Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2019

Discipline
Institution
Keyword
Publication
Publication Type
File Type

Articles 26581 - 26610 of 31912

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจำแนกลำดับศักย์ของถนน: กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, สิทธิพงค์ กลิ่นกระจาย Jan 2019

การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจำแนกลำดับศักย์ของถนน: กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, สิทธิพงค์ กลิ่นกระจาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พระราชบัญญัติทางหลวงแบ่งประเภทถนนในประเทศไทยตามหน่วยที่ดูแลรับผิดชอบเป็นหลัก แต่เนื่องด้วยประโยชน์การใช้งานมีความแตกต่างกันทั้งการบริการ การเคลื่อนที่ของการจราจร และการเข้าถึงพื้นที่ ซึ่งจะสะท้อนการใช้งานหรือประโยชน์ใช้สอยของถนนแต่ละสาย ส่งผลถึงการบำรุงรักษา การออกแบบ การวางผังคมนาคม และการกำหนดมาตรการควบคุมความเร็วที่เหมาะสมกับหน้าที่ของถนนแต่ละประเภท ดังนั้น การจำแนกถนนตามหน้าที่การใช้งานจริง จะช่วยให้การวางแผนงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้จึงศึกษาและจำแนกลำดับศักย์ของถนนตามหน้าที่การใช้งานจริง โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับตรรกศาสตร์คลุมเครือ และกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าทางหลวงแผ่นดินมีหน้าที่การใช้งานจริงตามลำดับศักย์ทั้ง 4 ลำดับ ได้แก่ ทางสายประธาน ทางสายหลัก ทางสายรอง และทางสายย่อย โดยส่วนใหญ่เป็นทางสายหลัก (ร้อยละ 44) ทางหลวงชนบท มีการใช้งานจริงใน 2 ลำดับ ได้แก่ ทางสายรอง และทางสายย่อย โดยส่วนใหญ่เป็นทางสายย่อย (ร้อยละ 72) สำหรับทางหลวงท้องถิ่น มีการใช้งานจริงใน 3 ลำดับ ได้แก่ ทางสายหลัก ทางสายรอง และทางสายย่อย โดยส่วนใหญ่เป็นทางสายย่อย (ร้อยละ 98) ทั้งนี้ จากการจำแนกถนนทั้งหมดตามลำดับศักย์ของหน้าที่การใช้งานจริง พบว่าเป็นทางสายประธาน ร้อยละ 2 ทางสายหลัก ร้อยละ 5 ทางสายรอง ร้อยละ 9 และส่วนใหญ่เป็นทางสายย่อย ร้อยละ 84 ตามลำดับ


รูปแบบโรงเรียนที่เหมาะสมกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, กนกวรรณ รุ้งตาล Jan 2019

รูปแบบโรงเรียนที่เหมาะสมกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, กนกวรรณ รุ้งตาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง “รูปแบบโรงเรียนที่เหมาะสมกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสอดคล้องระหว่างยุทธศาสตร์ชาติกับการบริหารโรงเรียน ซึ่งหน่วยงานภาครัฐจะต้องให้ความสำคัญ โดยเปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนทางเลือกกับโรงเรียนรูปแบบเดิม เพื่อพิจารณาความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงคนสู่ศตวรรษที่ 21 และการนำยุทธศาสตร์ชาติไปปฏิบัติ โดยอาศัยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษากระบวนการปฏิบัติงานของโรงเรียนตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) และใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณเพื่อพิจารณาความสอดคล้องในการถ่ายทอดยุทธศาสตร์การศึกษาแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติ ผลการศึกษาพบว่าโรงเรียนรูปแบบเดิมให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดยุทธศาสตร์ระดับประเทศมาสู่ระดับโรงเรียนอย่างมาก เห็นได้จากมีการคำนึงถึงยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อนำมากำหนดยุทธศาสตร์โรงเรียน ส่วนโรงเรียนทางเลือกไม่ได้มุ่งให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ แต่การจัดการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ ด้วยเหตุที่โรงเรียนเหล่านี้อาศัยการถอดบทเรียนจากประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษาโดยตรง โรงเรียนทางเลือกจึงถือเป็น “ผู้มาก่อนกาล” จากการจัดการเรียนการสอนที่คำนึงถึงบริบทโลก ซึ่งการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติก็คำนึงถึงบริบทเดียวกัน ส่งผลให้ยุทธศาสตร์ของโรงเรียนทางเลือกมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติโดยปริยาย


การดำเนินงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่อประเด็นชาวโรฮิงญา, ภัทราวรรณ แก้วกรอง Jan 2019

การดำเนินงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่อประเด็นชาวโรฮิงญา, ภัทราวรรณ แก้วกรอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ว่าด้วยเรื่องการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่อประเด็นชาวโรฮิงญา โดยมุ่งศึกษาถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในการจัดการและตอบสนองต่อประเด็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในภูมิภาคระหว่างปี 2009-2017 และนำปัญหาชาวโรฮิงญามาเป็นกรณีศึกษา งานวิจัยฉบับนี้จะใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ รวมถึงอาศัยทฤษฎีสรรสร้างนิยมเพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า การดำเนินงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในการจัดการและตอบสนองต่อประเด็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคต้องดำเนินอยู่ภายใต้ข้อจำกัดสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ 1. ปัจจัยที่เกิดจากภายในภูมิภาค คือ บรรทัดฐานที่ใช้กำกับความสัมพันธ์ภายในองค์กรหรือเป็นที่รู้จักในนามของวิถีอาเซียน ได้ส่งผลต่อการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ทำให้ไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างอิสระ รวมถึงส่งผลให้คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนปราศจากอำนาจเข้าไปตรวจสอบปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและลงโทษต่อประเทศผู้กระทำผิด วิถีอาเซียนจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนกลายเป็นองค์กรที่ไม่มีอำนาจในการปกป้องประชาชนได้อย่างแท้จริง และ 2. ปัจจัยที่เกิดจากภายนอกภูมิภาค คือ อิทธิพลของบรรทัดฐานในเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศภายนอกภูมิภาค ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยภายในรวมถึงการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้รับกระแสวิพากษ์วิจารณ์และแรงกดดันจากประเทศภายนอกภูมิภาคมาโดยตลอด เนื่องจากความผิดหวังต่อการจัดการปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในภูมิภาคที่มีสาเหตุมาจากการตีความในเรื่องสิทธิมนุษยชนที่แตกต่างจากภายนอกภูมิภาค รวมถึงการจัดการกับประเด็นปัญหาชาวโรฮิงญาในเรื่องของการตีความเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ไม่มีกฎหมายจารีตประเพณีที่จะสามารถนำมาใช้ในการให้ความช่วยเหลือและรองรับกับปัญหาผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาได้อย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามกระแสวิพากษ์วิจารณ์และแรงกดดันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนไปจากเดิม แต่อิทธิพลของบรรทัดฐานในเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศภายนอกภูมิภาคที่เข้ามาได้มีการนำมาปรับใช้ให้สอดรับกับวิถีอาเซียน เพื่อนำไปสู่บรรทัดฐานที่ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถยอมรับได้


นโยบายของอียิปต์ต่อองค์การสันนิบาตอาหรับ (The Arab League) ในยุคประธานาธิบดีมูฮัมหมัด อันวาร์ ซาดัต ระหว่างค.ศ. 1970-1981, อาลาอุดดีน กะด๊ะ Jan 2019

นโยบายของอียิปต์ต่อองค์การสันนิบาตอาหรับ (The Arab League) ในยุคประธานาธิบดีมูฮัมหมัด อันวาร์ ซาดัต ระหว่างค.ศ. 1970-1981, อาลาอุดดีน กะด๊ะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับนโยบายของอียิปต์ต่อสันนิบาตอาหรับในยุคประธานาธิบดีมูฮัมหมัด อันวาร์ ซาดัต ระหว่างค.ศ. 1970-1981 ผู้วิจัยได้ใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศที่ประกอบไปด้วยหลายตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายของอียิปต์ต่อสันนิบาตอาหรับและบทบาทของอียิปต์ในสันนิบาตอาหรับภายใต้การนำของประธานาธิบดีซาดัต สมมติฐานในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือ ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายของอียิปต์ต่อสันนิบาตอาหรับเกิดมาจากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในประกอบด้วย ปัจจัยเกี่ยวกับตัวบุคคล ปัจจัยด้านการเมือง และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยภายนอก คือ การดำเนินนโยบายของสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา


ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จของผู้สูงอายุตอนต้นและผู้สูงอายุตอนกลาง ที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร, วิลาวัลย์ วาริชนันท์ Jan 2019

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จของผู้สูงอายุตอนต้นและผู้สูงอายุตอนกลาง ที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร, วิลาวัลย์ วาริชนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จในผู้สูงอายุตอนต้นและผู้สูงอายุตอนกลาง และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย การรับรู้เวลาที่เหลือในชีวิต ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความเครียด และจำนวนโรค ในผู้สูงอายุตอนต้นและผู้สูงอายุตอนกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือ ผู้สูงอายุตอนต้น ที่มีอายุ 60 – 69 ปี (M = 64.81 ปี, SD = 2.82 ปี) จำนวน 124 คนและผู้สูงอายุตอนกลางที่มีอายุ 70 -79 ปี (M = 73.62 ปี, SD = 2.81 ปี) จำนวน 90 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการตอบผ่านแบบสอบถามและวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) การสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จในผู้สูงอายุตอนต้นไม่แตกต่างจากผู้สูงอายุตอนกลาง 2) การรับรู้เวลาที่เหลือในชีวิต (β = .306, p < .001) และภาวะซึมเศร้า (β = -.453, p < .001) สามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จในผู้สูงอายุตอนต้นได้ร้อยละ 41.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ภาวะซึมเศร้า (β = -184, p < .001) สามารถทำนายความแปรปรวนของการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จในผู้สูงอายุตอนกลางได้ร้อยละ 19.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 งานวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่า ผู้สูงอายุตอนต้นที่ไม่มีภาวะซึมเศร้าและมีการรับรู้เวลาที่เหลือในชีวิตมาก มีแนวโน้มจะเป็นผู้สูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ และผู้สูงอายุตอนกลางที่ไม่มีภาวะซึมเศร้ามีแนวโน้มจะเป็นผู้สูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ


ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญาที่มีต่อความเมตตากรุณาต่อตนเอง ความเข้มแข็งทางจิตใจ และความมั่นหมายของนักกีฬาเยาวชนไทย, กฤตพล รังสิยานนท์ Jan 2019

ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญาที่มีต่อความเมตตากรุณาต่อตนเอง ความเข้มแข็งทางจิตใจ และความมั่นหมายของนักกีฬาเยาวชนไทย, กฤตพล รังสิยานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยแบบการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญาที่มีต่อความเมตตากรุณาต่อตนเอง ความเข้มแข็งทางจิตใจ และความมั่นหมายของนักกีฬาเยาวชนไทย โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ คือ นักกีฬาเยาวชนไทยที่มีอายุ 15-25 ปี ซึ่งมีคะแนนความเมตตากรุณาต่อตนเองต่ำกว่าค่าเฉลี่ย จำนวน 82 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 39 คน กลุ่มควบคุม 43 คน โดยกลุ่มทดลองจะเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง รวม 7 ครั้ง คิดเป็นเวลาทั้งสิ้น 14 ชั่วโมง โดยกลุ่มตัวอย่างตอบแบบวัดความเมตตากรุณาต่อตนเอง (Self-compassion) แบบวัดความเข้มแข็งทางจิตใจ (Mental toughness) และแบบวัดความมั่นหมาย (Grit) ข้อมูลที่ได้รับถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบวัดซ้ำและระหว่างกลุ่ม โดยมีผลวิจัยดังต่อไปนี้ 1. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญา กลุ่มทดลองมีคะแนนความเมตตากรุณาต่อตนเอง (Self-compassion) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .003 แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงหลังการเข้าร่วมกลุ่ม 2. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญา กลุ่มทดลองมีคะแนนความเข้มแข็งทางจิตใจ (Mental toughness) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .009 แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงหลังการเข้าร่วมกลุ่ม 3. หลังการเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและพันธสัญญา กลุ่มทดลองมีคะแนนความมั่นหมาย (Grit) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .008 แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงหลังการเข้าร่วมกลุ่ม


เกมสยองขวัญและเกมผีไทยบนแพลตฟอร์มดิจิทัลกับทุนทางวัฒนธรรม, ธิมา ไหมแพง Jan 2019

เกมสยองขวัญและเกมผีไทยบนแพลตฟอร์มดิจิทัลกับทุนทางวัฒนธรรม, ธิมา ไหมแพง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง “เกมสยองขวัญและเกมผีไทยบนแพลตฟอร์มดิจิทัลกับทุนทางวัฒนธรรม” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการสร้าง ‘ขนบ’ (Convention) และ ‘ประดิษฐกรรม’ (Invention) ของเกมสยองขวัญและเกมผีไทย และ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนทางวัฒนธรรมกับการผลิตเนื้อเรื่อง การออกแบบตัวละคร และการกำหนดอุดมการณ์ ความเชื่อและค่านิยม ของเกมสยองขวัญและเกมผีไทย การวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology) โดยผู้วิจัยศึกษาและมุ่งทำความเข้าใจผ่านการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) ของเกม Araya เกม Home Sweet Home และ เกม Forbidden Love with The Ghost Girl ในด้าน ‘ขนบ’ และ ‘ประดิษฐกรรม’ และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ผู้ผลิตเกม เพื่อศึกษาทุนทางวัฒนธรรมที่มีผลต่อการผลิตเกมสยองขวัญและเกมผีไทย ผลการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ ตระกูลเนื้อหาที่ได้จากการวิเคราะห์ตัวบท โดยพบว่าเกมสยองขวัญและเกมผีไทยยังคงสะท้อนอุดมการณ์ ความเชื่อ และค่านิยมให้แก่สังคมในด้านความเชื่อเรื่องผี ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ ความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด และความเชื่อเรื่องเวรกรรม นอกจากนี้ยังปรากฏอุดมการณ์ ความเชื่อและค่านิยมแฝงที่สะท้อนคุณค่าทางสังคม คือ อุดมการณ์เรื่องเพศ โดยตัวละครผีหลักในทั้ง 3 เกมที่ศึกษาเป็นเพศหญิง ซึ่งถูกสร้างให้มีอารมณ์ความรู้สึกรุนแรง ไร้เหตุผล รวมถึงลักษณะของเพศที่เป็นเหยื่อของสังคมยามเมื่อมีชีวิต โดยสะท้อนภาพสังคมชายเป็นใหญ่ ส่วนที่ 2 คือ ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนทางวัฒนธรรมกับการผลิตเกม โดยพบว่าผู้ผลิตเกมเป็นแรงงานฐานความรู้ (Knowledge Based-worker) ซึ่งได้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และได้รับทุนทางวัฒนธรรมจากทุนที่เป็น “รูปแบบสถาบัน” (Institutionalized Form) และ “ทุนที่เป็นรูปธรรม” (Objectified Form) ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม การเรียนรู้ทุนทางวัฒนธรรมได้ก่อให้เกิดทุนทางวัฒนธรรมที่ฝังอยู่ในตัวบุคคลหรือกลุ่มบุคคล (Embodied Form) ซึ่งสร้าง “โลกทัศน์” ให้กับผู้ผลิตเกม 3 ด้าน คือ โลกทัศน์เกี่ยวกับผี โลกทัศน์เกี่ยวกับศาสนาและไสยศาสตร์ …


บทบาทและความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายไทยตามหลักสากลว่าด้วยมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, พรภัทร์ รอดโพธิ์ทอง บุญถนอม Jan 2019

บทบาทและความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายไทยตามหลักสากลว่าด้วยมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, พรภัทร์ รอดโพธิ์ทอง บุญถนอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องบทบาทและความรับผิดชบของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายไทยตามหลักสากล ว่าด้วยมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายที่อาจส่งผลต่อการปรับใช้มาตรฐานสากล รวมถึงมาตรการ ระเบียบปฏิบัติ และนโยบายกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย เพื่อวิเคราะห์ความจำเป็นและความเหมาะสมในการหาแนวทางปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการค้นคว้าเอกสารวิชาการ กฎหมาย แลระเบียบต่างๆประกอบกับการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและหาแนวทางสรุป ผลการวิจัยพบว่าประเทศไทยยังมีความบกพร่องด้านกรอบของกฎหมายตามข้อแนะนำที่ 22 ในส่วนของการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายมีหน้าที่ในการรู้จักตัวตนของลูกความ การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริง อันจะนำไปสู่การรายงานธุรกรรมที่น่าสงสัย ส่งผลให้มาตรฐานของประเทศไทยอาจไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ทัดเทียมมาตรฐานสากล ซึ่งในการพิจารณากำหนดหน้าที่ดังกล่าว ประเทศไทยจำต้องพิจารณาความเหมาะสมระหว่างสิทธิเสรีภาพของข้อมูลส่วนบุคคลกับหน้าที่การรายงานธุรกรรมและการคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะหรือความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้จริยธรรมแห่งวิชาชีพ ดังนั้นการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้อย่างเบ็ดเสร็จนั้น ผู้วิจัยเห็นว่าประเทศไทยควรตรากฎหมายให้ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายมีหน้าที่ต้องรายงานตามมาตรฐานของ FATF ในส่วนของสภาทนายความควรกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจนและมีการขึ้นทะเบียนให้ครอบคลุมทุกประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย เพื่อกำกับดูแลคุณภาพและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ ขณะที่ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายต้องตระหนักถึงคุณธรรมและจริยธรรมและมีอุดมการณ์ในการให้บริการทางกฎหมาย คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคม และควรมีความรู้ความเข้าใจในความเสี่ยงและความเปราะบางของวิชาชีพที่อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการฟอกเงิน ทั้งนี้บทบาทหน้าที่ดังกล่าว มิได้เพียงแต่เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมเท่านั้น แต่เป็นมาตรการที่ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายได้เป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป


การกระทำความผิดทางอาญากับอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง (Hate Crime) ในประเทศไทย, ลดาวัลย์ ใยมณี Jan 2019

การกระทำความผิดทางอาญากับอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง (Hate Crime) ในประเทศไทย, ลดาวัลย์ ใยมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่งที่ประเทศไทยยังไม่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยนั้นเผชิญหน้ากับอาชญากรรมประเภทนี้มาเป็นเวลายาวนานแล้ว ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ของอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อวิเคราะห์ประเภทของอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังในประเทศไทย เพื่อศึกษาสาเหตุและมูลเหตุจูงใจของผู้กระทำความผิด และเพื่อเสนอแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา จากการศึกษาวิจัย 17 กรณีศึกษา ในประเทศไทยพบว่า ในส่วนของประเภทของอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังนั้น ประเทศไทยมี 4 ประเภทคือ ประเภทที่หนึ่ง พวกที่ทำเพื่อความสนุกสนาน ประเภทที่สอง พวกทำเพื่อป้องกันหรือโต้กลับ ประเภทที่สาม พวกปฏิบัติตามหน้าที่ และประเภทที่สี่ พวกที่ได้ยินเรื่องเล่าลือว่ามีผู้ทำร้ายคนในกลุ่มเดียวกับตนเอง จึงลงมือประกอบอาชญากรรมในลักษณะการแก้แค้นทดแทน ส่วนมูลเหตุจูงใจที่พบมี 4 ประเภทคือ มูลเหตุจูงใจจากสถาบันชั่วคราวหรือการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย มูลเหตุจูงใจที่มาจากเพศ มูลเหตุจูงใจที่มาจากเชื้อชาติ สัญชาติ และศาสนา และมูลเหตุจูงใจที่มาจากอัตลักษณ์หรือรสนิยมทางเพศ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ประกอบอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังนั้นคือ ฐานะทางเศรษฐกิจ การไม่ประสบความสำเร็จทางการศึกษา การชอบดูละครที่มีทัศนคติเป็นลบ การคบเพื่อนฝูงที่ประกอบอาชญากรรม และการที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ส่วนแนวทางการป้องกันและแก้ไขนั้นสามารถกระทำได้โดยใช้สองมาตรการ โดยมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางสังคม ในส่วนของผู้วิจัยนั้นสนับสนุนให้ใช้มาตรการทางสังคมนำมาตรการทางกฎหมาย


