Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1531 - 1560 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

ผลของกลุ่มพัฒนาตนโดยมีภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี, ชิดชนก จินตนาวุฒิ Jan 2020

ผลของกลุ่มพัฒนาตนโดยมีภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี, ชิดชนก จินตนาวุฒิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยกึ่งทดลองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มพัฒนาตนโดยมีภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรี อายุตั้งแต่ 18-23 ปี จำนวน 29 คน แบ่งเป็นกลุ่มพัฒนาตนโดยมีภาพยนตร์เป็นสื่อ 9 คน กลุ่มพัฒนาตนตามแนวทรอตเซอร์ 9 คน และกลุ่มชมภาพยนตร์ 11 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมกลุ่มพัฒนาตนโดยมีภาพยนตร์เป็นสื่อ สัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง รวม 5 ครั้ง โดยกลุ่มตัวอย่างตอบแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองของ Ryden ในช่วงก่อนและหลังการวิจัย ข้อมูลที่ได้รับถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบผสม ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองในช่วงหลังการเข้ากลุ่มสูงกว่าก่อนการเข้ากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างของคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองภายหลังการเข้าร่วมกลุ่ม


อิทธิพลของสภาวะลื่นไหลต่อการพร่องในการควบคุมตน โดยมีความต้องการทางปัญญาเป็นตัวแปรกำกับ, ปรางค์ทิพย์ พงษ์ประเสริฐ Jan 2020

อิทธิพลของสภาวะลื่นไหลต่อการพร่องในการควบคุมตน โดยมีความต้องการทางปัญญาเป็นตัวแปรกำกับ, ปรางค์ทิพย์ พงษ์ประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการศึกษาที่ผ่านมาพบว่ากิจกรรมที่ไม่ต้องออกแรง เช่น การพักผ่อนชั่วคราวหรือการทำในสิ่งที่นำไปสู่อารมณ์ทางบวกนั้นสามารถลดสภาวะการพร่องในการควบคุมตนเอง (ego depletion) กิจกรรมที่ใช้ความกระตือรือร้น เช่น สภาวะลื่นไหล (flow state) จากการเล่นเกมที่สมดุลกับความสามารถของบุคคลก็อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สามารถลดสภาวะพร่องได้เช่นกัน การศึกษาครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาว่ากิจกรรมรูปแบบใดจะสามารถช่วยให้เรากลับมาควบคุมตนเองได้ดีเช่นเดิม การศึกษาครั้งนี้เป็นการทดลองออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 134 คน อายุระหว่าง 18-25 ปี ผู้เข้าร่วมการทดลองจะถูกจัดกระทำให้เกิดการพร่องในการควบคุมตนเองด้วยการกดทับความคิดจากคำสั่งห้ามคิดถึงหมีขาว จากนั้นทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้าสู่เงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งจากสี่เงื่อนไข ดังนี้ ก) พักผ่อนตามอัธยาศัย 6 นาที ข) เล่นเกม Tetris ในระดับปานกลาง ค) เล่นเกม Tetris ในระดับยาก หรือ ง) ดูวิดีโอตลก จากนั้น ผู้เข้าร่วมการทดลองจะต้องทำการสลับอักษรสุภาษิตไทยในระดับยาก ประสิทธิภาพในการลดสภาวะพร่องนั้นจะถูกวัดจากคะแนนและเวลาการสลับอักษร เพื่อทดสอบว่ากลุ่มตัวอย่างในเงื่อนไขใดสามารถสลับอักษรได้ดีที่สุดและมีความอดทนในการทำงานมากที่สุด ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการทางปัญญามีอิทธิพลต่อคะแนนการสลับอักษรอย่างมีนัยสำคัญ (F(1,126) = 20.33, p < 0.001) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างเงื่อนไขทั้งสี่เงื่อนไข ในขณะเดียวกัน พบว่ามีผลปฏิสัมพันธ์ระหว่างเงื่อนไขการทดลองและความต้องการทางปัญญาอย่างมีนัยสำคัญต่อเวลาเฉลี่ยในการสลับอักษร (F(3,126) = 2.77, p < 0.05) และยังพบอิทธิพลหลักของความต้องการทางปัญญาต่อเวลาเฉลี่ยในการสลับอักษรอย่างมีนัยสำคัญ (F(3,126) = 5.67, p < 0.05) ผลของการทดลองยังไม่สามารถสรุปได้ว่าสภาวะลื่นไหลมีอิทธิพลต่อความถูกต้องและเวลาที่ใช้ในการสลับอักษร อย่างไรก็ดีผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าประสิทธิผลของการทำงานสลับอักษรหลังจากกิจกรรมการกดทับทางความคิดนั้นขึ้นอยู่กับระดับความต้องการทางปัญญาของบุคคล


Impact Of Covid-19 On Airline Business: A Case Study Of Airlines In Thailand, Chonlatan Chokanan Jan 2020

Impact Of Covid-19 On Airline Business: A Case Study Of Airlines In Thailand, Chonlatan Chokanan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hardship of airline industry is outstanding in 2020, air travel has been interrupted, since the new coronavirus 2019 started spreading around the world in December 2019. This research depicts the picture of impact from the consequence after economic activities are intervened both demand and supple sides, leading to financial problem. Travel restriction policy strictly imposed in several countries has reduced airline operating activities to the minimum. Airlines then mainly operate in domestic sector, and are permitted for only some specific international flights. Commercial airlines had struggled to survive, by introducing competitive airfare, finding other source of revenue, reduce over capacity, …


กระบวนการส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับประเทศต้นทางด้วยความสมัครใจ: บทวิเคราะห์สาเหตุความล่าช้าและผลกระทบ, ชุติมา ทองเต็ม Jan 2020

กระบวนการส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับประเทศต้นทางด้วยความสมัครใจ: บทวิเคราะห์สาเหตุความล่าช้าและผลกระทบ, ชุติมา ทองเต็ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษากระบวนการกลับคืนถิ่นฐานโดยความสมัครใจ เพื่อศึกษาสาเหตุและผลกระทบที่เกิดจากความล่าช้า รวมทั้งนำเสนอข้อท้าทาย โอกาส และข้อเสนอเชิงนโยบาย มีกรอบการศึกษาช่วงระยะเวลาสถานการณ์พัฒนาเชิงบวกจนถึงก่อนหน้าที่จะเกิดสถานการณ์โรคโควิด 19 ในปี ค.ศ. 2020 โดยมีสมมติฐานว่านโยบายของ รัฐไทย รัฐเมียนมา และUNHCR ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้หนีภัยฯ ในการกลับประเทศต้นทางโดยความสมัครใจ ซึ่งสัมพันธ์กับนโยบายรัฐที่ตั้งอยู่บนกรอบแนวคิดเรื่องรัฐชาติและความมั่นคงแห่งชาติ จึงเป็นข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้เกิดความล่าช้าขึ้น การศึกษาพบว่า รัฐไทยพยายามผลักดันให้เกิดการกลับประเทศต้นทางโดยสมัครใจ แต่ในขณะที่รัฐเมียนมายังไม่มีความชัดเจน ไม่ได้มีโครงสร้างสถาบันรองรับแนวทางเพื่อไปสู่การสร้างสันติภาพอย่างแท้จริง และยังไม่สามารถขจัดสาเหตุความขัดแย้งระหว่างรัฐและกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย รวมทั้งไม่ได้มีนโยบายรัฐในระยะยาวที่ตอบรับการกลับประเทศอย่างยั่งยืน อีกทั้ง UNHCR ไม่สามารถผลักดันเร่งรัดการทำงานของรัฐไทยและเมียนมาให้เกิดความร่วมมือได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การจัดการยืดเยื้อต่อไป และอาจเป็นเพียงโครงการนำร่องที่ไม่ได้เกิดผลการกลับประเทศต้นทางอย่างยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนาสวัสดิภาพความมั่นคงของมนุษย์สำหรับผู้หนีภัยฯ ไม่มีประสิทธิผล ประชากรกลุ่มนี้ยังมีความกังวลใจ และมีความไม่มั่นคง (ทางร่างกาย กฎหมาย วัตถุ และสังคมและจิตใจ) ข้อเสนอของผู้วิจัย คือ ปรับวิกฤติให้เป็นโอกาส ปรับรื้อระดับโครงสร้างนโยบายต่อผู้หนีภัยฯ จากมุมมองเก่าในการรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของรัฐเป็นสำคัญ สู่ความมุ่งมั่นใหม่ในการยกระดับการพัฒนาความมั่นคงมนุษย์อย่างยั่งยืน ยืนยันท่าทีจากคำมั่นที่รัฐไทยให้ไว้ต่อประชาคมระหว่างประเทศ สนับสนุนอาเซียนในการคลี่คลายวิกฤติการณ์เมียนมาในปัจจุบัน รวมทั้งหาทางออกที่คำถึงถึงปัจเจกในประเด็นการให้สัญชาติ และการจัดการที่ครอบคลุมในเรื่องพื้นที่พักพิงชั่วคราวที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง


การกำกับดูแลความปลอดภัยของการบินพลเรือนระหว่างประเทศ : กรณีศึกษาIcao กับประเทศไทย, ปวริศ อ่อนสุทธิ Jan 2020

