Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1501 - 1530 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

อิทธิพลของทัศนคติต่อจุดดึงดูดใจของโฆษณาเพื่อสิ่งแวดล้อม การรับรู้ความเสี่ยง และการตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม ต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดของผู้บริโภค, ภคินี ลาภเจริญ Jan 2020

อิทธิพลของทัศนคติต่อจุดดึงดูดใจของโฆษณาเพื่อสิ่งแวดล้อม การรับรู้ความเสี่ยง และการตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม ต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดของผู้บริโภค, ภคินี ลาภเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติต่อจุดดึงดูดของการโฆษณาเพื่อสิ่งแวดล้อม การรับรู้ความเสี่ยงด้านการเงิน ด้านประสิทธิภาพ และด้านจิตวิทยา และความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดของผู้บริโภค โดยใช้วิธีวิจัยวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างบุคคลทั่วไปโดยไม่จำกัดเพศ ที่มีอายุระหว่าง 25-50 ปี ที่มีแนวโน้มจะซื้อรถยนต์ในอนาคต โดยใช้เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามออนไลน์ จำนวนทั้งสิ้น 404 ตัวอย่าง โดยผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อจุดดึงดูดด้านเหตุผลและด้านอารมณ์ของการโฆษณาเพื่อสิ่งแวดล้อมของรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยจุดดึงดูดด้านเหตุผล สามารถดึงดูดผู้บริโภคได้มากกว่าจุดดึงดูดด้านอารมณ์ 2) กลุ่มตัวอย่างมีระดับการรับรู้ความเสี่ยงด้านการเงิน ด้านประสิทธิภาพ และด้านจิตวิทยาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และมีความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับสูง โดยทุกตัวแปรมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด 3) ความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อจุดดึงดูดด้านเหตุผล และการรับรู้ความเสี่ยงด้านการเงิน คือ 3 ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อมากที่สุดตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (R = 0.665) และมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดของผู้บริโภคอยู่ที่ร้อยละ 44.2


อิทธิพลของปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการบริโภคต่อความตั้งใจในการบริโภคอาหารคลีนของผู้บริโภค, ขนิษฐา อินทจักร Jan 2020

อิทธิพลของปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการบริโภคต่อความตั้งใจในการบริโภคอาหารคลีนของผู้บริโภค, ขนิษฐา อินทจักร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการบริโภคอาหาร คลีนของผู้บริโภค และ 2) อิทธิพลของปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการบริโภคต่อความตั้งใจใน การบริโภคอาหารคลีนของผู้บริโภค โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ และใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 22-40 ปี อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ชุด ผ่านช่องทางออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีนของผู้บริโภคทั้ง 6 ปัจจัย ได้แก่ ทัศนคติต่ออาหารคลีน บรรทัดฐานส่วนบุคคล การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม การรับรู้ราคา ความไว้วางใจ และความพร้อมใช้งาน ล้วนมีความสำคัญต่อความตั้งใจในการบริโภคอาหารคลีนของผู้บริโภค นอกจากนั้น ผลการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีนต่อความตั้งใจในการบริโภคอาหารคลีนของผู้บริโภค พบว่า ทัศนคติต่ออาหารคลีน การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม ความไว้วางใจ และความพร้อมใช้งาน มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจในการบริโภคอาหารคลีนของผู้บริโภค ในขณะที่การรับรู้ราคา มีอิทธิพลเชิงลบต่อความตั้งใจในการบริโภคอาหารคลีนของผู้บริโภค แต่บรรทัดฐานส่วนบุคคล ไม่มีอิทธิพลต่อ ความตั้งใจในการบริโภคอาหารคลีนของผู้บริโภค


เนื้อหาสารกับการสื่อสารแบรนด์บุคคลของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกในแคมเปญติ๊กต๊อกยูนิ, มัธยา ธานี Jan 2020

เนื้อหาสารกับการสื่อสารแบรนด์บุคคลของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกในแคมเปญติ๊กต๊อกยูนิ, มัธยา ธานี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะของเนื้อหาสาร 2) การสื่อสารแบรนด์บุคคล และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาสารกับการสื่อสารแบรนด์บุคคลของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกในแคมเปญติ๊กต๊อกยูนิ ผู้วิจัยศึกษาวิดีโอสั้นจากผู้ใช้งาน 63 คนโดยดูรูปแบบการนำเสนอเชิงวัจนภาษาและเชิงอวัจนภาษา และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ใช้งานเพิ่มเติม 5 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะของเนื้อหาสารรูปแบบการนำเสนอเชิงวัจนภาษาและอวัจนภาษาปรากฏการใช้แฮชแท็กทุกผู้ใช้งาน รองลงมาเป็นการใช้ตัวอักษร การบรรยายด้วยภาษาเขียน การบรรยายด้วยภาษาพูด การใช้เสียงเพลง ดนตรี หรือเสียงประกอบ มุมกล้อง รูปภาพ วิดีโอ หรือภาพเคลื่อนไหว ปก สัญลักษณ์หรืออีโมจิ และเอฟเฟ็กต์หรือลูกเล่นที่กำหนดให้ 2) การสื่อสารแบรนด์บุคคลพบว่า (1) การสำรวจค้นหา สะท้อนจากอัตลักษณ์เชิงประโยชน์มากที่สุด เช่น วิธีการสอนที่ง่ายต่อการจดจำ อัตลักษณ์จากรูปร่างและการแต่งกาย เช่น การแต่งกายที่สะท้อนบุคลิกภาพของผู้ใช้งาน และอัตลักษณ์เชิงพฤติกรรม เช่น การใช้แฮชแท็กประจำตัว (2) การสร้าง พบความจริงใจมากที่สุดจากการนำเสนอเนื้อหาสารที่เป็นประโยชน์ ความตื่นเต้น จากการนำเสนอเนื้อหาที่ได้รับความนิยม ความรู้สึกน่าเชื่อถือ เช่น การแต่งกายที่สะท้อนความเป็นวิชาการ และความรู้สึกน่าดึงดูดใจ เช่น การใช้เอฟเฟ็กต์หรือลูกเล่น (3) การสื่อสาร พบว่ามีการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับสาร เช่น การใช้เครื่องมือตอบกลับ การออกแบบเนื้อหาสารตามกระแสสังคมและตามความถนัด การใช้เครื่องมือเข้าคู่ การใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการสร้างความสวยงามและน่าสนใจและนำเสนอบุคลิกภาพตนเอง (การพูด ลักษณะท่าทาง) (4) การรักษาคงไว้ พบว่ามีการนำเสนอบุคคลอื่นร่วมด้วย สร้างกิจกรรมให้ผู้รับสารมีส่วนร่วม เช่น เชิญชวนให้แสดงความคิดเห็น การบรรยายด้วยภาษาเขียนในการตั้งคำถาม นำเสนอช่องทางติดตามอื่น และนำเสนอตนเองหรือเนื้อหาสารใกล้เคียงกันทุกช่อง ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาสารกับการสื่อสารแบรนด์บุคคล พบว่า เนื้อหาสารกับการสื่อสารแบรนด์บุคคลไม่มีความสัมพันธ์กัน (sig. = .345) ขณะที่ในแต่ละองค์ประกอบย่อยของเชิงวัจนภาษาและอวัจนภาษา การบรรยายด้วยภาษาเขียนมีความสัมพันธ์กับการสื่อสารแบรนด์บุคคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


สถานการณ์ของความโกรธกับมุมมองเชิงพื้นที่ของผู้ขับรถยนต์และการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ในกรุงเทพมหานคร, ชัญญาณ์ภัช ทิพพาบุญ Jan 2020

