Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1321 - 1350 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ (E-Project) กรณีศึกษา กรมศุลกากร, พิยวรรณ สุภัททธรรม Jan 2021

การศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ (E-Project) กรณีศึกษา กรมศุลกากร, พิยวรรณ สุภัททธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ (e-Project) ของกรมศุลกากร และเพื่อรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ (e-Project) ของกรมศุลกากร โดยใช้วิธีการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและกลุ่มตัวอย่าง มีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้วยการใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการศึกษาพบว่า ระบบติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ (e-Project) ของกรมศุลกากร เป็นระบบงานที่ใช้ในการบริหารจัดการ ตรวจสอบติดตามการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกรมศุลกากร โดยระบบนี้ได้มีการใช้งานมามากกว่า 10 ปี และมีข้อจำกัดในการใช้งานบางประการ จากการสอบถามความพึงพอใจที่กลุ่มตัวอย่างมีต่อระบบติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ (e-Project) ของกรมศุลกากร สามารถสรุปได้ว่า มีผลความพึงพอใจอยู่ที่ระดับปานกลาง ยกเว้นเพียงด้านซอฟต์แวร์ ที่มีผลความพึงพอใจอยู่ที่ระดับน้อย ปัญหาและอุปสรรคของระบบติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ (e-Project) ของกรมศุลกากร ที่พบมากที่สุดคือเรื่อง ซอฟต์แวร์ ซึ่งหากมีโอกาสในการพัฒนาระบบต่อไป ควรต้องให้ความสำคัญในการดำเนินการพัฒนา แก้ไข และปรับปรุงเป็นส่วนแรก แนวทางการพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ (e-Project) ของกรมศุลกากร ควรมีการพัฒนาโดยการใช้บริการจากแหล่งภายนอก (Outsourcing) ที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบ มีความน่าเชื่อถือ สำหรับการเชื่อมโยงกันระหว่างระบบติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ (e-Project) ของกรมศุลกากร และระบบ eMENSCR ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่า มีโอกาสมาก เพราะมีอยู่ในแผนงานของทาง สศช. ด้วยระเบียบว่าด้วยการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2562 เมื่อระบบ eMENSCR เปิดให้เชื่อมโยงข้อมูลได้ กรมศุลกากรควรพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ (e-Project) ให้เชื่อมโยงกัน


ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมจากโครงการชุมชนท่องเที่ยว Otop นวัตวิถี: กรณีศึกษา หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ บ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จ.เลย, สโรบล มนตรีรักษ์ Jan 2021

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมจากโครงการชุมชนท่องเที่ยว Otop นวัตวิถี: กรณีศึกษา หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ บ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จ.เลย, สโรบล มนตรีรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบคำถามวิจัยที่ว่า โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ส่งผลกระทบอย่างไรต่อเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของชุมชนไทดำบ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ OTOP นวัตวิถีในพื้นที่หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ จำนวนรวม 8 คน งานวิจัยพบว่า ชาวไทดำมีการบริหารจัดการทางวัฒนธรรมอยู่แล้วก่อนการเข้ามาของโครงการ OTOP นวัตวิถี เช่น การรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 3 กลุ่ม การทำที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวในลักษณะโฮมสเตย์ เป็นต้น ดังนั้นโครงการ OTOP นวัตวิถีจึงส่งผลให้มีการเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็งขึ้น เพิ่มรายได้ ด้านผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมการดำเนินโครงการ OTOP นวัตวิถีทำให้เกิดการส่งเสริมทำให้เกิดการจัดตั้งองค์กรทางเศรษฐกิจใหม่ภายในชุมชนไทดำ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในลักษณะของการให้วัตถุดิบในการผลิต และการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนเป็นที่รู้จักมากขึ้นทั้งทางสื่อออนไลน์และออฟไลน์ ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากรายได้จากการทำการเกษตร ส่งผลให้โครงสร้างของการบริหารจัดการที่เป็นระเบียบมากขึ้น มีการพัฒนาเกี่ยวกับการให้บริการนักท่องเที่ยว การแสดง การบริการอาหารและที่พัก เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกัน การมีผลประโยชน์เข้ามาในชุมชนก็ทำให้เกิดการแบ่งกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้น เกิดความขัดแย้งจากการกระจายผลประโยชน์ไม่ทั่วถึงในชุมชน ทำให้เกิดผลกระทบทางลบด้านสังคมขึ้นภายในชุมชน สำหรับผลกระทบด้านวัฒนธรรม งานวิจัยพบว่าชาวไทดำส่วนใหญ่เห็นว่า OTOP นวัตวิถีได้ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อวัฒนธรรมไทดำในแง่ที่ทำให้พวกเขาเกิดความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของตนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม มีผู้เห็นว่า OTOP นวัตวิถีมีผลกระทบทางลบในแง่การนำสินค้าที่ผลิตจากภายนอกมาสร้างแบรนด์ไทดำทั้งที่ไม่ได้มีเกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์หรือวิถีชีวิตของชาวไทดำ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนเข้ามามากขึ้น


การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการในสภาวะวิกฤตภัยแล้ง : กรณีศึกษาจังหวัดระยอง, ปิยนุช สถาวร Jan 2021

การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการในสภาวะวิกฤตภัยแล้ง : กรณีศึกษาจังหวัดระยอง, ปิยนุช สถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยเกิดภัยพิบัติด้านน้ำบ่อยครั้ง อันมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและจากฝีมือมนุษย์ สร้างความเสียหายต่อประชาชนและระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ระดับความรุนแรงอาจจะต้องคำนวณจากความสัมพันธ์ของปริมาณน้ำต้นทุน (Supply) และปริมาณความต้องการใช้น้ำ (Demand) กรมชลประทานได้ชี้ว่า สถานการณ์ภัยแล้งในปี 2563 มีสาเหตุจากปรากฎการณ์เอลนีโญ (El Niño) ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 - 2562 ทำให้ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปีอยู่ที่ร้อยละ 16 ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศลดน้อยลง โดยมีความรุนแรงมากเป็นอันดับสองในรอบ 40 ปี นับตั้งแต่ปี 2522 จนถึงปัจจุบัน สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งรวมถึงพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ประกอบด้วย 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยองได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำมีระดับความรุนแรงสูงสุดในรอบ 14 ปี ในจังหวัดระยองมีอ่างเก็บน้ำที่สำคัญจำนวน 5 อ่างฯ ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2562 ปริมาณน้ำคงเหลือทั้ง 5 อ่างฯ มีปริมาณคงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 50 นับว่าเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ และหากฤดูฝนในปี 2563 ล่าช้าออกไปจนถึงเดือนพฤษภาคม จะให้เกิดการขาดแคลนน้ำอย่างหนักจนกระทบต่อหลายพื้นที่ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะหรือรูปแบบการดำเนินการของภาครัฐและผู้ใช้น้ำในสถานการณ์วิกฤต ศึกษาระดับความร่วมมือระหว่างภาครัฐและผู้ใช้น้ำในสถานการณ์วิกฤต อีกทั้งเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการน้ำในสถานการณ์วิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำในสภาวะวิกฤตภัยแล้ง ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารภาครัฐและผู้ใช้น้ำที่เกี่ยวข้อง โดยผลการศึกษามาตรการในการบริหารจัดการน้ำในสภาวะวิกฤตภัยแล้ง จังหวัดระยอง มีลักษณะความร่วมมือระหว่างภาครัฐและผู้ใช้น้ำ ตั้งแต่ระยะก่อนเกิดภาวะวิกฤต ระยะเกิดภาวะวิกฤต และระยะหลังเกิดภาวะวิกฤต ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา ด้านความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำระหว่างภาครัฐและตัวแทนผู้ใช้น้ำภาคอุปโภคบริโภค และตัวแทนผู้ใช้น้ำภาคอุตสาหกรรม มีการร่วมกันพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม ในขณะเดียวกันผู้ใช้น้ำภาคเกษตรหรือกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานยังมีบทบาทน้อยเกินไป การแก้ปัญหาด้านการจัดการน้ำแบบบูรณาการที่แท้จริง ต้องประกอบไปด้วยผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่มีทั้งส่วนได้และส่วนเสีย เข้าร่วมทุกองค์ประกอบของกิจกรรม อันจะนำมาซึ่งความโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาลอย่างยั่งยืน


แนวทางพัฒนาระบบบริหารผลการปฏิบัติงานกรณีศึกษา กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, ชีวภัทร์ สวิงสุวรรณ Jan 2021

