Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 2161 - 2190 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การเปิดรับข่าวสาร ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจใช้บริการธนาคารรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง, หนึ่งฤทัย โฉมมณี Jan 2019

การเปิดรับข่าวสาร ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจใช้บริการธนาคารรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง, หนึ่งฤทัย โฉมมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจการเปิดรับข่าวสาร ภาพลักษณ์ และอธิบายอิทธิพลของภาพลักษณ์ต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จำนวน 400 ชุด ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความถี่ในการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับธนาคารรัฐวิสาหกิจในระดับเปิดรับเป็นบางครั้ง ทั้งนี้สื่อที่เปิดรับบ่อย ๆ ได้แก่ เว็บไซต์ของธนาคาร จอภาพเครื่องกดเงินเอทีเอ็ม ป้ายโฆษณาหน้าสาขา จอภาพเครื่องรับฝากเงินสดอัตโนมัติ โฆษณาทางโทรทัศน์ และ ข่าวในโทรทัศน์ ภาพลักษณ์ของธนาคารรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังโดยรวมเป็นภาพลักษณ์เชิงบวก และการตัดสินใจใช้บริการธนาคารรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังหรือการใช้บริการซ้ำในระดับสูง และตัดสินใจแนะนำต่ออยู่ในระดับสูงเช่นกัน ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ว่า 1) การเปิดรับข่าวสารธนาคารรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง มีความสัมพันธ์กับภาพลักษณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้ เป็นความสัมพันธ์ในระดับปานกลางและมีทิศทางแปรตามกัน 2) ภาพลักษณ์ธนาคารรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการ และการแนะนำต่อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้ เป็นความสัมพันธ์ในระดับปานกลางและมีทิศทางแปรตามกัน 3) ภาพลักษณ์ธนาคารรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังด้านองค์กร (β = 0.307) และ ภาพลักษณ์ด้านสินค้าและบริการ (β = 0.185) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ภาพลักษณ์ธนาคารรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังด้านองค์กร (β = 0.396) และภาพลักษณ์ด้านสินค้าและบริการ (β = 0.279) มีอิทธิพลต่อการแนะนำต่อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


อนุภาค แบบเรื่องและการดัดแปลงละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพ เรื่อง “ทวิภพ” และ “บุพเพสันนิวาส”, พัชรี จันทร์ทอง Jan 2019

อนุภาค แบบเรื่องและการดัดแปลงละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพ เรื่อง “ทวิภพ” และ “บุพเพสันนิวาส”, พัชรี จันทร์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อนุภาค แบบเรื่อง ตลอดจนกลวิธีการดัดแปลงละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพเรื่อง “ทวิภพ” และ “บุพเพสันนิวาส” ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบท โดยสร้างแบบวิเคราะห์ตัวบทนวนิยายและละครโทรทัศน์ เรื่อง ทวิภพ และ บุพเพสันนิวาส พร้อมทั้งเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากผู้ประพันธ์นวนิยาย ผู้ประพันธ์บทละคร และผู้กำกับการแสดงจากละครทั้งสองเรื่อง ก่อนนำข้อมูลมาตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าเพื่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า 1) ละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพเรื่อง ทวิภพ และบุพเพสันนิวาส ประกอบด้วยอนุภาคจำนวน 3 กลุ่ม คือ อนุภาคที่สอดคล้องกับอนุภาคสากล อนุภาคที่คล้ายกับอนุภาคสากล และอนุภาคที่ไม่สอดคล้องกับอนุภาคสากล หรือ อนุภาคแบบไทย ซึ่งมีความสอดคล้องกับความเชื่อและวัฒนธรรมไทย 2) ละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพเรื่อง ทวิภพ และ บุพเพสันนิวาส มีกลวิธีการเล่าเรื่องแบบโครงเรื่องเชิงเส้น (linear plot) ที่เล่าเรื่องแบบสลับเหตุการณ์อดีตกับปัจจุบัน โดยมุ่งนำเสนอเรื่องราวในอดีตเป็นสำคัญ ซึ่งจากการศึกษาแบบเรื่องพบว่ารูปแบบของละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพจะประกอบด้วยองค์ประกอบตามลำดับดังนี้ การเดินทางย้อนเวลา การปรับตัวเพื่อดำรงอยู่ ภารกิจที่ต้องทำในอดีต เหตุการณ์ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื้อคู่อยู่ในอดีต ความขัดแย้งระหว่างตัวละครกับสังคม การยอมรับจากผู้นำในสังคมอดีต และการตัดสินใจของตัวละครหลัก 3) ละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพ เป็นละครที่เล่าเรื่องเหตุการณ์จากจินตนาการเชื่อมโยงไปกับลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ โดยสร้างเหตุการณ์บางอย่างให้ตัวละครหลัก จำเป็นต้องเดินทางย้อนเวลาไปในอดีต ดังนั้นเมื่อนำนวนิยายประเภทดังกล่าวมาดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ คณะผู้ผลิตละครจึงต้องศึกษาข้อมูลประวัติศาสตร์โดยละเอียดเพื่อนำมาประกอบใช้เป็นข้อมูลในการสร้างสรรค์ละคร และเนื่องจากขนาดความยาวของเรื่องเล่าในนวนิยายมักมีจำนวนที่ไม่เพียงพอต่อการเล่าเรื่องเป็นละคร ดังนั้นกลวิธีการดัดแปลงนวนิยายสู่ละครโทรทัศน์จึงประกอบด้วย การขยายองค์ประกอบด้านโครงเรื่อง การขยายองค์ประกอบด้านตัวละคร และการดัดแปลงด้านภาษาหรือบทสนทนา


ความทรงจำร่วมในละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ของไทย, สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ Jan 2019

ความทรงจำร่วมในละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ของไทย, สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง “ความทรงจำร่วมในบทละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ของไทย” เป็นการศึกษาเนื้อหาความทรงจำร่วมและกลวิธีการนำเสนอความทรงจำร่วมในละครอิงประวัติศาสตร์ของไทย ตลอดจนการรับรู้ความทรงจำร่วมของผู้ชมละครโทรทัศน์ ภายใต้กรอบแนวคิดความทรงจำร่วมในละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ของไทยจำนวน 22 เรื่อง 31 เวอร์ชัน และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สร้างสรรค์ละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ด้านต่าง ๆ ตลอดจนผู้ชมที่ชื่นชอบละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ รวมทั้งสิ้น 31 คน จากการศึกษาพบว่าละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ของไทยมีการนำสนอเนื้อหาความทรงจำร่วมด้วยการผลิตซ้ำ ต่อรอง ลบเลือน สร้างหรือรื้อฟื้นความทรงจำอยู่เสมอแบ่งได้ 7 ยุคสมัย ได้แก่ ยุคประกาศอิสรภาพ ยุคทองของกรุงศรีอยุธยา ยุคกรุงแตก ยุคสร้างบ้านแปงเมือง ยุคสยามยามเปลี่ยนผ่าน ยุคอภิวัฒน์สยามถึงสงครามมหาเอเชียบูรพา และยุคเรียกร้องประชาธิปไตย มีกลวิธีการเล่าเรื่อง 5 แนว ได้แก่ แนวยอพระเกียรติ แนวบ้านเมืองร่มเย็น แนวเสียเลือดเสียเนื้อ แนวอุดมการณ์เหนือความรัก และแนวข้ามภพข้ามชาติ อีกทั้งใช้การประกอบสร้างและการสื่อความหมายผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ขั้นตอนต่าง ๆ โดยมากมักแฝงด้วยอุดมการณ์ชาตินิยมหรือราชาชาตินิยมและใช้มุมมองแบบเมืองหลวงเป็นศูนย์กลาง ความทรงจำร่วมในละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ของไทยนิยมผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ในสถานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เปี่ยมด้วยบุญญาธิการ และปกครองบ้านเมืองให้สงบสุขร่มเย็นภายใต้กรอบประวัติศาสตร์แห่งชาติหรือเรื่องเล่าแม่บท ตลอดจนมโนทัศน์หลักและคุณค่าต่าง ๆ ซึ่งถูกควบคุมโดยรัฐให้ทำหน้าที่ตอกย้ำอุดมการณ์ว่าด้วยลัทธิความภักดีและค้ำจุนอำนาจของชนชั้นนำในสังคม


กลยุทธ์การสื่อสารภายในองค์กรในภาวะวิกฤตของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย, ภวินท์ ศรีเกษมสุข Jan 2019

กลยุทธ์การสื่อสารภายในองค์กรในภาวะวิกฤตของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย, ภวินท์ ศรีเกษมสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสารภายในองค์กร การออกแบบสาร ช่องทางการสื่อสารภายในองค์กร รวมถึงแนวทางในการสื่อสารในภาวะวิกฤตของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีระเบียบวิธีวิจัยคือ การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) ผู้ที่รับผิดชอบในด้านการสื่อสารองค์กร และผู้รับสารของแต่ละองค์กร ประกอบด้วย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ ยังได้สัมภาษณ์นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม รวมทั้งสิ้น 20 ราย ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์การสื่อสารภายในองค์กรในภาวะวิกฤต ประกอบด้วย กลยุทธ์การสื่อสารและกลยุทธ์การโน้มน้าวใจ โดยกลยุทธ์การสื่อสาร ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ย่อย คือ กลยุทธ์ผู้ส่งสาร กลยุทธ์การสร้างสาร กลยุทธ์การใช้สื่อ และกลยุทธ์ผู้รับสาร โดยทั้ง 3 องค์กร มีกลยุทธ์การสื่อสารภายในองค์กรในภาวะวิกฤตที่ไม่แตกต่างกัน รวมถึงการออกแบบสารและช่องทางการสื่อสารภายในองค์กร ในด้านของแนวทางการสื่อสารในภาวะวิกฤต ปตท. มีแนวทางการสื่อสารที่ชัดเจน ผ่านการตั้งศูนย์บริหารจัดการภาวะวิกฤตตามระดับความรุนแรง 3 ระดับ ขณะที่ ทอท. มีการจัดตั้งศูนย์รับมือภาวะวิกฤตเช่นกัน แต่ไม่ได้ระบุถึงแนวทางที่ชัดเจน และธนาคารกรุงไทย มีคู่มือเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความรุนแรงของภาวะวิกฤต โดยไม่ได้มีการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการแต่อย่างใด