สถานการณ์ของความโกรธกับมุมมองเชิงพื้นที่ของผู้ขับรถยนต์และการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ในกรุงเทพมหานคร, ชัญญาณ์ภัช ทิพพาบุญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องสถานการณ์ของความโกรธกับมุมมองเชิงพื้นที่ของผู้ขับรถยนต์ และการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ในกรุงเทพมหานครมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาอารมณ์โกรธ และการแสดงออกขณะที่โกรธของผู้ขับรถยนต์ภายใต้สถานการณ์ต่างๆบนท้องถนน มุมมองเชิงพื้นที่ของผู้ขับรถยนต์ภายใต้ภาวะอารมณ์โกรธ และความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์โกรธและการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์บนท้องถนนโดยอาศัยกรอบแนวคิดทฤษฎีสังคมวิทยาอารมณ์ ทฤษฎีการปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ แนวคิดการผลิตพื้นที่ มุมมองต่อพื้นที่ และแนวคิดเกี่ยวกับอุบัติเหตุ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสังเกตการณ์ขณะขับรถยนต์และสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้กรณีศึกษาจำนวน 20 คน และระยะที่ 2 การสังเกตการณ์ผ่านกล้องบันทึกภาพในรถยนต์ โดยใช้กรณีศึกษาที่คัดเข้าจากระยะที่ 1 จำนวน 10 คน ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์ที่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้สึกและถ่ายทอดความคิดในสถานการณ์ธรรมชาติได้ดี ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เรื่องเล่าจากข้อความและภาพของกรณีศึกษาด้วยการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างผู้ขับรถยนต์และบริบทต่างๆ ผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจงและพฤติกรรมที่เกิดจากการกระทำของผู้ขับรถยนต์มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ในกรุงเทพมหานคร โดยที่ความโกรธและการแสดงความโกรธของผู้ขับรถยนต์เกี่ยวข้องทางอ้อม ความโกรธที่เกิดขึ้นบนถนนประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก คือสถานการณ์ ตัวตน และสัญญะที่เกิดจากการการปฏิสัมพันธ์ที่มีผลในการเป็นตัวจุดชนวน เพิ่ม ลด หรือหยุดความโกรธได้ และมีองค์ประกอบรองคือมุมมองของพื้นที่ เพราะอารมณ์โกรธเป็นกระบวนการผลิตที่ถูกผลิตสร้างจากการใช้พื้นที่ที่เกิดขึ้นจากการรับรู้พื้นที่ถนนที่แตกต่างกัน การให้ความหมายของพื้นที่ที่แตกต่างกัน และการใช้รถใช้ถนนที่แตกต่างกันในการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นของผู้ขับรถยนต์จนถูกผลิตสร้างจิตสำนึกในการใช้พื้นที่และการใช้รถใช้ถนนขึ้น ดังนั้นผู้ขับรถยนต์จึงมีการใช้ตัวตนของตนเองในการตีความ และตัดสินทั้งสถานการณ์และบุคคลอื่นในทุกพื้นที่ที่ใช้งานและแสดงตัวตนนั้นออกมาผ่านการกระทำที่ล้วนแสดงให้เห็นถึงบริบทบนท้องถนนของผู้ขับรถยนต์ในกรุงเทพมหานค


การกำหนดคำอธิบายและการให้ความหมายความรุนแรงในโลกออนไลน์:กรณีศึกษานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุภาพร กมลฉ่ำ Jan 2020

การกำหนดคำอธิบายและการให้ความหมายความรุนแรงในโลกออนไลน์:กรณีศึกษานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุภาพร กมลฉ่ำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษามุมมองของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อการให้คำอธิบายและการให้ความหมายความรุนแรงในโลกออนไลน์ 2. เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อการแบ่งระดับความรุนแรงในโลกออนไลน์ และ 3. เพื่อวิเคราะห์การให้คำอธิบายและการให้ความหมายความรุนแรงในโลกออนไลน์ว่าเป็นผลมาจากแหล่งอิทธิพลทางสังคมอย่างไร โดยสัมภาษณ์นิสิตจุฬาฯ ที่มีอายุระหว่าง 18-23 ปี จำนวน 21 คน คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมด 15 คน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นิสิตจุฬาฯ ให้คำอธิบายความรุนแรงในโลกออนไลน์ว่าเป็นความรุนแรงที่ปรากฏให้เห็นได้ตามความแตกต่างของแพลตฟอร์มและชุมชนออนไลน์ต่าง ๆ อีกทั้งความรุนแรงในโลกออนไลน์ยังสามารถอธิบายได้ด้วยเงื่อนไขด้านความแตกต่างของเพศ และช่วงวัย โดยความหมายของความรุนแรงในโลกออนไลน์จะเกี่ยวข้องกับการแสดงออกของคำพูดหรือการกระทำที่ส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจของบุคคล การคุกคามและการละเมิดความเป็นส่วนตัว และเนื้อหาที่ถูกเผยแพร่ลงในสื่อออนไลน์ ขณะที่การแบ่งระดับความรุนแรงในโลกออนไลน์ออกเป็นระดับต่าง ๆ ได้ชี้ให้เห็นถึงทัศนคติของนิสิตจุฬาฯ ตามการรับรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย รวมถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลจากครอบครัวที่ส่งผลต่อความคิดเรื่องความรุนแรงของกลุ่มเยาวชนโดยตรง การวิจัยนี้ จึงให้ต้องการชี้ให้เห็นถึงการศึกษาเบื้องต้นที่จะเป็นองค์ความรู้พื้นฐานสำหรับนักวิจัยที่ต้องการศึกษาและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรงในโลกออนไลน์ในเชิงลึก เพื่อนำมาพัฒนาแก้ไขป้องกันปัญหาความรุนแรงในโลกออนไลน์ได้ทันต่อยุคสมัย


ชีวอำนาจกับฮาบิทัสของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาในช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในจังหวัดสมุทรสาคร, ปิยชัย นาคอ่อน Jan 2020

ชีวอำนาจกับฮาบิทัสของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาในช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในจังหวัดสมุทรสาคร, ปิยชัย นาคอ่อน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง ชีวอำนาจกับฮาบิทัสของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาในช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในจังหวัดสมุทรสาคร มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในระลอกที่สองในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร 2.เพื่อศึกษาการใช้ชีวอำนาจที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร 3.เพื่อวิเคราะห์การปรับตัวของฮาบิทัสที่ได้รับผลจากชีวอำนาจของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมา การศึกษานี้ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาจำนวน 15 คน ด้วยการคัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า การเกิดขึ้นของโรคระบาดเชื้อไวรัส Covid-19 ทำให้รัฐไทยเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการโรคระบาดในรูปแบบการส่งผ่านชีวอำนาจทางในมิติต่าง ๆ ประการแรกคือ การใช้อำนาจรัฐโดยตรงในระดับจังหวัดกล่าวคือ การออกนโยบาย กฎหมาย มาตรการ ประกาศจังหวัด เพื่อควบคุมแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาและองค์กรเอกชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร การดำเนินการดังกล่าวของรัฐเป็นไปเพื่อให้แรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ดูแลรักษาตนเองให้เป็นปกติอยู่ตลอดเวลาสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ประการที่สองการใช้อำนาจรัฐโดยส่งผลต่อวิถีชีวิตแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมา การใช้อำนาจดังกล่าวส่งผลให้การเคลื่อนย้าย การพบปะสังสรรค์ และการทำกิจกรรมทางศาสนาหยุดชะงักลงหรือได้รับการควบคุม ทั้งนี้สื่อสังคมออนไลน์เป็นปัจจัยที่เข้ามาทดแทนกิจกรรมดังกล่าว ประการสุดท้ายคือการใช้อำนาจรัฐโดยส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจอันส่งผลต่อแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาและองค์การเอกชน การใช้อำนาจในส่วนนี้ได้ส่งผลต่อรายได้ ค่าใช้จ่ายประจำวัน และการส่งเงินกลับประเทศที่ลดลงอันเนื่องมาจากคำสั่งปิดกิจการชั่วคราวและการเข้าถึงความช่วยเหลือเยียวยาที่ยากลำบาก งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า 1. หน่วยงานระดับจังหวัด ได้แก่ สำนักงานประกันสังคมและสำนักงานสาธารณสุข ต้องเข้ามาช่วยเหลือในส่วนเงินเยียวยาจากผลกระทบเชื้อไวรัส Covid-19 ในเรื่องของสุขภาพและสุขภาพจิตของแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาเช่นเดียวกับชาวไทย 2. ผู้ประกอบการและเจ้าของกิจการควรเข้ามาอำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการต่อใบอนุญาตทำงานและดำเนินการด้านเอกสารประกันสังคมเพื่อช่วยเหลือเยียวยาต่อไป


การผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชน: กรณีศึกษาผู้ต้องขังสูงอายุ, พรรษพร สุวรรณากาศ Jan 2020

การผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชน: กรณีศึกษาผู้ต้องขังสูงอายุ, พรรษพร สุวรรณากาศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง การผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชน: กรณีศึกษาผู้ต้องขังสูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหาของผู้ต้องขังสูงอายุ เพื่อศึกษาถึงกระบวนการและรูปแบบการผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชน และเพื่อเสนอแนวทางการผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชนสำหรับผู้ต้องขังสูงอายุในสังคมไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ต้องขังจำนวน 24 คนและเจ้าหน้าที่จำนวน 14 คน และการสนทนากลุ่มเจ้าหน้าที่จำนวน 6 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ต้องขังสูงอายุเผชิญสภาพปัญหาทั้งทางด้ายร่างกาย จิตใจและสังคม ในกระบวนการผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชนพบว่าในแต่ละขั้นตอนมีข้อจำกัด ดังนี้ 1) ขั้นตอนการรับตัว เนื่องจากการบริหารจัดการแต่ละเรือนจำที่แตกต่างกันผู้ต้องขังที่ชราในเรือนจำจึงอาจไม่ได้รับการจำแนกซ้ำเพื่อจัดเข้าอยู่ในกลุ่มพิเศษที่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าร่วมโปรแกรมเฉพาะเพื่อแก้ไขฟื้นฟู 2) ขั้นดำเนินการ การจัดสรรงบประมาณส่วนใหญ่จะเป็นการให้ความสำคัญต่อการดูแลด้านสวัสดิการเครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งของจำเป็นมากกว่าการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรการแก้ไขฟื้นฟู ดังนั้นการส่งเสริมการให้ความรู้สิทธิและสวัสดิการสูงอายุจึงยังคงมิได้ครอบคลุม 3) ขั้นตอนเตรียมการปลดปล่อย ที่ประสบปัญหาการเชื่อมโยงการปฏิบัติงานในรูปแบบเครือข่ายภายในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการใช้ชีวิตหลังพ้นโทษและพัฒนาเนื้อหาหลักสูตรเตรียมพร้อมก่อนปล่อยสำหรับผู้สูงอายุให้สามารถนำไปใช้ได้จริง 4) ขั้นติดตามหลังปล่อยที่ยังคงไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์ผู้ต้องขังสูงอายุโดยเฉพาะและความล่าช้าของระบบราชการที่ทำให้ติดตามหรือสงเคราะห์มิอาจทันท่วงที ดังนั้นการเสนอรูปแบบการผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชนสำหรับผู้ต้องขังสูงอายุในสังคมไทย คือ ควรเป็นรูปแบบเครือข่ายที่เน้นการทำงานลักษณะบูรณาการขององค์กร โดยทางราชทัณฑ์ควรมีลักษณะที่เป็นองค์กรกลางเนื่องด้วยมีความใกล้ชิดเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติกับผู้ต้องขังในระยะรอยต่อที่ควรเริ่มตั้งแต่ในเรือนจำ และแต่ละหน่วยงานซึ่งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องที่อยู่รายล้อมยังสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่องจนได้รับการปล่อยตัว


สถานการณ์และผลกระทบของการแพร่กระจายข่าวปลอมที่เกี่ยวกับ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และมาตรการป้องกันในประเทศไทย, พรรณวดี ชัยกิจ Jan 2020

สถานการณ์และผลกระทบของการแพร่กระจายข่าวปลอมที่เกี่ยวกับ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และมาตรการป้องกันในประเทศไทย, พรรณวดี ชัยกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ผลกระทบ และมาตรการป้องกันการแพร่กระจายข่าวปลอมเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในไทย อันจะนำไปสู่การแสวงหาข้อเสนอแนะเชิงมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่กระจายข่าวปลอมของไทยในอนาคต โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีขอบเขตการศึกษาระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยจำแนกสถานการณ์การศึกษาออกเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่ 1) การแพร่ระบาดรอบที่ 1 ระว่างเดือนมกราคม-เดือนพฤศจิกายน 2563 และ 2) การแพร่ระบาดรอบที่ 2 เดือนธันวาคม 2563-เดือนมีนาคม 2564 ตลอดจนการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่คัดเลือกด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง เพื่อวิเคราะห์ประเด็นอย่างรอบด้านผ่าน 4 มุมมอง ได้แก่ 1) มุมมองเชิงนโยบายจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 2) มุมมองเชิงข้อเสนอแนะจากนักวิชาการ 3) มุมมองเชิงสาธารณะจากภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน สื่อ และผู้มีอิทธิพลทางความคิดบนโลกออนไลน์ และ 4) มุมมองเชิงการสื่อสารจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นตัวการสำคัญที่ให้เกิดการแพร่กระจายข่าวปลอมจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร โดยการส่งต่อข่าวปลอมมีปัจจัยกระตุ้นมาจากการรับรู้ ความคิด และอารมณ์ร่วมขณะเสพข่าว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ก่อให้เกิดการผลักดันการส่งต่อข่าวระหว่างกัน ขณะเดียวกันผู้รับสารยังสามารถเปลี่ยนบทบาทมาทำหน้าที่ผู้ส่งสารได้อย่างคู่ขนานด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ การส่งต่อข่าวปลอมได้ก่อให้เกิดผลกระทบสำคัญ 5 มิติ ได้แก่ 1) ผลกระทบต่อสุขภาพ 2) ผลกระทบต่อจิตใจ 3) ผลกระทบต่อสังคม 4) ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และ 5) ผลกระทบต่อความมั่นคงและความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ดี แม้ว่าการดำเนินมาตรการป้องกันข่าวปลอมของไทยเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถจำแนกมาตรการออกเป็น 2 มาตรการหลัก คือ มาตรการจากภาครัฐ และมาตรการที่ไม่ใช่ภาครัฐ แต่กลับพบว่ามาตรการดังกล่าวยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว ด้วยเหตุนี้ งานชิ้นนี้จึงมุ่งแสวงหามาตรการป้องกันข่าวปลอมที่มีประสิทธิภาพผ่านข้อเสนอแนะเชิงมาตรการทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านระบบและเทคโนโลยี 2) ด้านโครงสร้าง 3) ด้านความรู้ 4) ด้านการมีส่วนร่วม 5) ด้านการสื่อสาร และ 6) ด้านการดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิด


Living Arrangement, Health Insurance And Welfare At Old Age In China, Qingyuan Xue Jan 2020

Living Arrangement, Health Insurance And Welfare At Old Age In China, Qingyuan Xue

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis investigates (1) the associations between living arrangements and different types of intergenerational transfers from adult children, (2) the associations among health insurance, health behavior and health care utilization, and (3) the associations between different measures of health and socioeconomic status. It uses the latest three waves of the Chinese Longitudinal Healthy Longevity Survey (CLHLS) conducted in 2005, 2008-2009, and 2011-2012, which are nationally representative. Chapter 2 uses both actual living arrangements and the discrepancy between actual and preferred living arrangements as potential determinants of different types of intergenerational transfers, including monetary transfers, contact, informal care, and emotional support. …


การวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารการตลาดของสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในคลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์จากประเทศไทยและสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), ปาณิสรา จันทร์นวล Jan 2020

การวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารการตลาดของสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในคลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์จากประเทศไทยและสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), ปาณิสรา จันทร์นวล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบปริมาณคลิปวิดีโอที่มีสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนำเสนอในคลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์จากประเทศไทยและไต้หวัน 2) ศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตราสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และประเภทของสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในคลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์จากประเทศไทยและไต้หวัน 3) ศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบคลิปวิดีโอ รูปแบบการโฆษณา และ การระบุผู้โฆษณาของสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในคลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์จากประเทศไทยและไต้หวัน โดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาคลิปวิดีโอในช่องยูทูบจำนวน 10 ช่อง ที่มีช่วงเวลาในการลงคลิปวิดีโอตั้งแต่เดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนธันวาคม ในปี พ.ศ. 2562 และสุ่มคลิปวิดีโอ 3 คลิปต่อเดือน รวมเป็นจำนวน 180 คลิปวิดีโอที่นำมาเป็นตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่ายูทูบเบอร์ไต้หวันมีปริมาณคลิปวิดีโอที่มีสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าคลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์ไทย ในด้านประเภทสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พบว่า คลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์ไต้หวันนั้นมีสินค้าประเภทอาหารปรากฏมากที่สุด ในขณะที่คลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์ไทยมีสินค้าประเภทสุขภาพและความงามปรากฏมากที่สุด ในด้านรูปแบบคลิปวิดีโอ การโฆษณา และการระบุผู้โฆษณา พบว่า ยูทูบเบอร์ทั้งไทยและไต้หวันใช้รูปแบบคลิปวิดีโอรีวิวสินค้า รูปแบบการโฆษณาทดลองสินค้ามากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าคลิปวิดีโอส่วนใหญ่นั้นไม่ได้มีการระบุผู้โฆษณา จากผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อแนะนำที่สอดคล้องกับผลการวิจัยของงานที่ผ่านมาในส่วนของการสื่อสารการตลาดบนยูทูบว่าควรมีการสร้างความโปร่งใสในการให้ผู้รับสารทราบว่าคลิปวิดีโอนั้นมีการโฆษณาหรือไม่ อีกทั้งผลจากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างเนื้อหาคลิปวิดีโอที่เกี่ยวกับสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้


