Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 2761 - 2790 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

กิจกรรม Unisearch Jan 2017

กิจกรรม Unisearch

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อคนทั้งมวล, ไตรรัตน์ จารุทัศน์, รุ่งอรุณ บุญรอด Jan 2017

การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อคนทั้งมวล, ไตรรัตน์ จารุทัศน์, รุ่งอรุณ บุญรอด

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


สัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร. พงศ์ศักดิ์ วัฒนสินธุ์ การออกแบบ ปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, พงศ์ศักดิ์ วัฒนสินธุ์ Jan 2017

สัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร. พงศ์ศักดิ์ วัฒนสินธุ์ การออกแบบ ปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, พงศ์ศักดิ์ วัฒนสินธุ์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

รองศาสตราจารย์ ดร. พงศ์ศักดิ์ วัฒนสินธุ์ภูมิสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนและออกแบบภูมิทัศน์ เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวบอกเล่าถึงพัฒนาการของการท่องเที่ยว รวมถึงทิศทางและแนวทางการวางแผน ออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน


เทคนิคเซอร์เฟสเอนฮานซ์รามานสแกตเตอริงเพื่อการตรวจหายาฆ่าแมลงคาร์โบฟูแรนในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร, พร้อมพงศ์ เพียรพินิจธรรม Jan 2017

เทคนิคเซอร์เฟสเอนฮานซ์รามานสแกตเตอริงเพื่อการตรวจหายาฆ่าแมลงคาร์โบฟูแรนในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร, พร้อมพงศ์ เพียรพินิจธรรม

UNISEARCH (Unisearch Journal)

สิ่งปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเป็นปัญหาสำคัญอย่างมาก โดยส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรไทยในวงกว้าง สารตกค้าง เช่น สารเคมี ยาฆ่าแมลง ยากำจัดศัตรูพืช ที่พบในผักผลไม้ เนื้อสัตว์ อาหาร หรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่น ๆ นำไปสู่ปัญหาสุขภาพ ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ และมะเร็งหลายชนิด เม็ดเงินจำนวนมากต้องสูญเสียไปในแต่ละปี เพื่อการรักษาผู้ป่วยจากปัญหาสุขภาพเหล่านี้ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น ข้าว ผัก และผลไม้หลายชนิด ที่มีสิ่งปนเปื้อนไม่สามารถขายได้ในราคาสูงและไม่สามารถส่งออกไปยังกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น หรือ สหภาพยุโรป ยิ่งไปกว่านั้นการตรวจพบเชื้อโรคต่าง ๆ สารเคมี ยาฆ่าแมลง หรือ ยากำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ส่งออกเพียงบางส่วน ส่งผลให้มีการยกเลิกหรือปฏิเสธคำสั่งซื้อผลิตภัณฑ์อื่น ๆตามมาอีกด้วย ซึ่งก่อให้เกิดปัญหากับการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิต ของประชากรไทยและป้องกันการยกเลิกการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากต่างประเทศผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจึงควรได้รับการตรวจสอบเบื้องต้นโดยผู้ผลิตหรือโรงงานเสียก่อน


การประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพเพื่อความมั่นคงทางอาหารในการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม Jan 2017

การประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพเพื่อความมั่นคงทางอาหารในการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม

UNISEARCH (Unisearch Journal)

การผลิตในภาคเกษตรกรรม เป็นภาคส่วนที่มีความอ่อนไหว(vulnerability) ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างมากอีกทั้งยังได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวคือ อุณหภูมิที่สูงขึ้นหรือลดลง สภาวะความแห้งแล้ง การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝนและความถี่ของฝนส่งผลโดยตรงต่อกิจกรรมการเพาะปลูก ช่วงการเจริญเติบโตของพืช ปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ซึ่งจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนอาหาร ความมั่นคงทางอาหารและความสามารถในการผลิตอาหารของประเทศต่าง ๆ ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีวิถีการเพาะปลกูที่เชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติถ่านชีวภาพ (Biochar) เป็นวัสดุที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นวัสดุปรับปรุงดิน (soil amendment) ที่มีประสิทธิภาพซึ่งส่งผลให้ดินมีคุณภาพที่ดีขึ้น (Sriburi and Wijitkosum, 2016;Wijitkosum and Kallayasiri, 2015; Yooyen et al., 2015;Masulili et al., 2010; Lehmann, 2009; Lehmann and Rondon,2006; Yamato et al., 2006) มีคุณสมบัติที่เอื้อต่อการเพาะปลูกพืช (Wijitkosum and Kallayasiri, 2015;Thies and Rillig, 2009; Chan et al., 2007) และเป็นวัสดุที่ช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตของพืชได้ดีขึ้น รวมทั้งช่วยเพิ่มผลผลิตพืชทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณของผลผลิต(Sriburi and Wijitkosum, 2016; Wijitkosum and Kallayasiri, 2015; Zhang et al., 2012; Lehmann et al., 2011) ถ่านชีวภาพสามารถผลิตได้จากวัตถุดิบซึ่งเป็นเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ซังข้าวโพด แกลบ เหง้ามันสำปะหลังทลายปาล์ม ฟางข้าว เป็นต้น (ทวีวงศ์ ศรีบุรี และเสาวนีย์ วิจิตรโกสุม, 2558; Zhan et al., 2015; Liu et al. 2014)และเศษไม้เหลือใช้หรือเหลือทิ้งจากการตัดแต่งกิ่งและต้นไม้ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้ง ไม้เนื้อแข็งและไม้เนื้ออ่อน (Sriburi and Wijitkosum, 2016; Sun et al., 2014) …


โครงการลดต้นทุนการเพาะปลูกข้าวและโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี, ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์, กันต์ แสงทอง, ภาคิน ดำภูผา Jan 2017

โครงการลดต้นทุนการเพาะปลูกข้าวและโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี, ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์, กันต์ แสงทอง, ภาคิน ดำภูผา

