Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1591 - 1620 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การสื่อสารรูปแบบข้อความสั้นผ่านผู้มีชื่อเสียงบนทวิตเตอร์ และความตั้งใจซื้อของเจเนอเรชันวาย, พริ้งภัทรา กฤษณะโลม Jan 2020

การสื่อสารรูปแบบข้อความสั้นผ่านผู้มีชื่อเสียงบนทวิตเตอร์ และความตั้งใจซื้อของเจเนอเรชันวาย, พริ้งภัทรา กฤษณะโลม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการสื่อสารรูปแบบข้อความสั้นบนทวิตเตอร์ผ่านผู้มีชื่อเสียง เพื่อสำรวจ การเปิดรับ และอธิบายอิทธิพลของคุณลักษณะของรูปแบบข้อความสั้นบนทวิตเตอร์ต่อความตั้งใจซื้อของเจเนอเรชันวาย โดยใช้การวิจัยแบผสมผสาน เริ่มจากการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เอกสาร ได้แก่ ทวิตเตอร์ของตราสินค้า 3 ตราสินค้าคือ เอไอเอส ยูเซอริน เลย์ รวม 296 ทวีต และการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ผลการวิเคราะห์เอกสารพบว่า การสื่อสารรูปแบบข้อความสั้นบนทวิตเตอร์ผ่านผู้มีชื่อเสียงมี 13 ลักษณะ ได้แก่ คำหรือข้อความที่นิยมบนอินเทอร์เน็ต เน้นความเป็นกันเอง สื่อสารเข้าใจง่าย เจาะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย กระตุ้นความสนใจ ใส่แฮชแทค สโลแกนตราสินค้าหรือแคมเปญ การระบุชื่อผลิตภัณฑ์ การระบุชื่อบุคคลที่ผู้มีชื่อเสียงอยู่ในโพสต์นั้น รูปภาพผู้มีชื่อเสียง วีดิโอผู้มีชื่อเสียง ลิงก์เพื่อคลิกไปยังแหล่งข้อมูลของตราสินค้า และการไม่ใช้คำที่ไม่เหมาะสม การสื่อสารรูปแบบข้อความสั้นบนทวิตเตอร์ผ่านผู้มีชื่อเสียงเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตราสินค้า เน้นความบันเทิง เนื้อหาเชื่อมโยงกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต มีการใช้คุณสมบัติของผู้มีชื่อเสียงในด้านความ น่าไว้วางใจและความชื่นชอบต่อผู้มีชื่อเสียงมีมากที่สุด รองลงมาคือความเชี่ยวชาญ ตราสินค้ามีการสื่อสารทั้งทางเดียวเพื่อให้ข่าวสารควบคู่กับการสื่อสารมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการรีทวีต การกดไลค์ และตอบกลับทวีตต่าง ๆ ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์การใช้ทวิตเตอร์มากกว่า 2 ปี และมีความถี่ในการเปิดรับข่าวสารต่าง ๆ จากทวิตเตอร์ทุกวันแต่จะใช้เพียง 1-2 ชั่วโมง และมีความถี่ของประสบการณ์การอ่านทวิตเตอร์ของตราสินค้าที่ใช้ ผู้มีชื่อเสียงในการนำเสนอเพียงการนำเสนอ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยช่วงเวลาที่พบเห็นอยู่ระหว่าง 17:00 – 21:00 น. นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างพบเห็นคุณลักษณะของการใช้แฮชแทคและการระบุชื่อผลิตภัณฑ์อยู่เป็นประจำ ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ว่า คุณลักษณะของรูปแบบข้อความสั้นบนทวิตเตอร์ผ่านผู้มีชื่อเสียง ด้านความน่าเชื่อถือของผู้มีชื่อเสียง (β = 0.396) ด้านความน่าดึงดูดใจของผู้มีชื่อเสียง (β = 0.252) และด้านความสอดคล้องระหว่าง ผู้มีชื่อเสียงกับตราสินค้า (β = 0.161) มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อโดยรวมของผู้บริโภคเจเนอเรชันวายทั้ง 3 ตราสินค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


การสื่อสารเพื่อสร้างอัตลักษณ์ของ 'ศิลปินหญิงล้านตลับ' สังกัดบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน), ณัฐริณีย์ พร้อมวงศ์ Jan 2020

การสื่อสารเพื่อสร้างอัตลักษณ์ของ 'ศิลปินหญิงล้านตลับ' สังกัดบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน), ณัฐริณีย์ พร้อมวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการสร้างอัตลักษณ์ของศิลปินหญิงล้านตลับและ เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อการสร้างอัตลักษณ์ของศิลปินหญิงล้านตลับในสังกัดบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) งานวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ศิลปินหญิงล้านตลับ ทีมงานที่เกี่ยวข้องในการสร้างสรรค์ผลงานเพลง รวมถึงแฟนเพลงหรือผู้ติดตามผลงานของศิลปินหญิงล้านตลับ อีกทั้งใช้การวิเคราะห์ตัวบท (Textual analysis) จากแหล่งข้อมูลประเภทเอกสารและวิดีทัศน์ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประกอบการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าการสร้างอัตลักษณ์ของศิลปินหญิงล้านตลับนั้น สร้างขึ้นจากทั้งบริษัทและตัวศิลปินเอง โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการสร้างอัตลักษณ์ของศิลปินหญิงจำแนกได้เป็น 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านตัวตนของศิลปินหญิง 2) ปัจจัยด้านนโยบายของบริษัท 3) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ 4) ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม พบว่าอัตลักษณ์สำคัญของศิลปินหญิงที่ผ่านกระบวนการสร้างนั้นมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ 1) อัตลักษณ์ด้านน้ำเสียง ถูกนำเสนอผ่านแนวเพลง และ 2) อัตลักษณ์ด้านบุคลิกลักษณะ ถูกนำเสนอผ่านการแต่งกาย การแสดงสดตามรายการโทรทัศน์หรือคอนเสิร์ตและการแสดงมิวสิกวิดีโอ ทั้งสองอัตลักษณ์นี้จะถูกเน้นนำเสนอผ่านศิลปินในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป


การสื่อสารในภาวะวิกฤตของสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล ที่ได้รับคำสั่งปรับทางปกครองหลังการรายงานข่าวคนร้ายจับตัวประกัน ที่จังหวัดนครราชสีมา, สลิสา ทีฆกุล Jan 2020

การสื่อสารในภาวะวิกฤตของสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล ที่ได้รับคำสั่งปรับทางปกครองหลังการรายงานข่าวคนร้ายจับตัวประกัน ที่จังหวัดนครราชสีมา, สลิสา ทีฆกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารในภาวะวิกฤตผ่านช่องทางสื่อสารทางออนไลน์ และเพื่อศึกษากลยุทธ์การบริหารจัดการการสื่อสารในภาวะวิกฤตของสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล ที่ได้รับคำสั่งปรับทางปกครอง จาก กสทช. หลังการรายงานข่าวคนร้ายจับตัวประกัน ที่จังหวัดนครราชสีมา ด้วยระเบียบวิธีวิจัยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ (Documentary Research) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ หรือผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบเกี่ยวกับกลยุทธ์การบริหารจัดการการสื่อสารในภาวะวิกฤต ของสถานีโทรทัศน์ช่องวัน 31 สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี ช่อง 32 และสถานีโทรทัศน์อมรินทร์ ทีวี เอชดี ช่อง 34 พร้อมด้วยสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารในภาวะวิกฤต และการบริหารจัดการองค์กรสื่อมวลชน รวมทั้งสิ้น 7 ท่าน ผลการวิจัยจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ในช่องทางออนไลน์ของทั้ง 3 สถานีฯ ได้แก่ เว็บไซต์ เฟซบุ๊กแฟนเพจ อินสตาแกรม และทวิตเตอร์ พบว่า การสื่อสารในภาวะวิกฤตผ่านช่องทางสื่อสารทางออนไลน์นั้น มีเพียงสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลช่องเดียวที่ออกมาทำการสื่อสาร ด้วยกลยุทธ์การขออภัย (Excuse) ผ่านช่องทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ นอกจากนี้จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกพบว่า กลยุทธ์การบริหารจัดการการสื่อสารในภาวะวิกฤตของสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลทั้ง 3 สถานีฯ มีการดำเนินงานที่คล้ายกัน โดยไม่ได้มองว่าการได้รับคำสั่งปรับทางปกครอง หลังการรายงานข่าวคนร้ายจับตัวประกัน ที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นภาวะวิกฤตของสถานีฯ ซึ่งการบริหารจัดการภาวะวิกฤตจะดำเนินการโดยฝ่ายข่าว ในช่วงเวลาที่เกิดภาวะวิกฤตขึ้นกับองค์กรแล้ว อย่างไม่มีแผนงานและคู่มือ โดยจะมีทีมเฝ้าระวัง และเก็บข้อมูลกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเมื่อรับรู้วิกฤตจากกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากสังคม และได้รับคำแนะนำจากทางกสทช. ทางสถานีฯ ก็ได้ปรับรูปแบบของการทำงานด้วยการปรับลดโทนการรายงานข่าว และหยุดการรายงานข่าวด้วยโทรศัพท์มือถือในทันที ในทางกลับกันผู้เชี่ยวชาญกลับมองว่าการบริหารจัดการภาวะวิกฤตควรต้องดำเนินการโดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ หรือฝ่ายสื่อสารองค์กร เนื่องจากจะมีความชำนาญในด้านการสื่อสารภาพลักษณ์และการจัดการภาวะวิกฤตมากกว่าฝ่ายข่าว อีกทั้งฝ่ายข่าวยังเป็นคู่กรณี ที่อาจจะความอคติ ไม่เที่ยงตรง หรือมีความรู้สึกอยากจะปกป้องตนเอง และควรนำเหตุการณ์ภาวะวิกฤตในครั้งนี้มาเป็นบทเรียน เพื่อดำเนินการวางแผนป้องกันการเกิดภาวะวิกฤตต่อสถานีฯ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ควรทำการฝึกฝนการรายงานข่าวในภาวะวิกฤต และจัดทำคู่มือให้ผู้สื่อข่าวและทีมข่าวเข้าใจถึงการทำงานที่ถูกต้อง อีกทั้งการรายงานข่าวจะต้องคำนึงถึงจรรยาบรรณในการนำเสนอเสมอ


การเปิดรับ ความพึงพอใจของผู้บริโภค ต่อเนื้อหาการตลาดบนอินสตาแกรมสตอรี่กับความตั้งใจซื้อ, จิราภา เขมาเบญจพล Jan 2020

