Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 361 - 390 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

ผลของสัดส่วนอัตราไหลเข้าต่ออัตราไหลเวียนกลับที่มีต่อประสิทธิภาพ การบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยระบบบำบัดไร้อากาศแบบอีจีเอสบี, สุชัญญา ทองเครือ, ชวลิต รัตนธรรมสกุล Jan 2026

ผลของสัดส่วนอัตราไหลเข้าต่ออัตราไหลเวียนกลับที่มีต่อประสิทธิภาพ การบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยระบบบำบัดไร้อากาศแบบอีจีเอสบี, สุชัญญา ทองเครือ, ชวลิต รัตนธรรมสกุล

Applied Environmental Research

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบบำบัดไร้อากาศแบบอีจีเอสบีในการบำบัดน้ำเสียชุมชน ประเภทอาคารเรียน จากอาคารเจริญวิศวกรรม คณะ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าเมื่อความเร็วไหลขึ้นคงที่เท่ากับ 4.5 ม./ชม. และเปลี่ยนแปลงสัดส่วนอัตราไหลเข้าต่ออัตราไหลเวียนกลับเป็น 1:3, 1:7, 1:1 และ 1:15 ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีเฉลี่ยเท่ากับ 69.2, 72.6, 76.3 และ 74.6% ตามลำดับ ประสิทธิภาพในการกำจัดบีโอดีเฉลี่ยเท่ากับ 72.7, 73.5, 76.6 และ 75.6% ตามลำดับ และประสิทธิภาพในการกำจัดของแข็งแขวนลอยเฉลี่ยเท่ากับ 74.0, 77.4, 81.7 และ 73.3% ตามลำดับและคุณภาพน้ำทิ้งออกจากระบบอีจีเอสบีผ่านมาตรฐานน้ำทิ้งอาคาร


พฤติกรรมการเคลื่อนที่ของอาร์เซนิคในชั้นน้ำใต้ดิน, กิตติพงษ์ นิลบุตร, ธนัชพร อยู่ยั่งยืน, เขมรัฐ โอสถาพันธุ์, สุธา ขาวเธียร Jan 2026

พฤติกรรมการเคลื่อนที่ของอาร์เซนิคในชั้นน้ำใต้ดิน, กิตติพงษ์ นิลบุตร, ธนัชพร อยู่ยั่งยืน, เขมรัฐ โอสถาพันธุ์, สุธา ขาวเธียร

Applied Environmental Research

งานวิจัยนี้เป็นศึกษาพฤติกรรมการ เคลื่อนที่ของอาร์เซนิคในรูปของอาร์เซไนท์ และอาร์เซเนตในสภาวะน้ำใต้ดินโดยทำการ ทดลองกับดินตัวอย่าง 3 กลุ่มดิน คือ ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนเหนียว และ ดินร่วนปนทราย ที่ pH 4, 7 และ 10 และ ในสภาวะที่มีไอออนลบฟอสเฟตอยู่ร่วมด้วย โดยทำการทดลองแบบต่อเนื่องโดยให้สาร ละลายอาร์เซนิคไหลผ่านคอลัมภ์ดินในทิศทางไหลขึ้นที่อัตราเร็ว 15 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง จากการทดลองพบว่าอาร์เซไนท์สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วที่สุดในดินทรายร่วน รองลงมาคือในดินร่วนเหนียวปนทราย และ ช้าที่สุดในดินร่วนเหนียว และเมื่อมีไอออนฟอสเฟตร่วมด้วยในสารละลาย พบว่า ไอออนฟอสเฟตทำให้การเคลื่อนที่ของอาร์เซไนท์ผ่านคอลัมภ์ดินเร็วขึ้นมาก สำหรับ การเคลื่อนที่ของอาร์เซเนต อาร์เซเนต สามารถเคลื่อนที่ได้ช้าที่สุดผ่านคอลัมน์ดินร่วนเหนียวปนทราย และคอลัมน์ที่มีไอออนลบพบว่าฟอสเฟตทำให้การเคลื่อนที่ ของอาร์เซเนตผ่านคอลัมภ์ดินเร็วขึ้นมากและเมื่อเปรียบเทียบระหว่างอารีเซไนท์และอาร์เซเนต พบว่าที่ pH 4 ความเร็วในการเคลื่อนที่ผ่านคอลัมภ์ดินร่วนเหนียวใกล้เคียง กัน แต่ที่พีเอช 7 และ ไ0 พบว่า อารีเซไนท์เคลื่อนที่ได้ช้ากว่าอารีเซเนต


การกำจัดโครเมียมในน้ำเสียจากโรงงานฟอกหนังโดยวิธีการดูดซับทางชีวภาพ ด้วยพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช Jan 2026

การกำจัดโครเมียมในน้ำเสียจากโรงงานฟอกหนังโดยวิธีการดูดซับทางชีวภาพ ด้วยพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช

Applied Environmental Research

การทดสอบความสามารถของการใช้วัชพืชที่พบในประเทศไทย เป็นการศึกษาการใช้เทคโนโลยีในการพื้นฟูสภาพพื้นที่ที่ปนเปื้อนโครเมียมในน้ำ การศึกษาเริ่มด้วยการสำรวจบริเวณพื้นที่โรงงานฟอกหนัง เพื่อคัดเลือกวัชพืชที่มีความสามารถบนพื้นฐานการสะสมโครเมียมสูงสุด วัชพืช 4 ชนิดที่ คัดเลือกใช้ในการศึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มพืชใบเลี้ยงคู่ ได้แก่ ต้นก้างปลา (Phyllanthus reticulates) และต้นขลู่ (Pluchea indica) และ 2) กลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ได้แก่ หญ้าข้าวนก (Echinochloa colonum) และหญ้าแพรก (Cynodon dactylon) ซึ่งวัชพืชดังกล่าวที่ ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้เก็บรวบรวมมาจากพื้นที่ที่ไม่มีการปนเปื้อนของโลหะหนักโดยเฉพาะการปนเปื้อนจากโครเมียมในพื้นที่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนำมาทำให้อยู่ในรูปของมวลชีวภาพ และทำการศึกษาบนแบตซ์ไอโซเทอม และการศึกษาบนคอลัมน์ โดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์ที่มีความเข้มข้นของเฮกซะวาเลนท์โครเมียมเท่ากับ 50 มก./ล. ในการศึกษาพบว่า ใบของต้นก้างปลา ต้นขลู่ หญ้าข้าวนก และ หญ้าแพรก มีความสามารถในการดูดซับเฮกซะวาเลนท์โครเมียมสูงสุดเท่ากับ 53, 45, 37 และ 34 มก./ก.มวลชีวภาพ ที่ pH 2 ณ เวลาสมดุลที่ 24 ชม. นอกจากนี้ยังพบว่า ใบของมวลชีวภาพของวัชพืชทั้ง 4 ชนิดมี ความสามารถในการดูดซับโครเมียมดีที่สุด โดยเฉพาะใบของต้นขลู่มีความสามารถในการดูดซับเฮกซะวาเลนท์โครเมียมสูงสุด เท่ากับ 51.3 มก./ก.มวลชีวภาพที่ pH 2 ณ เวลาสมดุลที่ 102 ชม. อัตราการไหล 1.3 มล./นาที


ผลกระทบของเอทานอลต่อสภาพการละลายน้ำของสารอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน, อุสารัตน์ ถาวรชัยสิทธิ์, กลิ่นสุคนธ์ สุวรรณรัตน์, พัชรินทร์ วัชรสุขกิจไพศาล, ยุพดี บรรจงกิจ, สุวัฒน์ สูงเลิศส่งฟ้า Jan 2026

ผลกระทบของเอทานอลต่อสภาพการละลายน้ำของสารอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน, อุสารัตน์ ถาวรชัยสิทธิ์, กลิ่นสุคนธ์ สุวรรณรัตน์, พัชรินทร์ วัชรสุขกิจไพศาล, ยุพดี บรรจงกิจ, สุวัฒน์ สูงเลิศส่งฟ้า

Applied Environmental Research

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาถึงผลของเอทานอลต่อความสามารถในการละลายน้ำของสารโมโนอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนใน กลุ่ม BTEX ซึ่งประกอบด้วยเบนซีนโทลูอีน เอทิลเบนซีน และไซลีนทั้ง 3 ไอโซเมอร์ทำการทดลองโดยเพิ่มอัตราส่วนโดยปริมาตรของเอทานอลในสารละลายผสมระหว่างสารไฮโดรคาร์บอนบริสุทธิ์ น้ำ และ เอทานอลให้มีค่าจาก 0% เป็น 25% ตามลำดับ พบว่าความเข้มข้นของ BTEX ในชั้นน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณของเอทานอลในระบบมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 0% เป็น 25% โดยเปอร์เซ็นต์การละลายน้ำมีค่าสูงขึ้นถึง 73%, 120%, 140%, 151%, และ 166 %สำหรับเบนซีน โทลูอีน เอทิลเบนซีน ไซลีน (meta+para) และไซลีน (ortho) ตาม ลำดับ เมื่อพิจารณาเปอร์เซ็นต์การเพิ่มขึ้น ของสภาพการละลายน้ำสำหรับสารแต่ละตัวในกลุ่ม BTEX ในสภาวะที่มีเอทานอลเทียบกับสภาพการละลายน้ำในสภาวะที่ไม่มีเอทานอล พบว่าเปอร์เซ็นต์การละลายน้ำที่เพิ่มขึ้นแปรผกผันกับขนาดของ โมเลกุล ดังจะเห็นได้จากเปอร์เซนต์การเพิ่มขึ้นของค่าการละลายน้ำในสภาวะที่มีเอทานอลเป็นตัวทำละลายร่วมในระบบสำหรับไซลีนทั้งสามไอโซเมอร์และเอทิล เบนซีนมีค่าใกล้เคียงกัน แต่มีค่ามากกว่าโทลูอีนและเบนซีน ตามลำดับ ผลงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าเอทานอลสามารถเพิ่ม ปริมาณการปนเปื้อนของ BTEX ในน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน ในกรณีที่มีการรั่วไหลของ แก๊สโซฮอล์หรือการรั่วไหลของเอทานอล ร่วมกับ BTEX ลงสู่น้ำผิวดินหรือน้ำใต้ดิน


Property Of Lignite Fly Ash As A Substitute Of Lime Materials And Ammonia Reduction In Water, Chumlong Arunlertaree Jan 2026

Property Of Lignite Fly Ash As A Substitute Of Lime Materials And Ammonia Reduction In Water, Chumlong Arunlertaree