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ข้าว เป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญ ของประเทศไทยที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศอย่างมหาศาล ในแงมุ่มต่าง ๆข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย และเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมไทย ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นผู้เล่นสำคัญในฐานะผู้ส่งออกข้าวหลักในตลาดโลกไม่ต่่ำกว่า 30 ปี อย่างไรก็ตามชาวนาผ็ปลูก ข้าวกลับเป็นกลุ่มคนที่มีฐานะยากจนที่สุดกลุ่มหนึ่งของประเทศ ชาวนาประสบปัญหาราคาข้าวตกต่ำเนื่องจากราคาข้าวในตลาดมีความผันผวนสูงซึ่งเกิดจากความไม่สอดคล้องระหว่างปริมาณการผลิตและปริมาณความต้องการข้าวในตลาด ความผันผวนของราคาทำให้ชาวนาประสบปัญหาในการวางแผนการผลิตและการขายข้าวเปลือก ส่งผลให้ชาวนาประสบปัญหาหนี้สินเรื้อรังกับสถาบันการเงินภาครัฐและผู้ให้กู้ยืมเงินนอกระบบสถาบันการเงินตลอดมา


ข่าวและกิจกรรม รอบรั้วโครงการ Jan 2017

ข่าวและกิจกรรม รอบรั้วโครงการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


Manganese Removal From Aqueous Solution By Ozonation Process Designed By Box-Behken Design (Bbd), Sunisa Jongdee, Tinnakorn Kumsaen, Kitirote Wantala Jan 2017

Manganese Removal From Aqueous Solution By Ozonation Process Designed By Box-Behken Design (Bbd), Sunisa Jongdee, Tinnakorn Kumsaen, Kitirote Wantala

Applied Environmental Research

The aim of this research was to investigate interactions in the removal of manganese from contaminated water by oxidation through an ozonation process. The manganese oxidation was used to oxidize manganese ions (Mn2+) in solution to manganese dioxide (MnO2) in its brown solid form, in order to reduce levels of manganese ions in the water to below the acceptable limit for drinking water (0.05 mg L-1). In this study, the independent effects such as the initial concentration of manganese (5, 10 and 15 mg L-1), initial pH of solutions (3, 4 and 5) and ozone concentrations (10.970, 21.945 and 32.920 …


Prevalence Of Fatigue And Its Determinants Among Chemical Transportation Drivers In Chonburi, Sujee Phatrabuddha, Thitima Wonginta, Nantaporn Phatrabuddha Jan 2017

Prevalence Of Fatigue And Its Determinants Among Chemical Transportation Drivers In Chonburi, Sujee Phatrabuddha, Thitima Wonginta, Nantaporn Phatrabuddha

Applied Environmental Research

Driver fatigue is a recognized risk factor for commercial road transport industry drivers. The aim of this cross-sectional research was to assess the fatigue and its determining factors among 99 chemical transportation drivers in Chonburi. Driving fatigue was assessed by both subjective questionnaire (n = 99) and flicker fusion instrument (n = 88). The association between driving fatigue and related factors were analyzed by Pearson's correlation and Chi-square (?2). The results revealed that the prevalence of fatigue as assessed by critical flicker fusion analyzer, subjective fatigue question and either one of the instruments were 32.32 %, 16.16 % and 43.43 …


Assessment Of Water Usage And Water Management In Mae Fah Luang University, Yanasinee Suma, Nittaya Pasukphun, Anuttara Hongthong, Vivat Keawdounglek Jan 2017

Assessment Of Water Usage And Water Management In Mae Fah Luang University, Yanasinee Suma, Nittaya Pasukphun, Anuttara Hongthong, Vivat Keawdounglek

Applied Environmental Research

A university may be compared by its size of population and activities to a small city, with high water consumption and in need of effective water conservation strategies. This study presents the results of a study of water consumption on the Mae Fah Luang University campus in Chiang Rai, Thailand. Consumption was classified by activity type, water usage and water saving behavior of students and staff. The results suggest strategies for water conservation on campus. With a water conservation plan focusing on residential areas (halls and homes), which accounted for the highest levels of consumption on the campus. The study …


Land - Water - Population Model: Developing An Agricultural Resources Management In The Upper Part Of Pranburi Watershed, Jirattinart Thungngern, Thavivongse Sriburi, Saowanee Wijitkosum Jan 2017

Land - Water - Population Model: Developing An Agricultural Resources Management In The Upper Part Of Pranburi Watershed, Jirattinart Thungngern, Thavivongse Sriburi, Saowanee Wijitkosum

Applied Environmental Research

This research proposes the application of the Land-Water-Population (LWPM) concept in the upper part of the Pranburi Watershed. The objective of the study is to develop a model for agricultural resources management under the Sufficiency Economy Philosophy (SEP). The methodology is divided into three parts; 1) evaluate the soil quality in agricultural areas, 2) analyze water quality in agricultural land; and 3) assess farmer practice in agricultural resources management using a questionnaire. The study findings point to problems in soil and water conservation, suggesting that in the area should prioritize agricultural management, as advocated under the SEP, which provides guidelines …


Treatment Of Piggery Wastewater By Three Grass Species Growing In A Constructed Wetland, Supaporn Pongthornpruek Jan 2017

Treatment Of Piggery Wastewater By Three Grass Species Growing In A Constructed Wetland, Supaporn Pongthornpruek

Applied Environmental Research

The study aimed to investigate the efficiency of piggery wastewater treatment by the surface flow constructed wetland with three different grass species; bulrush (Scirpus spp.), cattail (Typha angustifoliaL.), and vetiver grass (Vetiveria zizanioides L.). All pilot units were used for wastewater treatment by the flowing surface water system, giving a system carrying capacity of several 0.18 m3 d-1 of HLR with a 5 day hydraulic retention time (HRT). The results showed that the cattail pilot showed improvement in several wastewater quality indicators: biochemical oxygen demand (BOD), chemical oxygen demand (COD) and total kjeldahl nitrogen (TKN) with efficiencies of 80.59, 84.11 …


การจัดการวิกฤตบนสื่อออนไลน์ของรายการ Club Friday The Series และ Let Me In Thailand, กวินธิดา จงถาวรสถิตย์ Jan 2017