การเปิดรับ ความพึงพอใจของผู้บริโภค ต่อเนื้อหาการตลาดบนอินสตาแกรมสตอรี่กับความตั้งใจซื้อ, จิราภา เขมาเบญจพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเปิดรับและความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อเนื้อหาการตลาดบนอินสตาแกรมสตอรี่ รวมถึงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจ ของผู้บริโภคต่อเนื้อหาการตลาดบนอินสตาแกรมสตอรี่ กับความตั้งใจซื้อหลังรับชมเนื้อหาการตลาดของผู้บริโภค โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 400 ชุด เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับเนื้อหาการตลาดบนอินสตาแกรมสตอรี่อยู่ในระดับปานกลาง 2) กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจต่อเนื้อหาการตลาดบนอินสตาแกรมสตอรี่ อยู่ในระดับพึงพอใจปานกลาง 3) กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจซื้อหลังรับชมเนื้อหาการตลาดบนอินสตาแกรมสตอรี่ ของสินค้าประเภทเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย และสินค้าประเภทอาหารและขนม อยู่ในระดับตั้งใจซื้อมาก ในขณะที่มีความตั้งใจซื้อสินค้าประเภทเครื่องใช้ฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน และบริการด้านธุรกิจโรงแรมและที่พัก อยู่ในระดับตั้งใจซื้อปานกลาง สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ สถานภาพ และรายได้ต่างกัน มีการเปิดรับอินสตาแกรมสตอรี่แตกต่างกัน 2) ผู้บริโภคที่มีเพศและอายุต่างกัน มีความพึงพอใจต่อกลยุทธ์การนำเสนอเนื้อหาการตลาดบนอินสตาแกรมสตอรี่แตกต่างกัน 3) ผู้บริโภคที่มีอายุและรายได้ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาการตลาดบนอินสตาแกรมสตอรี่แตกต่างกัน 4) ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อกลยุทธ์การนำเสนอเนื้อหาการตลาดบนอินสตาแกรมสตอรี่ มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อหลังรับชมเนื้อหาการตลาดบนอินสตาแกรมสตอรี่ โดยมีความสัมพันธ์ในทางบวกและมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ


การเปิดรับ ทัศนคติ และพฤติกรรมการตอบสนองของผู้บริโภคต่อการสื่อสารที่ขับเคลื่อนด้วยระบบ อัลกอริทึมและข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบนเฟซบุ๊ก, ศุภนิดา จันทร์กระจ่าง Jan 2020

การเปิดรับ ทัศนคติ และพฤติกรรมการตอบสนองของผู้บริโภคต่อการสื่อสารที่ขับเคลื่อนด้วยระบบ อัลกอริทึมและข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบนเฟซบุ๊ก, ศุภนิดา จันทร์กระจ่าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับการเปิดรับ ทัศนคติ และพฤติกรรม การตอบสนองของผู้บริโภคต่อการสื่อสารที่ขับเคลื่อนด้วยระบบอัลกอริทึมและข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบนเฟซบุ๊ก โดยศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับกับทัศนคติ และความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับพฤติกรรมการตอบสนอง รวมถึงศึกษาอิทธิพลของการเปิดรับ และทัศนคติที่มีผลต่อพฤติกรรมการตอบสนองของผู้บริโภค โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งจะใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจำนวน 400 ชุด ทั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับในระดับปานกลาง (3 – 4 วัน/สัปดาห์) ที่ 3.14 มีทัศนคติโดยรวมในเชิงบวกที่ 4.01 และมีพฤติกรรมการตอบสนองโดยรวมอยู่ในระดับมากที่ 3.70 อนึ่ง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) การเปิดรับของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติในระดับต่ำ (r = 0.359) 2) ทัศนคติของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรม การตอบสนองในระดับสูง (r = 0.624) 3) การเปิดรับ และทัศนคติ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตอบสนองของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (R2 = 0.411, p-value < 0.001) โดยที่ปัจจัยด้านทัศนคติ (β = 0.348) มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตอบสนองมากกว่าปัจจัยด้านการเปิดรับ (β = 0.182) นอกจากนั้น ยังพบว่า 1) ด้านการเปิดรับ ควรเน้นที่รูปแบบการสื่อสารที่แสดงข้อความ “ราคา/โปรโมชันพิเศษสำหรับคุณโดยเฉพาะ” และแสดงข้อความ “สินค้าสำหรับคุณโดยเฉพาะ” 2) ด้านทัศนคติ ควรเน้นที่รูปแบบการสื่อสารที่แสดงข้อความที่เกี่ยวข้องกับ “ความสนใจและกิจกรรมของคุณ” ทั้งนี้ ควรที่จะหลีกเลี่ยงการใช้รูปแบบการสื่อสารที่อ้างอิงจากสถานที่ของคุณ เพื่อสามารถกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิด การเปิดรับ มีทัศนคติ และพฤติกรรมการตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


การเปิดรับข่าวสารทางการเงิน ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณของแรงงานนอกระบบ ในการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์, จิรายุ ชัยจิรวิวัฒน์ Jan 2020

การเปิดรับข่าวสารทางการเงิน ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณของแรงงานนอกระบบ ในการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์, จิรายุ ชัยจิรวิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการออมเงิน การเปิดรับข่าวสารทางการเงิน ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณของแรงงานนอกระบบ และศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะประชากรกับการเปิดรับข่าวสารทางการเงิน ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณ รวมถึงศึกษาอิทธิพลของการเปิดรับข่าวสารทางการเงิน ความรู้ ทัศนคติ ต่อพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณ ด้วยระเบียบวิธีเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแรงงานนอกระบบจำนวน 400 คน ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่อยู่อาศัย/ทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่มีการเปิดรับข่าวสารทางการเงินอยู่ในระดับปานกลาง โดยเปิดรับผ่านสื่อออนไลน์ ในช่วงเวลา 18.01 – 21.00 น. และมีเวลาโดยเฉลี่ยในการเปิดรับข้อมูล 1 – 2 ชั่วโมงมากที่สุด มีความรู้ทางการเงินอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5 คะแนน ซึ่งมีความรู้ด้าน “การกระจายความเสี่ยง” มากที่สุด และมีความรู้ในด้าน “อัตราดอกเบี้ย” และ “การคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากทบต้น” น้อยที่สุด ส่วนทัศนคติทางการเงินอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีทัศนคติในเรื่อง “การออมทรัพย์เป็นการสร้างความมั่นคงให้ตนเองและ/หรือครอบครัวอย่างหนึ่ง” ระดับมากที่สุด และมีพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีพฤติกรรมใน “การวางแผนที่จะชำระหนี้สินให้หมดก่อนที่จะเกษียณอายุ” มากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า แรงงานนนอกระบบที่มีเพศแตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารทางการเงิน ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทางกลับกัน แรงงานนนอกระบบที่มีระดับการศึกษา และรายได้ส่วนบุคคลโดยเฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และทัศนคติทางการเงิน รวมถึงพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านของอิทธิพลของตัวแปร พบว่า ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปร ได้แก่ การเปิดรับข่าวสารทางการเงิน ความรู้ทางการเงิน และทัศนคติทางการเงิน ล้วนสามารถอธิบายพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 28 ในทิศทางเดียวกัน โดยตัวแปรอิสระที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณได้ดีที่สุด คือ การเปิดรับข่าวสารทางการเงิน รองลงมาได้แก่ ทัศนคติทางการเงิน และความรู้ทางการเงิน ตามลำดับ


การเปิดรับสื่อ ความผูกพัน และพฤติกรรมการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน, วรรณกานต์ สุวรรณมุข Jan 2020

การเปิดรับสื่อ ความผูกพัน และพฤติกรรมการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน, วรรณกานต์ สุวรรณมุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อ ความผูกพัน และพฤติกรรมการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันสั่งและส่งอาหาร รูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มผู้บริโภคที่สั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันในช่วงระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา อายุระหว่าง 18 – 45 ปี อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 390 คน แบ่งเป็นผู้สั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันไลน์แมน จำนวน 130 คน ผู้สั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันแกร็บฟู้ด จำนวน 130 คน และผู้สั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันเก็ท จำนวน 130 คน โดยใช้สถิติที่ใช้ทดสอบ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และค่าสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1).ผู้บริโภคมีการเปิดรับสื่อจากแอปพลิเคชันสั่งและส่งอาหาร อยู่ในระดับปานกลาง โดยเปิดรับสื่อจากตราสัญลักษณ์บริเวณเสื้อหรือกระเป๋าของพนักงานส่งอาหารมากที่สุด 2).ความผูกพันที่ผู้บริโภคมีต่อแอปพลิเคชันสั่งและส่งอาหารอยู่ในระดับสูงโดยให้ความเห็นสูงสุดต่อข้อความ ท่านรู้สึกเสียดายเมื่อไม่มีแอปพลิเคชันไลน์แมน แกร็บฟู้ด และเก็ทให้สั่งอาหารอีกต่อไป 3).การตัดสินใจสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคอยู่ในระดับสูง 4).การเปิดรับสื่อและความผูกพันของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 5).ความผูกพันมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันมากที่สุด (β= 0.405)


การเปิดเผยตนเองของชายรักชายในนิยายวาย, ศรัณย์ พ.จานุพิบูล Jan 2020

การเปิดเผยตนเองของชายรักชายในนิยายวาย, ศรัณย์ พ.จานุพิบูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการในการเปิดเผยตนเองของชายรักชายในนิยายวาย และความสัมพันธ์ของตัวละครชายรักชายในนิยายวาย (คู่ความสัมพันธ์) เพื่อการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการเพื่อการเปิดเผยตนเองของชายรักชายจากนิยายวาย พร้อมทั้งมิติคู่ความสัมพันธ์ของตัวละครชายรักชายและบุคคลรอบข้าง (คนรัก ครอบครัว เพื่อน) รวมทั้งยังสามารถนำองค์ความรู้ไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานในอุตสาหกรรมสื่อบังเทิงคดี เช่น การสร้างนิยายวายด้วยรูปแบบการเปิดเผยตนเองที่นิยมมากที่สุดหรือการนำวิธีการพัฒนาความสัมพันธ์ของตัวละครมาสร้างในรูปแบบสื่อบันเทิง โดยศึกษาจากนิยายวายรูปเล่มที่มีประเด็นในด้านการเปิดเผยตนเองและถูกนำไปสร้างเป็นละครซีรีส์ซึ่งผ่านสื่อออนไลน์และสื่อมวลชนดั้งเดิม ในปีพ.ศ.2558 – 2563 จำนวน 13 เรื่อง (เป็นซีรีส์ทุกเรื่อง) งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหาตัวบท ประกอบกับแนวคิดการเปิดเผยตนเอง แนวคิดเกี่ยวกับชายรักชาย ทฤษฎีเรื่องเล่าในสื่อบันเทิงคดี และแนวคิดเกี่ยวกับนิยายวาย ผลการวิจัยพบว่า นิยายวายกลุ่มตัวอย่างจำนวน 13 เรื่อง (26 คน) มีรูปแบบการเปิดเผยตนเองที่พบมากที่สุดคือพัฒนาการจากรูปแบบปิดทั้งหมดสู่เปิดทั้งหมดซึ่งมีจำนวน 8 คน รูปแบบที่พบน้อยที่สุดคือพัฒนาการจากรูปแบบกึ่งปิดสู่กึ่งเปิด และเปิดทั้งหมดมาตั้งแต่ต้น ซึ่งมีจำนวนอย่างละ 2 คน วิธีการเปิดเผยตนเองจำนวน 13 เรื่อง (54 ครั้ง) คือวิธีการเปิดเผยทางตรง 30 ครั้ง และวิธีการเปิดเผยทางอ้อม 24 ครั้ง ความสัมพันธ์ที่พบในนิยายวายกลุ่มตัวอย่างจำนวน 13 เรื่อง (60 ครั้ง) คือบุคคลรอบข้าง (คนรัก ครอบครัว เพื่อน) ยอมรับการเปิดเผยตัวตนตั้งแต่ครั้งแรก 51 ครั้ง และไม่ยอมรับการเปิดเผยตัวตนตั้งแต่ครั้งแรก 9 ครั้ง ตัวละครชายรักชายทั้งหมดแสดงผลลัพธ์อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อตัวละครเคยคบผู้หญิงมาก่อนโดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่ยอมรับว่าตนชอบเพศชาย นำไปสู่การต่อต้าน และต้องใช้เวลาค่อนข้างมากกว่าจะยอมรับและเปิดเผยตัวตนกับคนรักรวมถึงครอบครัว


