวทางการพัฒนาบทบาทสตรีต่อการบริหารจัดการการศึกษาและแก้ไขปัญหาและความท้าทายต่างๆ ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth-Interview) และกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาสตรี ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 ท่าน และ ผู้บริหารสถานศึกษาผู้ชายในสังกัดและพื้นที่เดียวกัน จำนวน 2 ท่าน ผู้ใต้บังคับบัญชา จำนวน 10 ท่าน และ ผู้บังคับบัญชาในพื้นที่ จำนวน 1 ท่าน โดยมีการศึกษาภาวะผู้นำ สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามเกณฑ์การประเมินของคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) และบทบาทสตรีและความท้าทาย ผลการศึกษาพบว่าผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีคุณลักษณะส่วนบุคคลที่มีภาวะผู้นำ โดยมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม มีความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้นำในการทำงาน มีการสร้างแรงจูงใจ โน้มน้าวจิตใจ และมอบหมายงานที่เหมาะสมกับความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา ในด้านคุณลักษณะด้านจิตสังคม ผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมมีการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ และการบริหารแบบมีมีส่วนร่วม นอกจากนี้เมื่อพิจารณาตามสมรรถนะของสำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (กคศ.) พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีการบริการที่ดี พัฒนาศักยภาพบุคลากร พัฒนาตนเอง และทำงานเป็นทีมได้ การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ โดยมีการวิเคราะห์ปัญหาและมีการสังเคราะห์แนวคิดหรือวิธีการแก้ไขปัญหา ในด้านบทบาทสตรีและความท้าทาย พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาสตรีกลุ่มตัวอย่างได้รับการยอมรับในความสามารถในการทำงานแต่ไม่สามารถที่จะทำหน้าที่ได้เต็มที่ในบทบาททางครอบครัว ไม่มีเวลามากพอในการดูแลครอบครัวเนื่องจากทุ่มเทเวลาให้กับงานบริหารสถานศึกษาจนขาดความสมดุลกัน ผลการศึกษายังพบว่าคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีที่สามารถพัฒนาได้เพิ่มเติมขึ้นได้แก่การเป็นผู้นำทางอารมณ์ และการมีวิสัยทัศน์ในการมองภาพรวมขององค์กรให้ชัดเจนและการมีความเด็ดขาดในการบริหารสถานศึกษา


การใช้ทฤษฎีสะกิดในการวิเคราะห์รูปแบบและเนื้อหาเกี่ยวกับโควิด 19 ในแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์และทัศนคติของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นัทธี สุวรรณจินดา Jan 2021

การใช้ทฤษฎีสะกิดในการวิเคราะห์รูปแบบและเนื้อหาเกี่ยวกับโควิด 19 ในแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์และทัศนคติของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นัทธี สุวรรณจินดา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1.) รูปแบบและเนื้อหาเพื่อการสื่อสารเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 ของแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ในกรอบของทฤษฎีสะกิด 2.) ทัศนคติของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ ในฐานะเครื่องมือสื่อสารในการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจฉีดวัคซีนโควิด 19 โดยเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก กับบุคคล 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้พัฒนาและออกแบบแอปพลิเคชัน และ กลุ่มผู้ใช้งานแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ ซึ่งใช้งานแอปพลิเคชันยูเน็กซ์และเข้าถึงประกาศและข่าวสารประชาสัมพันธ์ผ่านแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบและเนื้อหาเพื่อการสื่อสารของแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ 1) รูปแบบในการสื่อสารที่ปรากฎ ประกอบด้วย 1.1) ข่าวสารและประชาสัมพันธ์ คือ Icon และ Banner ที่ภาพประกอบกับเนื้อหาข้อความ 1.2) การแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ 2) เนื้อหา ประกอบด้วย 2.1) ข้อมูลที่เป็นเนื้อหาส่งโดยตรงจากส่วนกลางทั้งหมดจากกิจการนิสิตแต่ละคณะ 2.2) เนื้อหาที่ส่งผ่าน CU NEX Club 2.3) เนื้อหาที่มีการย่อยทำให้เข้าใจง่ายและเป็นกันเองกับผู้ใช้งาน พบว่าการสะกิดกระตุ้นให้นิสิตจุฬาลงกรณ์เข้ารับบริการฉีดวัคซีนผ่านแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์เป็นในทางที่คาดหวังได้โดยไม่มีการบังคับ 2. ทัศนคติต่อแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ ในฐานะเครื่องมือสื่อสารในการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจฉีดวัคซีนโควิด 19 พบว่า 1) ก่อนการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนผ่านแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์มีความกังวลใจเกี่ยวกับข้อมูลของการฉีดวัคซีน และส่วนใหญ่ไม่กังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายวัคซีนที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากมองว่าเป็นสิทธิ์พื้นฐานที่ควรได้รับ แต่จะมีความกังวลเกี่ยวกับปฏิกิริยาอาการหลังฉีดวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย 2) ด้านทัศนคติต่อแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ 2.1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับความง่ายและสะดวกต่อการจองวัคซีนในแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ส่วนใหญ่พบว่า แอปพลิเคชันซียูเน็กซ์สามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีความสะดวก รวดเร็ว มีข่าวสารและรายละเอียดการลงทะเบียนและการรับวัคซีนครบถ้วน และง่ายต่อการใช้งาน 2.2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานที่ที่จัดให้บริการรับวัคซีนจากการโดยเลือกในแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ ส่วนใหญ่เห็นว่า เป็นสถานที่ที่มีความสะดวก และคุ้นเคยกับตัวนิสิต ไม่ต้องเดินทางไปสถานที่อื่น 2.3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการของแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ ส่วนใหญ่เห็นว่า เป็นบริการที่ดีที่สามารถเป็นตัวกลางระหว่างมหาวิทยาลัยกับนิสิต รวมไปถึงหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีความรวดเร็วในการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์เรื่องราวต่างๆ ที่จำเป็น 2.4) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้คำแนะนำในแอปพลิเคชันซียูเน็กซ์ ส่วนใหญ่เห็นว่า มีความน่าเชื่อถือ และเป็นตัวกลางในการนำเสนอข้อมูล อย่างไรก็ตามควรมีการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนของ เพิ่มลิงก์ การเข้าถึงช่องทางต่างๆ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน รวมถึงแจ้งเตือนถึงวันที่เริ่มฉีด-นับถอยหลังก่อนหมดเขตการฉีดวัคซีน


การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในองค์กร การดูดซับความรู้ในเรื่องโควิด-19 และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ของพนักงานบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธาม เหลืองสุขโสภณ Jan 2021

การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในองค์กร การดูดซับความรู้ในเรื่องโควิด-19 และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ของพนักงานบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธาม เหลืองสุขโสภณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1.) การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในองค์กรของพนักงานบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 2.) การดูดซับความรู้ในเรื่องโควิด-19 ของพนักงานบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 3.) พฤติกรรมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ของพนักงานบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 4.) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในองค์กร กับการดูดซับความรู้ และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยการศึกษาดังกล่าวใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ทำการเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 210 ชุด จากกลุ่มตัวอย่างพนักงานบริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ที่เป็นพนักงานประจำ โดยมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการลูกค้า ปฏิบัติงาน ณ พื้นที่สาขาของธนาคารมาแล้วระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ซึ่งผลการวิจัย พบว่า 1.) กลุ่มตัวอย่างมีการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในองค์กรโดยรวมในระดับเป็นประจำ 2.) กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการเรียนรู้ในเรื่องโควิด-19 โดยรวมในระดับสูงมาก 3.) พฤติกรรมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยรวมในระดับทำอยู่บ่อย ๆ และ 4.) การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในองค์กร มีความสัมพันธ์กับการดูดซับความรู้ในเรื่องโควิด-19 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับสูง ส่วนการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในองค์กร มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ และการดูดซับความรู้ในเรื่องโควิด-19 มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ


การสื่อสารเพื่อบริหารความสัมพันธ์และความผูกพันของแฟนเพลงกับศิลปินวงพาราด็อกซ์ (Paradox), จารุกุล สงวนไทร Jan 2021