การจัดการวิกฤตบนสื่อออนไลน์ของรายการ Club Friday The Series และ Let Me In Thailand, กวินธิดา จงถาวรสถิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาวิธีการจัดการวิกฤตในภาวะวิกฤตบนสื่อออนไลน์ และ 2.) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อการจัดการวิกฤตของรายการ Club Friday The Series กรณี "ป้าซุ่มทุ่มไม่อั้น" และกรณีรายการ Let Me In Thailand - ศัลยกรรมพลิกชีวิต ซีซั่น 3 เรื่องการโกหกเรื่องประวัติของผู้เข้าร่วมรายการ โดยศึกษาจาก 1.) การเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ผ่านโพสต์ คอมเม้นต์ และแชร์ของผู้เข้าชมบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ Club Friday The Series และรายการ Let Me In Thailand – ศัลยกรรมพลิกชีวิต ทวิตเตอร์ (Twitter) เว็บไซต์พันทิป (Pantip.com) และเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ ในช่วงเกิดภาวะวิกฤตจนกระทั่งภาวะวิกฤตสิ้นสุดลง เพื่อศึกษาการรับมือภาวะวิกฤตของทางรายการและความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นผู้ชมรายการ และ 2.) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการภาวะวิกฤตบนสื่อออนไลน์และสื่อมวลชน จำนวนรวมทั้งสิ้น 4 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า ถึงแม้ภาวะวิกฤตบนสื่อออนไลน์จะส่งผลให้ผู้ชมเกิดทัศนคติในแง่ลบต่อรายการ แต่ก็เป็นการทำให้ยอดการรับชมรายการตอนที่เกิดภาวะวิกฤตเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้รายการ Club Friday The Series ได้เลือกใช้วิธีนิ่งเฉยก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นการให้สัมภาษณ์เพื่อชี้แจงถึงภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นในภายหลัง แต่เนื่องจากทางรายการใช้เวลาดำเนินการนานเกินไป ทัศนคติในแง่ลบที่มีต่อรายการและแบรนด์บุคคลของคุณสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา (ดีเจพี่ฉอด) ผู้เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จึงยังไม่ถูกแก้ไข แต่เนื่องจากคุณสายทิพย์ได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาโดยตลอด จึงมีผู้ชมส่วนหนึ่งยังคงให้การสนับสนุนคุณสายทิพย์และรายการต่อไป ส่วนทางด้านรายการ Let Me In – Thailand เลือกใช้วิธีนิ่งเฉย และถึงแม้ว่ากลยุทธ์นี้จะทำให้ผู้ชมจะลืมภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นได้ แต่ภาพลักษณ์ของรายการและทัศนคติของผู้บริโภคก็ไม่ได้ถูกฟื้นฟูให้ดีขึ้นแต่อย่างใด


A Study Of Informal Loan In The Greater Bangkok Area: Fators Affecting Loan Decision And Interest Rate From The Demand Side, Wichyada Tanomchat Jan 2017

A Study Of Informal Loan In The Greater Bangkok Area: Fators Affecting Loan Decision And Interest Rate From The Demand Side, Wichyada Tanomchat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis examines the likelihood of borrowing money from the informal credit market, the significant factors influencing the informal interest rates, and the factors which affect people's decision on going back to rely on informal credit of individuals over 20+ years of age in four provinces, including Bangkok and Greater Bangkok, in Thailand. The survey uses a multi-stage stratified random sampling method by the weight of populations in each province for analysis with a quota sampling technique. The data used in the study is collected from 1,494 respondents by questionnaires. The results suggest that (i) luxury spending behavior, income levels, …


Determinants Of The Utilization Of Maternal Health Services In Myanmar, Myat Thu San Jan 2017

Determinants Of The Utilization Of Maternal Health Services In Myanmar, Myat Thu San

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study explored determinants of the utilization of three types of maternal health services in Myanmar: antenatal care (ANC), institutional delivery, and postnatal care (PNC), testing in particular the predisposing factors, enabling factors and perceived need factors. This study used a secondary dataset drawn from the Myanmar Demographic and Health Survey 2015-16 (MDHS). In this nationally representative survey, the number of households that were originally involved was 12,500, among which 12,885 women and 4,737 men were interviewed. The final sample used for analyses in this study consisted of over 3,800 women who had delivered at least one child within 5 …


Factors Influencing Health Care Utilization Among Middle Aged And Elderly People In China, Qilimuge - Jan 2017

Factors Influencing Health Care Utilization Among Middle Aged And Elderly People In China, Qilimuge -

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: China's one-child policy, significant advancement in health care, increase in life expectancy and decrease in birth rate all contribute to rapidly aging society. Proportion of elderly will continue to grow, which will put more burden on an already troubled health care system. This study tries to assess factors influencing health care utilization among middle-aged and elderly people in China. Objective: To analyze factors influencing health care utilization among middle-aged and elderly people in China. Methods: The study used secondary data from the China Health and Retirement Longitudinal Study (CHARLS) 2013 wave survey. The outcomes of interest include outpatient and …


Exploring Collaborative Governance Approaches To Addressing Trafficking And Forced Labour Of Migrant Workers In Thailand’S Fisheries Industry, Sara Sunisa Pasang Lehman Jan 2017

Exploring Collaborative Governance Approaches To Addressing Trafficking And Forced Labour Of Migrant Workers In Thailand’S Fisheries Industry, Sara Sunisa Pasang Lehman

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand's fishing industry has been in the global spotlight in recent years with continued international attention on human rights abuses taking place on fishing vessels and in fish processing areas. Recently, the Thai Government, suppliers and retailers have been spurred to action to eliminate forced labour and human trafficking from seafood supply chains, including collaborating through new multi-stakeholder initiatives (MSIs). This paper explores different examples of collaboration between the public sector, industry and civil society to combat forced labor and trafficking in Thailand's fishing industry. This research uses a conceptual framework based on collaborative governance to conduct qualitative research using …


Knowledge Politics In National Nuclear Energy Planning In Thailand (2007-2017) With A Case Study Of Ubon Ratchathani Province, Tipakson Manpati Jan 2017

Knowledge Politics In National Nuclear Energy Planning In Thailand (2007-2017) With A Case Study Of Ubon Ratchathani Province, Tipakson Manpati

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand has long aspired to nuclear power for electricity generation, and there are plans for nuclear power projects in the most recent Power Development Plans (2015-2036) - PDP 2015. The reason for incorporating nuclear power relates to anticipation of growing energy demand. Nuclear power is seen as an attractive option for diversifying energy sources, as to date Thailand has largely depended on domestic natural gas reserves and imported fuel resources. On the one hand, nuclear power has been promoted as a 'low carbon' emission option to mitigate greenhouse gas (GHG) emissions. On the other hand, nuclear technology carries significant potential …