แนวทางพัฒนาระบบบริหารผลการปฏิบัติงานกรณีศึกษา กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, ชีวภัทร์ สวิงสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวทางการบริหารผลการปฏิบัติงานของกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และนำเสนอ หรือเสนอแนะแนวทางพัฒนาระบบบริหารผลการปฏิบัติงานของกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาปรับปรุงและต่อยอดการบริหารผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรือสามารถพิจารณานำแนวทางดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานอื่น ๆ ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยต่อไป โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In – Depth -Interview) แบบกึ่งโครงสร้าง โดยผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงมหาดไทยที่รับผิดชอบกำกับดูแลด้านการบริหาร ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ผู้อำนวยการกลุ่มงานต่าง ๆ ข้าราชการผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ. ผลการศึกษาพบว่า กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์และแนวทางของสำนักงาน ก.พ. มาตามลำดับ โดยได้เสนอให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยพิจารณาออกประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยให้มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และแนวทางของสำนักงาน ก.พ. ที่แจ้งให้ส่วนราชการต่าง ๆ ยืดถือเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นปัจจุบัน เพื่อให้ระบบบริหารผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย รวมถึงการประเมินผลการปฏิบัติราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ใช้มาตรฐานการดำเนินงานอย่างเดียวกัน และสอดคล้องกับเป้าหมายของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งการพัฒนาระบบบริหารผลการปฏิบัติงานของกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยเอง มีจุดเด่น จุดที่ควรปรับปรุง ปัญหาและอุปสรรคในขั้นตอนต่าง ๆ ของระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน ดังนั้น การพัฒนาระบบบริหารผลการปฏิบัติงานจะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางดำเนินการต่าง ๆ ร่วมกัน จึงจะทำให้การประเมินผลการปฏิบัติงานสะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด


การพัฒนาบุคลากรและการจัดการความรู้ภายในองค์กรสำหรับข้าราชการบรรจุใหม่ ข้าราชการย้าย ของกองตรวจสอบอากร กรมศุลกากร, ทัศน์วรรณ ปัญญาอินทร์ Jan 2021

การพัฒนาบุคลากรและการจัดการความรู้ภายในองค์กรสำหรับข้าราชการบรรจุใหม่ ข้าราชการย้าย ของกองตรวจสอบอากร กรมศุลกากร, ทัศน์วรรณ ปัญญาอินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษาเรื่อง “การพัฒนาบุคลากรและการจัดการความรู้ภายในองค์กรสำหรับข้าราชการบรรจุใหม่ ข้าราชการย้าย กองตรวจสอบอากร กรมศุลกากร” มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาบุคลากรและการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการปฏิบัติงาน 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบพัฒนาบุคลากรบรรจุใหม่และการบริหารองค์ความรู้ภายในองค์กร 3) เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาบุคลากรและการบริหารจัดการองค์ความรู้ภายในองค์กรที่เหมาะสม สำหรับนักวิชาการศุลกากรบรรจุใหม่และย้าย โดยเป็นการวิจัยเชิงผสมใช้การดำเนินการวิจัย 2 รูปแบบ ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการใช้แบบสอบถามออนไลน์จำนวน 56 แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกผ่านกลุ่มตัวอย่างที่ถูกเลือกแบบเจาะจงจากนักวิชาการศุลกากรกองตรวจสอบอากร จำนวน 9 คน ผลการศึกษา พบว่า 1) องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานในกองตรวจสอบอากรยากในการถ่ายทอดให้ครบถ้วนในเวลาอันสั้น นอกจากนั้น บรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กรไม่เอื้อประโยชน์ต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) ประสิทธิภาพของระบบพัฒนาบุคลากรบรรจุใหม่อยู่ในระดับที่มีความเพียงพอในระดับหนึ่ง แต่ยังคงต้องมีการพัฒนา และ 3) องค์กรควรพัฒนาและออกแบบหลักสูตรการอบรมให้สอดคล้องกับหน่วยงานที่ผู้เรียนบรรจุ ควรมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมวัฒนธรรมองค์กรให้เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมทั้งมีการพัฒนาบุคลากรโดยอาศัยรูปแบบการเป็นพี่เลี้ยงที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น


ทัศนคติของบุคลากรบริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งหนึ่งในการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กรณีศึกษา : บุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล, สินชัย สุริยงค์ Jan 2021

ทัศนคติของบุคลากรบริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งหนึ่งในการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กรณีศึกษา : บุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล, สินชัย สุริยงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์เรื่อง “ทัศนคติของบุคลากรบริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งหนึ่งในการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 กรณีศึกษา : บุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล” เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสำรวจความพึงพอใจในการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และ 3) ศึกษาถึงประโยชน์ และข้อจำกัด เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 290 คน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพ ลักษณะงานที่ปฏิบัติ และภูมิลำเนา แตกต่างกันมีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 2) ปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา และภูมิลำเนา แตกต่างกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และ 3) บุคลากรส่วนใหญ่เห็นว่าการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีประโยชน์หรือมีความพึงพอใจในเรื่องของการประหยัดเวลาในการเดินทาง การประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ เช่น ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน ค่าเครื่องแต่งกาย ฯ และการได้ใช้เวลาร่วมกับคนในครอบครัวมากขึ้น อย่างไรก็ตามก็เห็นว่า การสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานและ/หรือผู้บังคับบัญชาลดน้อยลง ไม่สามารถแยกเวลาปฏิบัติงานกับเวลาส่วนตัวได้ และปัญหาความเครียด เป็นข้อจำกัดหรือความท้าทายที่บุคลากรส่วนใหญ่ต้องเผชิญ


การรักษาพนักงานสอบสวนหญิงให้อยู่ในตำแหน่งงานกรณีศึกษา : พนักงานสอบสวนหญิงที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล, ภูวไนย อินจาด Jan 2021

การรักษาพนักงานสอบสวนหญิงให้อยู่ในตำแหน่งงานกรณีศึกษา : พนักงานสอบสวนหญิงที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล, ภูวไนย อินจาด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตำแหน่งพนักงานสอบสวนหญิงนั้นถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญในกระบวนการสอบสวน ในคดีที่ผู้เสียหายเป็น เด็ก สตรี เมื่อตรวจสอบจำนวนนั้นของพนักงานสอบสวนหญิงดูแล้วนั้นพบว่ามีน้อยมากเมื่อเทียบประชากรในปัจจุบัน ยิ่งในกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวงมีประชากรที่หนาแน่น มีอัตราการเกิดคดีต่างๆ สูงขึ้นตามจำนวนของประชากร การเปิดรับสมัครพนักงานสอบสวนก็ไม่ได้เปิดรับเป็นประจำทุกปี เมื่อมีการเปิดรับสมัครเข้ามาแล้วพนักงานสอบสวนหญิงก็ต้องผ่านกระบวนการฝึกอบรมโดยใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี จึงจะสามารถมาปฏิบัติงานจริงในสถานีตำรวจได้ ซึ่งเมื่อมาปฏิบัติงานจริงในตำแหน่งพนักงานสอบสวนแล้วหากเกิดปัญหา และปัญหาไม่ได้ถูกนำไปแก้ไข ถ้าพนักงานสอบสวนหญิงตัดสินใจที่ลาออก ก็จะทำให้จำนวนของพนักงานสอบสวนหญิงซึ่งมีจำนวนที่น้อยอยู่แล้วนั้นลดน้อยลงไปอีก การวิจัยเรื่องการรักษาพนักงานสอบสวนหญิงให้อยู่ในตำแหน่งงาน กรณีศึกษา : พนักงานสอบสวนหญิงที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล จึงสนใจที่จะศึกษาการรักษาพนักงานสอบสวนให้อยู่ในตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อไป การวิจัย มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนหญิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และแนวทางในการแก้ไขปัญหาและความท้าทายที่พนักงานสอบสวนหญิงเผชิญรวมถึงแนวทางรักษาพนักงานสอบสวนหญิงในตำแหน่ง การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยให้ผู้สัมภาษณ์คือ พนักงานสอบสวนหญิงที่ปฏิบัติหน้าที่จริงในปัจจุบัน เพื่อนร่วมงานของพนักงานสอบสวนหญิง และ ผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนหญิง ในพื้นที่ 4 สถานีตำรวจของกองบัญชาตำรวจนครบาลได้แก่ สถานีตำรวจนครบาลสายไหม สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร และ สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่และอุปสรรคที่พบในการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนหญิงคือ การปรับใช้ความรู้ในการปฏิบัติงาน ปริมาณงานที่ตนเองรับผิดชอบ ความเครียดและความกดดันจากการทำงาน การขาดการสนับสนุนในการทำงาน และ ขาดความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำงานของพนักงานสอบสวนหญิง แนวทางการแก้ปัญหาคือผู้บังคับบัญชาควรให้ความสำคัญกับปัญหาที่เกิดขึ้น หมั่นสอบถามถึงปัญหาต่างๆ ในการทำงานว่าติดขัดสิ่งใดหรือไม่ หากมีสิ่งที่เป็นปัญหาผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานก็ควรให้การสนับสนุนและร่วมกันแก้ปัญหานั้นเพื่อให้สามารถดำเนินการปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้โดยไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ควรให้การสนับสนุนช่วยเหลือโดยการจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่สอบสวนให้เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ หมึกพิมพ์ เจ้าหน้าที่ขับรถ ยานพาหนะและเชื้อเพลิงที่ใช้เดินทางออกตรวจสถานที่เกิดเหตุ ประกอบกับตัวพนักงานสอบสวนหญิงก็ต้องปรับตัวให้พร้อมสำหรับการทำงานอยู่เสมอ นำข้อแนะนำของพนักงานสอบสวนหญิงเคยปฏิบัติหน้าที่มาก่อนมาปรับใช้ เช่นการอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ ที่เกี่ยวกับลักษณะคดีเกี่ยวกับเพศ เด็ก สตรี ก็ควรพิจารณาให้พนักงานสอบสวนหญิงเข้าไปอบรมก่อนเป็นลำดับแรก