การสื่อสารเพื่อบริหารความสัมพันธ์และความผูกพันของแฟนเพลงกับศิลปินวงพาราด็อกซ์ (Paradox), จารุกุล สงวนไทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อบริหารความสัมพันธ์กับแฟนเพลงของศิลปินวงพาราด็อกซ์ 2) เพื่อศึกษาความผูกพันของแฟนเพลงที่มีต่อการสื่อสารเพื่อบริหารความสัมพันธ์ของศิลปินวงพาราด็อกซ์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการศึกษาซึ่งประกอบไปด้วย 2 วิธี ดังนี้ 1.การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับตัวแทนศิลปินวงพาราด็อกซ์ (Paradox) จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ นายอิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา (นักร้องนำ), นาย จักรพงศ์ สิริริน (มือเบส) 2.การสนทนาแบบกลุ่ม (Focus Group) กับแฟนเพลงวงพาราด็อกซ์ จำนวน 6 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ และผู้วิจัยได้หาข้อมูลเพิ่มเติมบนออนไลน์ มาศึกษาประกอบการวิจัยในครั้งนี้ ผลการศึกษา พบว่าความผูกพันและความเป็นแฟน (Fans) ของแฟนเพลงวงพาราด็อกซ์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการติดตามหรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสื่อสาร เพื่อบริหารความสัมพันธ์ของศิลปินซึ่งสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าแฟนเพลงจะติดตามศิลปินได้ยาวนานคือการสื่อสารที่สะท้อนจากอัตลักษณ์ และตัวตนของศิลปินเองที่มีความอินดี้แตกต่างไม่เหมือนใคร ความแปลกของวงเป็นส่วนที่ช่วยให้การสื่อสารเพื่อบริหารความสัมพันธ์กับแฟนเพลงออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งศิลปินมีการวางแบบแผนแนวทางในการสื่อสารในแต่ละยุคตลอดระยะเวลา 25 ปีมีการพัฒนาการสื่อสารให้เป็นไปตามบริบทและเทคโนโลยีของช่วงเวลานั้น ๆ และสื่อสารไปยังแฟนเพลงแต่ละกลุ่ม ส่งผลให้แฟนเพลงของวงพาราด็อกซ์ยอมรับและเคารพในตัวตนของวง ตลอดจนความเป็นกันเองที่แฟนเพลงมองว่าสามารถเข้าถึงได้ที่ทำให้แฟนเพลงยังคงติดตามศิลปินวงพาราด็อกซ์ต่อไปในระยะยาว


การเปิดรับ ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ในภาพยนตร์โฆษณาที่นําเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบางของผู้บริโภค, นสวรรณร์ โพธิ์สุวรรณ์ Jan 2021

การเปิดรับ ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ในภาพยนตร์โฆษณาที่นําเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบางของผู้บริโภค, นสวรรณร์ โพธิ์สุวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสำรวจการเปิดรับ ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ในภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบางของผู้บริโภค 2) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับ ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ในภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบางของผู้บริโภค โดยเป็นการวิจัยนำร่องเชิงปริมาณ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ และมีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 18 – 60 ปีขึ้นไป จำนวน 200 คน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเปิดรับภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบางผ่านช่องทางต่าง ๆ รวมอยู่ในระดับเปิดรับเป็นบางครั้ง โดยเปิดรับทั้งในช่องทางสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่ กลุ่มตัวอย่างมีภาพลักษณ์ตราสินค้าที่นำเสนอผ่านภาพยนตร์โฆษณาเกี่ยวกับประเด็นกลุ่มเปราะบางโดยรวมอยู่ในระดับภาพลักษณ์เป็นกลาง และกลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจซื้อตราสินค้าที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบางโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) การเปิดรับภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบาง มีความสัมพันธ์กับ ภาพลักษณ์ตราสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับต่ำ ในทิศทางแปรตามกัน 2) การเปิดรับภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบาง มีความสัมพันธ์กับ ความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับต่ำ ในทิศทางแปรตามกัน 3) ภาพลักษณ์ตราสินค้าในภาพยนตร์โฆษณาที่นำเสนอประเด็นกลุ่มเปราะบาง มีความสัมพันธ์กับ ความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับค่อนข้างสูง ในทิศทางแปรตามกัน


ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อศิลปินและการมีส่วนร่วมของผู้ใช้แอปพลิเคชัน Joox, ณัฏฐวี ชนะพันธ์ Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อศิลปินและการมีส่วนร่วมของผู้ใช้แอปพลิเคชัน Joox, ณัฏฐวี ชนะพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อศิลปินและการมีส่วนร่วมของผู้ใช้แอปพลิเคชัน JOOX มีตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ (ความผูกพันทางการเงิน, ความผูกพันทางสังคม, ความผูกพันทางโครงสร้าง) ความรู้สึกทางอารมณ์ (ต่อศิลปิน, ต่อแอพพลิเคชัน JOOX)และการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคที่เคยใช้แอพพลิเคชัน JOOX กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรเพศชายและเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ที่เคยใช้แอพพลิเคชั่น JOOX สาเหตุที่เลือกกลุ่มประชากรนี้ เนื่องจากคนที่เคยใช้แอพพลิเคชั่น JOOXเท่านั้นถึงจะทราบได้อย่างแท้จริงว่าปัจจัยใดที่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ได้ จำนวน 205 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อศิลปินและการมีส่วนร่วมของผู้ใช้แอปพลิเคชัน JOOX โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่า ทุกด้านมีทิศทางแปรผันตามกัน โดยที่ค่าความผูกพันด้านความรู้สึกต่อแอปพลิเคชั่น JOOX มีค่ามากที่สุดอยู่ที่ 0.803 และความผูกพันพันด้านความรู้สึกต่อศิลปินมีค่าน้อยที่สุดอยู่ที่ 0.423 เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดพบว่าความผูกพันโดยรวมมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ และความผูกพันที่เกิดจากแอปพลิเคชั่นเป็นตัวกำหนดให้ผู้ฟังเลือกฟังเพลงมากกว่าศิลปิน