The Fall Of The Communist Party Of Thailand From The Chinese Perspective, Feng Cui Jan 2017

The Fall Of The Communist Party Of Thailand From The Chinese Perspective, Feng Cui

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Communist movement in Thailand was part of the international communist movement. So Communism in Thailand was introduced from outside and also influenced by the outside world. The history of Communist Party of Thailand (CPT) was part of Cold War. In fact, the rise of the CPT and China's help were inseparably intertwined. Thai communists could not develop so fast without the help of China after the 1960s. However, the CPT finally failed in the 1980s due to its wrong strategy of development, internal divisions and struggles, the government's counterinsurgency, the loss of support from China, among other factors. There …


การเล่าเรื่องประเด็นสังคมผ่านคลิปวิดีโอบนสื่อออนไลน์, นิพัทธา อินทรักษา Jan 2017

การเล่าเรื่องประเด็นสังคมผ่านคลิปวิดีโอบนสื่อออนไลน์, นิพัทธา อินทรักษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์และอธิบายการเล่าเรื่องประเด็นสังคม บริบทของการเผยแพร่ และความเชื่อมโยงของเนื้อหาในคลิปวิดีโอบนสื่อออนไลน์กับสาระหลักของประเด็นสังคมที่นำเสนอ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) โดยวิเคราะห์คลิปวิดีโอจำนวน 15 เรื่อง ที่มีจำนวนผู้เข้าชมมากกว่า 100,000 ครั้ง และมีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นสังคมที่เผยแพร่บนสื่อออนไลน์ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2558-2560 ผลการวิจัยพบว่า คลิปวิดีโอที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นสังคมบนสื่อออนไลน์ มีการเล่าเรื่องผ่านเรื่องจริงและเรื่องแต่ง โดยที่การเล่าเรื่องผ่านเรื่องแต่งมี 2 ประเภท ได้แก่ เรื่องแต่งที่ได้แรงบันดาลใจจากเรื่องจริง และเรื่องแต่งจากจินตนาการ เมื่อวิเคราะห์ประเภทของเรื่อง (Genre) พบว่าเป็นแนวชีวิต แนวสารคดี แนวตลก แนวเพลง และแนวแอนิเมชั่น สำหรับบริบทของการเผยแพร่คลิปวิดีโอพบว่า มีคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการได้รับการแชร์และมีผู้ชมจำนวนมาก ได้แก่ เนื้อหาของคลิป ช่วงเวลาการเผยแพร่ตามเทศกาลและวันสำคัญ ความยาวของคลิปวิดีโอ ตัวหนังสือที่เป็นบทพูดประกอบการเล่าเรื่อง และการใช้แฮชแท็ก ในด้านความเชื่อมโยงของเนื้อหาในคลิปวิดีโอบนสื่อออนไลน์ กับสาระหลักของประเด็นสังคมพบว่า เป็นประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชนกับสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่อกลุ่ม ประเด็นสังคมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และประเด็นสังคมที่เกิดมาจากพฤติกรรมเบี่ยงเบน นอกจากนี้เนื้อหาในคลิปวิดีโอมีความเชื่อมโยงกับสาระหลักของประเด็นสังคมที่เป็นเหตุการณ์จริงในช่วงปี พ.ศ. 2558-2560 ได้แก่ เรื่องคุณธรรมจริยธรรม ความสงบสุขของสังคม ระบบการศึกษาที่เท่าเทียมกัน ความรุนแรงโหดร้ายในครอบครัว การหลอกลวงละเมิดและความเท่าเทียมทางเพศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สื่อปลอดภัยสร้างสรรค์ จิตสำนึกสาธารณะ การเคารพกติกา กฎหมาย สุขภาวะและโภชนาการ


การสื่อสารตราสินค้า ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมผู้บริโภคต่อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมของเจเนอเรชั่นวาย, ปุณชญา ใจภักดี Jan 2017

การสื่อสารตราสินค้า ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมผู้บริโภคต่อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมของเจเนอเรชั่นวาย, ปุณชญา ใจภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการสื่อสารตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ประเภทสินค้าที่เลือกใช้ในงานวิจัยเป็นสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพผิว ได้แก่ ตราสินค้า The Body Shop และตราสินค้า L'Occitane ซึ่งเป็นตราสินค้าที่มีจำหน่ายในประเทศไทย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาจากเอกสารจากสื่อต่าง ๆ ได้แก่ เว็บไซต์ เฟซบุ๊กแฟนเพจ ร้านค้า และ บทความโฆษณา ในช่วงระยะเวลา 1 ปี (2) วิเคราะห์ความแตกต่างของการรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคกลุ่มเจนวายที่มีความใส่ใจสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน (3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคกลุ่มเจนวายต่อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีเชิงปริมาณ มีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศชายและหญิง อายุ 18-38 ปี ที่รู้จักและทราบว่าทั้งสองตราสินค้ามีการดำเนินการเพื่อสิ่งแวดล้อมจำนวน 400 คน ผลการวิจัยตราสินค้า The Body Shop และ L'Occitane ในประเทศไทยโดยวิเคราะห์ช่องทางการสื่อสารทั้งหมด 6 ช่องทาง ได้แก่ (1) เอกลักษณ์ขององค์กร (2) แผนการรณรงค์เชิงการตลาดเหตุสัมพันธ์ (3) การโฆษณาองค์กร (4) การประชาสัมพันธ์องค์กร (5) การสื่อสารผ่านผู้แทนองค์กร และ (6) ผู้สนับสนุนกิจกรรม พบว่า ทั้งสองตราสินค้ามีการสื่อสารประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม โดยตราสินค้า The Body Shop เน้นประเด็นการสื่อสารเกี่ยวกับสัตว์ และตราสินค้า L'Occitane เน้นประเด็นเกี่ยวกับธรรมชาติของแคว้นโพวองซ์ ซึ่งตราสินค้า The Body Shop มีการสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนกว่า สำหรับผลการศึกษาในส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ผู้บริโภคที่มีความใส่ใจสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน มีการรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อตราสินค้าสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่า การรับรู้ตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติต่อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจซื้อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม และการรับรู้ตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจซื้อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเพื่อการสร้างความผูกพันของพนักงาน, พิชญ์ณัฐ เนื่องจำนงค์ Jan 2017

การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเพื่อการสร้างความผูกพันของพนักงาน, พิชญ์ณัฐ เนื่องจำนงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะวัฒนธรรมขององค์กร และศึกษารูปแบบการสนับสนุนการเป็นอาสาสมัครองค์กรเพื่อสร้างความผูกพันของพนักงาน 2) ศึกษาแนวทางการสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร 3) ศึกษาการสร้างแรงจูงใจในการทำงานด้านอาสาสมัครเพื่อสร้างความผูกพันของพนักงาน 4) ศึกษาอิทธิพลของการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะวัฒนธรรมขององค์กร การเป็นอาสาสมัครองค์กร และแรงจูงใจในการทำงานด้านอาสาสมัคร ที่มีต่อความผูกพันของพนักงาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานในการศึกษาองค์กรต่างชาติและองค์กรไทย ที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability indices) ประจำปี 2559 โดยเทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและใช้แบบสำรวจความคิดเห็น และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic analysis) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลจากการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมองค์กรด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นรากฐานหลักของการเป็นพลเมืองธุรกิจที่ดีและการสนับสนุนให้พนักงานเป็นอาสาสมัคร โดยรูปแบบการสนับสนุนนั้นมีทั้งแนวการสนับสนุนเชิงตอบสนองและเชิงกลยุทธ์ และยังพบว่าการสื่อสารมีบทบาทสำคัญในทุกขั้นตอนของการดำเนินโครงการอาสาสมัคร ทั้งในส่วนของการสื่อสารวัฒนธรรม การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และการสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานด้านอาสาสมัคร ซึ่งแนวทางการสื่อสารทั้งหมดที่องค์กรนำมาใช้มีส่วนช่วยสร้างความผูกพันของพนักงานได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นผลการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (SEM) ยังแสดงให้เห็นว่าการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะวัฒนธรรมขององค์กร แรงจูงใจในการทำงานด้านอาสาสมัคร และการเป็นอาสาสมัครองค์กร มีอิทธิพลทางตรงต่อความผูกพันของพนักงาน และในขณะเดียวกันวัฒนธรรมองค์กรก็ยังส่งผลทางอ้อมต่อความผูกพันของพนักงาน โดยมีแรงจูงใจในการทำงานด้านอาสาสมัคร และการเป็นอาสาสมัครองค์กร เป็นตัวแปรกลาง ดังนั้นผลการวิจัยชิ้นนี้จึงแสดงให้เห็นถึงรูปแบบการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่ส่งผลดีกับทั้งองค์กร พนักงาน และสังคมส่วนร่วม ทั้งยังได้นำเสนอวิธีการที่องค์กรต่าง ๆ สามารถนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม


ปฏิภาณทางภาษาเชิง "สองแง่สองง่าม" ในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทย, ภรัณยู ขำน้ำคู้ Jan 2017

ปฏิภาณทางภาษาเชิง "สองแง่สองง่าม" ในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทย, ภรัณยู ขำน้ำคู้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง ปฏิภาณทางภาษาเชิง "สองแง่สองง่าม" ในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายในการศึกษา 3 ประการ ประการแรกเพื่อศึกษาการใช้ปฏิภาณทางภาษาเชิงสองแง่สองง่ามในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทย ประการต่อมาเพื่อเปรียบเทียบการใช้ปฏิภาณทางภาษาเชิงสองแง่สองง่ามในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทยที่ต่างสมัยกัน และประการสุดท้ายวิเคราะห์วัฒนธรรมทางเพศวิถีที่สะท้อนผ่านภาษาเชิงสองแง่สองง่ามในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทย ซึ่งแบ่งยุคเพลงได้เป็น 3 ยุค คือ ยุคแรก (ราวพ.ศ. 2500 - 2519) ยุคกลาง (ราวพ.ศ. 2520 - 2549) และยุคปัจจุบัน (ราวพ.ศ. 2550 – ปัจจุบัน) โดยใช้เครื่องมือวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และการวิเคราะห์ตัวบท (Textual analysis) จากกลุ่มตัวอย่างเพลงลูกทุ่งไทยที่ศึกษาจำนวน 33 เพลง ประการแรก พบการใช้ปฏิภาณทางภาษาเชิงสองแง่สองง่าม 8 ประเภท ได้แก่ 1) สัญลักษณ์ 2) คำผวน 3) การเปลี่ยนเสียงสระ/พยัญชนะแต่เห็นเค้าคำสังวาส 4) คำพ้องเสียง 5) คำคุณศัพท์ที่สื่อนัยทางเพศ 6) หักข้อรอจังหวะ 7) การเล่าเรื่อง และ 8) การเลียนเสียงธรรมชาติ โดยพบการใช้ปฏิภาณทางภาษาเชิงสองแง่สองง่ามประเภทสัญลักษณ์มากที่สุด ประการที่สอง การใช้ปฏิภาณทางภาษาเชิงสองแง่สองง่ามในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทยแต่ละยุคมีความแตกต่างกัน โดยเพลงยุคแรกอยู่ในยุคที่มีการจัดระเบียบสังคมที่ส่งผลต่อความเคร่งครัดในการใช้ภาษาสุภาพ เพลงส่วนใหญ่จึงมีการเซ็นเซอร์ตัวเองสูง เพลงยุคปัจจุบันพบการใช้คำร้องภาษาเชิงสองแง่สองง่ามที่ตรงไปตรงมามากขึ้นเช่นเพลง "ปูหนีบอีปิ๊", "Yes แน่นอน" เพราะความคลี่คลายของยุคสมัยเนื่องจากอิทธิพลโลกาภิวัตน์และโดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เช่น Youtube ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแสดงศิลปะของตนอย่างเสรีมากขึ้นและปราศจากการควบคุมจากภาครัฐ ประการสุดท้าย วัฒนธรรมทางเพศวิถีพบว่า ภาพลักษณ์และพฤติกรรมทางเพศ สถานที่ และความเชื่อเรื่องเพศ สะท้อนอำนาจของฝ่ายชายหรือสังคมปิตาธิปไตย (Patriarchy) ที่สังคมอนุญาตให้เป็นผู้เริ่มปฏิบัติการทางเพศตั้งแต่ฝากรักไปจนถึงการร่วมเพศ อย่างไรก็ตาม ในหลาย ๆ บทเพลงโดยเฉพาะยุคกลางและยุคปัจจุบัน เช่นเพลง "ผู้ชายในฝัน", "ปล่อยน้ำใส่นาน้อง" ก็พบว่าฝ่ายหญิงท้าทายสังคมปิตาธิปไตยซึ่งฝ่ายหญิงเป็นผู้เริ่มปฏิบัติการทางเพศก่อน ดังนั้น ในบางแง่ของเพลงลูกทุ่งไทยกำลังยกระดับความเท่าเทียมกันทางเพศวิถีหญิงชายไทย