การได้รับการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพของสตรีตั้งครรภ์ในประเทศไทย, ฉัตรกมล พีรปัญญาวรานันท์ Jan 2019

การได้รับการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพของสตรีตั้งครรภ์ในประเทศไทย, ฉัตรกมล พีรปัญญาวรานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การฝากครรภ์ที่มีคุณภาพส่งผลให้สุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกมีความปลอดภัย โดยมีส่วนสำคัญในการลดอัตราการตายของมารดา ตลอดจนส่งเสริมให้ทารกมีน้ำหนักแรกคลอดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และมีสุขภาวะที่ดีในตลอดช่วงวัย การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ และองค์ประกอบของการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพของสตรีตั้งครรภ์ในประเทศไทย ตามกรอบแนวคิดขององค์การอนามัยโลก ซึ่งประกอบด้วย 1) การได้รับการฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ 2) การได้รับการฝากครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ 5 ครั้ง และ 3) การได้รับการฝากครรภ์จากแพทย์ หรือพยาบาลวิชาชีพและการผดุงครรภ์ ซึ่งใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีวัยเจริญพันธุ์ในประเทศไทย พ.ศ. 2558-2559 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุระหว่าง 15-49 ปี ที่คลอดบุตรคนสุดท้องภายใน 2 ปีก่อนการสัมภาษณ์ จำนวนทั้งสิ้น 2,092 คน และทำการวิเคราะห์ด้วยการถดถอยโพรบิท ผลการศึกษาพบว่า อายุขณะตั้งครรภ์บุตร ลำดับของบุตร ความต้องการมีบุตร อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุ เพศของหัวหน้าครัวเรือน ระดับสถานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือน ระดับการศึกษา ศานาที่นับถือ การเรียนเรื่องเพศศึกษาในโรงเรียน และพื้นที่อยู่อาศัย ส่งอิทธิพลต่อการได้รับการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ และองค์ประกอบของการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพที่แตกต่างกัน ฉะนั้น จึงนำไปสู่แนวทางการสนับสนุนให้สตรีตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพจากภาครัฐ ผ่านแนวทางการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านสาธารณสุขในเชิงพื้นที่ ควบคู่กับการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ตรงจุด


ความสัมพันธ์ระหว่างแรงบีบมือและความชุกโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะสมองเสื่อม และภาวะพึ่่งพิงในกิจวัตรประจำวันในผู้สูงอายุไทย, อรวรรณ ประสิทธิ์ศิริผล Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างแรงบีบมือและความชุกโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะสมองเสื่อม และภาวะพึ่่งพิงในกิจวัตรประจำวันในผู้สูงอายุไทย, อรวรรณ ประสิทธิ์ศิริผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคหลายชนิดและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในผู้สูงอายุสามารถป้องกันได้โดยการคัดกรองโรคเบื้องต้นและการใช้มาตรการที่เหมาะสม แรงบีบมือเป็นมาตรวัดที่ใช้งานง่ายและราคาไม่สูง และมาตรวัดนี้ผ่านการทดสอบความตรงในงานวิจัยหลายชิ้นว่าเป็นมาตรวัดที่เหมาะสมในการคัดกรองโรคหลายชนิดซึ่งให้ผลการศึกษาที่เด่นชัดในผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีงานวิจัยไม่มากนักที่ศึกษาความแตกต่างของมาตรวัดแรงบีบมือ รวมถึงการศึกษาว่ามาตรวัดเหล่านี้ความสัมพันธ์กับโรคหัวและหลอดเลือดและภาวะสมองเสื่อมมากน้อยเพียงใด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมาตรวัดแรงบีบมือสามมาตรวัด (แรงบีบมือสัมบูรณ์ แรงบีบมือสัมพัทธ์ต่อน้ำหนักร่างกาย และแรงบีบมือสัมพัทธ์ต่อดัชนีมวลกาย) กับความชุกของโรคสามชนิด ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะสมองเสื่อม และภาวะพึ่งพิงในกิจวัตรประจำวัน รวมถึงค้นหามาตรวัดของแรงบีบมือที่เหมาะสมกับแต่ละโรคมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีการค้นหาปัจจัยเศรษฐกิจและสังคมและปัจจัยพฤติกรรมสุขภาพที่มีความสัมพันธ์มาตรวัดของแรงบีบมือทั้งสามมาตรวัด ข้อมูลของการศึกษานี้มาจากตัวอย่างอายุ 60 ปีขึ้นไปของการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-52 ผลการศึกษาบ่งชี้ความสัมพันธ์ทางลบระหว่างมาตรวัดแรงบีบมือทั้งสามมาตรวัดและความชุกของโรค รวมถึงความแปรปรวนของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในเพศ เมื่อพิจารณาค่าถ่วงน้ำหนักอาไคเคะ แรงบีบมือสัมพัทธ์ต่อน้ำหนักร่างกายเป็นมาตรวัดของแรงบีบมือที่ดีที่สุดสำหรับความชุกของโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งผู้สูงอายุชายและหญิง สำหรับภาวะสมองเสื่อมและภาวะพึ่งพิงในกิจวัตรประจำวัน มาตรวัดของแรงบีบมือที่ดีที่สุดสำหรับผู้สูงอายุชายคือ แรงบีบมือสัมบูรณ์ ส่วนผู้สูงอายุหญิงคือ แรงบีบมือสัมพัทธ์ต่อดัชนีมวลกาย ส่วนการศึกษาค่าจุดตัดที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุชายและหญิงที่สามารถจำแนกระหว่างผู้ที่มีภาวะปกติกับผู้ที่เป็นโรคด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ Receiver Operating Characteristic (ROC) นั้น ผลการศึกษาพบว่า ค่าอำนาจจำแนกโรคอยู่ในระดับต่ำมากถึงพอใช้ (AUC= 54.9% – 74.9%) นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นเมื่อควบคุมตัวแปรอื่นให้คงที่แล้ว พบว่า การศึกษา สถานะการทำงาน รายได้ พื้นที่อาศัย ภูมิภาค และกิจกรรมทางกายมีความสัมพันธ์กับแรงบีบมือของผู้สูงอายุชายอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ สถานะการทำงาน รายได้ ภูมิภาค การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับแรงบีบมือของผู้สูงอายุหญิงอย่างมีนัยสำคัญ ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการศึกษาคือ แรงบีบมือเป็นเครื่องมือคัดกรองที่มีประโยชน์และควรนำไปใช้ร่วมกับโปรแกรมตรวจคัดกรองปกติ นอกจากความสัมพันธ์ทางบวกของสถานะทำงานกับแรงบีบมือพบในผู้สูงอายุชายและหญิง สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลควรส่งเสริมการจ้างงานในผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับสุขภาพทางกายและจิตของผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ควรมีการศึกษาครั้งต่อไปในสถานบริการทางคลินิคเพื่อยืนยันผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษา


การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อการทำแผนที่การปกคลุมแหล่งหญ้าทะเลและประมาณค่ามวลชีวภาพแหล่งหญ้าทะเล: กรณีศึกษา หมู่บ้านร็อคการ์เด้นท์ จังหวัดระยอง, ปิยะพร ประกอบผล Jan 2019

การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อการทำแผนที่การปกคลุมแหล่งหญ้าทะเลและประมาณค่ามวลชีวภาพแหล่งหญ้าทะเล: กรณีศึกษา หมู่บ้านร็อคการ์เด้นท์ จังหวัดระยอง, ปิยะพร ประกอบผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หญ้าทะเลมีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเลและทรัพยากรชายฝั่ง เพราะหญ้าทะเลเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเล เป็นแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตในทะเล นอกจากนี้หญ้าทะเลช่วยให้มีการตกตะกอนจึงช่วยลดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้ อย่างไรก็ตามปัจจุบันพื้นที่หญ้าทะเลทั่วโลกกำลังลดลง การพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่ง ทำให้น้ำทะเลมีคุณภาพลดลงและส่งผลต่อการเจริญเติบโตของหญ้าทะเล การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับในการจำแนกพื้นที่หญ้าทะเล ประเมินพื้นที่ปกคลุม และประมาณค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินของหญ้าทะเล โดยมีพื้นที่ศึกษาอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลหมู่บ้านร็อคการ์เด้นท์ จังหวัดระยอง ผลการศึกษาพบว่า การจำแนกประเภทข้อมูลแบบควบคุมด้วยเทคนิค Maximum Likelihood มีความถูกต้องโดยรวมสูงกว่าการจำแนกประเภทข้อมูลแบบไม่ควบคุมด้วยเทคนิค Iso Cluster เมื่อนำค่าการสะท้อนของช่วงคลื่นที่ได้จากภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับไปวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยคัดเลือกตัวแปรแบบอิสระด้วยวิธี Stepwise เพื่อหาช่วงคลื่นที่มีความสัมพันธ์กับค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินที่ได้จากภาคสนาม พบว่า ค่าการสะท้อนของช่วงคลื่นขอบแดง (Red Edge) มีความสัมพันธ์กับค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากนั้นจึงนำข้อมูลไปสร้างสมการเพื่อใช้ทำนายค่า พบว่า ค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินที่คำนวณได้จากพื้นที่ 6.56 ไร่ คือ 3,363.76 kgDW ผลการศึกษาสรุปได้ว่า สามารถใช้ภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับในการจำแนก ประเมินพื้นที่หญ้าทะเล และประมาณค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินของหญ้าทะเลได้ ผลการวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของหญ้าทะเลในพื้นที่อื่นที่มีลักษณะทางระบบนิเวศใกล้เคียงได้


การประยุกต์ใช้เครื่องสแกนเลเซอร์ภาคพื้นดินสามมิติเพื่อติดตามการชะล้างพังทลายแบบร่องธาร, จันทร์จิรา สารสำเร็จ Jan 2019