Applied Environmental Research

The present study investigates the use of lignite fly ash as a chemical to improve water quality in place of liming material. Two experiments were performed with freshwater and synthetic seawater. Improvement of water quality were measured by using pH and ammonia. The neutralizing value and the application rate of fly ash were studied. The results of the study indicate that the neutralizing value of fly ash is 70%, comparing to standard pure CaCO3 100%. The optimal dosage of fly ash to remove ammonia was 1 g/L. The maximum ammonia removal efficiency at 24 hours in freshwater, 30 ppt, …


The Development Of Environmental Education Model "Kapp" Concerning Natural Energy With Evaluation Model Cippif Via Mixed Media, Chaiyuth Laohachanakoor Jan 2026

The Development Of Environmental Education Model "Kapp" Concerning Natural Energy With Evaluation Model Cippif Via Mixed Media, Chaiyuth Laohachanakoor

Applied Environmental Research

The objective of the research was to develop the environmental education in knowledge, attitude, practice and participation on model “KAPP” concerning the natural energy with the evaluation model “CIPPIF” via mixed media. This research is the semi -experiential research by using three specific media channels; television (Thai Army Channel 5), radio (Bangkok F.M 101.0 MHz.) and internet (http:/www. deptofeducaton.net). The production of material was produced and broadcasted according to cost and nature of media.
The audiences from the television, radio, and internet were randomly selected to join a participation activity seminar which was hold at the end of the research. …


การศึกษาอัตราส่วนความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ภายในและภายนอกอาคาร, อรุบล โชติพงศ์ Jan 2026

การศึกษาอัตราส่วนความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ภายในและภายนอกอาคาร, อรุบล โชติพงศ์

Applied Environmental Research

ในการศึกษาอัตราส่วนความเข้มข้น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ภายในและภายนอก อาคาร ได้ทำการศึกษาจากสถานีตรวจวัดที่ อยู่ในบริเวณเส้นทางจราจร เพื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ภายในและภายนอกอาคารบริเวณจุดที่อยู่ใกล้เส้นทางคมนาคม ในช่วงเวลา 8.00-16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มีความเข้มข้นสูง ผลการตรวจวัด พบว่าอัตราส่วนความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ภายในและภายนอกอาคารทั้ง 4 สถานีที่ทำการศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.43-0.77 โดยสถานีตรวจวัดบริเวณวัดชัยมงคลที่ตั้งอยู่บนถนนพระราม 1 ซึ่งเป็นถนนแคบมีอาคารสูงเรียงรายอยู่ทั้งสองฟากถนน และมีปริมาณการจราจรประมาณ 59,000 คัน/ชั่วโมง มีอัตราส่วนเข้มข้นก๊าซ คาร์บอนมอนอกไซด์ภายใน/ภายนอกอาคาร เท่ากับ 0.65 สถานีตรวจวัดที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 42 บางมด เป็นอาคารที่อยู่ไกลจากถนนพระราม 2 ซึ่งเป็นถนนที่กว้าง มี อาคารไม่หนาแน่นและมีปริมาณการจราจร ประมาณ 88,000 คัน/ชั่วโมง มีอัตราส่วนก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ภายใน/ภายนอกอาคารเท่ากับ 0.48 ขณะที่สถานีตรวจวัดที่มูลนิธิคนตาบอดแห่งประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสี่แยกตึกชัย มีถนนพระราม 6 และ ถนนราชวิถีขนาบทั้งสองด้าน และมีทางด่วนคร่อมทับบนถนนพระราม 6 อีกชั้นหนึ่ง มีปริมาณการจราจรผ่านบริเวณนี้ทั้งหมด ประมาณ 136,395 คัน/ชั่วโมง พบว่ามีอัตราส่วนความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ภายใน/ภายนอกอาคารเท่ากับ 0.77 ซึ่งสูง กว่าทุกบริเวณที่ทำการตรวจวัด ส่วนสถานีตรวจวัดที่โรงเรียนปวโรฬารซึ่งมีปริมาณการจราจรประมาณ 63,700 คัน/ชั่วโมง มีอัตราส่วนความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ภายใน/ภายนอกเท่ากับ 0.43 ซึ่งน้อยกว่าทุกสถานี แม้ว่าสถานีตรวจวัดอยู่ห่างจากถนนเพียง 1 เมตรก็ตาม แต่มีรั้ว โรงเรียนที่สูงกั้นระหว่างถนนกับอาคารโรงเรียนจึงทำให้การแพร่กระจายของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าสู่บริเวณภายในได้น้อยลง และจากการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Varience) ของความเข้มข้น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ไนทุกสถานีที่ทำการ ตรวจวัดพบว่า ความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนมอ นอกไซด์โดยเฉลี่ยมีความแตกต่างกันระหว่างภายในและภายนอกอาคาร แต่ไม่มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างช่วง เวลาที่ตรวจวัด


การเพิ่มประสิทธิภาพในการรีดน้ำของตะกอนโดยใช้กระบวนการแอดวานซ์ออกซิเดชั่น (Improvement Of Dewaterability Of Sludge Using Advanced Oxidation Processes)", ปาริฉัตร มาลีวงษ์, สุธา ขาวเธียร Jul 2025

การเพิ่มประสิทธิภาพในการรีดน้ำของตะกอนโดยใช้กระบวนการแอดวานซ์ออกซิเดชั่น (Improvement Of Dewaterability Of Sludge Using Advanced Oxidation Processes)", ปาริฉัตร มาลีวงษ์, สุธา ขาวเธียร

Applied Environmental Research

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการรีดน้ำของตะกอนน้ำเสียชุมชนโดยใช้กระบวนการแอดวานซ์ออกซิเดชั่น 2 วิธีซึ่งได้แก่ การเติมสารเคมีของเฟนตันและการใช้แสงอัลตร้าไวโอเลตร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ดัชนีที่ใช้วัดประสิทธิภาพการรีดน้ำของตะกอนได้แก่ ค่าความต้านทานจำเพาะของตะกอน และปริมาณน้ำในตะกอนที่ถูกรีดออก การทดลองได้กำหนดปัจจัยที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการรีดน้ำของตะกอนเพื่อศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุด สำหรับวิธีการเติมสารเคมีของเฟนตันปัจจัยดังกล่าวได้แก่ อัตราส่วนความเข้มข้นของเฟอรัสไอออนต่อไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Fe2+:H2O2) ค่าพีเอช และเวลาในการทำปฏิกิริยา สำหรับวิธีการใช้แสงอัลตราไวโอเลตร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ปัจจัยดังกล่าวได้แก่ ค่าพีเอช เวลาในการทำปฏิกิริยา และปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ผลการศึกษาสำหรับวิธี การเติมสารเคมีของเฟนตันพบว่าที่อัตราส่วนความเข้มข้น Fe2+:H2O2 เท่ากับ 2:1 ค่าพีเอชในช่วง 3-5 และ เวลาในการทำปฏิกิริยาเท่ากับ 10 นาทีจะให้ค่าประสิทธิภาพการรีดน้ำที่เหมาะสมที่สุด ส่วนผลของวิธีการ ใช้แสงอัลตราไวโอเลตร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ระบุว่าที่ปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เท่ากับ 100% ซีโอดีโดยน้ำหนัก ค่าพีเอชในช่วง 3-5 และเวลาในการทำปฏิกิริยาเท่ากับ 30 นาทีมีประสิทธิภาพในการ รีดน้ำดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของทั้งสองวิธีที่ปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เท่ากันพบว่าที่พีเอชในช่วง 3-5 ทั้งสองวิธีให้ประสิทธิภาพการรีดน้ำดีที่สุดโดยวิธีเติมสารเคมีของเฟนตันมีประสิทธิภาพสูงกว่า และเมื่อค่าพีเอชเพิ่มขึ้นกลับพบว่าตะกอนที่ผ่านวิธีการใช้แสงยูวีร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์มี แนวโนัมที่จะสามารถรีดน้ำได้ดีกว่าวิธีเติมสารเคมีของเฟนตัน


การจัดการปุ๋ยและศัตรูพืชในสนามกอล์ฟ (Fertilizer And Pest Management On Golf Courses), อุรบล โชติพงศ์, พีระวรรณ พัฒนวิภาส Jul 2025

การจัดการปุ๋ยและศัตรูพืชในสนามกอล์ฟ (Fertilizer And Pest Management On Golf Courses), อุรบล โชติพงศ์, พีระวรรณ พัฒนวิภาส

Applied Environmental Research

การศึกษาการใช้ปุ๋ยและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของสนามกอล์ฟโดยการสัมภาษณ์ผู้ดูแลสนามพบว่า สนามกอล์ฟในส่วนงานราชการ มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสนาม ส่วนใน สนามกอล์ฟของเอกชนที่ต้องการเน้นให้เห็นความสวยงามของสนามหญ้าส่วนมากมีการนำปุ๋ยเคมีซึ่งมีราคาแพงมาใช้ โดยเน้นการใช้ที่กรีนเป็นหลักเนื่องจากเป็นจุดสำคัญที่สุดของสนามกอล์ฟ การเลือกประเภทของปุ๋ยเคมีมีความแตกต่างกันไปตามพื้นที่ของสนาม ฤดูกาล และประเภทของหญ้า ส่วนวิธีการกำจัดศัตรูพืชที่สนามกอล์ฟส่วนใหญ่นำมาใช้ คือ การใช้สารเคมี ซึ่งจะใช้เฉพาะจุดที่มีความสำคัญ เช่น กรีน ส่วนในบริเวณอื่นๆจะให้ความสำคัญน้อยลงเช่น แฟร์เวย์ ราฟ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในสนามกอล์ฟ มีแนวการใช้แยกเป็น 2 ประเภท คือ เพื่อป้องกันศัตรูพืช และเพื่อกำจัดศัตรูพืชเมื่อเกิดการระบาดขึ้นแล้ว นอกจากนี้ยังได้มีการนำวิธีทางชีวภาพเช้ามาใช้สำหรับกำจัดแมลงในสนามหญ้า แนวทางการจัดการการใช้ ปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืชของสนามกอล์ฟ ได้แก่ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งนี้เพื่อทำให้ดินอยู่ในสภาพดีเหมาะกับการเจริญของจุลินทรีย์ สัตว์ในดิน พร้อมทั้งการทำเกษตรกรรม ซึ่งจะช่วยปรับระบบนิเวศภายในสนามทำให้ศัตรูพืชลดลง การใช้หญ้าพันธุ์พื้นเมือง การใช้สารเคมีเฉพาะพื้นที่ประกอบกับความเชี่ยวชาญของผู้ดูแลสนามจะทำให้ปริมาณสารเคมีที่ใช้ลดลง การกำจัดศัตรูพืชแบบธรรมชาติกิเป็นอิกวิธีหนึ่งซึ่งจะช่วยลด การใช้สารเคมีและค่าใช้จ่ายการดูแลสนามให้ลดลง