การประยุกต์ใช้บอร์ดเกมเพื่อพัฒนาทักษะสื่อสารการแสดง, รักชน พุทธรังษี Jan 2017

การประยุกต์ใช้บอร์ดเกมเพื่อพัฒนาทักษะสื่อสารการแสดง, รักชน พุทธรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของบอร์ดเกมที่ส่งเสริมทักษะสื่อสารการแสดง และเพื่อประยุกต์ใช้บอร์ดเกมในการพัฒนาทักษะสื่อสารการแสดง โดยการจัดกระบวนการประยุกต์ใช้บอร์ดเกมพื่อพัฒนาทักษะสื่อสารการแสดง ประกอบกับสหวิธีการ ได้แก่ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านบอร์ดเกมแบบเจาะลึก การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมโดยผู้วิจัย การประเมินก่อน-หลังการร่วมกิจกรรม และการสนทนากลุ่มกับกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นจึงนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ และนำเสนอผลการวิจัยเป็นลำดับ ผลของการวิจัยพบว่า กระบวนการประยุกต์บอร์ดเกมเพื่อพัฒนาทักษะสื่อสารการแสดง สามารถใช้พัฒนาทักษะสื่อสารการแสดงได้แก่ 1) ความสามารถในการใช้ภาษาพูด 2) ความพร้อมของอารมณ์และความรู้สึก 3) ความพร้อมของประสาทสัมผัส 4) สมาธิ 5) ความสามารถในการสังเกต 6) ความจำ 7) ความเข้าใจ 8) ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ 9) ความกล้าแสดงออก และ 10) การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยคัดเลือกบอร์ดเกมจากองค์ประกอบของบอร์ดเกม ได้แก่ 1) ประเภทของบอร์ดเกม ควรเป็นบอร์ดเกมประเภทปาร์ตี้เกม 2) แนวของบอร์ดเกม ควรเป็นแนวอารมณ์ขัน แนวโน้มน้าวใจ แนวเล่าเรื่อง และแนวตัดตัวเลือก 3) กลศาสตร์ของบอร์ดเกม ควรประกอบไปด้วย กลศาสตร์การสวมบทบาท กลศาสตร์การเล่าเรื่อง และกลศาสตร์การลงมติ เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการของเกมการแสดง และเพิ่มกลศาสตร์ที่ส่งเสริมการใช้ทักษะสื่อสารการแสดงอย่างเฉพาะเจาะจง จากนั้นจึงนำเกมที่เลือกแล้วมาวางโครงสร้างของกิจกรรม โดย 1) เริ่มด้วยเกมอุ่นเครื่อง 2) เข้าสู่เกมแนวตัดตัวเลือกที่มีกลศาสตร์การสวมบทบาท 3) เข้าสู่เกมแนวตัดตัวเลือกที่มีกลศาสตร์การมีคู่หู 4) เข้าสู่เกมที่เน้นไหวพริบ เพื่อประมวลทักษะสื่อสารการแสดงที่ได้ใช้ในแต่ละเกม และ 5) สนทนาหลังจบกิจกรรม เพื่อประเมินผลกิจกรรม


ภาพตัวแทนของพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในภาพยนตร์ไทย, วิริยาภรณ์ จุนหะวิทยะ Jan 2017

ภาพตัวแทนของพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในภาพยนตร์ไทย, วิริยาภรณ์ จุนหะวิทยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างภาพตัวแทนของพื้นที่ และความสัมพันธ์ระหว่างภาพตัวแทนของพื้นที่กับปรากฏการณ์ทางสังคมเกี่ยวกับพื้นที่ "สามจังหวัดชายแดนภาคใต้" ในภาพยนตร์ไทย โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์เนื้อหา (Textual Analysis) และวิเคราะห์บริบท (Contextual Analysis) ผ่านภาพยนตร์ไทยขนาดยาวที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผลิตและออกฉายในช่วงปี พ.ศ. 2546-2559 จำนวน 6 เรื่อง ประกอบการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ผลิตภาพยนตร์และนักวิชาการ จำนวน 7 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า ภาพยนตร์ไทยสร้างภาพตัวแทนของพื้นที่ "สามจังหวัดชายแดนภาคใต้" ด้วยกลวิธีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของระบบการสร้าง ตระกูลภาพยนตร์ และองค์ประกอบของเรื่องเล่าแต่ละประเภท โดยภาพยนตร์ที่สร้างในระบบสตูดิโอมักหลีกเลี่ยงการพูดถึงประเด็นความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยตรง ส่วนภาพยนตร์นอกระบบนั้นมักใช้วิธีการนำเสนอเชิงศิลปะและมุมมองเชิงปัจเจกในการวิพากษ์เหตุการณ์ ซึ่งภาพยนตร์ส่วนใหญ่ใช้องค์ประกอบการเล่าเรื่องตามตระกูลภาพยนตร์ที่สามารถเล่าเรื่องให้เข้าใจได้ง่าย นอกจากนี้ ภาพยนตร์แนวบันเทิงคดีนั้นมีวิธีการเล่าเรื่องพื้นที่อย่างหลากหลาย ไม่ยึดติดกับข้อมูลความจริง แตกต่างจากภาพยนตร์สารคดีที่เน้นการบันทึกภาพจากเหตุการณ์จริงมากกว่า ด้านความสัมพันธ์ระหว่างภาพตัวแทนของพื้นที่ "สามจังหวัดชายแดนภาคใต้" ในภาพยนตร์ไทยกับปรากฏการณ์ทางสังคมนั้น มีบทบาทในการสะท้อน การแสดงเจตจำนง และการประกอบสร้างความหมายของพื้นที่ตั้งแต่ระดับปัจเจกไปจนถึงระดับโครงสร้าง โดยผู้ผลิตภาพยนตร์เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตความหมายของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านสายตาของคนนอกพื้นที่ที่พยายามจะเข้าใกล้และทำความเข้าใจกับพื้นที่ดังกล่าวในเชิงบวกมากขึ้น


อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดผ่านไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคาท์ของสถาบันการเงินและการธนาคารต่อทัศนคติและการตัดสินใจเลือกใช้บริการของผู้บริโภค, วีรินทร์ วีระวรรณ Jan 2017

อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดผ่านไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคาท์ของสถาบันการเงินและการธนาคารต่อทัศนคติและการตัดสินใจเลือกใช้บริการของผู้บริโภค, วีรินทร์ วีระวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและความสัมพันธ์ของการเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านการสื่อสารการตลาดด้วยไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคาท์ กับทัศนคติและการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถาบันการเงินและการธนาคารของผู้บริโภค ซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่ใช้งานแอปพลิเคชันไลน์และเป็นผู้ที่มีไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคาท์ของสถาบันการเงินและการธนาคารประเภทธนาคารพาณิชย์อย่างน้อย 1 แอคเคาท์ จำนวน 400 คน โดยข้อมูลที่ได้จะนำมาวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติ t-test ร่วมกับการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ ANOVA ค่าสหสัมพันธ์แบบ Pearson และค่าการถดถอยแบบ Linear Regression ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านการสื่อสารการตลาดด้วยไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคาท์ของสถาบันการเงินและการธนาคารในภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านการโฆษณามากที่สุด รองลงมาคือ การประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมการขาย ตามลำดับ 2. กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกันมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารของสถาบันการเงินและการธนาคารผ่านการสื่อสารการตลาดด้วยไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคาท์ไม่แตกต่างกัน 3. การเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านการโฆษณามีความสัมพันธ์กับทัศนคติและการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถาบันการเงินและการธนาคาร ในทางกลับกัน การเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านการส่งเสริมการขายไม่มีความสัมพันธ์กับทั้งทัศนคติและการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถาบันการเงินและการธนาคาร 4. ทัศนคติต่อสถาบันการเงินและการธนาคารมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถาบันการเงินและการธนาคาร รวมทั้งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถาบันเหล่านี้ด้วย ในขณะที่การเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านการสื่อสารการตลาดด้วยไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคาท์กลับไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถาบันการเงินและการธนาคาร


ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มดิจิทัลเนทีฟไทยในการเลือกใช้แอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร, สสินาท แสงทองฉาย Jan 2017

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มดิจิทัลเนทีฟไทยในการเลือกใช้แอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร, สสินาท แสงทองฉาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างทางลักษณะประชากรกับการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ทัศนคติที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาด และพฤติกรรมในการเลือกใช้แอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหาร ตลอดจนอิทธิพลของการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร และทัศนคติต่อส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มดิจิทัลเนทีฟไทยในการเลือกใช้แอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหาร โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับผู้บริโภคกลุ่มดิจิทัลเนทีฟไทยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 384 คน และมีแอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหารที่เป็นตัวแทนในการวิจัยครั้งนี้ คือ แอปพลิเคชันฟู้ดแพนด้า (Foodpanda) ไลน์แมน (LINE MAN) และอูเบอร์อีสท์ (UberEATs) ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแอปพลิเคชันฟู้ดแพนด้า และไลน์แมนแตกต่างกัน และผู้บริโภคที่มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวต่างกัน การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแอปพลิเคชันฟู้ดแพนด้าแตกต่างกัน แต่ผู้บริโภคที่มีผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และจำนวนสมาชิกในครอบครัวต่างกัน มีการเปิดรับข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับแอพพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหารทั้ง 3 แอปพลิเคชัน จากสื่อประเภทต่าง ๆ ไม่แตกต่างกัน และผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และจำนวนสมาชิกในครอบครัวต่างกัน มีทัศนคติต่อแอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหารไม่แตกต่างกัน อีกทั้งผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และจำนวนสมาชิกในครอบครัวต่างกันมีพฤติกรรมการเลือกใช้แอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหารไม่แตกต่างกันเช่นกัน ในขณะที่ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการเลือกใช้แอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหารมากที่สุดคือ ทัศนคติที่มีต่อแอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหาร (Beta = 0.579) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ถัดมาคือการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหารจากสื่อประเภทต่าง ๆ (Beta = 0.158) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ตามลำดับ


การสร้างสรรค์หนังสือภาพสำหรับเด็กเพื่อสื่อสารประเด็นความหลากหลายทางเพศ, สุทธิอาภา คุ้มครอง Jan 2017