การประยุกต์ใช้เครื่องสแกนเลเซอร์ภาคพื้นดินสามมิติเพื่อติดตามการชะล้างพังทลายแบบร่องธาร, จันทร์จิรา สารสำเร็จ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ใช้เครื่องสแกนเลเซอร์สามมิติภาคพื้นดิน (3D Terrestrial Laser Scanner) ศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงสัณฐานวิทยาของร่องธารและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางกายภาพกับการชะล้างแบบร่องธาร ผู้วิจัยติดตามการเปลี่ยนแปลงของร่องธารบนพื้นที่ลาดชันระหว่าง 30%-60% ในสวนปาล์มและสวนยางพารา ในอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ทั้งสิ้น 6 ร่องธาร โดยใช้เครื่องสแกนเลเซอร์ภาคพื้นดินเก็บข้อมูลลักษณะสัณฐานของร่องธารแบบสามมิติ ครอบคลุมพื้นที่ 2 x 5 ตารางเมตร ระหว่างเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 8 ครั้ง และนำมาสร้างแบบจำลองระดับความสูงภูมิประเทศเชิงเลข (Digital Elevation Model : DEM) ความละเอียดจุดภาพ 1 เซนติเมตร ผลการวิจัยพบว่าร่องธารในสวนยางพาราสูญเสียดินสุทธิมากกว่าร่องธารในสวนปาล์มน้ำมัน ร่องธารในสวนยางพารามีปริมาณการสูญเสียดินสุทธิเท่ากับ 1,234.17 (Rubber A), 1,508.02 (Rubber B) และ 1,290.05 (Rubber C) ลบ.ซม. ในขณะในสวนปาล์มน้ำมัน มีปริมาณการสูญเสียดินสุทธิเท่ากับ 1,244.07 (Palm A) และ 1,203.97 (Palm B) ลบ.ซม. และมี 1 แห่ง มีปริมาณดินสุทธิเพิ่มขึ้น 0.63 (palm C) ลบ.ซม. ร่องธารในสวนยางพารามีการสูญเสียดินมากกว่าในสวนปาล์ม เนื่องจากปาล์มมีระบบรากฝอยกระจายอยู่บริเวณผิวดินลดความรุนแรงของกระแสน้ำได้ต่างจากระบบรากแก้วของยางพาราที่มีขนาดรากใหญ่และลึกลงใต้ผิวดินเมื่อเกิดการไหลบ่าของน้ำหน้าดินจึงเกิดการสูญเสียดินมากกว่า นอกจากนี้ร่องธารที่มีการสูญเสียหน้าดินสุทธิสูงสุดเป็นร่องธารที่มีดัชนีกำลังการไหลของน้ำ (Stream Power Index: SPI) สูงสุดทั้งในสวนยางพาราและสวนปาล์ม และยังพบว่าปริมาณการสูญเสียหน้าดินสัมพันธ์เชิงบวกกับจำนวนวันฝนตก (r = 0.69-0.99) และปริมาณฝนรวม (r = 0.68-0.99) ค่อนข้างสูง ยกเว้นร่องธาร A ในสวนปาล์มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดสัมพันธ์เชิงบวกกับความเข้มฝนสูงสุด (r = 0.98)


ความผูกพันในองค์การของบุคลากรประเภทลูกจ้างเหมาบริการในหน่วยราชการ กรณีศึกษา:เจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, ณัฐชญา พึ่งโต Jan 2019

ความผูกพันในองค์การของบุคลากรประเภทลูกจ้างเหมาบริการในหน่วยราชการ กรณีศึกษา:เจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, ณัฐชญา พึ่งโต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์การ ตลอดจนพฤติกรรมที่แสดงออกในงานอันเป็นผลมาจากความผูกพันในองค์การ ของบุคลากรประเภทลูกจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว (TAC) สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว จำนวน 219 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ การใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ผลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (Pearson Correlation) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ตัวแปรอิสระ 1 กลุ่ม (One Sample T-test) การวิเคราะห์ความเป็นอิสระ 2 กลุ่ม (Independent Sample T-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Linear Regression Analysis) รวมถึง การวิเคราะห์แบบอุปนัยจากข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า 1) ความผูกพันในองค์การฯ อยู่ในระดับสูง 2) ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และพื้นที่ปฏิบัติงาน ไม่ส่งผลให้มีความผูกพันในองค์การแตกต่างกัน 3) ปัจจัยจูงใจระดับบุคคล ปัจจัยด้านลักษณะงาน ปัจจัยด้านลักษณะองค์การ และปัจจัยด้านประสบการณ์ทำงาน มีอิทธิพลต่อความผูกพัน ในองค์การ 4) ความผูกพันในองค์การ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่แสดงออกในงานฯ


การมีส่วนร่วมในการผลักดันนโยบายสาธารณะขององค์การพัฒนาเอกชน: ศึกษากรณีนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, พรสวรรค์ จันทรัตน์ Jan 2019

การมีส่วนร่วมในการผลักดันนโยบายสาธารณะขององค์การพัฒนาเอกชน: ศึกษากรณีนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, พรสวรรค์ จันทรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของขบวนการแพทย์ชนบทในฐานะองค์การพัฒนาเอกชนที่มีส่วนร่วมผลักดันนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จของขบวนการแพทย์ชนบทในการเข้ามามีส่วนร่วมผลักดันนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เริ่มศึกษาตั้งแต่การก่อตั้งชมรมแพทย์ชนบท ในปี พ.ศ. 2521 จนกระทั่งแพทย์ชนบทมีส่วนร่วมในการผลักดันนโยบายสาธารณะ ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลักดันนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผลการศึกษาพบว่า ขบวนการแพทย์ชนบทมีบทบาทสำคัญด้านองค์ความรู้ในการผลักดันนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กล่าวคือ ขบวนการแพทย์ชนบทเป็นผู้สั่งสมองค์ความรู้ผ่านโครงการวิจัยต่าง ๆ ได้แก่ โครงการขุนหาญ โครงการอยุธยา และโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข จนกลายเป็นรากฐานของการผลักดันนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ก่อนที่จะประสานความร่วมมือกับภาคประชาสังคมและภาคการเมืองในช่วงระยะเวลาก่อนการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 ในส่วนของปัจจัยความสำเร็จของขบวนการแพทย์ชนบทในการผลักดันนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประกอบไปด้วย 5 ปัจจัยสำคัญ คือ 1) ปัจจัยด้านบริบทแวดล้อม 2) ปัจจัยด้านองค์ความรู้ 3) ปัจจัยด้านผู้นำและอุดมการณ์ 4) ปัจจัยด้านเครือข่ายทางสังคม และ 5) ปัจจัยด้านทรัพยากร


ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี, พิชญา วิทูรกิจจา Jan 2019

ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี, พิชญา วิทูรกิจจา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ ของจังหวัดอุบลราชธานี รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบาย ตลอดจนปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพสู่การปฏิบัติของจังหวัดอุบลราชธานี ผลการศึกษาพบว่า การขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นผลจากการดำเนินการตามโรดแมปด้านการส่งเสริมพลังงานทดแทนของภาครัฐ และมีมันสำปะหลังอินทรีย์เป็นพืชนำร่องของโครงการ ซึ่งรูปแบบการดำเนินนโยบายอยู่ในลักษณะการควบรวมและต่อยอดกับโครงการเดิมในพื้นที่คือ โครงการพัฒนาการส่งเสริมการเกษตรการปลูกมันสำปะหลัง หรือ โครงการอุบลโมเดล โดยการขับเคลื่อนนโยบายจะอาศัยความร่วมมือจากเกษตรกร ภาครัฐ และภาคเอกชนในพื้นที่ สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพสู่การปฏิบัติ แบ่งเป็นปัจจัยด้านเนื้อหาสาระของนโยบาย 2 ปัจจัย ได้แก่ ความไม่เป็นเหตุเป็นผลของนโยบาย และ นโยบายเป็นผลจากการควบรวมและต่อยอดโครงการเดิมในพื้นที่ ส่วนปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของนโยบาย แบ่งเป็น 3 ปัจจัย ได้แก่ สมรรถนะของหน่วยงาน การสนับสนุนจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และทัศนคติและวิถีชีวิตของเกษตรกร ในขณะที่ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นมีส่วนเชื่อมโยงต่อปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบาย ได้แก่ ปัญหาการสื่อสารและประสานงานจากหน่วยงานระดับบนไปยังระดับล่างไม่เพียงพอ ปัญหาผู้ปฏิบัติงานทำงานในรูปแบบเดิมที่เคยปฏิบัติมาก่อน และปัญหางบประมาณและปัจจัยสนับสนุนไม่เพียงพอ


ซินเธีย เอ็นโลกับแนวทางการศึกษาเพศสภาพในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, ปรีชญา ยศสมศักดิ์ Jan 2019

ซินเธีย เอ็นโลกับแนวทางการศึกษาเพศสภาพในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, ปรีชญา ยศสมศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเพศสภาพก้าวเข้าสู่พื้นที่ของวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศภายใต้ข้อโต้แย้งที่ว่าองค์ความรู้ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคือองค์ความรู้ที่ถูกผลิตจากมุมมองและประสบการณ์ชีวิตของผู้ชายโดยเฉพาะชายผิวขาว นักสตรีนิยมไม่เห็นด้วยว่าทฤษฎี อย่างเช่น สัจนิยม หรือ เสรีนิยมที่ผลิตจากมุมมองของผู้ชายเป็นองค์ความรู้ที่สมบูรณ์ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอแนวทางของการศึกษาเพศสภาพของซินเธีย เอ็นโลในพื้นที่ของวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความแตกต่างกันของมโนทัศน์และระเบียบวิธีวิจัยระหว่างแนวทางการศึกษากระแสหลักและแนวทางทางการศึกษาเอ็นโล และความพยายามในการท้าทายองค์ความรู้กระแสหลักทั้งในเชิงภาววิทยา ญาณวิทยา และระเบียบวิธีวิจัย โดยการให้ความสำคัญกับประสบการณ์ ความสัมพันธ์ และบทบาทของผู้หญิงในทางการเมืองระหว่างประเทศ การให้ความสำคัญกับผู้หญิงอย่างจริงจังจะช่วยให้เราเห็นโครงสร้างทางเพศสภาพในการเมืองระหว่างประเทศ ผ่านแว่นของสตรีนิยมในการตอบคำถามที่ว่าผู้หญิงอยู่ที่ไหนในโลกของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและอำนาจทำงานอย่างไรในการจัดที่ทางให้กับผู้หญิง