การใช้เรื่องเล่าในกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมของบริษัทผลิตภาพยนตร์ไทย, ณัฐกร จุลระศร Jan 2020

การใช้เรื่องเล่าในกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมของบริษัทผลิตภาพยนตร์ไทย, ณัฐกร จุลระศร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เรื่องเล่าที่องค์กรใช้ในกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมต่อ พนักงานใหม่และ 2) การรับรู้ของพนักงานใหม่ต่อเรื่องเล่าขององค์กรบริษัทผลิตภาพยนตร์ไทยแห่งหนึ่ง เครื่องมือหลักในการศึกษา ได้แก่ การสัมภาษณ์ผู้ก่อตั้งองค์กร ผู้บริหารและพนักงานใหม่ (อายุงานไม่เกิน 3 ปี) รวมทั้งสิ้น 16 คน ร่วมกับการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม โดยวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักการวิเคราะห์เรื่องเล่าและการวิเคราะห์แก่นสาระตามการปฏิบัติการต่าง ๆ ในองค์กร ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมและค่านิยมหลักขององค์กรที่ถ่ายทอดไปยังพนักงานผ่านเรื่องเล่า ได้แก่ แนวคิดสุขนิยม ครอบครัวมืออาชีพ และความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยผู้บริหารองค์กรใช้แนวคิดสุขนิยมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคัดเลือก พนักงานใหม่ ในเรื่องครอบครัวมืออาชีพ องค์กรได้สื่อสารผ่านการปฏิบัติต่อกันแบบพี่น้องและการจัดการด้านกายภาพที่ออกแบบตกแต่งองค์กรในรูปแบบบ้าน ส่วนเรื่องความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เกิดขึ้นภายหลังเนื่องจากรูปแบบธุรกิจที่ไม่สามารถ คาดเดาผลประกอบการได้ โดยผู้บริหารเห็นว่าพิธีกรรมมีส่วนช่วยรวมกลุ่มคนทำงานด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าเรื่องเล่าและการเล่าเรื่องที่ใช้ในกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมขององค์กรสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กรและเกี่ยวข้องกับความเป็นมาขององค์กร ความยากลำบากของการทำงานในอดีต ความผิดพลาดในอดีต การเรียนรู้ และความสำเร็จขององค์กร ความภาคภูมิใจของคนในองค์กร และความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สำหรับกลวิธีที่ใช้เรื่องเล่าใน กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมขององค์กร พบว่ามีการกล่อมเกลาทางสังคมทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม การกล่อมเกลาทางสังคมทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การกล่อมเกลาทางสังคมแบบมีตัวแบบ และการกล่อมเกลาทางสังคมแบบที่ตารางเวลาไม่คงที่ ซึ่งขึ้นอยู่กับช่วงเวลาการฉายของภาพยนตร์แต่ละเรื่อง ในส่วนการรับรู้ของพนักงานใหม่ พนักงานใหม่รับรู้วัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กรในด้านความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ครอบครัวมืออาชีพ และแนวคิดสุขนิยมตามลำดับ อย่างไรก็ตามในความเป็นครอบครัวมืออาชีพ พนักงานใหม่ส่วนใหญ่รับรู้เพียงมิติความเป็นครอบครัว นอกจากนี้การรับรู้เรื่องเล่าของพนักงานมีความสอดคล้องกับเรื่องเล่าที่องค์กรถ่ายทอด ส่วนในด้านการยอมรับและการต่อรองความหมายในวัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กร มีกลุ่มพนักงานที่ยอมรับวัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กร และมีทั้งที่อยากปฏิบัติงานต่อและไม่อยากปฏิบัติงานต่อ เช่นเดียวกับพนักงานที่ไม่ยอมรับวัฒนธรรมองค์กรและค่านิยมขององค์กร


ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อเนื้อทำจากพืชของผู้บริโภค, ธีรวัจน์ วุฒิปัญญาคม Jan 2020

ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อเนื้อทำจากพืชของผู้บริโภค, ธีรวัจน์ วุฒิปัญญาคม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อเนื้อทำจากพืชของผู้บริโภค (2) ศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากร กับความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อเนื้อทำจากพืช (3) ศึกษาถึงอิทธิพลของความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การรับรู้ และทัศนคติ ต่อการตัดสินใจซื้อเนื้อทำจากพืช เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านทางกูเกิลฟอร์ม (Google Form) โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน แล้วนำผลมาวิเคราะห์ประมวลข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่า เพศหญิงมีความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อเนื้อทำจากพืชสูงกว่าเพศชาย ผู้ที่มีอายุมาก มีการรับรู้ต่อเนื้อทำจากพืชสูงกว่าผู้ที่มีอายุน้อย ผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อเนื้อทำจากพืชสูงกว่าผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่า นอกจากนี้ยังพบว่า ทัศนคติต่อเนื้อทำจากพืช มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อเนื้อทำจากพืชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


คุณลักษณะของผู้นำความคิดด้านการท่องเที่ยวในเฟซบุ๊ก ระดับความผูกพันของผู้บริโภคต่อเนื้อหา ระดับความไว้วางใจ และการตัดสินใจซื้อสินค้าด้านการท่องเที่ยวของผู้บริโภค, กัลยา พลอยไทรงาม Jan 2020

คุณลักษณะของผู้นำความคิดด้านการท่องเที่ยวในเฟซบุ๊ก ระดับความผูกพันของผู้บริโภคต่อเนื้อหา ระดับความไว้วางใจ และการตัดสินใจซื้อสินค้าด้านการท่องเที่ยวของผู้บริโภค, กัลยา พลอยไทรงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึง 1) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากร กับคุณลักษณะเชิงระดับความนิยม คุณลักษณะเชิงบุคลิกลักษณะ ระดับความผูกพันของผู้บริโภคต่อเนื้อหา ระดับความไว้วางใจ และการตัดสินใจซื้อสินค้าด้านการท่องเที่ยว 2) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะเชิงระดับความนิยม คุณลักษณะเชิงบุคลิกลักษณะ ระดับความผูกพันของผู้บริโภคต่อเนื้อหา กับระดับความไว้วางใจ 3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระดับความไว้วางใจ กับการตัดสินใจซื้อสินค้าด้านการท่องเที่ยว เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ด้วยวิธีการวิจัยแบบสำรวจด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบ แบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่าง โดยต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีการติดตามผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยว ในเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กเพจ ภายในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา จำนวน 400 คน นำผลมาวิเคราะห์ใน SPSS ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีระดับความนิยมด้านคุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวในระดับปานกลาง 2) กลุ่มตัวอย่างมีระดับการรับรู้คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวในระดับปานกลาง 3) กลุ่มตัวอย่างมีระดับความผูกพันต่อเนื้อหาในระดับปานกลาง 4) กลุ่มตัวอย่างมีความไว้วางใจผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวในระดับมาก 5) กลุ่มตัวอย่างมีการตัดสินใจซื้อสินค้าด้านการท่องเที่ยวในระดับปานกลางโดยการศึกษาในครั้งนี้มีระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ และอาชีพแตกต่างกัน มีระดับการรับรู้คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวแตกต่างกัน 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุแตกต่างกัน มีระดับความผูกพันต่อเนื้อหาแตกต่างกัน 3) กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ อาชีพ รายได้ และสถานภาพต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อสินค้าด้านการท่องเที่ยวแตกต่างกัน 4) คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านการท่องเที่ยวเชิงระดับความนิยมและเชิงบุคลิกลักษณะ ระดับความผูกพันของผู้บริโภคต่อเนื้อหา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับความไว้วางใจ 5) การตัดสินใจซื้อสินค้าด้านการท่องเที่ยวของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับความไว้วางใจ


คุณลักษณะเชิงเนื้อหาและการนำเสนอของรายการอาสาพาไปหลงและการรับรู้ของผู้ชม, สุชัญญา วัฒนะศักดิ์ประภา Jan 2020

คุณลักษณะเชิงเนื้อหาและการนำเสนอของรายการอาสาพาไปหลงและการรับรู้ของผู้ชม, สุชัญญา วัฒนะศักดิ์ประภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะเชิงเนื้อหาและการนำเสนอของรายการอาสาพาไปหลง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อหารายการอาสาพาไปหลงในปี 2561-2562 ที่เผยแพร่ผ่านยูทูบช่องอาสาพาไปหลง - asapapailong จำนวน 40 ตอน ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและการรับรู้ของผู้ชมรายการอาสาพาไปหลง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ชมรายการอาสาพาไปหลง จำนวน 400 คน และการสนทนากลุ่มจากผู้ชมรายการอาสาพาไปหลง จำนวน 7 คน ผลการวิจัยพบว่า รายการอาสาพาไปหลงเป็นรายการท่องเที่ยวบนสื่อออนไลน์เผยแพร่ผ่านช่องทางที่หลากหลายทั้งนี้ช่องทางที่นิยมมากที่สุด คือ ยูทูบ ซึ่งจากการวิเคราะห์เนื้อหารายการอาสาพาไปหลงด้านคุณลักษณะเชิงเนื้อหา พบว่า รายการอาสาพาไปหลงส่วนใหญ่มีเนื้อหาการเดินทางออกนอกประเทศมากกว่าการเดินทางภายในประเทศ ซึ่งเป็นการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากกว่าแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เน้นการถ่ายทอดประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวที่ทำให้เห็นถึงประสบการณ์ร่วมและความรู้สึกของผู้ดำเนินรายการ และด้านคุณลักษณะเชิงการนำเสนอของอาสาพาไปหลงผลการวิจัยพบว่า มีการนำปัจจัยด้านเสียงมาใช้เพื่อสร้างอารมณ์และความรู้สึกร่วมให้แก่ผู้ชมรายการโดยพบการใช้เพลงประกอบและเสียงประกอบอื่น ๆ (Sound effect) เป็นอันดับหนึ่ง การใช้เสียงพากย์เป็นอันดับสอง การใช้ตัวอักษรและกราฟิกเป็นอันดับสาม การโฆษณาแฝงเป็นอันดับสี่ และการใส่คำบรรยายเนื้อหาในรายการเป็นอันดับห้า การรับรู้ของผู้ชมรายการอาสาพาไปหลงด้านคุณลักษณะเชิงเนื้อหาและคุณลักษณะเชิงการนำเสนอ พบว่า สอดคล้องกับการวิเคราะห์เนื้อหาโดยผู้ชมมีการรับรู้ด้านเนื้อหาว่าอาสาพาไปหลงเป็นรายการท่องเที่ยวที่เป็นประสบการณ์ร่วมในการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ และผู้ชมมีการรับรู้ว่าอาสาพาไปหลงมีการแต่งเพลงเพื่อใช้เป็นองค์ประกอบในการนำเสนอและมีการใช้เสียงพากย์ในรายการเพื่อทำให้รายการมีความสนุกสนานมากขึ้น โดยผู้ชมจากการสนทนากลุ่มมีการรับรู้ด้านเนื้อหาว่าส่วนใหญ่อาสาพาไปหลงเป็นการเดินทางท่องเที่ยวออกนอกประเทศ ซึ่งบางสถานที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมากนัก และผู้ชมจากการสนทนากลุ่มมีการรับรู้ด้านการนำเสนอว่าอาสาพาไปหลงมีความโดดเด่นด้านการแต่งเพลงให้สอดคล้องกับแหล่งท่องเที่ยว อึกทั้งยังมีการพากย์เสียงทั้งคนและสัตว์ที่ทำให้รายการมีความน่าสนใจมากขึ้น โดยผู้ชมจากแบบสอบถามออนไลน์มีการรับรู้ต่อการโฆษณาแฝงเป็นอย่างมากในขณะที่ผู้ชมจากการสนทนากลุ่มมีการรับรู้ต่อการโฆษณาแฝงว่าอาสาพาไปหลงมีการนำเสนอสินค้าแบบแนบเนียนทำให้ไม่รู้สึกว่ามีการโฆษณาแฝงในรายการ ซึ่งผู้ชมทั้งสองกลุ่มมีการรับรู้ต่อผู้ดำเนินรายการที่สอดคล้องกัน คือ ผู้ดำเนินรายการมีทักษะในการพูดที่ดีทำให้รายการไม่น่าเบื่อ มีความสามารถในการแต่งเพลงและการพากย์เสียงที่ทำให้รายการอาสาพาไปหลงแตกต่างจากรายการอื่น