บทบาทของเทคโนโลยีต่อความสัมพันธ์ทางชนชั้นในสังคมไทย: กรณีศึกษาแกร็บแท็กซี่ พ.ศ. 2555 - 2564, ธนวิชย์ ถาวร Jan 2020

บทบาทของเทคโนโลยีต่อความสัมพันธ์ทางชนชั้นในสังคมไทย: กรณีศึกษาแกร็บแท็กซี่ พ.ศ. 2555 - 2564, ธนวิชย์ ถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาสองประเด็นด้วยกันคือ 1. เพื่อศึกษาเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อชนชั้นทางสังคม 2. เพื่อศึกษาลักษณะชนชั้นทางสังคมของแกร็บแท็กซี่ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในลักษณะที่เป็นกรณีศึกษา (Case Study) ผู้เขียนรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) มาวิเคราะห์ข้อมูล โดยนำข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าวิจัยมาเชื่อมโยงและหาความสัมพันธ์ของข้อมูล เพื่อที่จะนำไปสู่การตีความ (Hermeneutics) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า เทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาของระบบทุนนิยมแพลตฟอร์มในปัจจุบัน และเป็นปัจจัยที่ทำให้ความสัมพันธ์ทางชนชั้นเปลี่ยนไปจากเดิม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีและไม่มีอำนาจในการควบคุมแพลตฟอร์ม(ปัจจัยในการผลิต) การแสวงหากำไรจากแพลตฟอร์ม และทำให้แพลตฟอร์มนั้นเสมือนเป็นของสาธารณะ แกร็บแท็กซี่เป็นหนึ่งในอาชีพที่ต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มในการทำงาน ส่งผลให้ลักษณะการทำงานของแกร็บแท็กซี่มีลักษณะคล้ายคลึงกับชนชั้นกลาง กล่าวคือเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิตเอง เลือกเวลาในการทำงานเองได้ แบกรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเสมือนเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว และสามารถเลือกทำงานแกร็บแท็กซี่ในเวลาว่างหลังเสร็จสิ้นจากงานประจำได้ เป็นอิสระในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และในขณะเดียวกันนั้นแกร็บแท็กซี่ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับชนชั้นแรงงานที่ถูกแพลตฟอร์มของบรรษัทข้ามชาติขูดรีดมูลค่าส่วนเกินด้วย ดังนั้นอาชีพแกร็บแท็กซี่จึงมีความเป็นชนชั้นกลางและชนชั้นแรงงานในบางเวลา สอดคล้องกับทฤษฏีตำแหน่งของชนชั้นที่ขัดแย้งกันเองภายใน (Contradictory Class Location theory)


การเปลี่ยนแปลงความหมายเชิงการอ้างถึงของสรรพนาม “มัน” ในภาษาไทยสมัยรัตนโกสินทร์, จิณวัฒน์ แก่นเมือง Jan 2020

การเปลี่ยนแปลงความหมายเชิงการอ้างถึงของสรรพนาม “มัน” ในภาษาไทยสมัยรัตนโกสินทร์, จิณวัฒน์ แก่นเมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงความหมายเชิงการอ้างถึงของสรรพนาม มัน ในภาษาไทยสมัยรัตนโกสินทร์ และศึกษากลไกที่ทำให้สรรพนาม มัน เปลี่ยนแปลงความหมายเชิงการอ้างถึงเป็นอบุรุษสรรพนาม ผู้วิจัยแบ่งสมัยของข้อมูลออกเป็น 5 สมัย สมัยละ 50 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2301 – 2550 สำหรับสมัยที่ 1 – 4 ผู้วิจัยใช้ข้อมูลตัวบทร้อยแก้วจำนวน 40 ตัวบทจากรายการตัวบทของคลังข้อมูลภาษาไทยเชิงประวัติแห่งชาติ ส่วนสมัยที่ 5 ผู้วิจัยใช้ข้อมูลจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ ผู้วิจัยมีสมมติฐาน 2 ข้อ กล่าวคือ 1) สรรพนาม มัน เริ่มแสดงความหมายเชิงวัจนปฏิบัติในช่วงที่ 3 (พ.ศ. 2401 – 2450) และเริ่มไม่แสดงความหมายเชิงการอ้างถึงในสมัยที่ 4 (ตั้งแต่ พ.ศ. 2451เป็นต้นมา) และ 2) การกลายเป็นอัตวิสัยเป็นกลไกที่ทำให้สรรพนาม มัน เกิดการขยายความหมายเชิงการอ้างถึงจนเปลี่ยนจากสรรพนามอ้างถึงไปเป็นอบุรุษสรรพนาม ผลการศึกษาปฏิเสธสมมติฐานข้อแรก ผู้วิจัยพบว่าสรรพนาม มัน แสดงความหมายหมายเชิงการอ้างถึงในทุกตำแหน่งการปรากฏ ผลการศึกษาพบว่าความหมายเชิงการอ้างถึงของสรรพนามมันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ความหมายอ้างถึงเชิงอรรถศาสตร์ และความหมายอ้างถึงเชิงวัจนปฏิบัติ ความหมายอ้างถึงเชิงอรรถศาสตร์จะเกิดเมื่อสรรพนาม มัน ปรากฏร่วมกับรูปอ้างอิงนำแสดงรูป รูปอ้างอิงนำแสดงรูปแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ นามวลี กริยาวลี อนุพากย์ และข้อความ รูปอ้างอิงนำแต่ละประเภทจะแสดงสิ่งอ้างถึงแตกต่างกันไป กล่าวคือ สรรพสิ่ง การกระทำ เหตุการณ์เดี่ยว และเหตุการณ์ซับซ้อนตามลำดับ ส่วนความหมายอ้างถึงเชิงวัจนปฏิบัติจะเกิดเมื่อสรรพนาม มัน ปรากฏร่วมกับรูปอ้างอิงนำโดยนัย ผู้ฟังต้องทำความเข้าใจสิ่งอ้างถึงด้วยการอนุมานจากปริบท สิ่งอ้างถึงที่ปรากฏในความหมายแสดงการอ้างถึงเชิงวัจนปฏิบัติแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ สิ่งอ้างถึงจากปริบท ประธานผู้กล่าวถ้อย และความรู้ร่วมระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษายืนยันสมมติฐานข้อที่สอง ผู้วิจัยพบว่ากลไกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย 3 กลไก ได้แก่ การวางนัยยะทั่วไป การกลายเป็นอัตวิสัย และการกลายเป็นสหวิสัย การวางนัยยะทั่วไปเป็นกลไกที่ทำให้ความหมายเชิงการอ้างถึงของสรรพนาม มัน เกิดการขยายขอบเขตของรูปอ้างอิงนำ …


ธุรกิจกองทัพกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเมียนมา ค.ศ. 1958-2020, เอนกชัย เรืองรัตนากร Jan 2020

ธุรกิจกองทัพกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเมียนมา ค.ศ. 1958-2020, เอนกชัย เรืองรัตนากร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กองทัพเมียนมา หรือตัตมะด่อ (Tatmadaw) เป็นตัวแสดงหลักที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจของเมียนมา วิทยานิพนธ์นี้มุ่งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายใต้อำนาจของกองทัพเมียนมากับการขยายธุรกิจของกองทัพเมียนมานับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษจนถึงปัจจุบัน โดยต้องการพิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาสำคัญส่งผลต่อผลประโยชน์ทางธุรกิจของกองทัพอย่างไร และในทางกลับกัน อำนาจทางเศรษฐกิจนี้ส่งผลต่อการรักษาและขยายอำนาจทางการเมืองของกองทัพเมียนมาอย่างไร การศึกษานี้วิเคราะห์ผ่านกรอบแนวคิดว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง ‘รูปแบบของความสัมพันธ์พลเรือน-ทหาร’ กับ ‘ระดับการควบคุมของทหารต่อธุรกิจกองทัพ’ ของ Ayesha Siddiqa ผลการศึกษาพบว่า ‘อำนาจทางการเมือง’ กับ ‘อำนาจทางเศรษฐกิจ’ ของกองทัพเมียนมาเป็นเงื่อนไขเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน กองทัพเมียนมาได้อาศัยอำนาจทางการเมืองเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การสร้างและดำเนินธุรกิจของตนเอง ธุรกิจของกองทัพสามารถปรับตัวและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้น และขยายตัวมากขึ้นออกไปครอบคลุมธุรกิจทุกประเภท ทั้งในรูปของเครือบริษัทที่ดำเนินการโดยกระทรวงกลาโหม อย่างเครือบริษัท UMEHL และเครือบริษัท MEC, ธุรกิจที่ดำเนินการโดยหน่วยงานย่อยต่างๆ ในกระทรวงกลาโหม, ธุรกิจของหน่วยทหารในระดับภูมิภาค รวมถึงเอื้อให้เกิดระบบ ทุนนิยมแบบเครือญาติ (Nepo-capitalism) และระบบทุนนิยมแบบเครือข่ายบริวาร (Crony capitalism) ในทางกลับกัน กองทัพเมียนมาก็ใช้อำนาจทางเศรษฐกิจที่ตนเองครอบครองเพื่อรักษาและขยายอำนาจทางการเมืองของตนเองให้เข้มแข็งมากขึ้นกว่าเดิม อันจะเป็นหลักประกันว่าตนเองจะสามารถควบคุมธุรกิจให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่พึงพอใจได้ กองทัพจึงดำเนินการเสริมสร้างศักยภาพทางการทหาร, สะสมความมั่งคั่งในหมู่ผู้นำทหาร, สนับสนุนสวัสดิการเพื่อสร้างความจงรักภักดีในเหล่าเจ้าหน้าที่ทหาร และทหารเกษียณอายุ, ก่อตั้งมวลชนจัดตั้ง และให้การสนับสนุนขบวนการชาตินิยมที่ฝักใฝ่กองทัพ ตลอดจนเปิดโอกาสให้พลเรือนเข้ามาประกอบอาชีพในธุรกิจของกองทัพ เพื่อขยายความนิยมทางการเมืองของตนเองออกไปสู่ภาคพลเรือนในช่วงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การศึกษายังพบว่า อำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจของกองทัพเมียนมาที่ปราศจากการควบคุมและตรวจสอบจากรัฐบาลหรือหน่วยงานใดๆ เป็นอุปสรรคสำคัญที่บ่อนเซาะการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของเมียนมา ให้กลายเป็นเพียงการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยภายใต้กองทัพผู้พิทักษ์ระบอบเดิมเท่านั้น


Processing Of English Passive Construction In L1 Thai Learners, Vatcharit Chantajinda Jan 2020

Processing Of English Passive Construction In L1 Thai Learners, Vatcharit Chantajinda

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research study is to examine Thai learners’ comprehension of English passive sentences focusing on Thai thùuk-passives, which are usually found in adversative contexts (Po-ngam, 2008; Prasithrathsint, 2010) which are prototypical in thùuk-passives and can also be used in neutral contexts (Prasithrathsint, 2001, 2006), and on be-passives in English, which can be found in all contexts. This work classified English verbs into three types using adversity and naturalness in Thai thùuk-passives, namely Verb Type 1 (adversative and natural in Thai thùuk-passives, e.g., destroy), Verb Type 2 (non-adversative and natural in Thai thùuk-passives, e.g., buy), and Verb Type …


Technical And Scale Efficiency Of Public Hospitals In Papua New Guinea, James Noah Jan 2020

Technical And Scale Efficiency Of Public Hospitals In Papua New Guinea, James Noah

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of the study was to estimate the relative technical efficiency of public hospitals in PNG and estimate the magnitudes of output increases and/or input reductions that would have been required to make relatively inefficient hospitals more efficient using Data Envelopment Analysis for 20 hospitals in PNG using the data for 2017. The study is further extended using the Tobit regression analysis to investigate the institutional and contextual factors on hospital efficiencies. The results of the output-oriented DEA BCC Model indicated that the average constant returns to scale technical efficiency score was 79%; the average variable returns to scale …


Determinants Of Cross-Border Mergers And Acquisitions Of Firms In Thailand, Pongpak Weerakiet Jan 2020

Determinants Of Cross-Border Mergers And Acquisitions Of Firms In Thailand, Pongpak Weerakiet

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this paper, we evaluate the effects of firm-level and country-level variables on the firms' probability of having cross-border M&A deals and the size of the deals. Our sample consists of 87 firms from SET100 Index (firms from financial industry are excluded), and the data between 2009 to 2018 is used in this paper. The results indicate that the increase in ownership advantages of the firms, namely, size and profitability raise the chance of the firms having cross-border M&A deals and the size of the deals. For country-level variables, the results agree with the gravity model that an increase in …


The Effect Of Direct Taxes On Income And Wealth Distribution In Thailand Under Comprehensive Income Concept, Voramast Limteerakul Jan 2020

The Effect Of Direct Taxes On Income And Wealth Distribution In Thailand Under Comprehensive Income Concept, Voramast Limteerakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis research comprises three studies, each of which investigates the inequality of income and wealth in Thailand from 1996 to 2017 and the impact of personal income tax and taxes on real estate on that inequality. Shorrocks Index decomposition technique is applied to examine the key drivers of inequality in the country in the first two studies. In the third study, the analysis is developed under the Heckman Selection Model to estimate the effect of personal income tax policy reform on the individual. The overall results demonstrate that accrued capital gains from asset ownership are the main drivers of …


Youths' Participation In Agriculture For Enhancing Sustainable Livelihoods: A Case Study Of Pa-O Self-Administered Zone In Southern Shan State, Myanmar, Khine Zin Yu Aung Jan 2020

Youths' Participation In Agriculture For Enhancing Sustainable Livelihoods: A Case Study Of Pa-O Self-Administered Zone In Southern Shan State, Myanmar, Khine Zin Yu Aung

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Myanmar in which 70 percent of the population is rural people relies on agricultural sector for its economy. It contributes about 37.8 percent of the country's GDP and employs about 50 percent of the labors (FAO, 2020). However, Myanmar's agricultural sector is not well developed and does not stand as reliable livelihood for the people, especially for the youths, in rural areas. Hence, the people in rural areas have to seek more livelihood opportunities like leaving their farmlands and moving to other places for work. This situation has impact both on youths and on the agricultural sector which needs youths' …


Social Innovation And Inclusive Business Model For The Bottom Of The Pyramid: A Case Study Of Organic Tourism Ecosystem In Thailand, Yunkang Liu Jan 2020

Social Innovation And Inclusive Business Model For The Bottom Of The Pyramid: A Case Study Of Organic Tourism Ecosystem In Thailand, Yunkang Liu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Social inequality and poverty are major challenges facing all humans in the 21st century. At the same time, income gaps, uneven development of urban-rural, and poverty as the stumbling block of Thailand to achieving the UN 2030 Sustainable Development Goals. It is necessary to explore new development models by promoting social innovation. On the one hand, in the past few decades, the private sector is one of the main contributors to Gross domestic product (GDP) growth in the ASEAN region. It is important to encourage the private sector to assume more responsibilities for contributing to local development. The inclusive business …


นโยบายผู้ลี้ภัยของออสเตรเลียในสมัยรัฐบาลนายจอห์น โฮเวิร์ด (ระหว่าง ค.ศ. 2001-2007), วทันยา โกนจนันท์ Jan 2020

นโยบายผู้ลี้ภัยของออสเตรเลียในสมัยรัฐบาลนายจอห์น โฮเวิร์ด (ระหว่าง ค.ศ. 2001-2007), วทันยา โกนจนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเรื่องนโยบายผู้ลี้ภัยในสมัยรัฐบาลของนายจอห์น โฮเวิร์ด ระหว่าง ค.ศ. 2001-2007 โดยมุ่งศึกษานโยบายผู้ลี้ภัยผ่านแนวคิดพหุวัฒนธรรมนิยม การศึกษาพบว่าการต่อต้านการก่อการร้ายของรัฐบาลส่งผลต่อการดำเนินนโยบายผู้ลี้ภัย เพราะรัฐบาลสนับสนุนแนวคิดพหุวัฒนธรรมนิยมที่เน้นความสำคัญที่ความเป็นปึกแผ่นทางสังคม (Social Cohesion) เพื่อต่อต้านการก่อการร้าย แทนที่จะสนับสนุนพหุวัฒนธรรมนิยมในแง่ของการยอมรับความหลากหลาย พหุวัฒนธรรมนิยมในออสเตรเลียหลังการก่อการร้ายจึงอยู่ในภาวะถดถอย รัฐบาลต้องการให้ประชาชนชาวออสเตรเลียยึดถือคุณค่าเดียวกันคือคุณค่าและค่านิยมของออสเตรเลีย และเห็นว่าชุมชนชาวมุสลิมเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถยอมรับคุณค่าของออสเตรเลียได้จนนำมาซึ่งการกีดกันผู้ลี้ภัยที่ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมที่เดินทางมาจากภูมิภาคตะวันออกกลาง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอว่าการกีดกันผู้ลี้ภัยของรัฐบาลนี้เป็นการเหยียดเชื้อชาติแบบใหม่ที่เลือกปฏิบัติจากเหตุผลด้านวัฒนธรรม นอกจากนี้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ยังได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศภายใต้แนวทางพหุวัฒนธรรมที่ถดถอยลงเช่นนี้ และพบว่าแม้การกีดกันผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมจะสร้างความไม่พอใจให้กับประเทศมุสลิมในอาเซียนแต่สุดท้ายแล้วออสเตรเลียก็สามารถผลักดันให้เกิดความร่วมมือได้ โดยความร่วมมือที่เด่นชัดที่สุดคือการก่อตั้งกระบวนการบาหลีในฐานะกลไกระดับภูมิภาค


ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกเชื่อมโยงทางสังคม และสุขภาวะของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีกลวิธีการจัดการปัญหาเชิงรุกเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ขจิตพันธ์ ธีรวรวัชร์ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกเชื่อมโยงทางสังคม และสุขภาวะของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีกลวิธีการจัดการปัญหาเชิงรุกเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ขจิตพันธ์ ธีรวรวัชร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นักเรียนมัธยมเป็นช่วงวัยรุ่นที่อาจเกิดความเครียดได้ง่าย จากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทั้งทางร่างกายอารมณ์จิตใจและสังคม จึงควรได้รับการสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกเชื่อมโยงทางสังคม และ การมีทักษะกลวิธีการจัดการปัญหาเชิงรุก ซึ่งเป็นตัวแปรที่สำคัญที่ทำให้วัยรุ่นมีสุขภาวะที่ดี งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการสนับสนุนทางสังคม และความรู้สึกเชื่อมโยงทางสังคม ต่อสุขภาวะ โดยมีกลวิธีการจัดการปัญหาเชิงรุกเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,168 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกระดาษ ในช่วงเดือนธันวาคม 2563 และทางออนไลน์ ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ เดือนมกราคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐานและโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modelling: SEM) โดยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัย พบว่า โมเดลเชิงสาเหตุของความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม และความรู้สึกเชื่อมโยงทางสังคม ที่มีต่อสุขภาวะ โดยมีกลวิธีจัดการปัญหาเชิงรุกเป็นตัวแปรส่งผ่าน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ χ2= 176.414, df =29, p <.001, RMSEA = .066, CFI = .978, TLI = .966, SRMR = .027 โดยการสนับสนุนทางสังคม สามารถอธิบายความแปรปรวนของกลวิธีการจัดการปัญหาเชิงรุกได้ร้อยละ 29.9 ส่วนการสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกเชื่อมโยงทางสังคม และกลวิธีการจัดการปัญหาเชิงรุก ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของสุขภาวะได้ร้อยละ 74.2 กลวิธีการจัดการปัญหาเชิงรุกเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบบางส่วนของอิทธิพลระหว่างการสนับสนุนทางสังคมต่อสุขภาวะ (อิทธิพลทางตรง=.539 ทางอ้อม=.177 รวม=.716) ส่วนความรู้สึกเชื่อมโยงทางสังคม และกลวิธีการจัดการปัญหาเชิงรุก มีอิทธิพลทางตรงต่อสุขภาวะ (ทางตรง = .170, .324 ตามลำดับ) และการสนับสนุนทางสังคม มีอิทธิพลทางตรงต่อกลวิธีการจัดการปัญหาเชิงรุก (ทางตรง =.547) จากผลการวิจัยดังกล่าวชี้ให้ผู้ปกครอง และครู เห็นความสำคัญของการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม และความรู้สึกเชื่อมโยงทางสังคม ซึ่งทำให้วัยรุ่นมีกลวิธีการจัดการปัญหาเชิงรุกมากขึ้น และนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี


ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาททางเพศ รูปแบบความผูกพัน กับความเมตตากรุณาต่อตนเองในกลุ่มนิสิตนักศึกษา, คงพล แวววรวิทย์ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาททางเพศ รูปแบบความผูกพัน กับความเมตตากรุณาต่อตนเองในกลุ่มนิสิตนักศึกษา, คงพล แวววรวิทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาททางเพศ รูปแบบความผูกพัน กับความเมตตากรุณาต่อตนเองในกลุ่มนิสิตนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตนักศึกษา จำนวน 199 คน อายุเฉลี่ย 20.32±.01 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) มาตรวัดบทบาททางเพศ (2) มาตรวัดรูปแบบความผูกพันในความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั่วไป ฉบับภาษาไทย และ (3) มาตรวัดความเมตตากรุณาต่อตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า บทบาททางเพศแบบความเป็นชายกับบทบาททางเพศแบบความเป็นหญิงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเมตตากรุณาต่อตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .22, p < .01) (r = .185, p < .01) ส่วนลักษณะความผูกพันแบบวิตกกังวลกับลักษณะความผูกพันแบบหลีกหนีมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเมตตากรุณาต่อตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.318, p < .01) (r = -.346, p < .01) โดยที่บทบาททางเพศแบบความเป็นชาย บทบาททางเพศแบบความเป็นหญิง ลักษณะความผูกพันแบบวิตกกังวล และลักษณะความผูกพันแบบหลีกหนีสามารถร่วมกันทำนายความเมตตากรุณาต่อตนเองในกลุ่มนิสิตนักศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยร่วมกันทำนายความแปรปรวนของความเมตตากรุณาต่อตนเองร้อยละ 23.2 (R2 = .232, p < .001) เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐานของแต่ละตัวแปรทำนายลักษณะความผูกพันแบบวิตกกังวลมีน้ำหนักค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐานสูงที่สุด (β = -.31, p < .001) ตามด้วยลักษณะความผูกพันแบบหลีกหนี (β = -.30, p < .001) ส่วนบทบาททางเพศแบบความเป็นชาย ไม่สามารถทำนายความเมตตากรุณาต่อตนเองได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .06, p = .375) เช่นเดียวกับบทบาททางเพศแบบความเป็นหญิง (β = .09, p = .244)


ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล ความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบ ความเพลิน การยอมรับ และ ความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที ในนักแสดงละครเวที, อาภัสสร ผาติตานนท์ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล ความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบ ความเพลิน การยอมรับ และ ความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที ในนักแสดงละครเวที, อาภัสสร ผาติตานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล ความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบ ความเพลิน การยอมรับ และความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที กลุ่มตัวอย่างคือนักแสดงละครเวทีอายุระหว่าง 18-62 ปี มีประสบการณ์แสดงละครเวทีประเภทละครพูดหรือละครเพลง โดยละครดังกล่าวเป็นละครที่จัดแสดงเต็มเรื่องและมีผู้ชมอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่การแสดงเฉพาะบางฉากหรือบางองก์เพื่อการฝึกหัดหรือซ้อม กลุ่มตัวอย่างมีทั้งหมด 205 คน ใช้เครื่องมือวัดในการวิจัย 5 ฉบับ ได้แก่ มาตรวัดบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล มาตรวัดความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบ มาตรวัดความเพลิน มาตรวัดการยอมรับ และมาตรวัดความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า บุคลิกภาพแบบวิตกกังวลมีสหสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที (r(203) = .52, p < .001, หนึ่งหาง) ความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบมีสหสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที (r(203) = .66, p < .001, หนึ่งหาง) ความเพลินมีสหสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที (r(203) = -.44, p < .001, หนึ่งหาง) การยอมรับมีสหสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที (r(203) = -.41, p < .001, หนึ่งหาง) และบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล ความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบ ความเพลิน และการยอมรับ ร่วมกันทำนายความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวทีได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R 2 = .50, p < .001) และอธิบายความแปรปรวนของความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวทีได้ร้อยละ 50


ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบให้พลังกับพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงาน : บทบาทการกำกับอิทธิพลส่งผ่านของบรรทัดฐานองค์การที่สนับสนุนนวัตกรรมต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ ในกลุ่มพนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์การการสื่อสารโทรคมนาคมภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร, ธนิศรา คงกระพันธ์ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบให้พลังกับพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงาน : บทบาทการกำกับอิทธิพลส่งผ่านของบรรทัดฐานองค์การที่สนับสนุนนวัตกรรมต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ ในกลุ่มพนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์การการสื่อสารโทรคมนาคมภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร, ธนิศรา คงกระพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงานเป็นพฤติกรรมที่ควรพัฒนาให้เกิดในพนักงานขององค์การ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและรวดเร็วแต่การที่จะพัฒนาให้บุคลากรในองค์การเกิดพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงานได้ ปัจจัยที่สำคัญคือรูปแบบภาวะผู้นำ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดรวมถึงการแสดงออกทางพฤติกรรมของพนักงานในองค์การ พนักงานจะมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนหรือพัฒนาปรับปรุงทักษะความสามารถของตนเอง ก็จากการแบ่งปันมุมมองของผู้นำ ผู้นำมีความยืดหยุ่น ให้โอกาสและอิสระทางความคิดแก่พนักงานซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงานของพนักงานซึ่งรูปแบบภาวะผู้นำที่กล่าวไปคือ ภาวะผู้นำแบบให้พลัง โดยวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบให้พลังกับพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงานโดยมีการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่านและบรรทัดฐานองค์การที่สนับสนุนนวัตกรรมเป็นตัวแปรกำกับ ผู้เข้าร่วมการวิจัยในครั้งนี้คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์การการสื่อสารโทรคมนาคม ภาคเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร โดยทำการเก็บข้อมูลจากองค์การโทรคมนาคม 2 แห่ง และมีผู้เข้าการวิจัยทั้งหมด 233 คน โดยวิเคราะห์สมมติฐานด้วยการทดสอบตัวแปรส่งผ่านและตัวแปรกำกับอย่างมีเงื่อนไข (moderated mediation model) ผ่านโปรแกรมเสริม PROCESS ใน SPSS ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า ภาวะผู้นำแบบให้พลังสามารถทำนายพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจด้านความสามารถในงานเป็นตัวแปรส่งผ่านเพียงองค์ประกอบเดียว และเป็นการส่งผ่านเพียงบางส่วน (partial mediation) อย่างไรก็ตามผลการศึกษาพบว่าบรรทัดฐานองค์การสนับสนุนนวัตกรรมไม่เป็นตัวแปรกำกับในความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจกับพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงาน


ความสัมพันธ์ระหว่างมิติความผูกพันของผู้รับบริการกับสัมพันธภาพในการบำบัด โดยมีการรับรู้อวัจนภาษาของนักจิตวิทยาการปรึกษาในผู้มารับบริการปรึกษาเป็นตัวแปรส่งผ่าน, คีตา มากศิริ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างมิติความผูกพันของผู้รับบริการกับสัมพันธภาพในการบำบัด โดยมีการรับรู้อวัจนภาษาของนักจิตวิทยาการปรึกษาในผู้มารับบริการปรึกษาเป็นตัวแปรส่งผ่าน, คีตา มากศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัมพันธภาพระหว่างมิติความผูกพันของผู้รับบริการและสัมพันธภาพในการบำบัด โดยมีการรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่ออวัจนภาษาของนักจิตวิทยาเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่เคยมีประสบการณ์เข้ารับบริการปรึกษาทางจิตวิทยาจำนวน 137 คน อายุเฉลี่ย 26.15 ± 7.219 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ได้แก่ (1) แบบสอบถามอวัจนภาษาของนักจิตวิทยา (2) แบบสอบถามสัมพันธภาพในการบำบัด และ (3) แบบสอบถามรูปแบบความผูกพัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและทดสอบตัวแปรส่งผ่านโดยใช้คำสั่ง PROCESS (Hayes et al., 2017) ผลการวิจัยพบว่า มิติความผูกพันแบบวิตกกังวลของผู้รับบริการ มีค่าสหสัมพันธ์ทางบวกกับสัมพันธภาพในการบำบัด (r = .276, p < .01) และมิติความผูกพันแบบวิตกกังวลของผู้รับบริการ มีค่าสหสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่ออวัจนภาษาของนักจิตวิทยา (r = .346, p < .01) ในขณะที่มิติความผูกพันแบบหลีกหนีของผู้รับบริการ มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับสัมพันธภาพในการบำบัด (r = -.302, p < .01) และมิติความผูกพันแบบหลีกหนีของผู้รับบริการมีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่ออวัจนภาษาของนักจิตวิทยา (r = -.179, p < .05) นอกจากนี้ การรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่ออวัจนภาษาของนักจิตวิทยา มีค่าสหสัมพันธ์ทางบวกกับสัมพันธภาพในการบำบัด (r = .546, p < .01) ผลการวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่าน พบว่า การรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่ออวัจนภาษาของนักจิตวิทยาส่งผลทางอ้อม (Indirect Effect) ระหว่างมิติความผูกพันแบบวิตกกังวลกับสัมพันธภาพในการบำบัดในระดับ .39 (p < .05) และการรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่ออวัจนภาษาของนักจิตวิทยาส่งผลทางอ้อมระหว่างมิติความผูกพันแบบหลีกหนีของผู้รับบริการกับสัมพันธภาพในการบำบัดในระดับ -.18 (p < .05)


ประสบการณ์ทางจิตใจของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่ประสบกับสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ, วงศธรณ์ ทุมกิจจ์ Jan 2020

ประสบการณ์ทางจิตใจของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่ประสบกับสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ, วงศธรณ์ ทุมกิจจ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้ถึงประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่เคยหรือประสบกับสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ โดยใช้ระเบียบวิจัยคุณภาพแนววิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ เก็บข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่เคยหรือกำลังประสบกับสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจทั้งหมด 7 ราย ผลการวิจัยพบ 3 ประเด็นหลักที่สำคัญได้แก่ 1) ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ ทักษะและประสบการณ์ และ การจัดการตนเองและการบริการโดยมีประเด็นย่อยได้แก่ การจัดการปัญหาส่วนตัว จำนวนผู้รับบริการต่อวันมากเกินไป และการควบคุมความเหนื่อยไม่ให้ถูกแสดงออกมา 2) ผลกระทบของสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ ประกอบด้วย ประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตประจำวันลดลง และ ความยากที่จะแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจโดยมีประเด็นย่อยได้แก่ ความสามารถในการสะท้อนความรู้สึกของผู้รับบริการลดลงและ ไม่สามารถมีส่วนร่วมกับสังคมรอบข้าง 3) การจัดการกับสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ ประกอบด้วย การให้เวลาดูแลตัวเอง และ การสนับสนุนจากสังคมรอบข้างโดยมีประเด็นย่อยได้แก่ อาจารย์นิเทศก์ช่วยทำความเข้าใจภาวะที่เกิดขึ้น และความเข้าใจจากคนสำคัญรอบข้าง โดยผลการวิจัยครั้งนี้ทำเพื่อเป็นข้อมูลให้แก่นักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่เคยหรือประสบกับสภาวะกับความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง


ประสบการณ์ทางจิตใจของผู้ที่เคยเป็นมะเร็งในการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง, ลักษณ์พร ภาณุเกษมสิน Jan 2020

ประสบการณ์ทางจิตใจของผู้ที่เคยเป็นมะเร็งในการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง, ลักษณ์พร ภาณุเกษมสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของผู้ที่เคยเป็นมะเร็งในการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งมีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลคือผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์ในการเป็นมะเร็งและสิ้นสุดการรักษามาแล้วอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 7 คน โดยมีช่วงอายุ 58 - 67 ปี ผลการวิจัยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเด็นหลักคือ 1) ประสบการณ์เดิมที่นำไปสู่การเป็นจิตอาสา ประกอบด้วย ความเข้าใจความคิดความรู้สึกของผู้ป่วยมะเร็ง ความรู้ความเข้าใจที่ตกผลึกจากประสบการณ์ตรง และความเข้าใจเชิงปรัชญาในการมองโลกและชีวิต 2) การเข้าสู่ชมรมจิตอาสาเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง ประกอบด้วย การแสวงหาข้อมูลด้วยตนเอง และการได้รับข้อมูลจากผู้อื่นและ 3) สิ่งที่เอื้อให้เป็นจิตอาสาสนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย กิจกรรมที่ทำได้รับการสนับสนุนจากสังคม การเปลี่ยนแปลงทางบวกในตนเอง และการมีทรัพยากรที่เอื้ออำนวยในการทำจิตอาสาสนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง โดยการวิจัยนี้ช่วยให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ทางจิตใจของผู้ที่เคยเป็นมะเร็งในการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งมากขึ้น โดยสามารถนำผลการวิจัยดังกล่าวไปพัฒนาการสนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งให้มีความครอบคลุมทั่วถึงและเป็นระบบ รวมถึงจัดโครงการเพื่อพัฒนาอบรมผู้สนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งให้มีความพร้อมในการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ประสบการณ์ภายในจิตใจของพนักงานตาบอดที่ทำงานในองค์กร, สโรชา กิตติสิริพันธุ์ Jan 2020