ประชาชนกับการมีส่วนร่วมด้านสิ่งแวดล้อมในโครงการพัฒนา (The Participation Of People Concerning Environment In Developing Project), พักตร์วิมล เพียรล้ำเลิศ Jul 2025

ประชาชนกับการมีส่วนร่วมด้านสิ่งแวดล้อมในโครงการพัฒนา (The Participation Of People Concerning Environment In Developing Project), พักตร์วิมล เพียรล้ำเลิศ

Applied Environmental Research

บทความนี้ชี้ให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านสิ่งแวดล้อมในโครงการพัฒนาว่า ปัจจุบัน แม้ประเทศไทยมีกฎหมายที่ให้สิทธิประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้ แต่ก็ยังมีอุปสรรคที่ทำให้ประชาชนไม่สามารถ เข้าถึงข้อมูลได้ รวมถึงข้อจำกัดทางด้านกฎหมายจึงทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมได้ในโครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยร่วมรับรู้ข้อมูล ร่วมให้ข้อคิดเห็น หรือร่วมให้คำปรึกษาเท่านั้น ส่วนการตรวจสอบข้อมูล เพื่อนำไปสู่กระบวนการตัดสินใจร่วมกันนั้นจำเป็นต้องปรับปรุงกลไกที่มีอยู่เพื่อเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง


การสร้างคู่มือ เรื่อง การมีส่วนร่วมจัดการขยะชุมชน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (The Development Of Soild Waste Management Participation Manual For Lower Secondary Education Students), ระเบียบ ภูผา Jul 2025

การสร้างคู่มือ เรื่อง การมีส่วนร่วมจัดการขยะชุมชน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (The Development Of Soild Waste Management Participation Manual For Lower Secondary Education Students), ระเบียบ ภูผา

Applied Environmental Research

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างคู่มือ เรื่อง การมีส่วนร่วมจัดการขยะชุมชน สำหรับนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความตระหนัก พฤติกรรมการมีส่วนร่วมจัดการขยะชุมชน และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ที่ได้รับกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมจัดการขยะชุมชนของนักเรียน วิธีการดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างคู่มีอ เรื่อง การมีส่วนร่วมจัดการ ขยะชุมชน ประกอบด้วยความคิดรวบยอด จุดประสงค์การเรียนรู้ การกำหนดรูปเล่ม และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและประเมิน พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไข ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาคุณภาพของคู่มือโดยทดลอง 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 จำนวน 3 คน และ 30 คน ตามลำดับ ขั้นตอนที่ 3 การนำคู่มือไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มหลายขั้นตอน คือ เลือกโรงเรียนแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โรงเรียน วัดเขมาภิรตาราม แล้วสุ่มห้องเรียนจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 7 ห้องเรียน จำนวน 50 คน ทำการทดลองวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และประเมินค่าความตระหนักและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมจัดการขยะชุมชนก่อนและหลังการทดลอง (The Pre-test and Post-test Control Group Design) และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าสถิติร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต เบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าความตระหนัก และ พฤติกรรมการมีส่วนร่วมจัดการขยะชุมชนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหลังการอ่านคู่มือ มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าความตระหนัก และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมสูงกว่า ก่อนการอ่าน คู่มืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าความรู้และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมจัดการขยะชุมชนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การดูดซับตะกั่วและแคดเมียมจากน้ำเสียโดยใช้กากสาคูเป็นวัสดุดูดซับ (The Adsorption Of Lead And Cadmium From Wastewater By Using Dregs Of Sago Palm (Metroxylon Sagu Rottb) As Adsorbents), ประวิทย์ เนื่องมัจฉา, ปิยวรรณ เนื่องมัจฉา Jul 2025

การดูดซับตะกั่วและแคดเมียมจากน้ำเสียโดยใช้กากสาคูเป็นวัสดุดูดซับ (The Adsorption Of Lead And Cadmium From Wastewater By Using Dregs Of Sago Palm (Metroxylon Sagu Rottb) As Adsorbents), ประวิทย์ เนื่องมัจฉา, ปิยวรรณ เนื่องมัจฉา

Applied Environmental Research

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับตะกั่วและแคดเมียมจากน้ำเสีย โดยใช้กากสาคูเป็นวัสดุดูดซับ โดยศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซับโลหะหนักได้แก่ ขนาดอนุภาคของวัสดุดูดซับระดับพีเอชของน้ำเสีย ระยะเวลาที่การดูดซับเข้าสู่สมดุล และอุณหภูมิของน้ำเสีย ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถในการดูดซับโลหะหนักเพิ่มขึ้นเมื่อขนาดอนุภาคของวัสดุดูดซับลดลง ระดับพีเอชของน้ำเสีย ระยะเวลาที่การดูดซับเข้าสู่สมดุล และอุณหภูมิของน้ำเสียที่เหมาะสมต่อการดูดซับตะกั่วด้วยกากสาคูคือ 4.0 (พีเอช) 24 (ชั่วโมง) และอุณหภูมิห้อง (องศาเซลเชียส) ตามลำดับสำหรับแคดเมียมคือ 6.0 (พีเอช) 12 (ชั่วโมง) และอุณหภูมิห้อง (องศาเซลเชียส) ตามลำดับ เมื่อนำสภาวะที่เหมาะสมจากการวิจัยมาหาค่าความสามารถสูงสุดในการดูดขับตะกั่ว และแคดเมียมด้วยวิธีแบบถังแช่และแบบต่อเนื่องโดยใช้สมการ ไอโซเทอร์มของฟรุนดลิช พบว่ากากสาคูดูดซับตะกั่วและแคดเมียมได้สูงสุดเท่ากับ 0.95, 1.36, 1.92 และ 6.98 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ


ความหลากหลายทางชีวภาพของสังคมพืช บริเวณสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา (Biodiversity Of Plant Community At Sakaerat Environmental Station, Nakhon Ratchasima Province), พันธวัศ สัมพันธ์พานิช Jul 2025

ความหลากหลายทางชีวภาพของสังคมพืช บริเวณสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา (Biodiversity Of Plant Community At Sakaerat Environmental Station, Nakhon Ratchasima Province), พันธวัศ สัมพันธ์พานิช

Applied Environmental Research

โครงการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของสังคมพืช บริเวณสถานีวิจัยสิงแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา ได้ทำการศึกษารายละเอียดของความหลากหลายทางชีวภาพของสังคมพืชในปาดิบแล้ง และปาเต็งรัง ด้วยข้อมูลทุติยภูมิ เช่น รายงานการวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการสำรวจ การรวบรวม และ เก็บข้อมูลภาคสนาม เพื่อนำมาซึ่งการวิเคราะห์ดรรชนีความหลากหลายทางสถิติด้วยระบบคอมพิวเตอร์และ เปรียบเทียบข้อมูลกับพื้นที่ศึกษาอื่นที่มีความสำคัญและ/หรือพื้นที่คุ้มครองอื่น ๆ การศึกษาครั้งนี้พบว่า สถานี วิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช หรือแหล่งสงวนชีวมณฑล ประกอบด้วยความหลากหลายทางชีวภาพมากมาย ควรที่จะได้รับการอนุรักษ์พื้นที่ศึกษาตั้งอยู่ในเขตอำเภอวังนำเขียว จังหวัดนครราชสีมา มีเนื้อที่ประมาณ 80 ตารางกิโลเมตร โดยมีสภาพป่าธรรมชาติที่มีลักษณะเด่นคงอยู่ในสภาพดีและสมบูรณ์ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ป่าดิบแล้งมีความหนาแน่นเท่ากับ 744 ต้นต่อเฮกแตร์ มีชนิดพันธุ์ไม้ 136 ชนิด (สำหรับไม้ที่มีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางระดับเพียงอกตั้งแต่ 10 เซนติเมตรขึ้นไป) โดยพบตะเคียนหินมีความหนาแน่นมากที่สุด และ พบกระเบากลักมีความถี่สูงหรือมีการกระจายตัวโดยทั่วพื้นที่ และไทรมีความเด่นสูงสุด และหากพิจารณาค่าดรรชนีความสำคัญของไม้ในป่าดิบแล้งพบว่า กระเบากลัก กัดลิ้น และตะเคียนหินเป็นพันธุ์ไม้ที่มีความ สำคัญที่สุดที่จะทำให้ระบบนิเวศของป่าดิบแล้งดีขึ้นหรือกล่าวไล้ว่าเป็นพันธุ์ไม้ที่เด่น และมีความสำคัญมาก สำหรับพื้นที่ป่าเต็งรังพบว่า มีความหนาแน่น 563 ต้นต่อเฮกแตร์มีจำนวนชนิดพันธุ์ไม้ 83 ชนิด (สำหรับไม้ ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระดับเพียงอกตั้งแต่ 10 เซนติเมตรขึ้นไป) โดยพบว่า ต้นเต็งและรังมีความหนาแน่นสูงสุด ส่วนประดู่มีการกระจายตัวโดยทั่วพื้นที่ และต้นสองสลึงมีความเด่นในพื้นที่ป่าเต็งรัง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพันธุ์ไม้ ที่มีความเด่น และสำคัญในพื้นที่ปาเต็งรัง ได้แก่ ล้นเต็ง รัง และประดู่ สำหรับความหลากหลายทางชีวภาพ พิจารณาค่าดรรชนีโดย Shonnon-Weaver index (H) พบว่า ป่าดิบแล้งมีค่าเท่ากับ 5.322 ป่าเต็งรังมีค่า เท่ากับ 4.321 ซึ่งการศึกษาครั้งนี้สำรวจพบชนิดพันธุ์ไม้ในป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง รวมทั้งสิ้น 357 ชนิด (สำหรับไม้ทุกขนาด) โดยจำแนกเป็นพันธุ์ไม้ในป่าดิบแล้ง 66 วงศ์ 233 ชนิด ป่าเต็งรัง 53 วงศ์ 124 ชนิดเป็น ชนิดพันธุ์ไม้หวงห้ามธรรมดา 97 ชนิด และชนิดพันธุ์ไม้หวงห้ามพิเศษ …


เครื่องมือทางสังคม : การจัดการขยะชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาขยะชุมชน, ธนพรรณ สุนทระ Jan 2025

เครื่องมือทางสังคม : การจัดการขยะชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาขยะชุมชน, ธนพรรณ สุนทระ