ทัศนคติและความตั้งใจซื้อของนิสิตนักศึกษาต่อการเคลื่อนไหวของแบรนด์เพื่อความเสมอภาคทางเพศ, อัฏฐพร จันทราสินธุ์ Jan 2020

ทัศนคติและความตั้งใจซื้อของนิสิตนักศึกษาต่อการเคลื่อนไหวของแบรนด์เพื่อความเสมอภาคทางเพศ, อัฏฐพร จันทราสินธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของทัศนคติ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ทัศนคติต่อความเสมอภาคทางเพศ ทัศนคติต่อแบรนด์และทัศนคติต่อการเคลื่อนไหวของแบรนด์เพื่อความเสมอภาคทางเพศ ตามทฤษฎีความสมดุล ความสัมพันธ์ระหว่างเพศและชนชั้นทางสังคมกับทัศนคติต่อความเสมอภาคทางเพศ และความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อความเสมอภาคทางเพศกับความตั้งใจซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ที่เคลื่อนไหวเพื่อความเสมอภาคทางเพศ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการสำรวจ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม- 2 มิถุนายน พ.ศ.2564 กระจายแบบสอบถามทางทวิตเตอร์ ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์จำนวน 408 ชุด ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างจะรู้สึกดี เมื่อแบรนด์ที่ตนชอบออกมาเคลื่อนไหวเพื่อความเสมอภาคทางเพศ ซึ่งสอดคล้องกับจุดยืนของตน อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( X2 = 316.96) ทัศนคติต่อความเสมอภาคทางเพศไม่มีความสัมพันธ์กับเพศ (X2- Prob=0.076) และ ชนชั้นทางสังคม (X2- Prob=0.358) และ ทัศนคติต่อความเสมอภาคทางเพศมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ที่เคลื่อนไหวเพื่อความเสมอภาคทางเพศ อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r=0.193 , p-value<0.001) ผู้วิจัยยังพบอีกว่า กลุ่มตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งเคยได้ยินหรือเห็นแบรนด์ออกมาแสดงจุดยืนเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศ และเชื่ออย่างมากว่าการที่แบรนด์ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อความเสมอภาคทางเพศย่อมทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้มากขึ้น และยังเชื่อว่าแบรนด์ต้องมีความรับผิดชอบหรือหน้าที่ในการเป็นกระบอกเสียงให้กับสังคม โดยเฉพาะเรื่อง “การเรียกร้องความเสมอภาคทางเพศ” “การต่อต้านการคุกคามทางเพศ” และ “ความหลากหลายทางเพศ”


ปัจจัยพยากรณ์ความภักดีของผู้บริโภคที่มีต่อแอปพลิเคชันการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จแบบตอบสนองความต้องการ, สิราวรรณ พรรณสวัสดิ์ Jan 2020

ปัจจัยพยากรณ์ความภักดีของผู้บริโภคที่มีต่อแอปพลิเคชันการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จแบบตอบสนองความต้องการ, สิราวรรณ พรรณสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ปัจจัยคุณภาพการให้บริการและความภักดีด้านพฤติกรรมและด้านทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อแอปพลิเคชันการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จแบบตอบสนองความต้องการ ตลอดจนปัจจัยการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่สามารถพยากรณ์ความภักดีต่อบริการแอปพลิเคชันการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จแบบตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่ใช้บริการผ่านแอปพลิเคชันการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จแบบตอบสนองความต้องการอย่างน้อย 3 ครั้ง ภายในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับปานกลาง โดยส่วนใหญ่จะเปิดรับผ่านทางสื่อออนไลน์ และมีทัศนคติในเชิงบวกต่อการใช้งานที่ง่ายและหลากหลาย รวมถึงการระบุราคาที่ชัดเจนในการใช้บริการ และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับสูงต่อการใช้บริการแอปพลิเคชันการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จแบบตอบสนองความต้องการที่มีความน่าเชื่อและไว้วางใจ รวมไปถึงผู้บริโภคมีความภักดีอยู่ในระดับที่สูงมากในด้านพฤติกรรมการใช้บริการซ้ำและการแนะนำบอกต่อ เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยพยากรณ์พบว่า ปัจจัยคุณภาพการให้บริการสามารถพยากรณ์ความภักดีในการใช้บริการแอปพลิเคชันการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จแบบตอบสนองความต้องการได้สูงสุด รองลงมาคือ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ส่วนการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไม่สามารถพยากรณ์ความภักดีในการใช้บริการแอปพลิเคชันการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จแบบตอบสนองความต้องการได้


ผลของการใช้ความเป็นจริงเสริมในการสื่อสารการตลาด ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเจเนอเรชันแซด, กนกรัตน์ สหกิจพิจารณ์ Jan 2020

ผลของการใช้ความเป็นจริงเสริมในการสื่อสารการตลาด ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเจเนอเรชันแซด, กนกรัตน์ สหกิจพิจารณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ความเป็นจริงเสริมในการสื่อสารการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเจเนอเรชัน แซด มีตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ การรับรู้ความเสี่ยง ทัศนคติต่อตราสินค้า ความตั้งใจซื้อ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจปัจจัยของความเป็นจริงเสริมในการสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคเจเนอเรชันแซด ที่มีการวิจัยแบบผสมผสานประกอบด้วยการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นเจเนอเรชันแซดเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 18-25 ปี จำนวน 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ดูรูปภาพสินค้าลิปสติกจำนวน 50 คนและกลุ่มทดลองที่ได้ทดลองสินค้าลิปสติกผ่านความเป็นจริงเสริมจำนวน 50 คน เก็บข้อมูลในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ. 2564 และใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มทดลองที่ได้ใช้งานความเป็นจริงเสริมในการทดลองสินค้าลิปสติกโดยมีผู้ยินยอมให้สัมภาษณ์ จำนวน 36 คน โดยเก็บข้อมูลในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ผลการทดลองพบว่า ความเป็นจริงเสริมมีผลต่อการรับรู้ความเสี่ยงด้านการเงิน ด้านประสิทธิภาพของสินค้าและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคเจเนอเรชันแซดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งค่าเฉลี่ยการรับรู้ความเสี่ยงด้านการเงินลดลงจากก่อนการทดลองที่ 3.96 เหลือค่าเฉลี่ยหลังการทดลองที่ 2.70 (t = 5.957), การรับรู้ความเสี่ยงด้านประสิทธิภาพของสินค้ามีค่าเฉลี่ยลดลงโดยก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ย 3.94 และมีค่าเฉลี่ยหลังการทดลองที่ 2.86 (t = 5.645) , ความตั้งใจซื้อมีค่าเฉลี่ยก่อนการทดลองที่ 4.085 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นหลังการทดลองเป็น 5.250 (t = -6.932) แต่ความเป็นจริงเสริมส่งผลต่อทัศนคติต่อตราสินค้าอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่าปัจจัยด้านการให้ข้อมูล การอำนวยความสะดวก ความสมจริงและความเสถียรของความเป็นจริงเสริมในแอปพลิเคชันมีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค


พัฒนาการของเทคนิคการสร้างภาพพิเศษในภาพยนตร์ไทย ในช่วง พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2563, ณัฐสิทธิ์ ขจายศรสิทธิ์ Jan 2020

พัฒนาการของเทคนิคการสร้างภาพพิเศษในภาพยนตร์ไทย ในช่วง พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2563, ณัฐสิทธิ์ ขจายศรสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) อธิบายและวิเคราะห์พัฒนาการของเทคนิคการสร้างภาพพิเศษในภาพยนตร์ไทย ในช่วง พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2563 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการดังกล่าว และ 3) รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสร้างภาพพิเศษในภาพยนตร์ไทย และขยายองค์ความรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์ไทยไปสู่มิติอื่น ๆ นอกเหนือจากขนบประวัติศาสตร์นิพนธ์ภาพยนตร์ไทยที่มีอยู่เดิม โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิจัยเอกสารเกี่ยวกับภาพยนตร์ไทย ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการในด้านรูปแบบ เทคโนโลยี และการใช้งาน ของเทคนิคการสร้างภาพพิเศษในภาพยนตร์ไทย ในช่วง พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2563 สามารถแบ่งออกเป็นเจ็ดยุคสมัย ได้แก่ 1) ยุคบุกเบิก (พ.ศ. 2470–2499) 2) ยุคเติบโต (พ.ศ. 2500–2514) 3) ยุครุ่งเรือง (พ.ศ. 2515–2528) 4) ยุคบูรณาการ (พ.ศ. 2529–2536) 5) ยุคคอมพิวเตอร์ (พ.ศ. 2537–2546) 6) ยุคเปลี่ยนผ่าน (พ.ศ. 2547–2554) และ 7) ยุคนวัตกรรม (พ.ศ. 2555–2563) โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการดังกล่าวเจ็ดปัจจัย ได้แก่ 1) บุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ 2) ความพร้อมของกระบวนการสร้างภาพยนตร์ 3) กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของภาพยนตร์ 4) เทคโนโลยีการถ่ายทำภาพยนตร์และเทคนิคการสร้างภาพพิเศษ 5) เสียงตอบรับจากผู้ชมภาพยนตร์ 6) การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และ 7) ภาวะเศรษฐกิจและสังคม จากการรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสร้างภาพพิเศษในภาพยนตร์ไทยแสดงให้เห็นว่า เทคนิคการสร้างภาพพิเศษในภาพยนตร์ไทยมีพัฒนาการตามยุคสมัยและมีปัจจัยที่หลากหลาย โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการมากที่สุดคือ "บุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์" ผู้สร้างภาพยนตร์ไทยได้แสดงศักยภาพในการพัฒนาเทคนิคการสร้างภาพพิเศษในภาพยนตร์ไทยอย่างมีคุณภาพ แต่ยังคงมีอุปสรรคมากมายที่สะสมจนกลายเป็นวงจรปัญหาที่ท้าทายพัฒนาการของเทคนิคการสร้างภาพพิเศษในภาพยนตร์ไทย