ประสบการณ์ภายในจิตใจของพนักงานตาบอดที่ทำงานในองค์กร, สโรชา กิตติสิริพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ภายในจิตใจของพนักงานตาบอดที่ทำงานในองค์กร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยคุณภาพแนววิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ (Interpretative Phenomenological Analysis: IPA) เก็บข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นคนพิการทางการเห็นระดับสายตาบอดสนิทที่มีประสบการณ์ทำงานในองค์กรร่วมกับคนทั่วไปจำนวน 6 ราย ผลการวิจัยประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) แรงกดดันภายในใจก่อนเริ่มทำงาน ประกอบด้วย ความต้องการสร้างอัตลักษณ์จากการทำงาน ความจำกัดทางอาชีพ และความกังวลใจต่อการทำงาน 2) ความบีบคั้นทางใจเมื่อเริ่มเป็นพนักงานองค์กร ประกอบด้วย การขาดระบบสนับสนุนการทำงาน การขาดอิสระในการเคลื่อนไหว การถูกปิดกั้นการมีส่วนร่วม และข้อจำกัดเรื่องผลตอบแทนและความก้าวหน้าในอาชีพ 3) การรับมือกับความบีบคั้นทางใจในองค์กร ประกอบด้วย การรับมือปัญหาด้วยตนเอง และการสนับสนุนจาก คนรอบข้าง 4) การซึมซับการตีตราสู่ตนเอง ประกอบด้วย ความรู้สึกไม่ทัดเทียมกับผู้อื่น ความรู้สึกเป็นภาระ และความเจียมตัวในความพิการ ผู้วิจัยได้อภิปรายผลโดยอธิบายถึงการปรับตัวของพนักงานตาบอด และการซึมซับการตีตราสู่ตนเองของพนักงานตาบอด ผลการวิจัยในครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลในมุมมองของพนักงานตาบอดในบริบทของการทำงาน เป็นประโยชน์ต่อการช่วยเหลือทางจิตใจและการปรับตัวให้แก่พนักงานตาบอด และวางแผนนโยบายที่เอื้อให้พนักงานตาบอดสามารถทำงานได้อย่างเต็มความสามารถ


ประสบการณ์ทางจิตใจในประเด็นการถ่ายโอนย้อนกลับ ของนักจิตบำบัดในกระบวนการบำบัดรักษา, เจษฎา กลิ่นพูล Jan 2020

ประสบการณ์ทางจิตใจในประเด็นการถ่ายโอนย้อนกลับ ของนักจิตบำบัดในกระบวนการบำบัดรักษา, เจษฎา กลิ่นพูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจในประเด็นของการถ่ายโอนย้อนกลับของนักจิตบำบัดในกระบวนการบำบัดรักษา ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ (Interpretative Phenomenological Analysis: IPA) โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ผู้เข้าร่วมวิจัยคือนักจิตบำบัดที่มีประสบการณ์ทำงานระหว่าง 5 – 10 ปี จำนวน 6 ราย ผลการวิจัยสามารถแบ่งได้ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ความรู้สึกเชื่อมโยงกับผู้รับบริการ ประกอบด้วย การพบประสบการณ์ที่นักจิตบำบัดคุ้นเคย การรู้สึกร่วมไปกับเรื่องราวของผู้รับบริการ และการไม่สามารถกักเก็บอารมณ์ที่รู้สึกต่อผู้รับบริการ 2) การถ่ายโอนย้อนกลับเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ ประกอบด้วย การขัดแย้งกับภาพที่นักจิตบำบัดคิดว่าควรจะเป็น และ การรบกวนชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัวของนักจิตบำบัด และ 3) การพยายามยุติการถ่ายโอนย้อนกลับ ประกอบด้วย นักจิตบำบัดจัดการตัวเอง (การดึงสติให้จดจ่อกับกระบวนการ การปรับกระบวนการบำบัดรักษาเพื่อเลี่ยงอิทธิพลของการถ่ายโอนย้อนกลับ การเพิ่มความรู้และความเข้าใจทางทฤษฎีและประสบการณ์ของตน การยอมรับในขอบเขตของนักจิตบำบัด) การปรึกษาอาจารย์นิเทศและพบนักจิตบำบัดของตน (การชี้ให้เห็นการถ่ายโอนย้อนกลับที่เกิดขึ้น การช่วยหาทางแก้ไขการถ่ายโอนย้อนกลับ) และการระบายและขอความเห็นจากคนรอบข้าง ซึ่งผลการวิจัยช่วยให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ของการถ่ายโอนย้อนกลับของนักจิตบำบัดเพิ่มขึ้น โดยจะเป็นประโยชน์ต่อนักจิตบำบัด ตลอดจนผู้ให้ฝึกอบรมหรือผู้ให้การนิเทศตระหนักถึงความสำคัญของประสบการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนา ฝึกฝน รวมถึงพัฒนางานในศาสตร์จิตบำบัดหรือจิตวิทยาการปรึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป


ผลของเป้าหมายการกำกับต่อความมุ่งมั่นในตนเอง : การเปรียบเทียบระหว่างวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น, อาภา กำวิจิตรรัตนโยธา Jan 2020

ผลของเป้าหมายการกำกับต่อความมุ่งมั่นในตนเอง : การเปรียบเทียบระหว่างวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น, อาภา กำวิจิตรรัตนโยธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของเป้าหมายการกำกับต่อความมุ่งมั่นในตนเองระหว่างวัยรุ่นกับวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยมีผู้เข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 320 คน ซึ่งจะถูกแบ่งเข้าเงื่อนไขตามเป้าหมายการกำกับ ได้แก่ เงื่อนไขเป้าหมายการกำกับแบบส่งเสริมจำนวน 160 คน และเงื่อนไขเป้าหมายการกำกับแบบป้องกันจำนวน 160 คน แต่ละเงื่อนไขประกอบด้วยวัยรุ่นอายุ 13-15 ปี จำนวน 80 คน และวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอายุ 18-24 ปี จำนวน 80 คน ซึ่งผู้เข้าร่วมการวิจัยถูกขอให้เขียนประสบการณ์ตามเงื่อนไขที่ได้รับ จากนั้นจึงตอบแบบวัดความมุ่งมั่นในตนเอง มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความแปรปรวนสองทาง (Two-way ANOVA) และวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนความมุ่งมั่นในตนเองภายในกลุ่มเงื่อนไขระหว่างวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นด้วยการทดสอบทางสถิติ t-test เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความมุ่งมั่นในตนเองระหว่างกลุ่มวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นภายใต้แต่ละเงื่อนไขเป้าหมายการกำกับในรูปแบบเดียวกันว่าแตกต่างกันอย่างไร จากผลการวิจัยพบว่า (1) มีปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างเงื่อนไขเป้าหมายการกำกับกับช่วงวัยของผู้เข้าร่วมการวิจัยต่อคะแนนความมีอิสระอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .016 โดยภายใต้เงื่อนไขเป้าหมายการกำกับแบบส่งเสริมวัยผู้ใหญ่ตอนต้นมีค่าเฉลี่ยคะแนนมากกว่าวัยรุ่น ในขณะที่ภายใต้เงื่อนไขเป้าหมายการกำกับแบบป้องกันวัยรุ่นมีค่าเฉลี่ยคะแนนมากกว่าวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (2) ไม่พบการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างเงื่อนไขเป้าหมายการกำกับกับช่วงวัยของผู้เข้าร่วมการวิจัย ต่อคะแนนความต้องการมีความสัมพันธ์ และไม่พบอิทธิพลหลักของทั้งช่วงวัยและเงื่อนไขเป้าหมายการกำกับที่มีต่อคะแนนความต้องการมีความสัมพันธ์ (3) มีปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างเงื่อนไขเป้าหมายการกำกับกับช่วงวัยของผู้เข้าร่วมการวิจัยต่อคะแนนความต้องการรู้สึกประสบความสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .016 โดยภายใต้เงื่อนไขเป้าหมายการกำกับแบบส่งเสริมวัยผู้ใหญ่ตอนต้นมีค่าเฉลี่ยคะแนนมากกว่าวัยรุ่น ในขณะที่ภายใต้เงื่อนไขเป้าหมายการกำกับแบบป้องกันวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นมีค่าเฉลี่ยคะแนนไม่แตกต่างกัน