Applied Environmental Research

รายงานวิจัยเรื่อง "เครื่องมือทางสังคม : การจัดการขยะชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหาขยะชุมชน" มีวัตถุประสงค์อยู่ภายใต้กรอบแนวคิด 5Rs คือ Reduce การลดปริมาณขยะ ณ แหล่ง กำเนิด, Reuse การนำวัสดุใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำ, Recycle การนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไปเปลี่ยนแปลงสภาพกลับมาใช้ใหม่, Reject หลีกเลี่ยง/ปฏิเสธใช้วัสดุยากต่อการกำจัด และ Response ตอบรับมาตรการที่นำเสนอด้วยการปฏิบัติตาม เพื่อนำกรอบแนวคิด 5Rs มาสร้างรูปแบบการจัดการขยะ 2 รูปแบบ คือ การคัด แยกขยะ และการเก็บขนขยะ โดยมีหลักการกำหนดรูปแบบดังนี้
รูปแบบการคัดแยกขยะชุมชน แบ่งขยะออกเป็น “ขยะธรรมดา” และ “ขยะอันตราย” ขยะธรรมดาแยกเป็น ขยะมีมูลค่า เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น ขาย หรือนำกลับมาใช้ใหม่ ขยะอินทรีย์ นำไปทำปุ๋ยหมัก/อาหารสัตว์และขยะอื่นๆ (ทิ้ง) เทศบาลนำไปกำจัดขยะอันตราย กำหนดให้มีการแยกทิ้ง ต่างหากและนำไปกำจัดด้วยวิธีพิเศษ
รูปแบบการเก็บขนขยะชุมชน การกำหนดรูปแบบการเก็บขนขยะ เพื่อที่จะควบคุมพฤติกรรม ของผู้ทิ้งขยะให้มีการคัดแยกขยะตามประเภท และใช้รูปแบบการเก็บขนขยะชุมชนเป็นตัวกำหนด ดังนี้
1. ขยะอินทรีย์ เก็บทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์
2. ขยะอื่นๆ (ทิ้ง) เก็บทุกวันอังคาร วันพฤหัสบดีและวันเสาร์
3. ขยะมีมูลค่า เก็บทุกวันอาทิตย์
4. ขยะอันตราย เก็บวันอาทิตย์ หรือเดือนละครั้งหรือสองครั้ง ขึ้นอยู่กับปริมาณของขยะอันตรายที่มี
สรุปประเด็นที่น่าสนใจ
เครื่องมือทางสังคม : ปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ
หลักสำคัญของเครื่องมือทางสังคม เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในชุมชน โดย มุ่งหมายให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ พฤติกรรม และความเคยชินของประชาชนที่เห็น ความสำคัญของปัญหาขยะชุมชน ปัจจัยความสำเร็จของการคัดแยกขยะจึงเป็นกระบวนการผลิตซ้ำทางความคิดและวัฒนธรรม กล่าวคือจะต้องสร้างกระแสและมีแรงจูงใจ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาที่ต่อเนื่องมากพอ จึงจะประสบผลสำเร็จ
ข้อเสนอแนะ
1) ควรมีการประชาสัมพันธ์รูปแบบ สนับสนุน สร้างแรงจูงใจระยะยาวและต่อเนื่อง ให้ประชาชน มีทัศนคติที่ดีต่อการคัดแยกขยะ
2) ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะธรรมดาออกจากขยะอันตรายให้มาทขึ้น
3) เทศบาลต้องสร้างความมั่นใจในระบบเก็บขนที่ประชาขนคัดแยกประเภทขยะแล้วนำไปกำจัดได้อย่างถูกวิธี …


Efficiency Of Wastewater Treatment System In Pig Farm For Stabilization Pond And Anaerobic Filter, Sumana Maneepitak, Chumlong Arunlertaree, Chumporn Yuwaree Jan 2025

Efficiency Of Wastewater Treatment System In Pig Farm For Stabilization Pond And Anaerobic Filter, Sumana Maneepitak, Chumlong Arunlertaree, Chumporn Yuwaree

Applied Environmental Research

การศึกษาประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียฟาร์มสุกรแบบบ่อปรับสภาพตามธรรมชาติและแบบถัง กรองไร้อากาศ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียในแต่ละขั้นตอนของการบำบัดและประสิทธิภาพ โดยรวมของระบบบำบัดน้ำเสียแต่ละระบบโดยดำเนินการตรวจวัดคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ ได้แก่ COD, BOD, TKN, SS และ pH ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งฟาร์มสุกร ผลของคุณภาพน้ำเสียจากฟาร์มสุกร ที่ใช้ระบบบำบัดแบบถังกรองไร้อากาศเทียบกับบ่อปรับสภาพตามธรรมชาติ โดยค่าเฉลี่ย COD, BOD, TKN และ SS ของระบบบำบัดแบบถังกรองไร้อากาศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ขณะที่ระบบบำบัดแบบบ่อปรับสภาพตามธรรมชาติมีลักษณะเดียวกัน ยกเว้นค่า SS ที่มีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานเล็กน้อย เมื่อทำการทดสอบทางสถิติโดยทำการเปรียบเทียบระบบบำบัดแบบบ่อปรับสภาพตามธรรมชาติและแบบถังกรองไร้อากาศ พบว่า ประสิทธิภาพการบำบัด COD, BOD และ SS ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ในขณะ ที่ค่า TKN มีประสิทธิภาพการบำบัดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ทำการทดสอบ การลดค่าคุณภาพน้ำแต่ละขั้นตอนของการบำบัดพบว่า ระบบบำบัดแบบถังกรองไร้อากาศทุกบ่อของระบบมีการบำบัด BOD, TKN และ SS ได้อย่างมีความแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) และมีการบำบัดน้ำเสียได้ดีขึ้น ยกเว้นบ่อ 5 ไปปอ 6 ที่บำบัด COD ได้ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ในขณะที่ระบบบำบัดแบบบ่อปรับสภาพตามธรรมชาติบ่อ 2 ไปบ่อ 3 ค่า COD, บ่อ 3 ไปบ่อ 4 ค่า COD BOD SS และบ่อ 4 ไปบ่อ 5 ค่า BOD เป็นค่าที่บำบัดนาเสียในแต่ละปอช้างด้นบำบัดได้ไม่มี ความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) จากการเปรียบเทียบคุณภาพน้ำทิ้งกับค่ามาตรฐาน พบว่า การบำบัดน้ำทิ้งจากระบบบำบัดแบบถัง กรองไร้อากาศโดยเฉลี่ยได้ตามเกณฑ์มาตรฐานทั้งหมดเช่นเดียวกับระบบบำบัดแบบบ่อปรับสภาพตามธรรมชาติยกเว้นค่า SS ที่มีค่าเกินกว่าค่ามาตรฐานน้ำทิ้งเล็กน้อย และเมื่อทดสอบทางสถิติโดยทำการ เปรียบเทียบค่าคุณภาพน้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายของระบบบำบัดแบบบ่อปรับสภาพตามธรรมชาติและแบบถังกรองไร้อากาศ พบว่า ค่า COD ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ในขณะที่ค่า BOD TKN และ SS มีค่าเฉลี่ยน้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ พบว่า คุณภาพน้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายของระบบบำบัดแบบถังกรองไร้อากาศมีการบำบัดค่า BOD TKN และ SS ได้ดีกว่าระบบบำบัดแบบบ่อปรับสภาพตามธรรมชาติ ในขณะที่คุณภาพน้ำทิ้งในบ่อสุดท้ายของระบบบำบัดแบบบ่อปรับสภาพตามธรรมชาติมีการบำบัดค่า COD ได้ดีกว่าระบบบำบัด แบบถังกรองไร้อากาศ จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางในการเลือกใช้ระบบบำบัดน้ำเสียในฟาร์มสุกรได้


Diversity And Abundance Of Fish In Protected And Exploited Zones At Bung Boraped Wetland, Kumthom Thirakhupt, Pakwimol Phienlumplert Jan 2025

Diversity And Abundance Of Fish In Protected And Exploited Zones At Bung Boraped Wetland, Kumthom Thirakhupt, Pakwimol Phienlumplert

Applied Environmental Research

การสำรวจพันธุปลาโดยเครื่องมือจับปลาแบบใช้กระแสไฟฟ้าสุ่มตัวอย่างจาก 8 จุดสำรวจในบึง บอระเพ็ดพบพันธุ์ปลาจำนวน 43 ชนิด แบ่งเป็นพันธุ์ปลาที่พบในเขตหวงห้ามไม่ให้ทำประมงโดยเด็ดขาด จำนวน 34 ชนิด และในเขตที่อนุญาตให้ราษฎรทำการประมงโดยเครื่องมือบางชนิดที่กำหนดได้ จำนวน 25 ชนิด พบว่าในเขตหวงห้ามไม่ให้ทำประมงมีความหลากหลาย ความชุกขุม และน้ำหนักของปลาสูงกว่าใน เขตที่อนุญาตให้ราษฎรทำการประมงโดยเครื่องมือบางชนิดได้ ผลของการจับปลาขนาดกลางและขนาดใหญ่ จำนวนมากอย่างต่อเนื่องในเขตที่อนุญาตให้ราษฎรทำการประมงโดยเครื่องมือบางชนิดได้ มีผลกระทบต่อ สังคมของปลาซึ่งแสดงให้เห็นได้จากค่าสัดส่วนของนาหนักของปลาผู้ล่าต่อน้ำหนักของปลาที่ไม่ใช่ผู้ล่า ดังนั้นการคุ้มครองและการคงไว้ของพื้นที่เขตหวงห้ามไม่ให้ทำประมงและการจัดการสังคมพืชนาประเภทต่างๆ อย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาบึงบอระเพ็ดเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน


พฤติกรรมการดูดติดผิวและการเคลื่อนที่ของเฮกซะวาเลนท์โครเมียมในชั้นน้ำใต้ดิน, เขมรัฐ โอสถาพันธุ์, นายจุฬาฤทธิ์ นาถประทาน, สุธา ขาวเธียร Jan 2025

พฤติกรรมการดูดติดผิวและการเคลื่อนที่ของเฮกซะวาเลนท์โครเมียมในชั้นน้ำใต้ดิน, เขมรัฐ โอสถาพันธุ์, นายจุฬาฤทธิ์ นาถประทาน, สุธา ขาวเธียร

