Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 2821 - 2850 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

เทคนิคการนำเสนอรายการ "ชัวร์ก่อนแชร์" และการรับรู้ของผู้ชม, ประวีณา พลเขตต์ Jan 2017

เทคนิคการนำเสนอรายการ "ชัวร์ก่อนแชร์" และการรับรู้ของผู้ชม, ประวีณา พลเขตต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์เทคนิคการนำเสนอรายการชัวร์ก่อนแชร์ 2) ศึกษาการรับรู้ของผู้ชมรายการชัวร์ก่อนแชร์ โดยใช้แนวคิดการสื่อสารสุขภาพ แนวคิดการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ แนวคิดการวิเคราะห์เนื้อหา และแนวคิดการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ เป็นกรอบในการวิเคราะห์เทคนิคการนำเสนอรายการชัวร์ก่อนแชร์ ที่ผู้วิจัยศึกษาผ่านการวิเคราะห์เนื้อหารายการชัวร์ก่อนแชร์ตอนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพจำนวน 60 ตอน ระหว่างปี พ.ศ. 2558-2560 ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและตารางลงรหัส (Coding Sheet) และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key-Information Interview) อันได้แก่ ผู้ผลิตรายการชัวร์ก่อนแชร์ ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 MCOT HD และผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จำนวน 3 คนด้วยชุดคำถามปลายเปิดแบบมีโครงสร้าง และใช้ทฤษฎีประโยชน์และความพึงพอใจของผู้รับสาร ทฤษฎีการเปิดรับข่าวสาร แนวคิดการรับรู้และแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ เป็นกรอบในการวิเคราะห์การรับรู้ของผู้ชมผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ชมตัวอย่างที่มีการรับชมรายการชัวร์ก่อนแชร์อยู่เป็นประจำ และมีปฏิสัมพันธ์กับรายการอย่างสม่ำเสมอ จำนวน 10 คน ด้วยชุดคำถามปลายเปิดแบบมีโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) รายการชัวร์ก่อนแชร์มีเทคนิคการนำเสนอแบ่งออกเป็น 4 เทคนิค คือ เทคนิคด้านกลยุทธ์การนำเสนอ ที่แบ่งออกเป็น กลยุทธ์ด้านรูปแบบรายการ กลยุทธ์สาร และกลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพ เทคนิคด้านกระบวนการผลิต ที่แบ่งออกเป็น ขั้นตอนก่อนการผลิต ขั้นตอนระหว่างการผลิต และขั้นตอนหลังการผลิต เทคนิคด้านช่องทางการสื่อสาร และทคนิคด้านนโยบายและการสนับสนุน ที่แบ่งออกเป็นด้านนโยบายและการสนับสนุนจากทางสถานี และด้านการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดย 2) กลุ่มตัวอย่างผู้ชมรายการชัวร์ก่อนแชร์มีการรับรู้ด้านเนื้อหารายการ และการรับรู้ด้านวิธีการนำเสนอของรายการชัวร์ก่อนแชร์ที่ไม่แตกต่างกัน แต่ในแง่ของการรับรู้แบบรู้เท่าทันสื่อ และการนำไปใช้ประโยชน์แตกต่างกัน เช่นเดียวกับระดับการเปิดรับที่พบว่า รายการชัวร์ก่อนแชร์สามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติการเชื่อและการแชร์ข่าวในกลุ่มผู้ชมตัวอย่างได้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเชื่อและการแชร์ข่าวในกลุ่มผู้ชมตัวอย่างได้ เนื่องมาจากปัจจัยด้านภูมิหลังการศึกษาและสังคม พฤติกรรมการใช้สื่อ ประสบการณ์และทัศนคติต่อข่าวแชร์ อุปนิสัย และความชอบส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มตัวอย่างผู้ชมได้มีการนำรายการชัวร์ก่อนแชร์ไปใช้ประโยชน์ใน 8 บทบาท คือ 1) บทบาทในการเป็นแหล่งความรู้ 2) บทบาทในการเป็นแหล่งข่าวสาร 3) บทบาทในการสร้างความตระหนักและวิจารณญาณ 4) บทบาทด้านการตรวจสอบข้อมูล 5) บทบาทด้านการเป็นแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ของสังคม 6) บทบาทด้านสื่อการสอน 7) บทบาทในแง่เป็นตัวกลางสานสัมพันธ์เพื่อนและครอบครัว และ 8) บทบาทให้สาระฆ่าเวลา


การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของผู้ฟังรายการพ็อดคาสท์, ปวรรัตน์ ระเวง Jan 2017

การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของผู้ฟังรายการพ็อดคาสท์, ปวรรัตน์ ระเวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. อธิบายความเหมาะสมของเนื้อหารายการพ็อดคาสท์ และ 2. อธิบายการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลในรายการพ็อดคาสท์ของผู้ฟังรายการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยด้วยการวิเคราะห์เนื้อหารายการพ็อดคาสท์ประเภทไฟล์เสียงภาษาไทย สุ่มเลือกจากกลุ่มรายการพ็อดคาสท์ในช่วงเดือนธันวาคม 2560 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2561 รวมจำนวนรายการที่นำมาวิเคราะห์ 104 ตอน หลังจากนั้นดำเนินการสนทนากลุ่มผู้ฟังรายการพ็อดคาสท์ จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ วัยทำงานชายและหญิง และนักเรียนมัธยมชายและหญิง กลุ่มละ 6-7 คน ผลการวิจัย ด้านการใช้ภาษา พบว่า มีเนื้อหารายการที่อาจทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ไม่เหมาะสมในเรื่องการใช้ภาษาในรายการสนทนา ด้านพฤติกรรมและความรุนแรง พบว่า มีเนื้อหารายการที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงและอันตรายโดยแทรกเป็นส่วนประกอบของรายการ และเรื่องทางเพศ พบในบทสนทนาหรือคำพูดที่สร้างค่านิยมเรื่องเพศที่ไม่เหมาะสมปรากฏอยู่ รวมถึงเนื้อหาทางเพศที่ล่อแหลม สำหรับการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของผู้ฟังรายการพ็อดคาสท์ พบว่า กลุ่มวัยทำงานและกลุ่มนักเรียนมัธยม มีความสามารถในการเข้าถึงพ็อดคาสท์สูง สามารถควบคุมการใช้งานได้ด้วยตนเอง มีความสามารถในการทำความเข้าใจและใช้ความคิดในเชิงวิพากษ์ถึงคุณภาพ ความน่าเชื่อถือ และมุมมองการผลิตเนื้อหาของผู้ผลิตได้ดี สามารถวิเคราะห์และประเมินข้อดีข้อเสีย คุณค่าและประโยชน์ รวมถึงโทษภัยอันตรายของเนื้อหารายการที่แฝงเรื่องธุรกิจการค้า และเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในเรื่องพฤติกรรมและความรุนแรง เรื่องทางเพศ และการใช้ภาษา อย่างไรก็ตาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีลักษณะของการคล้อยไปตามที่สื่อกำหนด โดยมีการให้เหตุผลประกอบการกระทำที่คล้อยตามเนื้อหานั้น