การปรับตัวของธุรกิจประกันชีวิตในยุคสังคมผู้สูงอายุ, สุกัญญา ชำนาญ Jan 2021

การปรับตัวของธุรกิจประกันชีวิตในยุคสังคมผู้สูงอายุ, สุกัญญา ชำนาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มของสังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและอนาคตที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน ผลิตภัณฑ์ และกลยุทธ์ของธุรกิจประกันชีวิต และเพื่อศึกษาการปรับตัวของธุรกิจประกันชีวิตจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของการเข้าสู่สังคมผู้อายุ ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัทประกันชีวิต จำนวน 5 คน และผู้บริหารระดับสูงธุรกิจประกันชีวีตในวัยเกษียณ 1 คน รวมทั้งสิ้น 6 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง ตามแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างที่สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมุลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปสะสม ผลการวิจัย ปรากฏว่า แนวโน้มของสังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและอนาคตที่ส่งผลต่อธุรกิจประกันชีวิต สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีความพร้อมในฐานะทางการเงิน และกลุ่มที่ 2 ที่สนใจการออมเงินและการลงทุนผ่านประกันชีวิต และกลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ยังต้องพึ่งพิงลูกหลาน ไม่มีรายได้ อยู่ได้ด้วยเงินสวัสดิการของภาครัฐและลูกหลาน ภาครัฐควรเข้ามาร่วมมือกับภาคธุรกิจเอกชนกระตุ้นหรือช่วยเหลือให้ประชากรกลุ่มนี้มีสวัสดิการประกันชีวิต ส่วนการปรับตัวของธุรกิจประกันชีวิตแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านการดำเนินงานมุ่งเน้นช่องทางในการสื่อสารและการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย 2) ด้านผลิตภัณฑ์ใหม่มุ่งเน้นการให้ความคุ้มครอง การประกันสุขภาพ และรองรับการเกษียณทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และ 3) ด้านกลยุทธ์มุ่งเน้นการสร้างการรับรู้และสื่อสารให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการทำประกันชีวิต


40 ปีแห่งความหลัง...จุฬาฯ เป็นพลัง...สร้างชีวิต, มนตรี ศรไพศาล Sep 2020

40 ปีแห่งความหลัง...จุฬาฯ เป็นพลัง...สร้างชีวิต, มนตรี ศรไพศาล

Jamjuree Journal

No abstract provided.


เชื่อมโยงความรู้สังคม "เปลี่ยน" ไปสู่วิถีที่เป็นธรรมชาติและยั่งยืน, แก้วใจ นาคสกุล Sep 2020

เชื่อมโยงความรู้สังคม "เปลี่ยน" ไปสู่วิถีที่เป็นธรรมชาติและยั่งยืน, แก้วใจ นาคสกุล

Jamjuree Journal

No abstract provided.


"น้ำมันเมล็ดชา" ทางเลือกผู้บริโภคด้วยพระวิสัยทัศน์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี Sep 2020

"น้ำมันเมล็ดชา" ทางเลือกผู้บริโภคด้วยพระวิสัยทัศน์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

Jamjuree Journal

No abstract provided.


มองผ่านมุม "นิสิตพิการทางการเห็น" การเรียนการสอนด้วย Assistive Technology ในจุฬาฯ Sep 2020

มองผ่านมุม "นิสิตพิการทางการเห็น" การเรียนการสอนด้วย Assistive Technology ในจุฬาฯ

Jamjuree Journal

No abstract provided.