Applied Environmental Research

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการดูดติดผิวและการเคลื่อนที่ของเฮกซะวาเลนท์โครเมียมในน้ำใต้ดิน รวมไปถึงการศึกษาความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้แบบจำลองในโปรแกรม HYDRUS2D ในการพยากรณ์การเคลื่อนที่ของเอกซะวาเลนท์โครเมียมในน้ำใต้ดิน โดยทำการทดลองทั้งแบบกะ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความสามารถในการดูดติดผิวเฮกซะวาเลนท์โครเมียมด้วยตัวอย่างดิน และ การทดลองแบบต่อเนื่องเพื่อศึกษาการเคลื่อนที่ของเฮกซะวาเลนท์โครเมียมในชั้นน้ำใต้ดิน ผลการทดลองแบบกะพบว่า ความสามารถในการดูดติดผิวเฮกซะวาเลนท์โครเมียมด้วยดินตัวอย่าง มีค่าสูงขึ้น เมื่อพีเอชลดลงสำหรับพีเอชในช่วงที่ศึกษา ส่วนผลการศึกษาไอโซเทอมของการดูดติดผิว เฮกซะวาเลนท์โครเมียมโดยใช้ตัวอย่างดินพบว่า ความสามารถในการดูดติดผิวเฮกซะวาเลนท์โครเมียมมีความสัมพันธ์กับไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบแลงมัวร์ สำหรับผลการทดลองแบบต่อเนื่องพบว่าเฮกซะวาเลนท์โครเมียมเคลื่อนที่ได้เร็วที่สุดที่พีเอช 8 รองลงมาที่พีเอช 6 และช้าที่สุดที่พีเอช 4 การทดลองแบบต่อเนื่องด้วยสารตามรอย พบว่าค่าสัมประสิทธิการกระจายตัวมีค่าเท่ากับ 10.26 X 10-3 เซนติเมตร2/วินาที และหลังจากการเปรียบเทียบผลที่ได้จากการจำลองการเคลื่อนที่ของเฮกซะวาเลนท์โครเมียมโดยโปรแกรม HYDRUS2D กับผลการทดลองแบบต่อเนื่องพบว่า สามารถแบบจำลองพยากรณ์การเคลื่อนที่ของเฮกซะวาเลนท์โครเมียมผ่านชั้นน้ำใต้ดินได้ช้ากว่าผลการทดลองจริง โดยแบบจำลองสามารถพยากรณ์ได้ใกล้เคียงที่สุดที่พีเอช 6 รองลงมาคือที่พีเอช 8 หากจะนำแบบจำลองนี่ไปพยากรณ์ในสภาพจริง จะต้องมีการปรับแก้ค่าคงที่ของการดูดติดผิว


Evaluation Of Cancer Risk Caused By Polycyclic Aromatic Hydrocarbons In Bangkok Air, Benjalak Kamchanasest Jan 2025

Evaluation Of Cancer Risk Caused By Polycyclic Aromatic Hydrocarbons In Bangkok Air, Benjalak Kamchanasest

Applied Environmental Research

ทำการวิเคราะห์สารโพลีไซคลิกอะโรเมติกไฮโดรคาร์บอน (พีเอเอช) 16 ชนิด ในอนุภาคแขวนลอยทั้งหมด โดยใช้เครื่องเก็บตัวอย่างอากาศแบบปริมาตรสูงเก็บอากาศในกรุงเทพมหานคร ค่าความเป็นพิษของพีเอเอชแต่ละชนิดที่ได้จากบรรณานุกรมจะคำนวณให้เป็นค่าความเป็นพิษที่สัมพันธ์กับค่าความเป็นพิษ ของสารเบนโซเอไพริน และต่อมาคำนวณให้เป็นค่าความเข้มข้นของพีเอเอชนั้น ๆ สัมพันธ์กับค่าความเป็นพิษ เมื่อนำค่าความเข้มข้นที่สัมพันธ์กับค่าความเป็นพิษ กับปริมาตรอากาศที่หายใจ ระยะเวลาการได้รับสัมผัส ค่าการมีอยู่ทางชีวภาพ และน้ำหนักตัว สามารถคำนวณค่าปริมาณการได้รับสารต่อวัน โดยที่ปริมาณที่ ได้รับสูงสุดต่อวันเท่ากับ 6.81 นาโนกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน เมื่อใช้เวลา 12 ชั่วโมงต่อวันบนถนนเกษมราษฎร์ ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งจากการหายใจพีเอเอชในผู้ใช้ถนน (ตำรวจจราจร คนขายของ และคนเดินถนน) คำนวณภายใต้สถานการณ์การได้รับสัมผัสต่าง ๆ ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งสูงสุด เท่ากับ 2 คนเกิดขึ้นกับผู้ใช้ถนนหนึ่งล้านคนที่ใช้เวลา 12 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ ตลอดระยะเวลา 30 ปีบนถนนเกษมราษฎร์ ความน่าเชื่อถือของผลการศึกษาขึ้นกับข้อมูลที่ป้อนมีความใกล้เคียงกับข้อมูลจริง เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นกับการตอบสนอง อัตราการหายใจ นาหนักตัว ฯลฯ


ความชุกของอาการทางระบบหายใจและสมรรถภาพปอดของนักเรียนในพื้นที่ที่มีอุตสาหกรรมเหมืองหิน และโม่ บดหรือย่อยหิน จังหวัดสระบุรี, สิทธิชัย มุ่งดี, สุรัตน์ บัวเลิศ, อรอนงค์ ผิวนิล, วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี Jan 2025

ความชุกของอาการทางระบบหายใจและสมรรถภาพปอดของนักเรียนในพื้นที่ที่มีอุตสาหกรรมเหมืองหิน และโม่ บดหรือย่อยหิน จังหวัดสระบุรี, สิทธิชัย มุ่งดี, สุรัตน์ บัวเลิศ, อรอนงค์ ผิวนิล, วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี

Applied Environmental Research

ปัจจุบันปัญหามลพิษทางอากาศของประเทศไทย จัดเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญและทวีความ รุนแรงขึ้นทุกขณะ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละอองในพื้นที่ที่มีอุตสาหกรรมเหมืองหิน และโม่บดหรือย่อยหิน ดังนั้นจึงได้ดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อระบบหายใจของเด็กที่อาศัยใน พื้นที่ดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราชุกของอาการทางระบบหายใจและสมรรถภาพปอดของนักเรียน ศึกษาความเข้มข้นของฝุ่นละออง และวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อค่าสมรรถภาพปอดของนักเรียน ในพื้นที่ที่มีอุตสาหกรรมเหมืองหิน และโม่ บดหรือย่อยหิน คือ โรงเรียนหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด สระบุรี เป็นพื้นที่ศึกษา และพื้นที่ที่ไม่มีอุตสาหกรรมเหมืองหิน และโม่ บดหรือย่อยหิน คือ โรงเรียนบ้าน โคกตูม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เป็นพื้นที่เปรียบเทียบ ด้วยวิธีการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross sectional study) การศึกษานี้เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 โดยดำเนินการตรวจวัดฝุ่นละอองภายในอาคาร ด้วยเครื่องวัดฝุ่นละอองแบบเคลื่อนย้ายได้ (รุ่น Grimm) และตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศด้วยเครื่อง High volume air sampler โดยแน่งเป็นฝุ่นละอองรวม (TSP) และฝุ่นละอองขนาดตากว่า 10 ไมโครเมตร (PM ) ควบคู่ไปกับการเก็บข้อมูลความชุกของอาการ ทางระบบหายใจด้วยแบบสอบถาม ตรวจวัดสมรรถภาพปอดด้วยมาตรวัดอัตราการไหลของอากาศหายใจออก (Peak flow meter) ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 ของโรงเรียนหน้าพระลานและ โรงเรียนบ้านโคกตูม จำนวน 371 และ 319 คน ตามลำดับ
ผลการศึกษาพบว่า โรงเรียนหน้าพระลานมีความเข้มข้นของฝุ่นละอองรวม และฝุ่นละอองขนาดต่ำกว่า 10 ไมโครเมตรเฉลี่ย 24 ชั่วโมงในบรรยากาศภายนอกอาคารอยู่ในช่วง 262.5-778.4 และ 77.7-393.7 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรตามลำดับ มีความเข้มข้นของฝุ่นละอองรวมและฝุ่นละอองขนาดตากว่า 10 ไมโครเมตรเฉลี่ย 8 ชั่วโมงในอาคารอยู่ในช่วง 496.3-1,226.7 และ 322.8-691.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรตามลำดับ ขณะพี่โรงเรียนบานโคกตูมมีความเข้มข้นของมีนละอองรวมและมีนละอองขนาด ตากว่า 10 ไมโครเมตรเฉลี่ย 24 ชั่วโมงในบรรยากาศภายนอกอาคารอยู่ในช่วง 48.7-126.4 และ 35.9-100.5 …


ทางเลือกใหม่ : เครื่องมืออย่างง่ายในการเฝ้าระวังอากาศเขตเมือง, กรองแก้ว ทิพยศักดิ์ Jan 2025

ทางเลือกใหม่ : เครื่องมืออย่างง่ายในการเฝ้าระวังอากาศเขตเมือง, กรองแก้ว ทิพยศักดิ์

Applied Environmental Research

อุปกรณ์พาสสีพเป็นเครื่องมืออย่างง่ายในการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศ อาศัยหลักการแพร่อย่าง อิสระของโมเลกุลสารมลพิษที่สนใจศึกษา และถูกดูดซับบนแผ่นกรองได้โดยไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า เมื่อนำมาวิเคราะห์สารที่ถูกดูดซับบนแผ่นกรอง และคำนวณตามกฎการแพร่ข้อแรกของฟิค สามารถหาความเข้มข้นสารมลพิษเฉลี่ยจากระยะเวลาที่รับสัมผัสไต้ การศึกษาเลือกไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เป็นตัวชี้วัดด้วยอุปกรณ์พาสสีพ โดยเลือกศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมในการผลิตอุปกรณ์พาสสีพ การเก็บรักษาและทดสอบการใช้งานทั้งในบรรยากาศทั่วไป และในการเผ่าระวังการรับสัมผัสส่วนบุคคล สารเคมีที่เหมาะสมในการเคลือบแผ่นกรอง คือสารละลายผสมระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับโซเดียมไอโอไดด์ในเมธานอล โดยใช้แผ่นกรองใยแก้วเป็นสิงกีดขวางฝุ่นหรือสารมลพิษอื่น ซึ่งเงื่อนไขนี้ใช้ในการผลิตอุปกรณ์พาสสีพสำหรับการทดลองต่อ ๆ ไป โดยตรวจหาสารมลพิษที่ถูกดักจับไว้บนแผ่นกรองในรูปไนไตรต์ด้วยวิธียูวีสเปคโตรโฟโตมิเตอร์อุปกรณ์พาสสีพที่เตรียมมีอายุการใช้งานได้ดีภายใน 1 เดือนโดยสามารถเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ ปกติ สำหรับการใช้งานอุปกรณ์พาสสิพจากการเปรียบเทียบกับวิธีตรวจวัด NO2 แบบแอคทีฟภายในอาคารได้ผลสอดคล้องกันเป็นอย่างดีเมื่อใช้เวลารับสัมผัส 290 และ 360 นาที ผลจากการนำอุปกรณ์ พาสีพผลิตตามวิธีที่เหมาะสมไปวัด NO2 เทียบกับการตรวจวัดโดยวิธีแบบเคมีลูมิเนสเซนต์ ในบรรยากาศทั่วไป ณ บริเวณสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศการเคหะแห่งชาติ และรามคำแหงของกรมควบคุมมลพิษระหว่างวันที่ 21 ก.พ.-7 มี.ค. 2546 โดยสัมผัสตัวอย่างอากาศใน 24 ชั่วโมง (n = 3, แบลงค์ = 7 ในแต่ละวัน) รวม 14 วัน พบว่ามีความสัมพันธ์กันปานกลาง ณ สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศการเคหะแห่งชาติ (y = 1.2035X - 0.3291, R2 = 0.647ึ7) ส่วนความสัมพันธ์ ณ สถานีตรวจวัดรามคำแหงพบว่ามีค่าต่ำกว่าเล็กน้อย (y = 0.59X + 9.8699, R2 = 0.6016) ทั้งนี้เนื่องมาจากการตรวจวัดในภาคสนามมีปัจจัยอื่นๆ ส่งผลต่อการดูดซับสารมลพิษบนอุปกรณ์พาสสีพ เช่น ความเร็วลม อุณหภูมิ เมื่อวัดปริมาณ NO2 ที่บุคคล กลุ่มตัวอย่างรับสัมผัสด้วยวิธีพาสสีพในช่วง 5 วันต่อเนื่อง สามารถนำมาใช้งานได้ดีเพราะมีขนาดเล็กและไม่รบกวนกิจกรรมปกติของกลุ่มตัวอย่าง