การกำกับดูแลความปลอดภัยของการบินพลเรือนระหว่างประเทศ : กรณีศึกษาIcao กับประเทศไทย, ปวริศ อ่อนสุทธิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย สองข้อ คือ หนึ่ง การวิเคราะห์เหตุปัจจัยที่ทำให้องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) ทำงานด้านการกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยได้อย่างมีเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากการที่ประเทศต่างๆ ยอมรับและปฏิบัติตาม ข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานความปลอดภัย และ สอง เพื่อแสดงให้เห็นการทำงานของ ICAO และการปฏิบัติตามข้อกำหนดของประเทศสมาชิกจากปัจจัยที่ได้วิเคราะห์ไว้ โดยใช้กรณีประเทศไทยที่ ICAO เข้ามาตรวจสอบและได้รับเครื่องหมายธงแดงเป็นกรณีศึกษา สารนิพนธ์มีข้อเสนอหลักตามกรอบแนวคิดทฤษฎี Neoliberal Institutionalism ว่า ICAO สามารถช่วยรัฐสมาชิกบรรลุความร่วมมือและผลประโยชน์ร่วมกันในด้านการบินพลเรือนด้วยการทำหน้าที่วางข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานและมาตรการด้านความปลอดภัยให้รัฐสมาชิกรับไปปฏิบัติ และจัดระบบตรวจสอบการรักษามาตรฐานของสมาชิก ความเข้มแข็งของ ICAO มาจาก สามปัจจัยสำคัญ ปัจจัยแรกมาจากการที่ ICAO เป็นกลไกเชิงสถาบันทำหน้าที่เป็นจุดประสานการกำหนดและตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยของกิจการการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ทำให้การดำเนินการของแต่ละประเทศเป็นไปอย่างสอดคล้องและมีประสิทธิภาพสม่ำเสมอกัน ปัจจัยที่สอง การปฏิบัติตามข้อกำหนดและคำวินิจฉัยของ ICAO มาจากการที่แต่ละประเทศมุ่งรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ไม่ต้องการนำเรื่องความปลอดภัยของการบินพลเรือนไปเสี่ยงกับประเทศที่ ICAO ตรวจสอบพบว่าการดำเนินการไม่ได้มาตรฐาน และปัจจัยที่สาม มาจากข้อเสนอของ Ian Hurd เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความชอบธรรมขององค์การระหว่างประเทศกับการปฏิบัติตามของรัฐสมาชิก สารนิพนธ์เสนอว่า ICAO ได้รับการยอมรับจากรัฐสมาชิกเพราะกฎข้อบังคับและมาตรฐานด้านความปลอดภัย ICAO มีความน่าเชื่อถือ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และแนวทางดำเนินการตรวจสอบของ ICAO มีความชัดเจน โปร่งใส และปฏิบัติต่อทุกประเทศด้วยมาตรฐานและแบบแผนอย่างเดียวกัน กรณีศึกษาประไทยกับ ICAO สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของปัจจัยทั้งสามอย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้ว่าหลังจากไม่ผ่านการตรวจสอบและได้รับธงแดง ทางการไทยได้เร่งแก้ปัญหานี้อย่างเร่งด่วนโดยถือเป็นวาระระดับชาติเพื่อปรับปรุงระบบกำกับดูแลกิจการการบินพลเรือนของไทยให้ได้ตามมาตรฐานของ ICAO จากกรณีศึกษานี้ สารนิพนธ์มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการบินควรมีการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัย ปรับปรุงและแก้ไขข้อกำหนดต่างๆ อีกทั้งควรมีการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ที่เป็นมาตรฐานเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน


การจัดระเบียบแรงงานแม่บ้านชาวอินโดนีเซียในสิงคโปร์, ฐิติรัตน์ เชื้อพุทธ Jan 2020

การจัดระเบียบแรงงานแม่บ้านชาวอินโดนีเซียในสิงคโปร์, ฐิติรัตน์ เชื้อพุทธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตั้งแต่ปี 1990 - 2020 ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีชื่อเสียงเชิงลบต่อการใช้ความรุนแรงต่อแม่บ้านข้ามชาติ และปัญหาสวัสดิการขั้นพื้นฐานในการคุ้มครองแม่บ้านข้ามชาติ ปรากฏบนสื่อทั้งในและต่างประเทศ ก่อให้เกิดปัญหาที่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับอินโดนีเซีย และกระทบภาพลักษณ์เลือกปฏิบัติต่อพลเมืองที่มีฐานะด้อยในสังคม สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษา การจัดระเบียบแรงงานแม่บ้านชาวอินโดนีเซียในสิงคโปร์ โดยใช้กรอบแนวคิดเรื่องการควบคุมโดยรัฐ เพื่ออธิบายการตอบสนองของรัฐบาลสิงคโปร์ต่อแรงกดดันของรัฐบาลอินโดนีเซียและภาคประชาสังคมในสิงคโปร์ ผลการศึกษาพบว่า ตลอด 3 ห้วงทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลสิงคโปร์ตอบสนองข้อเรียกร้องดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงแก้ไขสวัสดิการขั้นพื้นฐานตาม พ.ร.บ. การว่าจ้างแรงงานต่างชาติ และเพิ่มบทลงโทษในประมวลกฎหมายอาญาต่อนายจ้างที่ละเมิดสิทธิของแรงงานต่างชาติ โดยการตอบสนองของรัฐบาลสิงคโปร์นั้นเป็นเพราะรัฐบาลตระหนักว่าแรงงานแม่บ้านต่างชาติเป็นแรงงานนอกระบบ (informal sector) ที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์ หากรัฐบาลไม่ปรับปรุงกฎระเบียบให้ทันสมัย ปัญหานี้อาจลุกลามเป็นปัญหาระหว่างประเทศ กระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ และกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในระยะยาว กระนั้น การปรับปรุงกฎระเบียบของรัฐบาลสิงคโปร์ก็จำกัดเฉพาะกฎหมายภายในประเทศ และต้องไม่เป็นปัญหาที่นายจ้างสิงคโปร์แบกรับไม่ไหว รวมทั้งหลีกเลี่ยงข้อตกลงระหว่างประเทศกับอินโดนีเซีย ที่อาจกระทบต่อความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายภายใน


The Popularity Of K-Pop In North East India: Case On The Increasing Fame Of Bts Between 14-29 Age Group, Eshani Bora Jan 2020

The Popularity Of K-Pop In North East India: Case On The Increasing Fame Of Bts Between 14-29 Age Group, Eshani Bora

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hallyu Wave or Korean Wave in North East India began in the late 1990s pirated CDs, DVDs, and the Korean TV channel in Manipur due the Revolutionary People's Front ordered a ban on Hindi films and TV channels. The popularity of the Hallyu Wave has been present in the North East ever since due to many physical and cultural similarities. Today, due to the popularity of BTS, a seven-member boy group from South Korea who are the biggest boy group in the world have immensely popularized K-POP to the youth. Due to limited studies on K-POP in North East India, …


การสื่อสารการตลาดบนทวิตเตอร์ของผลิตภัณฑ์ความงาม และผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย, ภัศรา ศรีสุโข Jan 2020

การสื่อสารการตลาดบนทวิตเตอร์ของผลิตภัณฑ์ความงาม และผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย, ภัศรา ศรีสุโข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดบนทวิตเตอร์ของผลิตภัณฑ์ความงาม รวมถึงอธิบายการเปิดรับการสื่อสารการตลาด ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อในกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาบนทวิตเตอร์ของบัญชีตราสินค้าความงาม จำนวน 3 ตราสินค้า ได้แก่ ยูเซอริน เมย์เบลลีน และลอรีอัล ปารีส รวม 617 ทวีต และการสัมภาษณ์เชิงลึกนักการตลาด จำนวน 4 คน การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริโภคเจเนอเรชันวายทั้งผู้ใช้ทวิตเตอร์ระดับสูงและผู้ใช้งานทั่วไป จำนวนรวม 14 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะข้อความที่ใช้สื่อสารการตลาดบนทวิตเตอร์ของผลิตภัณฑ์ความงามได้แก่ การใช้คำหรือข้อความที่เป็นกระแสนิยมบนสื่อสังคมออนไลน์ การใส่ลิงก์เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลของตราสินค้า และการใช้แฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ ชื่อตราสินค้า และกิจกรรมที่จัดขึ้น ด้านลักษณะเนื้อหาพบว่า เป็นเนื้อหาที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์หรือโอกาสพิเศษในเวลานั้น การจัดกิจกรรมให้ผู้ใช้งานเกิดการมีส่วนร่วม สำหรับรูปแบบการนำเสนอ ได้แก่ รูปภาพ วิดีโอ ผู้มีชื่อเสียงที่รับรองตราสินค้าและผู้มีอิทธิพลทางความคิด กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดบนทวิตเตอร์ของผลิตภัณฑ์ความงาม มีแนวทางการใช้มุ่งเน้นการตอบสนองและการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาด การสร้างให้ผู้บริโภครู้สึกใกล้ชิดกับตราสินค้า การสื่อสารเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาด และการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคเจเนอเรชันวายมีการเปิดรับการสื่อสารการตลาดบนทวิตเตอร์โดยไม่ตั้งใจ และสามารถจดจำเนื้อหาที่ใช้ผู้มีอิทธิพลทางความคิด การรับรองผลิตภัณฑ์ผ่านบุคคลที่สาม รวมถึงการใช้แฮชแท็กได้ แต่ไม่สามารถจดจำเนื้อหาด้านการรณรงค์เชิงการตลาดได้ อีกทั้งยังรู้สึกใกล้ชิดกับตราสินค้ามากยิ่งขึ้น เกิดภาพลักษณ์ต่อตราสินค้าในเชิงบวก และระบุว่าการใช้บุคคลที่สามรับรองผลิตภัณฑ์ความงาม สามารถดึงดูดความสนใจและก่อให้เกิดความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงามได้


การสื่อสารการตลาดผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิดบนอินสตาแกรมของผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแฟชั่นแบรนด์ไทย, ณัชชา จริยธรรมานุกูล Jan 2020

การสื่อสารการตลาดผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิดบนอินสตาแกรมของผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแฟชั่นแบรนด์ไทย, ณัชชา จริยธรรมานุกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์เอกสาร จากโพสต์บนอินสตาแกรมของผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแฟชั่นแบรนด์ไทย จำนวน 1,210 ชิ้น และการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าของตราสินค้าจำนวน 3 คน เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์และรูปแบบการสื่อสารการตลาดผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิดบนอินสตาแกรม และใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์กับกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 18 - 30 ปี จำนวน 400 คน เพื่อสำรวจและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับการสื่อสาร ทัศนคติต่อผู้มีอิทธิพลทางความคิด และการตัดสินใจซื้อสินค้า ผลการวิจัยพบว่า ตราสินค้าผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแฟชั่นแบรนด์ไทย มีการสื่อสารการตลาดผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิดบนอินสตาแกรม โดยใช้ผู้มีอิทธิพลทางความคิดที่มีรูปลักษณ์แบบคนเอเชีย มีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับตัวตนตราสินค้า ใช้รูปแบบชุดรูปภาพ (Carousels) ที่เสนอภาพบุคคลครึ่งตัว เห็นใบหน้าชัดเจน และแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติ มีพื้นหลังของภาพเป็นบรรยากาศธรรมชาติ และโทนสีสว่างสดใส มีเนื้อหาสาระแบบให้ข้อมูลทั่วไปของผลิตภัณฑ์ และใช้คำที่เป็นกระแสนิยมบรรยายใต้ภาพ ทั้งนี้พบว่า รูปแบบวิดีโอสั้นความยาวไม่เกิน 15 วินาที ได้รับการตอบสนองในการรับชม และมีการแสดงความรู้สึกด้วยการกดไลก์ (Like) แสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาแบบชุดรูปภาพ กดสัญลักษณ์อารมณ์ (Emoji) และใช้คำพูดเชิงบวก นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อผู้มีอิทธิพลทางความคิดเชิงบวกมาก โดยมองว่าการใช้ผู้มีอิทธิพลทางความคิดที่มีรูปแบบการดำเนินชีวิตตรงกับตราสินค้า จะทำให้สินค้ามีความน่าสนใจ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การเปิดรับการสื่อสารการตลาดผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิดบนอินสตาแกรมของผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแฟชั่นแบรนด์ไทย มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อผู้มีอิทธิพลทางความคิด และทัศนคติต่อผู้มีอิทธิพลทางความคิดมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเป็นความสัมพันธ์เชิงบวก


การสื่อสารของไฟแนนซ์เชียลโคชบนยูทูบและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินของเจเนอเรชันวาย, วิริยา เบญจรงคพันธุ์ Jan 2020

การสื่อสารของไฟแนนซ์เชียลโคชบนยูทูบและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินของเจเนอเรชันวาย, วิริยา เบญจรงคพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การสื่อสารของไฟแนนซ์เชียลโคช (Financial Coach) บนยูทูบ เพื่อสำรวจการเปิดรับและอธิบายความอิทธิพลของการเปิดรับ การรับรู้การสื่อสารสร้างแรงบันดาลใจ การรับรู้การโน้มน้าวใจ และการรับรู้ความน่าเชื่อถือของไฟแนนซ์เชียลโคชที่มีต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินของเจเนอเรชันวาย ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) ช่องของไฟแนนซ์เชียลโคชบนยูทูบ “มันนี แมทเธอร์” และ “เดอะ มันนี โค้ช” รวม 73 ตอน และการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ชุด ผลการวิเคราะห์เอกสารช่องของไฟแนนซ์เชียลโคชบนยูทูบพบว่า การสื่อสารของไฟแนนซ์เชียลโคชในด้านการสื่อสารสร้างแรงบันดาลใจจะใช้การกระตุ้นสติปัญญามากที่สุด การสื่อสารของไฟแนนซ์เชียลโคชด้านการโน้มน้าวใจ มีการใช้ความเป็นเหตุเป็นผล (Logos) ด้านข้อเท็จจริงมากที่สุด การสื่อสารของไฟแนนซ์เชียลโคชในด้านความน่าเชื่อถือ มีการใช้คุณสมบัติความเชี่ยวชาญ (Expertise) ด้านผู้เชี่ยวชาญมากที่สุด ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างเจเนอเรชันวายเปิดรับความถี่ในการเปิดรับช่องของไฟแนนซ์เชียลโคชบนยูทูบอยู่ในระดับ 2-3 วัน/ สัปดาห์ มีการรับรู้การสื่อสารของไฟแนนซ์เชียลโคชด้านการโน้มน้าวใจในระดับมากที่สุด ด้านสร้างแรงบันดาลใจ และด้านความน่าเชื่อถือในระดับมาก และมีความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินอยู่ในระดับมากที่สุด ผลทดสอบสมมติฐานสรุปได้ว่า 1) ความถี่ในการเปิดรับช่องของไฟแนนซ์เชียลโคชบนยูทูบ มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินของเจเนอเรชันวายในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เป็นไปตามสมมติฐาน ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ในระดับต่ำ และมีทิศทางแปรตามกัน 2) ตัวแปรอิสระการรับรู้การโน้มน้าวใจ (β= 0.199) และการรับรู้ความน่าเชื่อถือ (β= 0.158) มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินโดยรวมของผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรตามได้ร้อยละ 11.3


การสื่อสารเพื่อจัดการความขัดแย้งในการทำงานระหว่างบุคลากรต่างรุ่นในองค์กรเอกชนไทยประเภทแสวงผลกำไร, ปรภัค จุละพันธ์ Jan 2020

การสื่อสารเพื่อจัดการความขัดแย้งในการทำงานระหว่างบุคลากรต่างรุ่นในองค์กรเอกชนไทยประเภทแสวงผลกำไร, ปรภัค จุละพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะความขัดแย้งในการทำงานระหว่างบุคลากรต่างรุ่น และ 2) แนวทางการสื่อสารเพื่อจัดการความขัดแย้งในการทำงานระหว่างบุคลากรต่างรุ่นในองค์กรเอกชนไทยประเภทมุ่งแสวงผลกำไร ใช้การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ผู้ที่ทำงานในองค์กรเอกชนไทยขนาดใหญ่ ซึ่งปฏิบัติงานระดับปฏิบัติการที่มีอายุงาน 3 ปีขึ้นไป จนถึงระดับอาวุโส จำนวน 10 คน ทั้งนี้เลือกศึกษาจากองค์กร 5 แห่ง โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการศึกษา พบว่า คุณลักษณะความขัดแย้งในการทำงานระหว่างบุคลากรต่างรุ่นในองค์กรเอกชนไทยเกี่ยวข้องกับความแตกต่างระหว่างรุ่นอายุใน 2 ประเด็น คือ ประเด็นงาน (ได้แก่ ความแตกต่างด้านค่านิยมในการทำงาน แนวทางปฏิบัติในการทำงาน ความเห็นต่อแนวทางการบริหารจัดการขององค์กร) และประเด็นความสัมพันธ์ (ได้แก่ ความแตกต่างด้านอุปนิสัยและสไตล์การสื่อสาร) ส่วนการสื่อสารเพื่อจัดการความขัดแย้งในการทำงานระหว่างคนต่างรุ่น กลุ่มตัวอย่างมักใช้รูปแบบการจัดการความขัดแย้งที่ผสมผสานโดยคำนึงถึงลักษณะประเด็น ลักษณะงาน ลักษณะความสัมพันธ์กับคู่ขัดแย้ง และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยแนวทางที่มักเลือกใช้ ได้แก่ ใช้การร่วมมือ (Collaborating) เมื่อความขัดแย้งที่มีผลกระทบต่องานและความสัมพันธ์สูง ต่างฝ่ายต่างยืนยันเป้าหมายแต่มีลักษณะการสื่อสารที่รักษาน้ำใจ มุ่งสร้างความไว้วางใจ หรือ ประนีประนอม (Compromising) เมื่อทั้งสองฝ่ายมีอำนาจต่อรองเท่าๆ กัน แต่ตกลงกันไม่ได้ จึงต้องยอมลดเป้าหมายเพื่อรักษาทั้งผลงานและความสัมพันธ์ แต่หากอำนาจต่อรอง (เช่น ตำแหน่ง อาวุโส) ต่างกัน ฝ่ายที่มีอำนาจน้อยกว่ามักยินยอม (Accommodating) ทั้งเพื่อรักษาความสัมพันธ์และหวังประโยชน์ในอนาคต และจะหลีกเลี่ยง (Avoiding) เมื่อประเมินว่าตนไม่มีโอกาสชนะ และผลกระทบของการสื่อสารทั้งต่องานและความสัมพันธ์จะเป็นไปในทางลบ


การออกแบบและการรับรู้ในการสื่อสารรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักในบุคคลที่มีภาวะออทิซึม ผ่านโครงการ See Amazing In All Children Initiative, ธิติ พรโกศลสิริเลิศ Jan 2020

การออกแบบและการรับรู้ในการสื่อสารรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักในบุคคลที่มีภาวะออทิซึม ผ่านโครงการ See Amazing In All Children Initiative, ธิติ พรโกศลสิริเลิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์เนื้อหาในสื่อของโครงการ See Amazing in All Children 2) วิเคราะห์การออกแบบสาร 3) ศึกษาการรับรู้สื่อของโครงการ และ 4) ศึกษาทัศนคติของผู้ชม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ นักวิชาชีพและผู้ปกครองของบุคคลที่มีภาวะออทิซึม ผลการวิจัยพบว่า 1) เนื้อหาทั่วไปเกี่ยวกับบุคคลที่มีภาวะออทิซึม ได้แก่ ลักษณะพฤติกรรม ครอบครัว และการเตรียมความพร้อม 2) ความหลากหลายทางระบบประสาท และ 3) ความครอบคลุมทางสังคม ได้แก่ การสร้างพลังและการมีส่วนร่วมในสังคม 4) การวางโครงสร้างสารแบบอุปนัย นิรนัย และนิรนัยผสมอุปนัย 5) การลำดับสารแบบไปสู่จุดสูงสุด ย้อนจุดสูงสุด และแบบพีระมิด 6) จุดจูงใจด้วยรางวัล ด้วยแรงจูงใจ ทางอารมณ์ ได้แก่ อบอุ่น ตลกขบขัน สนุกสนาน กลัว และผสมผสาน 7) การวางกรอบทางบวกและการวางกรอบทางบวกและลบ ผลการสัมภาษณ์ 1) ผู้ให้ข้อมูลหลักสามารถรับรู้เนื้อหา การออกแบบ และยังกล่าวถึงการนำสื่อไปใช้ประโยชน์ 2) สามารถเข้าใจสื่อของโครงการ จดจำได้ รับรู้อารมณ์จากสื่อ และเห็นประโยชน์ของพฤติกรรม 3) พ่อแม่ผ่านกระบวนการในการยอมรับลูก 4) บุคคลในสังคมมีทั้งหลายกลุ่มที่ยังไม่เข้าใจ ให้การยอมรับ และมีทัศนคติทางลบ 5) รายงานว่าสื่อของโครงการมีส่วนช่วยในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ 6) กลยุทธ์การรณรงค์ด้วยการสร้างความตระหนักและการทำให้เป็นเรื่องปกติ


การเล่าเรื่องและการสร้างตัวละครหลักของละครโทรทัศน์แนวโรแมนติกคอมเมดี้ตามแบบฉบับละครช่อง 7hd, จิดาภา ธนโรจน์ Jan 2020

การเล่าเรื่องและการสร้างตัวละครหลักของละครโทรทัศน์แนวโรแมนติกคอมเมดี้ตามแบบฉบับละครช่อง 7hd, จิดาภา ธนโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเล่าเรื่องและการสร้างตัวละครหลักของละครโทรทัศน์แนวโรแมนติกคอมเมดี้ตามแบบฉบับละครช่อง 7HD โดยศึกษาละครโทรทัศน์แนวโรแมนติกคอมเมดี้จำนวน 5 เรื่อง ซึ่งออกอากาศทางช่อง 7HD ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพทั้งการวิเคราะห์เนื้อหาละครและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ผลิตละคร ได้แก่ ผู้จัดละคร ผู้กำกับการแสดงและผู้เขียนบทละคร ผลการวิจัยพบว่า การเล่าเรื่องของละครโทรทัศน์แนวโรแมนติกคอมเมดี้ทั้ง 5 เรื่อง ส่วนใหญ่นำเสนอเรื่องราวที่มีแก่นเรื่องเกี่ยวกับความรักและศีลธรรมเป็นหลัก ซึ่งนอกจากความรักของตัวละครหลักแล้วยังนำเสนอเรื่องราวที่สอดคล้องกับความรักความผูกพันภายในครอบครัวด้วย การดำเนินเรื่องราวมีโครงเรื่องไม่ซับซ้อนอาศัยความขัดแย้งระหว่างบุคคล ความขัดแย้งภายในจิตใจเป็นหลัก แต่สำหรับละครบางเรื่องมีการใช้ความขัดแย้งประเภทพลังธรรมชาติและพลังเหนือธรรมชาติเข้ามาผสมผสานด้วย ส่วนมุมมองการเล่าเรื่องอาศัยการเล่าเรื่องแบบผู้รอบรู้เป็นหลักสำคัญตลอดการเล่าเรื่องราวประกอบกับการเล่าเรื่องแบบความทรงจำในอดีตของตัวละครเป็นบางช่วง เพื่อให้การเล่าเรื่องมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น การสร้างตัวละครหลัก แต่ละตัวละครจะมีทั้งคุณลักษณะของตัวละคร ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพ ประเภทและรายละเอียดของลักษณะนิสัย และเรื่องราวของตัวละคร ได้แก่ สถานภาพ อาชีพ ลักษณะทางสังคม ความเชื่อและทัศนคติ เป้าหมายของตัวละคร ปรากฏให้เห็นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเรื่องราวของละคร โดยภาพรวมของตัวละครหลักพบว่า ลักษณะทางกายภาพของตัวละครมีความหลากหลายมากขึ้นอย่างชัดเจน หน้าตาของพระเอกและนางเอกมีทั้งแบบไทยและแบบลูกครึ่งต่างชาติ ส่วนลักษณะนิสัยของตัวละครหลัก พระเอกเป็นคนจิตใจดี สุภาพบุรุษ แสดงออกชัดเจนตรงไปตรงมา รักครอบครัวและรักเดียวใจเดียว นางเอกเป็นคนจิตใจดี ฉลาดทันคน ค่อนข้างเข้มแข็ง มีเหตุผลและแสดงออกชัดเจนตรงไปตรงมาเช่นเดียวกัน ละครโทรทัศน์แนวโรแมนติกคอมเมดี้ตามแบบฉบับละครช่อง 7HD พบสูตรการสร้างสรรค์ละคร 2 สูตร ได้แก่ สูตรที่ 1 ละครโทรทัศน์แนวโรแมนติกคอมเมดี้ที่มีสัดส่วนของโรแมนติกคอมเมดี้เป็นหลักและสูตรที่ 2 ละครโทรทัศน์แนวโรแมนติกคอมเมดี้ที่มีส่วนผสมของแนวเรื่องประเภทอื่น โดยความถนัดของผู้กำกับละครแต่ละคนมีผลต่อการสร้างสรรค์ละครแนวนี้และในอนาคตมีแนวโน้มของการสร้างสรรค์บทละครแบบเขียนขึ้นใหม่มากกว่าการใช้เค้าโครงเรื่องเก่า


แบบจำลองการคาดคะเนปัจจัยที่เป็นข้อบ่งชี้ลักษณะอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทย, ดิเรกฤทธิ์ บุษยธนากรณ์ Jan 2020

แบบจำลองการคาดคะเนปัจจัยที่เป็นข้อบ่งชี้ลักษณะอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทย, ดิเรกฤทธิ์ บุษยธนากรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง แบบจำลองการคาดคะเนปัจจัยที่เป็นข้อบ่งชี้ลักษณะอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทย มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ (1) ศึกษาปัญหาอาชญากรรมลูกผสมที่เป็นปัญหาสำคัญในสังคมไทย (2) สร้างแบบจำลองการคาดคะเนปัจจัยที่เป็นข้อบ่งชี้ลักษณะอาชญากรรมลูกผสมที่ใช้ในการจำแนก และอธิบายความสัมพันธ์และ/หรือหลักฐานในการยอมรับว่าเป็นอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทย และ (3) ศึกษาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทย ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานของการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักสำคัญจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน กรมสอบสวนคดีพิเศษ จำนวน 400 คน ซึ่งใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น (IOC = 0.868, Reliability = 0.981) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยบ่งชี้ลักษณะอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทยโดยใช้ตัวแบบสมการเชิงโครงสร้าง ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ปฏิบัติงานระดับผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับปัญหาอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทย จำนวน 15 คน ซึ่งใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่ออธิบายและยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเชิงปริมาณ รวมทั้งเป็นส่วนเสริมหรือส่วนเติมเต็มความสมบูรณ์ถูกต้องของงานวิจัย ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาอาชญากรรมในสังคมไทยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบด้านปัญหาอาชญากรรมลูกผสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.18) ซึ่งเป็นอาชญากรรมมากกว่ารูปแบบเดียว ที่เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างอาชญากรรมรูปแบบเดิมและอาชญากรรมรูปแบบใหม่ เป็นอาชญากรรมลูกผสมพื้นฐาน อาชญากรรมลูกผสมขั้นสูง อาชญากรรมลูกผสมอื่น ๆ และในอนาคต โดยปรากฏลักษณะสำคัญของปัญหาอาชญากรรมลูกผสมในมิติด้านต่าง ๆ ได้แก่ ผู้กระทำผิดหรืออาชญากรมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่าย/องค์กรมากขึ้น ข้ามรัฐ/ไร้พรมแดน พึ่งพาเทคโนโลยี วิธีการที่หลากหลาย/ซับซ้อน ส่งผลกระทบในวงกว้าง ไม่จำกัดช่วงเวลาและสถานที่ สร้างการเลียนแบบ เข้าถึงเป้าหมายได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากับเป้าหมาย คุ้มค่ามากที่สุดในการก่อเหตุต่อครั้ง เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน ติดตามตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ยาก ทำให้สูญเสียบุคลากรและงบประมาณจำนวนมากในการปราบปราม ป้องกันและแก้ไข ซึ่งการสร้างแบบจำลองการคาดคะเนปัจจัยบ่งชี้ลักษณะอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทยตามสมมติฐาน มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ (p-value = 0.881, Chi-square / df = 0.920, CFI = 0.95, GFI = 0.96, AGFI = 0.95, RMSEA = 0.000, SRMR = 0.040) สรุปได้ว่า ปัญหาอาชญากรรมลูกผสมในสังคมไทยได้รับอิทธิพลรวม …


ความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานกับความเหนื่อยหน่ายในงาน โดยมีกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาและการสนับสนุนทางสังคมภายในองค์การเป็นตัวแปรกำกับ, สุดาทิพย์ วรเนติโพธิ์ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานกับความเหนื่อยหน่ายในงาน โดยมีกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาและการสนับสนุนทางสังคมภายในองค์การเป็นตัวแปรกำกับ, สุดาทิพย์ วรเนติโพธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเหนื่อยหน่ายในงานเป็นอาการจากการทำงานที่เป็นที่รู้จักมากขึ้น เนื่องจากความเหนื่อยหน่ายในงานส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตใจ รวมถึงประสิทธิภาพในการทำงาน ในอดีตพบว่าข้อเรียกร้องในงานเป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดความเหนื่อยหน่ายในงาน โดยสิ่งที่สามารถยับยั้งการเกิดความเหนื่อยหน่ายในงานได้คือทรัพยากรที่เอื้อต่องาน ตามทฤษฎีโมเดลข้อเรียกร้องในงานและแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องาน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและยืนยันทฤษฎีโมเดลข้อเรียกร้องในงานและแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องาน โดยเน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงาน คือ ภาระงานและความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน ที่มีตัวแปรกำกับเป็นทรัพยากรที่เอื้อต่องาน คือ การสนับสนุนทางสังคมในองค์การ และในการศึกษาครั้งนี้ได้เสริมทรัพยากรบุคคล คือ กลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา เข้ามาช่วยลดความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานกับความเหนื่อยหน่ายในงาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาในครั้งนี้คือข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ที่มีอายุงานราชการไม่ต่ำกว่า 1 ปี จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) มาตรวัดความเหนื่อยหน่ายในงาน 2) มาตรวัดภาระงาน 3) มาตรวัดการสนับสนุนทางสังคมในองค์การ และ 4) มาตรวัดกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าการปฏิสัมพันธ์สามทางระหว่างภาระงาน การสนับสนุนทางสังคมในองค์การ และกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสามารถทำนายผลของความเหนื่อยหน่ายในงาน โดยความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างภาระงานและความเหนื่อยหน่ายในงานจะลดลง เมื่อกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหามีระดับสูงร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมในองค์การมีระดับสูง (β = -1.55, p < 0.05) กล่าวคือ ข้าราชการที่มีการสนับสนุนทางสังคมในองค์การร่วมกับกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในระดับสูง มีแนวโน้มที่จะมีความเหนื่อยหน่ายในงานต่ำกว่าข้าราชการที่มีการสนับสนุนทางสังคมในองค์การและกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในระดับต่ำ ข้อค้นพบนี้ยืนยันได้ว่าโมเดลข้อเรียกร้องในงานและแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องานที่เสริมกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในฐานะทรัพยากรบุคคลสามารถยับยั้งอิทธิพลทางบวกระหว่างภาระงานต่อความเหนื่อยหน่ายในงาน


ผลกระทบของการจัดสรรน้ำต่อระบบเศรษฐกิจ โดยใช้ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาค, รุจินันท์ ขุนศรี Jan 2020

ผลกระทบของการจัดสรรน้ำต่อระบบเศรษฐกิจ โดยใช้ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาค, รุจินันท์ ขุนศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการผลิตสินค้าและบริการให้กับภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ การจัดสรรทรัพยากรน้ำจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจ การศึกษานี้ได้พัฒนาเครื่องมือที่มีความเชื่อมโยงระหว่างภาคเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำเข้าด้วยกัน โดยนำตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาค (Multi-Regional Input-Output Model: MRIO) ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2555 มาผนวกกับข้อมูลปริมาณการใช้น้ำของสาขาการผลิต กลายเป็นตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาคแบบไฮบริด (Multi-Regional Hybrid Input-Output Model) 47 สาขาการผลิต แบ่งเป็น 7 ภูมิภาค (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคใต้ และกรุงเทพมหานครและปริมณฑล) วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ 1) วิเคราะห์ตัวชี้วัดการใช้น้ำของสาขาการผลิต ประกอบด้วย ความต้องการใช้น้ำ ผลกระทบย้อนกลับของการใช้น้ำ และความเข้มข้นในการใช้น้ำของสาขาการผลิต และ 2) ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการจัดสรรทรัพยากรน้ำในสถานการณ์ภัยแล้ง โดยใช้เครื่องมือ Multi-Regional Hybrid Input-Output Analysis ผลการศึกษา พบว่า ภาคเกษตรกรรม (สาขาการทำนา) เป็นสาขาการผลิตที่มีความต้องการใช้น้ำมากที่สุด มีค่าผลกระทบย้อนกลับของการใช้น้ำและมีความเข้มข้นในการใช้น้ำสูง ภาครัฐควรมีแนวทางการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตให้สามารถใช้น้ำในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และผลการจำลองสถานการณ์จัดสรรทรัพยากรน้ำ พบว่า สถานการณ์ที่ 3 การลดการใช้น้ำภาคอุตสาหกรรมทั้งประเทศ ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าผลผลิต รายได้จากการจ้างงาน และมูลค่าเพิ่มของประเทศมากที่สุด (ลดลงร้อยละ 31.03 ร้อยละ 12.39 และร้อยละ 15.67 ตามลำดับ) และสถานการณ์ที่ 2 การลดการใช้น้ำภาคเกษตรกรรมทั้งประเทศ ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าผลผลิต รายได้จากการจ้างงาน และมูลค่าเพิ่มของประเทศน้อยที่สุด (ลดลงร้อยละ 0.70 ร้อยละ 1.03 และร้อยละ 1.15 ตามลำดับ) โดยภาคใต้ได้ผลกระทบมากที่สุดจากการลดการใช้น้ำภาคเกษตรกรรม นำมาสู่ประเด็นการกระจายรายได้ไม่เป็นธรรม ภาครัฐควรมีแนวทางในการชดเชยรายได้ให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการจัดสรรทรัพยากรน้ำที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เกษตรเหล่านี้มีรายได้ไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก พร้อมทั้งปรับปรุงนโยบายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง รัฐ ทุน เมือง และชนบท ในการเมืองเรื่องไฟป่าและหมอกควันร่วมสมัย: กรณีศึกษาสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2535 - มิถุนายน 2563, มัทนา ปัญญาคำ Jan 2020

ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง รัฐ ทุน เมือง และชนบท ในการเมืองเรื่องไฟป่าและหมอกควันร่วมสมัย: กรณีศึกษาสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2535 - มิถุนายน 2563, มัทนา ปัญญาคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่าง รัฐ ทุน เมือง และชนบท ในการเมืองเรื่องไฟป่าและหมอกควัน จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2535 – 2563 โดยมีคำถามว่า “รัฐ ทุน เมืองและชนบท มีปฏิสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างกันต่อประเด็นปัญหาไฟป่าและหมอกควัน จ.เชียงใหม่ ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2535 - มิถุนายน 2563 อย่างไร” ผลการศึกษาพบว่า ตัวแสดงที่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ในการเมืองเรื่องไฟป่าและหมอกควันไม่ได้มีเพียง รัฐ ทุน และชนบทเท่านั้นที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ชนบทและก่อให้เกิดการใช้ไฟในพื้นที่มากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุไฟป่า แต่ในปัจจุบันตัวแสดงใหม่ที่เข้ามามีบทบาทคือภาคเมือง อันเกิดจากการขยายตัวของเมืองที่มีลักษณะเศรษฐกิจในรูปแบบการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว หรือปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "เอกนครระดับภาค" เมื่อหมอกควันเข้ามากระทบกับเมือง จึงทำให้ภาคเมืองเข้ามามีบทบาทเชิงวาทกรรมเชิงข้อเรียกร้องและการผลักดันในการจัดการกับปัญหา ภาคเมืองได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกันคือ 1. ภาคเมืองที่ไม่ได้มีการรวมตัวกันอย่างชัดเจนมีข้อเรียกร้องที่กดทับชนบท ภายใต้วาทกรรม “ผู้คนที่อยู่ในเขตป่าเป็นก่อให้เกิดไฟป่า” โดยสนับสนุนข้อเรียกร้องว่าด้วยการห้ามเผา ซึ่งสอดรับกับการจัดการปัญหาของรัฐที่ช่วงเวลาที่ผ่านมา ในขณะที่ ภาคเมืองรูปแบบที่ 2 คือ ภาคเมืองที่มีการรวมตัวกันอย่างชัดเจนหรือกลุ่มสภาลมหายใจพยายามต่อต้านกับวาทกรรมภาคเมืองกลุ่มแรก “ทุกคนเป็นต้นตอของปัญหาฝุ่นควัน” และพยายามผลักดันวิธีการจัดการปัญหาแบบการจัดการไฟ (fire management) แต่อย่างไรก็ตาม ภาคเมืองทั้ง 2 รูปแบบมีลักษณะและท่าทีที่ประนีประนอมกับรัฐและร่วมมือกับรัฐ โดยที่ไม่ท้าทายต่อระบอบรัฐราชการรวมศูนย์อำนาจ และไม่ได้สร้างข้อเรียกร้องเรื่องการกระจายอำนาจ