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นผู้ต้องขังชั้นเลวมากและแนวทางการพัฒนาพฤตินิสัย, วีรวัฒน์ บุญนิกูล Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นผู้ต้องขังชั้นเลวมากและแนวทางการพัฒนาพฤตินิสัย, วีรวัฒน์ บุญนิกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรและพฤติกรรมการกระทำผิดของผู้ต้องขังชั้นเลวมาก เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการถูกลดชั้นเป็นผู้ต้องขังชั้นเลวมาก และเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังที่ตกเป็นผู้ต้องขังที่ชั้นเลวมาก โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยนำข้อมูลทุติยภูมิจากระบบฐานข้อมูลผู้ต้องขังที่จัดเก็บด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ต้องขังชั้นเลวมากเพื่อจัดทำกรณีศึกษา จำนวน 15 คน และการจัดประชุมกลุ่มย่อยเจ้าหน้าที่ในเรือนจำ 3 แห่ง คือ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง เรือนจำกลางบางขวาง และ เรือนจำกลางคลองเปรม ผลการศึกษาพบว่า การตกเป็นผู้ต้องชั้นเลวมาก แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1.) ผู้ต้องขังกลุ่มที่กระทำผิดซ้ำเกิน 3 ครั้งขึ้นไป 2.) ผู้ต้องขังชั้นเลวมากที่เกิดจากการถูกลดชั้นจากการกระทำผิดวินัยเรือนจำ และ3.)ผู้ต้องขังกระทำผิดตามประกาศกระทรวงยุติธรรม เรื่อง กำหนดความผิดในคดีอุกฉกรรจ์คดีสะเทือนขวัญ หรือคดีที่เป็นที่สนใจของประชาชน พ.ศ.2563 ผลการศึกษา พบว่า ผู้ต้องขังชั้นเลวมาก ส่วนใหญ่เป็นชาย เป็นกลุ่มผู้ต้องขังที่กระทำผิดซ้ำเกิน 3 ครั้งขึ้นไป กระทำผิดในคดียาเสพติดมากที่สุด ส่วนใหญ่จบการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษา รับจ้างทั่วไป ส่วนใหญ่กระทำผิดตั้งแต่อายุยังน้อย เกี่ยวข้องกับอบายมุขและถูกไล่ออกจากโรงเรียน มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม (Antisocial) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นผู้ต้องขังชั้นเลวมากพบว่า ปัจจัยด้านความผูกพันทางสังคม ปัจจัยด้านการถูกตีตราจากสังคม ปัจจัยด้านการเรียนรู้พฤติกรรมในเรือนจำมีส่วนทำให้ผู้ต้องขังตกเป็นผู้ต้องขังชั้นเลวมาก อย่างไรก็ตามจากการประชุมกลุ่มย่อยเจ้าหน้าที่ยังเห็นว่าคนกลุ่มนี้สามารถแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้แต่อาจต้องใช้ระยะเวลาและออกแบบโปรแกรมเฉพาะสำหรับผู้ต้องขังชั้นเลวมาก ซึ่งมีพฤติกรรมแตกต่างจากผู้ต้องขังกลุ่มอื่น


อาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์: ศึกษากรณีชาวโรฮีนจาในประเทศเมียนมา, สัณหวรรณ ศรีสด Jan 2019

อาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์: ศึกษากรณีชาวโรฮีนจาในประเทศเมียนมา, สัณหวรรณ ศรีสด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ “อาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์: ศึกษากรณีชาวโรฮีนจาในประเทศเมียนมา” ฉบับนี้ มุ่งศึกษาปัจจัย สถานการณ์ และรูปแบบปฏิสัมพันธ์ของคนกลุ่มต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่อาชญากรรมที่มีลักษณะของอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยนำสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมา ในระหว่างปี พ.ศ. 2555 ถึงปี พ.ศ. 2560 มาพิจารณาประกอบกับทฤษฎีการกระทำร่วมกัน หรือ Collective Action Theory ซึ่งเป็นทฤษฎีอาชญาวิทยาที่ถูกสร้างขึ้นเพื่ออธิบายอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยเฉพาะ ทั้งนี้ จากผลการศึกษาพบว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่รัฐยะไข่ โดยเฉพาะความรุนแรงที่เกิดแก่ชาวโรฮีนจาในปีพ.ศ. 2559 และ 2560 นั้นมีลักษณะเป็นการประกอบอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตามบทนิยามของอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยมีทั้งองค์ประกอบด้านการกระทำและด้านเจตนาพิเศษ เมื่อนำมาปรับเข้ากับทฤษฎีการกระทำร่วมกันพบว่าสถานการณ์ในรัฐยะไข่สนับสนุนทฤษฎีการกระทำร่วมกัน โดยมีองค์ประกอบต่าง ๆ ตามทฤษฎี ได้แก่ องค์ประกอบเกี่ยวกับระบอบการปกครอง มีการรวมกลุ่มสังคม มีการสร้างตัวตนสูง และมีเจตนาร่วมกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่เป็นการหักล้างข้อเท็จจริงที่ว่ายังมีสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นแต่พบว่าไม่สอดคล้องกับทฤษฎีการกระทำร่วมกัน และทฤษฎีดังกล่าวยังจำต้องถูกปรับปรุงต่อไป เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างคตินิยมของบุคคลทั่วไปต่ออัตลักษณ์ชาวโรฮีนจา และปัจจัยที่หล่อหลอมโครงสร้างและสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในรัฐยะไข่ที่นำไปสู่การลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชาวโรฮีนจาและพัฒนาไปสู่การประกอบอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตามทฤษฏีการกระทำร่วมกันยังพบว่าปัจจัยทางด้านภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ ชาติพันธุ์ ศาสนา รูปแบบการปกครอง การจำกัดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และการสร้างความเกลียดชังในพื้นที่ล้วนเป็นองค์ประกอบของปัจจัยข้างต้นที่เอื้อต่อการใช้ความรุนแรงในรัฐยะไข่ทั้งทางตรงและทางอ้อม แนวทางการแก้ไขและป้องกันอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในพื้นที่รัฐยะไข่ประเทศเมียนมานั้นคือการกำจัดองค์ประกอบทั้งหลายตามทฤษฎีการกระทำร่วมกันมิให้เกิดขึ้น ทั้งการเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านการปกครอง การสนับสนุนให้มีการยอมรับความแตกต่างและยุติการเลือกปฏิบัติทั้งในความเป็นจริงและทางกฎหมาย การแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมในทางเศรษฐกิจและสังคม ยุติโครงการใด ๆ ที่เอื้อให้พลเรือนเข้าร่วมการปฏิบัติการทางการทหาร และนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ เป็นต้น


Poverty And Corruption As Determinants Of Global Antimicrobial Resistance, Lyvia Ann Sanders Guerrier De Dumast Jan 2019

Poverty And Corruption As Determinants Of Global Antimicrobial Resistance, Lyvia Ann Sanders Guerrier De Dumast

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Antimicrobial resistance is a major threat to global public health and is believed to cause over 700,000 deaths per year. Efforts to tackle this problem have tended to focus on reducing antibiotic consumption and promoting the appropriate use of medicines. This study examines the relative importance of other socio-economic factors, more specifically poverty (Gross National Income per capita) and corruption (measured by quality of governance), in determining antibiotic resistance compared to use of antibiotics. Using panel data of 48 countries in 2008-2017, a fixed-effects multivariate analysis was used. Sobel tests and mediation analyses were also carried out to determine the …


The Politics Of Mobility, Structuration, And Infrastructure: A Case Study Of Myanmar Migrant Workers Under The Migrant Worker Management Regime In Thailand, Polwish Subsrisunjai Jan 2019

The Politics Of Mobility, Structuration, And Infrastructure: A Case Study Of Myanmar Migrant Workers Under The Migrant Worker Management Regime In Thailand, Polwish Subsrisunjai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The migrant worker management regime in Thailand has been operated to deal with the flow of migrant workers between Thailand and the neighbouring countries for almost 30 years. Several studies portray the production of the regime through various mechanisms such as non-citizen control system, documents regime, the employment process, policies and regulations, and classification of migrant workers. Under these studies, migrant workers have been presented in two distinct narratives; one is short-term labours, who are controlled and exploited by the regime, another is economic migrants, who migrate from home country to destination country in pursuance of incremental benefits. This thesis …


Can Offshore Wind Electricity In Taiwan Be Sustainable?: The Case Of Taiwan's First Offshore Wind Project, Formosa 1 In Miaoli, Yu Ju Lin Jan 2019

Can Offshore Wind Electricity In Taiwan Be Sustainable?: The Case Of Taiwan's First Offshore Wind Project, Formosa 1 In Miaoli, Yu Ju Lin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

While sustainability is implementing all over the world to strive to balance the development and environment, Taiwan is also committed to the transition towards renewable energy, and offshore wind electricity is one of the emerging industries with potential, therefore taking its newly operated project as a case study. The purpose of the research is to determine whether offshore wind electricity is a viable solution to achieve inclusive sustainability in Taiwan and the concept of procedural justice is involving to examine the planning and construction stages of the development while environmental justice is applied to evaluate the overall outcome from the …


The Relationship Among Level Of Intimacy, Romantic Attachment, Coping Strategies, And Negative Emotional Experiences In Young Adults With Ghosting Experience, Piyaporn Prasertwit Jan 2019