การเปิดโปงหน้าม้าในชุมชนออนไลน์พันทิปดอทคอม, ปองรัก เกษมสันต์ Jan 2017

การเปิดโปงหน้าม้าในชุมชนออนไลน์พันทิปดอทคอม, ปองรัก เกษมสันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์กระทู้หน้าม้า หรือกระทู้รับจ้างรีวิวสินค้าในเว็บไซต์พันทิปดอทคอม โดยเลือกศึกษาเฉพาะลักษณะเด่นของกระทู้หน้าม้า กระบวนการตรวจสอบและเปิดโปงหน้าม้า รวมทั้งกระบวนการสร้างและส่งเสริมการกำกับดูแลกันเองทั้งโดยผู้ใช้พันทิปและทีมงานพันทิป การศึกษาใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากกรณีตัวอย่าง 5 กรณีระหว่าง พ.ศ. 2556 – 2559 การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ใช้พันทิป และการสนทนากลุ่มผู้นิยมอ่านรีวิวในอินเทอร์เน็ต ผลการศึกษาพบว่า กระทู้หน้าม้าในเว็บไซต์พันทิปดอทคอมปรากฏอยู่ในสามรูปแบบหลัก ๆ ตามลักษณะการนำเสนอเนื้อหา ได้แก่ กระทู้รีวิวแบบพื้นฐานทั่วไป กระทู้สาธิตวิธีการสร้างสิ่งใหม่โดยมีสินค้าหรือบริการหนึ่ง ๆ เป็นส่วนประกอบ และกระทู้เปิดประเด็นให้เกิดบทสนทนา โดยกระทู้หน้าม้าทั้งสามรูปแบบนี้จะมีองค์ประกอบสำคัญสองประเภทคือ การสร้างความดึงดูดใจ และการสร้างความแนบเนียนให้เนื้อหาดูไม่ออกว่ามาจากหน้าม้า ในส่วนของการตรวจสอบและเปิดโปงกระทู้ที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นกระทู้หน้าม้านั้น จากการศึกษาพบว่า มีกระบวนการที่เป็นขั้นตอนดังนี้คือ 1) การวิเคราะห์ความสมจริงและความสอดคล้องของคำบรรยายกับภาพประกอบ 2) การค้นคว้าข้อมูลอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ปรากฏในกระทู้ ทั้งที่อยู่ในเว็บไซต์พันทิปเองและเว็บไซต์อื่น และ 3) การสืบหาข้อมูลที่ไม่เคยมีการเผยแพร่มาก่อน เพื่อให้การเปิดโปงมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบว่า การกำกับดูแลกระทู้หน้าม้าในชุมชนออนไลน์พันทิปนั้น จะมีที่มาจากสองส่วน ได้แก่ การออกแบบเว็บไซต์ของพันทิป กับ การการลงโทษโดยสมาชิกพันทิปด้วยกัน โดยทั้งสองส่วนนี้ต่างประกอบด้วยสองแนวทางคือ กระบวนการรับมือกับปัญหาหน้าม้า และกระบวนการสื่อสารหลังเกิดปัญหาหน้าม้า


การกระจายเนื้อหารายการและการจัดวางตราสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในรายการโทรทัศน์ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ผ่านมัลติแพลตฟอร์มที่มีผลต่อความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ชม, ปิยะรัตน์ ชูเรือง Jan 2017

การกระจายเนื้อหารายการและการจัดวางตราสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในรายการโทรทัศน์ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ผ่านมัลติแพลตฟอร์มที่มีผลต่อความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ชม, ปิยะรัตน์ ชูเรือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการกระจายเนื้อหารายการและการจัดวางตราสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในรายการโทรทัศน์ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ผ่านมัลติแพลตฟอร์ม เพื่อศึกษาพฤติกรรมกลุ่มผู้ชมในการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านมัลติแพลตฟอร์ม ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดวางตราสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในรายการโทรทัศน์ที่มีต่อการรับรู้ตราสินค้าของกลุ่มผู้ชม รวมถึงประสิทธิผลของความสัมพันธ์ด้านความดึงดูดใจ ความพึงพอใจ และภาพลักษณ์ตราสินค้าในรายการโทรทัศน์ที่มีต่อกลุ่มผู้ชม โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการศึกษาเอกสาร กอปรกับการสนทนากลุ่มตัวอย่างที่รับชมรายการโทรทัศน์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและเพียงบางช่วงบางตอน ผลการวิจัยพบว่า การกระจายเนื้อหารายการแบ่งออกเป็น 2 กลวิธี คือ 1) กลวิธีการออกอากาศเนื้อหารายการแบบจำกัดผ่านสื่อโทรทัศน์ และ 2) กลวิธีการออกอากาศเนื้อหารายการแบบไม่จำกัดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และแอปพลิเคชั่น ที่มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหารายการหลักมาเล่าเรื่องใหม่ด้วยสาระสำคัญเดิม สำหรับการจัดวางตราสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่พบในรายการจะประกอบด้วยรูปแบบภาพอย่างเดียว และรูปแบบทั้งภาพและเสียง ด้านพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างพบว่า แม้กลุ่มตัวอย่างจะมิได้ตั้งใจรับชมเนื้อหา หากแต่มีทัศนคติในเชิงบวกต่อทางเลือกในการเข้าถึงรายการ สำหรับรูปแบบการจัดวางตราสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏนั้นจะมีผลต่อการตระหนักรู้ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีความเข้าใจว่าเป็นการสนับสนุนรายการแบบจ่ายค่าตอบแทนกัน ในขณะที่ประสิทธิผลด้านความสัมพันธ์ที่มีต่อกลุ่มตัวอย่างนั้นจะมิได้มีผลต่อความดึงดูดใจ ทั้งยังมีผลต่อการส่งเสริมภาพลักษณ์ตราสินค้าในสัดส่วนไม่แตกต่างกับไม่มีผลมากนัก กอปรกับกลุ่มตัวอย่างจะมีความพึงพอใจหากมิได้เป็นการนำเสนอในลักษณะทั้งภาพและเสียง


การสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ และการรับรู้ความหมายของผู้ชมรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง, พาฝัน รงศิริกุล Jan 2017

การสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ และการรับรู้ความหมายของผู้ชมรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง, พาฝัน รงศิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้เข้าใจกระบวนการสร้างความหมาย การถ่ายทอดความหมาย และการรับรู้ความหมายทั้งหมดในรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง ผู้วิจัยแบ่งการศึกษาวิจัยออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์รายการภัตตาคารบ้านทุ่งและการถ่ายทอดความหมายไปสู่ผู้ชมรายการ ผู้วิจัยจะใช้การวิเคราะห์ตัวบท รายการโทรทัศน์ภัตตาคารบ้านทุ่ง และการสัมภาษณ์ เชิงลึกผู้ผลิตรายการเพื่อนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์เนื้อหารายการ นอกจากนี้ (2) เพื่อศึกษาการถอดรหัสความหมายของผู้ชมรายการ ผู้วิจัยจะใช้การสนทนากลุ่ม สำรวจผู้ชมวัยทำงานว่ามีการรับรู้และการถอดรหัสความหมายในรายการอย่างไร ผลการวิจัยพบว่า ผู้ผลิตรายการมุ่งถ่ายทอดความหมายหลักเกี่ยวกับ "คุณค่าและความงดงามของวิถีชีวิตในชนบท" แก่ผู้ชมรายการ โดยผ่านภาพและเรื่องราวของ "อาหาร" และ "วัตถุดิบ" ในแต่ละท้องถิ่น ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ตัวบทรายการทั้ง 20 ตอน พบการถ่ายทอดความหมายมากที่สุดใน 4 ประเด็นคือ 'วิถีชีวิตชนบทที่เรียบง่าย พอเพียง ใกล้ชิดธรรมชาติ และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่' 'วัฒนธรรม ภูมิปัญญาพื้นบ้านของคนไทยทรงคุณค่า' 'ความขยันหมั่นเพียร การลงมือทำด้วยตนเอง และการร่วมมือกันของคนในชุมชน นำมาซึ่งความสุขและความสำเร็จ' และ 'บ้านเกิดที่เราจากมามีความอบอุ่น ความห่วงใย และความสุข' รองลงมาคือ 'ประเทศไทยมีทรัพยากรอันทรงคุณค่า เลี้ยงประชากรได้อย่างยั่งยืน และที่พบน้อยที่สุดคือ 'เกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรผสมผสานเลี้ยงชีพได้และช่วยให้คุณภาพชีวิตดี' ส่วนการถอดรหัสความหมายของผู้ชมรายการกลุ่มตัวอย่าง พบการถอดรหัสความหมายที่สอดคล้องกับผู้ผลิตมากที่สุดใน 3 ประเด็นหลักคือ วิถีชีวิตชนบทที่เรียบง่าย การระลึกถึงบ้านเกิด และวัฒนธรรม ภูมิปัญญาพื้นบ้าน นอกจากนี้ พบการตีความตรงข้ามความหมายเพียงหนึ่งประเด็นคือเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังมีผู้ร่วมสนทนามองเห็นในประเด็นนี้น้อยที่สุดอีกด้วย สรุปผู้ผลิตรายการพยายามนำเสนอคุณค่าของวิถีชีวิตชนบท และวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยผ่านกระบวนการค้นหาวัตถุดิบ และการประกอบอาหารในรายการ เพื่อมุ่งสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ ทั้งปลูกฝังสำนึกรักและภาคภูมิใจในถิ่นฐานบ้านเกิดของตน