ความรู้พื้นบ้านของมอแกน : รูปแบบการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ, นฤมล อรุโณทัย Jan 2025

ความรู้พื้นบ้านของมอแกน : รูปแบบการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ, นฤมล อรุโณทัย

Applied Environmental Research

บทความนี้นำเสนอความรู้พื้นบ้านของมอแกน ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่เคยมีวิถีชีวิตเร่ร่อนในทะเล ที่มักจะรู้จักกันในนาม “ชาวเล” ความรู้พื้นบ้านคือชุดความรู้และความเชื่อของคนในท้องถิ่นที่สร้างสมพัฒนา และสืบทอดต่อ ๆ กันมายาวนาน เป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกต การทดลอง และการปฏิบัติในวิถีประจำวันโดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และนิเวศท้องถิ่น มอแกนมีความรู้เกี่ยวกับทะเลและจังหวะของธรรมชาติเช่นน้ำขึ้นน้ำลงและการเปลี่ยนแปลงของคลื่นลมในแต่ละฤดู มีความรู้เกี่ยวกับการสร้างเรือและการเดินเรือ “ก่าบาง” ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต และมีความรู้เกี่ยวกับพืชพันธุ์ในป่า วิถีชีวิตแบบพราน -นักเก็บหา -นักเดินเรือ ทำให้มอแกนมีการสร้างสมความรู้พื้นบ้านเพื่อความอยู่รอดแถบทะเลและชายฝั่งได้อย่างดี ความรู้พื้นบ้าน ระบบคิด และแนวปฏิบัติของมอแกนได้ก่อให้เกิดรูปแบบการจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ คือ 1) ความรู้เกี่ยวกับการสร้างและการใช้เทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่เรียบง่ายนั้นไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรมากนัก เพราะเก็บหาได้เพียงพอแก่การยังชีพ 2) วิถีเร่ร่อน การโยกย้าย บ่อยครั้ง และการมีแหล่งอาหารที่หลากหลายในระบบนิเวศป่าและชายฝั่ง ทำให้เกิดการใช้พื้นที่หมุนเวียน สลับสับเปลี่ยนอยู่เสมอ จึงไม่มีทรัพยากรใดที่เสื่อมโทรมลงจากการใช้ที่ต่อเนื่อง 3) ความรู้พื้นบ้านเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม ชนิดของสายพันธุ์ ถิ่นที่อยู่ และลักษณะเฉพาะของสิ่งที่ล่าหรือเก็บหา ทำให้มอแกนรู้จักใช้แหล่งทรัพยากรที่หลากหลายได้เป็นอย่างดี 4) วิถีพราน -นักเก็บหาแบบหาเช้ากินค่ำ ไม่สะสม เป็นทางเลือกที่ทำให้มอแกนล่าและเก็บหาเพื่อเพียงพอสำหรับการบริโภคในแต่ละวัน 4) ระบบคิดของมอแกนเน้น ว่าทุกคนสามารกจะเข้าถึงและเก็บหาได้ ทรัพยากรธรรมชาติมิใช่เป็นของผู้ใดผู้หนึ่ง นอกจากนี้ สังคมของ มอแกนยังเน้นที่จริยธรรมของการแบ่งปัน ทั้งกับเพื่อนมนุษย์และกับสิ่งเหนือธรรมชาติ อย่างไรก็ดี ความรู้ เหล่านี้กลับไม่ได้รับความใส่ใจ และไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นรูปแบบหนึ่งในการ “จัดการ’’ ทรัพยากรยิ่งไปกว่านั้น มอแกนถูกมองว่าเป็นกลุ่มชนที่ด้อยพัฒนาและล้าหลัง ดังนั้น จึงควรพัฒนาขึ้นโดยการ รับสิ่งใหม่ๆ จากกายนอก ผู้เขียนได้สะท้อนในบทความนี้ว่า “การพัฒนา” ที่มีฐานคิดเช่นนี้จะทำให้มอแกนสูญเสียวิถีชีวิตดั้งเดิมรวมทั้งความรู้พื้นบ้านและแนวทางจัดการทรัพยากรที่ดำเนินมานับร้อยปี


Casein Gene Polymorphism Of Goat In Thailand, Naparat Naowanat, Duangsmorn Suwattana, Boonnarong Suphap Sep 2024

Casein Gene Polymorphism Of Goat In Thailand, Naparat Naowanat, Duangsmorn Suwattana, Boonnarong Suphap

The Thai Journal of Veterinary Medicine

The genetic polymorphism of the casein genes and the evaluation of haplotype variability in Saanen and Thai Native breeds in Thailand were investigated. The 23 Saanen and 42 Thai Native goats were genotyped at CSN1S1, CSN2, CSN1S2, and CSN3 loci using sequencing techniques. Three variants of A, C, and E on the CSN1S1 gene locus were demonstrated. The genotypic frequencies of CSN1S1 AA, AC, and AE are shared by over 80% of the population. The CSN2 A and F alleles were observed. The CSN2 genotypes of AA, AF, and FF were indicated with the majority of AF frequency. The 2 …


ผลของความเข้มข้นฟอสเฟตในน้ำสกัดจากหอยสองฝาและอาหารเลี้ยงเชื้อสังเคราะห์ต่อการสร้างสารกีดขวางช่องโซเดียมโดย Vibrio Alginolyticus, เบญจภรณ์ ประภักดี, ณัฐพันธุ์ ศุภกา, กาญจณา จันทองจีน Jul 2024

ผลของความเข้มข้นฟอสเฟตในน้ำสกัดจากหอยสองฝาและอาหารเลี้ยงเชื้อสังเคราะห์ต่อการสร้างสารกีดขวางช่องโซเดียมโดย Vibrio Alginolyticus, เบญจภรณ์ ประภักดี, ณัฐพันธุ์ ศุภกา, กาญจณา จันทองจีน

Applied Environmental Research

สารกีดขวางช่องโซเดียม (SCB) จัดเป็นสารที่ไม่ใช่โปรตีนและมีผลต่อระบบประสาทที่สร้างจากแบคทีเรียหลายสปีชีส์ เมื่อนำ Vibrio alginolyticus ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สร้างสารกีดขวางช่องโซเดียมที่แยกได้จากหอยทรายที่มีพิษ (Asaphis violascens) มาเพาะเลี้ยงในน้ำสกัดจากหอยสองฝาที่มีพิษและไม่มีพิษ และอาหารเลี้ยงเชื้อสังเคราะห์ (L-medium) ที่เติม K2HPO4 ความเข้มข้นต่างๆ กัน พบว่า V. alginolyticus ที่เพาะเลี้ยงในน้ำสกัดจาก หอยทรายในช่วงที่มีพิษสูงสามารถผลิตสาร SCB ได้สูงถึง 51.9ไมโครกรัมต่อลิตร แต่เชื้อมีการเจริญต่ำกว่าการเพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดอื่น เนื่องจากน้ำสกัดจากหอยทรายมีปริมาณฟอสเฟตต่ำ (0.084 กรัมต่อลิตร) แสดงว่า การเลี้ยง V. alginolyticus ในน้ำสกัดจากหอยทรายที่มีปริมาณฟอสเฟตต่ำสามารถชักนำการสร้าง SCB ไต้ นอกจากนี้ยังพบว่า V. alginolyticus มีการเจริญเติบโตดีในอาหารเลี้ยงเชื้อ L-medium ที่มี K2HPO4 สูง (3.0 กรัม ต่อลิตร) แต่มีการสร้างสาร SCB ในระดับต่ำ (4.7 ไมโครกรัมต่อลิตร) ซึ่งจากผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าฟอสเฟตที่ความเข้มซ้นสูงมีผลในการยับยั้งการสร้างสาร SCB แต่ส่งเสริมการเจริญของแบคทีเรียสร้างพิษ


ประสิทธิภาพของบอนและธูปฤาษีในพื้นที่ชุ่มน้ำที่สร้างขึ้นเพื่อบำบัดน้ำเสีย จากระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมน้ำยางข้น, ธเรศ ศรีสถิตย์, ทรงพล รักษ์เผ่า, จิรายุ ไพริน Jul 2024

ประสิทธิภาพของบอนและธูปฤาษีในพื้นที่ชุ่มน้ำที่สร้างขึ้นเพื่อบำบัดน้ำเสีย จากระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมน้ำยางข้น, ธเรศ ศรีสถิตย์, ทรงพล รักษ์เผ่า, จิรายุ ไพริน

Applied Environmental Research

งานวิจัยนี้ศึกษาถึงประสิทธิภาพในการบำบัด BOD, TKN และ TSS ของพื้นที่ชุ่มน้ำที่สร้างขึ้นแบบไหลอิสระเหนือผิวดินในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานน้ำยางข้นที่ผ่านการบำบัดมาแล้ว โดยทำการเปรียบเทียบระดับน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำที่สร้างขึ้น 3 ระดับ คือ 0.15,0.30 และ 0.45 เมตร และการใช้พืชสองชนิด คือ ต้นธูปฤาษี (Typha angustifolia) และต้นบอน (Colocasia esculenta) ซึ่งทำการเปรียบเทียบกับพื้นที่ชุ่มน้ำที่ไม่ปลูกพืชใดๆ พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีต้นบอนและมีระดับน้ำ 0.15 เมตร มีประสิทธิภาพในการลดค่า BOD5 ได้ดีที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพเท่ากับร้อยละ 79.95 ± 4.90 ส่วนพื้นที่ ชุ่มน้ำที่ปลูกต้นธูปฤาษีมีประสิทธิภาพในการกำจัด BOD5 ค่อนข้างต่ำ ส่วนประสิทธิภาพในการกำจัด TKN ของพื้นที่ ชุ่มน้ำที่มีต้นธูปฤาษี และพื้นที่ชุ่มน้ำที่ไม่ปลูกพืชใดๆ มีค่าใกล้เคียงกันในระดับน้ำทุกระดับ และประสิทธิภาพดีกว่าพื้นที่ ชุ่มน้ำที่มีต้นบอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยประสิทธิภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำที่ระดับ 0.15เมตร ที่มีต้นธูปฤาษีไม่มีพืช และ ต้นบอน เท่ากับ 65.63±9.17,67.26±6.24และ 62.40±9.89 ตามลำดับ โดยทั่วไปพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีพืชสามารถลดปริมาณ ของ TSS ได้ดีกว่าพื้นที่ชุ่มน้ำที่ไม่มีพืช โดยพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งมีระดับน้ำ 0.15 เมตร และมีต้นบอนให้ประสิทธิภาพสูงสุด คือ ร้อยละ 85.93±5.56


การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไนตรัสออกไซด์จากพื้นที่การเกษตรที่ไม่มีน้ำท่วมขังและที่มีน้ำท่วมขัง, วรทัย รักหฤทัย, คุณาวุฒิ บุญญานพคุณ, Masatoshi Aoki, ประเสริฐ ภวสันต์ Jul 2024

การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไนตรัสออกไซด์จากพื้นที่การเกษตรที่ไม่มีน้ำท่วมขังและที่มีน้ำท่วมขัง, วรทัย รักหฤทัย, คุณาวุฒิ บุญญานพคุณ, Masatoshi Aoki, ประเสริฐ ภวสันต์

Applied Environmental Research

งานวิจัยนี้เน้นศึกษาอัตราการผลิตก๊าซเรือนกระจก 3 ประเภท คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน และก๊าซไนตรัสออกไซด์ จากพื้นที่เกษตรกรรม 2 ประเภท คือ พื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง และพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง โดยใช้พื้นที่ปลูกข้าวสาลีเป็นตัวแทนพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง และพื้นที่นาข้าวเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า พื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขังจะปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซไนตรัสออกไซด์ ในขณะที่ก๊าซมีเทนจะถูกใช้ไปโดยจุลินทรีย์ในดิน ส่วนพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังนั้นจะปลดปล่อยก๊าซทั้งสามชนิดออกมา อุณหภูมิของดินเป็นตัวแปรสำคัญที่กำหนดอัตราการปลดปล่อยก๊าซเหล่านี้โดยเมื่ออุณหภูมิในชั้นดินสูงขึ้นจะได้อัตราการปลดปล่อยก๊าซที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่าอัตราการปลดปล่อยก๊าซทั้งสามประเภทนี้จะถูกกำหนดโดยวิธีการพรวนดิน โดยพื้นที่ที่มีการพรวนดินมากจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไนตรัสออกไซด์ปลดปล่อยมาในปริมาณมากแต่จะดูดซับก๊าซมีเทนส่วนพื้นที่ที่ไม่มีการพรวนดินจะมีการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และไนตรัสออกไซด์ในปริมาณที่น้อยกว่า แต่จะมีการปลดปล่อยมีเทนออกมาในปริมาณค่อนข้างมาก


ดินเผาดูดชับจากดินเหนียวและขี้เลื่อยเพื่อการดูดซับแคดเมียมในน้ำเสียสังเคราะห์, ธเรศ ศรีสถิตย์, กิตตินันท์ คงสืบชาติ Jul 2024

ดินเผาดูดชับจากดินเหนียวและขี้เลื่อยเพื่อการดูดซับแคดเมียมในน้ำเสียสังเคราะห์, ธเรศ ศรีสถิตย์, กิตตินันท์ คงสืบชาติ

Applied Environmental Research

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปัจจัยการผลิตดินเผาดูดซับจากดินเหนียวและขี้เลื่อย ประสิทธิภาพในการดูดซับไอออนแคดเมียมของดินเผาดูดซับที่ผลิตได้โดยการแปรผันค่าพีเอช (pH) การชะไอออนออกด้วยสารละลายกรดและน้ำกลั่น หาลักษณะทางกายภาพและทางเคมี การหาประสิทธิภาพในคอลัมน์ดูดซับ และได้ทำการเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูดซับระหว่างถ่านกัมมันต์กับดินเผาดูดซับที่ผลิตได้ ทำการศึกษาปัจจัยการผลิตดินเผาดูดซับโดยการแปรผันอุณหภูมิการเผาปริมาณสัดส่วนโดยน้ำหนักระหว่างดินเหนียวและขี้เลื่อย และอัตราการเพิ่มอุณหภูมิในการเผา พบว่าดินเผาดูดซับที่เหมาะสมในการดูดซับจาก 120 ตัวอย่าง ในเงื่อนไขที่สามารถดูดซับไอออนแคดเมียมได้ดีและมีความคงรูป คือดินเผาดูดซับที่ผลิตจากปริมาณสัดส่วน โดยน้ำหนักระหว่างดินเหนียวและขี้เลื่อยที่ 10 ต่อ 90 ซึ่งผ่านการเผาแบบไร้ออกซิเจนที่อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที อัตราการเพิ่มอุณหภูมิ 3 องศาเซลเซียสต่อนาที โดยสามารถกำจัดไอออนแคดเมียมได้ร้อยละ 83.95 ซึ่ง มากกว่าถ่านกัมมันต์อยู่ร้อยละ 23.05 ทำการศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับ พบว่าสามารถดูดซับไอออนแคดเมียมได้ภายในเวลา 8 ชั่วโมง เมื่อวิเคราะห์ค่าปริมาณการดูดซับสูงสุด (qmax)ซึ่งผลการทดลองการดูดซับเหมาะสมกับสมการการดูดซับแบบฟลุนดริช (Freundlich equation) ดินเผาดูดซับสามารถดูดซับไอออนแคดเมียมที่พีเอช 3.28, 6, 7, 8 และ 9 ได้ 4.079, 2.909, 1.724,3.257 และ 6.304มิลลิกรัม/กรัมดินเผาดูดซับ ตามลำดับ ส่วนที่พีเอช 3.28 ถ่านกัมมันต์มีค่า qmax เท่ากับ 3.516 มิลลิกรัม/กรัมถ่านกัมมันต์การศึกษาการชะละลายของดินเผาดูดซับหลังจากใช้งานแล้วโดยการชะด้วยสารละลายกรดอ่อน (พีเอช 5 ) และน้ำกลั่นที่ 24 ชั่วโมง พบว่าเมื่อชะด้วยสารละลายกรดอ่อน (พีเอช 5) มีแคดเมียมถูกชะออกมาสูงสุดเพียงร้อยละ 2.7 และไม่สามารถถูกชะออกมาได้เลยด้วยน้ำกลั่น การทดลองประสิทธิภาพในการกำจัดแคดเมียมในน้ำเสียสังเคราะห์ที่พีเอช 8 ความเข้มข้นแคดเมียม 1 มิลลิกรัม/ลิตร ด้วยคอลัมน์ที่ระดับความลึกของดินเผาดูดซับ 30, 60 และ 90 เซนติเมตร พบว่าที่จุดหมดสภาพมีน้ำเสียไหลผ่านชั้นดินเผาดูดซับไปทั้งสิน 2395.9, 2985.7 และ 2408.2 เท่าของปริมาตรของคอลัมน์ ตามลำดับ


การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ศึกษากรณีการพัฒนาระบบการย้อมสี และบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมในอุตสาหกรรมทอผ้าฝ้ายพื้นเมืองด้วยมือ เพื่อโอกาสในการส่งออก, ธนพรรณ สุนทระ Jul 2024

การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ศึกษากรณีการพัฒนาระบบการย้อมสี และบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมในอุตสาหกรรมทอผ้าฝ้ายพื้นเมืองด้วยมือ เพื่อโอกาสในการส่งออก, ธนพรรณ สุนทระ

Applied Environmental Research

โครงการวิจัยเรื่อง "การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ศึกษากรณี การพัฒนาระบบการย้อมสีและบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมในอุตสาหกรรมทอผ้าฝ้ายพื้นเมืองด้วยมือเพื่อโอกาสในการส่งออก" มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนในการนำผลการศึกษาจากห้องปฏิบัติการมาสร้างระบบบำบัดน้ำเสียให้ชุมชนที่ทอผ้าฝ้ายพื้นเมืองสามารถดำเนินการ และดูแลเองได้ด้วยวิธีการง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งศูนย์ประสานงานถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่ชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์โครงการ"หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" (OTOP) และเพื่อขจัดการใช้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นข้ออ้างในการกีดกันสินค้าส่งออก ให้มีโอกาสส่งผลิตภัณฑ์ไปขายยังต่างประเทศ
ผลการศึกษา
1. ผลการรักษาจากครัวเรือนทอผ้าตัวอย่าง
จากการศึกษาพบว่า อาชีพการย้อมผ้าทอผ้า เดิมเป็นงานของผู้หญิงในหมู่บ้าน เป็นวัฒนธรรมมาตังแต่ดั้งเดิมว่าผู้หญิงจะต้องทอผ้าใช้เองได้ ปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นสินค้า OTOP รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมอย่างเต็มที่เพื่อให้สามารถส่งออกนำรายได้มาสู่ครอบครัว สู่ประเทศชาติ ผู้ศึกษาได้กำหนดพื้นที่ ณ อำเภอบานไร่ จังหวัดอุทัยธานี รวม 75 ครัวเรือนทอผ้าตัวอย่าง
1) การใช้สีย้อมด้ายฝ้าย แบ่งออกเป็นการย้อมด้วยสีธรรมชาติและสีเคมี ผู้ย้อมส่วนใหญ่จะใช้สีทั้ง 2 ชนิด ซึ่งได้ประโยชน์และกระบวนการย้อมที่แตกต่างกัน ข้อดีสีธรรมชาติ มีสีสรรสวยงาม สีอ่อน สบายตา เวลาย้อมสีจะติดด้ายฝ้ายง่าย ปลอดภัยไม่มีสารพิษ เป็นที่นิยมของผู้ใช้เป็นที่ต้องการของตลาด ข้อสำคัญคือมีต้นทุนต่ำ ข้อเสีย สีธรรมชาติ สีไม่คงทนตกง่ายทำให้ผ้าซีดเร็ว ปัจจุบันพืชซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ย้อมด้ายหายากขึ้น ข้อดีสีเคมี สีสดใสฉูดฉาด มองแล้วโดดเด่น การใช้สีเคมีจะได้สีที่ต้องการมากกว่าสีธรรมชาติ กระบวนการย้อมไม่ยุ่งยาก ซื้อได้ง่ายมีขายตามท้องตลาดทั่วไป ข้อเสียของสีเคมี คือไม่ปลอดภัยจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าสีธรรมชาติ
2) ความรู้ความเข้าใจ ผู้ย้อมด้ายฝ้ายส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าสีเคมีทีใช้ย้อมฝ้ายอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีส่วนประกอบของสารเคมีในกลุ่มอะโซต้องห้าม ทำให้ไม่สามารถนำเข้าไปขายยังประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มีเป็นส่วนน้อยที่ตอบว่าทราบ มาจากนักวิชาการที่เคยมาหาข้อมูล ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าน้ำทิ้งจากการย้อมด้ายด้วยสีเคมีจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ทราบปัญหาที่แท้จริง กระบวนการผลิตที่ไม่ถูกต้อง เกือบทั้งหมดตอบว่าไม่ทราบมาก่อนเลยว่าเป็นเหตุผลที่จะทำให้ถูกใช้เป็นข้ออ้างในการกีดกันการค้า
3) ความสนใจที่จะพัฒนาการย้อมด้าย พบว่าส่วนใหญ่ สนใจที่จะนำไปใช้ ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นการพัฒนาการทำงานของกลุ่ม เพิ่มพูนความรู้และนำกลับมาแนะนำชาวบ้าน เป็นผลดีกับสิงแวดล้อม นอกจากนั้นยังสามารถนำ น้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ส่วนน้อยของกลุ่มทอผ้าที่ตอบว่าไม่สนใจที่จะบำบัดน้ำเสียจากการทอผ้า ให้เหตุผลว่า จำวิธีการทำงานไม่ได้ ไม่มีเวลา และคิดว่าไม่มีความจำเป็นที่จะทำขณะนี้
2. การประเมินผล โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ผู้เข้าร่วมอบรมทุกคนไม่เคยเข้าร่วมอบรมในหัวข้อนี้มาก่อน สรุปผลของการเข้าอบรมครั้งนี้ว่ามีการทดลองนำสนใจมีประโยชน์ต่อการจะนำไปใช้ในกระบวนการย้อมผ้าฝ้ายในหมู่บ้าน ควรเผยแพร่ให้กว้างขวางจะเกิดประโยชน์มากขึ้น เพราะผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ เช่น การดูแล รักษาสิงแวดล้อม ที่เกิดจากการประกอบอาชีพย้อมผ้าฝ้าย …