ความแตกต่างทางกลสัทศาสตร์และสัญชาตญาณการแบ่งแยกระหว่างสระประสมกับสระเรียงระหว่างพยางค์ในภาษาสเปนของผู้เรียนภาษาสเปนชาวไทยที่มีประสบการณ์ทางภาษาที่แตกต่างกัน, อภิญญา สิงโสภา Jan 2020

ความแตกต่างทางกลสัทศาสตร์และสัญชาตญาณการแบ่งแยกระหว่างสระประสมกับสระเรียงระหว่างพยางค์ในภาษาสเปนของผู้เรียนภาษาสเปนชาวไทยที่มีประสบการณ์ทางภาษาที่แตกต่างกัน, อภิญญา สิงโสภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาค่าทางกลสัทศาสตร์ของสระประสม และสระเรียงระหว่างพยางค์ภาษาสเปนที่ออกเสียงโดยผู้เรียนภาษาสเปนชาวไทยที่มีประสบการณ์ทางภาษา อันได้แก่การไปแลกเปลี่ยนยังประเทศที่พูดภาษาสเปน และระยะเวลาในการเรียนภาษาสเปนที่แตกต่างกัน 2) ศึกษาสัญชาตญาณการแบ่งพยางค์สระประสม และสระเรียงระหว่างพยางค์ของผู้เรียนภาษาสเปนชาวไทยที่มีประสบการณ์ทางภาษาที่แตกต่างกัน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าทางกลสัทศาสตร์และสัญชาตญาณการแบ่งพยางค์ดังกล่าว โดยผู้ร่วมการวิจัยเป็นนิสิตสาขาภาษาสเปนระดับมหาวิทยาลัย 20 คน สำหรับการศึกษาทางกลสัทศาสตร์ เก็บข้อมูลเสียงจากคำพูดเดี่ยว 30 คำในกรอบประโยค และค่าทางกลสัทศาสตร์ที่ศึกษา ได้แก่ ค่าระยะเวลา และค่าความถี่ฟอร์เมินท์ที่ 2 สำหรับการศึกษาสัญชาตญาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบทดสอบการแบ่งพยางค์ภาษาสเปน นอกจากนี้ ใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้ภาษาสเปน เพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับผลการศึกษาทางกลสัทศาสตร์และสัญชาตญาณ ผลการศึกษาทางกลสัทศาสตร์พบว่า 1) ผู้เรียนที่ไม่เคยไปแลกเปลี่ยนผลิตเสียงแบ่งพยางค์ได้ถูกต้องมากกว่าผู้เรียนที่เคยไปแลกเปลี่ยน และ 2) ผู้เรียนชั้นปีที่ 4 ผลิตเสียงแบ่งพยางค์ได้ถูกต้องมากกว่าผู้เรียนชั้นปีที่ 2 แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ ค่าทางกลสัทศาสตร์ที่ผู้เรียนใช้ในการแบ่งแยกระหว่างสระประสม และสระเรียงระหว่างพยางค์อย่างชัดเจน คือ ค่าระยะเวลา โดยผู้เรียนมีค่าระยะเวลาของสระเรียงระหว่างพยางค์เฉลี่ยมากกว่าสระประสม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาสัญชาตญาณพบว่า 1) ผู้เรียนที่ไม่เคยไปเรียนแลกเปลี่ยนมีสัญชาตญาณมากกว่าผู้เรียนที่เคยไปเรียนแลกเปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) ผู้เรียนชั้นปีที่ 4 มีสัญชาตญาณมากกว่าผู้เรียนที่เรียนชั้นปีที่ 2 ดังนั้น ผลการศึกษาทางกลสัทศาสตร์และสัญชาตญาณสอดคล้องกัน ข้อค้นพบจากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การเรียนกฎการแบ่งพยางค์จากการเรียนในห้องเรียนอาจเป็นประโยชน์ต่อการผลิตเสียง และสัญชาตญาณการแบ่งพยางค์ในภาษาสเปนมากกว่าการเรียนรู้จากประสบการณ์จากการไปแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ ระยะเวลาการใช้ภาษาสเปนนอกห้องเรียนก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกเสียงและสัญชาตญาณการแบ่งพยางค์


ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้อภิภาษาศาสตร์กับการออกเสียงสั้นยาวของสระภาษาไทยโดยผู้เรียนชาวจีนก่อนและหลังการแทรกเชิงปฏิบัติ, เฉิงนาน จาง Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้อภิภาษาศาสตร์กับการออกเสียงสั้นยาวของสระภาษาไทยโดยผู้เรียนชาวจีนก่อนและหลังการแทรกเชิงปฏิบัติ, เฉิงนาน จาง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้อภิภาษาศาสตร์กับการออกเสียงสั้นยาวของสระภาษาไทยของผู้เรียนชาวจีนก่อนและหลังการแทรกเชิงปฏิบัติ ผู้เข้าร่วมการวิจัยมีทั้งหมด 30 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดสอบที่ 1 ผู้เรียนชาวจีนที่ได้รับการฝึกหัดอย่างเดียวจำนวน 10 คน กลุ่มทดสอบที่ 2 ผู้เรียนชาวจีนที่ได้รับการสอนกฎการออกเสียงพร้อมกับการฝึกหัดจำนวน 10 คน และกลุ่มต้นแบบ ผู้พูดชาวไทยจำนวน 10 คน การทดสอบแรกเป็นการทดสอบการผลิตเสียงสระสั้นยาว โดยวัดค่าระยะเวลาสระสั้นยาวของผู้เรียนชาวจีนและผู้พูดชาวไทยก่อนและหลังการแทรกเชิงปฏิบัติ ผลการทดสอบการผลิตเสียงสระสั้นยาวชี้ให้เห็นว่า ก่อนการแทรกเชิงปฏิบัติการผลิตเสียงสระสั้นยาวของผู้เรียนชาวจีนต่างกับผู้พูดขาวไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อผ่านช่วงการแทรกเชิงปฏิบัติแล้ว การผลิตเสียงสระสั้นยาวของผู้เรียนชาวจีนใกล้เคียงกับผู้พูดชาวไทยมากขึ้น โดยเฉพาะผู้เรียนชาวจีนที่ได้เรียนกฎพร้อมกับการฝึกหัด ส่วนการทดสอบที่สองเป็นการทดสอบการระบุเสียงสระสั้นยาว โดยวิเคราะห์คะแนนและเหตุผลการจำแนกสระสั้นยาวของผู้เรียนชาวจีนและผู้พูดชาวไทยก่อนและหลังการแทรกเชิงปฏิบัติ ผลทดสอบการระบุเสียงสระสั้นยาวแสดงให้เห็นว่า ก่อนการแทรกเชิงปฏิบัติ ผู้เรียนชาวจีนใช้ความรู้เกี่ยวกับเสียงสั้นยาวของรูปสัญลักษณ์สระเท่านั้นในการระบุเสียงสระสั้นยาว แต่หลังจากผ่านการแทรกเชิงปฏิบัติแล้ว แม้ว่าคะแนนการระบุเสียงสระสั้นยาวของผู้เรียนชาวจีนที่ได้รับการฝึกหัดอย่างเดียวยังต่างกับผู้พูดชาวไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ผู้เรียนชาวจีนกลุ่มนี้พยายามสร้างกฎต่าง ๆ และนำไปประยุกต์ ส่วนผู้เรียนชาวจีนที่ได้เรียนกฎพร้อมกับการฝึกหัดไม่พบความต่างกับผู้พูดชาวไทยอีกต่อไป ดังนั้นการวิจัยนี้สรุปว่า ก่อนการแทรกเชิงปฏิบัติ การออกเสียงสระภาษาไทยของผู้เรียนชาวจีนแตกต่างจากผู้พูดชาวไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่หลังจากการแทรกเชิงปฏิบัติแล้ว การออกเสียงสระภาษาไทยของผู้เรียนชาวจีนที่ได้เรียนกฎพร้อมกับการฝึกหัดจะมีความใกล้เคียงกับผู้พูดชาวไทยมากกว่าผู้เรียนชาวจีนที่ได้รับการฝักหัดอย่างเดียว แสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้กฎการออกเสียงอย่างชัดเจนจนเกิดความรู้อภิภาษาศาสตร์ในการออกเสียงมีผลดีต่อการออกเสียงสระภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวจีน การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้อภิภาษาศาสตร์กับการออกเสียงสระภาษาไทยนี้สะท้อนให้เห็นบทบาทสำคัญของความรู้อภิภาษาศาสตร์ในการเรียนภาษาที่สอง ซึ่งจะเป็นแนวทางในการศึกษาความรู้อภิภาษาศาสตร์สำหรับการออกเสียงสระสั้นยาวในภาษาไทยและเป็นประโยชน์ในการประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวจีน


ผลกระทบของรถไฟฟ้าบีทีเอสต่อชุมชนในเขตบางนา, วรัลยา บำรุงพงศ์ Jan 2020

ผลกระทบของรถไฟฟ้าบีทีเอสต่อชุมชนในเขตบางนา, วรัลยา บำรุงพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Bangkok's economic and social development encourages spatial development to fulfill urban activities requirement. In this regard, Bangkok is continuously expanding. Due to the city expansion, Bangkok is ranked as one of the top 10 world most congested cities. To solve this congested traffic problem, the first mass transit system, BTS SkyTrain, was constructed. The construction of BTS SkyTrain increases accessibility to the areas surrounding BTS station and along BTS line. Increasing of areas accessibility should affect local communities in those area. Therefore, this research aims to study and analyze the impacts of the BTS SkyTrain in Bangna district. This research …


ทัศนคติของผู้พูดสองภาษาไทย-อังกฤษต่อการสลับภาษาระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ, ปิยังกูร ทวีผล Jan 2020