การสร้างสรรค์หนังสือภาพสำหรับเด็กเพื่อสื่อสารประเด็นความหลากหลายทางเพศ, สุทธิอาภา คุ้มครอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะสำคัญของหนังสือภาพสำหรับเด็กเพื่อสื่อสารประเด็นความหลากหลายทางเพศ, เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์หนังสือภาพสำหรับเด็กเพื่อสื่อสารประเด็นความหลากหลายทางเพศในบริบทสังคมไทย และเพื่อศึกษาความเข้าใจในประเด็นความหลากหลายทางเพศของผู้รับสารที่ได้รับจากหนังสือภาพสำหรับเด็กเพื่อความหลากหลายทางเพศในบริบทสังคมไทย จากผลการวิจัยพบว่าคุณลักษณะสำคัญของหนังสือภาพสำหรับเด็กเพื่อสื่อสารประเด็นความหลากหลายทางเพศ คือ การสอดแทรกประเด็นความหลากหลายทางเพศลงไปในรูปแบบการเล่าเรื่องด้วยคุณลักษณะพื้นฐานที่เรียบง่ายและคุ้นเคยดีของหนังสือภาพสำหรับเด็กโดยทั่วไป ด้วยกลวิธีการใช้สัญญะ และ/หรือการลดทอนความสมจริง โดยมีจุดประสงค์เพื่อสะท้อนการเห็นคุณค่าของบุคคล, เพื่อการให้อิสระในการเลือกและแสดงตัวตน และเพื่อการสร้างการยอมรับ คุณลักษณะสำคัญในข้างต้น ถูกนำมาเป็นฐานคิดเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการสร้างสรรค์หนังสือภาพสำหรับเด็กเพื่อสื่อสารประเด็นความหลากหลายทางเพศในบริบทสังคมไทย เรื่อง ชุดใหม่ของลูกหมี ซึ่งมีกระบวนการทั้งสิ้น 5 ขั้นตอน โดยในแต่ละขั้นตอนได้ทำการออกแบบและสอดแทรกแนวคิดความหลากหลายทางเพศในรูปแบบของสัญญะลงไปในองค์ประกอบของหนังสือภาพ อาทิ ตัวละคร เสื้อผ้าของตัวละคร และเนื้อหาคำบรรยาย เพื่อการสื่อสารในประเด็นการให้อิสระในการเลือกและการแสดงตัวตน และการเห็นคุณค่าและยอมรับบุคคลจากภายใน ผลการประเมินพบว่า ผู้รับสารสามารถเข้าใจประเด็นการให้อิสระในการเลือกและการแสดงตัวตนจากหนังสือภาพเรื่อง ชุดใหม่ของลูกหมี ได้ แต่ต้องอาศัยการทำความเข้าใจร่วมกับคำอธิบายเพิ่มเติมในท้ายเล่มเพื่อให้สามารถเข้าใจสารได้ชัดเจนขึ้น ผู้รับสารสามารถเข้าใจสัญญะของ "กระโปรง" และ "กางเกง" ได้ชัดเจนที่สุด โดยประเด็นการเห็นคุณค่าและยอมรับบุคคลจากภายในเกิดจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดให้การยอมรับความหลากหลายทางเพศโดยภูมิหลังอยู่แล้ว แต่ยังมีบางส่วนที่ปฏิเสธการเลือกหนังสือภาพเรื่อง ชุดใหม่ของลูกหมี ให้บุตร-หลานอ่าน เนื่องจากมองว่ายังไม่จำเป็นสำหรับครอบครัวตน


การกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์เพื่อความหลากหลาย, อิทธิพล วรานุศุภากุล Jan 2017

การกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์เพื่อความหลากหลาย, อิทธิพล วรานุศุภากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์เพื่อความหลากหลายในประเทศที่มีแบบแผนปฏิบัติที่ดี (2) เพื่อสร้างกรอบการกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์เพื่อความหลากหลาย และ (3) เพื่อศึกษาถึงความหลากหลายของรูปแบบรายการโทรทัศน์ ก่อนและหลังการประมูลโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจ ระดับชาติ ผลการศึกษา พบว่า การกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์เพื่อความหลากหลายจำเป็นต้องใช้การกำกับดูแลในหลายมิติ ทั้งการกำกับดูแลโครงสร้าง ได้แก่ การกำหนดประเภทใบอนุญาตประกอบกิจการ การกำหนดลักษณะความเป็นเจ้าของ การกำหนดแหล่งรายได้ของกิจการโทรทัศน์ การกำหนดพื้นที่การออกอากาศ และการกำหนดสัดส่วนการผลิตรายการของผู้ผลิตรายการอิสระ และการกำกับดูแลเนื้อหา ได้แก่ การกำหนดสัดส่วนเนื้อหารายการ นอกจากนั้น องค์กรกำกับดูแลควรมีมาตรการการเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินความหลากหลายในเนื้อหารายการโทรทัศน์ในหลายมิติ รวมถึงการส่งเสริมความรู้ และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายในเนื้อหารายการโทรทัศน์ให้แก่ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์และเครือข่ายภาคประชาสังคม สถานะความหลากหลายของรูปแบบรายการโทรทัศน์ในกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ในระบบอนาล็อก จำนวน 6 ช่องรายการ ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ.2554 และกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ในระบบดิจิตอล จำนวน 26 ช่องรายการ ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ.2559 ค่อนข้างใกล้เคียงกัน กล่าวคือ การมีช่องรายการเพิ่มขึ้นไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะทำให้ความหลากหลากหลายของรูปแบบรายการเพิ่มขึ้น แต่หากพิจารณาเฉพาะช่วงเวลาที่มีจำนวนผู้ชมสูง (Prime time) พบว่ามีความหลากหลายของรูปแบบรายการเพิ่มขึ้น


อารมณ์ในพฤติกรรมสารสนเทศของผู้ปกครองเด็กออทิสติกตามแบบเซ้นส์เมกกิ้งของเดอร์วิน, พรยุภา สิงห์สา Jan 2017

อารมณ์ในพฤติกรรมสารสนเทศของผู้ปกครองเด็กออทิสติกตามแบบเซ้นส์เมกกิ้งของเดอร์วิน, พรยุภา สิงห์สา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของอารมณ์ในพฤติกรรมสารสนเทศของผู้ปกครองเด็กออทิสติกตามแบบเซ้นส์เมกกิ้งของเดอร์วิน ผู้เข้าร่วมการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานเป็นออทิสติกอายุระหว่าง 1-12 ปี และดูแลด้วยตนเอง อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป เริ่มต้นคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และตามด้วยการแนะนำบอกต่อ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จากผู้เข้าร่วมการวิจัย จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาบทสัมภาษณ์และแบบสังเกตพฤติกรรมด้วยการถอดคำแบบสรุป และจัดกลุ่มข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า สภาวะอารมณ์ที่ปรากฏในพฤติกรรมสารสนเทศของผู้ปกครองเด็กออทิสติกตามแบบจำลองเซ้นส์เมกกิ้งของเดอร์วินมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบท สถานการณ์ ช่องว่าง สะพานหรือตัวเชื่อมและผลลัพธ์ทั้งสิ้น โดยสภาวะอารมณ์ที่พบนั้นเป็นอารมณ์พื้นฐานทั้ง 8 กลุ่ม ได้แก่ ดีใจ เสียใจ เชื่อใจ รังเกียจ กลัว โกรธ ตื่นเต้น ประหลาดใจ และมีความหวัง ทั้งนี้ในพฤติกรรมสารสนเทศของผู้ปกครองเด็กออทิสติก อารมณ์ที่เกิดขึ้นมักปรากฎและส่งผลต่ออีกอารมณ์หนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสับสนในอารมณ์ของผู้ปกครองเด็กออทิสติกที่ไม่สามารถจัดการอารมณ์ได้ และมีผลต่อการเลี้ยงดูด้วย