เครื่องหยอดข้าวอัตโนมัติ "หุ่นยนต์ทำนา" ไทยรุ่นแรก, ไทยศิริ เวทไว Sep 2020

เครื่องหยอดข้าวอัตโนมัติ "หุ่นยนต์ทำนา" ไทยรุ่นแรก, ไทยศิริ เวทไว

Jamjuree Journal

No abstract provided.


"Sos" Multi-Brand Store โมเดลธุรกิจที่เย่าวงการเสื้อผ้า Sep 2020

"Sos" Multi-Brand Store โมเดลธุรกิจที่เย่าวงการเสื้อผ้า

Jamjuree Journal

No abstract provided.


ลดความเหลื่อมล้ำด้วยการออกแบบเมือง ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (Uddc) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นิรมล เสรีสกุล Sep 2020

ลดความเหลื่อมล้ำด้วยการออกแบบเมือง ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (Uddc) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นิรมล เสรีสกุล

Jamjuree Journal

No abstract provided.


5g กับการเปลี่ยน Key Players ในโลก ศูนย์ทดสอบ 5g แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วิทยากร อัศดรวิเศษ Sep 2020

5g กับการเปลี่ยน Key Players ในโลก ศูนย์ทดสอบ 5g แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วิทยากร อัศดรวิเศษ

Jamjuree Journal

No abstract provided.


ล้อมวงคุยเรื่อง Design Thinking การสื่อสารและการเปลี่ยนแปลง, นัททนี เนียมทรัพย์, เถกิง พัฒโนภาษ Sep 2020

ล้อมวงคุยเรื่อง Design Thinking การสื่อสารและการเปลี่ยนแปลง, นัททนี เนียมทรัพย์, เถกิง พัฒโนภาษ

Jamjuree Journal

No abstract provided.


Potential Degradation And Kinetics Of Melanoidin By Using Laccase From White Rot Fungus, Wittawat Toomsan, Pinthita Mungkarndee, Sophon Boonlue, Nguyen Thanh Giao, Sumana Siripattanakul-Ratpukdi Sep 2020

Potential Degradation And Kinetics Of Melanoidin By Using Laccase From White Rot Fungus, Wittawat Toomsan, Pinthita Mungkarndee, Sophon Boonlue, Nguyen Thanh Giao, Sumana Siripattanakul-Ratpukdi

Applied Environmental Research

This study was attempted to use laccase extracted from white rot fungus to removemelanoidin in the ethanol production wastewater. The isolated fungus producing the highest laccase was identified as Megaspororiasp. The highest degradation efficiencies of the purified and crude laccases were 48.00% and 44.60%, respectively. Both degradation kinetics well fit Michaelis-Menten model. The Michaelis constant (Km) and maximum rate of reaction (Vmax) were 0.82% melanoidin and 0.0045% melanoidin h-1 for the degradation by the purified laccase and 0.71% melanoidin and 0.0037% melanoidin h-1 for the degradation by the crude laccase. Turnover number (Kcat) of purified and crude laccases were 0.00023 …


Mpirically Derived Equation From Simple Heat Index For Calculating Wet Bulb Globe Temperature: A Case Study Of Thailand, Wutthichai Paengkaew, Atsamon Limsakul, Rittirong Junggoth, Somsak Pitaksanurat Sep 2020

Mpirically Derived Equation From Simple Heat Index For Calculating Wet Bulb Globe Temperature: A Case Study Of Thailand, Wutthichai Paengkaew, Atsamon Limsakul, Rittirong Junggoth, Somsak Pitaksanurat

Applied Environmental Research

The Wet Bulb Globe Temperature (WBGT) index is a standard for assessing environmental heat stress, but the requirement of expensive instrument with specialized maintenance is limited its use. This study aims to develop the empirical equation to estimate the WBGT from Heat Index (HI) calculated from portable temperature and humidity recorder (THR), based on the data collected at seven sites covering all regions of Thailand. Comparative analysis shows that the HI values calculated from THR (HITHR) are consistent well with those measured from the thermal environmental monitor (HIQT36) as evidenced by a highly positive correlation between them (r=0.97; p<0.01; n=4,303). These results suggest high reliability of the portable THR and its acceptance to be used instead of the standard QT36 device. Based on a simple linear regression developed to estimate WBGT from the HITHR, it was found that the model accounts for at least 90% of the variance of the observed WBGT (dependent variable). In addition, validation of the model with the statistical methods shows relatively small errors of the estimated WBGT values in comparisonto the observed values. With this evidence, the developed empirical regression equation can be used to estimate WBGT with high accuracy and confidence. Simple and easier to use for the practitioners who are involved in public health works at community level, a heat monitoring tool kit consisting of a THR, WBGT chart and recommended actions were further developed based on the results obtained. This tool kit is a low-cost and simple device which can be used by various community-level stakeholders to prevent and reduce heat injuries and deaths of risk groups, especially the elderly. This tool is necessary in light of anthropogenic-induced warming and Thailand's aging society.