อิทธิพลของการเปิดรับสื่อและการยอมรับนวัตกรรมนาฬิกาเพื่อสุขภาพ ที่มีต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ, ชาญณรงค์ ธีระโรจนารัตน์ Jan 2021

อิทธิพลของการเปิดรับสื่อและการยอมรับนวัตกรรมนาฬิกาเพื่อสุขภาพ ที่มีต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ, ชาญณรงค์ ธีระโรจนารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยนำร่องที่มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายอิทธิพลของการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความสนใจนวัตกรรมส่วนบุคคล และการยอมรับนวัตกรรมในด้านการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งาน การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน และอิทธิพลของกลุ่มและสังคม ที่มีต่อความตั้งใจซื้อนาฬิกาเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคที่กำลังจะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยมีกลุ่มตัวอย่าง 200 คน ใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า การเปิดรับข้อมูลข่าวสารนวัตกรรมนาฬิกาเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคที่กำลังจะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง ระดับความสนใจนวัตกรรมส่วนบุคคล และระดับการยอมรับนวัตกรรมโดยรวมอยู่ในระดับสูง มีความตั้งใจซื้อนาฬิกาเพื่อสุขภาพในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การรับรู้ประโยชน์การใช้งาน (ฺBeta = 0.398) ความสนใจนวัตกรรมส่วนบุคคล (Beta = 0.313) อิทธิพลจากกลุ่มและสังคม (Beta = 0.162) และการรับรู้ความง่ายของการใช้งาน (Beta = 0.148) มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อโดยรวม โดยตัวแปรอิสระสามารถอธิบายอิทธิพลต่อตัวแปรตามได้ร้อยละ 61.4 (R2 = 0.614)


อิทธิพลของการเปิดรับการสื่อสารแบบบอกต่อออนไลน์ การรับรู้ความเสี่ยงและการตระหนักต่อ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค, วรวุฒิ ชูมณี Jan 2021

อิทธิพลของการเปิดรับการสื่อสารแบบบอกต่อออนไลน์ การรับรู้ความเสี่ยงและการตระหนักต่อ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค, วรวุฒิ ชูมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของการเปิดรับการสื่อสารแบบบอกต่อออนไลน์ การรับรู้ความเสี่ยงในด้านการเงิน ด้านประสิทธิภาพ ด้านจิตวิทยา และการตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ของผู้บริโภค โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มีเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า และอยู่ในช่วงอายุที่มีกำลังซื้อ ระหว่าง 35-60 ปี จำนวนทั้งสิ้น 200 ตัวอย่าง ผลการวิจัยที่ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression) แบบ Stepwise สรุปได้ว่า การรับรู้ความเสี่ยงด้านการเงิน การรับรู้ความเสี่ยงด้านจิตวิทยา การเปิดรับการสื่อสารแบบบอกต่อออนไลน์ และ การตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ 4 ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ของผู้บริโภคมากที่สุดตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 26.1 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยจากผลการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำเสนอแบบจำลองเส้นทางการหาข้อมูลในการซื้อรถยนต์แบตเตอรี่ไฟฟ้าของผู้บริโภคเพื่อเป็นแนวทางในการการออกแบบการสื่อสารของรถยนต์แบตเตอรี่ไฟฟ้า โดยในด้านของผู้ส่งสาร ควรสื่อสารผ่านกลุ่มผู้มีอิทธิพลทางความคิดในวงการรถยนต์ ในขณะที่ผู้บริโภคจะเข้าถึงข้อมูลจากเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลอย่างกูเกิ้ล และยูทูบ โดยมีจุดดึงดูดสารอยู่ที่ข้อมูลที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกมั่นใจและไม่กังวลว่าจะมีความเสี่ยงในการซื้อเกิดขึ้น เช่น ความคุ้มค่าทางการเงิน และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม