Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1561 - 1590 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การศึกษาผลกระทบของการปฏิรูปโครงสร้างภาษีทางอ้อมของอินเดีย ที่เป็นโอกาสต่อนักลงทุนไทย, จิรเมธ แสงไกร Jan 2020

การศึกษาผลกระทบของการปฏิรูปโครงสร้างภาษีทางอ้อมของอินเดีย ที่เป็นโอกาสต่อนักลงทุนไทย, จิรเมธ แสงไกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาผลกระทบของการปฏิรูปโครงสร้างภาษีทางอ้อมของอินเดีย ที่เป็นโอกาสต่อนักลงทุนไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างภาษีทางอ้อมเดิมของอินเดียกับภาษีสินค้าและบริการ ศึกษาว่าการจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการ (Goods and Services Tax : GST) สามารถส่งเสริมการลงทุนด้านการผลิตภายในอินเดียอย่างไร และเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจของผู้ประกอบการไทยถึงความคุ้มค่าในการลงทุนดำเนินกิจการที่ไทยมีความเชี่ยวชาญในประเทศอินเดีย โดยการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative Research) ที่ทำการศึกษาเอกสารทางวิชาการ ประกาศของรัฐบาลอินเดีย รวมถึงข้อมูลข่าวสารจากอินเทอร์เน็ต ควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคคลเป้าหมาย เพื่อสร้างตัวแบบคำนวณภาระทางภาษีของภาษีทางอ้อม โดยเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการของอินเดีย พบว่า การจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการ เป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีที่ดี ซึ่งเป็นภาษีที่มีความเรียบง่าย (Simple) ฐานภาษีกว้าง (Tax base) และอัตราภาษีต่ำ (Low Rate) มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับระบบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีทางอ้อมอื่น ๆ เดิม รวมทั้งมีการนำระบบเครดิตภาษี (Input Tax Credit : ITC) มาใช้ ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการในอินเดียมีแนวโน้มถูกลง การประกาศใช้ภาษีดังกล่าวเป็นหนึ่งในมาตรการภายใต้การดำเนินนโยบาย Make in India ที่จะดึงดูดให้นักลงทุนมาลงทุนในอินเดียมากขึ้น และจะเป็นโอกาสสำคัญให้ผู้ประกอบการ ชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร การแปรรูปอาหาร การบริการด้านการท่องเที่ยว รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมด้านการแพทย์ ให้สามารถขยายการลงทุนไปยังอินเดีย เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยมากขึ้น


ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับทัศนคติเกี่ยวกับการกลายเป็นองค์กรแห่งความสุขกรณีศึกษาสำนักงานเลขานุการตำรวจแห่งชาติ, กรวรรณ ฟักสุบรรณ์ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับทัศนคติเกี่ยวกับการกลายเป็นองค์กรแห่งความสุขกรณีศึกษาสำนักงานเลขานุการตำรวจแห่งชาติ, กรวรรณ ฟักสุบรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การและทัศนคติเกี่ยวกับองค์กรแห่งความสุข รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับทัศนคติเกี่ยวกับองค์กรแห่งความสุขของข้าราชการตำรวจในสำนักงานเลขานุการตำรวจแห่งชาติ การวิจัยในครั้งนี้เป็นเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากข้าราชการตำรวจทั้งหมดที่ปฏิบัติงานในสำนักงานเลขานุการตำรวจแห่งชาติ (จำนวน 110 คน) ในขณะเดียวกันสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยดำเนินการสัมภาษณ์ โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากข้าราชการตำรวจที่เป็นตัวแทนของแต่ละตำแหน่งตั้งแต่ตำแหน่งผู้บังคับการจนถึงผู้บังคับหมู่จำนวน 6 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร เพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-30 ปี โดยมีรายได้อยู่ที่ 10,001-20,000 บาทต่อเดือน ปฏิบัติงานอยู่ในฝ่ายอำนวยการ และมีประสบการณ์ปฏิบัติงาน 12 ปีขึ้นไป 2) ข้าราชการตำรวจมีการรับรู้วัฒนธรรมองค์การในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีการรับรู้วัฒนธรรมองค์การแบบเครือญาติมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3) ข้าราชการตำรวจมีทัศนคติเกี่ยวกับการกลายเป็นองค์กรแห่งความสุขในภาพรวมระดับปานกลางและมีทัศนคติเกี่ยวกับการกลายเป็นองค์กรแห่งความสุขในด้านคุณธรรมและความกตัญญู (Happy Soul) มากที่สุด 4) การรับรู้วัฒนธรรมองค์การแบบปรับตัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติเกี่ยวกับองค์กรแห่งความสุขในภาพรวมมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การด้านอื่นๆ


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ด้านการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), พิณนภา เพชรศิริ Jan 2020

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ด้านการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), พิณนภา เพชรศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาระดับการรับรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ด้านการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ผู้วิจัยได้เลือกใช้การวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษากับพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จำนวน 288 คน และใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยการบรรยายในลักษณะค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ด้วยการใช้ T-test และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่าการรับรู้ด้านการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ด้านการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของพนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้แก่ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร คือ ด้าน Accountability และปัจจัยด้านสื่อ คือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์


แนวทางการพัฒนากองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 ให้เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานสูงและเป็นต้นแบบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ปฐมพงษ์ กรัณย์พิศุทธิ์ Jan 2020

แนวทางการพัฒนากองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 ให้เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานสูงและเป็นต้นแบบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ปฐมพงษ์ กรัณย์พิศุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ 1) ลักษณะการปฏิบัติงานของกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 ในปัจจุบัน 2) ปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงานของกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 ที่เผชิญในอดีต ปัจจุบันและอนาคตและ 3) แนวทางการพัฒนากองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 ให้เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานสูงและเป็นต้นแบบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยผู้ให้สัมภาษณ์คือเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับต่าง ๆ ภายในกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะการปฏิบัติงานของกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 ในปัจจุบัน “มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบสืบสวนคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การสืบสวนการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายอื่นที่มีโทษทางอาญา รวมถึงพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ ตลอดจนคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาซึ่งกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 ในปัจจุบันมีเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ 8 จังหวัดภาคตะวันออกได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรีและสระแก้ว 2) ปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงานของกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 ที่เผชิญประกอบด้วยปัญหาด้านงบประมาณ ความเชี่ยวชาญ บุคลากร การบริหารและการทำงานเป็นทีมและ 3) แนวทางการพัฒนากองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 ให้เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานสูงและเป็นต้นแบบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติประกอบด้วยด้านการพัฒนาการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านความเชี่ยวชาญในอาชีพ ด้านจริยธรรม ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการบริหาร (วิสัยทัศน์/นโยบาย) และด้านทรัพยากร (งบประมาณ/เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์)


What Is The Impact Of Tourism Infrastructure Development On The International Tourism Inflow In Thailand During 2008 To 2019?, Wucaihong Huang Jan 2020

What Is The Impact Of Tourism Infrastructure Development On The International Tourism Inflow In Thailand During 2008 To 2019?, Wucaihong Huang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Tourism has become a main income factor of national revenue in Thailand. Tourism infrastructure is the important foundation for Thailand to improve its attractiveness around the world. This study firstly employed a SWOT analysis to show the current insight of tourism infrastructure in Thailand. The key findings of this study showed that transport infrastructure, ICT infrastructure and medical infrastructure have positive impacts on international tourism inflows in Thailand during 2008 to 2019 by employing an extending gravity model. Thus, the tourism planners should generate ICT promote, transport development and medical tourism into policies planning. Tourism policy makers in Thailand should …


บทบาททางเศรษฐกิจของจีนในกัมพูชา : กรณีศึกษาโครงการดาราซาโกร์ของจีนในจังหวัดเกาะกง, ธนิต นวลมุสิก Jan 2020

บทบาททางเศรษฐกิจของจีนในกัมพูชา : กรณีศึกษาโครงการดาราซาโกร์ของจีนในจังหวัดเกาะกง, ธนิต นวลมุสิก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาททางเศรษฐกิจของจีนในกัมพูชาผ่านกรณีศึกษาการลงทุนโครงการดาราซาโกร์ในจังหวัดเกาะกงซึ่งเชื่อมโยงกับนโยบาย BRI ของจีน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดอิทธิพลเพื่อเสนอว่าจีนได้รับประโยชน์ด้านเศรษฐกิจอย่างชัดเจนมากกว่าผลประโยชน์ด้านการเมืองซึ่งจีนเป็นรัฐขนาดใหญ่ใช้อิทธิพลผ่านเครื่องมือทางการทูต การเงิน และความช่วยเหลือทางการทหารแก่กัมพูชาเพื่อเป็นแรงจูงใจให้กัมพูชากำหนดนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อจีนเพื่อเข้าถึงทรัพยากรที่สมบูรณ์ การขยายอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการเข้าถึงพื้นที่ทะเลจีนใต้ ในขณะที่กัมพูชาได้ประโยชน์ตอบแทนจากแรงจูงใจสามประการ ได้แก่ ประการแรก การเมืองภายในประเทศสำหรับความอยู่รอดของระบอบฮุน เซน ประการที่สอง ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามนโยบาย BRI เป็นส่วนส่งเสริมยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศและความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของกัมพูชา และประการสุดท้ายการประกันความปลอดภัยจากภัยคุกคามของเวียดนามที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีชายแดนติดต่อกันและประวัติศาสตร์สงครามกลางเมือง อย่างไรก็ตาม การตอบรับอิทธิพลจากจีนของกัมพูชายังต้องเผชิญแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเวียดนาม ซึ่งมีผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและการเมืองในกัมพูชาเช่นกัน รวมทั้งการต่อต้านจากคนในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของจีน


การวิเคราะห์การนำนโยบายการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปปฏิบัติกรณีศึกษา จังหวัดสิงห์บุรี, ปรัธยาน์ ดำศรี Jan 2020

การวิเคราะห์การนำนโยบายการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปปฏิบัติกรณีศึกษา จังหวัดสิงห์บุรี, ปรัธยาน์ ดำศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินการ และปัญหา อุปสรรคของการนำนโยบายการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ และการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview) ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และประชาชนในพื้นที่จังหวัด ทั้งหมด 26 คน พบว่า นโยบายและมาตรการของรัฐบาลในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ถูกกำหนดในรูปแบบกฎหมาย นำนโยบายมาปฏิบัติผ่านคณะกรรมการ ด้วยการประชุม สั่งการ/มอบหมายงานที่มีความชัดเจน ปัจจัยด้านการสื่อสารของหน่วยงาน มีการใช้ช่องทางการสื่อสาร ทั้งในรูปแบบการสั่งการในที่ประชุม เอกสารทางราชการ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลตอบสนองต่อสถานการณ์ได้รวดเร็ว ปัจจัยด้านศักยภาพของหน่วยงาน ในส่วนทรัพยากรด้านงบประมาณ อุปกรณ์ เครื่องมือ ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ ที่เป็นคนในพื้นที่ ส่งผลให้สามารถขอความร่วมมือการปฏิบัติตามมาตรการได้ และปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ผู้ว่าราชการจังหวัด มีการวางแผนเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ และบัญชาสั่งการที่ชัดเจน โดยการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรการอย่างเข้มข้น ส่งผลให้สามารถนำนโยบายไปปฏิบัติได้ตามวัตถุประสงค์ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ ควรมีการบริหารจัดการให้มีศูนย์ข้อมูลกลางของจังหวัด เพื่อใช้ในการวางแผน ประกอบการตัดสินใจ และควรมีการจัดโครงสร้างหลักในการบริหารจัดการ ที่บูรณาการหน่วยงานต่างๆ เพื่อลดความซ้ำซ้อนกันของภารกิจ


ภูมิทัศน์หลายภาษาบริเวณชายแดนประเทศไทย, พรพิมล ศิวินา Jan 2020

ภูมิทัศน์หลายภาษาบริเวณชายแดนประเทศไทย, พรพิมล ศิวินา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภูมิทัศน์ภาษาหมายถึงการศึกษาสถานการณ์ภาษาโดยใช้ข้อความภาษาบนป้ายสาธารณะเป็นข้อมูล งานวิจัยด้านภูมิทัศน์ภาษาในพื้นที่ชายแดนของประเทศไทยยังไม่มีผู้ใดศึกษา ผู้วิจัยเห็นว่าการศึกษาพื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญต่อทฤษฎีภูมิทัศน์ภาษา และน่าจะสะท้อนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพสังคมของชุมชนเขตชายแดนได้เป็นอย่างดี งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาภูมิทัศน์ภาษาตรงชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน 8 จุด คือ มุกดาหารและสะหวันนะเขต ที่ชายแดนไทย-ลาว อรัญประเทศ-ปอยเปต ที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ปาดังเบซาร์ สะเดา -ปาดังเบซาร์ ที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย และแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก ที่ชายแดนไทย-เมียนมา ผู้วิจัยวิเคราะห์การเลือกภาษา รูปแบบของข้อความในป้ายหลายภาษา และปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดลักษณะของภูมิทัศน์ภาษาที่พบ ผลการวิเคราะห์พบว่าพื้นที่ชายแดนทุกแห่งใช้ป้ายหลายภาษามากกว่าป้ายหนึ่งภาษาและใช้ภาษาประจำชาติมากที่สุด รองลงมาคือภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาประเทศเพื่อนบ้านพบมากที่สุดที่แม่สาย ชายแดนไทย-เมียนมา และอรัญประเทศ ชายแดนไทย-กัมพูชา และไม่พบภาษาประเทศเพื่อนบ้านเลยที่ปาดังเบซาร์ สะเดา ชายแดนไทย-มาเลเซีย และสะหวันนะเขต ชายแดน ลาว-ไทย ในด้านรูปแบบข้อความในป้ายหลายภาษาพบ 3 แบบคือ แบบแปลตรงตัวซึ่งพบมากที่สุด รองลงมาคือแบบแปลบางส่วน และแบบอิสระน้อยที่สุด พื้นที่ฝั่งไทยทุกแห่งและชายแดนมาเลเซีย-ไทยใช้รูปแบบการเขียนแบบแปลตรงตัวมากที่สุด พื้นที่ฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน 3 แห่ง คือ ลาว เมียนมา และกัมพูชา ใช้รูปแบบแปลบางส่วนมากที่สุด ส่วนแบบอิสระพบมากที่สุดในปอยเปต ชายแดนกัมพูชา-ไทย ในด้านปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดภูมิทัศน์ภาษาในเขตชายแดน สรุปได้ว่า 1) การใช้ภาษาประจำชาติที่เด่นชัดเป็นเพราะทุกประเทศต้องการนำเสนออัตลักษณ์ของชาติผ่านป้ายสาธารณะ 2) การใช้ภาษาอังกฤษในปริมาณมากและสม่ำเสมอเป็นเพราะพื้นที่ชายแดนมีความเป็นโลกาภิวัตน์และนานาชาติ 3) การปรากฏของภาษาเพื่อนบ้านในภูมิทัศน์ภาษา เป็นเพราะความต้องการสื่อสารแบบลู่เข้าหาประเทศเพื่อนบ้าน ข้อค้นพบในงานวิจัยนี้ สนุบสนุนทฤษฎีเงื่อนไขการใช้ภาษาในป้าย หลักโครงสร้างในภูมิทัศน์ภาษา และการปรับตัวในการสื่อสาร นอกจากนั้น ยังชี้บ่งเป็นนัยว่าสถานการณ์ภาษาในประเทศไทยมีการเปิดกว้างให้ใช้ภาษาทุกแบบในป้าย และมีแนวโน้มการลู่เข้าหาผู้อ่านในท้องถิ่น


ประสบการณ์ของผู้ให้การปรึกษาแนวพุทธในการพัฒนาความร่วมมือเชิงบำบัด, ณัฐวร เมฆมัลลิกา Jan 2020

ประสบการณ์ของผู้ให้การปรึกษาแนวพุทธในการพัฒนาความร่วมมือเชิงบำบัด, ณัฐวร เมฆมัลลิกา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ เพื่อศึกษาประสบการณ์ของผู้ให้การปรึกษาแนวพุทธในการพัฒนาความร่วมมือเชิงบำบัด ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ให้การปรึกษาแนวพุทธ จำนวน 7 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้คำถามสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ความสงบว่างด้วยความเข้าใจเห็นจริงในหลักธรรม เป็นหัวใจหลักตลอดกระบวนการทำงาน แบ่งออกเป็นประเด็นย่อยได้แก่ (1.1) ภาวะใจที่สงบว่าง และความเข้าใจเห็นจริงในหลักธรรม และ (1.2) รับรู้โลกของผู้มาปรึกษาอย่างเข้าใจ และเป็นสติช่วยให้ผู้มาปรึกษามองเห็นทุกข์ ความขุ่นมัวในใจตน (2) อุปสรรคที่ทำให้ความสัมพันธ์ชะงักงันและการก้าวข้ามอุปสรรค แบ่งออกเป็นประเด็นย่อยได้แก่ (2.1) อุปสรรคที่ทำให้ความสัมพันธ์ชะงักงัน และ (2.2) การก้าวข้ามอุปสรรค และประเด็นสุดท้าย (3) กระบวนการยกระดับจิตใจผู้มาปรึกษา แบ่งออกเป็นประเด็นย่อยได้แก่ (3.1) ผู้มาปรึกษาตระหนักในทุกข์ และเหตุที่มาของทุกข์ (3.2) ผู้มาปรึกษาเข้าใจโลกและชีวิต ละวางความทุกข์ได้ และ (3.3) ผู้มาปรึกษาพัฒนาโลกภายใน เติบโตในชีวิตมากขึ้น ข้อค้นพบในการวิจัยนี้ทำให้เข้าใจประสบการณ์ทางจิตใจของผู้ให้การปรึกษาแนวพุทธในเรื่องของความร่วมมือเชิงบำบัด ซึ่งมีความสงบว่างของผู้ให้การปรึกษาด้วยศีล สมาธิ ปัญญาที่มาจากความเข้าใจเห็นจริงในหลักธรรม เป็นหัวใจหลักตลอดกระบวนการทำงานนั่นเอง


แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักเพื่อการเป็นบุคลากรภาครัฐที่มีสมรรถนะสูง : กรณีศึกษาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน, กัญญนันทน์ เกวะระ Jan 2020

แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักเพื่อการเป็นบุคลากรภาครัฐที่มีสมรรถนะสูง : กรณีศึกษาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน, กัญญนันทน์ เกวะระ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักเพื่อการเป็นบุคลากรภาครัฐที่มีสมรรถนะสูง : กรณีศึกษาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1. เพื่อให้ทราบถึงความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสมรรถนะหลักของข้าราชการแต่ละระดับของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน 2. เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรโดยใช้สมรรถนะหลักของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานเป็นเกณฑ์การกำหนดการพัฒนา 3. เพื่อเป็นแนวทางในการนำสมรรถนะหลักของข้าราชการมาใช้ในการงานด้านอื่นๆ และ 4. เพื่อให้ทราบแนวทางการทำงานของข้าราชการที่มีสมรรถนะหลักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมและเผยแพร่เป็นองค์ความรู้ กลุ่มตัวอย่างคือข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน จำนวน 19 คน เป็นข้าราชการประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และระดับชำนาญการ ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน และระดับชำนาญงาน จำนวน 16 คน และผู้บริหารระดับสูงที่มีประสบการณ์การทำงานหลายสายงาน จำนวน 3 คน วิธีการเก็บข้อมูลประกอบด้วยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า ข้าราชการกลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสมรรถนะหลักในระดับตำแหน่งของตนเอง และทราบว่าประเภทและระดับตำแหน่งของตนมีเกณฑ์มาตรฐานอยู่ในระดับใด และจากการสังเกตพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับสมรรถนะหลักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานในหลายสมรรถนะ กลุ่มตัวอย่างทราบว่าสมรรถนะหลักประจำตำแหน่งของตนว่ามี 5 ด้าน และนำมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการ นอกจากนี้ยังพบว่าแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักเพื่อการเป็นบุคลากรภาครัฐที่มีสมรรถนะสูง สามารถนำสมรรถนะหลักมาใช้เป็นแนวทางได้ โดยควรมีการประเมินสมรรถนะหลักของแต่ละตำแหน่งแต่ละระดับก่อนการนำสมรรถนะหลักมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพัฒนา


การศึกษาแนวทางการกำหนดนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศไทย กรณีอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าจะไปในทิศทางใด (เป็นผู้ประกอบแบบดั้งเดิม หรือ ผู้นำด้านการผลิตนวัตกรรม), วุฒิ มหามงคล Jan 2020

การศึกษาแนวทางการกำหนดนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศไทย กรณีอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าจะไปในทิศทางใด (เป็นผู้ประกอบแบบดั้งเดิม หรือ ผู้นำด้านการผลิตนวัตกรรม), วุฒิ มหามงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาแนวทางการกำหนดนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยว่าควรจะไปในทิศทางใด จากการศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสัมภาษณ์แนวทางการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่านโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย มุ่งเน้นการนำเข้าชิ้นส่วนสำคัญและการรับจ้างประกอบ ซึ่งสะท้อนได้จากผลการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประโยชน์จากนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งผลการคำนวณอยู่ในระดับ 0.35 สะท้อนถึงต้นทุนของผู้สูญเสียผลประโยชน์ในระดับที่สูง นำไปสู่การกำหนดนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยที่ขาดความชัดเจน การใช้งบประมาณชดเชยให้กับผู้เสียผลประโยชน์ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์ และ ผู้ขายน้ำมันกลุ่มรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน จะทำให้การออกนโยบายดังกล่าวมีความชัดเจนและเป็นเอกภาพ จากการศึกษานโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่น พบว่ารัฐบาลของประเทศดังกล่าวนำเสนอนโยบายสาธารณะที่ครอบคลุม นับตั้งแต่นโยบายส่งการบริโภค นโยบายส่งเสริมการผลิต นโยบายส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี นโยบายการอุดหนุนจากภาครัฐ นโยบายด้านการควบคุมมลพิษ โดยผ่านมาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ มาตรการทางการคลังและกึ่งการคลัง เพื่อสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะพัฒนาขีดความสามารถทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและยกระดับการพัฒนาประเทศบนพื้นฐานของความยั่งยืน


สมรรถนะของข้าราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง เพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กรณีศึกษา ด่านศุลกากรมาบตาพุด จังหวัดระยอง, เบญจาวัลย์ ศรีโยธี Jan 2020

สมรรถนะของข้าราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง เพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กรณีศึกษา ด่านศุลกากรมาบตาพุด จังหวัดระยอง, เบญจาวัลย์ ศรีโยธี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการศุลกากร สังกัดด่านศุลกากรมาบตาพุดในปัจจุบัน และในอนาคตเพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 10 ราย ประกอบไปด้วย 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่มผู้ปฏิบัติราชการ ณ ด่านฯ มาบตาพุด 4 ราย 2) หน่วยงานราชการอื่นที่มีการประสานงานกับนักวิชาการศุลกากรด่านฯ มาบตาพุด 2 ราย และ 3) กลุ่มภาคเอกชน เป็นผู้ประกอบการหรือบริษัทที่ได้รับการบริการจากด่านศุลกากรมาตาพุด แบ่งตามกลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์ที่นำเข้า- ส่งออก หรือมีการใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร 4 ราย โดยใช้วิจัยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และนำศึกษามาวิเคราะห์และสรุปผลตามการทบทวนวรรณกรรมและแนวคิดสมรรถนะภายใต้คำจำกัดความของ ก.พ. โดยการเปรียบเทียบกับสมรรถนะเดิมเพื่อหาสมรรถนะใหม่เพื่อเติมเต็มการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นสำหรับการรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกในอนาคต ผลการวิจัยพบว่าสมรรถนะของข้าราชการด่านฯ ศุลกากรมาบตาพุด ตำแหน่งนักวิชาการศุลกากร ที่ควรเพิ่มเติมจากปัจจุบันเพื่อรองรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการยกระดับศักยภาพของประเทศให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ประกอบไปด้วย 1) ความรู้เรื่องการบูรณาการการใช้สิทธิประโยชน์ใน EEC สิทธิประโยชน์ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สิทธิประโยชน์ทางศุลกากร และสิทธิประโยชน์อันเกี่ยวกับกรมสรรพากรเพื่อธิบายให้กับผู้มารับบริการ 2) ทักษะภาษาจีนและทักษะภาษารัสเซียเพื่อการสื่อสารและบริการกลุ่มผู้ลงทุนจากสองประเทศนี้ซึ่งมีจำนวนมากขึ้น 3) ทักษะการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยและมีนวัตกรรมเช่นนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์และระบบอัจฉริยะต่างๆ โดยมีความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศและภาคเอกชนด้วย


การระบุและจำแนกกลุ่มภาษา "ลาว" ที่พูดในภาคกลางของประเทศไทยโดยใช้เกณฑ์วรรณยุกต์: กรณีศึกษาภาษา "ลาวฉะเชิงเทรา", วรุณศิริ พรพจน์ธนมาศ Jan 2020

การระบุและจำแนกกลุ่มภาษา "ลาว" ที่พูดในภาคกลางของประเทศไทยโดยใช้เกณฑ์วรรณยุกต์: กรณีศึกษาภาษา "ลาวฉะเชิงเทรา", วรุณศิริ พรพจน์ธนมาศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการแยกและรวมเสียงวรรณยุกต์ รวมทั้งระบบวรรณยุกต์และสัทลักษณะของวรรณยุกต์ในภาษา “ลาว” ที่พูดโดยกลุ่มคน “ลาว” ที่มีบรรพบุรุษอพยพมาจากอาณาจักรล้านช้างตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรีถึงสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กลุ่มคนเหล่านี้ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอยู่ในอำเภอพนมสารคาม อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา และเพื่อจำแนกภาษาที่เรียกกันกว้าง ๆ ว่า “ลาว” ด้วยเกณฑ์วรรณยุกต์ ต่อจากนั้น จึงศึกษาความสอดคล้องระหว่างชื่อเรียกกลุ่มคนและชื่อเรียกภาษากับผลการจำแนกภาษาด้วยเกณฑ์วรรณยุกต์ เก็บข้อมูลวรรณยุกต์จากผู้บอกภาษา 124 คนใน 50 จุดเก็บข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นรายการคำจำนวน 2 ชุด คือ รายการคำ 102 คำที่ปรับจากรายการคำของ Gedney (1972) สำหรับวิเคราะห์วรรณยุกต์ด้วยการฟัง และรายการคำพยางค์เดียวจำนวน 22 คำที่คัดเลือกจากรายการคำ 102 คำ สำหรับวิเคราะห์สัทลักษณะของวรรณยุกต์ด้วยวิธีทางกลสัทศาสตร์โดยใช้โปรแกรมพราท รุ่น 5.3.17 ผลการศึกษาเป็นไปตามสมมติฐาน นั่นคือ สามารถระบุและจำแนกภาษา “ลาวฉะเชิงเทรา” ด้วยเกณฑ์รูปแบบการแยกและรวมเสียงวรรณยุกต์ได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มภาษาลาว และกลุ่มที่ไม่ใช่ภาษาลาว ส่วนสัทลักษณะของวรรณยุกต์สามารถนำมาใช้จำแนกกลุ่มย่อยได้ อย่างไรก็ตาม มีข้อค้นพบเพิ่มเติมว่ากลุ่มที่ไม่ใช่ภาษาลาวสามารถจำแนกได้เป็นกลุ่มภาษาพวนและกลุ่มภาษาไทเหนือหัวพัน จึงสรุปได้ว่า ภาษา “ลาวฉะเชิงเทรา” แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ ภาษากลุ่มลาว มี 4 วิธภาษา ภาษากลุ่มพวน มี 3 วิธภาษา และภาษากลุ่มไทเหนือหัวพัน มี 9 วิธภาษา แต่ละกลุ่มประกอบด้วยวิธภาษา 2 ประเภท คือ วิธภาษาที่วรรณยุกต์มีลักษณะเด่นเฉพาะและวิธภาษาที่วรรณยุกต์มีลักษณะเบี่ยงเบน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าในบางกรณีชื่อเรียกกลุ่มคนและชื่อเรียกภาษาไม่สอดคล้องกับผลการจำแนกด้วยเกณฑ์วรรณยุกต์ ข้อค้นพบด้วยเกณฑ์วรรณยุกต์สอดคล้องกับลักษณะอื่น ๆ ทางภาษาศาสตร์และข้อมูลทางประวัติศาสตร์การอพยพโยกย้ายของคนลาวจากอาณาจักรล้านช้าง


The Relationship Between Greenhouse Gas Emission And Rice Production In Thailand, Kitsada Vitidladda Jan 2020

The Relationship Between Greenhouse Gas Emission And Rice Production In Thailand, Kitsada Vitidladda

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Climate Change has been a global concern for decades. The phenomenon is mainly caused by human activities, including rice production. Although the agricultural activity can adversely emit greenhouse gas emission, it is also vital to Thai economy for a long time as well. This study has two objectives. The first objective is to examine the relationship between greenhouse gas emission and rice production in Thailand to evaluate the balance between economic and environmental aspects. The second objective is to study rice farming practices that can balance between greenhouse gas emission mitigation and rice farmers' income. For the first objective, secondary, …


The Economic Impact Of Gastronomic Tourism: The Ubud Food Festival, Sabrina Yuka Amilia Jan 2020

The Economic Impact Of Gastronomic Tourism: The Ubud Food Festival, Sabrina Yuka Amilia

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The main objective of this paper is to assess the economic impact in Bali during the Covid-19 pandemic by proposing the case of Ubud Food Festival 2019 with input-output analysis. Due to the outbreak, most scheduled festivals in 2020 have been cancelled, including Ubud Food Festival 2020. Computing the festival impact generated by 54 sectors in Bali's economy, this study constructs regional output, value-added, and income multipliers. The result figured that among the gastronomic tourism-related sector, the food and beverage service industry has the largest number on regional output multiplier, recreational and sporting activities have the largest number on value-added …


The Mediating Role Of Motivation To Defend In The Relationships Between Empathy And Defending Behaviors Among Thai Secondary School Students: A Multi-Group Analysis, Jannapas Tubtimpairoj Jan 2020

The Mediating Role Of Motivation To Defend In The Relationships Between Empathy And Defending Behaviors Among Thai Secondary School Students: A Multi-Group Analysis, Jannapas Tubtimpairoj

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

School bullying has been a spreading and a growing concern of students' well-being. A student bystander with defending behaviors may be a key player to stop bullying and changing school climate. The present study was to explore the linkages of empathy, motivations to defend with defending behaviors in school bullying incidents among Thai secondary school students. The participants were 1,138 students in Mathayom II and Mathayom III (43.9% boy and 56.1% girl), aged 12 to 15 years (M = 13.83, SD = .66) who had online communication tools and completed the online questionnaire. Mediation analysis and multigroup analysis with structural …


การศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีต่อเด็กและเยาวชน ในโครงการฟื้นฟูเยียวยา และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนชายขอบในสังคมเมือง, วณีนุช ตั้งพรพิพัฒน์ Jan 2020

การศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีต่อเด็กและเยาวชน ในโครงการฟื้นฟูเยียวยา และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนชายขอบในสังคมเมือง, วณีนุช ตั้งพรพิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีต่อเด็กและเยาวชน ในโครงการฟื้นฟูเยียวยา และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนชายขอบในสังคมเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีต่อเด็กและเยาวชน ตลอดจนศึกษาถึง ปัญหา อุปสรรค โอกาสในการพัฒนา และการสร้างความยั่งยืนต่อโครงการฟื้นฟูเยียวยาและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนชายขอบในสังคมเมือง เพื่อแสวงหารูปแบบแนวทางการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยใช้วิธีการดำเนินการวิจัย คือ การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสังเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลโครงการฯ หัวหน้าแก๊งและเด็กเยาวชนชายขอบ พี่เลี้ยงจิตอาสา และเครือข่ายพันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการฯ ผลการศึกษา พบว่า แนวทางปฏิบัติที่ดีต่อเด็กและเยาวชนในโครงการฯ มี 4 แนวทางคือ (1) P : POSSIBILITY มองปัญหาเป็นโอกาสเสมอ (2) C : COOPERATION บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน (3) L : LEARNING รูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย และ(4) O : OCCUPATION มุ่งเน้นกิจกรรมสร้างอาชีพ ที่ดำเนินงานผ่านแนวคิด "5C พิชิตใจเด็กชายขอบ" ซึ่งประกอบไปด้วย Core person หากลุ่มคนที่ใช่ Connect ติดต่อ สร้างสัมพันธ์ในเชิงลึก Control ควบคุมกำหนดทิศทาง Continue ติดตามอย่างต่อเนื่อง และ Complete บรรลุผลสำเร็จ นำมาซึ่งรูปแบบแนวทางการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่เหมาะสมกับประเทศไทย จากที่โครงการฯได้ดึงศักยภาพ และคุณความดีในจิตใจของเด็กเยาวชนชายขอบออกมาให้เห็นชัดเจนมากขึ้น ส่งผลให้เด็กเยาวชนชายขอบสามารถสร้างอาชีพ ดูแลตนเอง ดูแลครอบครัว และทำประโยชน์เพื่อสังคมได้ ส่งผลให้คนในสังคมให้การยอมรับเด็กเยาวชนชายขอบมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามโครงการฯยังคงพบปัญหาอีกหลายประการ คือ ปัญหาด้านการเข้าถึงเด็กและเยาวชนชายขอบ ปัญหาการดูแลเด็กและเยาวชนไม่ทั่วถึง ปัญหาด้านการปรับเปลี่ยนทัศนคติเด็กและเยาวชนชายขอบ ปัญหาด้านการประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่าย และปัญหาด้านความยั่งยืนของโครงการฯ จึงนำมาซึ่งข้อเสนอแนะต่อโครงการฯดังนี้ รัฐบาลควรมีนโยบายในการผลักดันการปฏิบัติต่อเด็ก เยาวชนชายขอบในทุกพื้นที่ วางแผนจัดกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์เด็กเยาวชนชายขอบระหว่างจังหวัด มอบหมายหน้าที่ให้รุ่นพี่ที่มีพฤติกรรมที่ดี เป็นหัวหน้ากลุ่มในการช่วยดูแลทีม เปิดพื้นที่ให้เด็กเยาวชนชายขอบแสดงศักยภาพผ่านสื่อออนไลน์ ต่อยอดสร้างอาชีพเจ้าของธุรกิจให้ทีมแกนนำเยาวชนในโครงการฯ เพื่อต่อยอดพัฒนาโครงการฯ และขยายไปยังเครือข่ายจังหวัดอื่นที่สนใจต่อไป


สาแหรกของแนวคิดนโยบายการปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลของไทย (พ.ศ. 2436 - 2478), จีรวุฒิ บุญรัศมี Jan 2020

สาแหรกของแนวคิดนโยบายการปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลของไทย (พ.ศ. 2436 - 2478), จีรวุฒิ บุญรัศมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้ มุ่งศึกษาเบื้องหลังแนวคิดและการก่อตัวของนโยบายการปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลของไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนกระทั่งเริ่มเผยตัวตนขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2436 – 2478) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้คำอธิบายว่าแนวคิดศุขาภิบาลได้คลี่คลายมาเป็นเทศบาลได้อย่างไร โดยใช้วิธีการศึกษาแบบวิธีวิจัยประวัติศาสตร์สาแหรก (Genealogy) ของ Michel Foucault รวมไปถึงตรวจสอบประเด็นปัญหาและข้อจำกัดต่าง ๆ อันเป็นผลให้แนวคิดการปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่ถูกนำมาประกาศใช้จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยในเวลาต่อมา พบว่า ในระยะแรกรัฐบาลของรัชกาลที่ 5 ได้นำรูปแบบบางประการของคณะกรรมการด้านสุขาภิบาล(Sanitary Board) ที่มีตัวอย่างจากดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ มาปรับใช้เป็น “ศุขาภิบาล” ในไทย อันมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันและระงับโรคระบาดตามความเชื่อของทฤษฎีอายพิษ (Miasma) แต่ยังคงไว้ซึ่งหลักการบางประการของแนวคิดการปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาล (Municipal) อาทิ เงินผลประโยชน์ในท้องถิ่น ซึ่งสมัยนั้นชนชั้นนำเรียกศุขาภิบาลเหล่านี้ว่า “ศุขาภิบาลตามหัวเมืองคล้ายลักษณะมิวนิซิเปอล” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 แนวคิดรัฐกับการสาธารณสุขได้พัฒนาขึ้นสู่จุดสูงสุดในไทย มีการจัดตั้ง “กรมสาธารณสุข” ขึ้นและให้กรมดังกล่าวกำกับดูแลกิจการศุขาภิบาล จึงทำให้รูปแบบ “ศุขาภิบาลตามหัวเมืองคล้ายลักษณะมิวนิซิเปอล” ในรัชกาลก่อนถูกกดทับและเน้นหนักไปที่พันธกิจของการสาธารณสุขมากจนเกินไป เมื่อล่วงเข้าสู่รัชกาลที่ 7 รัฐบาลโดยพระราชดำริของพระมหากษัตริย์มีพระประสงค์อย่างยิ่งที่จะจัดตั้งเทศบาลขึ้นมาจริง ๆ โดยการปรับปรุงศุขาภิบาลทั่วประเทศเป็นเทศบาลอันมีฐานะเป็นนิติบุคคล จนนำไปสู่การร่างพระราชบัญญัติเทศบาลเป็นผลสำเร็จ แต่กลับถูกคัดค้านจากเสนาบดีเนื่องจากกฎหมายฉบับดังกล่าวให้สิทธิ์ทางการเมืองแก่ชาวต่างชาติมากเกินไป ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2475 รัฐบาลคณะราษฎรได้นำพระราชบัญญัติเทศบาลของรัชกาลที่ 7 มาแก้ไขปรับปรุงจนกระทั่งประกาศใช้เป็นผลสำเร็จ จึงกล่าวได้ว่าสาแหรกแนวคิดการปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลในไทยใช้เวลากว่าจะเผยตัวกว่า 4 ทศวรรษ อีกทั้งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาแนวคิดการปกครองท้องถิ่นแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี การปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลของประเทศไทยเป็นการอนุญาตและจัดให้มีขึ้นโดยรัฐบาล (State-created)


What Is The Impact Of Monetary Policy On Local Commercial Bank Profitability In Thailand From 2002 To 2020?, Wenjun Fan Jan 2020

What Is The Impact Of Monetary Policy On Local Commercial Bank Profitability In Thailand From 2002 To 2020?, Wenjun Fan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The paper investigated the relationship between monetary policy and commercial bank profitability in Thailand. The study used fixed effect panel model of quarterly bank data from the period of Q4/2002 to Q3/2020. The empirical results showed that changes in 14-day repurchase rate (Repo) had positive impact on the bank profitability (ROA and ROE). I also found that the size of the bank measured by total assets was only positively related to the ROE.


What Will Be The Impact Of Legalizing Medical Cannabis On Economic Effects In Japan? : Analysis Of Case Study In Germany And Usa, Canada, Thailand., Yuki Matsushita Jan 2020

What Will Be The Impact Of Legalizing Medical Cannabis On Economic Effects In Japan? : Analysis Of Case Study In Germany And Usa, Canada, Thailand., Yuki Matsushita

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In recent years, cannabis has been legalized all over the world. Countries around the world are turning into cannabis legalization. As a result, in 2018, the WHO Expert Committee on Drug Dependence recommended the redesignation of cannabis, taking into account evidence of medical use (Mayor, 2019). Until today, the medical cannabis (MMJ) program has started in both high- and middle-income countries, including Canada, Colombia, Chile, Germany, Israel, Italy, Jamaica, the Netherlands, Switzerland, Thailand, the United Kingdom, Uruguay, and more than 30 states in the United States. In this study, I will consider the advantages and disadvantages of accepting medical cannabis …


ประสบการณ์การเยียวยาจิตใจด้วยการเจริญวิปัสสนาในผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก, อาภาภรณ์ กิจวัฒนาไพบูลย์ Jan 2020

ประสบการณ์การเยียวยาจิตใจด้วยการเจริญวิปัสสนาในผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก, อาภาภรณ์ กิจวัฒนาไพบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักเบื้องต้นของผู้ที่ฝึกเจริญวิปัสสนา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาในการวิเคราะห์ข้อมูล มีผู้ให้ข้อมูลหลัก 5 ราย อันเป็นผู้ที่ผ่านการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เช่น บิดามารดาหรือคู่สมรส และใช้การเจริญวิปัสสนาในการเยียวยาจิตใจจากการสูญเสีย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้คำถามสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ประสบการณ์การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักของผู้ที่ฝึกเจริญวิปัสสนา ประกอบไปด้วย 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ความทุกข์จากการสูญเสีย ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย คือ ความโศกเศร้าเสียใจ ความเจ็บปวด บีบคั้นใจ ความผิดหวัง การตำหนิกล่าวโทษ และการหลีกหนีจากสิ่งกระตุ้นความทรงจำ (2) การเยียวยาใจด้วยการรู้เท่าทัน สังเกต และเข้าใจทุกข์ ซึ่งประกอบด้วย 6 ประเด็นย่อย ได้แก่ ความทุกข์เกิดขึ้น (การหวนระลึกถึงความทรงจำเกี่ยวกับผู้จากไป และการ ท่วมท้นด้วยความรู้สึกเมื่อนึกถึงอดีต) การมีสติรู้เท่าทัน เห็นจิตที่กำลังทุกข์ การนำความรู้ทางธรรมมาเข้าใจความทุกข์ที่เกิดขึ้น การใช้สติเป็นฐานรับมือความทุกข์ (การตามดูความทุกข์โดยไม่ต้าน การหยุดความคิด ดึงใจกลับมาสู่ความรู้สึกตัวในปัจจุบัน และการใคร่ครวญหาเหตุแห่งทุกข์) ความทุกข์คลี่คลาย (ความคิดหยุดและคลายไป จิตสงบลง และการเห็นความจริง คลายความยึดติด ใจสงบว่าง) และ ความทุกข์กลับมาใหม่เมื่อมีเหตุกระตุ้น และ (3) ความเข้าใจโลกและชีวิตหลังการสูญเสีย ซึ่งประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสูญเสีย (การรู้ซึ้งถึงทุกข์จากการพลัดพราก การยอมรับความจริง พร้อมรับใจที่ยังคงกระเพื่อม การเห็นประโยชน์จากความทุกข์ และการเตรียมใจรับมือกับการสูญเสียในอนาคต) ความเข้าใจชีวิตผ่านหลักธรรม (การเห็นสภาวธรรมตามหลักธรรมคำสอน และการมองชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ) และ การตระหนักในคุณค่าของสติและวิปัสสนา (การใช้สติรับมือกับความทุกข์ด้านอื่นๆ การฝึกสติเพื่ออยู่กับปัจจุบันขณะ และการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างด้วยสติ) ข้อค้นพบจากการศึกษานี้สามารถนำมาใช้ทำความเข้าใจประสบการณ์ทางจิตใจของผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักและใช้การเจริญวิปัสสนาในการเยียวยาผลกระทบทางใจที่เกิดขึ้นอันนำไปสู่การยอมรับความสูญเสียได้ในที่สุด


ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์จากการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในมุมมองของผู้รับบริการ, สิรัช สุเมธกุล Jan 2020

ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์จากการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในมุมมองของผู้รับบริการ, สิรัช สุเมธกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของผู้เข้ารับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ที่เคยมีช่วงเหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญที่เป็นประโยชน์เกิดขึ้นจากการเข้ารับบริการ เนื่องจากเป็นช่วงที่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับบริการสูง และยังไม่พบว่าเคยมีการศึกษาในประเทศไทย ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้คือการวิเคราะห์ปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 6 ราย ผลการวิจัยพบว่าประสบการณ์ของผู้รับบริการสามารถออกได้เป็น 3 ประเด็นหลัก คือ (1) คุณลักษณะของสัมพันธภาพที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ ประกอบด้วย 3 ประเด็นรอง คือการได้บอกเล่าเรื่องราวที่เก็บไว้ในใจ, นักจิตวิทยาการปรึกษาตั้งใจรับฟังและเข้าใจไปด้วยกัน และการรับรู้และพิจารณาโลกภายในโดยผู้รับบริการเอง (2) กระบวนการสำคัญที่นำไปสู่ความเข้าใจใหม่ ประกอบด้วย 4 ประเด็นรอง คือเกิดการสังเกตและทำความเข้าใจประสบการณ์ตัวเอง, เกิดการเปลี่ยนแปลง/ตั้งคำถามกับความเชื่อหรือความเข้าใจที่ตนมีอยู่เดิม, เกิดการทดลองทำสิ่งใหม่หรือแก้ปัญหาตามข้อสรุปที่ได้จากการปรึกษา และขยายมุมมองที่มีต่อสถานการณ์และทางเลือก และ (3) ผลลัพธ์เชิงบวกจากการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ประกอบด้วย 2 ประเด็นรอง คือการเพิ่มศักยภาพในการจัดการกับปัญหา/สถานการณ์ และการยอมรับตัวเองและอยู่กับปัญหาด้วยความเข้าใจ ผลการวิจัยนี้สะท้อนถึงภาพรวมของประสบการณ์และกลไกการเปลี่ยนแปลงตลอดจนผลลัพธ์ที่ผู้ให้ข้อมูลได้จากการเข้ารับบริการ ผลที่ได้สอดคล้องกับวรรณกรรมที่ผ่านมาหลายชิ้น และได้เสนอแนะประเด็นที่น่าศึกษาเพิ่มเติม คือการศึกษาถึงลักษณะของข้อมูลที่มีความสำคัญ และการศึกษากลไกของกระบวนการเกิดความเข้าใจใหม่ในบริบทที่กว้างขึ้น รวมถึงการนำมโนทัศน์เกี่ยวกับเรื่องระดับของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากกระบวนการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเข้ามาช่วยกำหนดขอบเขตการศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น


ปริมาณการใช้เฟซบุ๊ก พฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองผ่านเฟซบุ๊กและการรับรู้ประสิทธิภาพทางการเมืองของคนไทย, อรรถพร ปานกลัด Jan 2020

ปริมาณการใช้เฟซบุ๊ก พฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองผ่านเฟซบุ๊กและการรับรู้ประสิทธิภาพทางการเมืองของคนไทย, อรรถพร ปานกลัด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เฟซบุ๊กในการเปิดรับข่าวสารทางการเมือง กับการรับรู้ประสิทธิภาพทางการเมืองของผู้ใช้เฟซบุ๊ก โดยการใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผ่านช่องทางออนไลน์ รวมจำนวนทั้งสิ้น 499 คน แล้วจึงนำมาวิเคราะห์ผลทางสถิติด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของประชากร ค่าเฉลี่ยของประชากร และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว นอกจากนี้ยังได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างอีก 8 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า การใช้เฟซบุ๊กเปิดรับข่าวสารทางการเมืองมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ประสิทธิภาพทางการเมือง กล่าวคือ บุคคลที่ใช้เฟซบุ๊กเปิดรับข่าวสารทางการเมืองในปริมาณมาก จะมีการรับรู้ประสิทธิภาพทางการเมืองมากกว่าบุคคลที่เปิดรับข่าวสารทางการเมืองผ่านเฟซบุ๊กในปริมาณน้อย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองผ่านเฟซบุ๊กจะมีการรับรู้ประสิทธิภาพทางการเมืองมากกว่าผู้ที่เปิดรับข่าวการเมืองแต่ไม่แสดงความคิดเห็น ซึ่งแรงจูงใจทางการเมือง ผลกระทบต่อการแสดงจุดยืนทางการเมือง การโต้แย้งทางการเมือง เสียงส่วนใหญ่ทางการเมือง และความเชื่อมโยงของการรับรู้ความสามารถภายในตนเองมีผลต่อการตัดสินใจแสดงความคิดเห็นหรือไม่แสดงความคิดเห็นต่อข่าวการเมืองในเฟซบุ๊ก


คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Hrc) กับการจัดการประเด็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวโรฮีนจาในเมียนมา, กฤตพร คารมคม Jan 2020

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Hrc) กับการจัดการประเด็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวโรฮีนจาในเมียนมา, กฤตพร คารมคม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการดำเนินการของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (HRC) ต่อปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวโรฮีนจาในเมียนมา เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินการของ HRC ว่ามีอิทธิพลต่อท่าทีด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลเมียนมาอย่างไร และเผชิญอุปสรรคและข้อจำกัดอย่างไร โดยผู้วิจัยจะใช้กรอบแนวคิดกระบวนการขัดเกลาทางสังคมและแบบจำลองสไปรัลมาประกอบการวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า HRC มุ่งแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนข้างต้น โดยการเปิดเวทีให้ภาคส่วนระหว่างประเทศเรียกร้องและมีข้อเสนอแนะให้เมียนมายอมรับบรรทัดฐานด้านสิทธิมนุษยชนผ่านกลไกการประชุมสมัยสามัญและสมัยพิเศษและกระบวนการ UPR ในขณะที่มอบอำนาจให้ผู้รายงานพิเศษฯ ประมวลข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวโรฮีนจา เพื่อเผยแพร่ประเด็นดังกล่าวเข้าสู่การรับรู้ของประชาคมโลก ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวได้ส่งผลให้เมียนมาตอบสนองโดยการปฏิเสธข้อกล่าวหาที่มีต่อรัฐบาล อย่างไรก็ตาม เมียนมาได้ปฏิบัติตามข้อเสนอของ HRC ในบางประเด็น เช่น การพิสูจน์สัญชาติ การส่งกลับผู้หนีภัยโดยสมัครใจ แต่เป็นการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับบรรทัดฐานสิทธิมนุษยชนสากลมากนัก โดยเมื่อวิเคราะห์ผ่านแบบจำลองสไปรัลนั้น ถือได้ว่า การตอบสนองของเมียนมาต่อ HRC ยังคงอยู่ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านจากระยะที่ 2 ไปสู่ระยะที่ 3 ทั้งนี้ การที่ HRC ไม่สามารถส่งเสริมให้เมียนมาปฏิบัติตามบรรทัดฐานด้านสิทธิมนุษยชนจนนำไปสู่ระยะที่ 5 ของแบบจำลองสไปรัลนั้น เกิดจากอุปสรรคและข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับภาคประชาสังคมภายในประเทศ รัฐบาลเมียนมา และกลไกของ HRC ซึ่งจำเป็นต้องมีการดำเนินการร่วมกันในหลายภาคส่วนเพื่อให้เมียนมาเปลี่ยนแปลงท่าทีและยอมรับบรรทัดฐานสิทธิมนุษยชนสากลมากขึ้น และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวโรฮีนจาในระยะยาว


พฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการสื่อสารการตลาดแบบไร้รอยต่อของตราสินค้าอิเกีย, พีรดา ไพศาลนรเสรี Jan 2020

พฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการสื่อสารการตลาดแบบไร้รอยต่อของตราสินค้าอิเกีย, พีรดา ไพศาลนรเสรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการสื่อสารการตลาดแบบไร้รอยต่อของตราสินค้า IKEA ในเรื่องของการเปิดรับสื่อ การรับรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการซื้อ และความพึงพอใจของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่าง อายุระหว่าง 22 – 45 ปี ที่อาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เคยรับข่าวสารผ่านเว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ หรือแอปพลิเคชันของตราสินค้า IKEA อีกทั้งต้องเคยเข้าไปดูสินค้า สอบถามข้อมูลหรือรับบริการต่าง ๆ ที่หน้าร้าน IKEA และเคยซื้อสินค้าตราสินค้า IKEA ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง ภายในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา จำนวน 214 คน ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคมีพฤติกรรมต่อการสื่อสารการตลาดแบบไร้รอยต่อของตราสินค้า IKEA ทั้ง 5 ตัวแปรย่อย ในเชิงบวกทั้งหมด นอกจากนั้น พฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการสื่อสารการตลาดแบบไร้รอยต่อของตราสินค้า IKEA ทั้ง 5 ตัวแปรย่อย มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การพัฒนาระบบบริหารจัดการของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ให้สอดคล้องกับกระบวนการศุลกากรไปรษณีย์ในยุคปัจจุบัน :กรณีศึกษา แผนกไปรษณีย์ระหว่างประเทศ ศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพ, จิตวัต ธัญธีรภาพ Jan 2020

การพัฒนาระบบบริหารจัดการของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ให้สอดคล้องกับกระบวนการศุลกากรไปรษณีย์ในยุคปัจจุบัน :กรณีศึกษา แผนกไปรษณีย์ระหว่างประเทศ ศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพ, จิตวัต ธัญธีรภาพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ให้สอดคล้องกับกระบวนการศุลกากรไปรษณีย์ในยุคปัจจุบัน : กรณีศึกษา แผนกไปรษณีย์ระหว่างประเทศ ศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพ เป็นการใช้การศึกษาด้วยการวิจัยเชิงพรรณนา(Descriptive Research) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นในกระบวนการศุลกากรไปรษณีย์ในปัจจุบัน และแสวงหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการศุลกากรไปรษณีย์ให้มีความสะดวกรวดเร็ว รวมถึงลดปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นจากกระบวนการศุลกากรไปรษณีย์ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันต่อไป โดยการศึกษานั้นมีการศึกษาค้นคว้าถึงแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัย และเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการเก็บข้อมูลเชิงสถิติจากเอกสารภายในต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งแนวคิดหลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ในยุคคลาสสิค แนวคิดการพัฒนาองค์การในยุคปัจจุบัน กระบวนการศุลกากรไปรษณีย์ในปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการศุลกากรไปรษณีย์จากความคิดเห็นของผู้ใช้บริการ ประกอบกับการสัมภาษณ์ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group) จากกลุ่มตัวอย่างทั้ง เจ้าหน้าที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และพนักงานศุลกากรซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ทั้งหมดจำนวน 9 คน โดยแบ่งผู้ให้สัมภาษณ์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ฝ่ายบริหาร จำนวน 5 คน และฝ่ายปฏิบัติการ จำนวน 4 คน ผลจากการศึกษาพบว่า การพัฒนาระบบศุลกากรไปรษณีย์จะดำเนินการได้ จะต้องศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นในกระบวนการศุลกากรไปรษณีย์เสียก่อน และต้องพยายามค้นหาวิธีการที่ดีที่สุด(one best way ) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการลดขั้นตอนในการทำงาน การลดกฎระเบียบที่ยุ่งยาก การสร้างแนวทางเพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน การพยายามพัฒนาและจัดหาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพเข้ามาใช้ในการทำงานตลอดเวลา โดยจะต้องมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถวัดผลสำเร็จของงานได้ นอกจากนี้ องค์การจะต้องให้การสนับสนุนทรัพยากรที่ใช้ในการทำงานต่างๆอย่างเหมาะสม ทั้งอัตรากำลังพล เทคโนโลยี อุปกรณ์ และการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาในเรื่องของสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงาน ทั้ง ความรู้ ทักษะ และทัศนคติแก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานอยู่เสมอ รวมถึงนำเอาแนวทางและแนวคิดระบบศุลกากรที่ใช้ในบริษัทขนส่งพัสดุระหว่างประเทศของเอกชน มาวิเคราะห์เพื่อนำมาปรับใช้และปรับปรุงในกระบวนการศุลกากรไปรษณีย์ที่ดำเนินการอยู่ตามแต่ละขั้นตอนในปัจจุบัน โดยจะต้องพยายามหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพมาเป็นแนวทางในการดำเนินการที่เหมาะสมต่อไป


ปัจจัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์: คำอธิบายผ่านตัวแบบรัฐพัฒนา, มนณิกา ลิ้มธนากุล Jan 2020

ปัจจัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์: คำอธิบายผ่านตัวแบบรัฐพัฒนา, มนณิกา ลิ้มธนากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและแนวทางการดำเนินนโยบายของสิงคโปร์ รวมถึงยุทธศาสตร์การบริหารประเทศในสมัยพรรคกิจประชาและทำความเข้าใจถึงผลลัพธ์การใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขวิกฤติปัญหาจนสามารถพัฒนาและก้าวข้ามข้อท้าทายทางภูมิรัฐศาสตร์ภายใต้ปัจจัยภายภายในคือการเป็นพหุสังคมหลากหลายเชื้อชาติเผ่าพันธุ์และภาษา ปัจจัยความกดดันจากภายนอกคือนโยบายแข็งกร้าวของประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย สภาวการณ์ของสงครามเย็นและสงครามตัวแทนที่เกิดขึ้นใกล้ตัวในภูมิภาคจากความขัดแย้งของขั้วอำนาจเสรีนิยมและสังคมนิยม ความผันผวนในเศรษฐกิจโลกจากระบบทุนนิยมและการเปลี่ยนแปลงจากปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สาม ทำให้สิงคโปร์ประสบความยากลำบากในยุคสร้างชาติช่วงครึ่งหลังศตวรรษที่ 20 โดยผู้วิจัยใช้กรอบการวิเคราะห์ผ่านตัวแบบรัฐพัฒนาในบริบทของคุณลักษณะพิเศษที่ทำให้สิงคโปร์ประสบความสำเร็จด้วยนโยบายโดย "รัฐ" เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างโดดเด่น รวมทั้งกระจายความเจริญไปสู่พลเมืองทุกระดับเท่าเทียมกันจนรัฐเกิดความชอบธรรมในการกุมอำนาจทางการเมือง ปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบราชการเพื่อให้ภาครัฐสนับสนุนภาคธุรกิจได้อย่างเต็มที่ กระตุ้นการเจริญเติบโตผ่านนโยบายอุตสาหกรรมที่เลือกสรรโดยแนวทางของรัฐซึ่งเป็นความผสมผสานของนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถก้าวออกจากความเป็นรัฐด้อยพัฒนาในกลุ่มโลกที่สามด้วยอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดสู่รัฐกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ (Newly Industrialized Countries: NICs) และเป็นรัฐพัฒนา (developmental state) ได้ภายในระยะเวลาเพียง 3 ทศวรรษ จากการศึกษาปัจจัยจุลภาคยังพบว่า ภายใต้การบริหารของพรรคกิจประชาที่นำโดย นาย ลีกวนยู นายกรัฐมนตรีคนแรกซึ่งมีวิสัยทัศน์เต็มไปด้วยประสิทธิภาพและแนวทางเป็นเอกลักษณ์ นำไปสู่ความสำเร็จในเชิงประจักษ์ด้วยยุทธวิธีดำเนินนโยบายต่างประเทศที่มุ่งสร้างความสัมพันธ์กับมหาอำนาจและประเทศเพื่อนบ้านอย่างลงตัว มีวิถีพัฒนาจากภายในสังคมโดยให้คุณค่าความรู้ความสามารถ (meritocracy) ใช้การปกครองรูปแบบผสม (hybrid regime) ที่เน้นประสิทธิภาพเพื่อความอยู่รอด สร้างความเข้มแข็งและเสถียรภาพทางการเมืองด้วยการเรียนรู้ทบทวนและปรับนโยบายอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาตามความเหมาะสมต่อสภาวการณ์ นำพาประเทศให้รอดพ้นจากสภาวะสงครามและวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นหลายครั้ง ส่งผลให้สิงคโปร์ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ซึ่งควรค่าแก่การเป็นปทัสถานให้กับรัฐที่อยู่ในเส้นทางการพัฒนาได้อย่างดียิ่ง


กระบวนการกล่อมเกลาขององค์กรที่ประสบความสำเร็จในการสร้างพนักงานทูตองค์กรและการแสดงตัวร่วมกับองค์กรของพนักงาน, อลิษา ธรรมจักร Jan 2020

กระบวนการกล่อมเกลาขององค์กรที่ประสบความสำเร็จในการสร้างพนักงานทูตองค์กรและการแสดงตัวร่วมกับองค์กรของพนักงาน, อลิษา ธรรมจักร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการกล่อมเกลาขององค์กรที่ประสบความสำเร็จในการสร้างพนักงานทูตองค์กร และ 2) การแสดงตัวร่วมกับองค์กรของพนักงาน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) เป็นเครื่องมือหลักในการเก็บข้อมูลกับผู้บริหาร 4 ท่าน และพนักงาน 20 ท่าน จาก 4 องค์กรที่ประสบความสำเร็จในการสร้างพนักงานทูตองค์กรในโครงการสุดยอดนายจ้างดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2562 - 2563 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบสมัครใจ (volunteer sampling) ผลการศึกษา พบว่า องค์กรที่ประสบความสำเร็จในการสร้างพนักงานทูตองค์กร มีการสื่อสารในกระบวนการกล่อมเกลาขององค์กรทั้งในช่วงการทดลองงานและช่วงหลังผ่านการทดลองงาน โดยเนื้อหาหลักของการสื่อสาร ได้แก่ ด้านความเชื่อในศักยภาพมนุษย์ ด้านการพัฒนาศักยภาพทีม ด้านองค์กรกับลูกค้า และด้านองค์กรกับสังคม ผ่านการฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับพนักงาน ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา และพนักงานกับพนักงาน โดยใช้กลวิธีในกระบวนการกล่อมเกลาขององค์กรครบทุกแบบตามการศึกษาในอดีต (Van Maanen & Schein, 1979) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลวิธีแบบเป็นกลุ่มและรายบุคคล แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ แบบยอมรับลักษณะเดิมและแบบถอดถอนลักษณะเดิม แบบมีตัวแบบและไม่มีตัวแบบ ในส่วนข้อค้นพบเกี่ยวกับพนักงาน ส่วนใหญ่ยอมรับค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร และบางส่วนมีการต่อรองบทบาท โดยเฉพาะพนักงานที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ นอกจากนี้ พนักงานแสดงตัวร่วมกับอัตลักษณ์องค์กรทั้งระดับเจตคติ พฤติกรรมตามความคาดหมาย และพฤติกรรมเหนือความคาดหมาย โดยกลุ่มตัวอย่างกล่าวถึงมูลเหตุจูงใจเกี่ยวกับเหตุผลส่วนบุคคล เหตุผลเกี่ยวกับองค์กร และเหตุผลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร


กลยุทธ์การสื่อสารในภาวะวิกฤต และการฟื้นฟูภาพลักษณ์ของสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี, พิมพ์ชญา ภมรพล Jan 2020

กลยุทธ์การสื่อสารในภาวะวิกฤต และการฟื้นฟูภาพลักษณ์ของสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี, พิมพ์ชญา ภมรพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารในภาะวิกฤตและกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อฟื้นฟูภาพลักษณ์ของสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารจากเนชั่นทีวีที่มีการสื่อสารในประเด็นการจัดการภาวะวิกฤตและการสื่อสารเพื่อฟื้นฟูภาพลักษณ์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรระดับสูงของเนชั่นทีวีในด้านการตัดสินใจเชิงนโยบายและการวางแผนการสื่อสาร โดยเลือกศึกษาภาวะวิกฤตของเนชั่นทีวีที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม ปี 2563 ซึ่งข้อค้นพบจากการศึกษาวิจัยพบว่า เนชั่นทีวีมีกลยุทธ์การสื่อสารในภาวะวิกฤตส่ามกลยุทธ์หลัก คือ การย้ำเตือนถึงจุดยืนขององค์กร การแสดงเป็นผู้เสียหายและการปฏิเสธข้อกล่าวหาที่มีต่อองค์กร และมีการปรับแนวทางการสื่อสารที่เน้นการแก้ไขความผิดพลาดแทนที่การตอบโต้วิกฤตในเชิงลบ ในส่วนการปรังปรุงภาพลักษณ์ พบว่า มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขภาพลักษณ์ที่ไม่พึงประสงค์จากวิกฤต นำเสนอวิสัยทัศน์การกลับมายึดหลักสื่อสารมวลชนที่ดี เน้นการสร้างกลุ่มผู้ชมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ โดยข้อเสนอแนะจากการศึกษาในครั้งนี้นำเสนอถึงบริบทและการจัดการภาวะวิกฤตในบริบทสมัยใหม่ที่มีการตรวจสอบสื่อจากภาคประชาสังคมเข้มข้น รวมถึงการฟื้นฟูภาพลักษณ์องค์กรและแบรนด์เนชั่นทีวีอย่างยั่งยืน


การรับรู้ ทัศนคติและความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการขององค์กรธุรกิจโรงแรมในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ปรีดาภรณ์ ชื่นกลาง Jan 2020

การรับรู้ ทัศนคติและความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการขององค์กรธุรกิจโรงแรมในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ปรีดาภรณ์ ชื่นกลาง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ ทัศนคติและความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการขององค์กรธุรกิจโรงแรมในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้บริโภคที่เป็นผู้ใช้บริการโรงแรมในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา อายุระหว่าง 18-65 ปี โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research Method) โดยใช้เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ผ่านช่องทางออนไลน์ จำนวน 400 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลและดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564 ภายในระยะเวลา 1 เดือน ผลวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้การสื่อสารในภาวะวิกฤตสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับปานกลาง ด้านการบริหารจัดการขององค์กรธุรกิจโรงแรมภายใต้ภาวะวิกฤตในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างรับรู้สูง และกลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเชิงบวกอย่างมากต่อองค์กรธุรกิจโรงแรมที่ทำการสื่อสารในภาวะวิกฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้ความสำคัญและสุขอนามัยมากขึ้น กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการในระดับสูง จากองค์กรธุรกิจโรงแรมที่ทำการสื่อสารในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หากวิเคราะห์องค์ประกอบย่อยพบว่าปัจจัยพยากรณ์ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการขององค์กรธุรกิจโรงแรมในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เรียงตามลำดับค่าคะแนนได้ดังนี้ 1.การรับรู้ข่าวสารออนไลน์ผ่านช่องทางบัญชีเฟซบุ๊กของโรงแรม (Facebook) 2.การเพิ่มช่องทางหารายได้ที่ก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ไม่มีมาก่อน เช่นบริการห้องพักระยะรายเดือน หรือจำหน่ายอาหารเดลิเวอรี่ และสุดท้ายคือ 3.ผู้บริโภครู้สึกสนใจโรงแรมที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่นราคาพิเศษสำหรับผู้ที่จองที่พักล่วงหน้า หรือนโยบายในการเลื่อนวันเวลาเข้าพัก นอกจากนี้ จากการทดสอบสมมติฐานพบว่าความแตกต่างทางประชากรศาสตร์ด้าน สถานภาพสมรส อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพปัจจุบัน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการขององค์กรธุรกิจโรงแรมในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019