Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 2851 - 2880 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

The Role Of Chinese Commercial Associations In Supporting New Chinese Sojourners In Bangkok : A Case Study Of The Thai-Guangxi Commercial Association, Zhong Jin Wen Jan 2017

The Role Of Chinese Commercial Associations In Supporting New Chinese Sojourners In Bangkok : A Case Study Of The Thai-Guangxi Commercial Association, Zhong Jin Wen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand has always maintained friendly relations with China throughout long history, which include relationship in the cultural, political, economic, social and tourism areas, among others. In recent decades, especially following the development of the Chinese "one belt, one road" policy, more and more Chinese sojourners have chosen Thailand as their sojourning destination. However, looking back to the history, we will see that most old Chinese immigrants moved from China to Thailand to make a living as businessmen or labor force. During that period, commercial associations needed to be established, so that these Chinese immigrants could help each other, (such an …


ผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีต่อการค้าระหว่างประเทศของไทยกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ, จักรกวินท์ เปี่ยมวรการุณย์ Jan 2017

ผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีต่อการค้าระหว่างประเทศของไทยกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ, จักรกวินท์ เปี่ยมวรการุณย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยทางทฤษฎีและการวิจัยเชิงประจักษ์ว่าด้วยผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีต่อการค้าระหว่างประเทศพบว่าความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศปรับตัวลดลงหากผู้ส่งออกมีลักษณะกลัวความเสี่ยงน้อย (Less Risk Averse) มิฉะนั้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นหากผู้ส่งออกมีลักษณะกลัวความเสี่ยงมาก (Highly Risk Averse) แต่มีบางงานศึกษาไม่พบผลกระทบที่มีนัยสำคัญ ฉะนั้นงานศึกษานี้มีจึงวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีต่อปริมาณการส่งออกของไทยโดยเลือกการส่งออกไปยัง4ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มประเทศอาเซียน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป การศึกษาใช้วิธี ARDL Bound Testing ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถหาผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวรวมทั้งการปรับตัวจากระยะสั้นสู่ระยะยาวได้ในสมการเดียวกัน ข้อมูลที่ใช้มีลักษณะเป็นรายเดือนตั้งแต่ปี ค.ศ.2000 ถึง 2016 การศึกษาพบว่าในระยะสั้นความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้การส่งออกลดลง ในระยะยาวอุตสาหกรรมส่วนใหญ่สามารถปรับตัวต่อการผันผวน ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ สำหรับในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบในระยะยาว ส่วนใหญ่ทำให้การส่งออกลดลง อ้างอิงได้ว่าผู้ส่งออกในอุตสาหกรรมเหล่านี้มีลักษณะกลัวความเสี่ยงน้อย (Less Risk Averse) จากการที่การส่งออกในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในระยะยาว ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวภายใต้การจัดการ (Managed Float) ของไทยจึงยังคงเป็นระบบที่มีความเหมาะสม อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในระยะสั้นอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้นภาครัฐควรจะมีมาตรการในการกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้ส่งออกมีการประกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวนมาก


พัฒนาการของการรับประทานอาหารนอกบ้านในสังคมไทย, จิรพันธ์ รวมพรรณพงศ์ Jan 2017

พัฒนาการของการรับประทานอาหารนอกบ้านในสังคมไทย, จิรพันธ์ รวมพรรณพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพัฒนาการของสถานที่กินอาหารโดยเฉพาะการทานอาหารนอกบ้านตามร้านอาหารของชนชั้นกลางในเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งเน้นศึกษาตั้งช่วงรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจนพร้อมกับการเข้ามาของอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกที่เพิ่มมากขึ้น จากการศึกษาพบว่า พัฒนาการของสถานที่กินอาหารนั้นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในเมืองกรุงเทพฯ ช่วงรัชกาลที่ 5 ที่ได้มีการปฏิรูประบบราชการ ซึ่งทำให้มีสถานที่ราชการชัดเจนและเกิดอาชีพ "ข้าราชการ" ที่ต้องทำงานตามเวลาราชการที่แน่นอน ประกอบกับการเป็นเสมียนในห้างฝรั่งได้กลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการเป็นข้าราชการ ปัจจัยทั้งสองนี้ได้กลายเป็นแรงผลักสำคัญให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารนอกบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารมื้อกลางวัน ด้วยเหตุนี้ร้านอาหารสำหรับมื้อกลางวันจึงเริ่มมีมากขึ้นและได้ขยายเวลาให้บริการออกไปยาวนานขึ้นเมื่อมีการเข้ามาของไฟฟ้า ประกอบกับเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ. 2464 ก็ได้ทำให้เด็กอายุ 7 – 14 ปี ต้องเข้าโรงเรียนซึ่งนั้นทำให้การทานอาหารนอกบ้านในมื้อเที่ยงกลายเป็นเรื่องที่หลักเลี่ยงไม่ได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดให้ข้าราชการเริ่มทำงานตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. และได้เปลี่ยนเป็นเวลา 08.30 – 16.30 น. ในปี พ.ศ. 2502 โดยยังคงเวลาพักเที่ยงดังเดิมคือ 12.00 – 13.00 น. ก็ยิ่งทำให้การรับประทานอาหารนอกบ้านโดยเฉพาะมื้อเที่ยงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก กระทั่งช่วงทศวรรษ 2500 ได้มีการพัฒนาเส้นคมนาคมตลอดจนความเป็นเมืองที่เพิ่มมากขึ้นทำให้การออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านนั้นกลายเป็นเรื่องปกติ และเมื่อพิจารณาการรับประทานอาหารนอกบ้านตามร้านอาหารในปัจจุบันแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะด้วยความจำเป็นหรือเพื่อแสดงสถานะบางอย่างผ่านการบริโภคอาหารก็ตาม


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผิดนัดชำระหนี้สินเชื่ออุปโภคบริโภคของธนาคารพาณิชย์และบริษัทที่ประกอบธุรกิจแต่มิใช่สถาบันการเงินในประเทศไทย, ธนิดา ตันติอาภากุล Jan 2017

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผิดนัดชำระหนี้สินเชื่ออุปโภคบริโภคของธนาคารพาณิชย์และบริษัทที่ประกอบธุรกิจแต่มิใช่สถาบันการเงินในประเทศไทย, ธนิดา ตันติอาภากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อหนี้ค้างชำระของสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคจากธนาคารพาณิชย์และบริษัทที่ประกอบธุรกิจแต่มิใช่สถาบันการเงินในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ.2546 ถึง 2559 ที่มีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มสูงขึ้นจนอาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อหนี้ครัวเรือนและเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน โดยสมมติฐานหลักของงานวิจัยนี้คาดว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศและกลุ่มตัวแปรผลการดำเนินงานของกิจการในอดีตสะท้อนถึงพฤติกรรมของกิจการและเป็นปัจจัยสำคัญต่อปัญหาหนี้ค้างชำระในปัจจุบัน ดังนั้นจึงได้ใช้วิธี Difference GMM ในการศึกษา จากผลการศึกษาพบว่าหนี้ค้างชำระในอดีตของสินเชื่อทุกประเภทนั้นส่งผลต่อหนี้ค้างชำระในปัจจุบันสะท้อนถึงพฤติกรรม Moral Hazard ของกิจการ โดยปัญหาหนี้ค้างชำระด้อยคุณภาพที่มีการค้างชำระมากกว่า 3 เดือนขึ้นไปของสินเชื่อทุกประเภทเกิดจากการที่กิจการมีความพร้อมเพียงพอสำหรับการปล่อยสินเชื่อ (Ability to Loan) ทำให้อัตราการเติบโตของปริมาณเงินให้สินเชื่อนั้นเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้นยังพบว่านโยบายคืนภาษีรถยนต์คันแรกในปี พ.ศ.2554 ที่หวังจะกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านการจับจ่ายใช้สอยของประชากรนั้นส่งผลให้หนี้ค้างชำระด้อยคุณภาพของสินเชื่อรถยนต์ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


บทบาทการพัฒนาทางการเงินและความยากง่ายในการประกอบธุรกิจต่อการจัดตั้งธุรกิจใหม่, ปิยาพัชร ล้อจรัสศรีวงษ์ Jan 2017

บทบาทการพัฒนาทางการเงินและความยากง่ายในการประกอบธุรกิจต่อการจัดตั้งธุรกิจใหม่, ปิยาพัชร ล้อจรัสศรีวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการพัฒนาทางการเงินและความยากง่ายในการประกอบธุรกิจต่อการจัดตั้งธุรกิจใหม่ โดยพิจารณาบทบาทการพัฒนาทางการเงินทั้งในด้านความลึก การเข้าถึง และความมีประสิทธิภาพของสถาบันการเงินและความยากง่ายในการประกอบธุรกิจด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย การเริ่มต้นธุรกิจ การจดทะเบียนทรัพย์สิน การคุ้มครองผู้ลงทุน และการชำระภาษี โดยศึกษาในประเทศกำลังพัฒนา 8 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศมาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ และปากีสถาน ใช้ข้อมูลภาคตัดขวางร่วมกับข้อมูลอนุกรมเวลา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002-2014 ประยุกต์กับแบบจำลอง Panel Regression Method Models ด้วยวิธี Fixed-Effects ผลการศึกษาพบว่า การเข้าถึงสถาบันการเงิน ความสะดวกในการเริ่มต้นธุรกิจ การคุ้มครองผู้ลงทุนและอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวมีผลทางบวก ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงมีผลทางลบต่อจำนวนการจดทะเบียนประกอบธุรกิจใหม่ในประเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม การศึกษาพบว่าความลึกและประสิทธิภาพของสถาบันการเงิน ความสะดวกในการจดทะเบียนทรัพย์สิน การชำระภาษี มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และสัดส่วนการออมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศมีความสัมพันธ์กับจำนวนการจดทะเบียนประกอบธุรกิจใหม่ในประเทศอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