ผลของความสอดคล้องของการวางสินค้าในเกมและความเกี่ยวพันของสินค้าต่อการตอบสนองของผู้เล่นเกม, พิจาริน สุขกุล Jan 2017

ผลของความสอดคล้องของการวางสินค้าในเกมและความเกี่ยวพันของสินค้าต่อการตอบสนองของผู้เล่นเกม, พิจาริน สุขกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองในรูปแบบ 2 x 2 แฟคทอเรียล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบหลักและผลกระทบเชิงปฏิสัมพันธ์ที่เกิดจากระดับความสอดคล้องของการวางสินค้าในเกม (การวางสินค้าในเกมแบบมีความสอดคล้องสูง และการวางสินค้าในเกมแบบมีความสอดคล้องต่ำ) และระดับความเกี่ยวพันของสินค้า (สินค้าที่มีความเกี่ยวพันสูง และสินค้าที่มีความเกี่ยวพันต่ำ) ที่ส่งผลต่อการระลึกถึงตราสินค้า การจดจำตราสินค้า ความรู้สึกถูกรบกวนจากโฆษณา ทัศนคติต่อตราสินค้า และความตั้งใจซื้อของผู้เล่นเกม โดยทำการวิจัยในเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 กับนิสิตปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 140 คน โดยผลการวิจัยพบว่า ระดับความสอดคล้องของการวางสินค้าในเกมต่างกัน ส่งผลกระทบหลักให้ผู้เล่นเกมมีการตอบสนองในด้านการระลึกถึงตราสินค้า การจดจำตราสินค้า และความตั้งใจซื้อ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนสินค้าที่มีความเกี่ยวพันต่างกันนั้น ส่งผลให้ผู้เล่นเกมมีการตอบสนองในด้านการระลึกถึงตราสินค้า การจดจำตราสินค้า และความรู้สึกถูกรบกวนจากโฆษณา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ระดับความสอดคล้องของการวางสินค้าในเกมและความเกี่ยวพันของสินค้าที่ต่างกัน ส่งผลกระทบเชิงปฏิสัมพันธ์ต่อการตอบสนองของผู้เล่นเกมให้แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


อิทธิพลของปัจจัยจูงใจต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซ, พิชชาพร เนียมศิริ Jan 2017

อิทธิพลของปัจจัยจูงใจต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซ, พิชชาพร เนียมศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและใช้วิธีการเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยจูงใจในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซ ซึ่งประกอบด้วย 3 ตัวแปร คือ คุณภาพของเว็บไซต์ คุณลักษณะของเสื้อผ้าแฟชั่น และคุณลักษณะของผู้บริโภค ที่ส่งผลต่อ (1) ทัศนคติของผู้บริโภค และ (2) ความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 18-35 ปี อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้ที่เคยซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซ ซึ่งในงานวิจัยนี้คือ เว็บไซต์กลุ่ม Marketplace และเว็บไซต์กลุ่ม Brand ภายในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยจูงใจในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น ในตัวแปรด้านคุณลักษณะของเสื้อผ้าแฟชั่น และคุณลักษณะของผู้บริโภคมีอิทธิพลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคผ่านเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซทั้งในกลุ่มเว็บไซต์ Marketplace และเว็บไซต์ Brand อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


วาทกรรม อำนาจ และการสื่อสารวาทกรรมภิกษุณีเถรวาทของไทย, พงษ์พันธุ์ กีรติวศิน Jan 2017

วาทกรรม อำนาจ และการสื่อสารวาทกรรมภิกษุณีเถรวาทของไทย, พงษ์พันธุ์ กีรติวศิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มุ่งวิเคราะห์และอธิบายวาทกรรมและการสื่อสารวาทกรรมภิกษุณีเถรวาทของไทยและวิพากษ์เชิงอำนาจผ่านชุดวาทกรรมภิกษุณีเถรวาทของไทยภายใต้กรอบแนวคิดวาทกรรมของ Foucault โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ (Critical discourse analysis) โดยใช้แหล่งข้อมูลจากเอกสารจากหอจดหมายเหตุช่วงปีพ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2472 หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ รวมทั้งสื่ออื่น ๆ เช่นสื่อออนไลน์ และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกภิกษุณีสำนักต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวม 7 รูป ผลการวิจัยพบว่ามีความพยายามอย่างน้อยสองครั้งในการที่จะรื้อฟื้นภิกษุณีบริษัทขึ้นในประเทศไทย ครั้งแรกถูกบันทึกไว้ในปีพ.ศ. 2472 โดยการริเริ่มของนายนรินทร์ กลึง ภาษิต ความพยายามครั้งนั้นไม่ประสบความสำเร็จแต่ได้ทำให้เกิดการปะทะกันของวาทกรรมเกี่ยวกับความถูกต้องชอบธรรมในการรื้อฟื้นภิกษุณีบริษัท การปะทะกันของวาทกรรมเกิดขึ้นอีกครั้งในปีพ.ศ. 2544 เมื่อฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ได้เข้ารับการบรรพชาที่ประเทศศรีลังกา และประกาศตนเป็นสามเณรีเถรวาทรูปแรกของไทย การปะทะกันของวาทกรรมทั้งสองครั้งเกิดขึ้นภายใต้กรอบความรู้ พระพุทธศาสนา อำนาจรัฐ และจารีตประเพณี โดยพบว่ามีการใช้กลยุทธ์การสื่อสารวาทกรรมในลักษณะ การอธิบาย การโต้แย้งและประณาม การใช้อำนาจบังคับ การใช้องค์กรสถาบัน การใช้ความรุนแรง การใช้การดื้อดึง และการปฏิบัติ ผ่านการใช้สื่อต่าง ๆ ได้ สื่อมวลชน สื่อสังคมออนไลน์ การบังคับใช้กฎหมาย วัตรปฏิบัติและการทำประโยชน์แก่สังคมของภิกษุณี


กลยุทธ์การกำหนดเอกลักษณ์และการสื่อสารตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ, ภัสสร ปราชญากูล Jan 2017

กลยุทธ์การกำหนดเอกลักษณ์และการสื่อสารตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ, ภัสสร ปราชญากูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การกำหนดเอกลักษณ์ตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสร้างตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ ศึกษาด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative method) โดยประกอบไปด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ผู้มีบทบาทในการกำหนดเอกลักษณ์และสื่อสารตราสินค้าบุคคลของแต่ละเพจ จำนวน 5 เพจ ได้แก่เพจ Lowcostcosplay, บันทึกของตุ๊ด, นัดเป็ด, คาราโอเกะชั้นใต้ดิน, Drama-addict และทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรเกี่ยวกับการสื่อสารตราสินค้าและสื่อดิจิทัลจำนวน 10 ท่าน และ ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) โดยศึกษาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจทั้ง 5 เพจย้อนหลังเป็นเวลา 2 เดือน ได้แก่ เดือนมีนาคม และ เมษายน 2561 ผลการศึกษาของทั้ง 5 ตราสินค้าพบว่ากลยุทธ์การกำหนดเอกลักษณ์ตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ ประกอบด้วย 8 มิติ คือ การกำหนดคุณสมบัติ, ขอบเขต, คุณภาพ, คุณประโยชน์ด้านอารมณ์, บุคลิกภาพตราสินค้า, สัญลักษณ์, ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภค และ การกำหนดการวางจุดยืนตราสินค้า ในส่วนของกลยุทธ์การสื่อสารตราสินค้าบุคคลผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจจะประกอบไปด้วย 5 ประการหลัก ได้แก่ รูปแบบในการโพสต์, การกำหนดเวลาและจำนวนในการโพสต์, แกนเนื้อหาในการโพสต์, การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ติดตามเพจ, การใช้งบประมาณในการสื่อสาร ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสร้างตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจนั้นประกอบไปด้วย 3 ประการ ได้แก่ การสร้างเอกลักษณ์ตราสินค้า, การผลิตและพัฒนาคุณภาพของเนื้อหา และ ความเชี่ยวชาญบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กแฟนเพจ


การเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดียกับการสร้างความผูกพันร่วมในการสื่อสารประเด็นทางสังคม, มรรยาท อัครจันทโชติ Jan 2017

การเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดียกับการสร้างความผูกพันร่วมในการสื่อสารประเด็นทางสังคม, มรรยาท อัครจันทโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) มุมมองของคนทำงานด้านสังคมที่มีต่อการสร้างความผูกพันร่วมของคนไทยในการสื่อสารประเด็นทางสังคม (2) คุณลักษณะของการเล่าเรื่องที่ใช้ในการสื่อสารประเด็นทางสังคม (3) แนวทางการนำแนวคิดการเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดียไปใช้สร้างความผูกพันร่วมของคนไทยในการสื่อสารประเด็นทางสังคม โดยใช้วิธีวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์ตัวบทของโครงการขับเคลื่อนสังคมรวม 6 กรณีศึกษา (2555-2559) ทั้งของไทยและต่างประเทศ
ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลทำให้คนไทยเกิดความผูกพันร่วมในการสื่อสารประเด็นทางสังคม คือ พื้นฐานของตัวบุคคลและกลุ่มอาสาสมัคร กลยุทธ์ที่ใช้ในการสื่อสาร องค์กรด้านสังคม และบริบททางสังคมและการเมือง (2) การเล่าเรื่องที่ใช้สื่อสารประเด็นทางสังคมที่ผ่านมาทั้งของไทยและต่างประเทศยังมีจุดอ่อนในการสร้างความผูกพันร่วม โดยเฉพาะกรณีศึกษาของไทยที่ยังไม่ค่อยมีการออกแบบการเล่าเรื่องอย่างเป็นระบบ ไม่ได้ใช้แพลตฟอร์มสื่ออย่างเต็มศักยภาพ ขาดการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย มองข้ามการสื่อสารเชิงอารมณ์ ขาดความต่อเนื่องในการสื่อสาร และไม่กระตุ้นให้ผู้ใช้สื่อมีส่วนร่วมในการเล่าเรื่อง (3) การนำแนวคิดการเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดียไปใช้สร้างพลังความผูกพันร่วมของคนไทยในประเด็นทางสังคม ต้องคำนึงถึง 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) ความน่าเชื่อถือของแกนนำในการขับเคลื่อน (2) ประเด็นปัญหาทางสังคมที่ต้องการขับเคลื่อนมีความเกี่ยวพันกับกลุ่มเป้าหมายและมีทางแก้ไขปัญหาได้ (3) การวางแผนการใช้สื่อแบบทรานส์มีเดียที่ดี และ (4) การเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดียที่ดีทั้งจากผู้ผลิตสื่อและผู้ใช้สื่อที่เข้ามามีส่วนร่วมในการเล่าเรื่อง
ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดียสามารถพัฒนาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม่ในประเทศไทยได้ คนทำงานด้านสังคมจึงควรทดลองการสื่อสารแบบใหม่ ๆ เพื่อสร้างพลังของพลเมืองในการร่วมกันเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น


กลยุทธ์การสร้างแบรนด์เครื่องหอมไทยสู่แบรนด์เครื่องหอมโลก, วสี อัชกุลพร Jan 2017

กลยุทธ์การสร้างแบรนด์เครื่องหอมไทยสู่แบรนด์เครื่องหอมโลก, วสี อัชกุลพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสร้างแบรนด์เครื่องหอมไทย (2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์เครื่องหอมไทย (3) เพื่อศึกษาปัจจัยขับเคลื่อนแบรนด์เครื่องหอมไทย แบรนด์ PAÑPURI และแบรนด์ HARNN โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้เกี่ยวข้องจำนวน 20 คน ผลการศึกษาพบว่า (1) แบรนด์ทั้งสองมีกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ตามแนวคิดไลฟ์สไตล์แบรนด์ ประกอบด้วยความเป็นมาของแบรนด์ จากการใส่เรื่องราว ความเชื่อของแบรนด์ และอุดมการณ์ของแบรนด์ โดยการนำเสนอไลฟ์สไตล์ รหัสไลฟ์สไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแบรนด์ สำหรับแบรนด์ PAÑPURI ได้กำหนดแนวคิดของแบรนด์ไว้ว่า ผลิตภัณฑ์สุดหรู ชูจุดเด่นเรื่องออแกนิก ส่วนแบรนด์ HARNN กำหนดแนวคิดของแบรนด์ คือ ความร่วมสมัย หรูหรา และเอกลักษณ์ของเอเชีย (2) การสื่อสารแบรนด์เครื่องหอมไทย แบรนด์ทั้งสองมีการสื่อสารแบรนด์ตามแนวคิดไลฟ์สไตล์แบรนด์ มีแนวคิดการเล่าเรื่องราวผ่านผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิดที่มีไลฟ์สไตล์ที่คนในสังคมปรารถนา ผ่านการสื่อสาร 3 ลักษณะ คือ ผ่านกิจกรรมการสื่อสารที่มีการเล่าเรื่องราวเดียวกันทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ผ่านผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดสุนทรียศาสตร์ ที่มีความหมายทางอารมณ์และสอดคล้องกับผู้บริโภค และผ่านการสื่อสารในร้านค้า มีพนักงานทำหน้าที่ให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์และเผยแพร่เรื่องราวดึงดูดความสนใจผู้บริโภค (3) ปัจจัยขับเคลื่อนแบรนด์เครื่องหอมไทย แบรนด์ทั้งสองขับเคลื่อนแบรนด์ตามแนวคิดไลฟ์สไตล์แบรนด์ มีผู้นำแบรนด์ที่เป็นผู้กำหนดวิสัยทัศน์ให้แก่แบรนด์และองค์กร กล่าวคือ ผู้นำจะออกแบบเรื่องราว สิ่งที่แบรนด์เชื่อ อัตลักษณ์ของแบรนด์ รวมถึงการนำเสนอไลฟ์สไตล์ ผ่านแนวคิดของแบรนด์ นอกจากนี้ ผู้นำยังเป็นผู้กำหนดปรัชญาการทำงานในองค์กร โดยผู้นำมองว่า พนักงานเป็นกลไกที่สำคัญของบริษัท มีการคำนึงถึงความสุขของพนักงาน ด้านพนักงาน มีแนวทางการทำงานที่สะท้อนวิสัยทัศน์ผู้นำ โดยสอดคล้องกับภาพลักษณ์ของแบรนด์และบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับสุขภาพความงาม


การสื่อสารความหมายใหม่ของตัวละครสำมนักขาผ่านการแสดงฉุยฉายร่วมสมัย, วิรสา โรจน์วรพร Jan 2017

