Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 2791 - 2820 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

ความคาดหวังของผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่อทักษะของบรรณารักษ์เรื่องเทคโนโลยีเว็บ 2.0 ที่ใช้สำหรับงานบริการสารสนเทศ, อลิษา สรเดช Jan 2017

ความคาดหวังของผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่อทักษะของบรรณารักษ์เรื่องเทคโนโลยีเว็บ 2.0 ที่ใช้สำหรับงานบริการสารสนเทศ, อลิษา สรเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่อทักษะของบรรณารักษ์เรื่องเทคโนโลยีเว็บ 2.0 ที่ใช้สำหรับงานบริการสารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันที เทคโนโลยีเครือข่ายสังคม เทคโนโลยีบล็อก เทคโนโลยีไมโครบล็อก เทคโนโลยีวิกิ และเทคโนโลยีอาร์เอสเอส โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้อำนวยการ/หัวหน้า/ผู้บริหารสูงสุดของห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวน 120 แห่งแห่งละ 1 คน รวม 120 คน ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยมีความคาดหวังต่อทักษะของบรรณารักษ์เรื่องเทคโนโลยีเว็บ 2.0 ที่ใช้สำหรับงานบริการสารสนเทศในระดับมากในทุกเทคโนโลยี ยกเว้น เทคโนโลยีเครือข่ายสังคมที่มีความคาดหวังในระดับมากและมากที่สุด สำหรับทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละเทคโนโลยี คือ 1) สามารถตอบคำถามและช่วยผู้ใช้สืบค้นสารสนเทศด้วยเทคโนโลยีการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันที 2) สามารถประชาสัมพันธ์ข่าวสารของห้องสมุดด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายสังคม 3) สามารถสอนเรื่องการใช้ห้องสมุดและสามารถส่งเสริมการใช้ห้องสมุดด้วยเทคโนโลยีบล็อก 4) สามารถประชาสัมพันธ์ข่าวสารของห้องสมุดด้วยเทคโนโลยีไมโครบล็อก 5) สามารถส่งเสริมการใช้ห้องสมุดด้วยเทคโนโลยีวิกิ และ 6) สามารถประชาสัมพันธ์ข่าวสารของห้องสมุดและสามารถเผยแพร่ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีอาร์เอสเอส


บทบาทของมุสลิมไทยในการเคลื่อนไหวทางสังคมผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจอิสลามในประเทศไทย, สมพร หลงจิ Jan 2017

บทบาทของมุสลิมไทยในการเคลื่อนไหวทางสังคมผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจอิสลามในประเทศไทย, สมพร หลงจิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งเน้นศึกษาการเคลื่อนทางสังคมเพื่อกำหนดโครงสร้างทางเศรษฐกิจตามระบบอิสลามในประเทศไทย ด้วยมุสลิมในประเทศไทยซึ่งมีประมาณ 10% หรือ 6-7 ล้านคน มีความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่างจากสังคมไทยทั่วไป การปฏิบัติตนในสังคมรวมทั้งการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงแตกต่างกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของสังคมไทยที่ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม อาทิ ระบบการเงินใช้ระบบการเงินที่ขับเคลื่อนด้วยดอกเบี้ยแต่อิสลามมีข้อห้ามเรื่องดอกเบี้ย หรือการบริโภคที่มุสลิมจะต้องบริโภคอาหารฮาลาล เป็นต้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบอิสลามเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนมุสลิมการดำเนินชีวิตและการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ถูกต้องตามหลักศาสนา ตามรัฐรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้รัฐจะต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้แก่คนในสังคมทุกกลุ่ม หลายสิบปีที่ผ่านมาภาครัฐไม่ได้ตอบสนองความต้องการของมุสลิมเท่าที่ควรจะเป็น แม้จะมีการออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการอุปถัมภ์ศาสนาอิสลาม 2 ฉบับและพระราชบัญญัติองค์กรมัสยิดก็ตาม จึงเกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่ออิสลามผลักดันเรียกร้องให้มีการออกกฎหมายเพื่อกำหนดโครงสร้างทางเศรษฐกิจตามแนวทางอิสลาม ขบวนการเคลื่อนไหว ประกอบด้วย นักการเมืองมุสลิม นักการศาสนา นักธุรกิจและนักเคลื่อนไหวทางสังคมประสานความร่วมมือกันในการเคลื่อนไหวในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการทำความเข้าใจให้ฝ่ายการเมืองผู้กำหนดนโยบายได้เข้าใจและเห็นด้วย การสร้างความเข้าใจกับบรรดาข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสร้างความเข้าใจกับสังคมโดยทั่วไป ซึ่งต้องใช้เวลายาวนานหลายสิบปี เนื่องจากถูกมองเป็นประเด็นด้านความมั่นคง การเคลื่อนไหวที่ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย การจัดตั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย การออกกฎหมายการบริหารองค์กรอิสลามในประเทศไทย ที่ทำให้มีความคล่องตัวในการพัฒนาระบบการตรวจรับรองฮาลาล ความสำเร็จเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย นักการเมืองมุสลิม ภาคประชาสังคมที่ผลักดันจนเกิดการยอมรับจากฝ่ายกำหนดนโยบาย


แนวจริตของพริตตี้ในเขตกรุงเทพมหานคร, ณัฐฎา คงศรี Jan 2017

แนวจริตของพริตตี้ในเขตกรุงเทพมหานคร, ณัฐฎา คงศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการเข้าสู่อาชีพ พริตตี้ และกระบวนการรับและปรับใช้วัฒนธรรมของพริตตี้เพื่อให้ตนดำรงอยู่ในกลุ่มอาชีพและสังคมได้ โดยใช้แนวคิดเรื่องฮาบิทัส และทุน ของปิแอร์ บูร์ดิเยอร์ การศึกษานี้ ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มบุคคลที่ศึกษาแบบเจาะลึก (In-depth interview) และมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยมีพริตตี้ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นกรณีศึกษา จำนวน 11 คน ผลการศึกษาพบว่า ประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อแนวจริตของพริตตี้ เกิดจากการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมที่มีลักษณะการให้อิสระ และฝึกฝนการเอาตัวรอดให้อยู่ด้วยตนเองได้ รวมถึงการเติบโตท่ามกลางการแสดงออกในเวทีสาธารณะตั้งแต่อายุยังน้อย พริตตี้จึงมีลักษณะเด่นคือ มีความคุ้นชินกับพื้นที่สาธารณะ มีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีความช่างสังเกต และมีการวางท่วงท่าในการตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม เหล่านี้คือฮาบิทัส ที่ได้พัฒนากลายไปเป็นทักษะหรือทุนวัฒนธรรมประเภทที่มีอยู่ในตัวบุคคล (Embodied form) ซึ่งสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นทุนเศรษฐกิจ ทุนสังคม และทุนสัญลักษณ์ ต่อไป เมื่อเข้าสู่อาชีพพริตตี้แล้ว แนวจริตดังกล่าว จะเข้าไปมีผลตั้งแต่การเลือกรับงาน การเลือกลูกค้า โดยในระหว่างการทำงาน พริตตี้จะให้ความสำคัญกับการวางตัวให้เหมาะสมกับลูกค้ามากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกค้าสามารถเพิ่มระดับความเข้มข้นของรูปแบบงานที่ตนไม่ได้เลือกรับได้ โดยมีความสวยงามของรูปร่างหน้าตาและการพูด เป็นทักษะรองลงมา ความมั่นใจและความกล้าแสดงออก เป็นอันดับสุดท้าย นอกจากนี้ ฮาบิทัสยังส่งผลต่อการเลือกคู่รักของพริตตี้ ที่จะต้องให้อิสระและมีทักษะในการพึ่งตนเองได้เช่นเดียวกับตน รวมถึงการประกอบอาชีพในอนาคตหลังจากเลิกอาชีพพริตตี้แล้ว พริตตี้จะยังคงไว้ซึ่งกลุ่มอาชีพอิสระ เช่น เปิดร้านค้า หรือทำธุรกิจส่วนตัว ต่อไป


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกเรียนโขนนอกวิทยาลัยนาฏศิลป์ ในเขตกรุงเทพมหานคร, กันต์ จามรมาน Jan 2017

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกเรียนโขนนอกวิทยาลัยนาฏศิลป์ ในเขตกรุงเทพมหานคร, กันต์ จามรมาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการเลือกเรียนโขนนอกวิทยาลัยนาฏศิลป์ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนที่เลือกเรียนโขนและศิลปะแขนงอื่น ๆ จำนวน 331 คน จากการสุ่มเลือกแบบเจาะจงกลุ่มจากโรงเรียนทั้งหมด 10 โรงเรียน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ มีแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผ่านการวิเคราะห์ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกเรียนโขน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกเรียนโขนนอกวิทยาลัยนาฏศิลป์ ในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยกลุ่มปัจจัย 7 กลุ่ม ได้แก่ (1) ประโยชน์ของนาฏศิลป์โขนที่มีต่อตนเอง (2) ความสามารถทางโขน (3) ความคุ้นเคยเกี่ยวกับโขน (4) ความสอดคล้องเหมาะสมต่อตนเอง (5) สิ่งตอบแทนจากภายนอก (6) ทัศนคติของคนรอบข้าง (7) อาจารย์ผู้สอนและสถาบัน 2) ปัจจัยภายนอก 3 ตัว คือ สิ่งตอบแทนภายนอก ทัศนคติของคนรอบข้าง และอาจารย์ผู้สอนและสถาบัน ได้ส่งอิทธิพลไปยังปัจจัยภายใน ได้แก่ ความคุ้นเคยเกี่ยวกับโขน ความสามารถทางโขน ความสอดคล้องเหมาะสมต่อตนเองและประโยชน์ของนาฏศิลป์โขนที่มีต่อตนเอง 3) ปัญหาและอุปสรรคในการเรียนโขนสำหรับผู้เรียนนอกวิทยาลัยนาฏศิลป์ ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า (1) อาจารย์ผู้สอนและสถาบันเน้นที่การแสดงเป็นหลัก (2) โรงเรียนหรือสถาบันไม่มีอาจารย์ผู้สอนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโขนโดยตรงหรือมีอาจารย์ผู้สอนไม่เพียงพอ (3) ขาดความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการพัฒนาทักษะการแสดงโขน (4) โอกาสในการแสดงความสามารถมีน้อย (5) สถาบันขาดการยอมรับจากสังคมว่าเป็นสถาบันที่ดีมีคุณภาพ