พินิจทฤษฎีการปกครองแบบผสมกับรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๕๓๔, เอกลักษณ์ ไชยภูมี Jan 2019

พินิจทฤษฎีการปกครองแบบผสมกับรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๕๓๔, เอกลักษณ์ ไชยภูมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีองค์ประกอบหลักสองส่วน โดยวัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยในส่วนแรกคือ ผู้วิจัยต้องการพัฒนาทฤษฎีการปกครองแบบผสมที่วางอยู่บนฐานคิดสำคัญสองประการคือ ฐานคิดเรื่องการปกครองตามธรรมชาติและฐานคิดเรื่องการปกครองที่รู้จักประมาณ ในส่วนของฐานคิดเรื่องการปกครองตามธรรมชาติประกอบด้วยกฎเหล็กของการปกครองแบบผสมสามข้ออันเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขความจำเป็นพื้นฐานของสดมภ์หลักทางการเมืองของทุกระบอบการปกครอง ประการที่หนึ่งคือกฎเหล็กขององค์ประกอบมหาชนที่ทำงานในส่วนความชอบธรรมของระบอบการเมือง ประการที่สองคือกฎเหล็กขององค์ประกอบคณะบุคคลที่ทำงานในส่วนกลไกที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของระบอบ และสุดท้ายคือกฎเหล็กขององค์ประกอบเอกบุคคลที่ทำงานในส่วนที่ต้องการการตัดสินใจที่มีเอกภาพและผู้ที่จะมาเติมเต็มการใช้อำนาจบริหาร หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินใจของเอกบุคคลที่เด็ดขาดในสภาวะหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน ส่วนฐานคิดประการที่สองของทฤษฎีการปกครองแบบผสมเสนอให้ทำความเข้าใจทฤษฎีการปกครองแบบผสมในฐานะการปกครองที่รู้จักประมาณซึ่งจะหลอมรวมจารีตของความคิดเรื่องการปกครองแบบผสมที่แตกต่างกันสองแบบในความคิดทางการเมืองตะวันตก คือการปกครองแบบผสมที่เน้นการสร้างความผสมกลมกลืนและการผสานความขัดแย้งทางการเมืองเข้าไว้ด้วยกัน โดยให้แต่ละส่วนต่างทำงานในฐานะส่วนที่เป็นกลไกอุดมการณ์และส่วนที่ทำหน้าที่ออกแบบสถาบันทางการเมืองที่เกื้อหนุนกัน ส่วนวัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยในครึ่งหลัง คือการนำทฤษฎีการปกครองแบบผสมมาประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายการเมืองไทยสมัยใหม่ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2475 จนถึงปีพุทธศักราช 2534 ผ่านรัฐธรรมนูญในประเด็นแกนกลางที่เอกบุคคล คณะบุคคล และมหาชนใช้ในการประชันขันแข่งเพื่อสถาปนาตนเองให้ขึ้นมาเป็นจุดหมุนของสภาวะทางการเมืองที่แตกต่างกันไปในแต่ละยุค เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าความไม่ลงตัวและความไร้เสถียรภาพที่เกิดขึ้นในการเมืองไทยล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากการประชันขันแข่งระหว่างวิธีคิดแบบบริสุทธิ์และวิธีคิดแบบผสมที่อยู่เบื้องหลังแต่ละสดมภ์ในการออกแบบ บังคับใช้ และการตีความรัฐธรรมนูญ กระทั่งนำมาซึ่งสภาวะที่งานวิจัยเรียกว่า "การเมืองแห่งการสลายการปกครองแบบผสม" อันเป็นที่มาของการเหวี่ยงตัวทางการเมืองไทยครั้งแล้วครั้งเล่านับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา


การหยุดยิงกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของชนกลุ่มน้อยในเมียนมา กรณีศึกษา คะฉิ่น และกะเหรี่ยง, อรไท โสภารัตน์ Jan 2019

การหยุดยิงกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของชนกลุ่มน้อยในเมียนมา กรณีศึกษา คะฉิ่น และกะเหรี่ยง, อรไท โสภารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้ตั้งข้อสังเกตต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในเมียนมาว่าไม่อาจเปลี่ยนผ่านได้ด้วยแนวทางเส้นตรง (linear democratization)ได้แก่การจัดตั้งสถาบันทางการเมืองหรือ การจัดให้มีการเลือกตั้ง เพราะไม่ใช่แนวทางที่แน่นอนในการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยแบบเสรีได้อย่างแท้จริง การศึกษานี้มีคำถามวิจัย คือ การทำข้อตกลงหยุดยิงระหว่างฝ่ายรัฐบาลเมียนมา และฝ่ายกลุ่มชาติพันธุ์ส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในสหภาพเมียนมาอย่างไร ตลอดจนข้อตกลงหยุดยิงระหว่างรัฐบาลเมียนมา กับรัฐบาลรัฐคะฉิ่นและระหว่างรัฐบาลเมียนมากับรัฐบาลรัฐกะเหรี่ยงส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยภายในรัฐกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสองอย่างไร ทั้งยังศึกษาเปรียบเทียบข้อตกลงหยุดยิงและผลต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยของรัฐบาลรัฐคะฉิ่นและรัฐบาลรัฐกะเหรี่ยงหลังการทำข้อตกลงหยุดยิง กรอบหลักในการศึกษาคือ การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยของโดนัลด์ แชร์(Donald Share) ที่อธิบายการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในสหภาพเมียนมาโดยการยินยอมของฝ่ายผู้นำทหาร สำหรับการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยในรัฐคะฉิ่นและรัฐกะเหรี่ยง อธิบายภายใต้กรอบการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยแบบเป็นไปตามกระบวนการตามลำดับ (Sequencing Approach) ด้วยการจัดตั้งสถาบันทางการเมืองโดยโทมัส คาโรเธอร์ (Thomas Carothers) และกรอบการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยแบบค่อยเป็นค่อยไป (Gradualist/Transformist) เป็นกรอบการศึกษาที่ยอมรับการเรียนรู้ในหลักการประชาธิปไตยที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันในทุกกรณี จึงส่งเสริมสถานการณ์สันติภาพได้มากกว่าโดย ออล ทอร์ทควิสท์ (Olle Tornquist) และ คริสเตียน สโตกก์ (Kristian Stokke) ผลการศึกษา พบว่า ข้อตกลงหยุดยิงเป็นองค์ประกอบหนึ่งในทางสถาบันทางการเมืองที่ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยอย่างมีนัยสำคัญและไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับสันติภาพในสหภาพเมียนมา ในการเปรียบเทียบผลหลังการลงนามหยุดยิงระหว่างรัฐบาลเมียนมาและกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ พบว่ารัฐคะฉิ่นหลังยุติข้อตกลงหยุดยิง คุณค่าของความเป็นประชาธิปไตยภายในรัฐของกลุ่มชาติพันธุ์คะฉิ่นเติบโตขึ้น เนื่องด้วยเงื่อนไขภายในรัฐกลุ่มชาติพันธุ์คะฉิ่นที่มีความเป็นเอกภาพและการตระหนักในคุณค่าความเท่าเทียมกัน ในขณะที่รัฐกะเหรี่ยง ความแตกแยกภายในเป็นเงื่อนไขก่อนการลงนามข้อตกลงหยุดยิง เมื่อลงนามข้อตกลงหยุดยิงกลับไม่ได้เป็นสถาบันทางการเมืองที่สามารถส่งเสริมการรวมตัวและความเป็นประชาธิปไตยภายในรัฐกะเหรี่ยงได้


การให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของเกาหลีใต้ต่อกลุ่มประเทศอาเซียนใหม่ (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม – Clmv) ระหว่างปี ค.ศ. 2009 – 2019, แพรวพรรณ รักขิโต Jan 2019

การให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของเกาหลีใต้ต่อกลุ่มประเทศอาเซียนใหม่ (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม – Clmv) ระหว่างปี ค.ศ. 2009 – 2019, แพรวพรรณ รักขิโต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของเกาหลีใต้ โดยใช้การให้ความช่วยเหลือกลุ่มประเทศอาเซียนใหม่ คือ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม (CLMV) มาเป็นกรณีศึกษาเนื่องจากในช่วงปี 2009 – 2019 เกาหลีใต้ส่งความช่วยเหลือไปยังกลุ่มประเทศดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ ผลงานฉบับนี้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีเสรีนิยมในการวิเคราะห์สมมติฐานที่ว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างรัฐ จากการศึกษาพบว่า โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของเกาหลีใต้ต่อประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ผลประโยชน์ทางการเมือง ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การยอมรับในระดับสากล และการสร้างแบรนด์ประเทศ อย่างไรก็ตาม ในกรณีการให้ความช่วยเหลือกลุ่มประเทศ CLMV พบว่าปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการให้ความช่วยเหลือ คือ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยเกาหลีใต้ให้ความช่วยเหลือกลุ่มประเทศ CLMV ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร การพัฒนาชนบท การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความช่วยเหลือข้างต้นช่วยส่งเสริมผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของเกาหลีใต้เพราะได้นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของกลุ่มประเทศ CLMV ให้พร้อมรับการลงทุนจากภาคธุรกิจเกาหลีใต้ในด้านอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน ภาคการผลิต ภาคบริการ และโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนปัจจัยด้านการสร้างแบรนด์ประเทศมีส่วนสำคัญในการเพิ่มปริมาณความช่วยเหลือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปี 2009 – 2010 เนื่องจากรัฐบาลในช่วงเวลาดังกล่าวภายใต้การนำของประธานาธิบดีอี มยองบัก มองว่าการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนานำไปสู่การสร้างแบรนด์ประเทศและส่งเสริมบทบาทเกาหลีใต้ในระดับสากล