การสื่อสารความหมายใหม่ของตัวละครสำมนักขาผ่านการแสดงฉุยฉายร่วมสมัย, วิรสา โรจน์วรพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง "การสื่อสารความหมายใหม่ของตัวละครสำมนักขาผ่านการแสดงฉุยฉายร่วมสมัย" เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ (Creative Research) ที่มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อศึกษาการสร้างความหมายใหม่และสร้างสรรค์ตัวละครนางสำมนักขาผ่านการแสดงฉุยฉายร่วมสมัย และ 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ความหมายใหม่ของตัวละครนางสำมนักขาผ่านการแสดงฉุยฉายร่วมสมัย ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างสรรค์การแสดง ฉุยฉายนางสำมนักขาร่วมสมัย สามารถนำองค์ประกอบในการแสดง "ฉุยฉาย" มาประยุกต์ใช้ผ่านกระบวนท่าทางการร่ายรำในรูปแบบนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย ผนวกกับการนำทั้งบทร้องดั้งเดิมของการแสดงฉุยฉายศูรปนขา และบทเพลงสมัยนิยม มาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาเรื่องราวและอารมณ์ของตัวละคร รวมถึงความสามารถในการถ่ายทอดอารมณ์ของตัวละครผ่านการแสดงเดี่ยว เพื่อใช้ในการสื่อสารหมายใหม่ให้กับตัวละครนางสำมนักขา ผ่านรูปแบบการแสดงฉุยฉายร่วมสมัย การจัดการแสดง "ฉุยฉายนางสำมนักขาร่วมสมัย" พบว่า ผู้ชมและผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า รูปแบบและองค์ประกอบในการแสดงสามารถสื่อสารความหมายใหม่ในความเป็นมนุษย์ให้กับตัวละครนางสำมนักขาได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ของผู้ชมเกี่ยวกับนางสำมนักขาด้วย และผู้ชมมีความรู้สึกเอื้ออาทรต่อนางสำมนักขาแตกต่างไปจากเดิม ส่วนทัศนคติของผู้ชมพบว่า รูปแบบในการจัดการแสดง เป็นส่วนที่ผู้ชมชื่นชอบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 54.12 ผู้แสดงสามารถถ่ายทอดเนื้อเรื่องและอารมณ์ได้ในระดับ มากที่สุด (M=4.34) เนื้อหาในการแสดงมีความน่าสนใจในระดับ มาก (M=4.04) บทร้องและดนตรีมีความเหมาะสมต่อการแสดงในระดับ มาก (M=3.93) และผู้ชมมีทัศนคติต่อตัวละครนางสำมนักขาแตกต่างไปจากเดิม คิดเป็นร้อยละ 76.47


การสื่อสารแบบห้องเสียงสะท้อนในเฟซบุ๊ก, วรางคณาง อุ๊ยนอก Jan 2017

การสื่อสารแบบห้องเสียงสะท้อนในเฟซบุ๊ก, วรางคณาง อุ๊ยนอก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) องค์ประกอบของปรากฏการณ์ห้องเสียงสะท้อนในการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อปรากฏการณ์ห้องเสียงสะท้อน และ (3) ผลที่สามารถประเมินได้ของปรากฏการณ์ห้องเสียงสะท้อน ผ่านเพจเฟซบุ๊กที่มีแนวโน้มจะเกิดปรากฏการณ์แห่งห้องเสียงสะท้อน ในประเด็นการสื่อสารที่มีแนวโน้มแบ่งขั้วทางความคิด 2 ประเด็น คือ ประเด็นการจัดการผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ และประเด็นความวุ่นวายในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนของนิสิตใหม่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560 โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ คือ วิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์ตัวบทความคิดเห็นบนโพสต์ของเพจ อีกทั้งยังสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ติดตามเพจที่มีความกระตือรือร้นสูง และค้นคว้าเอกสารต่าง ๆ
ผลการศึกษาองค์ประกอบของปรากฏการณ์ห้องเสียงสะท้อนในการสื่อสารทั้งสองประเด็น โดยการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า ผู้ติดตามเพจสื่อสารความคิดเห็น โดยให้ข้อเท็จจริงและตั้งคำถามต่อข้อมูลที่ได้รับรวมกันน้อยกว่าการให้ความคิดเห็นถึง 9 เท่า การสัมภาษณ์พบว่าผู้ติดตามเพจมีวิธีเลือกรับและหลีกเลี่ยงข้อมูลที่ขัดแย้งกับทัศนคติของตนเอง 4 แบบ คือ 1) การหลีกเลี่ยงทางกายภาพต่อเนื้อหา 2) การไม่ทำความเข้าใจเนื้อหา 3) การเลือกรับข้อมูลเพื่อหาข้อโต้แย้ง และ 4) การเลือกรับข้อมูลเพื่อจับผิดผู้นำเสนอข้อมูล และการวิเคราะห์ตัวบทพบว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊ก 1) เลือกรับและตอบสนองต่อข้อมูลอย่างลำเอียง 2) สร้างกลุ่มแบ่งขั้ว และ 3) สื่อสารกันอย่างเป็นภัย
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อปรากฏการณ์ห้องเสียงสะท้อน ได้แก่ 1) การนำเสนอข่าวสารของสื่อและบรรยากาศการสื่อสาร ส่งผลต่อเฉพาะการสื่อสารประเด็นการจัดการผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ 2) ปัจจัยด้านการกำกับดูแลเนื้อหา และ 3) ลักษณะของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีการออกแบบฟีเจอร์และฟังก์ชันการใช้งานโดยมีกลไกของอัลกอริทึมอยู่เบื้องหลัง ได้ลดทอนความซับซ้อนของข้อมูล ผลักดันเนื้อหาที่ได้รับความนิยม และสร้างสังคมของคนที่คิดเหมือนกัน โดยผู้ติดตามเพจประเมินว่าการสื่อสารแบบห้องเสียงสะท้อนมีผลทั้งด้านที่ดีและด้านเสีย ทั้งต่อตัวบุคคลและต่อสังคม


กลยุทธ์การสื่อสารของเว็บไซต์การพนันฟุตบอลออนไลน์, วิษชญะ ศิลาน้อย Jan 2017

กลยุทธ์การสื่อสารของเว็บไซต์การพนันฟุตบอลออนไลน์, วิษชญะ ศิลาน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการชักจูงผู้เล่นการพนันฟุตบอลออนไลน์ ของเว็บไซต์การพนันฟุตบอล และศึกษาการสื่อสาร และการเปิดรับข้อมูลข่าวสารของผู้เรียนในสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เล่นการพนันฟุตบอลออนไลน์บนเว็บไซต์การพนันฟุตบอล งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเกตการณ์ (Obsevation) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ คือ นักวิชาการ 3 คน ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์การพนันฟุตบอล 2 คน และผู้เรียนในสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งหมด 8 คน ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการสื่อสารของเว็บไซต์การพนันฟุตบอล คือ การจัดการระบบของเว็บไซต์ให้เข้าถึงง่าย รูปแบบของเว็บไซต์ไม่ซับซ้อน และสร้างความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ ซึ่งมีเทคนิคเฉพาะในการดึงดูดผู้เล่นการพนันฟุตบอลออนไลน์ คือ การสร้างรูปแบบการเล่นการพนันฟุตบอลออนไลน์ที่หลากหลาย เพิ่มทางเลือกการพนันชนิดอื่น ๆ คำนึงถึงความปลอดภัยด้วยการลบประวัติการวางเดิมพันการพนัน การสร้างเว็บไซต์บันเทิง อื่น ๆ ในการเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร และวิธีการค้นหากลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสารด้วยวิธีต่าง ๆ อีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญ การสื่อสารของเว็บไซต์การพนันฟุตบอลในปัจจุบัน คือ การใช้ผู้มีอิทธิพลทางความคิดในการชักจูงผู้เล่นการพนันฟุตบอลออนไลน์ กลุ่มผู้มีอิทธิพลทางความคิดเหล่านี้จะใช้ความใกล้ชิดกับผู้ติดตาม และความน่าเชื่อถือของตนเองเป็นเครื่องมือสำคัญ ซึ่งกลยุทธ์นี้มีข้อดีคือสามารถวัดผลจากสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิดได้ การศึกษาผู้เรียนในสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่ามีการสื่อสารกับเว็บไซต์การพนันฟุตบอลในช่องทางต่าง ๆ ดังนี้ ช่องสนทนาหน้าเว็บไซต์ เบอร์โทรศัพท์ และแอพพลิเคชั่นไลน์ โดยการสื่อสารระหว่างผู้เล่นการพนันฟุตบอลด้วยกันในสื่อสังคมออนไลน์เป็นที่นิยมอย่างมาก และการสื่อสารระหว่างผู้เล่นการพนันฟุตบอลออนไลน์ในกลุ่มสังคมที่ใกล้ชิดโดยเฉพาะเพื่อน มีเหตุผลหลัก คือการแลกเปลี่ยนการวิเคราะห์ผลฟุตบอลร่วมกัน ซึ่งสื่อออนไลน์เป็นสื่อที่ได้รับความนิยมมากกว่าสื่ออื่น ๆ อย่างสื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์ นอกจากนี้ผู้มีอิทธิพลทางความคิดยังมีผลต่อการตัดสินใจ และเป็นข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจเล่นการพนันฟุตบอลออนไลน์อีกด้วย