ทัศนคติของผู้พูดสองภาษาไทย-อังกฤษต่อการสลับภาษาระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ, ปิยังกูร ทวีผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันภาษาอังกฤษมีบทบาทมากขึ้นทั้งในสังคมไทยและสังคมโลก การสลับภาษาในรูปแบบต่าง ๆ ระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษเป็นปรากฏการณ์ที่พบได้บ่อยในสังคมไทย ผู้พูดภาษาไทยมีความคิดเห็นที่หลากหลาย ทั้งสนับสนุนและไม่สนับสนุนการสลับภาษาระหว่างภาษาไทยกับอังกฤษ งานวิจัยนี้จึงต้องการสำรวจทัศนคติของผู้พูดสองภาษาไทย-อังกฤษต่อรูปประโยคที่มีการสลับภาษาแบบต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้พูดสองภาษาไทย-อังกฤษต่อรูปประโยคภาษาเดียว และรูปประโยคที่มีการสลับภาษาแบบต่าง ๆ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการสลับภาษากับอายุ ระดับพื้นเพทางภาษาอังกฤษ และแวดวงอาชีพของผู้พูด ผู้วิจัยใช้วิธีการอำพรางเสียงพูดเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยจำนวนทั้งสิ้น 80 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามชั้นภูมิประกอบด้วยผู้พูดสองภาษาไทย-อังกฤษในรุ่นอายุแซด (Generation Z) จำนวน 40 คน และในรุ่นอายุวาย (Generation Y) 40 คน ประเมินทัศนคติด้านความน่าดึงดูดทางสังคมและสถานภาพทางสังคมของเสียงพูดทดสอบผ่านการให้คะแนนด้วยมาตราวัดความแตกต่างทางความหมายในแบบสอบถาม และแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมในคำถามปลายเปิดแบบกรอบบรรยายความ ผลพบว่า รูปประโยคที่ใช้ภาษาไทยอย่างเดียวเป็นรูปประโยคที่ได้รับทัศนคติเชิงบวกสูงที่สุด รองลงมาคือ รูปประโยคที่มีการสลับภาษาระหว่างประโยค รูปประโยคที่ใช้ภาษาอังกฤษอย่างเดียว รูปประโยคที่แทรกคำเดี่ยวภาษาอังกฤษ รูปประโยคที่มีการสลับภาษาด้วยวลี และรูปประโยคที่มีการสลับเป็นก้อนคำตามลำดับ ตัวแปรอายุ ระดับพื้นเพทางภาษาอังกฤษ และแวดวงอาชีพมีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อประโยคที่มีการการสลับภาษาอยู่บ้าง ทว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม คำตอบที่ได้จากแบบสอบถามปลายเปิดแสดงให้เห็นว่า ความถี่ในการสัมผัสกับรูปประโยคที่มีการสลับภาษามี อิทธิพลกับทัศนคติต่อรูปประโยคที่มีการสลับภาษา ผู้สัมผัสกับรูปประโยคดังกล่าวมากผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ หรือในชีวิตประจำวันมีแนวโน้มยอมรับ รวมถึงมองรูปประโยคนั้นในเชิงบวกมากกว่าคนที่สัมผัสกับรูปประโยคดังกล่าวน้อย


University Coworking Space: กรณีศึกษา หน่วยงานสร้างนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยไทย, ปริยฉัตร สุขเจริญ Jan 2020

University Coworking Space: กรณีศึกษา หน่วยงานสร้างนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยไทย, ปริยฉัตร สุขเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมาและจุดเริ่มต้นในการจัดพื้นที่ Coworking Space ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย (2) ศึกษาความเหมือนและความแตกต่างของ Coworking Space ของแต่ละมหาวิทยาลัย และ (3) ศึกษาบทบาทสำคัญของ Coworking Space ของมหาวิทยาลัยไทย ผ่านกรณีศึกษา 5 มหาวิทยาลัย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสังเกตการณ์ใน Coworking Space ทั้ง 5 แห่ง และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวนทั้งสิ้น 31 ราย ได้แก่ 1) ผู้รับผิดชอบระดับกระทรวง 1 ราย 2) ผู้บริหาร Coworking Space 5 ราย 3) เจ้าหน้าที่ประจำ 5 ราย 4) บุคลากรในมหาวิทยาลัย 10 ราย และ 5) บุคคลภายนอกที่เข้าใช้บริการCoworking Space 10 ราย ผลการวิจัย มีดังนี้ (1) จุดเริ่มต้นของ Coworking Space ในมหาวิทยาลัยไทย ที่เปิดโอกาสให้คนนอกเข้ามาใช้บริการ มาจากความต้องการให้มี Coworking Space เป็นพื้นที่กลางเพื่อใช้ในการพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้มาใช้บริการ รวมถึงการสร้างให้เกิดเครือข่ายความสัมพันธ์ใน Coworking Space และความต้องการเชื่อมประสานระหว่างภาคมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน (2) Coworking Space ของแต่ละมหาวิทยาลัยมีทั้งความเหมือนและความต่าง จำแนกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ งบประมาณ รูปแบบการบริหารจัดการ และรูปแบบการให้บริการ ด้านงบประมาณพบว่ามหาวิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง ล้วนได้รับงบประมาณจากภายนอกทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนเหมือนกัน แต่มีรูปแบบการบริหารงบประมาณที่แตกต่างและเฉพาะตัว …


การนำแนวคิดการร่วมผลิตไปใช้ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรัง, มัลลิกา แหมะหวัง Jan 2020

การนำแนวคิดการร่วมผลิตไปใช้ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรัง, มัลลิกา แหมะหวัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำแนวคิดการร่วมผลิตไปใช้ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรัง โดยพิจารณาถึงบทบาทของตัวแสดงหลักว่าสอดคล้องกับแนวคิดร่วมผลิตหรือไม่ พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการนำแนวคิดการร่วมผลิตไปใช้ในการจัดการศึกษาในท้องถิ่น ผู้วิจัยได้เลือกเก็บข้อมูลจากโรงเรียนสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรัง ได้แก่ โรงเรียนสังกัดเทศบาลตำบล 1 แห่ง โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมือง 1 แห่ง และโรงเรียนสังกัดเทศบาลนคร 2 แห่ง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 3 แหล่ง คือ 1) ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นโยบายการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แผนปฏิบัติการต่าง ๆ ของโรงเรียน 2) การสังเกตการณ์ในวันที่มีการเรียนการสอนปกติ และ 3) การสัมภาษณ์เชิงลึกกับตัวแทนเทศบาล ผู้บริหารโรงเรียน ครู จำนวน 15 คน และตัวแทนจากสมาชิกในชุมชน ผู้ปกครอง นักเรียน จำนวน 8 คน ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ถึงมกราคม พ.ศ. 2563 ผลจากการวิจัยโดยสรุปมีดังนี้ ประการแรก การจัดการศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรังได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนที่หลากหลาย โดยมีผู้ผลิตหลัก คือ ส่วนราชการกำกับดูแล เทศบาลต้นสังกัด โรงเรียน และผู้ร่วมผลิตได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ข้าราชการในจังหวัด สมาชิกในชุมชน พระ/องค์กรศาสนา คหบดี ผู้ปกครอง ศิษย์เก่าฯ ผู้เรียน และหน่วยงานเอกชนอื่น ๆ โดยในขั้นของการร่วมริเริ่ม (Co-initiation) และขั้นการร่วมส่งมอบบริการ (Co-delivery) คณะกรรมการสถานศึกษา พระ คหบดี ศิษย์เก่า ผู้ปกครอง นักเรียน มีส่วนร่วมในระดับสูง (High) ขณะที่ในขั้นของการร่วมออกแบบ (Co-design) คณะกรรมการสถานศึกษาและบุคคลในชุมชนเป็นตัวแสดงสำคัญโดยมีส่วนร่วมในระดับกลาง (Medium) และท้ายสุดในขั้นการร่วมประเมิน (Co-assessment) มีคณะกรรมการสถานศึกษาศึกษาเป็นตัวแสดงสำคัญโดยมีส่วนร่วมในระดับต่ำ (Low) ผลการวิจัยประการที่สอง พบว่า โรงเรียนสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรังได้นำแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (School-Based Management for Local Development) มาใช้ ซึ่งส่งผลให้คณะกรรมการสถานศึกษาเป็นตัวแสดงที่มีบทบาทมากกว่าตัวแสดงอื่น ๆ เหตุเพราะมีลักษณะเป็นองค์กรที่เกิดจากการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการตามกฎหมาย จึงจัดได้ว่าการจัดการศึกษาโดยโรงเรียนเทศบาลภายใต้แนวคิดดังกล่าว เป็นการร่วมผลิตประเภทการร่วมผลิตในรูปแบบส่วนรวม …


การเมืองของกระบวนการกำหนดนโยบายน้ำของอินโดนีเซียกรณีศึกษาบริเวณ Kuta และ Sanur ในจังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย, ธนพร นิธิพฤทธิ์ Jan 2020

การเมืองของกระบวนการกำหนดนโยบายน้ำของอินโดนีเซียกรณีศึกษาบริเวณ Kuta และ Sanur ในจังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย, ธนพร นิธิพฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเกี่ยวกับความขัดแย้งด้านทรัพยากรน้ำที่เกิดขึ้นในพื้นที่บริเวณ Kuta และ Sanur ในจังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งหลังจากที่ได้มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ส่วนท้องถิ่นนั้น รัฐบาลท้องถิ่นต้องพึ่งพาหรือหารายได้ด้วยตนเองมากขึ้น โดยการหารายได้ดังกล่าวอาจจะเป็นการคำนึงถึงผลประโยชน์ของฝ่ายรัฐบาลมากเกินไป จึงส่งผลกระทบต่อทั้งตัวชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สำหรับวัตถุประสงค์ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาวิวัฒนาการของการจัดสรรทรัพยากรน้ำในพื้นที่ท้องถิ่นของประเทศอินโดนีเซีย 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแสดงที่เกี่ยวข้องในการจัดสรรทรัพยากรน้ำ 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบของกระบวนการของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือที่ใช้แก้ไขการจัดสรรทรัพยากรน้ำในพื้นที่ท้องถิ่นของประเทศอินโดนีเซีย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีสมมติฐานคือ การออกแบบเชิงสถาบัน (Institutional Design) ในการจัดการทรัพยากรน้ำ อันได้แก่ กระบวนการแสดงความคิดเห็นของชุมชน และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องที่สอดคล้องกับ deliberative democracy หรือการสร้างความสัมพันธ์ที่มีลักษณะที่เป็นแบบ Horizontal ซึ่งจะมีศักยภาพมากกว่าลักษณะที่เป็นแบบ Vertical มีแนวโน้มที่จะลดความขัดแย้งในการจัดสรรทรัพยากรน้ำในพื้นที่ได้ สำหรับการเก็บข้อมูลผู้วิจัยได้ทำการลงพื้นที่เพื่อทำการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด 4 กลุ่ม อันได้แก่ 1) กลุ่มหมู่บ้าน/ชุมชน 2) กลุ่ม NGOs 3) กลุ่มรัฐบาลท้องถิ่นที่รับผิดชอบงานด้านทรัพยากรน้ำ และ 4) กลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทั้งบริเวณ Kuta และ Sanur จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 ผลการวิจัยพบว่าในบริบทของบริเวณ Kuta และ Sanur ในจังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ถึงแม้ว่าจะมีความไม่เสมอภาคในตอนเริ่มแรก แต่ผลประโยชน์ของชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณที่ทรัพยากรน้ำขาดแคลนอย่างจริงจัง ก็ถูกเริ่มนำมาพิจารณาอย่างต่อเนื่องในเวทีการเจรจาหาทางออกร่วมกัน ดังนั้นจะตอบสมมติฐานได้ว่า องค์ประกอบที่นำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรน้ำที่เท่าเทียมและทำให้ประชาชนในท้องถิ่นบริเวณ Kuta และ Sanur ในจังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซียสามารถเข้าถึงน้ำได้อย่างเท่าเทียม ไม่เกิดสภาวะการขาดแคลนน้ำ จะประกอบไปด้วย ประการที่ 1 การที่รัฐบาลท้องถิ่นรับฟังความคิดเห็นของชุมชน ประการที่ 2 กระบวนการแก้ไขความขัดแย้งที่มีลักษณะเป็น Deliberative democracy โดยประการที่ 1 และประการที่ 2 จะเห็นได้จากการจัดตั้งคณะกรรมการด้านการบริหารจัดการน้ำ หรือ Water Management Committees (WMCs) และประการที่ 3 …