Effect Of Mixture Ratio Of Food Waste And Vetiver Grass On Biogas Production, Mayura Srikanlayanukul, Parinda Suksabye Sep 2020

Effect Of Mixture Ratio Of Food Waste And Vetiver Grass On Biogas Production, Mayura Srikanlayanukul, Parinda Suksabye

Applied Environmental Research

The objectives of this research were to study the optimum percentage ratios of food waste and vetiver grass (Vetiveria zizaniodes(L.) Nash) for biogas production and process stability in anaerobic digestion system. The nine mixture ratios of food waste (FM) and vetiver grass (VG) were 100:0, 80:20, 75:25, 66.67:33.33, 50:50, 33.33:66.67, 25:75, 20:80 and 0:100. The biogas production was subjected to anaerobic batch with working volume of 1.8 L and had digestion time 60 d at 35 ± 2 °C. High specific methane yield of 0.30 L g-1 VS removed was obtained from the fermentation at ratio of FW:VG at 80:20 …


Assessments Of Nipa Forest Using Landsat Imagery Enhanced With Unmanned Aerial Vehicle Photography, Tantus Piekkoontod, Bhumiphat Pachana, Karnjana Hrimpeng, Kitsanai Charoenjit Sep 2020

Assessments Of Nipa Forest Using Landsat Imagery Enhanced With Unmanned Aerial Vehicle Photography, Tantus Piekkoontod, Bhumiphat Pachana, Karnjana Hrimpeng, Kitsanai Charoenjit

Applied Environmental Research

Nipa palms are exposed by the transformation of land use and land cover changes (LULCC) due to changes to aquaculture and orchards. Modern remote sensing for environmental monitoring of LULCC has been made easier by the use of high spatial resolution images, innovative image processing and Geographic Information Systems (GIS). The expense of high-resolution satellite imagery has resulted in investigators moving to open sources (e.g., Landsat), therefore, the interpretation of images at a medium resolution can be classified simply as LULCC classes and are constrained by the detection of small-scale disturbances. This research applied Landsat imagery with very high-resolution imagery …


Optimizing The Extraction Of Phenolic Compounds With High Antioxidant Activity From Mango Seed Kernel Wastes Using Response Surface Methodology, Francis D.C Siacor, Camila F.Y. Lobarbio, Evelyn B. Taboada Sep 2020

Optimizing The Extraction Of Phenolic Compounds With High Antioxidant Activity From Mango Seed Kernel Wastes Using Response Surface Methodology, Francis D.C Siacor, Camila F.Y. Lobarbio, Evelyn B. Taboada

Applied Environmental Research

Mango seed kernels (MSK), which are waste streams in the mango processing industry, are good sources of phenolic compounds with high antioxidant, anti-bacterial, and anti-viral properties. These phenolic compounds are reported to have an increasing demand over the years in the quest for healthy ready-to-eat food and nutraceuticals. To recover these compounds from MSK, solid-liquid extraction (SLE) can simply be applied, although there is a knowledge gap in the systematic exploration of this process for mango-based phenolic compounds. In this work, phenolic compounds were extracted from MSK through SLE using ethanol-water solvent system. A statistical-based approach was used to evaluate …


สุขภาพดี กำหนดได้ หลักสูตรนักกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ, ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์ Sep 2020

สุขภาพดี กำหนดได้ หลักสูตรนักกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ, ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์

Jamjuree Journal

No abstract provided.


เมนูฮิตนิสิต ไม่ใช่อาหารแต่คือวิถีชีวิต Sep 2020

เมนูฮิตนิสิต ไม่ใช่อาหารแต่คือวิถีชีวิต

Jamjuree Journal

No abstract provided.


"ทุุกคนเรียนจุุฬาฯ ได้ ถ้าใจมุ่งมั่น" ออกแบบการเรียนการสอนในวิถีปกติใหม่และโลกใหม่, ปาริชาต สถาปิตานนท์ Sep 2020

"ทุุกคนเรียนจุุฬาฯ ได้ ถ้าใจมุ่งมั่น" ออกแบบการเรียนการสอนในวิถีปกติใหม่และโลกใหม่, ปาริชาต สถาปิตานนท์

Jamjuree Journal

No abstract provided.