ผลของโฆษณาที่ใช้จินตภาพด้านความหลากหลายทางเพศต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, ศรันยา หงษ์ทอง Jan 2017

ผลของโฆษณาที่ใช้จินตภาพด้านความหลากหลายทางเพศต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, ศรันยา หงษ์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบ 2x2 แฟคทอเรียล เพื่อศึกษาผลกระทบหลักและผลกระทบร่วมกันของ 2 ปัจจัย ได้แก่ (1) เพศผู้แสดงแบบในงานโฆษณาที่ใช้จินตภาพด้านความหลากหลายทางเพศ (เพศหญิงและเพศชาย) และ (2) ระดับจินตภาพด้านความหลากหลายทางเพศในโฆษณา (จินตภาพด้านความหลากหลายทางเพศโดยนัยและจินตภาพด้านความหลากหลายทางเพศโดยแจ้ง) ที่มีต่อพฤติกรรมผู้บริโภค อันได้แก่ อารมณ์ที่มีต่อโฆษณา การรับรู้ของผู้บริโภคด้านการเชื่อมโยงกับสังคม การรับรู้ของผู้บริโภคด้านการเห็นใจหรือเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น ทัศนคติต่อโฆษณา ทัศนคติต่อตราสินค้า ทัศนคติต่อความหลากหลายทางเพศ และความตั้งใจซื้อ โดยเก็บข้อมูลกับนิสิตและนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี จำนวน 141 คน ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 ผลการวิจัยพบว่า เพศผู้แสดงแบบในงานโฆษณาที่ใช้จินตภาพด้านความหลากหลายทางเพศและระดับจินตภาพด้านความหลากหลายทางเพศในโฆษณาที่แตกต่างกัน ส่งผลกระทบหลักต่อพฤติกรรมผู้บริโภคแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้น เพศผู้แสดงแบบในงานโฆษณาที่ใช้จินตภาพด้านความหลากหลายทางเพศและระดับจินตภาพด้านความหลากหลายทางเพศในโฆษณา ยังส่งผลกระทบร่วมกันต่อพฤติกรรมผู้บริโภคแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน


พฤติกรรมการซื้อของฝากประเภทขนมไทยของนักท่องเที่ยวจีน, ศศินิภา ดุสิตานนท์ Jan 2017

พฤติกรรมการซื้อของฝากประเภทขนมไทยของนักท่องเที่ยวจีน, ศศินิภา ดุสิตานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง "พฤติกรรมการซื้อของฝากประเภทขนมไทยของนักท่องเที่ยวจีน" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปิดรับ ทัศนคติต่อการสื่อสารทางการตลาด และพฤติกรรมการซื้อของฝากประเภทขนมไทยของนักท่องเที่ยวจีน 2) ความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับ ทัศนคติต่อการสื่อสารทางการตลาด และพฤติกรรมการซื้อของฝากประเภทขนมไทยของนักท่องเที่ยวจีน 3) การเปิดรับ ทัศนคติต่อการสื่อสารทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อของฝากประเภทขนมไทยของนักท่องเที่ยวจีน 4) การสื่อสารทางการตลาดแต่ละองค์ประกอบที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อของฝากประเภทขนมไทยของนักท่องเที่ยวจีน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 400 ชุด ผลการวิจัย พบว่า 1) ช่องทางการสื่อสารที่เปิดรับมากที่สุด คือคนใกล้ชิด รองลงมา คือโทรทัศน์ ขณะที่พฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์สามอันดับแรก คือการหาข้อมูล การแลกเปลี่ยนข้อมูล และการดูภาพและอ่านข้อความทั้งหมด ในส่วนของทัศนคติต่อการสื่อสารทางการตลาด กลุ่มตัวอย่างชื่นชอบให้ของฝากประเภทขนมไทยมีความเป็นไทย บรรจุภัณฑ์ที่ระบุคำว่าประเทศไทย และมีคำอธิบายเป็นภาษาจีนหรือภาษาอังกฤษ วิธีการจ่ายเงินที่มีความสะดวก ราคาที่สมเหตุสมผล การซื้อจากศูนย์การค้า การซื้อจากสถานที่ขายที่มีความสะดวกและง่ายต่อการเดินทาง พนักงานขายที่พูดภาษาจีนได้ ยิ้มแย้มแจ่มใส สุภาพอ่อนน้อม และมีจรรยาบรรณ พฤติกรรมการซื้อที่พบมากที่สุดสองอันดับแรก คือการชำระสินค้าด้วย Alipay และ Wechat Pay 2) ลักษณะทางประชากรต่างกัน การเปิดรับ ทัศนคติต่อการสื่อสารทางการตลาดส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ขณะที่ลักษณะทางประชากรต่างกัน พฤติกรรมการซื้อไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้อายุต่างกัน มีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อและในภาพรวมแตกต่างกัน และระดับการศึกษาต่างกัน มีการเปิดรับสื่อแตกต่างกัน โดยเพศหญิงมีทัศนคติต่อการสื่อสารทางการตลาดด้านความต้องการของผู้บริโภค ด้านค่าใช้จ่ายที่ผู้บริโภคยอมรับ ด้านการสื่อสาร และในภาพรวมมากกว่าเพศชาย 3) ทัศนคติต่อการสื่อสารทางการตลาดมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อของฝากประเภทขนมไทยมากกว่าการเปิดรับ 4) การสื่อสารทางการตลาดด้านความต้องการของผู้บริโภคมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อของฝากประเภทขนมไทยมากที่สุด รองลงมา คือด้านค่าใช้จ่ายที่ผู้บริโภคยอมรับ ด้านการสื่อสาร และด้านความสะดวกในการซื้อ


การประกอบสร้างความหมายของผู้หญิงที่ถ่ายทอดผ่านตัวละครหญิงในละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยมที่ถูกผลิตซ้ำ ระหว่างปี พ.ศ. 2530 - 2560, อวิรุทธ์ ศิริโสภณา Jan 2017