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการกับความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่าน, พธู พิมพ์ระเบียบ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการกับความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่าน, พธู พิมพ์ระเบียบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการบนสื่อออนไลน์และความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่าน ผ่านการทำแบบสอบถามออนไลน์ ในจำนวน 354 กลุ่มตัวอย่างผู้มีประสบการณ์ท่องอินเตอร์เน็ต รวม 1,062 ชุดข้อมูล จากการสุ่มแบบสะดวก โดยมีสมมติฐานงานวิจัยคือ ปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการที่สูง จะทำให้การรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลต่ำ ส่งผลให้ความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลสูงขึ้น จากการทดสอบสมมติฐานอาจกล่าวได้ว่า การรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการทั้งแบบแยกปัจจัยและรวมปัจจัยกับความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล แต่อย่างไรก็ตามทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการ และความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่าน ไม่เป็นไปตามสมมติฐานของงานวิจัย ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ผลการศึกษาเพิ่มเติมบนพื้นฐานการทบทวนวรรณกรรมและศึกษาให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการและความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคค โดยมีการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์เป็นตัวแปรกำกับ ผลการวิจัยพบอิทธิพลกำกับของการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการกับความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล


อิทธิพลของเจตคติต่อเงิน ความตึงเครียดทางการเงิน และความหมายในชีวิตที่มีต่อภาวะซึมเศร้าของคนทำงานที่มีหนี้สิน, ชลพรรษ จรัญพงษ์ Jan 2020

อิทธิพลของเจตคติต่อเงิน ความตึงเครียดทางการเงิน และความหมายในชีวิตที่มีต่อภาวะซึมเศร้าของคนทำงานที่มีหนี้สิน, ชลพรรษ จรัญพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อเงิน ความตึงเครียดทางการเงิน และความหมายในชีวิต ต่อภาวะซึมเศร้าของทำงานที่มีภาวะหนี้สิน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นคนทำงานที่มีหนี้สินอายุเฉลี่ย 30.74±4.8 ปี จำนวน 201 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการเก็บแบบรายสะดวก วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพบว่าเจตคติต่อเงินแบบการหลีกเลี่ยงเงินมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .285, p < .01) เจตคติต่อเงินแบบการบูชาเงินมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .303, p < .01) และเจตคติต่อเงินแบบเงินคือสถานะมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .178, p < .05) ความตึงเครียดทางการเงินมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .460, p < .01) ความหมายในชีวิตมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.804, p < .01) โดยที่เจตคติต่อเงิน ความตึงเครียดทางการเงิน และความหมายในชีวิต สามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าในคนทำงานที่มีหนี้สินได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .680, p < .01) โดยผลกระทบทางการเงินจากสถานการณ์ COVID-19, เจตคติต่อเงิน, ความตึงเครียดทางการเงิน, และความหมายในชีวิต ร่วมกันทำนายความแปรปรวนของภาวะซึมเศร้าร้อยละ 69.5 (R2 = .695, p < .01) เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน (β) ของแต่ละตัวแปรทำนาย พบว่า ความหมายในชีวิตมีน้ำหนักค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐานสูงที่สุด (β = -.75, p < .01) รองลงมาคือผลกระทบทางการเงินจากสถานการณ์ COVID-19 (β = .14, p < .01) และความตึงเครียดทางการเงิน (β = .13, p < .01) โดยเจตคติต่อเงินทั้ง 4 แบบ ไม่สามารถทำนายตัวแปรตามได้อย่างมีนัยสำคัญ


พลวัตของการจัดทำข้อตกลงการค้าและความร่วมมือระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป ภายหลังเบร็กซิท, ปัญฐ์พิกา ภิรัฐพงศ์ธนากร Jan 2020

พลวัตของการจัดทำข้อตกลงการค้าและความร่วมมือระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป ภายหลังเบร็กซิท, ปัญฐ์พิกา ภิรัฐพงศ์ธนากร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจรจาข้อตกลงการค้าและความร่วมมือระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปภายหลังเบร็กซิท เมื่อประชากรร้อยละ 51.9 ของ สหราชอาณาจักรได้ลงประชามติแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป ในปี 2559 โดยใช้ทฤษฎีเกมสองระดับของโรเบิร์ต พัตนัม อธิบายปัจจัยและตัวแสดงทางการเมืองภายในประเทศและระหว่างประเทศ ที่มีผลตั้งแต่เริ่มกระบวนการเจรจาจนถึงการบรรลุข้อตกลง โดยเฉพาะการนำกลยุทธ์ แบตน่า มาใช้ในการเจรจาต่อรองในจุดที่ยอมรับร่วมกันของแต่ละฝ่าย ให้เห็นชอบกับข้อตกลงที่สามารถมีความเป็นไปได้ และได้ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับข้อตกลง สารนิพนธ์นี้ยังได้ใช้แนวคิดการพึ่งพาอาศัยกันอย่างสลับซับซ้อน ของโรเบิร์ต โคเฮน และโจเซฟ นาย มาพิจารณาในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป นำมาสู่การใช้นโยบายการค้าร่วมกันผ่านระบบเศรษฐกิจตลาดเดียว โดยสหราชอาณาจักรยังคงเป็นสมาชิกตลาดเดียวและสหภาพศุลกากร ไปจนถึงสิ้นสุดระยะเวลาการเปลี่ยนผ่านสิ้นปี 2563 ทั้งนี้ข้อตกลง TCA จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ภายหลังจากที่สองฝ่ายให้สัตยาบันครบถ้วนเรียบร้อย อย่างไรก็ดี ภายใต้ข้อตกลง TCA ยังคงมีประเด็นคงค้าง อาทิ ไอร์แลนด์เหนือ และการทำประมง ซึ่งถือได้ว่าเป็นงานที่ท้าทายสำหรับทั้งสองฝ่ายในอนาคต


จีนในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eec) กับการวางสมดุลในนโยบายต่างประเทศไทยต่อมหาอำนาจ, ภูริจักษ์ วิมลาภิรัต Jan 2020

จีนในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eec) กับการวางสมดุลในนโยบายต่างประเทศไทยต่อมหาอำนาจ, ภูริจักษ์ วิมลาภิรัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาความสำคัญของประเทศจีน ที่ได้ “ปักหมุด” ทางยุทธศาสตร์การเข้ามาลงทุนในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของประเทศไทย โดยใช้กรอบแนวคิดของการป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ที่เป็นการเข้ารวมกลุ่มสมัครพรรคพวกกับรัฐที่เข้มแข็งกว่าเพื่อผลประโยชน์ (Bandwagoning For Profit) มาเพื่อวิเคราะห์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยและประเทศจีน โดยเป้าหมายสำคัญในการป้องกันความเสี่ยงที่จะทำให้ประเทศไทยเกิดสภาวะพึ่งพาต่อประเทศใดประเทศหนึ่งมากเกินไป จนอาจจะทำให้เสียสมดุลที่ส่งผลกระทบต่ออธิปไตยและผลประโยชน์แห่งชาติของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า นโยบายต่างประเทศของไทยได้หันเข้าหาประเทศจีนมากกว่าสหรัฐฯอย่างชัดเจน ซึ่งได้ส่งผลกระทบให้ประเทศไทยเสียสมดุล (Balance) ในความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจขั้วตรงข้ามไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนทำให้ประเทศไทยต้องพบกับความเสี่ยง และความยากลำบากจากการขาดอิสระในการกำหนดนโยบายต่างประเทศที่จะต้องยึดถือเอาลำดับความสำคัญ (Prioritize) ในการรักษาความสัมพันธ์ที่มีกับประเทศจีนเป็นหลัก จึงมีข้อเสนอแนะในการยึดจุดยืนของประเทศไทยจากการที่อยู่ในยุทธศาสตร์ของมหาอำนาจทั้งสอง (Cooperative Security Locations) โดยหากประเทศไทยดำเนินนโยบายต่างประเทศที่รักษาสมดุลระหว่างมหาอำนาจทั้งสองได้อย่างดี ย่อมจะก่อให้เกิดผลประโยชน์แห่งชาติสูงสุดแก่ประเทศไทย รัฐบาลไทยจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญในประเด็นนี้ก่อนที่จะสายเกินไป เพื่อที่จะนำพาประเทศไปในทิศทางที่ถูกต้อง และสร้างสมดุลอันนำมาซึ่งความมั่นคง รวมถึงการผลักดันด้านเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย ภายใต้บริบทยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน


A Case Study On Financial Analysis Of Sunsweet Public Company Limited, Nuttakritta Neamaum Jan 2020

A Case Study On Financial Analysis Of Sunsweet Public Company Limited, Nuttakritta Neamaum

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Sunsweet Public Company Limited, a Thai manufacturers/export, is listed capital of 215 Million Baht and is located in Sanpatong district, Chiang Mai province. The nature of business is to manufacture and distribute processed sweet corn and agricultural products, including sourcing the food and agricultural products. Its vision is to lead a sweet corn business that operates the vertically integrated business and focuses on innovation, modern technology, and enhancement to international standards. The company had success in foreign markets in over 50 countries worldwide with more than 200 customers with the export value's market share at 4% in 2019. This paper …


Marketing Analysis Of Fu Anna Home Textile Co., Ltd., Jue Lin Jan 2020

Marketing Analysis Of Fu Anna Home Textile Co., Ltd., Jue Lin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

With the rapid development of China's national economy, the domestic consumer goods market is growing prosperous. At the same time, the home textile industry is showing a thriving scene. However, it is also facing a crisis of increasing complexity in the living environment. Therefore, if a company wants to gain a comparative advantage in the existing objective environment, it needs to formulate a strategic plan suitable for the current situation and enhance its core competitiveness.This research takes the marketing strategy analysis of Fu Anna household products Co., Ltd. as the theme. It will analyze the external and internal environment of …


การออกแบบสารในการสื่อสารภาวะวิกฤตของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.), ธวัช เวศตัน Jan 2020

การออกแบบสารในการสื่อสารภาวะวิกฤตของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.), ธวัช เวศตัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องการออกแบบสารในการสื่อสารภาวะวิกฤตของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 2 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อวิเคราะห์การออกแบบสารในการสื่อสารภาวะวิกฤตของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) และ (2) เพื่อวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาในการสื่อสารภาวะวิกฤตของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผลวิจัยพบว่าเมื่อเกิดภาวะวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รัฐบาลได้มีการจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการภาวะวิกฤตดังกล่าว ในการสื่อสารกับประชาชนนั้น การออกแบบสารประกอบไปด้วยการให้ข้อมูล และการโน้มน้าวใจในกระบวนการออกแบบสารนอกจากการเลือกประเด็นที่นำเสนอโดยคณะทำงาน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนนำ มีลักษณะสร้างความเข้าใจในปัญหา โดยมีความจำเป็นเร่งด่วน โดยใช้แนวคิดการสื่อสารจากแหล่งเดียวอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะสามารถควบคุมความถูกต้องของเนื้อหา สร้างความชัดเจนในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักการที่ทีมงานออกแบบสาร ของ ศบค. ได้จัดทำไว้ ส่วนเนื้อหา มีลักษณะสร้างความเข้าในในภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาที่รัฐบาลได้เตรียมไว้ ซึ่งการรายงานข้อมูลเท็จจริง สารต้องมีความน่าสนใจ เข้าถึงได้ง่าย สามารถตีความได้ ประมวลผลได้ ทําให้ผู้รับสารมีความเข้าใจในความหมายที่สารกํากับไว้ได้ และส่วนสรุป มีลักษณะเป็นการนำเสนอแนวทางแก้ไข สร้างทัศนคติให้ผู้รับสารได้ตระหนักถึงความอันตรายกับเหตุการณ์การแพร่ของโรคระบาดที่เกิดขึ้น ผู้ออกแบบสารจะต้องตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของข้อมูล เพราะสารที่รออกแบบย่อมส่งกระทบกับผู้รับสารนอกเหนือจากความเข้าใจในสารที่ตรงแล้ว สารนั้นจะต้องสร้างความรู้ สร้างการรับรู้ และสร้างทัศนคติกับผู้รับสาร แล้วยังมีการใช้ทำเนียบภาษาทางการแพทย์ และสาธารณสุข รวมถึงการใช้คำคล้องจองอีกด้วย


ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อของลูกค้าโพเมโล่, สิริมา ชำนาญศิลป์ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อของลูกค้าโพเมโล่, สิริมา ชำนาญศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อของลูกค้าโพเมโล่ 2) เพื่อสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อของลูกค้าโพเมโล่ และ 3) เพื่อสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อของลูกค้าโพเมโล่ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 200 คน ซึ่งเป็นเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 18 – 40 ปี อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และต้องมีบัญชีสมาชิกโพเมโล่ (Pomelo Account) ที่สมัครผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของตราสินค้าโพเมโล่ อีกทั้งยังต้องเคยเข้าไปดูสินค้า สอบถามข้อมูล หรือรับบริการต่าง ๆ ที่หน้าร้านโพเมโล่ รวมถึงต้องเคยซื้อสินค้าโพเมโล่อย่างน้อย 1 ชิ้น ภายในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา โดยผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลายมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับภาพลักษณ์ตราสินค้า และความตั้งใจซื้อสินค้าโพเมโล่ของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และภาพลักษณ์ตราสินค้าโพเมโล่ก็มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับความตั้งใจซื้อสินค้าโพเมโล่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน นอกจากนี้ ยังพบว่า มิติด้านเฉพาะบุคคลของประสบการณ์ลูกค้าที่หลากหลายมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับภาพลักษณ์ตราสินค้าโพเมโล่ และความตั้งใจซื้อมากที่สุด ในขณะที่มิติด้านความใกล้ชิดของภาพลักษณ์ตราสินค้าโพเมโล่มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับความตั้งใจซื้อสินค้าโพเมโล่ของกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด


สัมพันธบทและการดัดแปลงบทเพลงจากนวนิยายเรื่อง “จุฬาตรีคูณ”, ณัฐญ์นิษฐา ไชยรัตน์ Jan 2020

สัมพันธบทและการดัดแปลงบทเพลงจากนวนิยายเรื่อง “จุฬาตรีคูณ”, ณัฐญ์นิษฐา ไชยรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะสัมพันธบทในนวนิยายเรื่องจุฬาตรีคูณ 2) เพื่อศึกษาลักษณะเนื้อหาและวิธีการดัดแปลงบทเพลงที่มาจากนวนิยายเรื่องจุฬาตรีคูณ ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ตัวบท และศึกษาจากแหล่งข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจุฬาตรีคูณ กามนิต-วาสิฏฐี และนาร์ซิสซัส รวมถึงเพลงชุดจุฬาตรีคูณ จำนวน 5 บทเพลง ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะสัมพันธบทในนวนิยายเรื่องจุฬาตรีคูณที่พบมากที่สุดคือ การคงเดิม และการดัดแปลง โดยเรื่องกามนิต-วาสิฏฐี ได้มีอิทธิพลต่อเรื่องจุฬาตรีคูณมากกว่าเรื่องนาร์ซิสซัส ซึ่งเรื่องจุฬาตรีคูณรับเอาลักษณะเด่นหลายส่วนจากเรื่องกามนิต-วาสิฏฐี มาใช้ทั้งโครงเรื่องหลัก แก่นเรื่องความรัก ความลุ่มหลง จนไปสู่ความทุกข์และความหายนะ ความขัดแย้งในจิตใจและความขัดแย้งระหว่างคนกับคน ด้านตัวละครก็มีลักษณะเด่นของนิสัย อารมณ์ความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรมของตัวละครเอก ส่วนฉากและบรรยากาศ ก็มีการกล่าวถึงดินแดนชมพูทวีป รวมไปถึงมุมมองการเล่าเรื่อง สำหรับเรื่องนาร์ซิสซัส ในจุฬาตรีคูณได้คงเดิมแก่นเรื่องความงาม ความลุ่มหลง จนไปสู่ความทุกข์และความหายนะ รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งน้ำโดยเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาและเป็นจุดจบของตัวละครเอก เมื่อจุฬาตรีคูณเก็บส่วนสำคัญต่างๆจากทั้งสองเรื่องไว้แล้ว ก็ได้นำองค์ประกอบเหล่านั้นมาดัดแปลงจนเกิดเป็นชิ้นงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดัดแปลงตัวละครเอก “นาร์ซิสซัส” ให้กลายเป็น “ดารารายพิลาส” และการทำให้ “แม่น้ำจุฬาตรีคูณ” กลายเป็นฉากสำคัญของเรื่อง ในส่วนของลักษณะเนื้อหาและวิธีการดัดแปลงบทเพลงพบว่า ทุกบทเพลงมีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆของเรื่องทั้งหมด โดยสามารถเรียงร้อยต่อเนื่องกันตามลำดับเหตุการณ์ในนวนิยายตั้งแต่ต้นจนจบ สำหรับการใช้ภาษาพบว่ามีการใช้ภาพพจน์บุคคลวัต มากที่สุด และรสในวรรณคดีที่ปรากฏมากที่สุดคือ กรุณารส ด้านวิธีการดัดแปลงบทเพลงพบว่า มีลักษณะของการคงเดิมอยู่ในทุกบทเพลง โดยองค์ประกอบที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือ บทสนทนา ซึ่งมีครบทั้งการคงเดิม การตัดทิ้งหรือการลดทอน การเพิ่มเติมหรือการขยาย และการสลับหรือการปรับเปลี่ยน บทสนทนาถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการนำมาใช้สร้างสรรค์เป็นเนื้อเพลง โดยเฉพาะการเป็นบทเพลงเพื่อประกอบการแสดงละครวิทยุที่ผู้ประพันธ์บทเพลงได้เน้นให้เห็นความสำคัญของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ฟังเกิดจินตภาพ รับรู้ได้ถึงนาฏการต่างๆ รวมทั้งอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร ลักษณะสัมพันธบทและการดัดแปลงในงานวิจัยที่เกิดขึ้นนี้ ได้ย้ำเตือนให้เข้าใจเสมอว่าในการผลิตหรือสร้างสรรค์ผลงานจากสิ่งที่เคยมีมาแล้วนั้นไม่ใช่เป็นการเลียนแบบหรือคัดลอก แต่ถือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นปกติในแวดวงของศิลปะแขนงต่างๆซึ่งสามารถหลอมรวมให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ ด้วยวิธีการสร้างสรรค์จากแรงบันดาลใจ รวมถึงประสบการณ์ต่างๆที่ผู้ผลิตผลงานนำมาปะติดปะต่อ รวบรวมเข้าไว้ด้วยกัน และประยุกต์จนเกิดเป็นผลงานในรูปแบบอื่นๆต่อไป


การขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปาริฉัตร บัวเข็ม Jan 2020

การขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปาริฉัตร บัวเข็ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์แนวทางในการขับเคลื่อนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ใช้วิธีการศึกษาจากการค้นคว้าจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่าการให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเริ่มขึ้นเมื่อ สิบปีก่อน ได้ออกแบบ ‘ผังแม่บทจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 100 ปี’ เพื่อวางรากฐานเรื่องสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐานอย่างเรื่องการวางผังอาคารให้สอดคล้องกับพื้นที่สีเขียว และมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องสู่ “มหาวิทยาลัยสีเขียว” และ "มหาวิทยาลัยที่ยั่งยืน" โดยการดำเนินงานอยู่ภายใต้คณะกรรมการนโยบายมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนเพื่อดูแลโครงการความยั่งยืนทั้งหมดในวิทยาเขต แบ่งเป็น 5 กลุ่มคือ 1) ด้านกายภาพและโครงสร้างพื้นฐาน 2) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากร 3) ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร 4) ด้านการการเรียน การสอน และวิจัย และ 5) ด้านการบริหาร ธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วม ซึ่งแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วนสำคัญคือการดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการนโยบายมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนซึ่งทำหน้าที่ผลักดันโครงการ กิจกรรมที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และการทำงานของสำนักงานยุทธศาสตร์และการขับเคลื่อนซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอีกหนึ่งหน้าที่สำคัญคือการนำส่งข้อมูลแก่ THE Impact Ranking และปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนคือ ความเข้าใจในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ


การถอดบทเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ : กรณีศึกษากองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร, พรรณปพร ด่านพิทักษ์ Jan 2020

การถอดบทเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ : กรณีศึกษากองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร, พรรณปพร ด่านพิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประเภทและลักษณะปัญหาและความสำเร็จเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย 2) เพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาและความสำเร็จเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย และ 3) เพื่อได้ข้อสรุปจากการถอดบทเรียนและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการกรุงเทพมหานคร โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการการศึกษาด้วยการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ลักษณะปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของ คือ ความล่าช้าที่เกิดขึ้นจากการจัดทำเอกสารผิดรูปแบบ การดำเนินการไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ไม่มีคนให้คำแนะนำ และไม่มีมาตรฐาน ส่วนลักษณะความสำเร็จคือ ความรวดเร็วที่เกิดขึ้นจากการจัดทำเอกสารถูกต้อง และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือ สำหรับสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากขาดความรู้ ทัศนคติเชิงลบ ความสัมพันธ์และการแบ่งงานภายในหน่วยงาน ส่วนสาเหตุของความสำเร็จ เนื่องจากอัตรากำลังมีเพิ่มมากขึ้น และความเอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชา สรุปออกมาเป็นบทเรียน ได้ดังนี้ (1) มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับดำเนินการทางวินัย (2) มีโครงสร้างและการแบ่งงานกันภายในหน่วยงานเหมาะสม (3) บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีพฤติกรรมเชิงบวกต่องานวินัย (4) ความเข้าใจกันระหว่างหน่วยงาน และ (5) ความเอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชา และนำไปสู่ข้อเสนอแนะ อันได้แก่ (1) การปรับปรุงและจัดการองค์ความรู้ เช่น การอบรม และจัดทำคู่มือ (2) การปรับปรุงตัวบทกฎหมายของกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย (3) การปรับปรุงโครงสร้างและการแบ่งงานกันภายในหน่วยงาน และ (4) ควรส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กร ทั้งผู้บังคับบัญชา และบุคลากรทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีในงานด้านวินัย


การนำนโยบายด้านการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรไปปฏิบัติกรณีศึกษาสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์, สมทัศน์ อย่างสุข Jan 2020

การนำนโยบายด้านการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรไปปฏิบัติกรณีศึกษาสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์, สมทัศน์ อย่างสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการนํานโยบายไปปฏิบัติของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ในด้านการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับนโยบายด้านการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ผลการศึกษาวิจัยพบว่า นโยบายด้านการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร มีการดำเนินงานในรูปแบบคณะกรรมการระดับแห่งชาติ โดยใช้แผนเตรียมความพร้อมเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (Contingency plan) และแนวทางเวชปฏิบัติของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (Clinical practice guideline) ตามแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยหรือภัยพิบัติ (Disaster Risk Management: DRM) นโยบายยังเน้นความร่วมมือและบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่การผลิตสุกร การนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จเกิดจาก 1) การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายจากระดับล่างขึ้นบน (Bottom up approach) 2) การปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด 3) การจัดกลุ่มพื้นที่ตามระดับความเสี่ยงของโรคเพื่อกำหนดมาตรการและจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสม 4) โครงสร้างการทำงานแบบบูรณาการที่ยืดหยุ่น คล่องตัวรวดเร็ว และมีลักษณะเครือข่ายเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ 5) รูปแบบการสื่อสารนโยบายแบบเชิงรุก (Pro-active) และมีกลยุทธ์สร้างการตื่นรู้ในภาคประชาชน (Public awareness) 6) การสร้างรับรู้ของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติและการพัฒนาบุคลากรที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ 7) การส่งเสริมผลักดันให้เกษตรกรปรับระบบการเลี้ยงสุกรให้มีระบบป้องกันโรค (Biosecurity) ขั้นพื้นฐาน ตามมาตรา 7 ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ในระบบป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (Good farming management: GFM) 8) การติดตามและประเมินผลนโยบายร่วมกันในหน่วยงาน และ 9) การทำงานเชิงรุกในพื้นที่เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรตลอดห่วงโซ่การผลิตสุกร


การรับรู้และตอบสนองต่อภาวะวิกฤตองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการในกลุ่ม Generation X และ Millennials: กรณีศึกษา บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน), ภูริตา เพรียวพานิช Jan 2020

การรับรู้และตอบสนองต่อภาวะวิกฤตองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการในกลุ่ม Generation X และ Millennials: กรณีศึกษา บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน), ภูริตา เพรียวพานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ เรื่อง "การรับรู้และตอบสนองต่อภาวะวิกฤตองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการในกลุ่ม Generation X และ Millennials: กรณีศึกษา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบว่า ช่วงวัยที่แตกต่างกันมีผลต่อการรับรู้และตอบสนองต่อภาวะวิกฤตองค์กรเหมือนหรือแตกต่างกัน หรือไม่ อย่างไร โดยการศึกษาครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม โดยใช้แบบสอบถาม ประกอบการสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูล ทั้งนี้ ได้มีการศึกษาปัจจัยอื่น รวมด้วย อันได้แก่ เพศ ประสบการณ์ทำงาน และลักษณะงาน โดยผลการศึกษาพบว่า ช่วงวัยที่แตกต่างกันไม่ส่งผลต่อการรับรู้และตอบสนองภาวะวิกฤตองค์กร ทว่า ลักษณะงานที่แตกต่างกันมีการตอบสนองต่อการจัดการภาวะวิกฤตองค์กรแตกต่างกัน ทั้งนี้ ในส่วนของการสัมภาษณ์พบว่า การสื่อสารหรือการประชาสัมพันธ์ภาวะวิกฤตองค์กร ทั้งการมีช่องทางที่หลากหลาย และการให้ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง และชัดเจน จะเป็นประโยชน์ต่อพนักงานและช่วยให้พนักงานเข้าใจสถานการณ์และตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น