การแปลงมโนทัศน์ทางการเมืองเพื่อสร้างชาติไทยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, ชัชพันธุ์ ยิ้มอ่อน Jan 2020

การแปลงมโนทัศน์ทางการเมืองเพื่อสร้างชาติไทยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, ชัชพันธุ์ ยิ้มอ่อน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยมีจุดประสงค์ในวิเคราะห์ “การแปลงมโนทัศน์ทางการเมืองเพื่อสร้างชาติไทยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” การวิจัยประยุกษ์ใช้กรอบแนวคิด “ภาษาการเมือง” ซึ่งแสดงให้เห็นอิทธิพลของสภาพบริบทที่มีอิทธิพลต่อการนำเข้าความคิดทางการเมืองตะวันตกผ่านการทับศัพท์ แปลแปลง และการบัญญัติศัพท์ มโนทัศน์ระบอบการเมืองต่างประเทศจึงเป็นที่รับรู้และเข้าใจในประเทศสยามจนนำไปสู่การเกิดข้อเรียกร้องให้ผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองตามประเทศตะวันตก ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลงมโนทัศน์ทางการเมืองตะวันตกให้เกิดการเปลี่ยนความหมายเพื่อป้องกันพวกลัทธิเอาอย่าง และกำหนดกรอบพลเมืองให้รับรู้ว่า "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" เป็นอุดมการณ์รัฐที่เป็นทางการ


ความแตกต่างของการเสียชีวิตระหว่างเพศและภูมิภาคของประชากรวัยผู้ใหญ่ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2543-2560, ภัคจิรา น้อยจันทร์ Jan 2020

ความแตกต่างของการเสียชีวิตระหว่างเพศและภูมิภาคของประชากรวัยผู้ใหญ่ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2543-2560, ภัคจิรา น้อยจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความแตกต่างและแนวโน้มของความแตกต่างระหว่างเพศของการเสียชีวิตในแต่ละกลุ่มอายุประชากรในประเทศไทย 2) ศึกษาความแตกต่างและแนวโน้มของความแตกต่างระหว่างภาคของการเสียชีวิตในเพศชายและหญิง และ 3) ศึกษาปัจจัยเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสาธารณสุข ที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตอย่างหยาบเพศชายและหญิงในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ Burden of Disease Thailand (BOD) และ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข การวิเคราะห์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงพรรณนา และเชิงอนุมาน ในส่วนของการวิเคราะห์เชิงพรรณนาจะใช้แผนภูมิแสดงแนวโน้มของการตายในแต่ละกลุ่มอายุ เพศ และภูมิภาค โดยใช้การคำนวณมาตราวัด 3 รูปแบบ ได้แก่ อัตราส่วนระหว่างเพศของการเสียชีวิต (Sex ratio of mortality) ความแตกต่างระหว่างเพศของการเสียชีวิต (Sex differential in mortality) และ ความล่าช้าในการของอายุเพศชายและหญิง (Male and Female age delay in mortality) และการวิเคราะห์เชิงอนุมานใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multivariate analysis) ผลการศึกษา พบว่า เมื่อใช้มาตรวัดความแตกต่างระหว่างเพศของการเสียชีวิต ความแตกต่างและแนวโน้มของความแตกต่างของการเสียชีวิตระหว่างเพศชายและหญิงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามกลุ่มอายุของประชากร ในขณะที่มาตรวัดอัตราส่วนระหว่างเพศของการเสียชีวิตและอายุที่ล่าช้าในการเสียชีวิตของเพศชายและหญิงแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของการเสียชีวิตของเพศชายและหญิงที่ลดลงเมื่อประชากรมีอายุสูงขึ้น ในระดับภาคนั้น พบว่า ความแตกต่างของการเสียชีวิตของประชากรลดลงเมื่ออายุมากขึ้นในทุกภูมิภาค จากการใช้มาตรวัดอัตราส่วนระหว่างเพศของการเสียชีวิตและมาตรวัดอายุที่ล่าช้าในการเสียชีวิตของเพศชายและหญิง ในทางตรงกันข้ามเมื่อใช้มาตรวัดความแตกต่างระหว่างเพศของการเสียชีวิต ความแตกต่างของการเสียชีวิตในทุกภูมิภาคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นผันตรงกับอายุ แต่มีเพียงภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้นที่มีแนวโน้มของความแตกต่างเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ส่วนการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตอย่างหยาบเพศชายและหญิง พบว่า ตัวแปรผลิตภัณฑ์มวลรวมรายภาค จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ย ภูมิภาค (ภาคเหนือ และภาคกลาง) และปี มีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตของเพศชายและหญิงสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้


การทำงานต่ำระดับของประชากรวัยแรงงานและประชากรสูงวัยในประเทศไทย, สุกัญญา มีสกุลทอง Jan 2020

การทำงานต่ำระดับของประชากรวัยแรงงานและประชากรสูงวัยในประเทศไทย, สุกัญญา มีสกุลทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์การทำงานต่ำระดับ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานต่ำระดับ และ 3) การเข้าสู่การทำงานต่ำระดับและการปรับตัวของประชากรวัยแรงงานและประชากรสูงวัย โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานรูปแบบคู่ขนานเข้าหากัน การวิจัยเชิงปริมาณได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลโครงการสำรวจแรงงานนอกระบบ จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้กลุ่มตัวอย่าง 49,394 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกรณีตัวอย่าง 40 คน ครอบคลุม 5 ภูมิภาค ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาและสถิติอนุมานร่วมกับข้อค้นพบจากการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า การทำงานต่ำระดับของประชากรวัยแรงงานและประชากรสูงวัยกระจายตัวอยู่ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทยทั้งด้านเวลา ด้านการศึกษา และด้านรายได้ โดยมีผู้ทำงานต่ำระดับมากกว่า 1 ด้านในลักษณะซับซ้อนและซ้ำซ้อน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยแบบจำลองโพรบิทพบว่า ในภาพรวมนั้น ปัจจัยซึ่งมีผลต่อการทำงานต่ำระดับทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ สถานภาพสมรส สถานะการจ้างงาน ประเภทอาชีพ ประเภทอุตสาหกรรม ภูมิภาคที่อยู่อาศัย ในขณะที่ปัจจัยที่มีผลเฉพาะด้านการศึกษาและด้านรายได้ ได้แก่ รุ่น เพศ จำนวนปีที่ศึกษา ปัจจัยที่มีผลเฉพาะด้านเวลาและด้านการศึกษา ได้แก่ รายได้ และปัจจัยที่มีผลเฉพาะด้านรายได้ ได้แก่ เขตการปกครอง การเข้าสู่การทำงานต่ำระดับนั้นมีสาเหตุหลักและสาเหตุรองประกอบกันในลักษณะที่แตกต่างกันไป โดยอาจจัดการประกอบกันได้ 5 กลุ่ม ดังนี้ 1) การรักษาสมดุลระหว่างการทำงานกับการดูแลครอบครัวประกอบกับความไม่พึงพอใจในงานเดิม 2) การรักษาสมดุลระหว่างการทำงานกับการดูแลครอบครัวประกอบกับปัญหาสุขภาพ 3) การไม่สามารถหางานที่เหมาะสมได้ประกอบกับสาเหตุรองด้านความไม่พึงพอใจในงานเดิม ครอบครัวมีภาระหนี้สิน การออกจากระบบการศึกษากลางคัน สภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้อต่อการทำงาน ข้อจำกัดในการหางานเมื่อมีอายุมากขึ้น 4) ความพึงพอใจในงานประกอบกับสาเหตุรองด้านความไม่พึงพอใจในงานเดิม การมีปัญหาสุขภาพ ครอบครัวมีภาระหนี้สิน และ 5) ความพึงพอใจในงานประกอบกับปัญหาสุขภาพ ทั้งนี้ ภายหลังเข้าสู่การทำงานต่ำระดับพบการปรับตัวของทั้งประชากรวัยแรงงานและประชากรสูงวัยใน 2 ลักษณะ คือ 1) การไม่ปรับตัว และ 2) การปรับตัวด้านจิตใจ ด้านการทำงาน ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม รวมถึงพบการปรับตัวของบุคคลใกล้ชิด ได้แก่ ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน นายจ้าง อย่างไรก็ตาม เมื่อพ้นช่วงการปรับตัวนั้น ทั้งประชากรวัยแรงงานและประชากรสูงวัยยังมีความเสี่ยงต่อเนื่องทั้งด้านการทำงานและการดำรงชีวิต ดังนั้น …


ความเป็นแม่เชิงเทคโน : การประกอบสร้างเชิงภววิทยาของความเป็นแม่, ปาณิภา สุขสม Jan 2020

ความเป็นแม่เชิงเทคโน : การประกอบสร้างเชิงภววิทยาของความเป็นแม่, ปาณิภา สุขสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่มีส่วนสำคัญต่อการประกอบสร้างความเป็นแม่ของมนุษย์ให้มีลักษณะซับซ้อนและก้าวข้ามความเป็นมนุษย์ สิ่งเหล่านี้เรียกร้องกรอบแนวคิดใหม่ที่ไม่ใช่แต่เป็นเพียงการประกอบสร้างในเชิงความหมายทางสังคม หากแต่รวมไปถึงภววิทยาของความเป็นแม่ที่ถูกสร้างขึ้นด้วย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจบทบาทของเทคโนโลยีในกระบวนการสร้างความเป็นแม่ และติดตามปฏิบัติการของการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี ที่ส่งผลให้ความเป็นแม่ก้าวข้ามภววิทยาของความเป็นมนุษย์ออกไป ผู้วิจัยนำเสนอเครื่องมือเชิงวิเคราะห์แบบใหม่ผ่านมุมมองแบบหลังมนุษยนิยม และทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำ และใช้วิธีวิทยาแบบมาตุพันธุ์วรรณาเชิงเทคโน (techno-maternography) เพื่อทำความเข้าใจความเป็นแม่ที่ถูกสร้างขึ้นโดยมีผู้กระทำที่เป็นมนุษย์และเทคโนโลยีเข้ามาร่วมปฏิบัติการ เทคโนโลยีที่ใช้เป็นกรณีศึกษาได้แก่ เทคโนโลยีเพื่อการเจริญพันธุ์ เทคโนโลยีเชิงวัตถุสำหรับเลี้ยงดูลูก และเครือข่ายเชิงเทคโนที่สร้างการสนับสนุนแม่ งานวิจัยเสนอว่า เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นแม่ดำรงอยู่ในหลายรูปแบบ ซึ่งการดำรงอยู่ในแต่รูปแบบสามารถแสดงศักยภาพในฐานะผู้กระทำ โดยช่วยให้มนุษย์ก้าวข้ามข้อจำกัดของตัวเองทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ปฏิบัติการของเทคโนโลยีมีบทบาทอย่างมากในประกอบสร้างความเป็นแม่ให้กลายมาเป็น "ความเป็นแม่เชิงเทคโน" ซึ่งเป็นภววิทยาแบบหนึ่งที่มีรูปแบบที่ไม่ตายตัว และสามารถปรับเปลี่ยนไปตามองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เข้ามาร่วมประกอบสร้าง ภววิทยาของความเป็นแม่เชิงเทคโนสามารถอยู่ในรูปแบบที่เป็นทั้งภววิทยาเชิงพื้นที่ ภววิทยาเชิงวัตถุ และภววิทยาเชิงเครือข่าย การศึกษาปฏิบัติการของเทคโนโลยีที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการประกอบสร้างความเป็นแม่สะท้อนให้เห็นว่า การประกอบสร้างความเป็นแม่ไม่ใช่สิ่งที่ถูกสร้างจากตัวแสดงที่เป็นมนุษย์เท่านั้น หากแต่ตัวแสดงที่ไม่ใช่มนุษย์อย่างเทคโนโลยีก็มีส่วนในการสร้าง กำกับ และเปลี่ยนแปลงความเป็นแม่ได้ ความเป็นแม่ที่เคยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางและเกี่ยวข้องกับความเป็นอัตวิสัย จึงเป็นเรื่องที่มีวัตถุและสิ่งอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องหรือมีความเป็นวัตถุวิสัยร่วมอยู่ด้วยเสมอ ความเป็นแม่เป็นสิ่งที่ถูกประกอบสร้างและมีลักษณะความเป็นสัมพัทธ์นิยม อีกทั้งไม่ได้ถูกจำกัดแต่เพียงการสร้างทางสังคมในเชิงความหมายแบบเดิมอีกต่อไป