การประมาณการและการกระจายต้นทุนการคลังจากการอุดหนุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสหกรณ์, รัฐชิตา โพธินา Jan 2017

การประมาณการและการกระจายต้นทุนการคลังจากการอุดหนุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสหกรณ์, รัฐชิตา โพธินา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินให้แก่คนมีรายได้น้อยผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสหกรณ์ในรูปแบบของการให้การอุดหนุนทางการเงิน ทำให้เกิดภาระทางการคลังที่สำคัญต่อรัฐบาล ดังนั้น งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณการต้นทุนการคลังที่เกิดขึ้นจากการอุดหนุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสหกรณ์ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการกระจายเงินอุดหนุนสู่ภาคครัวเรือนผ่านทั้งสองสถาบันการเงินดังกล่าว และเพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของเงินอุดหนุนต่อการลดความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจของภาคครัวเรือน โดยที่ งานวิจัยชิ้นนี้จะมุ่งเน้นวิเคราะห์เฉพาะต้นทุนที่มาจากการอุดหนุนโดยนัยเป็นสำคัญ ได้แก่ การอุดหนุนด้านการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีให้แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจและสหกรณ์ และการอุดหนุนด้านการคุ้มครองเงินฝากให้แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สำหรับการวิเคราะห์ต้นทุนจากการอุดหนุนที่เกิดขึ้นนั้น ผู้วิจัยจะนำแนวคิด Funding advantage models มาปรับใช้ในการประมาณต้นทุนที่เป็นไปได้ ประกอบกับการใช้ข้อมูลใช้ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (Household Socio - Economic Survey: SES) ในการศึกษา โดยจะศึกษาการอุดหนุนเฉพาะในกลุ่มสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) รวมถึงสหกรณ์ได้ศึกษาเพียงสหกรณ์ออมทรัพย์ ตั้งแต่ปี 2547-2556 ผลการศึกษาพบว่า ประการแรก ต้นทุนการคลังจากการอุดหนุนด้านการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีมีแนวโน้มสูงขึ้นตามลำดับ ขณะที่ต้นทุนการคลังจากการอุดหนุนด้านการคุ้มครองเงินฝากลดลงเนื่องจากการจัดตั้งกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะช่วยแบ่งเบาภาระทางการคลังได้ ประการที่สองลักษณะการกระจายเงินอุดหนุนไปสู่ภาคครัวเรือนจะพบว่า ในภาพรวมของเงินอุดหนุนทั้งหมด ครัวเรือนรายได้มากจะได้รับสัดส่วนเงินอุดหนุนมากที่สุด ขณะที่ ในมิติเงินอุดหนุนต่อรายได้ครัวเรือน ไม่มีความแตกต่างกันมากนักระหว่างครัวเรือนรายได้มากและครัวเรือนรายได้น้อย และประการสุดท้าย การอุดหนุนด้านการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีมีอิทธิพลต่อการลดความไม่เท่าเทียมในภาคครัวเรือน ขณะที่ การอุดหนุนด้านการคุ้มครองเงินฝากไม่สามารถลดความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นได้


การศึกษาผลกระทบเชิงพลวัตของการลงทุนในภาคการขนส่งต่อสาขาการผลิตในประเทศไทย โดยใช้แบบจำลองดุลยภาพทั่วไป, วัชระ เพชรดิน Jan 2017

การศึกษาผลกระทบเชิงพลวัตของการลงทุนในภาคการขนส่งต่อสาขาการผลิตในประเทศไทย โดยใช้แบบจำลองดุลยภาพทั่วไป, วัชระ เพชรดิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาคการขนส่งและภาคการผลิตอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการลงทุนในภาคขนส่ง โดยใช้ตารางปัจจัยการผลิต-ผลผลิต พ.ศ. 2553 และข้อมูลบัญชีรายได้ประชาชาติเป็นฐานข้อมูลในการสร้างตารางบัญชีเมตริกซ์สังคมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ โดยได้แบ่งสาขาการผลิตในระบบเศรษฐกิจออกเป็น 24 สาขาการผลิต และจัดกลุ่มจากความใกล้เคียงในเทคโนโลยีการผลิตและโครงสร้างต้นทุนค่าขนส่ง สำหรับแบบจำลองที่ใช้ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) การคำนวณตัวคูณราคาคงที่ ซึ่งได้ปรับปรุงมาจากสัดส่วนค่าใช้จ่ายของสาขาการผลิตในตารางบัญชีเมตริกซ์สังคม โดยได้ปรับสัดส่วนการบริโภคภาคครัวเรือนด้วยค่าความยืดหยุ่นของรายได้เพื่อคำนึงถึงผลจากการปรับเปลี่ยนสัดส่วนการบริโภคเมื่อรายได้ของครัวเรือนเปลี่ยนแปลง 2) การคำนวณดุลยภาพทั่วไป ซึ่งการศึกษานี้ได้ออกแบบให้การสร้างมูลค่าเพิ่ม หน่วยผลิตสามารถเลือกใช้รูปแบบการขนส่งเพื่อทดแทนการเลือกปัจจัยในการผลิตได้ โดยการจำลองสถานการณ์จะเป็นการเปรียบเทียบผลกระทบจากสัดส่วนของทุนที่จะเข้าสู่ภาคการขนส่งของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า สาขาในภาคการขนส่งที่มีผลกระทบเชื่อมโยงไปข้างหลัง (Backward Linkage) มากสุด ได้แก่ สาขาการขนส่งทางราง ขณะที่ผลกระทบเชื่อมโยงไปข้างหน้า (Forward Linkage) ได้แก่ สาขาการขนส่งทางถนน เมื่อทำการจำลองสถานการณ์โดยการเพิ่มทุนในภาคขนส่งพบว่าสามารถเพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศได้ ดังนั้นรัฐบาลควรเพิ่มการลงทุนในภาคการขนส่งต่อไป นอกจากนี้ การจัดสรรเงินลงทุนในภาคการขนส่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นสาขาการผลิตที่เกี่ยวข้องกับภาคการขนส่ง โดยพิจารณาจากผลกระทบเชื่อมโยงไปข้างหน้า และผลกระทบเชื่อมโยงไปข้างหลัง


กระบวนการสร้างมารยาทของสังคมไทย, ปกรณ์สิทธิ ฐานา Jan 2017

กระบวนการสร้างมารยาทของสังคมไทย, ปกรณ์สิทธิ ฐานา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษากระบวนการสร้างและการเปลี่ยนแปลงของมารยาทของสังคมไทย โดยใช้แนวคิดการเมืองวัฒนธรรมเป็นกรอบในการศึกษา และจะศึกษาเฉพาะมารยาทที่รัฐใช้อย่างเป็นทางการเพื่อเป็นแบบแผนความประพฤติของพลเมือง ผลการศึกษาพบว่าแบบแผนมารยาทในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง และมารยาทเป็นพื้นที่ในการช่วงชิงอำนาจทางวัฒนธรรมของชนชั้นนำ รวมถึงเป็นเครื่องมือที่ชนชั้นนำใช้เพื่อปลูกฝังอุดมการณ์ทางการเมืองแก่ผู้คนเพื่อสร้างพลเมืองในแบบที่ชนชั้นนำในสมัยนั้นต้องการ


การศึกษาการลดผลกระทบจากการที่แรงงานถูกทำให้กลายเป็นสินค้า, นุชประภา โมกข์ศาสตร์ Jan 2017