ความเป็นแกนกลางของอาเซียนและการส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน: กรณีศึกษาโครงการเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง, จรินทร์ทิพย์ สายมงคลเพชร Jan 2019

ความเป็นแกนกลางของอาเซียนและการส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน: กรณีศึกษาโครงการเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง, จรินทร์ทิพย์ สายมงคลเพชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาถึงแนวคิดความเป็นแกนกลางของอาเซียนผ่านมิติของการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนระหว่างปี ค.ศ. 2010 – 2019 เป็นสำคัญ โดยมีโครงการเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง เป็นกรณีศึกษา ประเด็นปัญหาของการศึกษานี้มีความสำคัญเพราะนับจากการประกาศใช้กฎบัตรอาเซียนในปี ค.ศ. 2008 แนวคิดความเป็นแกนกลางของอาเซียนได้กลายเป็นหลักการสำคัญที่อาเซียนใช้ดำเนินนโยบายความสัมพันธ์กับประเทศภายนอกภูมิภาคมาโดยตลอด อีกทั้งที่ผ่านมาอาเซียนเชื่อว่าการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันภายในประเทศสมาชิกอาเซียนจะช่วยสนับสนุนบทบาทความเป็นแกนกลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมแห่งภูมิภาคได้ งานชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารและอาศัยทฤษฎีเสรีนิยมเชิงสถาบันของโรเบิร์ต โคเฮนในการพัฒนากรอบแนวคิดการวิจัย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอว่า การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนจากกรณีของโครงการเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิงจะไม่สามารถช่วยส่งเสริมความเป็นแกนกลางของอาเซียนได้ เนื่องจากภายใต้กรอบแนวคิดเสรีนิยมเชิงสถาบันที่ใช้ในการศึกษาชี้ให้เห็นถึงข้อจำกัดสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ (1) ข้อจำกัดภายในอาเซียน คือ รูปแบบและลักษณะของความร่วมมือเชิงสถาบันด้านความเชื่อมโยงของอาเซียน และ (2) ข้อจำกัดภายนอกอาเซียน คือ การส่งออกรถไฟความเร็วสูงภายใต้นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งข้อจำกัดทั้งสองต่างก็ส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อาเซียนมิอาจบรรลุไปสู่เป้าหมายของการส่งเสริมความเป็นแกนกลางของอาเซียนได้ดังที่ได้วางแผนไว้


นโยบายการส่งเสริมความมั่นคงภายในปากีสถานระหว่างค.ศ. 2015–2017: กรณีศึกษาความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างปากีสถานกับจีนภายใต้โครงการแถบเศรษฐกิจจีนกับปากีสถาน, จุลพัชร เอกวัฒน์ Jan 2019

นโยบายการส่งเสริมความมั่นคงภายในปากีสถานระหว่างค.ศ. 2015–2017: กรณีศึกษาความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างปากีสถานกับจีนภายใต้โครงการแถบเศรษฐกิจจีนกับปากีสถาน, จุลพัชร เอกวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ต้องการศึกษาว่าเพราะเหตุใดความพยายามในการส่งเสริมความมั่นคงภายในปากีสถานระหว่าง ค.ศ. 2015-2017 โดยการสร้างแถบเศรษฐกิจจีนกับปากีสถานกลับนำไปสู่ความไม่มั่นคงภายในปากีสถาน โดยใช้แนวคิดภาวะย้อนแย้งทางความไม่มั่นคงเและแนวคิดรัฐอ่อนแอเป็นกรอบการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าความไม่มั่นคงภายในปากีสถานที่เกิดหลังการสร้างแถบเศรษฐกิจจีนกับปากีสถานเกิดจากกลุ่มบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบาลูชที่รู้สึกไม่มั่นคงจากการส่งเสริมความมั่นคงจึงต่อต้านเพื่อเพิ่มความมั่นคงให้กับกลุ่มตน และการที่ปากีสถานมีลักษณะเป็นรัฐอ่อนแอทำให้ไม่มีขีดความสามารถจัดการกับภัยคุกคามและความไม่มั่นคง ในที่สุดจึงนำไปสู่ความไม่มั่นคงภายในปากีสถาน


นโยบายของประเทศหน้าด่านในการรับผู้ลี้ภัยจากซีเรีย: กรณีศึกษาการตอบสนองของรัฐบาลกรีซ 2015-2017, ระพีพัฒน์ สุขนาน Jan 2019

นโยบายของประเทศหน้าด่านในการรับผู้ลี้ภัยจากซีเรีย: กรณีศึกษาการตอบสนองของรัฐบาลกรีซ 2015-2017, ระพีพัฒน์ สุขนาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้เป็นเชิงคุณภาพ มุ่งเน้นศึกษาการตอบสนองต่อการดำเนินการรับผู้ลี้ภัยของรัฐหน้าด่านของสหภาพยุโรปอย่างกรีซในช่วงปีค.ศ. 2015 - 2017 พร้อมทั้งเสนอปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการตอบสนองดังกล่าว ผ่านการวิเคราะห์ด้วยแนวคิดเรื่องกระบวนการยุโรปภิวัตน์ และการเมืองเกี่ยวพัน ในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปและเหล่าประเทศสมาชิก ผ่านมิติทางการเมือง ระบอบการปกครอง และนโยบาย ที่มีความสอดคล้องกับวิกฤตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันของสหภาพยุโรป ผลการศึกษาพบว่าการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยของกรีซมีลักษณะในการจัดการปัญหาในรูปแบบของการดำเนินนโยบายหรือกระบวนการต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่กำลังเผชิญทั้งภายในและภายนอกที่มีความเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน โดยจะต้องมีการคำนึงถึงข้อตกลง หรือกฎหมายต่าง ๆ ของสหภาพยุโรปในฐานะที่กรีซเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิก รวมถึงจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอื่นของสหภาพยุโรป แต่อย่างไรก็ตามการจัดการผู้ลี้ภัยของกรีซกลับมีการดำเนินการอย่างมีข้อจำกัดจากปัจจัยเรื่อง สมาชิกภาพของสหภาพฯ และปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ เพราะแม้ว่าสหภาพยุโรปมีการบูรณาการความสัมพันธ์แน่นแฟ้น สะท้อนออกมาเป็นแนวทางการดำเนินงานและนโยบายร่วมในด้านต่าง ๆ แต่สำหรับด้านการจัดการปัญหาวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัย การเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปของประเทศหน้าด่านอย่างกรีซ กลับเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการจัดการกับปัญหา เนื่องจากกระบวนการหรือนโยบายร่วมไม่สามารถตอบสนองหรือสร้างความเท่าเทียมต่อการรับผิดชอบกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในทุกประเทศสมาชิก ประกอบกับการที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจภายในประเทศจึงส่งผลต่อความเชื่อใจและความน่าเชื่อถือของกรีซในเวทีระหว่างประเทศ ทำให้กรีซไม่มีศักยภาพมากพอที่จะขอปรับเปลี่ยนข้อกำหนดที่ไม่เป็นธรรมต่อการจัดการผู้ลี้ภัยภายในประเทศได้ ด้วยเหตุนี้ ทั้งสองปัจจัยเปรียบเสมือนข้อท้าทายของรัฐบาลกรีซซึ่งจำเป็นต้องแสวงหาแนวทางการแก้ไข เพื่อให้แนวทางในการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ความหมายของชีวิตในบุคลากรทางการแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย, สุนทร ลิ่มหลัก Jan 2019

ความหมายของชีวิตในบุคลากรทางการแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย, สุนทร ลิ่มหลัก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาและเหตุผล: การมีความหมายของชีวิตเป็นส่วนสำคัญในชีวิตมนุษย์ทุกคนและทุกช่วงวัย การค้นพบความหมายของชีวิตและส่งผลในเชิงบวกต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาวะทางจิตวิญญาณ ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาความหมายของชีวิตในบุคลากรทางการแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายซึ่งเป็นทีมสุขภาพที่ทำงานใกล้ชิดกับความเป็นความตาย การรับรู้ช่วงสุดท้ายของชีวิตผู้ป่วยอาจเป็นประโยชน์ต่อการรับรู้ความหมายของชีวิต และนำไปสู่วิถีการดำเนินชีวิตที่ดีและความอยู่ดีมีสุข วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความหมายของชีวิตในบุคลากรการแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและปัจจัยที่มีผลต่อความหมาย และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหมายของชีวิตกับทัศนคติในการดำเนินชีวิตและการดูแลผู้ป่วย วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงคุณภาพในบุคลากรทางการแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจำนวน 12 คนโดยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกส่วนบุคคลและแบบกึ่งโครงสร้าง จากนั้นทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลและหาความสัมพันธ์ของข้อมูล และทำการสังเคราะห์ข้อมูลจนเหลือแต่คุณลักษณะที่มีความหมายร่วมกันมาประกอบกับทฤษฎี ผลการศึกษา: แนวคิด “ความหมายของชีวิต” ในบุคลากรทางการแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายค้นพบทั้งสิ้น 5 แก่น ได้แก่ 1) การก้าวข้ามตัวตน; 2) ความรักและความผูกพัน; 3) การทำหน้าที่และทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับโลก; 4) การชื่นชมและปีติกับความงามของชีวิต และ 5) การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดความหมายคือประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและปัจจัยอื่นๆ เฉพาะบุคคล โดยพบว่าการมีความเข้าใจความหมายของชีวิตย่อมส่งเสริมสุขภาพจิตและพฤติกรรมในเชิงบวก ผู้ที่มีความหมายของชีวิตชัดเจนย่อมมีเป้าหมายในชีวิต รู้ความต้องการปลายทางของชีวิต ความหมายของชีวิตมีผลอย่างมากต่อมุมมองชีวิต โลกทัศน์ และวิถีชีวิต สรุปผลการศึกษา: การทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยในช่วงสุดท้ายของชีวิตและการมีโอกาสได้เห็นผู้ที่กำลังจะเสียชีวิต ส่งผลให้เกิดการตระหนักรู้ความหมายของชีวิต ซึ่งมีผลต่อวิถีการดำเนินชีวิต การดูแลสุขภาพกายและใจ รวมถึงมีการดูแลคนรอบข้างและผู้ป่วยที่ดีขึ้น แนวคิดความหมายของชีวิตนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในเวชปฏิบัติด้านการดูแลแบบประคับประคองในการค้นหาความหมายของชีวิตผู้ป่วย หรือด้านจิตเวชในการบำบัดรักษาทางสุขภาพจิตสำหรับผู้ที่ขาดความหมายของชีวิต เป็นกระบวนทัศน์ใหม่ในการดูแลผู้ป่วยอย่างรู้คุณค่าและมีความหมาย และสามารถนำไปใช้ส่งเสริมการมีความหมายของชีวิตในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขกลุ่มอื่น รวมทั้งยังส่งเสริมคนในสังคมตระหนักรู้ถึงความสำคัญของความหมายแห่งการมีชีวิตอยู่ การมีเครื่องมือไว้จัดการความทุกข์ และช่วยทำให้ชีวิตมีความสุขได้ง่าย ปล่อยวางความเป็นตัวตนได้มากขึ้น และช่วยให้ชีวิตอยู่ในสมดุลและผาสุก


ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเลี้ยงดูแบบเฮลิคอปเตอร์ และความซึมเศร้าในนิสิตนักศึกษา โดยมีการรับรู้ความรักของพ่อแม่ การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียนและด้านสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ณัฐธัญ ชวนชัยรัตน์ Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเลี้ยงดูแบบเฮลิคอปเตอร์ และความซึมเศร้าในนิสิตนักศึกษา โดยมีการรับรู้ความรักของพ่อแม่ การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียนและด้านสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน, ณัฐธัญ ชวนชัยรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลุ่มนิสิตนักศึกษาในเรื่องความสัมพันธ์ของการรับรู้การเลี้ยงดูแบบเฮลิคอปเตอร์ที่ส่งผลให้เกิดความซึมเศร้า โดยมีการรับรู้ความรักของพ่อแม่ การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียนและด้านสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน โดยผู้เข้าร่วมงานวิจัย คือ นิสิตนักศึกษาทุกชั้นปีในระดับปริญญาตรี มีอายุระหว่าง 18-24 ปี การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 290 คน ผู้วิจัยตรวจสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การทดสอบตัวแปรส่งผ่าน (Mediation analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1. การรับรู้การเลี้ยงดูแบบเฮลิคอปเตอร์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ความซึมเศร้า เมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรส่งผ่านทั้ง 3 ตัวแปร พบว่ามีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .22, p < .01) 2. การรับรู้ความรักของพ่อแม่ เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่าง การรับรู้การเลี้ยงดูแบบเฮลิคอปเตอร์ และความซึมเศร้า (β = .09, p < .05) 3. การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียน ไม่ได้เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่าง การรับรู้การเลี้ยงดูแบบเฮลิคอปเตอร์ และความซึมเศร้า เนื่องจากช่วงของความเชื่อมั่นมีค่าคลุม 0 (β = .03, 95% ของช่วงชั้นความเชื่อมั่น [-.0019, .06]) 4. การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านสังคม เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่าง การรับรู้การเลี้ยงดูแบบเฮลิคอปเตอร์ และความซึมเศร้า (β = .03, p < .01)


ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนบทบาท การเลี้ยงดูของพ่อแม่ และการรับรู้ความคาดหวังของพ่อแม่ ต่อวุฒิภาวะทางจิตสังคม ในผู้ใหญ่แรกเริ่ม, ณิชมน กาญจนนิยต Jan 2019

ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนบทบาท การเลี้ยงดูของพ่อแม่ และการรับรู้ความคาดหวังของพ่อแม่ ต่อวุฒิภาวะทางจิตสังคม ในผู้ใหญ่แรกเริ่ม, ณิชมน กาญจนนิยต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนบทบาท การเลี้ยงดูของพ่อแม่ และการรับรู้ความคาดหวังของพ่อแม่ต่อวุฒิภาวะทางจิตสังคมในผู้ใหญ่แรกเริ่ม โดยการเปลี่ยนบทบาท ประกอบด้วย การสำเร็จการศึกษา การทำงาน ความสัมพันธ์ฉันคนรัก และการอาศัยอยู่ด้วยตนเอง การเลี้ยงดูของพ่อแม่ ประกอบด้วย การให้ความอบอุ่นของพ่อแม่ และการให้อิสระของพ่อแม่ ส่วนการรับรู้ความคาดหวังของพ่อแม่ ประกอบด้วย การรับรู้ความคาดหวังของพ่อแม่ทางการเรียน การรับรู้ความคาดหวังของพ่อแม่ทางอาชีพ และการรับรู้ความทะเยอทะยานของพ่อแม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ใหญ่แรกเริ่ม ที่มีอายุระหว่าง 18 – 25 ปี อายุเฉลี่ย 21.850 ปี จำนวน 510 คน ซึ่งดำเนินการวิจัยผ่านการตอบแบบสอบถามด้วยตนเองในรูปแบบออนไลน์ และวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วยโปรแกรม LISREL 10.20 Student ผลการวิจัยพบว่า การเลี้ยงดูของพ่อแม่มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อวุฒิภาวะทางจิตสังคม (β = 0.620, p < .01) ในขณะที่การเปลี่ยนบทบาทและการรับรู้ความคาดหวังของพ่อแม่ไม่มีความสัมพันธ์ต่อวุฒิภาวะทางจิตสังคม ถือเป็นการเน้นย้ำได้ว่าสถาบันครอบครัวมีความสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการของลูก ดังนั้นพ่อแม่ยุคใหม่จึงควรให้ความสำคัญต่อการเลี้ยงดู กล่าวคือ หากพ่อแม่แสดงออกถึงการเอาใจใส่ ให้ความอบอุ่น และให้อิสระในการคิดหรือทำสิ่งต่าง ๆ แก่ลูก จะช่วยส่งเสริมให้ลูกมีวุฒิภาวะทางจิตสังคมสูงหรือมีการคิดตัดสินอย่างเป็นผู้ใหญ่ได้มากยิ่งขึ้น งานวิจัยในอนาคตอาจนำไปพัฒนาต่อยอดในการศึกษาปัจจัยเพิ่มเติมที่ส่งผลต่อวุฒิภาวะทางจิตสังคม หรือทำวิจัยในรูปแบบผสมผสาน เพื่อช่วยขยายองค์ความรู้เกี่ยวกับวุฒิภาวะทางจิตสังคมในบริบทไทยให้กว้างยิ่งขึ้น


ปัจจัยที่จําแนกระหว่างผู้ทํางานอาสาสมัครกับผู้ไม่ทํางานอาสาสมัครในกลุ่มนิสิตนักศึกษาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ดวงธรรม โชคชุลีกร Jan 2019

ปัจจัยที่จําแนกระหว่างผู้ทํางานอาสาสมัครกับผู้ไม่ทํางานอาสาสมัครในกลุ่มนิสิตนักศึกษาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ดวงธรรม โชคชุลีกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่จําแนกระหว่างผู้ทํางานอาสาสมัครกับผู้ไม่ทํางานอาสาสมัครในกลุ่มนิสิตนักศึกษาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตนักศึกษาทุกระดับชั้นที่มีอายุระหว่าง 19-30 ปี (M = 22.13 ปี, SD = 3.37) จำแนกตามการทำกิจกรรมอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ทำกิจกรรมอาสาสมัครในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา 142 คน และผู้ไม่ทำกิจกรรมอาสาสมัครในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา 120 คน ตัวแปรที่ศึกษาในการวิจัยประกอบด้วย การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต ความเชื่อมั่นในศาสนา การจัดการความรู้สึกด้านลบ การสร้างคุณค่าให้กับสังคม การพัฒนาตนเองด้านการทำงาน การพัฒนาตนเองด้านการเรียนรู้และเข้าใจ การเห็นคุณค่าในตนเอง การพัฒนาตนเองด้านความสัมพันธ์ในสังคม และการมีต้นแบบจากพ่อ แม่ หรือเพื่อน ตัวแปรตามคือการเป็นอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความเชื่อมั่นในศาสนา แบบสอบถามการมีต้นแบบจากพ่อ แม่ หรือเพื่อนเป็นอาสาสมัคร แบบวัดแรงจูงใจในการทำกิจกรรมอาสาสมัคร และแบบวัดการมีจุดมุ่งหมายในชีวิต ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัยสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเป็นอาสาสมัครได้ร้อยละ 17.8 โดยมีปัจจัยที่สามารถจำแนกการเป็นอาสาสมัครได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) 3 ประการได้แก่ ความเชื่อมั่นในศาสนา การมีต้นแบบจากพ่อ แม่ หรือเพื่อน และการมีจุดมุ่งหมายในชีวิต ทั้งนี้สมการถดถอยโลจิสติกสามารถทำนายการเป็นอาสาสมัครได้ร้อยละ 65.6


ความสัมพันธ์ของแหล่งการสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ความสามารถในการดูแลบุตร และการรับรู้ความสามารถในการทำงานของแม่มือใหม่ที่กลับไปทำงานเดิมหลังจากลาคลอด, นราพร ม่วงปกรณ์ Jan 2019