ระบบการติดตามข้อมูลการนำเข้าสารเคมีอันตรายของประเทศไทย, วรรณี พฤฒิถาวร Jul 2024

ระบบการติดตามข้อมูลการนำเข้าสารเคมีอันตรายของประเทศไทย, วรรณี พฤฒิถาวร

Applied Environmental Research

บทความเรื่องระบบการติดตามข้อมูลการนำเข้าสารเคมีอันตรายของประเทศไทยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการการสร้างระบบประสานงานข้อมูลการนำเข้าสารเคมีอันตรายซึ่งเป็นงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนการศึกษาจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีสร้างรูปแบบประสานงานและระบบการติดตามข้อมูลการนำเข้าสารเคมีและวัตถุอันตรายตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายพ.ศ.2535 พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์พ.ศ.2530 และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องหน่วยงานที่ร่วมดำเนินงานได้แก่ กรมศุลกากร และหน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุมการนำเข้าวัตถุอันตราย 5 หน่วยงาน คือ กรมโรงงาน อุตสาหกรรมกรมวิชาการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมประมง และกรมการอุตสาหกรรมทหาร ในการนำเสนอบทความนี้ มีข้อสรุป 3 ส่วนที่สำคัญคือ 1) ผลงานจากการศึกษาคือการจำแนกพิกัดรหัสสถิติสินค้าสารเคมีให้มีความชัดเจนและเกิดประโยชน์ในการติดตามสาร เคมีเฉพาะรายการ โดยเฉพาะสารเคมีที่มีการควบคุมตามกฎหมาย ซึ่งเป็นไปตามความประสงค์ของหน่วยงานควบคุมโดยไม่กระทบกระเทือนกับระบบฮาร์โมไนซ์ที่กรมศุลกากรใช้อยู่รวมทั้งสิน2,117รหัสและจัดทำเป็นฐานข้อมูลวัตถุอันตรายซึ่งมีรายการสารควบคุมตามกฎหมาย1,667รหัสและที่ไม่ใช่สารควบคุมตามกฎหมาย 450 รหัสผลจากการจำแนกรหัสสถิติใหม่ทำให้ทราบชนิดและปริมาณนำเข้าของสารอันตรายซึ่งเป็นสารควบคุมแต่ไม่เคยมีการติดตามได้มาก่อนเช่นสารที่ต้องควบคุมตามอนุสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ ได้แก่ สารที่ควบคุมตามบัญชีสารเคมีตามอนุสัญญาว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้า (PIC) และ สารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (POPs) เป็นต้น 2) มีการสร้างฐานข้อมูลเลขที่เอกสารสำคัญ 15 หลัก ซึ่งระบุหน่วยงานชนิดเอกสารสำคัญ ชนิดวัตถุอันตราย เลขที่เอก สารสำคัญ และปี พ.ศ. เพื่อใช้ตรวจสอบการนำเข้า ของหน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่ควบคุมการนำเข้าวัตถุอันตรายตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดระบบติดตามการนำเข้าสารอันตรายที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน 3) มีการสร้างระบบการตรวจสอบข้อมูลสารเคมีอันตรายโดยกรมศุลกากรสามารถรายงานสถิติการนำเข้าของสารควบคุมที่มีพิกัดรหัสสถิติชัดเจนว่าเป็นการนำเข้าโดยการอนุญาตของหน่วยงานควบคุมหน่วยใดและอ้างอิงกับเอกสารสำคัญฉบับใด โดยการตรวจสอบจากฐานข้อมูลวัตถุอันตราย และ ฐานข้อมูลเลขที่เอกสารสำคัญ 15 หลัก ขณะเดียวกันหน่วยงานควบคุมแต่ละหน่วยงานสามารถใช้ตัวเลขรายงานของกรมศุลกากรตรวจสอบเชิงลึกในการดำเนินงานของหน่วยงานควบคุมในการให้อนุญาตนำเข้าสารเคมีอันตรายที่มีการควบคุมตามกฎหมาย การศึกษามีข้อเสนอแนะให้มีการติดตามการดำเนินงานเพื่อประเมินผลและปรบปรุงระบบให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อเนื่องใน การติดตามการนำเข้า ในขณะเดียวกันสามารถขยายไปสู่การติดตามการผลิต การส่งออก และ การครอบครองวัตถุอันตรายต่อไป


การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรผู้ใช้น้ำ กรณีศึกษา: พื้นที่ลุ่มน้ำจันทบุรี, พักตร์วิมล เพียรเลิศ, กนกศักดิ์ แก้วเทพ Jul 2024

การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรผู้ใช้น้ำ กรณีศึกษา: พื้นที่ลุ่มน้ำจันทบุรี, พักตร์วิมล เพียรเลิศ, กนกศักดิ์ แก้วเทพ

Applied Environmental Research

รายงานการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย ที่การสำรวจเชิงวิเคราะห์ต่อนโยบายการจัดการน้ำของรัฐบาลที่เพิ่งประกาศเมื่อไม่นานมานี้ และการวิเคราะห์สถานภาพและปัญหาต่างๆ ตลอดจนการบริหารและการจัดการขององค์กรผู้ใช้น้ำในลุ่มน้ำจันทบุรีทั้งองค์กรผู้ใช้น้ำแบบดั้งเดิมที่ไม่เป็นทางการและองค์กรผู้ใช้น้ำแบบเป็นทางการในระดับชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านอุปทานของน้ำในตอนท้ายรายงานการวิจัยนี้ได้เสนอแนะกลยุทธ์บางประการในการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรผู้ใช้น้ำในอนาคต เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน


การสกัดโทลูอีนออกจากน้ำเสียแบบต่อเนื่องโดยใช้สารลดแรงตึงผิว ชนิดไม่มีประจุ ในหอสกัดแบบจานหมุน, ปัญจพร เวชยันต์วิวัฒน์, สมชาย โอสุวรรณ, John F. Scamehorn Jul 2024

การสกัดโทลูอีนออกจากน้ำเสียแบบต่อเนื่องโดยใช้สารลดแรงตึงผิว ชนิดไม่มีประจุ ในหอสกัดแบบจานหมุน, ปัญจพร เวชยันต์วิวัฒน์, สมชาย โอสุวรรณ, John F. Scamehorn

Applied Environmental Research

การสกัดแบบขุ่นถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสกัดโทลูอีนออกจากน้ำเสียโดยใช้สารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุเป็นสารสกัดโดยเมื่ออุณหภูมิของสารละลายของสารลดแรงตึงผิวสูงกว่าจุดขุ่นสารละลายจะแบ่งวัฏภาคออกเป็นสองวัฏภาค ประกอบด้วยวัฏภาคที่มีไมเซลล์จำนวนมากและวัฏภาคที่มีไมเซลล์จำนวนน้อย ซึ่งจำนวนไมเซลล์นี้เองเป็นตัวบ่งชี้ถึงปริมาณสารปนเปื้อนที่ถูกสกัดได้เพราะสารปนเปื้อนสามารถละลายอยู่ในไมเซลล์ในงานวิจัยนี้มีการขยายขนาดการ สกัดจากการสกัดแบบกะในหลอดทดลองขนาดเลิกเป็นการสกัดแบบต่อเนื่องในหอสกัดนำร่องแบบจานหมุน (rotating disc contactor) พบว่าความเร็วรอบการกวนและอุณหภูมิที่ใช้สกัดมีผลต่อประสิทธิภาพการสกัด กล่าวคือเมื่อความเร็วรอบการกวนสูงขึ้นจากที่ไม่มีการกวนเป็น 150 รอบต่อนาที ความเข้มข้นของโทลูอีนในน้ำที่บำบัดแล้วมีค่าลดลงจากความ เข้มข้นเริ่มต้นของโทลูอีนในน้ำเสีย 100 ส่วนในน้ำล้านส่วนเป็น 12 ส่วนในน้ำล้านส่วน หรือร้อยละ 88 ของโทลูอีน ถูกสกัดแยกออกจากน้ำเสียที่อุณหภูมิการสกัด 40°C เมื่อเพิ่มอุณหภูมิการสกัดเป็น 50 °C ที่ความเร็วรอบการกวน 150 รอบต่อนาที พบว่าสามารถลดความเข้มข้นของโทลูอีนในน้ำเสียเหลือเพียง 8 ส่วนในน้ำล้านส่วนเท่านั้นหรือร้อยละ 92 ของ โทลูอีน ถูกสกัดแยกออกจากน้ำเสีย