การศึกษาการลดผลกระทบจากการที่แรงงานถูกทำให้กลายเป็นสินค้า, นุชประภา โมกข์ศาสตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการลดผลกระทบจากการที่แรงงานถูกทำให้กลายเป็นสินค้าในระบบรัฐสวัสดิการของประเทศสวีเดนช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองผ่านการศึกษาปัจจัยเชิงประวัติศาสตร์ ระบบการเมืองและเศรษฐกิจ พรรคการเมือง ระบบไตรภาคี เป็นต้น โดยนำทฤษฎีกฎการเคลื่อนไหวแบบทวิภาคและเศรษฐกิจในกำกับของสังคมของคาร์ล โปลานยี มาผนวกกับทฤษฎีการลดผลกระทบจากการที่แรงงานถูกทำให้กลายเป็นสินค้าของยอร์ชตา อีสปริง-แอนเดอร์เซน เพื่อนำมาเป็นกรอบทฤษฎีหลักในการวิเคราะห์ระบบรัฐสวัสดิการ จากนั้นจึงจะนำมาเชื่อมโยงเปรียบเทียบกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย ผลการศึกษาพบว่าในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐสวัสดิการของสวีเดนอยู่ในบริบทที่ให้รัฐเข้าแทรกแซงระบบเศรษฐกิจตามนโยบายแบบเคนส์ โดยรัฐ ทุนและแรงงานร่วมมือกันในลักษณะไตรภาคีอันเป็นผลมาจากการประนีประนอมทางชนชั้น ความสำเร็จของรัฐสวัสดิการเกิดจาก รัฐบาลภายใต้พรรคสังคมประชาธิปไตยมุ่งส่งเสริมการจ้างงานเต็มที่พร้อมกับการพัฒนาสังคม ดังนั้นการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากชนชั้นแรงงาน ความเข้มแข็งของสหภาพแรงงานและชนชั้นชาวนา การเติบโตทางเศรษฐกิจ ระบบภาษี รวมถึงบทเรียนจากผลกระทบในเชิงสังคมและเศรษฐกิจผ่านก่อตัวของสงครามและการเติบโตของลัทธิฟาสซิสต์ทำให้ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นบริบทที่มีความลื่นไหลต่อการพัฒนารัฐสวัสดิการในสวีเดน พรรคสังคมประชาธิปไตยสามารถผลักดันนโยบายปกป้องสังคมที่ช่วยลดผลกระทบจากการที่แรงงานถูกทำให้กลายเป็นสินค้าอย่างรอบด้าน ผลของรัฐสวัสดิการคือช่วยลดความไม่พอใจทางสังคมและก่อให้เกิดยุคสันติภาพของแรงงานเป็นเวลากว่า 3 ทศวรรษ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับกรณีของประเทศไทยพบว่าการผลักดันระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าใน พ.ศ. 2545 เกิดจากพลังปกป้องสังคมที่มาจากชนชั้นกลางที่เติบโตมาจากบริบทการเรียกร้องประชาธิปไตยในเหตุการณ์ 14 ตุลา นั่นคือชมรมแพทย์ชนบท โดยความสำเร็จของการผลักดันมาจากปัจจัยทางการเมือง รัฐธรรมนูญปี 2540 พรรคการเมืองและช่วงเวลาที่สังคมเป็นประชาธิปไตย ทำให้ไทยสามารถผลักดันระบบประกันสุขภาพที่แยกส่วนจากกันให้เป็นระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ช่วยให้ประชาชนกว่า 48 ล้านคนที่ไม่ใช่ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจและพนักงานเอกชนสามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพได้อย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ระบบหลักประกันสุขภาพจึงถือเป็นก้าวแรกของการสร้างประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจในประเทศไทยที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนกลุ่มต่างๆ อย่างไรก็ตามระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยยังไม่เพียงพอในการลดผลกระทบจากการที่แรงงานถูกทำให้กลายเป็นสินค้าเนื่องจากเป็นระบบที่คุ้มครองแรงงานด้านสุขภาพเพียงด้านเดียว ดังนั้นในอนาคตประเทศไทยควรมีบริบทที่สังคมเป็นประชาธิปไตยเพื่อสร้างพลังปกป้องสังคมที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะพลังที่มาจากชนชั้นล่างเพื่อผลักดันให้เกิดนโยบายอื่นๆที่ครอบคลุมและรอบด้านเหมือนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งนี้ระบบรัฐสวัสดิการและระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นรูปแบบหนึ่งที่อยู่ภายใต้ทฤษฎีเศรษฐกิจในกำกับของสังคมตามข้อเสนอของโปลานยีที่ช่วยให้กระบวนการสะสมทุนดำเนินไปพร้อมกับการกระจายส่วนเกินทางเศรษฐกิจอย่างได้สัดส่วนกันซึ่งสามารถช่วยชดเชยผลกระทบจากการที่แรงงานถูกทำให้กลายเป็นสินค้า


เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยกลุ่มทุนระบบรางในไทย, อดิศักดิ์ สายประเสริฐ Jan 2017

เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยกลุ่มทุนระบบรางในไทย, อดิศักดิ์ สายประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เล่มนี้ต้องการศึกษาพัฒนาการของกลุ่มทุนระบบรางในไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2398 ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบทุนนิยมโลก จนถึงปี พ.ศ. 2558 เพื่อวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับกลุ่มทุนที่มีบทบาทนำและลักษณะการสะสมทุน โดยการสร้างกรอบการวิเคราะห์จากงานเขียนทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง ประกอบไปด้วย แนวคิดว่าด้วยการนำของรัฐในระบบราง (Theory of State Domination of Railways) แนวคิดม้าสามขา (Tripod Structure) ของ Suehiro Akira และงานของ J. Allen Whitt ซึ่งจะแบ่งกลุ่มทุนระบบรางในแต่ละยุคตามบทบาทการนำออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทุนโดยรัฐ กลุ่มทุนเอกชนภายในประเทศ และกลุ่มทุนต่างชาติ จากการศึกษา พบว่า เริ่มแรกกลุ่มทุนที่มีบทบาทนำในระบบราง คือ กลุ่มทุนต่างชาติซึ่งเป็นข้าราชการที่มีความรู้ในด้านการสำรวจ และ กลุ่มทุนโดยรัฐซึ่งได้ว่าจ้างชาวต่างชาติที่มีความรู้ระบบรางมาเป็นข้าราชการ จนกระทั่งเมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทานจึงทำให้กลุ่มทุนเอกชนหมดบทบาทในระบบรางไป กลุ่มทุนโดยรัฐจึงเป็นผู้ผูกขาดระบบรางและเข้าบริหารกิจการรางแทนกลุ่มทุนเอกชน แต่กลับประสบปัญหาการขาดทุนและการขยายระบบรางที่ล่าช้า เนื่องจากการขาดแคลนเงินในการขยายเส้นทาง ทำให้ต้องกู้เงินจากกลุ่มทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนต่างชาติกลับมามีบทบาทในระบบรางไทยในการกำหนดเงื่อนไขที่มาพร้อมกับเงินกู้ นอกจากนั้นกลุ่มทุนต่างชาติเป็นผู้รับสัมปทานระบบรางในกรุงเทพเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรที่ติดขัด แต่ปัญหาในการก่อสร้างที่ล่าช้าได้นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มทุนโดยรัฐกับกลุ่มทุนเอกชนจนก่อสร้างไม่สำเร็จทุกโครงการ ในทางตรงกันข้าม เมื่อรัฐได้ให้สัมปทานระบบรางกับกลุ่มทุนภายในประเทศไม่ว่าจะเป็นกลุ่มทุนโดยรัฐหรือเอกชน กลับผลักดันโครงการจนสามารถเปิดให้บริการได้สำเร็จ แม้ว่าจะมีปัญหาการก่อสร้างที่ล่าช้า การเปลี่ยนแปลงเส้นทางก่อสร้าง หรือประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 จนบริษัทผู้รับสัมปทานล้มละลายก็ตาม


การแปลงเปลี่ยนสถานภาพจากผู้สูญเสียไปสู่นักกิจกรรมสังคมของผู้หญิงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้, ซารีฮาน สุหลง Jan 2017

การแปลงเปลี่ยนสถานภาพจากผู้สูญเสียไปสู่นักกิจกรรมสังคมของผู้หญิงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้, ซารีฮาน สุหลง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการแปลงเปลี่ยน (Transformation) สถานภาพของผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จากผู้สูญเสียมาสู่ นักกิจกรรมสังคม และระบุเงื่อนไขที่ที่เอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้หญิงที่เป็นนักกิจกรรมและเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียสมาชิกในครอบครัวหรือสมาชิกในครอบครัวถูกดำเนินคดีความมั่นคงในพื้นที่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ผลการศึกษาพบว่า ผู้หญิงนักกิจกรรมได้ปรับเปลี่ยนตัวเองในระดับทัศนคติ พฤติกรรม และ วิถีชีวิต อันได้แก่การค้นพบศักยภาพของตัวเอง ทัศนคติต่อผู้อื่น และ การหันมาทำงานเพื่อสังคมมากขึ้นขณะที่ยังมีภาระดูแลครอบครัว เงื่อนไขสำคัญของการเปลี่ยนแปลง ส่วนหนึ่งมาจากการทำงานร่วมกันกับเครือข่ายทางสังคมในกระบวนการเยียวยา ที่ทำให้เกิดการช่วยเหลือกัน การรับฟังปัญหาของผู้อื่น และการเรียนรู้ประสบการณ์เพื่อแก้ไขปัญหาที่ต้องเผชิญร่วมกัน เครือข่ายกิจกรรมเป็นทุนทางสังคมที่เอื้อให้ผู้หญิงผู้สูญเสียทำงานเพื่อส่วนรวมได้ (public sphere) ส่วนทุนทางสังคมดังเดิมอันได้แก่ ครอบครัวและเครือญาติช่วยประคับประคองชีวิตส่วนตัวและครอบครัว (private sphere) นอกจากนั้นผู้หญิงผู้สูญเสียสามารถแสดงบทบาททางสังคมได้มากน้อยแตกต่างกัน ผู้หญิงส่วนหนึ่งก้าวไปสู่การสร้างพื้นที่สันติภาพ ขณะที่ส่วนหนึ่งทำงานเพื่อสร้างโอกาสการดำรงชีพ ทั้งนี้ยังมีปัจจัยเนื่องมาจากการมีทุนมนุษย์หรือศักยภาพและประสบการณ์ส่วนบุคคลไม่เท่ากันด้วย


การปรับเปลี่ยนนโยบายแรงงานข้ามชาติสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา, หฤทัย จงวัฒนบัณฑิตย์ Jan 2017