การประกอบสร้างความหมายของผู้หญิงที่ถ่ายทอดผ่านตัวละครหญิงในละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยมที่ถูกผลิตซ้ำ ระหว่างปี พ.ศ. 2530 - 2560, อวิรุทธ์ ศิริโสภณา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะและพัฒนาการของตัวละครหญิง ตลอดจนศึกษาการประกอบสร้างความหมายของผู้หญิงในสังคมไทย ผ่านละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยมที่ถูกผลิตซ้ำ ระหว่างปี พ.ศ. 2530 – 2560 โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยกระบวนการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ตัวบท ผ่านละครโทรทัศน์ 5 เรื่อง ได้แก่ น้ำเซาะทราย เพลิงพระนาง เพลิงบุญ มายา และเมียหลวง ประกอบกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้สร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ และนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ผลการวิจัยพบว่า ตัวละครหญิงในละครโทรทัศน์ทั้ง 5 เรื่อง ปรากฏคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ ในระดับการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างสูง อันสอดรับกับบริบทของสังคม เช่น ลักษณะทางกายภาพ การศึกษา อาชีพ พื้นที่ เป็นต้น แต่คุณลักษณะทางจิตวิทยา มีระดับการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ ภูมิหลัง ความต้องการ ความขัดแย้ง เป้าหมาย และการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้โครงเรื่องหลักไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดชุดความคิดเกี่ยวกับเรื่องผู้หญิงในลักษณะการตกเป็นรองผู้ชายเช่นเดิมในช่วงระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ 1) อุดมคติหญิงไทย 2) บทบาทและหน้าที่ 3) ค่านิยมด้านคู่ครอง ซึ่งมีเพียงบางประเด็นของชุดความคิดที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของตัวละครหญิงในละครเวอร์ชันหลัง เช่น การศึกษา อาชีพ พื้นที่ เป็นต้น การวิจัยครั้งนี้ได้ข้อสรุปว่า พฤติกรรมการชมละครโทรทัศน์แบบเอา "รส" แต่ไม่เอา "เรื่อง" ของผู้ชม ส่งผลให้เกิด "การผลิตซ้ำย้ำความหมายเดิม" โดยมีผู้สร้างสรรค์ละครโทรทัศน์เป็นผู้ประกอบสร้างความหมายเหล่านั้นให้กลายเป็น "ความเป็นจริง" ของสังคมเรื่อยมาตามความต้องการของผู้ชม สิ่งเหล่านี้แสดงถึงการตกอยู่ภายใต้ "อุดมการณ์ปิตาธิปไตย" ในการขับเคลื่อนสังคมต่อไป


การลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะด้วยการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการ, อิสระ อุทัยพัฒนะศักดิ์ Jan 2017

การลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะด้วยการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการ, อิสระ อุทัยพัฒนะศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง การลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะด้วยการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการในการลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะ และ 2) ศึกษากระบวนการในการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการในการลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะ โดยใช้โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบสหวิธีการ ซึ่งเป็นการผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ และการสังเกต โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 10 คน รวมเป็น 20 คน ซึ่งเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบรายงานตนเองเกี่ยวกับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะและแบบรายงานตนเองเกี่ยวกับความมั่นใจในฐานะผู้พูด เพื่อใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลความกังวล โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการควบคู่ไปกับการพูดต่อหน้าสาธารณะ เป็นเวลา 7 วันติดต่อกัน พร้อมไปกับการฝึกพูดต่อหน้าสาธารณะร่วมกับกลุ่มควบคุมทันทีหลังจากเสร็จการฝึกโยคะในทุกๆวัน ผลการศึกษาพบว่า การฝึกท่าชุดสุริยนมัสการมีประสิทธิผลในการลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะแต่ต้องใช้ควบคู่ไปกับการฝึกพูดด้วย เนื่องจากการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการช่วยในการเพิ่มสมาธิและฝึกจดจ่อ สร้างเสริมสมรรถภาพร่างกาย รวมไปถึงลดความกังวลในเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลพูดในที่สาธารณะมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การเตรียมตัวของผู้พูด ความคุ้นชินระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง รวมไปถึงความถนัดของผู้พูดแต่ละคน ดังนั้นการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการควบคู่กับการเตรียมเนื้อหาให้พร้อมก่อนการพูด รวมถึงการลดความตึงเครียดและมีสมาธิกับการพูดต่อหน้ากลุ่มผู้ฟังด้วยความมั่นใจในตนเอง ก็จะสามารถลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะได้ คำสำคัญ: ความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะ การฝึกท่าชุดสุริยนมัสการ


แรงจูงใจ การเปิดรับข่าวสาร การตัดสินใจ และรูปแบบการเดินทางท่องเที่ยวของผู้พิการ, อิสระ อุปดี Jan 2017

แรงจูงใจ การเปิดรับข่าวสาร การตัดสินใจ และรูปแบบการเดินทางท่องเที่ยวของผู้พิการ, อิสระ อุปดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มุ่งสำรวจและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของแรงจูงใจ การเปิดรับข่าวสาร การตัดสินใจ พฤติกรรมการท่องเที่ยว และรูปแบบการเดินทางท่องเที่ยวของผู้พิการ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างผู้พิการ 3 ประเภท ได้แก่ ผู้พิการทางการมองเห็น ผู้พิการทางการได้ยิน และผู้พิการทางการเคลื่อนไหว จำนวน 415 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้พิการมีแรงจูงใจในการท่องเที่ยวทั้งแบบปัจจัยผลักดันและแบบปัจจัยดึงดูดอยู่ในระดับมาก มีการเปิดรับข่าวสารการท่องเที่ยวในด้านแหล่งข้อมูล เนื้อหา และช่องทางอยู่ในระดับปานกลาง มีการตัดสินใจท่องเที่ยวแบบวางแผนไว้ล่วงหน้าในระดับมาก และท่องเที่ยวในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติมากที่สุด ในด้านพฤติกรรมการทางท่องเที่ยวพบว่า ผู้พิการเดินทางท่องเที่ยว 1-2 ครั้งต่อปี ใช้เวลา 2 วัน ในการท่องเที่ยวแต่ละครั้ง ท่องเที่ยวในวันหยุด ใช้จ่ายในการท่องเที่ยวแต่ละครั้ง 1,000-3,000 บาท เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ท่องเที่ยวกับครอบครัว และจัดการท่องเที่ยวด้วยตัวเองมากที่สุด พฤติกรรมระหว่างการท่องเที่ยวพบว่า ผู้พิการมีการถ่ายภาพขณะท่องเที่ยว และโพสต์ภาพหลังการท่องเที่ยว รวมทั้งเล่าถึงแหล่งท่องเที่ยวที่อำนวยความสะดวกที่ดีให้กับผู้พิการท่านอื่น ๆ และทบทวนถึงปัญหาที่พบ เพื่อพิจารณาในการท่องเที่ยวครั้งต่อไป ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า แรงจูงใจในการท่องเที่ยวทั้งแบบปัจจัยผลักดันและแบบปัจจัยดึงดูดมีความสัมพันธ์กับการเปิดรับข่าวสารการท่องเที่ยวในด้านแหล่งข้อมูล เนื้อหา และช่องทาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำและมีทิศทางแปรตามกัน นอกจากนี้ยังพบว่า การเปิดรับข่าวสารการท่องเที่ยว มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำและมีทิศทางแปรตามกัน และเนื้อหาการเปิดรับข่าวสารด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย ด้านสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวมีความเกี่ยวข้องกับรูปแบบการท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Treading Water: An Ethnography Of The Plight And Capabilities Of Afghan Refugees In Indonesia, Jennifer Kay Moberg Jan 2017

Treading Water: An Ethnography Of The Plight And Capabilities Of Afghan Refugees In Indonesia, Jennifer Kay Moberg

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ACCORDING TO THE 2016 UNHCR STATISTICS, THERE ARE OVER 14,000 REFUGEES TRAPPED IN INDEFINITE TRANSIT IN INDONESIA, WITH FAINT HOPE OF EVER BEING RESETTLED TO ANY THIRD COUNTRY. THE WEST JAVA TOWN OF CISARUA ALONE HOSTS NEARLY 5,000 REFUGEES FROM THE ETHNIC HAZARA MINORITY GROUP FROM AFGHANISTAN. IN THEIR INTRACTABLE LIMBO, A GROUP OF THESE HAZARAS HAVE SET UP A NUMBER OF REFUGEE RUN LEARNING CENTRES AND COMMUNITY INITIATIVES, CREATING FOR THEMSELVES MEANING AND PURPOSE DURING THEIR UNBOUNDED TRANSIT. THIS TOWN AND POPULATION REPRESENT A UNIQUE CASE STUDY IN REFUGEE RESILIENCE, TRANSFORMATION, AND EMPOWERMENT IN LIGHT OF A DEEPENING GLOBAL …


The Challenges And Livelihood Strategies Of Pakistan's Urban Women Refugees In Bangkok,Thailand, Margaret Mbeyu Nguma Jan 2017

The Challenges And Livelihood Strategies Of Pakistan's Urban Women Refugees In Bangkok,Thailand, Margaret Mbeyu Nguma

