Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 2911 - 2940 of 5570

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การประเมินปริมาณคาร์บอนของป่าชุมชน ด้วยเทคนิคอากาศยานไร้คนขับ: กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านบุตาต้อง ตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา, ธนวิทย์ ถมกระจ่าง Jan 2017

การประเมินปริมาณคาร์บอนของป่าชุมชน ด้วยเทคนิคอากาศยานไร้คนขับ: กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านบุตาต้อง ตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา, ธนวิทย์ ถมกระจ่าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีแนวคิดที่ประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle : UAV) เพื่อประเมินปริมาณคาร์บอนกักเก็บของป่าชุมชนบ้านบุตาต้อง ตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยการใช้ข้อมูลกลุ่มจุดสามมิติ (Point Could) ที่ได้จากการประมวลผลของภาพถ่ายทางอากาศที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับ เพื่อนำมาสร้างแบบจำลองความสูงสิ่งปกคลุมพื้นผิวเชิงเลข (Digital Surface Model : DSM) และแบบจำลองความสูงภูมิประเทศเชิงเลข (Digital Elevation Model :DEM) จากนั้นทำการหาความสูงของต้นไม้โดยการหาค่าต่างระหว่างของแบบจำลองดังกล่าว นอกจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการกำหนดแปลงตัวอย่างถาวรขนาด 40 × 40 เมตร จำนวน 10 แปลง เพื่อสำรวจเก็บข้อมูลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกและความสูงต้นไม้ เพื่อใช้ในการประเมินความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับ ในการหามวลชีวภาพเหนือพื้นดินผู้วิจัยใช้สมการแอลโมเมตรี (allometric equations) ประเภทป่าเต็งรัง ผลการวิจัยพบว่าความสูงที่ได้จากข้อมูลอากาศยานไร้คนขับมีความสัมพันธ์กับภาคสนามโดยมีค่า R2 อยู่ที่ 0.715-0.898 และมีความคลาดเคลื่อนของความสูงต้นไม้อยู่ที่ 0.50-0.66 เมตร ปริมาณคาร์บอนทั้งพื้นที่ศึกษามี 1.54 ตัน/ไร่ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณคาร์บอนกักเก็บในแปลงตัวอย่างพบว่ามีความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ร้อยละ 13-59 ซึ่งความคลาดเคลื่อนดังกล่าวมาจากความคลาดเคลื่อนในการประมาณขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกจากข้อมูลความสูงต้นไม้ที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับเนื่องจากความสัมพันธ์ดังกล่าวไม่มีความชัดเจน จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการหาขนาดพื้นที่ที่เหมาะสมในการหาปริมาณคาร์บอนกักเก็บพบว่าขนาดพื้นที่มากกว่า 25×25 เมตรมีความเหมาะสมสำหรับกรหาปริมาณคาร์บอนกักเก็บในพื้นที่ศึกษา


นโยบายการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ณัฐวจี เขียวลือ Jan 2017

นโยบายการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ณัฐวจี เขียวลือ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่เกาะพะงันจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปจนถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่เกาะพะงัน จากผลการศึกษาพบว่าตัวแสดงสำคัญในการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์บนพื้นที่เกาะพะงัน ได้แก่ เกษตรกร ที่จะต้องมีบทบาทเป็นผู้นำ (Leader) ในการขับเคลื่อน ขณะที่ภาครัฐมีบทบาทเป็นหน่วยที่คอยให้การสนับสนุน (Supporter) ในส่วนของกลยุทธ์การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ เครื่องมือเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องและมาตรการในการดำเนินการสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะแรก (ภายในระยะเวลา 3 ปี) เป็นระยะที่เน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มผู้ทำเกษตรอินทรีย์ มีการวางแผนการผลิตและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ภายในกลุ่ม การอุดช่องว่างของความต้องการด้านต่าง ๆ ของเกษตรกรโดยการแสวงหาความช่วยเหลือจากภายนอก สร้างโอกาสและเวทีในการพบปะกันของเกษตรกรกับผู้ประกอบการและการส่งเสริมการเกษตรแบบ CSA โดยการใช้ระบบการรับรองมาตรฐานแบบ PGS และการสร้างค่านิยมวิถีเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ ในระยะกลาง (ภายในระยะเวลา 3-5 ปี) เป็นระยะที่เน้นการส่งเสริมโดยใช้การท่องเที่ยวเป็นฐานในแนวทาง "Organic Tourism" ร่วมกับการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่วิถีเกษตรอินทรีย์ ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างหน่วยงานราชการกับเกษตรกร และการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และระยะสุดท้าย (ภายในระยะเวลา 5-20 ปี) จะมุ่งเน้นการเข้ามามีบทบาทของภาครัฐในการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ในระดับใหญ่และยกระดับการทำเกษตรอินทรีย์ให้เป็นในรูปแบบของการทำธุรกิจ ผลักดันผลผลิตสินค้าอินทรีย์ออกสู่ตลาดระดับสากล กลยุทธ์การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานีทั้ง 3 ระยะเป็นแนวทางที่กลั่นกรองจากการวิจัยปัญหา ความเป็นไปได้ แนวทางและมาตรการด้านนโยบายต่างๆ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนสามารถนำกลยุทธ์ เครื่องมือเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องและมาตรการในการดำเนินการดังกล่าวเข้าไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการส่งเสริมนโยบายการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานีต่อไปได้