ปัจจัยด้านประชากร เศรษฐกิจสังคม และอนามัยเจริญพันธุ์ที่ส่งผลต่อการมีบุตรคนแรกช้าของสตรีสมรสในประเทศไทย, ณิชกานต์ แก้วบัวดี Jan 2017

ปัจจัยด้านประชากร เศรษฐกิจสังคม และอนามัยเจริญพันธุ์ที่ส่งผลต่อการมีบุตรคนแรกช้าของสตรีสมรสในประเทศไทย, ณิชกานต์ แก้วบัวดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) นำเสนอสถานการณ์และแนวโน้มของอายุเมื่อมีบุตรคนแรก และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากร เศรษฐกิจสังคม และอนามัยเจริญพันธุ์กับการมีบุตรคนแรกช้า ของสตรีสมรสในประเทศไทย การศึกษาประยุกต์ใช้แนวคิดตัวแบบเหตุและผลของอายุเมื่อมีบุตรคนแรก (Causal Model of Age at First Birth) ของ Rindfuss & St.John (1983) และใช้ข้อมูลเชิงปริมาณจากการสำรวจของโครงการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและความอยู่ดีมีสุขในบริบทสังคมสูงวัย (Survey of Population Change and Well-being in the Context of Aging Society : PCWAS) ของวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งดำเนินการจัดเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน - กันยายน พ.ศ. 2559 มีประชากรตัวอย่าง คือสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุระหว่าง 15-49 ปี ที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่าง โดยการศึกษาครั้งนี้เลือกเฉพาะสตรีเคยสมรสอายุระหว่าง 30-49 ปี ที่มีบุตรเกิดมีชีพอย่าง 1 คน และมีข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ครบถ้วน (N=4,324) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สมการถดถอยแบบโลจิสติกทวิภาค (Binary Logistic Regression Analysis) โดยตัวแปรตามคืออายุเมื่อมีบุตรคนแรกช้าของสตรี แปลงค่าให้เป็นตัวแปรหุ่น โดย 0 แสดงอายุสตรีที่มีบุตรคนแรกก่อนอายุ 29 ปี และ 1 แสดงตรงกันข้าม ผลการศึกษาสถานการณ์และแนวโน้มของอายุเมื่อมีบุตรคนแรกของสตรีสมรสในประเทศไทย พบว่าสตรีมีอายุเฉลี่ยเมื่อมีบุตรคนแรกอยู่ที่ 23.5 ปี โดยมีสัดส่วนของสตรีที่มีบุตรคนแรกก่อนอายุ 29 ปี และตั้งแต่ 29 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 82.6 และ 17.4 ตามลำดับ และอายุเมื่อมีบุตรคนแรกของสตรีมีแนวโน้มเป็นลักษณะคงที่ในช่วง ระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้พบว่า อายุแรกสมรส จำนวนบุตรที่ต้องการ ระดับการศึกษา เขตที่อาศัย การมุ่งเน้นการทำงาน สถานที่ทำงาน รายได้ปัจจุบัน ความสามารถในการมีบุตร …


ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางกาย สภาพแวดล้อม การมีส่วนร่วมทางสังคม และสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย, นามชัย กิตตินาคบัญชา Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางกาย สภาพแวดล้อม การมีส่วนร่วมทางสังคม และสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย, นามชัย กิตตินาคบัญชา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สังคมสูงวัยของไทยเริ่มประสบปัญหาการขาดสมดุลเชิงโครงสร้างประชากรโดยจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นแต่จำนวนวัยแรงงานกลับลดลงสะท้อนภาระพึ่งพิงทางสังคมสูงขึ้นเป็นลำดับ ดังนั้น การหาแนวทางเพิ่มหรือคงรักษาศักยภาพของผู้สูงอายุให้ได้อำนวยประโยชน์มากและยาวนานที่สุดจึงเป็นหนทางหนึ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับสังคมส่วนรวม ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะสามารถเข้าใจถึงสภาพที่กำหนดพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุไทย (ซึ่งถูกยอมรับโดยทั่วกันว่าเป็นการใช้ศักยภาพในการสร้างประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้สูงอายุเองและต่อสังคมส่วนรวมด้วย) จากแนวคิดสมมติฐานการคล้อยตามสภาพแวดล้อม (The Environmental Docility Hypothesis) ทางนิเวศวิทยาการสูงอายุเชื่อว่า ความสามารถทางกายกับสภาพแวดล้อมเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมซึ่งส่งผลถึงจิตใจของผู้สูงอายุด้วย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางกาย สภาพแวดล้อม การมีส่วนร่วมทางสังคม และสุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุไทย และเพื่อศึกษาอิทธิพลของความสามารถทางกายและสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุที่ต่างและร่วมกันส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางสังคมและสุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุ รวมทั้งเพื่อศึกษาอิทธิพลของความสามารถทางกายและสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุที่ส่งผลผ่านการมีส่วนร่วมทางสังคมไปสู่สุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุ โดยอาศัยข้อมูลจากโครงการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย ปีพ.ศ. 2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งประชากรเป้าหมายคือผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ผู้วิจัยได้ทำการถ่วงน้ำหนักด้วยโครงสร้างประชากรของประเทศ โดยตัวอย่างทั้งหมดหลังถ่วงน้ำหนักมีจำนวน 13,331 รายซึ่งเลือกเฉพาะผู้ตอบแบบสำรวจด้วยตนเอง จากนั้นจึงใช้การวิเคราะห์ทางสถิติความถดถอยเชิงซ้อน และการทดสอบความเป็นตัวแปรแทรกกลาง ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถทางกาย และสภาพแวดล้อมทางสังคม (จากครอบครัว และจากรัฐ/ชุมชน/สังคม) ต่างมีอิทธิพลทางตรงทางบวกต่อการมีส่วนร่วมทางสังคมและสุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุ รวมทั้งต่างมีอิทธิพลทางอ้อมทางบวกผ่านการมีส่วนร่วมทางสังคมไปสู่สุขภาพจิตที่ดีด้วย แต่สำหรับสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในบ้านซึ่งมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับความสามารถทางกายส่งผลให้มีผลทางลบต่อการมีส่วนร่วมทางสังคม แต่มีอิทธิพลทางตรงทางบวกต่อสุขภาพจิตที่ดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนปฏิสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางกายกับสภาพแวดล้อมทางสังคมจากรัฐ/ชุมชน/สังคมมีอิทธิพลทางบวกต่อการมีส่วนร่วมทางสังคม และปฏิสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางกายกับสภาพแวดล้อมทางสังคมจากครอบครัวมีอิทธิพลทางบวกต่อสุขภาพจิตที่ดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 สรุปได้ว่า การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความสามารถทางกายที่มากและลดลงได้ช้าที่สุด และการสนับสนุนสภาพแวดล้อมทางสังคม (จากครอบครัว และจากรัฐ/ชุมชน/สังคม) ของผู้สูงอายุให้ได้มากจะทำให้ผู้สูงอายุสามารถรักษาทั้งการมีส่วนร่วมทางสังคมและสุขภาพจิตที่ดีไว้ได้มากและต่อเนื่องนานที่สุด รวมทั้งสภาพแวดล้อมทางสังคมจากครอบครัวยังสามารถช่วยชะลอระดับสุขภาพจิตที่ดีที่จะลดลงจากผลของความสามารถทางกายที่ต้องลดลงตามอายุไว้ได้ด้วย และสภาพแวดล้อมทางสังคมจากรัฐ/ชุมชน/สังคมยังสามารถช่วยชะลอระดับการมีส่วนร่วมทางสังคมที่จะลดลงจากผลของความสามารถทางกายที่ต้องลดลงตามอายุไว้ได้ด้วย ผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์ทั้งให้ภาครัฐหรือผู้เกี่ยวข้องด้านการบริหารนโยบายสาธารณะมีแนวทางสนับสนุนการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุเพื่อสามารถนำศักยภาพของผู้สูงอายุไทยมาเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าของประเทศได้เพิ่มขึ้น และสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีด้วย


การเปลี่ยนผ่านเป็นประชาธิปไตยที่ไม่ตั้งมั่น: ความล้มเหลวของการทำให้เป็นประชาธิปไตยในประเทศไทย, จิราภรณ์ ดำจันทร์ Jan 2017

การเปลี่ยนผ่านเป็นประชาธิปไตยที่ไม่ตั้งมั่น: ความล้มเหลวของการทำให้เป็นประชาธิปไตยในประเทศไทย, จิราภรณ์ ดำจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยของไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสารบนฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ และการทำความเข้าใจการเมืองไทยผ่านแนวคิดการทำให้เป็นประชาธิปไตย แนวคิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย แนวคิดการตั้งมั่นของประชาธิปไตย แนวคิดฉันทามติ และทฤษฎีชนชั้นนำ วิทยานิพนธ์นี้ศึกษากระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยไทยที่สำคัญ 4 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงแรกปี 2475 - 2490 สอง ระหว่างปี 2516 - 2519 สาม ระยะเวลาตั้งแต่ปี 2540 - 2549 และสี่ ช่วงเวลาปี 2550 - 2557 ผลการศึกษาพบว่า ความล้มเหลวในกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยใน 4 ช่วงเวลานี้เกิดขึ้นจากการที่ชนชั้นนำ ทั้งในฝ่ายอนุรักษนิยมและชนชั้นนำที่มาจากการเลือกตั้งไม่มีเจตนาที่จะสถาปนาและจรรโลงประชาธิปไตยให้ยั่งยืน ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำ 2 กลุ่มหลักทำให้รัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับไม่ได้รับฉันทามติและมักขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ขณะที่การประนีประนอมในกลุ่มชนชั้นนำด้วยกันเองส่งผลให้การออกแบบสถาบันทางการเมือง เช่น วุฒิสภาและองค์กรอิสระขาดการเชื่อมโยงกับประชาชน นอกจากปัญหารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองแล้วยังพบว่า ทั้ง 4 ช่วงเวลาที่ศึกษา ตัวแสดงทางการเมืองยังแสดงบทบาทเหนี่ยวรั้งแทนส่งเสริมการจรรโลงประชาธิปไตยอีกด้วย เช่น การทุจริตคอร์รัปชัน การไม่พร้อมรับผิดชอบและยอมรับการตรวจสอบ และการที่สังคมยอมรับบทบาทของกองทัพในการแทรกแซงทางการเมือง โดยรวมแล้วพบว่า การขับเคี่ยวระหว่างพลังอนุรักษนิยมกับพลังที่ต้องการเดินหน้าสู่ประชาธิปไตยในทุกช่วงเวลา มักจบลงด้วยชัยชนะของพลังอนุรักษนิยมในการร่างรัฐธรรมนูญและออกแบบสถาบันทางการเมืองเพื่อรักษาและคงไว้ซึ่งอำนาจของกลุ่มชนชั้นนำอนุรักษนิยม


ชาตินิยมไทยกับข้อพิพาทเรื่องดินแดน : ศึกษาเปรียบเทียบรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม และรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, ดาวราย ลิ่มสายหั้ว Jan 2017

ชาตินิยมไทยกับข้อพิพาทเรื่องดินแดน : ศึกษาเปรียบเทียบรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม และรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, ดาวราย ลิ่มสายหั้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอิทธิพลของแนวคิดชาตินิยมต่อการใช้กำลังทหารในปัญหาข้อพิพาทเรื่องดินแดนของไทยในสมัยรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม พ.ศ.2481-2484 และรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พ.ศ.2551-2554 ว่ามีลักษณะแตกต่างกันอย่างไรเนื่องจากในสมัยรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม แนวคิดชาตินิยมมีอิทธิพลจนนำไปสู่สงครามอินโดจีนพ.ศ.2484 ในขณะที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นเพียงการปะทะตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการวิจัยเอกสารและนำแนวคิดชาตินิยมมาประยุกต์ใช้ร่วมกับแนวทางการวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่าแนวคิดชาตินิยมมีอิทธิพลต่อการใช้กำลังทหารในปัญหาข้อพิพาทเรื่องดินแดนทั้งสองสมัยแตกต่างกันเนื่องจากเงื่อนไขภายในประเทศ คือ สภาพการเมืองภายในประเทศที่มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพอย่างมาก รัฐบาลสามารถควบคุมอำนาจการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายต่างประเทศในการใช้กำลังทหารผนวกดินแดนที่เป็นข้อพิพาทได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มการเมืองอื่นๆ ที่ออกมาคัดค้าน กอรปกับกลุ่มการเมืองชาตินิยมที่สนับสนุนมาตรการทางทหารเป็นตัวแสดงในอำนาจรัฐที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายต่างประเทศโดยตรงส่งผลให้การดำเนินนโยบายต่างประเทศมีทิศทางในการใช้กำลังทหารและนำไปสู่สงครามระหว่างประเทศในที่สุด ส่วนเงื่อนไขภายนอกประเทศ คือ การที่ประเทศคู่พิพาทกำลังเผชิญปัญหาความมั่นคงทางทหาร ดังเช่นกรณีที่ฝรั่งเศสถูกเยอรมนีโจมตีในสงครามโลกครั้งที่สองได้เอื้อให้รัฐบาลไทยตัดสินใจใช้กำลังทหารและทำสงครามในปัญหาข้อพิพาทเนื่องจากรัฐบาลประเมินสถานการณ์แล้วพบว่าประเทศไทยมีโอกาสชนะสงคราม ดังนั้นเงื่อนไขภายในประเทศและภายนอกประเทศข้างต้นส่งผลให้แนวคิดชาตินิยมแสดงบทบาทและมีอิทธิพลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจนยกระดับไปสู่สงครามระหว่างประเทศในที่สุด


อนุรักษนิยมไทยกับนโยบายต่างประเทศ (พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2521), ศิบดี นพประเสริฐ Jan 2017

อนุรักษนิยมไทยกับนโยบายต่างประเทศ (พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2521), ศิบดี นพประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาบทบาทของอนุรักษนิยมไทยที่มีต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศในช่วง พ.ศ. 2516 ถึง พ.ศ. 2521 อันเป็นช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในเวทีระหว่างประเทศและในการเมืองไทย ทั้งนี้ ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองภายในของไทยอันเกิดขึ้นจากการขยายตัวของพลังฝ่ายขวาในการต่อต้านขบวนการนักศึกษาและขบวนการเคลื่อนไหวอื่นจำนวนมากในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคหลังการประกาศถอนตัวของสหรัฐฯ ออกจากเวียดนาม ทำให้รัฐอนุรักษนิยมไทยต้องหาทางเลือกใหม่สำหรับการรักษาระบอบที่จะนำเสถียรภาพและความมั่นคงกลับคืนมา นั่นคือการตัดสินใจเลือกแนวทางการปรับนโยบายที่แตกต่างจากข้อเรียกร้องของขบวนการฝ่ายขวา โดยผลการศึกษาพบว่าอนุรักษนิยมไทยในบริบทของการกำหนดนโยบายต่างประเทศนั้นไม่มีความเป็นเอกภาพ นั่นคือ มีทั้งอนุรักษนิยมที่มีบทบาทที่สำคัญในการปรับนโยบายต่างประเทศให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้วยการสนับสนุนการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และกลุ่มประเทศอินโดจีน และอนุรักษนิยมที่เป็นฝ่ายขวา คือ ต่อต้านคอมมิวนิสต์ ต่อต้านประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ และต่อต้านการปรับนโยบายต่างประเทศต่อประเทศคอมมิวนิสต์ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จแต่อย่างใด จึงอาจกล่าวได้ว่าอนุรักษนิยมฝ่ายขวาเป็นปัจจัยสร้างเงื่อนไขเร่งความไร้เสถียรภาพทางการเมืองภายในของไทย และสามารถสั่นคลอนฐานะของรัฐบาลได้ แต่กลับไม่ได้มีผลต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศ


บทบาทการเป็นตัวแปรส่งผ่านของการรับรู้ความสามารถในการเป็นบิดามารดาในความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของบิดามารดาในพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของบุตรออทิสติกกับปัญหาทางจิตใจของบิดามารดา, เอื้อจิต พูนพนิช Jan 2017

บทบาทการเป็นตัวแปรส่งผ่านของการรับรู้ความสามารถในการเป็นบิดามารดาในความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของบิดามารดาในพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของบุตรออทิสติกกับปัญหาทางจิตใจของบิดามารดา, เอื้อจิต พูนพนิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการเป็นตัวแปรส่งผ่านของการรับรู้ความสามารถในการเป็นบิดามารดา ในความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของบิดามารดาในพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของบุตรออทิสติกกับปัญหาทางจิตใจของบิดามารดา โดยผู้เข้าร่วมการวิจัยคือ บิดาและมารดา จำนวน 119 คน (มารดา 83.2%) ที่มีบุตรเป็นออทิสติกอายุระหว่าง 3-12 ปี (อายุเฉลี่ย 7.08 ปี, เพศชาย 81.5%) และเป็นผู้ดูแลหลัก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) มาตรวัดปัญหาทางจิตใจของบิดามารดา (ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด) 2) มาตรวัดการรับรู้ของบิดามารดาในพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของบุตรออทิสติก และ 3) มาตรวัดการรับรู้ความสามารถในการเป็นบิดามารดา ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS และ PROCESS ในการวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่านอย่างง่าย (Simple Mediation Analysis) โดยผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความสามารถในการเป็นบิดามารดาเป็นตัวแปรส่งผ่าน ระหว่างความสัมพันธ์ของการรับรู้ของบิดามารดาในพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของบุตรออทิสติกกับปัญหาทางจิตใจของบิดามารดา (b = 0.13, 95% Cl [0.002, 0.388]) นักจิตวิทยาและบุคลากรด้านการศึกษาพิเศษหรือสุขภาพจิตสามารถนำองค์ความรู้จากผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการสร้างโปรแกรมให้ความช่วยเหลือแก่บิดามารดาที่มีบุตรออทิสติก โดยมุ่งเน้นไปที่การรับรู้ความสามารถในการเป็นบิดามารดาเพื่อป้องกันและลดแนวโน้มในการเกิดปัญหาทางจิตใจ


อิทธิพลของบุคลิกภาพแบบหลงตนเองต่อความก้าวร้าว โดยมีการควบคุมตนเองเป็นตัวแปรส่งผ่าน และการละเลยศีลธรรมเป็นตัวแปรส่งผ่านและตัวแปรกำกับ : การเปรียบเทียบโมเดลอิทธิพลส่งผ่านที่มีอิทธิพลกำกับระหว่างผู้ต้องขังหญิงและเพศหญิงที่ไม่ใช่ผู้ต้องขัง, ชนัญชิดา ทุมมานนท์ Jan 2017

อิทธิพลของบุคลิกภาพแบบหลงตนเองต่อความก้าวร้าว โดยมีการควบคุมตนเองเป็นตัวแปรส่งผ่าน และการละเลยศีลธรรมเป็นตัวแปรส่งผ่านและตัวแปรกำกับ : การเปรียบเทียบโมเดลอิทธิพลส่งผ่านที่มีอิทธิพลกำกับระหว่างผู้ต้องขังหญิงและเพศหญิงที่ไม่ใช่ผู้ต้องขัง, ชนัญชิดา ทุมมานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความก้าวร้าวในเพศหญิง และเปรียบเทียบโมเดลความก้าวร้าวระหว่างผู้ต้องขังหญิงกับเพศหญิงที่ไม่ใช่ผู้ต้องขัง มีกลุ่มตัวอย่างผู้ต้องขังหญิง จำนวน 953 คน และกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงที่ไม่ใช่ผู้ต้องขัง จำนวน 728 คน ตอบมาตรวัดแบบรายงานตนเอง 4 ฉบับ คือ มาตรวัดบุคลิกภาพแบบหลงตนเอง มาตรวัดการควบคุมตนเอง มาตรวัดการละเลยศีลธรรม และมาตรวัดความก้าวร้าว การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความก้าวร้าวด้วยโมเดลสมการเชิงโครงสร้าง พบว่า บุคลิกภาพแบบหลงตนเองมีอิทธิพลทางตรงต่อความก้าวร้าวในกลุ่มตัวอย่างผู้ต้องขังหญิง แต่ไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อความก้าวร้าวในกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงที่ไม่ใช่ผู้ต้องขัง การควบคุมตนเองไม่เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างบุคลิกภาพแบบหลงตนเองต่อความก้าวร้าวทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่าง บุคลิกภาพแบบหลงตนเองมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความก้าวร้าว โดยมีการละเลยศีลธรรมเป็นตัวแปรส่งผ่านทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่าง การละเลยศีลธรรมเป็นตัวแปรกำกับอิทธิพลของการควบคุมตนเองต่อความก้าวร้าวทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่าง และลักษณะของกลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแปรกำกับอิทธิพลของบุคลิกภาพแบบหลงตนเองต่อความก้าวร้าว


ความสัมพันธ์ระหว่างการล้อเลียนกับความซึมเศร้าและความวิตกกังวลในกลุ่มวัยรุ่นตอนต้น โดยมีคุณภาพความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิทและการยอมรับจากเพื่อนในชั้นเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน และมีความสามารถในการฟื้นพลังเป็นตัวแปรกำกับ, ณัฐพล ชัยกิตติพรเลิศ Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างการล้อเลียนกับความซึมเศร้าและความวิตกกังวลในกลุ่มวัยรุ่นตอนต้น โดยมีคุณภาพความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิทและการยอมรับจากเพื่อนในชั้นเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน และมีความสามารถในการฟื้นพลังเป็นตัวแปรกำกับ, ณัฐพล ชัยกิตติพรเลิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลุ่มวัยรุ่นตอนต้นในเรื่องความสัมพันธ์ของการถูกล้อเลียนที่ส่งผลให้เกิดความซึมเศร้าและความวิตกกังวล โดยมีคุณภาพความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิทและการยอมรับจากเพื่อนในชั้นเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน และมีความสามารถในการฟื้นพลังเป็นตัวแปรกำกับ โดยผู้เข้าร่วมงานวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากโรงเรียนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร มีอายุระหว่าง 13 - 15 ปี การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 433 คน ผู้วิจัยตรวจสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบตัวแปรส่งผ่านและตัวแปรกำกับ ด้วยการทดสอบตัวแปรส่งผ่านอย่างมีเงื่อนไข (moderated mediation) ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิทเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่าง การถูกล้อเลียน และความซึมเศร้าและความวิตกกังวล (B = .02, p < .05) 2. การยอมรับจากเพื่อนในชั้นเรียนไม่ได้เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่าง การถูกล้อเลียน และความซึมเศร้าและความวิตกกังวล แต่การล้อเลียน สัมพันธ์ทางบวกกับการยอมรับจากเพื่อนในชั้นเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพียงอย่างเดียว (B = .13, p < .05) 3. ความสามารถในการฟื้นพลัง เป็นตัวแปรกำกับระหว่าง คุณภาพความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิทและความซึมเศร้าและความวิตกกังวล (B = -.13, p < .05) และ 4. การถูกล้อเลียนสามารถอธิบายความซึมเศร้าและความวิตกกังวลของวัยรุ่นได้โดยตรง เมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรส่งผ่านทั้ง 2 ตัวแปร (B = .36, p < .05) ผลการวิจัยสามารถนำไปปรับใช้ในการออกแบบโปรแกรมเพื่อจัดการกับปัญหาการล้อเลียน โดยเสริมสร้างให้เด็กมีความสามารถในการฟื้นพลังมากขึ้น โดยผู้วิจัยได้อภิปรายถึงแนวทางการป้องกันต่าง ๆ เพื่อให้เด็กที่่ถูกล้อเลียนสามารถจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและไม่ส่งผลให้เกิดความซึมเศร้าและความวิตกกังวลตามมา


การปรับงาน ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน และงานที่มีความหมาย: การวิเคราะห์อิทธิพลส่งผ่านระยะยาว, ติชิลา พัชรดำรงกุล Jan 2017

การปรับงาน ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน และงานที่มีความหมาย: การวิเคราะห์อิทธิพลส่งผ่านระยะยาว, ติชิลา พัชรดำรงกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสัมพันธ์ระหว่างการปรับงาน ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงานและงานที่มีความหมาย โดยใช้การศึกษาระยะสั้นและระยะยาว ข้อมูล 3 ช่วงเวลาถูกเก็บจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพนักงานที่ทำงานในองค์การภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย (N = 190) โดยเว้นระยะ 2 สัปดาห์ ผลการวิเคราะห์เหลื่อมเวลาไขว้ไม่พบอิทธิพลของการปรับงานครั้งที่ 1 ต่อความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงานครั้งที่ 2 และความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงานครั้งที่ 2 ต่องานที่มีความหมายครั้งที่ 3 กล่าวคือไม่พบอิทธิพลระยะยาวของการปรับงาน อย่างไรก็ตาม ผลการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างการปรับงาน ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน และงานที่มีความหมายในช่วงเวลาเดียวกันมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดีทั้ง 3 ช่วงเวลา นอกจากนี้ยังพบว่าความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงานเป็นตัวแปรส่งผ่านความสัมพันธ์ระหว่างการปรับงานและงานที่มีความหมายในการวิเคราะห์ในช่วงเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบมาตรวัดการปรับงานทั้ง 2 มาตรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ พบว่ามาตรวัดการปรับงานของ Slemp และ Vella-Brodrick (2013) สามารถทำนายงานที่มีความหมายได้ดีกว่ามาตรวัดการปรับงานของ Tims, Bakker และ Derks (2012)


ผลของการมองจากมุมของผู้อื่นและการเห็นคุณค่าในตนเองจากความสัมพันธ์ต่อเจตคติรังเกียจกลุ่มและพฤติกรรมช่วยเหลือ : การศึกษาอิทธิพลกำกับและอิทธิพลส่งผ่าน, นรุตม์ พรประสิทธิ์ Jan 2017

ผลของการมองจากมุมของผู้อื่นและการเห็นคุณค่าในตนเองจากความสัมพันธ์ต่อเจตคติรังเกียจกลุ่มและพฤติกรรมช่วยเหลือ : การศึกษาอิทธิพลกำกับและอิทธิพลส่งผ่าน, นรุตม์ พรประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการลดเจตคติรังเกียจกลุ่มด้วยวิธีการมองจากมุมของผู้อื่นในต่างประเทศมีจำนวนมาก แต่ในไทยการศึกษาเรื่องนี้ยังคงมีจำนวนน้อย การศึกษาที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการเป็นตัวแปรกำกับของการเห็นคุณค่าในตนเองจากความสัมพันธ์ ในการส่งอิทธิพลของการมองจากมุมของผู้อื่นที่มีต่อการลดเจตคติรังเกียจแบบเด่นชัด เจตคติรังเกียจกลุ่มแบบแอบแฝง และการเพิ่มพฤติกรรมช่วยเหลือ ผลการศึกษาที่ 1.1 จากนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 112 คน พบว่าบุคคลในเงื่อนไขการเห็นคุณค่าในตนเองจากความสัมพันธ์ทางลบเมื่อมีการมองจากมุมของผู้อื่นจะสามารถลดเจตคติรังเกียจบุคคลรักเพศเดียวกันได้มากกว่าบุคคลในเงื่อนไขการเห็นคุณค่าในตนเองจากความสัมพันธ์ทางบวก ผลการศึกษาที่ 1.2 จากนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 152 คน พบว่าอิทธิพลของการมองจากมุมของผู้อื่นที่มีต่อการลดเจตคติรังเกียจชาวพม่าแบบเด่นชัด การลดเจตคติรังเกียจชาวพม่าแบบแอบแฝง และการเพิ่มพฤติกรรมช่วยเหลือไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มเงื่อนไขควบคุมการเห็นคุณค่าในตนเองจากความสัมพันธ์ กลุ่มเงื่อนไขการเห็นคุณค่าในตนเองจากความสัมพันธ์ทางลบ และกลุ่มเงื่อนไขการเห็นคุณค่าในตนเองจากความสัมพันธ์ทางบวก การศึกษาที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการเป็นตัวแปรกำกับของการเห็นคุณค่าในตนเองจากความสัมพันธ์ ในการส่งอิทธิพลของการมองจากมุมของผู้อื่นที่มีต่อเจตคติรังเกียจกลุ่มแบบเด่นชัด โดยส่งผ่านการระบุตัวตนกับกลุ่มของตน การคล้อยตามบรรทัดฐาน และการรวมตนเองกับเป้าหมาย ผลการศึกษาจากนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 271 คน พบว่าการส่งผ่านอิทธิพลของการมองจากมุมของผู้อื่นไปยังเจตคติรังเกียจกลุ่มแบบเด่นชัดไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มเงื่อนไขควบคุมการเห็นคุณค่าในตนเองจากความสัมพันธ์ และกลุ่มเงื่อนไขการเห็นคุณค่าในตนเองจากความสัมพันธ์ทางบวก ข้อค้นพบนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าการนำเทคนิคการมองจากมุมของผู้อื่นมาปรับใช้จำเป็นต้องคำนึงถึงบริบททางวัฒนธรรมร่วมด้วย


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจทำหนังสือแสดงเจตนาล่วงหน้าเกี่ยวกับการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิต, วนัชพร พิพัฒน์ธนวงศ์ Jan 2017

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจทำหนังสือแสดงเจตนาล่วงหน้าเกี่ยวกับการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิต, วนัชพร พิพัฒน์ธนวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับหนังสือแสดงเจตนาฯ การหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวหรือนึกถึงความตาย การมองความตายว่าเป็นการหลุดพ้นจากปัญหา ประสบการณ์การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ประสบการณ์ความเจ็บป่วยหนักของตนเอง ประสบการณ์ความเจ็บป่วยหนักของบุคคลใกล้ชิด ความแข็งแรงของสุขภาพร่างกาย การรับรู้เวลาชีวิตที่เหลืออยู่ และปัจจัยคุณลักษณะของบุคคล ได้แก่ อายุ และระดับการศึกษา ที่มีต่อการตัดสินใจทำหนังสือแสดงเจตนาล่วงหน้าเกี่ยวกับการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิต กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และเชียงใหม่ และเป็นผู้ที่รู้จักหนังสือแสดงเจตนาฯ จำนวน 204 คน ช่วงอายุ 18-74 ปี (อายุเฉลี่ย 39.860±15.251 ปี) ผ่านการตอบแบบสอบถามในรูปแบบเอกสารและออนไลน์ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัย คือ การถดถอยพหุคูณ (multiple regression) ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรทั้งหมดอธิบายการตัดสินใจทำหนังสือแสดงเจตนาฯ ได้ร้อยละ 11 โดยการตัดสินใจทำหนังสือแสดงเจตนาฯ มีความสัมพันธ์ทางลบกับการหลีกเลี่ยงพูดถึงเรื่องความตาย (β = -.203, p = .005) และมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอายุ (β = .267, p = .001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลจากงานวิจัยนี้ได้แสดงให้เห็นถึงอุปสรรคสำคัญของการตัดสินใจทำหนังสือแสดงเจตนาฯ ซึ่งก็คือการหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวหรือนึกถึงความตาย ซึ่งอาจใช้เป็นแนวทางในการรณรงค์เรื่องการตัดสินใจทำหนังสือแสดงเจตนาฯ ต่อไป


ภาพลักษณ์โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำและความภักดีของผู้ใช้บริการ, กิตาวี ศุภผลศิริ Jan 2017

ภาพลักษณ์โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำและความภักดีของผู้ใช้บริการ, กิตาวี ศุภผลศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ (2) เพื่อศึกษาความภักดีของผู้ใช้บริการที่มีต่อโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำและความภักดีของผู้ใช้บริการ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ซึ่งจะมุ่งศึกษาภาพลักษณ์โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ คือ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และ โรงพยาบาลกรุงเทพ โดยกลุ่มตัวอย่างอายุ 25-60 ปี เป็นกลุ่มคนระดับกลางถึงระดับบน (รายได้ต่อเดือน 25,000-100,000บาทขึ้นไป) ที่เคยใช้บริการโรงพยาบาล ใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaires) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน แบ่งเป็น ผู้ใช้บริการโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 200 คน และผู้ใช้บริการโรงพยาบาลกรุงเทพ 200 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิงสำหรับการทดสอบสมมติฐานด้วยการเปรียบเทียบสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นโดยเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำโดยภาพรวมอยู่ในระดับที่ดี มีภาพลักษณ์ด้านเครื่องมือ/อุปกรณ์ทางการแพทย์ดีกว่าภาพลักษณ์ด้านอื่น ๆ และภาพลักษณ์ดังกล่าวอยู่ในระดับที่ดีมาก 2. สำหรับความภักดีของกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมในการกลับมาใช้บริการอีกในระดับมาก รองลงมา คือ จะแนะนำให้ผู้อื่นมาใช้บริการโรงพยาบาลที่ตนเองใช้บริการอยู่ 3. จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ภาพลักษณ์โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำมีความสัมพันธ์กับความภักดีของผู้ใช้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นความสัมพันธ์ในระดับสูงและมีทิศทางบวก


การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้บริการเรียกรถโดยสารผ่านแอปพลิเคชั่นของกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย, ณัฐพล วัฒนะวิรุณ Jan 2017

การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้บริการเรียกรถโดยสารผ่านแอปพลิเคชั่นของกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย, ณัฐพล วัฒนะวิรุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้การสื่อสารการตลาด ทัศนคติ และความตั้งใจใช้บริการของผู้บริโภค โดยรูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อผู้ให้บริการเรียกรถโดยสารผ่านแอปพลิเคชัน โดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย จำนวน 400 ชุด โดยจำแนกตามข้อมูลพื้นฐานได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ อาชีพ โดยสถิติที่ใช้ทดสอบคือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน, t-test, f-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีการเปิดรับสื่อจากทางเฟสบุ๊ก 2) การรับรู้การสื่อสารการตลาด มีการรับรู้บริการ GrabTaxi และ Uber X มากที่สุด 3) มีทัศนคติต่อการเห็นค่าโดยสารก่อนการเรียกรถมากที่สุด 4) มีความตั้งใจใช้บริการอยู่ในระดับสูง 5) ปัจจัยด้านประชากรมีการรับรู้การสื่อสารการตลาดไม่แตกต่างกัน 6) ปัจจัยด้านประชากรมีทัศนคติต่อผู้ให้บริการไม่แตกต่างกัน 7) ปัจจัยด้านประชากรมีความตั้งใจใช้บริการไม่แตกต่างกัน 8) การรับรู้การสื่อสารการตลาดมีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติ 9) ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจใช้บริการ


มาตรการที่เหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ผลงานเพลงลิขสิทธิ์ในร้านอาหาร-ร้านกาแฟในกรุงเทพมหานคร, ชัยวัฒน์ ภมรเวชวรรณ Jan 2017

มาตรการที่เหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ผลงานเพลงลิขสิทธิ์ในร้านอาหาร-ร้านกาแฟในกรุงเทพมหานคร, ชัยวัฒน์ ภมรเวชวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายมาตรการสำหรับการเผยแพร่เพลงลิขสิทธิ์อย่างเหมาะสม และการลดปัญหาการเผยแพร่เพลงลิขสิทธิ์ในร้านอาหาร - ร้านกาแฟ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการร้านอาหาร - ร้านกาแฟในกรุงเทพมหานคร จำนวน 9 คน และเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจในกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 คน และผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จำนวน 1 คน การสุ่มตัวอย่างใช้แบบที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) และการสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ (snowball sampling) โดยใช้วิธีการพรรณนาข้อมูลร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมายที่สำคัญคือ การเลือกปฏิบัติในการตรวจสอบการเผยแพร่เพลง รวมไปถึงการแสวงหาผลประโยชน์แอบแฝงของผู้รับมอบอำนาจ ประกอบกับผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความรู้ในการเผยแพร่เพลงลิขสิทธิ์อยู่ในระดับน้อย 2) มาตรการที่เหมาะสมสำหรับการเผยแพร่เพลงลิขสิทธิ์คือ การกำหนดบทบาทการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์แอบแฝง และระบุรายละเอียดในข้อกฎหมายเกี่ยวกับข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ให้ชัดเจน โดยยึดผลประโยชน์ของเจ้าของผลงาน และการปกป้องคุ้มครองผลงานลิขสิทธิ์ 3) แนวทางการลดปัญหาและข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้คือ การให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์และการเผยแพร่เพลงลิขสิทธิ์แก่ประชาชน เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อลิขสิทธิ์ในประเทศไทยต่อไป


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเศรษฐกิจ : ศึกษากรณีแชร์ลูกโซ่, พลิสสุภา พจนะลาวัณย์ Jan 2017

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเศรษฐกิจ : ศึกษากรณีแชร์ลูกโซ่, พลิสสุภา พจนะลาวัณย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง "ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเศรษฐกิจ : ศึกษากรณีแชร์ลูกโซ่" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของแชร์ลูกโซ่ในประเทศไทย ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตกเป็นเหยื่อของแชร์ลูกโซ่ และแนวทางการแก้ไขปัญหาการตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณควบคู่กับการศึกษาเชิงคุณภาพ ในการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากกลุ่มผู้ที่ตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่ จำนวน 396 คน ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรที่ศึกษาจำนวน 4 คน คือ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานโดยตรงเกี่ยวกับแชร์ลูกโซ่ ผลการศึกษาพบว่า มีแชร์ลูกโซ่ในประเทศไทย 3 รูปแบบ คือ 1. รูปแบบของแชร์ลูกโซ่ที่ใช้วิธีการขายสินค้าและบริการ มีลักษณะชักชวนให้ร่วมเล่นแบบปากต่อปาก เช่น การขายสินค้า การลงทุนแบบต่างๆ 2. รูปแบบแชร์ลูกโซ่ที่ใช้วิธีการชักชวนให้มาเป็นสมาชิกจะมีลักษณะเหมือนยุคอดีต แต่เน้นการหาสมาชิกมากกว่าการขายสินค้า 3. รูปแบบแชร์ลูกโซ่ที่ใช้วิธีการให้ความรู้และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่เน้นการใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือหาสมาชิกเข้าร่วม และการทดสอบปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่ จำนวน 11 ตัวแปร ประกอบด้วย 1) ลักษณะของเหยื่ออาชญากรรม 2) ความเชื่อ 3) การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมตามแนวพุทธ 4) แบบแผนการดำเนินชีวิต 5) กิจวัตรประจำวัน 6) โอกาส 7) การบังคับ 8) การสนับสนุน 9) ความสามารถ 10) ค่านิยม และ 11) เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ ทั้งหมดส่งผลต่อพฤติกรรมการตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่ มีแนวทางในการแก้ไขปัญหา คือ 1) การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับรูปแบบของแชร์ลูกโซ่ที่หลากหลายและซับซ้อน 2) แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ทันทีเมื่อประชาชนตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่ เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด 3) ควรมีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปราบปราม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่ให้เกิดเป็นรูปธรรม และ 4) ควรแก้ไขบทลงโทษในความผิดเกี่ยวกับแชร์ลูกโซ่ให้รุนแรงขึ้น เพื่อให้ผู้กระทำผิดเกิดความเกรงกลัว ไม่กล้ากระทำความผิด


การตรวจเทียบภายนอกหาการลักลอกในงานวิชาการโดยใช้แบบจำลองซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีนและการวัดค่าความละม้ายของข้อความ, ศุภวัจน์ แต่รุ่งเรือง Jan 2017

การตรวจเทียบภายนอกหาการลักลอกในงานวิชาการโดยใช้แบบจำลองซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีนและการวัดค่าความละม้ายของข้อความ, ศุภวัจน์ แต่รุ่งเรือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ประการแรกคือ เพื่อวิเคราะห์หาลักษณ์ทางภาษาที่จะใช้ในการจำแนกประเภทข้อความที่มีการลักลอกและไม่มีการลักลอก ประการต่อมาคือ เพื่อพัฒนาระบบต้นแบบสำหรับตรวจเทียบภายนอกหาการลักลอกงานวิชาการโดยใช้แบบจำลองซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีนและการวัดค่าความละม้ายของข้อความ ประการที่ 3 คือ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบต้นแบบที่พัฒนาขึ้นใน 2 แง่มุม ได้แก่ ความเหมาะสมของลักษณะของข้อมูลรับเข้าที่จะใช้ในระบบ และความเหมาะสมของลักษณ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทข้อความที่มีการลักลอกและไม่มีการลักลอก และประการสุดท้ายคือ เพื่อเปรียบเทียบวิธีวัดค่าความละม้ายของข้อความที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมจะนำมาใช้ระบบตรวจหาการลักลอกมากที่สุด ในด้านการดำเนินการวิจัย การศึกษาครั้งนี้ได้เพิ่มขั้นตอนเพื่อศึกษาเกี่ยวกับกลวิธีลักลอกงานวิชาการภาษาไทย โดยเก็บข้อมูลจากการจำลองสถานการณ์การลักลอกแล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยแนวคิดทางภาษาศาสตร์ ผลจากการศึกษาในขั้นนี้ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการออกแบบและสร้างคลังข้อมูล ตลอดจนนำมาใช้อ้างอิงในการอภิปรายข้อค้นพบในขั้นต่อไป นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบ สร้าง และตรวจสอบคุณภาพของคลังข้อมูลด้วยความรอบคอบและรัดกุม เพื่อให้ผลการศึกษาที่ได้มาในตอนท้ายมีความหนักแน่นน่าเชื่อถือ ผลการศึกษาในด้านการวิเคราะห์หาลักษณ์ทางภาษาสำหรับใช้ในการจำแนกประเภทข้อความที่มีการลักลอกและไม่มีการลักลอกปรากฏว่า สามารถวิเคราะห์หาลักษณ์ทางภาษาโดยอาศัยความรู้ทางภาษาศาสตร์มาประยุกต์เข้ากับวิธีการทางการประมวลภาษาธรรมชาติได้ทั้งหมด 51 ลักษณ์ ซึ่งแบ่งเป็นลักษณ์ทางศัพท์ 25 ลักษณ์ ลักษณ์ทางวากยสัมพันธ์ 23 ลักษณ์ ลักษณ์ทางความหมาย 2 ลักษณ์ และลักษณ์ทางวากยสัมพันธ์และความหมาย 1 ลักษณ์ ส่วนผลการศึกษาในด้านการประเมินประสิทธิภาพของระบบต้นแบบที่พัฒนาขึ้นนั้น ในแง่การประเมินประสิทธิภาพของระบบเมื่อใช้ข้อมูลรับเข้าที่ต่างกันปรากฏว่า เมื่อทดสอบการจำแนกประเภทข้อมูลการลักลอกทุกประเภทแล้ว ข้อมูลรับเข้าประเภทย่อหน้ามีความเหมาะสมที่ใช้ในระบบมากกว่าข้อมูลรับเข้าประเภทหน่วยปริจเฉทพื้นฐาน ส่วนในแง่การประเมินประสิทธิภาพของลักษณ์ ปรากฏว่าลักษณ์ที่ให้ประสิทธิภาพสูงที่สุดเป็นลักษณ์ทางศัพท์ คือลักษณ์ค่าสัมประสิทธิ์ความละม้ายโซเรนเซน-ไดซ์ของไบแกรมของคำ (F = 0.9870) และเมื่อพิจารณาผลในภาพรวมแล้ว พบว่าลักษณ์ทางศัพท์และลักษณ์ทางอักขระให้ประสิทธิภาพสูงกว่าลักษณ์ทางวายสัมพันธ์และลักษณ์ทางความหมาย ทั้งนี้ สาเหตุหลักเป็นเพราะลักษณ์ทางศัพท์และลักษณ์ทางอักขระเป็นการแทนรูปคำและอักขระที่ชัดเจน ในขณะที่ลักษณ์ทางวากยสัมพันธ์และลักษณ์ทางความหมายเป็นการแทนรูปความสัมพันธ์ของหน่วยทางภาษาซึ่งมีความเป็นนามธรรมกว่า ส่วนผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีวัดค่าความละม้ายของข้อความ พบว่าค่าบรรทัดฐานของลำดับย่อยร่วมยาวสุดที่ยาวที่สุดของคำสามารถให้ค่าความละม้ายได้สอดคล้องกับค่าความละม้ายที่ให้โดยผู้เชี่ยวชาญทางภาษาไทยมากที่สุด (r = 0.9124) จึงถือว่าเป็นวิธีวัดค่าความละม้ายของข้อความที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำมาใช้แทนการระบุค่าความละม้ายโดยมนุษย์ในระบบตรวจหาการลักลอกได้ สาเหตุที่ผลปรากฏเป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความละม้ายของข้อความจากลำดับของรูปคำเช่นเดียวกับวิธีการวัดค่าความละม้ายข้างต้น


การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับข้อมูลความเหมาะสมในการปลูกพืช, ขัตติยะ พรหมวาส Jan 2017

การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับข้อมูลความเหมาะสมในการปลูกพืช, ขัตติยะ พรหมวาส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เพื่อรายงานข้อมูลความเหมาะสมในการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจประเภทต่าง ๆ บนพื้นที่ตามความต้องการของผู้ใช้ ผู้วิจัยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ด้วยภาษาจาวา ภายใต้สิ่งแวดล้อมการพัฒนาของ Android Studio 2.3 ในการใช้งานนั้น ผู้ใช้จะต้องระบุพื้นที่ เป็นจุดหรือเป็นรูปแปลง และระบุชนิดของพืชเศรษฐกิจที่ต้องการทราบความเหมาะสมในการเพาะปลูก จากนั้นโปรแกรมจะทำการสืบค้นข้อมูลความเหมาะสมในการปลูกพืชเศรษฐกิจนั้น ณ พื้นที่ที่กำหนด และแสดงผลลัพธ์เป็นแผนที่ระดับความเหมาะสม แผนภูมิสัดส่วนพื้นที่แต่ละระดับความเหมาะสม และรายงานคำแนะนำในการปลูกพืชชนิดดังกล่าวบนพื้นที่ที่กำหนด โปรแกรมประยุกต์นี้จะช่วยให้เกษตรกรสามารถตรวจสอบความเหมาะสมของพื้นที่ในการปลูกพืชเศรษฐกิจประเภทต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง และช่วยลดภาระของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการตรวจสอบข้อมูลในสำนักงาน


Microcredit And Women's Empowerment In Dry Zone Area, Myanmar, Zon Phyu Linn Jan 2017

Microcredit And Women's Empowerment In Dry Zone Area, Myanmar, Zon Phyu Linn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Microcredit (microloans) has proved to be an important liberating force in societies where women have to struggle against repressive social and economic conditions. As a tradition in Myanmar society, women often take the back seat and are not active in decision-making despite working hard in all aspects of the economic sphere. The improvement in women's economic empowerment has the potential to lead to positive changes in both social and psychological dimensions. An important institution for promoting microcredits in Myanmar is Pact INGO, which is implementing a savings-led economic empowerment program for women, under the WORTH model. Since its launch, Pact …


ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีน, ธวัลรัตน์ ยศกรวราเกียรติ Jan 2017

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีน, ธวัลรัตน์ ยศกรวราเกียรติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษา 1.) เพื่อศึกษาการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีน ทัศนคติต่อส่วนประสมทางด้านการตลาดของสำนักพิมพ์ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค 2.) เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีน ทัศนคติต่อส่วนประสมทางด้านการตลาดของสำนักพิมพ์ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค 3.) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีน ทัศนคติต่อส่วนประสมทางด้านการตลาดของสำนักพิมพ์ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค 4.) เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีน ทัศนคติต่อส่วนประสมทางด้านการตลาดของสำนักพิมพ์ ที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค โดยให้กลุ่มตัวอย่างที่เคยอ่านนวนิยายจีนตอบแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 400 คน จากผลวิจัยเชิงปริมาณพบว่า 1.) ผู้บริโภคมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีนผ่านสื่อออนไลน์มากที่สุด 2.) ผู้บริโภคเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อทัศนคติที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของสำนักพิมพ์ในด้านผลิตภัณฑ์ 3.) เนื้อเรื่องของนวนิยายจีนมีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนเป็นประจำ 4.) ผู้บริโภคที่มีเพศแตกต่างกันมีผลต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีนแตกต่างกัน 5.) ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีทัศนคติต่อส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกัน 6.) ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนแตกต่างกัน 7.) การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีนกับทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของสำนักพิมพ์ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีน มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ 8.) ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของสำนักพิมพ์และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกและมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง 9.) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค คือ การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีน (ฺBeta = 0.323) และทัศนคติที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของสำนักพิมพ์ (Beta = 0.220)


ความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างกับวัฏจักรเศรษฐกิจ, จารุวัฒน์ เอมซ์บุตร Jan 2017

ความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างกับวัฏจักรเศรษฐกิจ, จารุวัฒน์ เอมซ์บุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างกับวัฏจักรเศรษฐกิจ โดยใช้วิธีการประมาณกลุ่มคนที่มีค่าจ้างสูงตามแบบพาเรโต้ ใช้ข้อมูลจากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรจำนวน 30 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 ถึง พ.ศ. 2558 ผลการศึกษาพบว่า แรงงานนอกระบบมีการกระจายตัวของค่าจ้างในลักษณะเบ้ขวาเช่นเดียวกับแรงงานในระบบ แต่มีความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างน้อยกว่าแรงงานในระบบ กรุงเทพมหานครมีค่าเฉลี่ยของค่าจ้างสูงที่สุดในทุกภาค กลุ่มคนที่รวยที่สุดร้อยละ 1 ทั้งในและนอกระบบมีสัดส่วนค่าจ้างคิดเป็นประมาณร้อยละ 7 ของค่าจ้างทั้งหมด ทั้งนี้ จากการพิจารณาผลกระทบกับความวัฏจักรเศรษฐกิจด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด โดยมี อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และหนี้สาธารณะ เป็นตัวแปรควบคุม พบว่า ความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างแรงงานนอกระบบกลุ่มที่รวยที่สุดร้อยละ 3 มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับขนาดของความผันผวนของวัฏจักรเศรษฐกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องมาจากความผันผวนของระดับค่าจ้างแรงงานนอกระบบ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความผันผวนของเศรษฐกิจ ขณะที่ความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างในระบบไม่มีความสัมพันธ์กับขนาดความผันผวนของวัฏจักรเศรษฐกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องมาจากค่าจ้างในระบบมีลักษณะที่ไม่เปลี่ยนแปลง (Sticky wage) จึงไม่กระทบต่อขนาดของความผันผวนเศรษฐกิจ


การสร้างสรรค์และออกแบบสารใน Tedxbangkok, กนกอร เรืองศรี Jan 2017

การสร้างสรรค์และออกแบบสารใน Tedxbangkok, กนกอร เรืองศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากการสร้างสรรค์เวทีการพูด TEDxBangkok และศึกษาลักษณะเนื้อหาและการออกแบบเนื้อหาที่ปรากฏในการพูด TEDxBangkok ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยรวบรวมเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากคุณพิริยะ กุลกาญจนาชีวิน Co-Organizer และคิวเรเตอร์ (Curator) ของ TEDxBangkok รวมถึงสัมภาษณ์ทีมงานผู้จัดทำ TEDxBangkok เพื่อให้ได้ข้อมูลครอบคลุมยิ่งขึ้น จากผลการวิจัยพบว่าการสร้างสรรค์ TEDxBangkok แบ่งเป็น 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การสร้างสรรค์ด้านโปรดักชัน (Production) ประกอบไปด้วยการคัดเลือกอาสาสมัครทีมงาน และการจัดการโปรดักชัน 2) การสร้างสรรค์เนื้อหา ประกอบไปด้วยการกำหนดแนวคิดหลัก (Theme) การค้นหาผู้พูด (Speaker) และการคิดค้นเนื้อหา ด้านลักษณะเนื้อหา และการออกแบบ พบว่าลักษณะเนื้อหาของ TEDxBangkok โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องการสร้างสรรค์ และส่งเสริมสังคม และการสอน หรือจูงใจ ซึ่งตรงกับแนวคิดหลักของ TEDxBangkok คือ การถ่ายทอดไอเดียเพื่อผลักดันสังคมให้ไปข้างหน้า และการออกแบบเนื้อหาจะใช้การวางแก่นเรื่องซึ่งเป็นไอเดียหลักให้ชัดเจน แล้วนำเหตุการณ์อื่น ๆ มาประกอบเพื่อสนับสนุนให้ไอเดียนั้นชัดมากขึ้น เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจไอเดียที่ผู้พูดต้องการจะสื่ออย่างถ่องแท้ ซึ่งอาจส่งผลดีในการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมได้ในอนาคต การวิจัยครั้งนี้ทำให้เห็นว่าการสร้างสรรค์ TEDxBangkok มีการจัดทำอย่างเป็นระบบ สอดแทรกไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และความละเอียดพิถีพิถันทุกขั้นตอน และกว่าจะได้เนื้อหาที่พูดบนเวที 12-15 นาทีนั้น ต้องใช้เวลาการจัดทำกว่า 6 เดือน เพื่อขัดเกลาให้ได้ไอเดียที่ดีที่สุดเหมาะสมกับการเป็น "Ideas Worth Spreading" ตามสโลแกนของ TED


การเปิดรับข่าวสาร พฤติกรรมการชม และความต้องการชมละครโทรทัศน์ไทยของผู้ชมชาวเมียนมาในนครย่างกุ้ง, กมลรัตน์ กิจรุ่งไพศาล Jan 2017

การเปิดรับข่าวสาร พฤติกรรมการชม และความต้องการชมละครโทรทัศน์ไทยของผู้ชมชาวเมียนมาในนครย่างกุ้ง, กมลรัตน์ กิจรุ่งไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเปิดรับข่าวสาร พฤติกรรมการชม และความต้อง การชมละครโทรทัศน์ไทยของผู้ชมละครโทรทัศน์ชาวเมียนมาในนครย่างกุ้ง รวมถึงเพื่ออธิบายการเปิดรับข่าวสาร พฤติกรรมการชม และความต้องการชมละครโทรทัศน์ไทยของผู้ชมที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คนที่เป็นผู้ชมละครโทรทัศน์ไทยชาวเมียนมาในนครย่างกุ้งที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และชมละครโทรทัศน์ไทยภายในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับละครโทรทัศน์ไทยผ่านสื่อมวลชนโดยเฉลี่ยในระดับบางครั้ง แต่เปิดรับข่าวสารผ่านสื่อบุคคลและสื่อออนไลน์บ่อยๆ กลุ่มตัวอย่างชมละครโทรทัศน์ไทยที่บ้านผ่านทางโทรทัศน์มากที่สุด โดยมักชมเพียงคนเดียวเฉลี่ย 1 – 2 ชั่วโมง/วัน และชมช่วงเช้าเวลา 09.01 - 12.00 น. มากที่สุดทั้งในวันทำงานและวันหยุด ทั้งนี้ เวลาดังกล่าวตรงกับช่วงทีเบรก (Tea Break) และออกอากาศซ้ำของละครโทรทัศน์ไทย (Re-Run) นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างต้องการชมละครโทรทัศน์ไทยแบบบรรยายภาษาเมียนมาและคงเสียงภาษาไทยมากกว่าแบบพากย์ ต้องการนักแสดงนำที่แสดงละครสมบทบาทและมีหน้าตารูปร่างสวยงาม ต้องการละครโทรทัศน์ไทยที่มีเนื้อหาเรื่องราวสัมพันธ์กับชาวเมียนมา องค์ประกอบละครที่มีเค้าโครงเรื่องสุข เศร้า ตลก แก่นเรื่องที่ทำให้ได้ขบคิด และต้องการชมละครโทรทัศน์ไทยแนวชีวิตรัก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้ชมชาวเมียนมาที่มีอายุและระดับการศึกษาต่างกัน เปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับละครโทรทัศน์ไทยผ่านสื่อมวลชน สื่อออนไลน์ และสื่อบุคคลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้ชมชาวเมียนมาเพศชายเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อมวลชนมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การรับชมละครโทรทัศน์ไทย สรุปได้ว่า ผู้ชมชาวเมียนมาที่มีเพศและอายุต่างกัน มีความถี่ในการชมละครโทรทัศน์ไทยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ชมเพศหญิงมีความถี่ในการชมสูงกว่าเพศชาย ส่วนผู้ชมอายุ 56 ปีขึ้นไปมีความถี่ในการชมสูงกว่าผู้ชมอายุ 18 – 55 ปี ความต้องการชมละครโทรทัศน์ไทย สรุปได้ว่า ผู้ชมชาวเมียนมาที่อายุต่างกันต้องการชมด้านองค์ประกอบละครและเนื้อหาเรื่องราวแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้ชมชาวเมียนมาที่มีระดับการศึกษาต่างกัน ต้องการชมด้านดารานักแสดงนำ เนื้อหาเรื่องราว องค์ประกอบละคร และแนวละคร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การเล่าเรื่องขุนโจรจากเหตุการณ์จริง ในนวนิยายชุด "เสือใบ-เสือดำ" ของ ป.อินทรปาลิต, ฐิติพงศ์ อินทรปาลิต Jan 2017

การเล่าเรื่องขุนโจรจากเหตุการณ์จริง ในนวนิยายชุด "เสือใบ-เสือดำ" ของ ป.อินทรปาลิต, ฐิติพงศ์ อินทรปาลิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเล่าเรื่อง โครงสร้างตัวละครและการสร้างแนวเรื่องแบบขุนโจรที่อิงจากเหตุการณ์จริงและเพื่อวิเคราะห์สภาพการณ์ทางสังคมและแนวทางการเล่าเรื่องแบบบุกเบิกตะวันตกที่มีอิทธิพลต่องานเขียนนวนิยายชุด เสือใบ - เสือดำ ของ ป.อินทรปาลิต โดยใช้การวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากนวนิยายชุดเสือใบ เสือดำและดาวโจร จากสำนักพิมพ์ฉบับผดุงศึกษา (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์) จำนวนทั้งสิ้น 12 เล่ม และจากการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิเคราะห์พบว่า กลวิธีการเล่าเรื่องและโครงสร้างตัวละคร ด้านโครงสร้างการเล่าเรื่อง มีการสร้างแนวเรื่องแบบขุนโจรจากแนวเรื่องแบบบุกเบิกตะวันตก (Western Genre) เป็นหลัก อาทิ การท้าดวลปืนตามลักษณะตัวละครแบบวีรบุรุษนอกกฎหมาย ความขัดแย้งในความอยุติธรรมระหว่างอำนาจรัฐและชุมชน โดยผสมผสานเหตุการณ์จริงในบริบทของสังคมไทย เข้ากับจินตนาการและขนบของการเล่าเรื่อง การปฏิบัติภารกิจที่มาจากแนวเรื่องผจญภัย (Adventure Genre) การต่อสู้จากแนวเรื่องแบบบู๊ล้างผลาญ (Action Genre) การทำการรบการสงครามจากแนวเรื่องแบบสงคราม (War Genre) และความรักในสตรีเพศจากแนวเรื่องรักโศก ด้านการสร้างตัวละคร พบว่า การใช้ชื่อตัวละครในนวนิยายได้เค้าโครงมาจากตัวละครจากเหตุการณ์จริงบางส่วน จากสภาพการณ์ทางสังคมของไทยในช่วงที่ไทยประสบปัญหาจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดตัวละครโจรผู้ร้ายมากมาย ทำให้การกำหนดคุณลักษณะของตัวละคร แบบวีรบุรุษขุนโจร คือ ความกล้าหาญ ความเก่งกาจ ความมีคุณธรรม และการรักษาเกียรติและศักดิ์ศรี ที่สอดคล้องกับองค์ประกอบการสร้างตัวละครชายในวรรณคดีไทย


การตระหนักรู้ของดิจิทัลเนทีฟไทยต่อการละเมิดลิขสิทธิ์การ์ตูนและแอนิเมชันญี่ปุ่นออนไลน์, ดารารัตน์ ภูธร Jan 2017

การตระหนักรู้ของดิจิทัลเนทีฟไทยต่อการละเมิดลิขสิทธิ์การ์ตูนและแอนิเมชันญี่ปุ่นออนไลน์, ดารารัตน์ ภูธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง ปฏิภาณทางภาษาเชิง "สองแง่สองง่าม" ในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายในการศึกษา 3 ประการ ประการแรกเพื่อศึกษาการใช้ปฏิภาณทางภาษาเชิงสองแง่สองง่ามในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทย ประการต่อมาเพื่อเปรียบเทียบการใช้ปฏิภาณทางภาษาเชิงสองแง่สองง่ามในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทยที่ต่างสมัยกัน และประการสุดท้ายวิเคราะห์วัฒนธรรมทางเพศวิถีที่สะท้อนผ่านภาษาเชิงสองแง่สองง่ามในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทย ซึ่งแบ่งยุคเพลงได้เป็น 3 ยุค คือ ยุคแรก (ราวพ.ศ. 2500 - 2519) ยุคกลาง (ราวพ.ศ. 2520 - 2549) และยุคปัจจุบัน (ราวพ.ศ. 2550 – ปัจจุบัน) โดยใช้เครื่องมือวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และการวิเคราะห์ตัวบท (Textual analysis) จากกลุ่มตัวอย่างเพลงลูกทุ่งไทยที่ศึกษาจำนวน 33 เพลง ประการแรก พบการใช้ปฏิภาณทางภาษาเชิงสองแง่สองง่าม 8 ประเภท ได้แก่ 1) สัญลักษณ์ 2) คำผวน 3) การเปลี่ยนเสียงสระ/พยัญชนะแต่เห็นเค้าคำสังวาส 4) คำพ้องเสียง 5) คำคุณศัพท์ที่สื่อนัยทางเพศ 6) หักข้อรอจังหวะ 7) การเล่าเรื่อง และ 8) การเลียนเสียงธรรมชาติ โดยพบการใช้ปฏิภาณทางภาษาเชิงสองแง่สองง่ามประเภทสัญลักษณ์มากที่สุด ประการที่สอง การใช้ปฏิภาณทางภาษาเชิงสองแง่สองง่ามในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทยแต่ละยุคมีความแตกต่างกัน โดยเพลงยุคแรกอยู่ในยุคที่มีการจัดระเบียบสังคมที่ส่งผลต่อความเคร่งครัดในการใช้ภาษาสุภาพ เพลงส่วนใหญ่จึงมีการเซ็นเซอร์ตัวเองสูง เพลงยุคปัจจุบันพบการใช้คำร้องภาษาเชิงสองแง่สองง่ามที่ตรงไปตรงมามากขึ้นเช่นเพลง "ปูหนีบอีปิ๊", "Yes แน่นอน" เพราะความคลี่คลายของยุคสมัยเนื่องจากอิทธิพลโลกาภิวัตน์และโดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เช่น Youtube ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแสดงศิลปะของตนอย่างเสรีมากขึ้นและปราศจากการควบคุมจากภาครัฐ ประการสุดท้าย วัฒนธรรมทางเพศวิถีพบว่า ภาพลักษณ์และพฤติกรรมทางเพศ สถานที่ และความเชื่อเรื่องเพศ สะท้อนอำนาจของฝ่ายชายหรือสังคมปิตาธิปไตย (Patriarchy) ที่สังคมอนุญาตให้เป็นผู้เริ่มปฏิบัติการทางเพศตั้งแต่ฝากรักไปจนถึงการร่วมเพศ อย่างไรก็ตาม ในหลาย ๆ บทเพลงโดยเฉพาะยุคกลางและยุคปัจจุบัน เช่นเพลง "ผู้ชายในฝัน", "ปล่อยน้ำใส่นาน้อง" ก็พบว่าฝ่ายหญิงท้าทายสังคมปิตาธิปไตยซึ่งฝ่ายหญิงเป็นผู้เริ่มปฏิบัติการทางเพศก่อน ดังนั้น ในบางแง่ของเพลงลูกทุ่งไทยกำลังยกระดับความเท่าเทียมกันทางเพศวิถีหญิงชายไทย


การแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะกับวาทกรรมความเป็นชาติไทย, ธันย์ชนก รื่นถวิล Jan 2017

การแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะกับวาทกรรมความเป็นชาติไทย, ธันย์ชนก รื่นถวิล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและวิธีการที่รัฐเข้าแทรกแซงการแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะของประชาชน เพื่อศึกษาปัจจัยตัวกำหนดการแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะ และเพื่อศึกษาการสร้างวาทกรรมของความเป็นชาติไทย ผ่านการแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะในช่วงถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร นับตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 20 มกราคม 2560 จากผลการวิจัยพบว่าช่วงเวลาหลังเหตุการณ์สวรรคตมีความสำคัญและมีความเปราะบางอย่างยิ่งทั้งในด้านการเมืองคือช่วงเวลาของการผลัดแผ่นดิน และด้านอารมณ์ความรู้สึกของปัจเจกชนที่ต้องเผชิญหน้ากับความสูญเสียองค์พระมหากษัตริย์อย่างกระทันหัน รัฐจึงจำเป็นต้องเข้ามาเป็นผู้จัดการแทรกแซงในการแสดงออกความโศกเศร้าของปัจเจกเพื่อให้ปัจเจกชนมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่ารัฐกับปัจเจกชน ตลอดจนแสดงออกถึงความพวกพ้องในชาติเดียวกัน ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งของอำนาจที่จำผูกโยงปัจเจกชนเข้ากับรัฐชาติในฐานะ "พลเมืองไทย" ผ่านการจัดการของรัฐที่จัดการควบคุมเทศะหรือพื้นที่สาธารณะ รวมทั้งจัดการร่างกายในฐานะตัวแทนหรือสื่อแทนความหมาย (carrier of signification) และการจัดการตรวจตรา (surveillance) การสังเกต (observe) หรือการเพ่งมอง (gaze) โดยกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อปฏิบัติตนต่างๆ ที่ได้กลายมาเป็นเกณฑ์มาตรฐาน นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยตัวกำหนดการแสดงความโศกเศร้าสาธารณะ อันได้แก่ ปัจจัยที่หนึ่งพิธีกรรมเป็นตัวกระตุ้นสำนึกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างความคิดของปัจเจกกับสังคม ปัจจัยที่สองสถานภาพที่แสดงให้เห็นถึงสถานภาพของสถาบันกษัตริย์ที่เป็นศูนย์กลางแห่งความดีงามที่ถูกแสดงผ่านพิธีกรรม ปัจจัยที่สามบทบาทของปัจเจกชนที่จำเป็นจะต้องสวมบทบาทให้สอดคล้องกับสถานภาพของตน ดังนั้นทั้งการแทรกแซงของรัฐและปัจจัยตัวกำหนดการแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะได้สะท้อนวาทกรรมของความเป็นชาติไทย อันได้แก่ วาทกรรมกษัตริย์นิยม (Royalism) และ วาทกรรมชาตินิยม (Nationalism) ที่ถูกนำมาใช้ร่วมกันอย่างแยกไม่ออกจนกลายเป็นอัตลักษณ์ร่วม (collective identity) อย่างหนึ่งของความเป็นไทย


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าที่มีการโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบ, ปรมินทร์ ศิรินุกุลวัฒนา Jan 2017

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าที่มีการโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบ, ปรมินทร์ ศิรินุกุลวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับ การจดจำ ทัศนคติและความตั้งใจซื้อของผู้ชมต่อตราสินค้าที่มีการโฆษณาแฝงและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อของผู้ชมจากการทำโฆษณาแฝงในรายการเกี่ยวกับอาหารบนยูทูบ ได้แก่ รายการ GGcooking และล้างตู้เย็นและอิ่ม TIPS โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ชมที่เคยรับชมรายการ จำนวนรายการละ 200 คน รวม 400 คน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างโดยรวมมีพฤติกรรมเปิดรับชมรายการอาหารบนยูทูบค่อนข้างมาก โดยมีลักษณะการรับชมค่อนข้างบ่อยครั้งและใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานในการรับชมต่อครั้ง มีความสามารถจดจำตราสินค้าที่ทำการโฆษณาแฝงในรายการอาหารยูทูบในระดับปานกลาง มีทัศนคติต่อตราสินค้าที่ทำโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบในระดับดี มีความชื่นชอบต่อโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบในระดับปานกลาง โดยชื่นชอบโฆษณาแฝงแบบการเชื่อมโยงสินค้ากับเนื้อหา (Tie-In) มากที่สุด และมีความตั้งใจซื้อสินค้าที่ทำการโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบในระดับปานกลาง สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าที่ทำโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบของผู้ชมนั้น ได้แก่ ทัศนคติต่อรูปแบบโฆษณาแฝง (Beta = 0.469) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และทัศนคติต่อตราสินค้า (Beta = 0.336) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01