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Despite the fact that Thailand is a non-signatory of the 1951Refugee Convention relating to the Status of Refugee and its 1967 protocol, it has become a home to many and still provides basic protection for many refugees and those who seek asylum. In principle with lack of some legal framework that recognizes and provides documents for asylum seekers and refugees, these subjects are treated as illegal migrants under the Thai Law article 12 of Immigration act. The focus of the study is to understand and examine the challenges and the livelihood strategies faced by Pakistan urban women refugees on access …


Singaporean Malays' Perspectives Of Income Inequality And Its Impact On Their Opportunities In Singapore’S Education System, Ngak Leng Tan Jan 2017

Singaporean Malays' Perspectives Of Income Inequality And Its Impact On Their Opportunities In Singapore’S Education System, Ngak Leng Tan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Studies on the profile of income inequality revealed that Singaporean Malays continuously occupied the lowest income strata and fared relatively poorer in their academic performance compared to other races. In a highly competitive meritocratic education system that rewards relative merit, yet neglects how unequal backgrounds provided unfair starting points for some, such low-income Malay households may appear to be systemically disadvantaged by income inequality and their access to better education. Under these circumstances, income inequality is further perpetuated. Through the use of focus group discussions and in-depth interviews, my proposed research will seek to understand how Singaporean Malays perceive such …


Development And Dynamics Of The Informal Workers In Thailand: A Case Study Of Informal Workers Network, Tanachot Assawarotjanamitre Jan 2017

Development And Dynamics Of The Informal Workers In Thailand: A Case Study Of Informal Workers Network, Tanachot Assawarotjanamitre

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis aims to analyze the informal worker movement that is associated with a labor NGO named HomeNet Thailand, which helped mobilize informal workers and strengthen their skills and knowledge. The core analysis of thesis follows Resource Mobilization Theory and Political Process Theory to analyze the informal workers' developments, conditions, and limitations. This thesis explores the Informal workers' situation during Yingluck Shinawatra's civilian government (2011-2014) and Prayut Chan-o-cha's miliatry government (2014-Present). The thesis consists of 5 parts. Firstly, an introduction elaborates the research methodology of Archival Research and Interview methods. Secondly, a literature review and theoretical framework show the limitations …


Who Governs The Wasteland? Bangkok’S Informal Recycling Sector In Urban Waste Management, Vanessa Hongsathavij Jan 2017

Who Governs The Wasteland? Bangkok’S Informal Recycling Sector In Urban Waste Management, Vanessa Hongsathavij

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Amidst rapid population growth and urbanization, municipalities confront many challenges posed by waste generation, and its subsequent collection and disposal. In light of these challenges, an integrated solid waste management has emerged as an alternative and more holistic approach to tackling waste challenges, including a more serious consideration of power dynamics and relationships between different actors and interests. Integrated solid waste management in developing countries further reveals an active informal sector and various practices of informality in resource recovery and recycling. Yet, it remains unclear if solid waste management systems can further integrate the informal sector in such a way …


Determinants Of Inward Foreign Direct Investment From China, South Korea And Japan And Its Contribution To Economic Growth In Cambodia, Puthi Phan Kan Jan 2017

Determinants Of Inward Foreign Direct Investment From China, South Korea And Japan And Its Contribution To Economic Growth In Cambodia, Puthi Phan Kan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Foreign direct investment (FDI) has increased globally since the late 1980s. It increased rapidly in Cambodia in the past two decades. This paper aims to examine the determinants of inward FDI from China, South Korea and Japan and its contribution to economic growth in Cambodia during 1994-2014, using both time series analysis by country and the panel data analysis. The results on the determinants of FDI show that real GDP, bilateral trade between the countries, exchange rate, inflation rate, and relative labor productivity are statistically significant and have positive impact on inward FDI flows into Cambodia, and inward FDI from …


Expatriate Management, Absorptive Capacity Of Knowledge, And Subsidiary Performance : The Case Of Japan-Based Multinational Companies In Thailand And Singapore, Wataru Ogushi Jan 2017

Expatriate Management, Absorptive Capacity Of Knowledge, And Subsidiary Performance : The Case Of Japan-Based Multinational Companies In Thailand And Singapore, Wataru Ogushi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The impact of expatriates on knowledge transfer in foreign subsidiaries has been a focus of research on knowledge management in multinational companies (MNCs). This study combines knowledge-based view, the concept of absorptive capacity, and studies on expatriates literature's approach to examine the effect from expatriates on transfer of two kinds of MNC's knowledge (i.e. technological knowledge and marketing knowledge). This paper also analyzes the impact of knowledge absorptive capacity on subsidiary performance to examine how expatriates affect subsidiary performance by knowledge transfer. This study ran analysis of 33 subsidiaries of Japan-based firms in Thailand and Singapore over a 16-year period. …


Hiring Discrimination Against Highly-Competent Candidates: An Investigation Of Competence And Warmth Stereotypes, And Cooperative/Competitive Mindsets, Vipavee Puttaravuttiporn Jan 2017

Hiring Discrimination Against Highly-Competent Candidates: An Investigation Of Competence And Warmth Stereotypes, And Cooperative/Competitive Mindsets, Vipavee Puttaravuttiporn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study applies the continuum model of impression formation and the stereotype content model to investigate the effect of warmth and competence stereotype on blatant and subtle hiring discrimination against highly-competent candidates. Study 1 (N = 220) used hypothetical countries and Study 2 (N = 512) used four ASEAN Economic Community (AEC) countries to manipulate the competence and warmth stereotypes. The results offer a theoretical extension to the stereotype content model where warmth and competence stereotypes have differentiating effects on hiring discrimination against highly-competent candidates. Results from both studies showed that competence stereotype had a significant positive direct effect on …


Hanban Confucius Classrooms And The Learning Of Chinese Language And Culture In Thai Schools, Jiaqi Song Jan 2017

Hanban Confucius Classrooms And The Learning Of Chinese Language And Culture In Thai Schools, Jiaqi Song

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Confucius Classroom is an educational institute established in primary and secondary schools in various countries including Thailand to spread Chinese culture and language. At present, research on Confucius Classrooms in Thailand is little, so this study attempts to examine the approaches used by Confucius Classrooms in teaching Chinese language and spreading Chinese culture in Thai schools and to what extent they contribute to mutual understanding between Chinese and Thai teachers. Data collection was done at Confucius Classrooms in four sample schools by in-depth interviews, questionnaires and tests. The respondents included the Chinese heads of Confucius Classrooms, Thai teachers and leaders, …


Spelling Errors In Thai Made By Chinese And Lao Students Speaking Thai As A Foreign Language, Peng Hou Jan 2017

Spelling Errors In Thai Made By Chinese And Lao Students Speaking Thai As A Foreign Language, Peng Hou

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

When learning a foreign language, it is important to learn how to accurately spell as it is crucial for communication. To accurately spell in the Thai language is challenging for both native and foreign learners of Thai. However, there are few studies that address the spelling errors made by foreign learners of Thai. Therefore, the purpose of this study is to analyze the patterns and causes of spelling errors made by Chinese and Lao students speaking Thai as a foreign language. In order to gather data for this analysis, thirty Chinese students and thirty Lao students took part in a …


Factors Influencing Chinese Medical Tourists' Satisfaction With Medical Services In Thailand, Xiyuan Zhao Jan 2017

Factors Influencing Chinese Medical Tourists' Satisfaction With Medical Services In Thailand, Xiyuan Zhao

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Medical tourism is a new worldwide niche market, which generates apparent economic benefits. Chinese medical tourists are a significant consumer group in the medical tourism industry that many countries have begun to explore. This research aims to study the factors motivating mainland Chinese medical tourists to seek healthcare in Thailand and to assess their satisfaction with the medical services they received in this country. This research adopted both qualitative and quantitative methods. The findings indicate that the key factors motivating mainland Chinese medical tourists to travel to Thailand to receive in medical services include recommendations and media advertisements, national policies, …