The Relationship Among Level Of Intimacy, Romantic Attachment, Coping Strategies, And Negative Emotional Experiences In Young Adults With Ghosting Experience, Piyaporn Prasertwit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study aimed to explore ghosting or when the reasons for romantic relationship termination and subsequent disappearance of one’s partner are not conveyed in Thai society, which has objectives as follow: 1. To explore the relationship between level of intimacy (9 levels) and negative emotional experience (negative-self emotions and negative-others emotions) 2. To explore the relationship between level of intimacy (9 levels), romantic attachment (attachment anxiety, and attachment avoidant), and coping strategies (emotional release, direct approach, accommodation/acceptance, denial/blaming others, and self-blame/self-focused) Participants were 335 young adults aged 18 – 30 years old (M = 22.3 years) who have had experience …


Exploring Educational Journeys, Barriers, And Motivating Factors Of Tribal College Students Through Capabilities Approach, Francis Arpan Jan 2019

Exploring Educational Journeys, Barriers, And Motivating Factors Of Tribal College Students Through Capabilities Approach, Francis Arpan

Electronic Theses and Dissertations

Educational attainment and success have often been linked to an increase in opportunities in life and when viewed from the lens of lifelong earnings, the greater an individual’s educational attainment, the greater the lifelong earnings. As a population, Native Americans have the highest poverty rate of all racial categories in the United States at 26.2% (Economic Policy Institute 2016). When looking at the connection between education and poverty, it is vital to note that only 14.1% of Native Americans over the age of 25 have a bachelor’s degree or above (US Census 2015). This lack of educational attainment falls well …


Political Connectedness, Firm Performance And Corporate Risk Taking: Are Emerging Markets Different?, Augustine Tarkom Jan 2019

Political Connectedness, Firm Performance And Corporate Risk Taking: Are Emerging Markets Different?, Augustine Tarkom

Electronic Theses and Dissertations

Existing literature exploring the effect of politically connected firms on their performance and risk-taking seems to offer decisive results for the emerging and the developed market. However, from professionals and anecdotal evidence, both markets do not exhibit similar characteristics. Considering these characteristics, instability of the government, lack thereof of adequate governance structure, I revisit the topic. This study comprises 27 advanced and 20 emerging economies for the years 1992 through 2016. I find that sound political environment drives risk-taking in advanced markets, while political connections drive corporate risk-taking in emerging markets. I also find that political institutions and political connections …


Diversification And Its Implications For South Dakota Farmers’ Identity As Farmers: Wind Farm Diversification As A Case Study, Abdelrahim Abulbasher Jan 2019

Diversification And Its Implications For South Dakota Farmers’ Identity As Farmers: Wind Farm Diversification As A Case Study, Abdelrahim Abulbasher

Electronic Theses and Dissertations

Studies have been conducted in the last three decades to examine the impact of the ongoing economic changes that encourage farmers to adopt nonconventional practices (such as crop diversification, on-farm recreation, and wind farming) to diversify their income. Limited research, however, has been conducted to examine the impact of on farm diversification practices on farmers’ identity as farmers (growers of food, feed, and fiber) including their role, self-conception, and family history/legacy. Using social identity and socio-ecological systems theories, this study seeks to understand how farmers construct their identity, the symbolic meanings they attach to their daily practices, and the influence …


Characterizing Spatiotemporal Patterns Of White Mold In Soybean Across South Dakota Using Remote Sensing, Confiance L. Mfuka Jan 2019

Characterizing Spatiotemporal Patterns Of White Mold In Soybean Across South Dakota Using Remote Sensing, Confiance L. Mfuka

Electronic Theses and Dissertations

Soybean is among the most important crops, cultivated primarily for beans, which are used for food, feed, and biofuel. According to FAO, the United States was the biggest soybeans producer in 2016. The main soybean producing regions in the United States are the Corn Belt and the lower Mississippi Valley. Despite its importance, soybean production is reduced by several diseases, among which Sclerotinia stem rot, also known as white mold, a fungal disease that is caused by the fungus Sclerotinia sclerotiorum is among the top 10 soybean diseases. The disease may attack several plants and considerably reduce yield. According to …


Wpa News 110 (2019), World Pheasant Association Jan 2019

Wpa News 110 (2019), World Pheasant Association

Galliformes Specialist Group and Affiliated Societies: Newsletters

WPA News (Winter 2019), number 110

Published by the World Pheasant Association


Indigenous Housing In Metro-Areas: Leveraging Federal Block Grants For Urban Housing, Homelessness Research & Action Collaborative, Portland State University Jan 2019

Indigenous Housing In Metro-Areas: Leveraging Federal Block Grants For Urban Housing, Homelessness Research & Action Collaborative, Portland State University

Homelessness Research & Action Collaborative Publications and Presentations

The Native American Housing Assistance and Self Determination Act of 1996 (NAHASDA) established a single flexible federal block grant for tribes and Tribally Designated Housing Entity to provide housing assistance to their tribal members. This shift recognized Native rights of tribal self-determination and self-governance, and it reorganized the mechanism by which tribes received compensation for land cessions. The U.S. Department of Housing and Urban Development currently administers the Indian Housing Block Grant (IHBG) annually, with funds typically prioritized to housing on reservation or tribal lands. In Oregon, a majority of funds go to the ongoing operation and maintenance of 1937 …


Business Improvement Districts And Enhanced Service Districts, Kaitlyn Dey Jan 2019

Business Improvement Districts And Enhanced Service Districts, Kaitlyn Dey

Homelessness Research & Action Collaborative Publications and Presentations

In an Enhanced Service District (ESD) property managers are required to pay a license fee, and the money from that license fee is used to fund extra security, marketing, and cleaning programs. ESDs patrol a huge chunk of Portland’s public space.