การปรับเปลี่ยนนโยบายแรงงานข้ามชาติสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา, หฤทัย จงวัฒนบัณฑิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีจุดม่งหมายในการค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายแรงงานข้ามชาติ และท่าทีต่อปัจจัยดังกล่าวของรัฐบาลในสมัยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีวิจัยเอกสารทางวิชาการ งานวิจัยต่างๆ และคำแถลงการณ์ของคณะรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านทางนายกรัฐมนตรีหัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยผลักดันที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายแรงงานข้ามชาติของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ภายในประเทศ แรงงานข้ามชาติมีส่วนให้เกิดปัญหาอาชญากรรม การค้ายาเสพติด และเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ส่วนภายนอกประเทศ เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีการบังคับใช้แรงงานเด็ก บังคับหญิงค้าประเวณี การใช้แรงงานทาสอันเชื่อมโยงไปสู่การค้ามนุษย์ ทำให้ถูกเพ่งเล็งโจมตี และได้รับแรงกดดันอย่างมากจากต่างชาติและองค์การระหว่างประเทศ จากปัจจัยดังกล่าว ทำให้ท่าทีของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเข้าสู่อำนาจทางการเมืองโดยรัฐประหาร มีฐานะเป็นรัฏฐาธิปัตย์ มีความคล่องตัวในการใช้อำนาจได้อย่างรวดเร็วในการแก้ปัญหา จึงให้ความสำคัญเรื่องการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติเป็นวาระเร่งด่วน อันนำไปสู่วาระแห่งชาติอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นการลดแรงกดดัน ทั้งจากภายในและโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากต่างประเทศ เพื่อสร้างการยอมรับในเรื่องการใช้อำนาจ พร้อมทั้งเร่งสร้างความเข้าใจในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อไม่ให้กระทบบรรยากาศการค้าและการลงทุน ภายหลังการดำเนินงานตามนโยบายแรงงานข้ามชาติที่ปรับเปลี่ยนโดยรัฐบาลนี้ ทำให้สถานการณ์การค้ามนุษย์ในปี 2559 ดีขึ้น ได้รับการเลื่อนอันดับอยู่ Tier 2 Watch List


ระบบเลือกตั้งและการจัดการเลือกตั้ง: เป้าหมายและผลลัพธ์ทางการเมือง, ณสดมภ์ ธิติปรีชา Jan 2017

ระบบเลือกตั้งและการจัดการเลือกตั้ง: เป้าหมายและผลลัพธ์ทางการเมือง, ณสดมภ์ ธิติปรีชา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบการเลือกตั้งและการจัดการเลือกตั้ง ในฐานะเครื่องมือทางการเมืองที่สะท้อนเป้าหมายทางการเมือง และ ได้นำมาสู่ผลลัพธ์ทางการเมืองอย่างไร ในบริบทการเมืองไทยตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 ถึงปัจจุบัน โดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 ประเด็นได้ แก่ (1) บริบททางการเมือง อันเป็นปัจจัยในการกำหนดเป้าหมายทางการเมือง (2) ระบบการเลือกตั้งและการจัดการเลือกตั้ง และ (3) ผลลัพธ์ทางการเมือง โดยใช้การศึกษาเชิงคุณภาพที่อาศัยการวิเคราะห์เอกสารเป็นหลัก หน่วยการศึกษาได้แก่ ระบบการเลือกตั้ง และการจัดการเลือกตั้ง ผลการศึกษาพบว่า (1) บริบทการเมืองในช่วงเวลาต่างๆเป็นตัวกำหนดเป้าหมายของผู้มีอำนาจในการกำหนดกติกาในช่วงเวลานั้น โดยได้ใช้ระบบการเลือกตั้งและการจัดการเลือกตั้ง เป็นเครื่องมือหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว (2) ระบบการเลือกตั้งและการจัดการเลือกตั้งต่างๆ ได้ถูกนำมาใช้ต่างสอดคล้องกับเป้าหมายทางการเมืองที่ต้องการให้เป็นและผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (3) ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามเป้าหมายเสมอไป โดยปัจจัยที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามเป้าหมายเสียทั้งหมดที่สำคัญได้แก่ โลภาภิวัฒน์ กระแสการตื่นตัวทางประชาธิปไตย วัฒนธรรมการเมืองไทย อันเป็นพลวัตรภายในสังคมไทยเอง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่การเลือกตั้งในการเมืองไทยที่ยิ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ดังนั้นระบบการเลือกตั้งและการจัดการเลือกตั้งจึงมีความสัมพันธ์ ในฐานะเครื่องมือของการบรรลุเป้าหมายทางการเมือง และเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางการเมืองสืบเนื่องต่อมา ทั้งในรูปแบบที่บรรลุหรือไม่บรรลุเป้าหมายทางการเมืองนั้นๆ


กระบวนการทางนโยบายในการตัดสินใจพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง, พรพรรณ ประดิษฐ์แท่น Jan 2017

กระบวนการทางนโยบายในการตัดสินใจพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง, พรพรรณ ประดิษฐ์แท่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางนโยบายในการตัดสินใจพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง ช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลประยุทธ์ เพื่อแสดงให้เห็นและอธิบายถึงความแตกต่างเพียงเล็กน้อยของนโยบายที่เกิดขึ้นกับทั้ง 2 รัฐบาล การวิจัยประการแรกคือนโยบายที่เกิดขึ้นระหว่าง 2 รัฐบาลไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ซึ่งความคล้ายคลึงกันของนโยบายของทั้ง 2 รัฐบาล เป็นมาจากการที่ทั้ง 2 รัฐบาลเลือกใช้การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมืองเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ ส่งผลให้เมื่อนโยบายดำเนินไปสู่ขั้นการนำไปปฏิบัติผู้เข้ารวมประกวดราคาส่วนใหญ่ล้วนเป็นบริษัทธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ ทั้งๆ ที่รัฐบาลประยุทธ์มีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงให้บริษัทธุรกิจกิจรับเหมาก่อสร้างที่มีขนาดเล็กกว่าสามารถเข้าสู่กระบวนการประกวดราคาให้มากขึ้นจากการวิจัยพบว่าความเชื่อมโยงกันระหว่างเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลกับการที่บริษัทธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่เป็นผู้ดำเนินการสร้างในโครงการรถไฟทางคู่ฯ สะท้อนให้เห็นถึงการมีสถานะพิเศษของบริษัทธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่จึงส่งผลให้นโยบายในเรื่องดังกล่าวของทั้ง 2 รัฐบาลมีความคล้ายคลึงกัน การวิจัยประการที่สองคือความต่อเนื่องของระบบราชการในส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางนโยบาย ทั้งๆ ที่การเปลี่ยนแปลงของฝ่ายบริหารนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของผู้มีตำแหน่งทางการเมือง หากแต่ตำแหน่งและบทบาทของฝ่ายข้าราชการยังคงเหมือนเดิม ส่งผลให้ฝ่ายข้าราชการสามารถพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายในช่วงของทั้ง 2 รัฐบาลไปในทิศทางที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่านโยบายการพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมืองมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นระหว่างช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลประยุทธ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น


การปฏิรูปกฎหมายเงินบริจาคพรรคการเมือง : เปรียบเทียบไทยกับญี่ปุ่น, พงศกร ยาห้องกาศ Jan 2017

การปฏิรูปกฎหมายเงินบริจาคพรรคการเมือง : เปรียบเทียบไทยกับญี่ปุ่น, พงศกร ยาห้องกาศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการปฏิรูปกฎหมายเงินบริจาคแก่พรรคการเมืองระหว่างไทยกับญี่ปุ่นใน 3 ประเด็น ได้แก่ (1) เป้าหมายและกระบวนการ (2) มาตรการที่ใช้ (3) ผลลัพธ์ โดยใช้การศึกษาเชิงคุณภาพที่อาศัยการวิเคราะห์เอกสารเป็นหลักและสนับสนุนด้วยข้อมูลสถิติเงินบริจาคแก่พรรคการเมือง หน่วยศึกษา ได้แก่ กฎหมายควบคุมเงินบริจาคและข้อมูลเงินบริจาคของพรรคการเมืองในปีที่มีการเลือกตั้งทั่วไป ผลการศึกษาพบว่า (1) ไทยและญี่ปุ่นกำหนดเป้าหมายในการปฏิรูปต่างกัน โดยการปฏิรูปของไทยต้องการสร้างความโปร่งใสและลดอิทธิพลของกลุ่มทุน ในขณะที่ญี่ปุ่นต้องการลดปริมาณเงินโดยรวมของการเลือกตั้ง ด้านกระบวนการพบว่า การปฏิรูปของไทยมีตัวแสดงที่มีส่วนร่วมน้อย โดยมักเป็นการตกลงระหว่างชนชั้นนำทางการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในขณะที่ญี่ปุ่นมีการต่อรองระหว่างกลุ่มการเมืองหลายกลุ่ม (2) มาตรการควบคุมของไทยขาดความรอบคอบ แม้ว่าจะใช้การผสมผสานกันหลายมาตรการแต่ยังคงมีช่องว่างและไม่สามารถปฏิบัติได้จริง ส่วนมาตรการของญี่ปุ่นนั้นมีความรัดกุมและชัดเจน (3) ไทยและญี่ปุ่นประสบปัญหาการควบคุมเงินบริจาค โดยสาเหตุของไทยเกิดจากช่องว่างของกฎหมายและการขาดความสามารถในการบังคับใช้กฎหมายส่วนญี่ปุ่นเกิดจากขาดการควบคุมองค์กรจัดการเงินทุนและองค์กรโคเอ็นไกซึ่งทำให้นักการเมืองเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริจาคในตลาดมืด


การมุ่งสู่ตะวันออกของรัสเซีย: กรณีศึกษาความสัมพันธ์ทางด้านพลังงานระหว่างรัสเซียและจีน, ธัญสุดา เทพกุล Jan 2017