กลไกการหลอกลวงต่อการใช้เครื่องสำอางปลอมในกลุ่มพริตตี้, ณฐมน นวมนาคะ Jan 2020

กลไกการหลอกลวงต่อการใช้เครื่องสำอางปลอมในกลุ่มพริตตี้, ณฐมน นวมนาคะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการหลอกลวงเครื่องสําอางปลอมในกลุ่มพริตตี้ โดยศึกษา พฤติกรรมการเลือกเครื่องสําอางของพริตตี้ที่แตกต่างในแต่ละกลุ่ม เพื่อให้ เกิดความรู้ ความเข้าใจว่าเหตุใด เครื่องสําอางปลอมยังคงเป็นที่นิยมอยู่ในสังคมไทย และเหตุใดในกลุ่มพริตตี้ มีการใช้เครื่องสําอางปลอมเหล่านี้ และให้แนวทางป้องกันการตกเป็นเหยื่อของพริตตี้จากกลไกการ หลอกลวงเครื่องสําอางปลอม งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคการเก็บข้อมูล สัมภาษณ์ แบบเจาะลึกในพริตตี้ทั้งหมด 15 คน โดยแบ่งประเภทผู้ให้สัมภาษณ์ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 7 คน และอีก 1 คน โดยกลุ่มแรก เรียกว่า กลุ่มพริตตี้ที่ใช้เครื่องสําอางปลอมเป็น ประจำ กลุ่มที่สองเรียกว่า กลุ่มพริตตี้ที่ไม่ใช้เครื่องสําอางปลอมเป็นประจำ และอีก 1 คน คือ พริตตี้ที่ไม่เคยใช้เครื่องสําอางปลอม จากการศึกษาพบว่า กลุ่มพริตตี้ที่ใช้เครื่องสําอางปลอมเป็น ประจำมีความเสี่ยง และมีผลกระทบมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น โดยจาก กลุ่มตัวอย่างกลุ่มนี้ 7 รายมีผลกระทบเกิดขึ้น 4 ราย ในขณะเดียวกันกลุ่มที่ไม่ใช้เครื่องสําอางปลอม เป็นประจำ มี ทั้งหมด 7 คน แต่ได้รับผลกระทบ 1 ราย ดังนั้นหากพริตตี้มีการใช้เครื่องสําอางปลอมเป็นประจำ ความเสี่ยงก็จะมีมากขึ้นในส่วนของผลกระทบที่จะเกิด นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่า กลไกการหลอกลวง ในเครื่องสําอางปลอมเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ 1. การใช้ค่านิยมของสังคม 2. การใช้สื่อโฆษณาชวนเชื่อ 3. การพิจารณาจากบุคคลต่างๆ เช่น ผู้มีชื่อเสียงในสังคม หรือการให้ความเห็นจากบุคคลอื่น 4.การเชื่อถือบุคคลรอบข้างเพื่อน บุคคลใกล้ชิดโดยเป็นส่วนสำคัญอย่างมาก ที่ส่งผลต่อกลุ่มพริตตี้ยังคงเป็นเหยื่อในเครื่องสําอางปลอม


การเปลี่ยนผ่านของสัญศาสตร์แห่งชนชั้นในพิธีการไหว้บรรพบุรุษในเทศกาลเช็งเม้ง: กรณีศึกษาคนไทยเชื้อสายจีน อำเภอเบตง จังหวัดยะลา, อธิพร เรืองทวีป Jan 2020

การเปลี่ยนผ่านของสัญศาสตร์แห่งชนชั้นในพิธีการไหว้บรรพบุรุษในเทศกาลเช็งเม้ง: กรณีศึกษาคนไทยเชื้อสายจีน อำเภอเบตง จังหวัดยะลา, อธิพร เรืองทวีป

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเปลี่ยนผ่านของสัญศาสตร์แห่งชนชั้นในพิธีการไหว้บรรพบุรุษในเทศกาลเช็งเม้ง: กรณีศึกษาคนไทยเชื้อสายจีน อำเภอเบตง จังหวัดยะลา การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมองผ่านมุมมองสัญศาสตร์และชนชั้นทางสังคม กลุ่มตัวอย่างพิจารณาจากคนไทยเชื้อสายจีน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเจเนอเรชันเบบี้บูมเมอร์และกลุ่มเจเนอเรชันเอ็กซ์ในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ใช้การสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วมเพื่อเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า การให้ภาพสัญญะและการให้ความหมายภายใต้การประกอบพิธีเช็งเม้ง มีการให้สัญญะจากอัตลักษณ์ของความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์จีนกวางไสในพื้นที่เบตง สิ่งนี้นำไปสู่ความเฉพาะทางวัฒนธรรม ทั้งเรื่องอาหาร การใช้ภาษา ความเชื่อ ขั้นตอนการประกอบพิธีและลักษณะเฉพาะของสุสานตำบลยะรม สัญญะภายใต้การประกอบพิธีเช็งเม้งจึงแตกต่างจากพื้นที่อื่น ซึ่งสร้างชนชั้นทางสังคมจากการมีทุนที่แตกต่างกัน อันนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านการประกอบสร้างความหมาย การวิจัยพบว่าการเปลี่ยนผ่านเป็นผลมาจากการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยที่มีปัจจัยทางสังคมที่แตกต่างกัน ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่าน 4 ประเด็น คือ 1) การลดขั้นตอนการทำพิธี 2) ประเภทอาหาร 3) การฝังศพสู่การเผาศพ 4) ป้ายฮวงซุ้ย นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่าชนชั้นทางสังคมที่แฝงอยู่ภายใต้การประกอบพิธีเช็งเม้ง เป็นชนชั้นทางสังคมภายใต้ข้อจำกัดในเรื่องทุน ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการให้ความหมายสัญญะต่อสิ่งของ วัตถุและบทบาททางเพศที่ต่างกัน จากปัจจัย 4 ประการ คือ 1) การประกอบอาชีพ 2) ฐานะทางเศรษฐกิจ 3) ระดับการศึกษา 4) การเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามสิ่งของบางประเภทไม่ได้มีนัยยะสำคัญในเรื่องชนชั้นทางสังคมในทุกครอบครัวของคนไทยเชื้อสายจีน การศึกษานี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าสัญญะและชนชั้นทางสังคมที่อยู่ภายใต้การประกอบพิธีเช็งเม้ง ควรพิจารณาปัจจัยทางสังคม ความแตกต่างของพื้นที่และอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์จีนที่ต่างกัน


ทัศนคติต่อการขยายอายุเกษียณการทำงานในมุมมองของแต่ละรุ่นวัย: กรณีศึกษาบริษัทยานยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา, พนิตชญา ลิ้มศิริ Jan 2020

ทัศนคติต่อการขยายอายุเกษียณการทำงานในมุมมองของแต่ละรุ่นวัย: กรณีศึกษาบริษัทยานยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา, พนิตชญา ลิ้มศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง "ทัศนคติต่อการขยายอายุเกษียณการทำงานในมุมมองของแต่ละรุ่นวัย: กรณีศึกษาบริษัทยานยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา" มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาทัศนคติของพนักงานบริษัทยานยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมาต่อโครงการขยายอายุเกษียณการทำงานของพนักงานอาวุโส ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการทำงานต่อของพนักงานบริษัทยานยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมาเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น และเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาโครงการขยายอายุเกษียณการทำงานของพนักงานอาวุโสของบริษัทยานยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมาเพื่อรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งหนึ่ง จำนวน 148 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากร 1 กลุ่มการวิเคราะห์ความเป็นอิสระ 2 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) พนักงานบริษัทยานยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมามีทัศนคติในระดับเห็นด้วยต่อการขยายอายุเกษียณการทำงานของพนักงานอาวุโส 2) อายุ สถานภาพสมรส ระดับรายได้ ภาวะสุขภาพ และภาวะการออมที่แตกต่างกัน ส่งผลให้บุคคลมีทัศนคติต่อการขยายอายุเกษียณการทำงานของพนักงานอาวุโสแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 สำหรับเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และการมีบุคคลภายใต้ความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน ไม่ได้ทำให้กลุ่มพนักงานบริษัทยานยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมามีทัศนคติต่อการขยายอายุเกษียณของพนักงานอาวุโสแตกต่างกัน 3) ปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรม (society & culture) ประกอบไปด้วย สภาพแวดล้อมรอบตัว และสภาพทางเศรษฐกิจ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อทัศนคติต่อการขยายอายุเกษียณของพนักงานอาวุโส 4) ปัจจัยทางด้านการจัดการขององค์การ (organization management) ประกอบไปด้วย โอกาสก้าวหน้าในทางการงาน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงานของผู้สูงอายุ และลักษณะของงาน มีอิทธิพลเชิงบวกต่อทัศนคติต่อการขยายอายุเกษียณของพนักงานอาวุโส และ 5) ปัจจัยทางด้านความต้องการทางจิตใจและสังคม (psychological needs) ประกอบไปด้วย ความจำเป็นและความต้องการ และความสัมพันธ์ทางสังคมและการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม มีอิทธิพลเชิงบวกต่อทัศนคติต่อการขยายอายุเกษียณของพนักงานอาวุโส สำหรับในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า พนักงานบริษัทยานยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมาเห็นพ้องกันว่าโครงการขยายอายุเกษียณของพนักงานอาวุโสเป็นความพยายามที่ดีในการช่วยเหลือแรงงานสูงอายุ แต่ในการนำนโยบายดังกล่าวมาใช้อาจมีอุปสรรคในการดำเนินการ เช่น ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นขององค์การ ซึ่งเป็นหน้าที่ขององค์การที่จะต้องพิจารณาผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำงานของพนักงานอาวุโส ดังนั้นหากมีการพิจารณาแล้วพบว่าองค์การจะยังได้รับผลประโยชน์จากการทำงานของพนักงานอาวุโสอยู่ องค์การหรือผู้ที่เกี่ยวข้องก็ควรที่จะทำการศึกษาเกี่ยวกับนโยบายการขยายอายุเกษียณการทำงานเพิ่มเติม และปฏิบัติตามอย่างเหมาะสม