Despite their significant role in managing public spaces, oversight for ESDs is very limited. The city government collects the assessed fees and gives it to the overseeing organizations to spend. There are no oversight measures for these organizations mandated by law.


Exploring Narratives And Concerns: Applied Linguistics In Homelessness Research, Wendy Nuttelman Jan 2019

Exploring Narratives And Concerns: Applied Linguistics In Homelessness Research, Wendy Nuttelman

Homelessness Research & Action Collaborative Publications and Presentations

Understanding and addressing problematic narratives surrounding homelessness is one of the primary objectives of the Homelessness Research and Action Collaborative. We began to do this by mapping out different stakeholders and identifying texts such as social media posts, policy documents, and local news articles which reflect the language used by various groups to discuss and promote their concerns and beliefs about homelessness. Over 11,000 reports were analyzed.


History Of Housing Policy In The United States, Lauren Elizabeth Morrow Everett, Marta Petteni Jan 2019

History Of Housing Policy In The United States, Lauren Elizabeth Morrow Everett, Marta Petteni

Homelessness Research & Action Collaborative Publications and Presentations

Graduate student Lauren Everett created a brief history of housing policy in the United States from 1843 to the present. She looked at major events that helped shape our country’s understanding and policies around property. Events include everything from the donation land claim act, which entitled each white, male settler to 320 acres in the Oregon territory, to the rent control stabilization legislation in 2019.


Homelessness Count Methodologies Literature Review, Jennifer Lee-Anderson Jan 2019

Homelessness Count Methodologies Literature Review, Jennifer Lee-Anderson

Homelessness Research & Action Collaborative Publications and Presentations

This literature review on homeless count methods provides a brief history of homelessness in the U.S., an account of count efforts, and an overview of methods used. It illustrates that no method is capable of providing a comprehensive count of the homeless, and all methods have inherent disadvantages that often rely upon flawed assumptions. The practical impact of these counts on policy is substantial. Therefore, this review should encourage discussion as to what data communities need for policy and program development and implementation, and whether homeless counts actually fulfill this need.


Youth Homelessness, Katricia Stewart Jan 2019

Youth Homelessness, Katricia Stewart

Homelessness Research & Action Collaborative Publications and Presentations

Youth experiencing homelessness face numerous challenges to maintaining their health while homeless and as they exit homelessness. This includes their physical health, mental health, and well-being. Further, research on the efficacy of various interventions that aim to positively impact the health of homeless youth is limited. The following paper summarizes what is currently understood about the health and well-being of youth experiencing homelessness and concludes with recommendations for interventions, prevention programs, and future research.


Familial Homelessness & Trauma, Holly Brott Jan 2019

Familial Homelessness & Trauma, Holly Brott

Homelessness Research & Action Collaborative Publications and Presentations

This review provides an overview of the relationship between familial homelessness and the following sources of trauma: domestic violence, substance use, adverse childhood experiences (ACEs), mental health, and poverty. Following this review, stressors often experienced by homeless families (stigma, parenting while homeless, and child-specific) will be discussed.


Useful Waste, Rebecca Taylor Jan 2019

Useful Waste, Rebecca Taylor

Homelessness Research & Action Collaborative Publications and Presentations

The Useful Waste Initiative is an alternative and more sustainable way of thinking about construction waste. It encourages material diversion and aims to reframe views on waste management during the design and construction process. It guides the process to repurpose and utilize an overlooked material resource- envelope construction mock-ups. It also provides the opportunity to contribute to and support efforts to address pressing social needs with local communities, including shelter for the homeless.


Housing And Food Insecurity At Portland State Study, Homelessness Research & Action Collaborative, Portland State University Jan 2019

Housing And Food Insecurity At Portland State Study, Homelessness Research & Action Collaborative, Portland State University

Homelessness Research & Action Collaborative Publications and Presentations

Students helped develop the Housing and Food Insecurity at Portland State study to better understand the scope of homelessness, housing and food insecurity on campus. The survey went out to approximately 3,000 employees and 23,400 students at Portland State University in fall of 2019. The center will develop a set of recommendations for the university based on the results. It is the first step to help students and employees overcome challenges and meet their basic needs.


Safe Parking - Psu, Homelessness Research & Action Collaborative, Portland State University Jan 2019

Safe Parking - Psu, Homelessness Research & Action Collaborative, Portland State University

Homelessness Research & Action Collaborative Publications and Presentations

A national study done to collect data on homelessness rates in universities says that between 11% - 14% of students are experiencing homelessness. A study has not been done on specific data at PSU, however, there are students and staff experiencing homelessness at PSU, and some of those individuals are sleeping in their vehicles. Some of the individuals living in their vehicles purchase quarterly parking passes for the PSU parking garages. These individuals would benefit from a Safe Parking Program. There are existing infrastructures, systems and services that could be made available or utilized immediately. The purpose of this proposal …