การมุ่งสู่ตะวันออกของรัสเซีย: กรณีศึกษาความสัมพันธ์ทางด้านพลังงานระหว่างรัสเซียและจีน, ธัญสุดา เทพกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษานโยบายการมุ่งสู่ตะวันออกของรัสเซียโดยใช้กรณีศึกษาความสัมพันธ์ด้านพลังงานระหว่างรัสเซียกับจีน ระหว่างปี 2009 - 2015 โดยประยุกต์ใช้แนวคิดสัจนิยเชิงรุกของ จอห์น เมียร์ชไฮเมอร์ เป็นกรอบในการศึกษาร่วมกับแนวคิดภูมิรัฐศาสตร์ แนวคิดภูมิเศรษฐศาสตร์ และแนวคิดขั้วอำนาจ เพื่อเสนอว่า การมุ่งสู่ตะวันออกของรัสเซียเป็นการพยายามแสวงหาพันธมิตรและความอยู่รอดในช่วงเวลาที่อิทธิพลของสหรัฐอเมริกาลดลงและความสัมพันธ์กับตะวันตกเสื่อมถอย นับตั้งแต่สงครามจอร์เจียในปี 2008 ตลอดจนวิกฤตยูเครนในปี 2014 โดยใช้ทรัพยากรพลังงาน ได้แก่ น้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ในเขตไซบีเรียตะวันออกและเขตตะวันออกไกลที่มีอยู่จำนวนมากเป็นเครื่องมือในการผูกมิตรกับจีน ตลอดจนใช้ความสัมพันธ์ด้านพลังงานเป็นทางไปสู่การขยายบทบาทและอิทธิพลในด้านตะวันออกเพื่อถ่วงดุลกับตะวันตก จากการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ด้านพลังงานระหว่างรัสเซียกับจีนถือเป็นความสำเร็จของการมุ่งสู่ตะวันออกของรัสเซีย ดังปรากฎให้เห็นได้จากการเกิดระบบท่อขนส่งน้ำมันจากรัสเซียไปสู่จีนและไปยังชายฝั่งเอเชียแปซิฟิก และจากโครงการ Power of Siberia ในปี 2014 ที่ครอบคลุมถึงข้อตกลงซื้อขายแก๊สระหว่างรัสเซียกับจีนในระยะยาวและการก่อสร้างท่อขนส่งแก๊สธรรมชาติสายแรกจากรัสเซียสู่จีน และโครงการนี้ยังกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในทำนองเดียวกันกับประเทศในเอเชียตะวันออก การเกิดระบบท่อขนส่งดังกล่าวเป็นการรับประกันถึงความมั่นคงด้านพลังงานระยะยาวของรัสเซียกับจีน รวมถึงประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออก และทำให้รัสเซียสามารถถ่วงดุลการส่งออกพลังงานได้ทั้งสองฝั่งของโลก นอกจากนี้ความสัมพันธ์ด้านพลังงานกับจีนทำให้รัสเซียหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งกับตะวันตก สนับสนุนระเบียบโลกแบบหลายขั้วอำนาจ และเป็นส่วนหนึ่งในการถ่วงดุลอำนาจกับชาติตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาจากการใช้น้ำมันและแก๊สธรรมชาติ


ความไม่มั่นคงด้านพลังงานของเมียนมาร์: ที่มา พลวัต และแนวโน้ม, ปานหทัย วาสนาวิจิตร์ Jan 2017

ความไม่มั่นคงด้านพลังงานของเมียนมาร์: ที่มา พลวัต และแนวโน้ม, ปานหทัย วาสนาวิจิตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความไม่มั่นคงด้านพลังงานของเมียนมาร์โดยใช้แนวคิดความมั่นคงด้านพลังงาน (Energy Security) มากำหนดดัชนีความั่นคงด้านพลังงาน เพื่อนำเสนอให้เห็นประเด็นด้านความมั่นคงพลังงานของเมียนมาร์ในช่วง ค.ศ. 2010 - 2015 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลเมียนมาร์นำโดยประธานาธิบดีเต็ง เส่ง (Thein Sein) ให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายด้านพลังงานคู่ขนานกับนโยบายด้านการลงทุนของประเทศ จากการดำเนินนโยบายดังกล่าวทำให้เกิดการหลั่งไหลของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้ามาในเมียนมาร์ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานต่างๆ อาทิ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน ทรัพยากรน้ำ และถ่านหิน เป็นต้น ผลจากการวิเคราะห์ความมั่นคงด้านพลังงานของเมียนมาร์ตามดัชนีความมั่นคงด้านพลังงานทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การมีพลังงานที่เพียงพอ (Availability) การเข้าถึงพลังงาน (Accessibility) การมีราคาพลังงานที่สามารถหาซื้อได้ (Affordability) และการยอมรับทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (Acceptability) พบว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศด้านพลังงานในช่วง ค.ศ. 2010 - 2015 ไม่ได้พัฒนาภาคพลังงานของเมียนมาร์อย่างที่ควรจะเป็น เนื่องจากสถานการณ์ด้านพลังงานของเมียนมาร์ยังไม่มีความมั่นคงตามประเด็นที่กำหนดไว้ในแต่ละดัชนี อาทิเช่น การผลิตพลังงานไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ การมีโครงสร้างพื้นฐานหรือโครงข่ายพลังงานที่ไม่ทั่วถึง และการขาดความโปร่งใสและไม่เป็นที่ยอมรับในการบริหารจัดการภาคพลังงาน เป็นต้น ซึ่งอาจเรียกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ได้ว่าเป็นพลวัตความไม่มั่นคงด้านพลังงานในเมียนมาร์


โลกาภิวัตน์ทางวัฒนธรรมกับการแพร่ขยายของวัฒนธรรมสมัยนิยมอเมริกัน : กรณีศึกษาเครือข่ายธุรกิจอาหารจานด่วนในประเทศบรูไนดารุสซาลาม, พิชญสุดา พลเสน Jan 2017

โลกาภิวัตน์ทางวัฒนธรรมกับการแพร่ขยายของวัฒนธรรมสมัยนิยมอเมริกัน : กรณีศึกษาเครือข่ายธุรกิจอาหารจานด่วนในประเทศบรูไนดารุสซาลาม, พิชญสุดา พลเสน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแพร่ขยายตัวของเครือข่ายธุรกิจอาหารจานด่วนอเมริกันไปยังนานาประเทศ ถือเป็นกระบวนการแมคโดนัลดาภิวัตน์ที่มีประสิทธิภาพ และส่วนมากมีความสัมพันธ์กับกระบวนการทำให้เป็นเนื้อเดียวกันทางวัฒนธรรมกับหลายประเทศทั่วโลก ผู้วิจัยได้เลือกกรณีศึกษาประเทศบรูไนดารุสซาลามเนื่องจากเห็นว่า เป็นประเทศที่มีภาพลักษณ์เข้าถึงยาก สังคมค่อนข้างปิด เป็นรัฐอิสลามที่เคร่งครัดด้วยกฏทางศาสนา และยังมีระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช ผู้วิจัยจึงได้เข้าไปทำการวิจัยตรวจสอบสมมติฐานดังกล่าวข้างต้นในประเทศบรูไน โดยใช้วิธีวิจัยแบบลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลแบบวิจัยจากการสังเกต การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง และการตอบแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า 1.) แมคโดนัลดาภิวัตน์ในบรูไน ไม่ใช่เป็นกระบวนการทำให้เป็นเนื้อเดียวกันทางวัฒนธรรมแต่ถือเป็นพหุวัฒนธรรมในบรูไน เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างส่วนมากชื่นชอบอาหารจานด่วนอเมริกันและมองว่าเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการบริโภค ทางฝั่งผู้ผลิตก็พยายามปรับนโยบายทางการตลาดให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคท้องถิ่น ทำให้วัฒนธรรมสมัยนิยมอเมริกันสามารถผสมผสานและดำเนินร่วมกันได้ดีกับวัฒนธรรมท้องถิ่น 2.) กระบวนการแมคโดนัลดาภิวัตน์ที่เกิดขึ้นในบรูไนค่อนข้างตรงข้ามทฤษฎีเดิม จากการสังเกตการณ์กลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคร้านแมคโดนัลด์ในกรุงบันดาเสรีเบกาวัน พบว่าคนค่อนข้างใช้ชีวิตแบบช้าๆ ไม่เร่งรีบในการรับประทานอาหาร ใช้ร้านอาหารจานด่วนเหมือนร้านอาหารทั่วไป มีเมนูเฉพาะท้องถิ่นที่หารับประทานไม่ได้ในประเทศอื่น 3.) แบรนด์อาหารจานด่วนท้องถิ่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับความนิยมมากกว่าแบรนด์อาหารจานด่วนต้นตำรับอเมริกัน ตัดสินได้โดยความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่ยืนยันว่า ร้านอาหารจานด่วนท้องถิ่นสามารถใช้กระบวนการแมคโดนัลดาภิวัตน์และท้องถิ่นภิวัตน์ได้ดีเหมาะสมกับชาวท้องถิ่นมากกว่าร้านอาหารจานด่วนอเมริกัน จนพวกเขาพึงพอใจในรสชาติ ราคา ปริมาณ และการเข้าถึงสถานที่ และ 4.) ด้วยเหตุผลดังกล่าว กลุ่มตัวอย่าง ไม่ได้มีอคติหรือต่อต้านกับวัฒนธรรมสมัยนิยมอเมริกัน และไม่ได้รู้สึกว่าการบริโภคอาหารจานด่วนอเมริกันเป็นส่วนหนึ่งของลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม


ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางสังคมของที่อยู่อาศัยกับสุขภาวะของผู้สูงวัย : อิทธิพลส่งผ่านของการเห็นคุณค่าในตนเองแบบเน้นอัตลักษณ์ตนและการเห็นคุณค่าในตนเองแบบเน้นความสัมพันธ์, เบญจภรณ์ ธโนศวรรย์ Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางสังคมของที่อยู่อาศัยกับสุขภาวะของผู้สูงวัย : อิทธิพลส่งผ่านของการเห็นคุณค่าในตนเองแบบเน้นอัตลักษณ์ตนและการเห็นคุณค่าในตนเองแบบเน้นความสัมพันธ์, เบญจภรณ์ ธโนศวรรย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อสำรวจผลกระทบของสภาพแวดล้อมทางสังคมของที่อยู่อาศัยต่อสุขภาวะของผู้สูงวัย ผู้ร่วมการวิจัยเป็นผู้สูงวัยจำนวน 400 คน ประกอบด้วยผู้สูงวัยที่อาศัยในบ้านพักส่วนตัว 200 คน และผู้สูงวัยที่อาศัยในโครงการที่พักผู้สูงวัย เช่น สวางคนิเวศ 200 คน กลุ่มตัวอย่างถูกประเมินเรื่องสภาพแวดล้อมทางสังคมของที่พักอาศัย การเห็นคุณค่าของตนเองแบบเน้นอัตลักษณ์ตน การเห็นคุณค่าในตนเองแบบเน้นความสัมพันธ์ และสุขภาวะส่วนบุคคล ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้างพบว่า สภาพแวดล้อมทางสังคมของที่พักอาศัยมีอิทธิพลทางตรงทางบวกต่อสุขภาวะของผู้สูงวัย และมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านการเห็นคุณค่าในตนเองแบบเน้นอัตลักษณ์ตนและการเห็นคุณค่าในตนเองแบบเน้นความสัมพันธ์ เมื่อวิเคราะห์แต่ละกลุ่มเพิ่มเติมพบว่า การเห็นคุณค่าในตนเองแบบเน้นอัตลักษณ์ตนมีอิทธิพลส่งผ่านแบบสมบูรณ์ต่อความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางสังคมของที่พักอาศัยและสุขภาวะของผู้สูงวัยที่อาศัยในบ้านพักส่วนตัว ในขณะที่การเห็นคุณค่าในตนเองแบบเน้นอัตลักษณ์ตนและการเห็นคุณค่าในตนเองแบบเน้นความสัมพันธ์มีอิทธิพลส่งผ่านบางส่วนต่อความสัมพันธ์นี้ในกลุ่มผู้สูงวัยที่อาศัยในโครงการที่พักผู้สูงวัย สภาพแวดล้อมทางสังคมของที่พักอาศัยมีอิทธิพลทางตรงต่อสุขภาวะเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัยที่อาศัยในโครงการที่พักผู้สูงวัยเท่านั้น แม้ว่าคะแนนสุขภาวะของกลุ่มผู้สูงวัยที่อาศัยในโครงการที่พักผู้สูงวัยจะสูงกว่าอีกกลุ่ม แต่ความแตกต่างนี้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


ประสบการณ์ทางจิตใจของวัยรุ่นที่มีรูปแบบความผูกพันแบบมั่นคงที่มีภูมิหลังครอบครัวขัดแย้งสูง, กิตติคุณ ซึ้งหฤทัย Jan 2017

ประสบการณ์ทางจิตใจของวัยรุ่นที่มีรูปแบบความผูกพันแบบมั่นคงที่มีภูมิหลังครอบครัวขัดแย้งสูง, กิตติคุณ ซึ้งหฤทัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ (Interpretative Phenomenological Analysis: IPA) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของวัยรุ่นที่มีรูปแบบความผูกพันแบบมั่นคงที่มีภูมิหลังครอบครัวขัดแย้งสูง โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลแบบกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-structured interview) กับผู้ให้ข้อมูลจำนวน 8 ราย ซึ่งผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย มีอายุตั้งแต่ 18-22 ปี ที่รายงานว่าตนมีรูปแบบความผูกพันแบบมั่นคงและมีการรับรู้ความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองสูงจากการตอบแบบสอบถาม โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าประสบการณ์ของผู้ให้ข้อมูลสามารถสรุปได้เป็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นหลักที่ 1 รูปแบบของความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่ที่ตนเผชิญ ได้แก่ สาเหตุความขัดแย้งของพ่อแม่ การแสดงออกของพ่อแม่ต่อความขัดแย้ง และการกลับมาเป็นปกติในความสัมพันธ์ของพ่อแม่ ประเด็นหลักที่ 2 ปฏิกิริยาของลูกที่มีต่อความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่ ได้แก่ การรับมือของลูกต่อความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่ และสิ่งที่ลูกได้เรียนรู้จากความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่ และประเด็นหลักที่ 3 การมีทรัพยากรที่เอื้อต่อการมีความมั่นคงทางจิตใจ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูล และทรัพยากรที่มั่นคงภายในจิตใจ โดยผู้วิจัยได้สรุปและอภิปรายไว้เกี่ยวกับปัจจัยที่เอื้อต่อการมีความมั่นคงทางจิตใจของวัยรุ่น


ประสบการณ์ทางจิตใจของนักกีฬาคนพิการที่มีความมั่นหมาย, จิราวัฒน์ เหลาสุภาพ Jan 2017

ประสบการณ์ทางจิตใจของนักกีฬาคนพิการที่มีความมั่นหมาย, จิราวัฒน์ เหลาสุภาพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของนักกีฬาคนพิการที่มีความมั่นหมาย โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลเป็นนักกีฬาคนพิการจำนวน 8 ราย คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดและเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ต้นธารของความสำเร็จ ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย คือ ความมุ่งมั่นทำสิ่งดีให้ครอบครัว ความรักในสิ่งที่ทำ เกียรติของการได้ทำเพื่อประเทศ และการมีเป้าหมายที่ชัดเจน (2) ปัจจัยเกื้อหนุนในการฝ่าฟันอุปสรรค ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย คือ กำลังใจจากครอบครัวช่วยให้มีแรงฝ่าฟันอุปสรรค การช่วยเหลือเกื้อกูลของทีมนักกีฬา การมีมุมมองที่เอื้อต่อการแก้ปัญหา และการมีความมานะอดทนต่ออุปสรรค (3) พลังฃขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย คือ ตระหนักถึงความยากลำบากของคนพิการ และต้องการมีส่วนช่วยเหลือเกื้อกูลให้ชีวิตคนพิการดีขึ้น และ (4) ภาวะจิตใจของความสำเร็จ ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย คือ ภาวะจิตใจในฐานะปัจเจก และภาวะจิตใจในฐานะนักกีฬา มีการอภิปรายถึงแนวทางการนำไปใช้สำหรับนักจิตวิทยาการปรึกษาและผู้ที่ทำงานกับนักกีฬาคนพิการ


ความสัมพันธ์ระหว่าง บุคลิกภาพ สัมพันธภาพในการปรึกษา และความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจ ในผู้ที่มีประสบการณ์รับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา, ชิชยะ ศรีชัยสวัสดิ์ Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่าง บุคลิกภาพ สัมพันธภาพในการปรึกษา และความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจ ในผู้ที่มีประสบการณ์รับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา, ชิชยะ ศรีชัยสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง บุคลิกภาพ สัมพันธภาพในการปรึกษา และความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีประสบการณ์รับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา จำนวน 132 คน อายุเฉลี่ยเท่ากับ 23.77 ± 5.72 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) มาตรวัดบุคลิกภาพแบบห้าองค์ประกอบ 2) มาตรวัดสัมพันธภาพในการปรึกษา ฉบับย่อ: สำหรับผู้รับบริการ และ 3) มาตรวัดความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจภาษาไทย ฉบับย่อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า บุคลิกภาพแบบไม่มั่นคงทางอารมณ์ มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.42, p < .01) ในขณะที่บุคลิกภาพแบบเปิดเผย บุคลิกภาพแบบคล้อยตาม บุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึก และสัมพันธภาพในการปรึกษา มีค่าสหสัมพันธ์ทางบวกกับความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .44, .22, .39 และ .26 ตามลำดับ, p < .01) ส่วนบุคลิกภาพแบบเปดรับประสบการณ์ใหม่ มีค่าสหสัมพันธ์ทางบวกกับความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .19, p < .05) นอกจากนี้ บุคลิกภาพแบบห้าองค์ประกอบ (ได้แก่ แบบไม่มั่นคงทางอารมณ์ แบบเปิดเผย แบบเปดรับประสบการณ์ใหม่ แบบคล้อยตาม และแบบมีจิตสำนึก) และสัมพันธภาพในการปรึกษา สามารถร่วมกันทำนายความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และอธิบายความแปรปรวนของความงอกงามภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจร้อยละ 36 (R2 = .36, p < .01) โดยบุคลิกภาพแบบไม่มั่นคงทางอารมณ์มีน้ำหนักในการทำนายสูงที่สุด (β = -.32, p < .01) ส่วนบุคลิกภาพแบบเปิดเผยและสัมพันธภาพในการปรึกษา มีน้ำหนักในการทำนายลำดับรองลงมา (β = .27 และ .23 ตามลำดับ, p < .01) ในขณะที่บุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึกมีน้ำหนักในการทำนายต่ำที่สุด (β = .17, p < .05)