ความสัมพันธ์ของแหล่งการสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ความสามารถในการดูแลบุตร และการรับรู้ความสามารถในการทำงานของแม่มือใหม่ที่กลับไปทำงานเดิมหลังจากลาคลอด, นราพร ม่วงปกรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมจากแหล่งต่าง ๆ ประกอบด้วยการสนับสนุนทางสังคมจากสามี ครอบครัว เพื่อน ที่ทำงาน สื่อสังคมออนไลน์ และพี่เลี้ยง/สถานรับเลี้ยงเด็กและอายุบุตรที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลบุตรและในการทำงานของแม่มือใหม่ที่กลับไปทำงานเดิมหลังลาคลอดบุตร กลุ่มตัวอย่างแม่มือใหม่ที่กลับไปทำงานอายุตั้งแต่ 21 – 45 ปี จำนวน 107 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการได้รับการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลบุตร แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการทำงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple regression) ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรการสนับสนุนทางสังคมจากสามี ครอบครัว เพื่อน ที่ทำงาน สื่อสังคมออนไลน์ และอายุบุตรร่วมกันอธิบายตัวแปรตามการรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตร ได้ร้อยละ 11.8 (r2 = .118, Adjusted r2 = .065) และจากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression) พบว่าการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวแมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลบุตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .005 นอกจากนี้ตัวแปรการสนับสนุนทางสังคมทั้ง 5 แหล่งและอายุบุตรยังสามารถร่วมกันอธิบายตัวแปรตามการรับรู้ความสามารถในการทำงานได้ร้อยละ 17.8 (r2 = .178, Adjusted r2 = .129) ซึ่งการสนับสนุนทางสังคมจากสามีมีความสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวมีแนวโน้มในทิศทางบวกที่สามารถอธิบายการรับรู้ความสามารถในการทำงานของแม่มือใหม่ได้


โมเดลเชิงสาเหตุของความก้าวร้าวและการศึกษาคลื่นสมองของผู้ที่กระทำผิดซ้ำและคนปกติ, นฤมล อินทหมื่น Jan 2019

โมเดลเชิงสาเหตุของความก้าวร้าวและการศึกษาคลื่นสมองของผู้ที่กระทำผิดซ้ำและคนปกติ, นฤมล อินทหมื่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มี 2 ตอน คือ การวิจัยสำรวจ และการวิจัยทดลอง วัตถุประสงค์ของการวิจัยตอนแรก เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความก้าวร้าวในเพศชายระหว่างกลุ่มคนทั่วไปที่ไม่ได้กระทำผิด (n = 240) และกลุ่มผู้ต้องขังชายที่กระทำผิดซ้ำในคดีรุนแรง (n = 200) โดยมีลักษณะไร้อารมณ์เป็นตัวแปรส่งผ่าน และตอนต่อมาเป็นการทดลองด้วยการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองเพื่อเปรียบเทียบความสูงของคลื่น P300 ขณะทำภาระงานทั้ง 3 ชิ้น ในเงื่อนไขสิ่งเร้าที่เป็นเป้าหมายระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้กระทำผิดซ้ำ (n = 22) และกลุ่มที่กระทำผิดซ้ำ (n = 21) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของโมเดลความก้าวร้าวในการศึกษาที่ 1 พบว่า ชนิดของกลุ่มตัวอย่างมีอิทธิพลทางบวกต่อความก้าวร้าว โดยมีลักษณะไร้อารมณ์เป็นตัวแปรส่งผ่าน และการศึกษาที่ 2 ซึ่งเปรียบเทียบความสูงของคลื่น P300 ที่มีต่อสิ่งเร้าเป้าหมายบริเวณ Pz พบว่าทั้ง 3 ภาระงาน ภาระงานที่เป็นตัวอักษร ‘A’ ภาพที่มีเนื้อหารุนแรง และภาพสัตว์ที่น่าพึงพอใจ พบว่ากลุ่มที่กระทำผิดซ้ำมีความสูงของคลื่น P300 ที่เล็กกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กระทำผิดซ้ำในทุกสิ่งเร้าเป้าหมายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งความสูงของคลื่น P300 ยังเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างลักษณะไร้อารมณ์และความก้าวร้าวอีกด้วย โดยกลุ่มที่กระทำผิดซ้ำมีความก้าวร้าวทางร่างกาย ความไม่สนใจ และความไม่เห็นใจ มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กระทำผิดซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ความสัมพันธ์ระหว่างความละอายต่อตนเอง ความเมตตากรุณาต่อตนเอง สติและปัญหาด้านจิตใจ ของนิสิตระดับปริญญาตรี, อธิวัฒน์ ยิ่งสูง Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างความละอายต่อตนเอง ความเมตตากรุณาต่อตนเอง สติและปัญหาด้านจิตใจ ของนิสิตระดับปริญญาตรี, อธิวัฒน์ ยิ่งสูง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างการละอายต่อตนเอง การเมตตากรุณาต่อตนเอง สติ และปัญหาด้านจิตใจของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งเพศชาย และเพศหญิงที่สนใจเข้าร่วมการวิจัยจำนวน 224 คน มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 19.42 ปี (SD = 1.24) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1. มาตรวัดภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความเครียด 2. มาตรวัดประสบการณ์การละอายต่อตนเอง 3. มาตรวัดการเมตตากรุณาต่อตนเอง 4. มาตรวัดสติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการวิเคราะห์การถอดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. การละอายต่อตนเองมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับปัญหาด้านจิตใจของนิสิตนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า .01 (r = .664, p < .01) 2. การเมตตากรุณาต่อตนเองมีสหสัมพันธ์ทางลบกับปัญหาด้านจิตใจของนิสิตนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า .01 (r = -.394, p < .01) 3. สติมีสหสัมพันธ์ทางลบกับปัญหาด้านจิตใจของนิสิตนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า .01 (r = -.493, p < .01) 4. การละอายต่อตนเอง การเมตตากรุณาต่อตนเอง และสติสามารถร่วมกันทำนายปัญหาด้านจิตใจของนิสิตนักศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และอธิบายความแปรแปรวนของปัญหาด้านจิตใจได้ร้อยละ 52.5 (R2 = .525, p < .001) โดยตัวแปรที่สามารถทำนายปัญหาจิตใจได้มากที่สุด คือ การละอายต่อตนเอง (β = .552, p < .001) และรองลงมา คือ การเมตตากรุณาต่อตนเอง (β = .270, p < .001)


ประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่มีการฝึกสติ: การวิจัยแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล, สหรัฐ เจตมโนรมย์ Jan 2019

ประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่มีการฝึกสติ: การวิจัยแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล, สหรัฐ เจตมโนรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่มีประสบการณ์การทำงานและฝึกสติมานานกว่า 5 ปี โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพแบบสร้างทฤษฏีจากข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลคือ นักจิตวิทยาการปรึกษาที่มีประสบการณ์ทั้งเชิงวิชาชีพและการฝึกสติมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี และมีฐานทฤษฏีเชิงจิตวิทยาที่หลากหลาย จำนวน 9 ราย เป็นชาวไทย 5 คน และชาวอเมริกัน 1 คนที่ทำงานในประเทศไทย ชาวไทยที่ทำงานในประเทศเนเธอร์แลนด์ 1 คน และชาวอเมริกันที่ทำงานอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา 2 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยแบบสร้างทฤษฏีจากข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า ทฤษฏีฐานรากให้ภาพ 5 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ (1) ที่มาของการฝึกสติ คือ สาเหตุของความสนใจที่จะฝึกสติ (2) วิธีการฝึกสติ เป็นวิธีการฝึกสติที่นักจิตวิทยาการปรึกษาใช้ในการฝึกสติ คือ การฝึกในรูปแบบ การฝึกในชีวิตประจำวัน และ การมีคำสอนเป็นหลักในการฝึก (3) ประสบการณ์การฝึกสติกับตัวเองของนักจิตวิทยาการปรึกษา คือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวนักจิตวิทยาการปรึกษาหลังจากฝึกสติไปแล้วอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ เกิดความตระหนักรู้ ประโยชน์ของความตระหนักรู้จากการฝึกสติในชีวิตส่วนตัว เกิดความคิดนำการฝึกสติมาใช้ในชั่วโมงการปรึกษา วิธีการใช้สติให้เกิดความตระหนักรู้ในชั่วโมงการปรึกษา และ ประโยชน์ของความตระหนักรู้จากการฝึกสติในวิชาชีพ (4) วิธีใช้การฝึกสติเป็นเครื่องมือในกระบวนการการปรึกษาเชิงจิตวิทยา เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดประสบการณ์การฝึกสติและเกิดความตระหนักรู้ และ (5) ผลที่เกิดขึ้น จากการใช้การฝึกสติเป็นเครื่องมือในกระบวนการการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ทฤษฏีอธิบายความสัมพันธ์ของทั้ง 5 ประเด็นเข้าด้วยกัน โดยเริ่มจากที่มาของการฝึกสติพาให้นักจิตวิทยาการปรึกษาไปฝึกสติและเกิดประสบการณ์การฝึกสติขึ้น แล้วนำการฝึกสติไปใช้เป็นเครื่องมือในกระบวนการการปรึกษาเชิงจิตวิทยากับตนเองและผู้รับบริการ จนถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการนำไปใช้ โดยมีประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่ฝึกสติเป็นแก่นของประเด็นสำคัญทั้งหมด ทฤษฏีฐานรากที่สร้างขึ้นเป็นองค์ความรู้เพื่อพัฒนานักจิตวิทยาการปรึกษาด้วยการฝึกสติและในการเรียนการสอนจิตวิทยาการปรึกษา โดยเน้นให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในตนเองผ่านการฝึกสติพัฒนาทักษะ และนำเทคนิคที่ได้จากประสบการณ์การฝึกสตินั้นไปทำงานกับผู้รับบริการต่อไป