Characterization Of Pm2.5 - Bound Polycyclic Aromatic Hydrocarbons In Chiang Mai, Thailand During Biomass Open Burning Period Of 2016, Duangduean Thepnuan, Somporn Chantara Sep 2020

Characterization Of Pm2.5 - Bound Polycyclic Aromatic Hydrocarbons In Chiang Mai, Thailand During Biomass Open Burning Period Of 2016, Duangduean Thepnuan, Somporn Chantara

Applied Environmental Research

Polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) bounded to ambient fine particles (PM2.5) were determined for enabling health risk assessment and source identification of ambient aerosols. Daily PM2.5 samples (24 h) were collected on quartz fiber filters by using a low volume air sampler (16.7 L min-1) during smoke haze period (March - April 2016) in Chiang Mai, Thailand. An average concentration of PM2.5(n=54) was 65.3±17.6 μg m-3. The samples were extracted with dichloromethane using ultrasonication prior to PAHs analysis by GC-MS. Average concentrations of 16-PAHs, non-carcinogenic (nc) PAHs and carcinogenic (c) PAHs were 10.23±2.49, 5.48±1.70 and 4.75±1.43 ng m-3, respectively. Ratio values …


Analysis And Modeling Of Physiologic Equivalent Temperature Of An Outdoor Environment, Adinife P. Azodo, Salami O. Ismaila, Femi T. Owoeye, Titus Y. Jibatswen Sep 2020

Analysis And Modeling Of Physiologic Equivalent Temperature Of An Outdoor Environment, Adinife P. Azodo, Salami O. Ismaila, Femi T. Owoeye, Titus Y. Jibatswen

Applied Environmental Research

This study developed a model that depicts the relationship, strength, and direction of the causality between the predictor variables (microclimatic variables) and a response variable (ambient temperature) interpreted for the physiologic equivalent temperature of an environment. Data collected were microclimatic variables which include air circulation, relative humidity, mean radiant and ambient temperatures over land cover materials namely tarmac, grass, soil and concrete at the premises of Federal University Wukari, Taraba state of Nigeria at a guided height of 1.1 m. The data was collected using physical measurements with respect to time of the day; morning (8:00 - 9:00 am), afternoon …


Radar Quality Index For A Mosaic Of Radar Reflectivity Over Chao Phraya River Basin, Thailand, Nattapon Mahavik, Sarintip Tantanee Sep 2020

Radar Quality Index For A Mosaic Of Radar Reflectivity Over Chao Phraya River Basin, Thailand, Nattapon Mahavik, Sarintip Tantanee

Applied Environmental Research

The weather radar is one of the tools that can provide spatio-temporal information for nowcast which is useful for hydro-meteorological disasters warning and mitigation system. The ground-based weather radar can provide spatial and temporal information to monitor severe storm over the risky area. However, the usage of multiple radars can provide more effective information over large study area where single radar beam may be blocked by surrounding terrain Even though, the investigation of the sever storm physical characteristics needs the information from multiple radars, the mosaicked radar product has not been available for Thai researcher yet. In this study, algorithm …


Conflict Management In China: The Case Of Muslim Uyghurs In Xinjiang Province, Siriporn Dabphet Jul 2020

Conflict Management In China: The Case Of Muslim Uyghurs In Xinjiang Province, Siriporn Dabphet

Asian Review

This research aims to examine the role of the Chinese government in managing conflicts in the case of Muslim Uyghurs in Xinjiang since 1949. A qualitative method has been used to reveal the causes of conflicts, China’s ethnic policies and conflict resolutions in the view of the Chinese government, ethnic people and the West. The findings indicate that ethnic minority policy is the main factor that has intensified conflict. China’s conflict management methods are forcing or competing to win over minorities, compromising in order to lessen conflict and collaborating to find a solution. China’s ethnic policies depend on the internal …


A Study Of Disaster Management Competency And Indicators In Thailand’S Local Admanistration, Kanrawee Wichaipa Jul 2020

A Study Of Disaster Management Competency And Indicators In Thailand’S Local Admanistration, Kanrawee Wichaipa

Asian Review

This qualitative research study aims to investigate functional and hazard specific competencies of Thai local administrative officers in disaster prevention and mitigation. The data was collected through document research, in-depth interviews and group discussions from representatives from a central policy making agency and with staff from disaster prevention and mitigation agencies in six local administrative organizations around Thailand. The data was collected in six localities and analyzed by means of content analysis. The results showed that there are three functional competencies, namely 1) understanding of laws, regulations and authority; 2) proactive analysis and evaluation of the situation; and 3) networking …