อัตลักษณ์ทางจริยธรรม และคติรวมหมู่ทางจิตในฐานะตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบหลงตนเอง และพฤติกรรมการทำงานแบบถ่วงความก้าวหน้า, ชิตพล สุวรรณนที Jan 2017

อัตลักษณ์ทางจริยธรรม และคติรวมหมู่ทางจิตในฐานะตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบหลงตนเอง และพฤติกรรมการทำงานแบบถ่วงความก้าวหน้า, ชิตพล สุวรรณนที

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลกำกับของคติรวมหมู่ทางจิต และอัตลักษณ์ทางจริยธรรมต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบหลงตนเอง และพฤติกรรมการทำงานแบบถ่วงความก้าวหน้า กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานองค์การภาคเอกชน และภาคราชการ รวมทั้งสิ้น 452 คน ให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยตอบแบบสอบถามรายงานตนแบบกระดาษ หรือแบบออนไลน์ ผลการวิเคราะห์สมการโครงสร้างอิทธิพลกำกับของตัวแปรแฝงพบว่า บุคลิกภาพแบบหลงตนเองมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการทำงานแบบถ่วงความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตามสมมติฐาน (b = .08, p<.01) นอกจากนี้ยังพบอิทธิพลกำกับของอัตลักษณ์ทางจริยธรรมต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบหลงตนเองและพฤติกรรมการทำงานแบบถ่วงความก้าวหน้า (b = -1.42, p<.05) ส่งผลทำให้พฤติกรรมการทำงานแบบถ่วงความก้าวหน้าลดลง อย่างไรก็ตามผู้วิจัยไม่พบนัยสำคัญทางสถิติของคติรวมหมู่ทางจิตในฐานะตัวแปรกำกับของความสัมพันธ์นี้


ความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์กับการเผชิญปัญหาของเหยื่อ: อิทธิพลส่งผ่านของการประเมินทางปัญญาโดยมีความเป็นนิรนามของผู้กระทำเป็นตัวแปรกำกับ, ณัฐกานต์ จันทรศิริพุทธ Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์กับการเผชิญปัญหาของเหยื่อ: อิทธิพลส่งผ่านของการประเมินทางปัญญาโดยมีความเป็นนิรนามของผู้กระทำเป็นตัวแปรกำกับ, ณัฐกานต์ จันทรศิริพุทธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของความถี่ของการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ ที่มีต่อแนวโน้มที่จะใช้รูปแบบการเผชิญปัญหาแบบต่าง ๆ โดยมีการประเมินทางปัญญาสามด้าน ได้แก่ การประเมินการคุกคาม ความท้าทาย และทรัพยากรที่จะช่วยในการรับมือกับปัญหาเป็นตัวแปรส่งผ่าน และมีความเป็นนิรนามของผู้กระทำเป็นตัวแปรกำกับ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี อายุ 18-25 ปี 264 คน ใช้วิธีเก็บข้อมูลตามสะดวก โดยสุ่มให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยอ่านและจินตนาการสถานการณ์การรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ที่มีการจัดกระทำให้มีความถี่และความเป็นนิรนามของผู้กระทำที่แตกต่างกัน และตอบแบบสอบถามการประเมินทางปัญญาทั้งสามด้าน และการเผชิญปัญหาการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ ผลจากการวิเคราะห์เส้นทาง พบว่าอิทธิพลทางอ้อมของความถี่ของการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ ที่ส่งผ่านตัวแปรการประเมินทางปัญญาทั้งสามด้านไปยังการเผชิญปัญหาทั้งแบบเข้าหาและแบบหลีกเลี่ยงนั้น ไม่ถึงระดับนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่อิทธิพลของความเป็นนิรนามที่กำกับความสัมพันธ์ระหว่างความถี่และการประเมินทางปัญญาทั้งสามด้านก็ไม่ถึงระดับนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์โมเดลทางเลือกโดยใช้การรับรู้ความถี่ของการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์เป็นตัวแปรทำนายแทนเงื่อนไขการจัดกระทำ พบอิทธิพลส่งผ่านที่มีนัยสำคัญทางสถิติของการประเมินการคุกคาม ที่ส่งผ่านความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความถี่ของการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์และการเผชิญปัญหาแบบเข้าหาและแบบหลีกเลี่ยง โดยเมื่อบุคคลรับรู้ว่าเหตุการณ์มีความถี่มากจะยิ่งรู้สึกถูกคุกคาม และมีแนวโน้มเผชิญปัญหาแบบเข้าหามากขึ้น และหลีกเลี่ยงน้อยลง นอกจากนี้ พบว่าความท้าทายสามารถทำนายการเผชิญปัญหาแบบหลีกเลี่ยง ส่วนทรัพยากรทำนายการเผชิญปัญหาแบบเข้าหาได้ การศึกษาต่อไปจึงควรศึกษาปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการประเมินทางปัญญาเพิ่มเติม


อิทธิพลของพฤติกรรมการมอบอำนาจของผู้นำที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ในงาน: อิทธิพลส่งผ่านของการรับรู้การเสริมสร้างอำนาจในงาน ที่ถูกกำกับด้วยค่านิยมเชิงอนุรักษ์, ณัฐวุฒิ จารุนานันท์ Jan 2017

อิทธิพลของพฤติกรรมการมอบอำนาจของผู้นำที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ในงาน: อิทธิพลส่งผ่านของการรับรู้การเสริมสร้างอำนาจในงาน ที่ถูกกำกับด้วยค่านิยมเชิงอนุรักษ์, ณัฐวุฒิ จารุนานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยปัจจุบันต่างให้ความสำคัญกับบทบาทของภาวะผู้นำต่อกระบวนการเกิดความคิดสร้างสรรค์ในองค์การ ซึ่งความคิดสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือสำคัญในการนำองค์การในหลาย ๆ ภาคส่วนไปสู่ความสำเร็จ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการมอบอำนาจของผู้นำ การรับรู้การเสริมสร้างอำนาจในงาน ค่านิยมเชิงอนุรักษ์และความคิดสร้างสรรค์ในงาน ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานประจำชายและหญิงจากทั้งรัฐบาลและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอายุงานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 200 คน มีการดำเนินการวิจัยโดยให้ผู้ร่วมงานวิจัยตอบแบบสอบถามแบบกระดาษและออนไลน์วัดพฤติกรรมการมอบอำนาจของผู้นำ การรับรู้การเสริมสร้างอำนาจในงาน ค่านิยมเชิงอนุรักษ์ และความคิดสร้างสรรค์ในงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสร้างสมการโครงสร้าง (SEM) ด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการมอบอำนาจของผู้นำมีอิทธิพลทางบวกต่อความคิดสร้างสรรค์ในงาน โดยมีการรับรู้การเสริมสร้างอำนาจในงานเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบเต็มรูปแบบ (indirect effect = .60, p < .001) อย่างไรก็ตาม ไม่พบอิทธิพลกำกับของค่านิยมเชิงอนุรักษ์ต่อความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเสริมสร้างอำนาจในงานและความคิดสร้างสรรค์ในงาน ผลการวิจัยชิ้นนี้สามารถนำไปใช้พัฒนานโยบายในองค์การต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในตัวบุคลากร ทั้งยังสามารถนำไปใช้คัดสรรผู้นำที่มีพฤติกรรมการมอบอำนาจต่อไป


การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพชุดเครื่องมือประเมินอารมณ์ทารกไทย วัย 12 เดือน, ทยิดา ธนโชติวรรณ Jan 2017

การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพชุดเครื่องมือประเมินอารมณ์ทารกไทย วัย 12 เดือน, ทยิดา ธนโชติวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพชุดเครื่องมือประเมินพัฒนาการทางอารมณ์ในทารกไทยวัย 12 เดือน กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลหลักและทารกอายุ 12 เดือน ที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 30 คู่ และ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่30 คู่ เครื่องมือที่พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพในงานวิจัยนี้ ได้แก่ ชุดเครื่องมือประเมินการแสดงอารมณ์ทารก คือ Laboratory Temperament Assessments Battery (Lab-TAB) และแบบประเมินพฤติกรรมทารกที่ประเมินโดยผู้ปกครอง คือ Mini Infant Behavior Questionnaire (IBQ) - Thai version ผลการวิจัยพบว่า ชุดเครื่องมือLab-TAB มีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินในระดับดีมาก คือ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น (Intra-class Correlation Coefficient) อยู่ระหว่าง.96 ถึง .99 ผลการวิเคราะห์ความตรงเชิงสอดคล้องระหว่างชุดเครื่องมือLab-TAB และแบบประเมิน Mini IBQ -Thai version พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient) ของการประเมินอารมณ์สนุกสนาน อารมณ์เพลิดเพลิน การยิ้มการหัวเราะ อารมณ์กลัว และอารมณ์โกรธอยู่ในระดับ .39 - .76 และเมื่อวิเคราะห์ด้วยเมตริกซ์หลายคุณลักษณะวิธี (Multitrait-Multimethod Matrix; MMTM) พบว่าชุดเครื่องมือ Lab-TAB และแบบประเมิน Mini IBQ -Thai version มีความตรงเชิงสอดคล้องและความตรงเชิงจำแนก (convergent and discriminant validity) อยู่ในระดับดี ผลการวิเคราะห์ความแผ่ขยาย (Generalizability) ของชุดเครื่องมือ Lab-TAB ระหว่างกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า เครื่องมือนี้สามารถใช้ประเมินทารกวัย 12 เดือนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ ได้ด้วยผลคะแนนที่ไม่แตกต่างกัน


ความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเอง การเปิดรับอิทธิพลจากสื่อ การประเมินตนเสมือนวัตถุ และความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายในชายรักชายและชายรักต่างเพศ, พรรณทิพา ปัทมอารักษ์ Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเอง การเปิดรับอิทธิพลจากสื่อ การประเมินตนเสมือนวัตถุ และความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายในชายรักชายและชายรักต่างเพศ, พรรณทิพา ปัทมอารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายของนิสิตนักศึกษาชายรักชายและชายรักต่างเพศ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่การเห็นคุณค่าในตนเอง การเปิดรับอิทธิพลจากสื่อ การประเมินตนเสมือนวัตถุมีกับความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกาย กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตชายรักชายและชายรักต่างเพศระดับปริญญาตรี จำนวน 233 คน ซึ่งตอบเครื่องมือวัด 4 ฉบับ ได้แก่ มาตรวัดความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกาย มาตรวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง มาตรวัดการเปิดรับอิทธิพลจากสื่อ มาตรวัดการประเมินตนเสมือนวัตถุ ซึ่งแบ่งเป็นสามด้านย่อย อันได้แก่ ด้านการเฝ้าสำรวจภาพลักษณ์ทางร่างกายตนเอง ด้านความรู้สึกอับอายในภาพลักษณ์ทางร่างกายตนเอง และด้านความเชื่อเกี่ยวกับการควบคุมภาพลักษณ์ทางร่างกายตนเอง ข้อมูลที่ได้รับถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยการทดสอบค่าที (Independent sample t-test) เพื่อเปรียบเทียบความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายของนิสิตนักศึกษาทั้งสองกลุ่ม และศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาด้วยการสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างชายรักชายจะมีระดับความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างชายรักต่างเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t(231) = 6.65, p < .001) 2. ในกลุ่มตัวอย่างชายรักชาย เมื่อพิจารณาร่วมกันโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบการถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธีการใส่ตัวแปรอิสระทั้งหมดเข้าไปในสมการ (Enter method) พบว่าการเห็นคุณค่าในตนเอง การเปิดรับอิทธิพลจากสื่อ การประเมินตนเสมือนวัตถุร่วมกันทำนายความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .60, p < .001) 3. ในกลุ่มตัวอย่างชายรักต่างเพศ เมื่อพิจารณาร่วมกันโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบการถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธีการใส่ตัวแปรอิสระทั้งหมดเข้าไปในสมการ (Enter method) พบว่าการเห็นคุณค่าในตนเอง การเปิดรับอิทธิพลจากสื่อ การประเมินตนเสมือนวัตถุ ร่วมกันทำนายความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .31, p < .001)


อิทธิพลของรูปแบบการจัดกิจกรรมรับน้องใหม่ต่อความกลมเกลียวในกลุ่มนักศึกษาและความผูกพันกับคณะ : การวิเคราะห์อิทธิพลส่งผ่านการระบุตัวตนทางสังคม, พัชรวุฒิ สุภาคง Jan 2017

อิทธิพลของรูปแบบการจัดกิจกรรมรับน้องใหม่ต่อความกลมเกลียวในกลุ่มนักศึกษาและความผูกพันกับคณะ : การวิเคราะห์อิทธิพลส่งผ่านการระบุตัวตนทางสังคม, พัชรวุฒิ สุภาคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมรับน้องใหม่ (แบบสร้างสรรค์ และไม่สร้างสรรค์) กับความกลมเกลียวในกลุ่มและความผูกพันด้านจิตใจต่อคณะภายในมหาวิทยาลัย โดยมีการระบุตัวตนทางสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นิสิต/นักศึกษา ระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย จำนวน 331 คน ผลจากการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ด้วยโปรแกรม LISREL Version 9.30 (Jöreskog & Sörbom, 2017) พบว่า กิจกรรมรับน้องใหม่แบบสร้างสรรค์มีอิทธิพลทางตรงทางบวกต่อความกลมเกลียวในกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในขณะที่ไม่พบอิทธิพลทางตรงของกิจกรรมรับน้องใหม่แบบไม่สร้างสรรค์ต่อความกลมเกลียวในกลุ่ม ผลจากการวิเคราะห์อิทธิพลส่งผ่านพบว่า การระบุตัวตนทางสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบบางส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมรับน้องใหม่แบบสร้างสรรค์และความกลมเกลียวในกลุ่ม และเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบสมบูรณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมรับน้องใหม่แบบสร้างสรรค์และความผูกพันด้านจิตใจต่อคณะ นอกจากนี้ยังพบประเด็นที่น่าสนใจคือ กิจกรรมรับน้องใหม่แบบไม่สร้างสรรค์มีอิทธิพลทางบวกต่อการระบุตัวตนทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในขณะที่ไม่พบอิทธิพลทางตรงของกิจกรรมรับน้องใหม่ทั้งแบบสร้างสรรค์และไม่สร้างสรรค์ต่อความผูกพันด้านจิตใจต่อคณะ แต่พบอิทธิพลส่งผ่านแบบสมบูรณ์ของการระบุตัวตนทางสังคมต่อความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมรับน้องใหม่แบบไม่สร้างสรรค์กับความกลมเกลียวในกลุ่มและความผูกพันด้านจิตใจต่อคณะ


ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ถูกข่มเหงรังแกทางโลกไซเบอร์, พิมพ์พลอย รุ่งแสง Jan 2017

ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ถูกข่มเหงรังแกทางโลกไซเบอร์, พิมพ์พลอย รุ่งแสง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ถูกรังแกทางโลกไซเบอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีประสบการณ์การถูกรังแกทางโลกไซเบอร์ อายุระหว่าง 12-15 ปี จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ในขณะที่กลุ่มควบคุมดำเนินชีวิตไปตามปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-Esteem) ของ ประวีณา ธาดาพรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนาและสถิติทดสอบความแปรปรวน (Mixed-design ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองในช่วงก่อน-หลังการทดลองและช่วงติดตามผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่าคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองในช่วงหลังการทดลองและช่วงติดตามผลของทั้งสองกลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ดังนั้น โปรแกรมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาสามารถใช้เพื่อเพิ่มระดับการเห็นคุณค่าในตนเองในเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ตกเป็นเหยื่อการถูกรังแกทางโลกไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การพัฒนามาตรวัดการคิดแก้ปัญหาในบริบทพุทธธรรมของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี, ธนพงศ์ อุทยารัตน์ Jan 2017

การพัฒนามาตรวัดการคิดแก้ปัญหาในบริบทพุทธธรรมของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี, ธนพงศ์ อุทยารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องการคิดแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษาในบริบทพุทธธรรม 2) เพื่อพัฒนามาตรวัดการคิดแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษาในบริบทพุทธธรรมที่มีคุณลักษณะทางจิตมิติที่พึงประสงค์ 3) เพื่อศึกษาเกณฑ์ปกติของมาตรวัดการคิดแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษาในบริบทพุทธธรรม โดยใช้รูปแบบการวิจัยผสานวิธี โดยผู้วิจัยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องความการคิดแก้ปัญหาในบริบทพุทธธรรมของนิสิตนักศึกษา ผ่านการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลอย่างเฉพาะเจาะจง 15 ราย และ ระยะที่ 2 การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณเพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพมาตรการคิดแก้ปัญหาในบริบทพุทธธรรมของนิสิตนักศึกษา และพัฒนาเกณฑ์ปกติของมาตรวัดในกลุ่มนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 930 คน จาก 15 มหาวิทยาลัยซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจาก 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่ากรอบมโนทัศน์การคิดแก้ปัญหาในบริบทพุทธธรรมของนิสิตนักศึกษาประกอบด้วย 4 ประเด็นหลักคือ (1) การรับรู้และทำความเข้าใจความทุกข์ (2) ใคร่ครวญจนรู้ชัดถึงสาเหตุของความทุกข์ (3) การลงมือจัดการความทุกข์ และ (4) ตรวจสอบว่าได้จัดการความทุกข์แล้ว ผลการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดพบว่า มีความตรงตามเนื้อหาจากการตรวจสอบของผู้ทรงคุณวุฒิ มีความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์กับแบบวัดปัญญา (r = .356) มาตรวัดความสุขของนิสิตนักศึกษาในบริบทพุทธธรรม (r = .434) มาตรวัดสุขภาวะทางจิตแบบสั้นด้านความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อม (r = .386) แบบวัดภาวะซึมเศร้า (r = -.269) แบบวัดความวิตกกังวล (r = -.332) ไม่พบความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์กับแบบวัดการหมกมุ่นครุ่นคิด (r = -.110) มีความตรงเชิงภาวะสันนิษฐานจากการเปรียบเทียบด้วยกลุ่มรู้ชัด (t = 2.05, p < .05) และโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์จากผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่หนึ่ง (χ2 = 1296.692, df = 659, p < .001, χ2/df = 1.967, GFI = .935, RMSEA = .0323, SRMR = .0304, CFI = .995, AGFI = .915) มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .963 ผลในการพัฒนาเกณฑ์ปกติในรูปแบบคะแนนทีปกติอยู่ในช่วง T14.35 - T74.17 ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้เครื่องมือสำหรับสำรวจ คัดกรอง และประเมินการคิดแก้ปัญหาในบริบทพุทธธรรมที่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย ตลอดจนสามาถนำกรอบมโนทัศน์ที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการคิดแก้ปัญหาในบริบทพุทธธรรมสำหรับนิสิตนักศึกษาสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านจิตใจแก่นิสิตนักศึกษาต่อไป