การพัฒนาโปรแกรมการสำรวจอาชีพแบบเสมือนของนักแคสเกมในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, โสดารัตน์ รัตนโชติชัยฤทธิ์ Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมการสำรวจอาชีพแบบเสมือนของนักแคสเกมในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, โสดารัตน์ รัตนโชติชัยฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการสำรวจอาชีพแบบเสมือนของนักแคสเกมในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่สนใจอาชีพนักแคสเกมจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมกิจกรรมการสำรวจอาชีพนักแคสเกมที่พัฒนาจากแนวคิดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของโคลป์ (Kolb's experiential learning) ในขณะที่กลุ่มควบคุมทำกิจกรรมการสำรวจข้อมูลทางอาชีพนักแคสเกมจากการหาข้อมูลด้วยตนเอง โดยทั้งสองกลุ่มตอบแบบวัดความรู้ทางอาชีพ การรับรู้ตนเองทางอาชีพ และความแน่ใจทางอาชีพ ทั้งก่อนและหลังทำกิจกรรมเพื่อประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรม ซึ่งมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความแปรปราน 2 ทางแบบผสม (Two-way mixed ANOVA) และสถิติทดสอบความแตกต่างของค่ากลางของสองประชากรไม่อิสระ Paired simple t-test เพื่อตรวจสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลังการเข้าโปรแกรมในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จากผลการวิจัยพบว่า (1) มีปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างการเข้าร่วมโปรแกรมกับเวลาของการวัดต่อคะแนนความรู้ทางอาชีพนักแคสเกม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.016 และพบการเพิ่มขึ้นของคะแนนหลังการเข้าร่วมกิจกรรมในกลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) นักเรียนทั้งในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีการรับรู้ตนเองทางอาชีพนักแคสเกมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.016 หลังจากทำกิจกรรมการสำรวจอาชีพ (3) มีปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างการเข้าร่วมโปรแกรมกับเวลาของการวัดต่อคะแนนแน่ใจทางอาชีพนักแคสเกม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.016 โดยพบการลดลงของคะแนนหลังการเข้าร่วมกิจกรรมในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


การพัฒนาแบบจำลองการวัดแนวคิดมุ่งเน้นตราสินค้าขององค์กรที่ไม่ใช่ภาคธุรกิจเพื่อประยุกต์ใช้ในการสื่อสารองค์กร, กนก อมรปฏิพัทธ์ Jan 2019

การพัฒนาแบบจำลองการวัดแนวคิดมุ่งเน้นตราสินค้าขององค์กรที่ไม่ใช่ภาคธุรกิจเพื่อประยุกต์ใช้ในการสื่อสารองค์กร, กนก อมรปฏิพัทธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจองค์ประกอบการวัดแนวคิดมุ่งเน้นตราสินค้า 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดแนวคิดมุ่งเน้นตราสินค้า และ 3) ตรวจสอบแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแนวคิดมุ่งเน้นตราสินค้ากับผลการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่ใช่ภาคธุรกิจ โดยในกระบวนการพัฒนามาตรวัดนี้ เริ่มต้นจากการทบทวนความหมายระดับแนวคิด และองค์ประกอบของการวัดแนวคิดมุ่งตราสินค้า จากนั้นจึงดำเนินการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ผลข้อมูล 3 ขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้ 1) การสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 ท่าน เพื่อนำไปพัฒนาเนื้อหาข้อคำถามเพิ่มเติม 2) การประเมินมิติของการวัด และ 3) การตรวจสอบหลักฐานความตรงตามโครงสร้าง การสำรวจทางไปรษณีย์ในระยะที่หนึ่งกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งทำงานอยู่ในระดับบริหาร และระดับผู้จัดการชาวไทยที่รับผิดชอบหลักในงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ งานวางแผนกลยุทธ์การตลาดองค์กร และงานสื่อสารองค์กรที่ไม่ใช่ภาคธุรกิจ จำนวน 114 คน ผลการประเมินมิติที่เหมาะสมตรงตามโครงสร้างการวัดใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยมีเนื้อหาข้อคำถามรวมจำนวน 59 ข้อ สามารถจำแนกได้เป็น 7 องค์ประกอบตามกรอบแนวคิด คือ มิติค่านิยมมุ่งเน้นตราสินค้า 1) การมุ่งเน้นตราสินค้าภายใน 2) วัฒนธรรมตราสินค้า มิติบรรทัดฐานมุ่งเน้นตราสินค้า 3) การสื่อสารแบบผสมผสาน 4) การมีเป้าประสงค์ร่วมกัน มิติสัญลักษณ์มุ่งเน้นตราสินค้า 5) การบริหารเอกลักษณ์ตราสินค้า และมิติพฤติกรรมมุ่งเน้นตราสินค้า 6) การสร้างสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก 7) การสร้างสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน ส่วนผลการวิเคราะห์แบบจำลองการวัดจากชุดข้อมูลที่สำรวจทางไปรษณีย์ในระยะที่สอง จำนวน 235 คน ยืนยันองค์ประกอบตามโครงสร้างและได้มาตรวัดที่มีข้อคำถามทั้งหมดจำนวน 49 ข้อ ซึ่งผ่านเกณฑ์การทดสอบคุณภาพความเที่ยง ความตรงเชิงเหมือน และความตรงเชิงจำแนก นอกจากนี้ ผลการตรวจสอบทิศทางความสัมพันธ์ พบว่า องค์ประกอบวัฒนธรรมตราสินค้าส่งผลต่อการดำเนินงานองค์กรในภาพรวม และองค์ประกอบการมุ่งเน้นตราสินค้าภายใน กับการสร้างสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนภายในส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


ปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการซื้อสินค้าสำหรับของเด็กช่วงก่อนวัยเรียนของแม่เจเนอเรชันวาย, คณัสวรรณ อัศวจงรัก Jan 2019

ปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการซื้อสินค้าสำหรับของเด็กช่วงก่อนวัยเรียนของแม่เจเนอเรชันวาย, คณัสวรรณ อัศวจงรัก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการซื้อสินค้าสำหรับเด็กช่วงก่อนวัยเรียนของแม่เจเนอเรชันวาย และ 2) อิทธิพลของปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการซื้อสินค้าสำหรับเด็กช่วงก่อนวัยเรียนต่อความตั้งใจซื้อของแม่เจเนอเรชันวาย โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ และใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแม่เจเนอเรชันวายในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุ 26-43 ปี และมีบุตรช่วงก่อนวัยเรียน อายุ 2-5 ปี จำนวน 613 ชุด ผ่านช่องทางออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการซื้อสินค้าทั้ง 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล (บุคลิกภาพ และการหาข้อมูล) ปัจจัยทางจิตวิทยา (แรงจูงใจ และทัศนคติต่อการซื้อ) ปัจจัยทางสังคม (อิทธิพลของกลุ่มอ้างอิง และอิทธิพลของการบอกต่อผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์) และปัจจัยทางวัฒนธรรม (ความเป็นคติรวมหมู่) ล้วนมีความสำคัญต่อการซื้อสินค้ารถเข็นเด็ก (สินค้าประเภทเน้นประโยชน์ใช้สอย) และเสื้อผ้าเด็ก (สินค้าประเภทเน้นความเพลิดเพลินทางอารมณ์) นอกจากนั้น ผลการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการซื้อทั้ง 4 ปัจจัยต่อความตั้งใจซื้อสินค้า พบว่า บุคลิกภาพแบบไม่มั่นคงทางอารมณ์ มีอิทธิพลเชิงลบต่อการซื้อสินค้าทั้งสองประเภท ในขณะที่การหาข้อมูล ทัศนคติต่อการซื้อ และอิทธิพลของกลุ่มอ้างอิงด้านค่านิยมในการแสดงออก มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อสินค้าทั้งสองประเภท


การสื่อสารในการล่าแม่มดออนไลน์, จักรพันธ์ ชูสง Jan 2019

การสื่อสารในการล่าแม่มดออนไลน์, จักรพันธ์ ชูสง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) องค์ประกอบด้านการสื่อสารของกาล่าแม่มดและศาลเตี้ยออนไลน์ (2) ผลกระทบต่อชีวิตของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ถูกล่าแม่มดตลอดจนวิธีการแสวงหาทางออกของปัญหา โดยศึกษาตามกรณีศึกษาที่ปรากฏอยู่บนจำนวน 3 กรณีศึกษาผ่านเพจเฟซบุ๊กที่มีแนวโน้มจะเกิดการสื่อสารในการล่าแม่มดออนไลน์ในประเด็นที่ถูกโจมตี คือประเด็นเรื่องการเมืองผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นการกระทำมิบังควรต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ประเด็นเรื่องศีลธรรมผู้ที่ถูกตั้งคำถามเรื่องความสัมพันธ์กับพระเอกชื่อดัง และประเด็นเรื่องเพศสภาพผู้ที่ถูกตั้งคำถามถึงกับการเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นผู้หญิงข้ามเพศ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือการวิเคราะห์เนื้อหาประเด็นที่เพจนำเสนอและการแสดงความคิดเห็นของผู้ติดตามเพจ อีกทั้งยังทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกรณีศึกษาทั้ง 3 กรณีถึงผลกระทบและวิธีการแสวงหาทางออกของปัญหาจากการถูกล่าแม่มดและตัดสินโดยผู้คนในโลกออนไลน์ ผลการศึกษาองค์ประกอบด้านการสื่อสารในการล่าแม่มดออนไลน์ที่ประกอบไปด้วย การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง การกลั่นแกล้งออนไลน์ และการขุดคุ้ยข้อมูลส่วนตัว โดยการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่าประเด็นที่เพจนำเสนอ และการแสดงความคิดเห็นของผู้ติดตามเพจมีการสื่อสารในการล่าแม่มดออนไลน์เกิดขึ้น การสัมภาษณ์เชิงลึกกรณีศึกษาพบว่าผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ 1) ผลกระทบด้านสิทธิเสรีภาพ 2) ผลกระทบต่อครอบครัว 3) ผลกระทบต่อหน้าที่การงาน 4) ผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับผู้อื่น และวิธีการแสวงหาทางออกจากปัญหา คือ 1) การชี้แจงข้อเท็จจริงผ่านเฟซบุ๊ก 2) การชี้แจงข้อเท็จจริงผ่านสื่อมวลชน 3) การดำเนินคดีทางกฎหมาย ทั้งนี้การล่าแม่มดในโลกออนไลน์ที่พบในแต่ละกรณีศึกษามีความแตกต่างกัน ความรุนแรงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับประเด็นที่ถูกโจมตี ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับบริบทของสังคมไทยบรรทัดฐานหรือค่านิยมที่สังคมยึดถือปฏิบัติ