นโยบายสาธารณะว่าด้วยการพัฒนาเมือง, เกวลี เพชรศรีชาติ Jan 2017

นโยบายสาธารณะว่าด้วยการพัฒนาเมือง, เกวลี เพชรศรีชาติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายการพัฒนาเมืองในภูมิภาคของไทย โดยพิจารณาบทบาทหน้าที่ขององค์กรภาครัฐในการพัฒนาเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายดังกล่าว โดยมีคำถามวิจัยคือ นโยบายการพัฒนาเมืองของไทยในช่วงหลังปี 2540 มีสาระสำคัญอะไรบ้าง ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเมืองในภูมิภาคอย่างไร อีกทั้งยังมีปัจจัยแวดล้อมอื่นที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการพัฒนาเมืองหรือไม่ โดยอาศัยกรอบแนวคิด 2 แนวคิดคือ ทฤษฎีทำเลที่ตั้ง (Location theory) และแนวคิดเมืองที่เกิดและเติบโตจากนโยบายรัฐ (รัฐเป็นผู้สร้างเมือง) การศึกษาครั้งนี้ได้อาศัยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านกรณีศึกษาเมืองในภูมิภาคจำนวน 2 แห่งคือ เมืองสงขลาและเมืองสตูล ผลการศึกษาพบว่า นโยบายการพัฒนาเมืองของรัฐได้ส่งผลให้เมืองสงขลาและเมืองสตูลมีผลของการพัฒนาที่แตกต่างกัน นโยบายการพัฒนาส่วนใหญ่มุ่งที่จะพัฒนาเมืองสงขลามากกว่าเมืองสตูล เนื่องจากรัฐต้องการสร้างเมืองสงขลาให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคและศูนย์กลางการบริหารราชการ รวมไปถึงเป็นเมืองที่เชื่อมโยงการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง จึงทำให้มีนโยบายการพัฒนาของรัฐลงมาสู่พื้นที่สงขลาอย่างต่อเนื่องและชัดเจน ขณะที่เมืองสตูลนั้นกลับพบว่า รัฐไม่ได้มีนโยบายพัฒนาเมืองที่มีความต่อเนื่องมากนัก นโยบายการพัฒนาเมืองสตูลจึงไม่มีความโดดเด่นและชัดเจนเท่าเมืองสงขลา เป็นเพียงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยทั่วไป ผลจากนโยบายการพัฒนาเมืองในช่วงที่ผ่านมาจึงส่งผลให้เมืองสตูลไม่ได้เติบโตเทียบเท่าเมืองสงขลา อีกทั้งยังส่งผลให้การพัฒนาเมืองสตูลด้อยกว่าเมืองสงขลา


การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาการให้บริการประชาชน:กรณีศึกษาระบบสารสนเทศที่ดินของกรมที่ดิน, รุ่งทิวา เงินปัน Jan 2017

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาการให้บริการประชาชน:กรณีศึกษาระบบสารสนเทศที่ดินของกรมที่ดิน, รุ่งทิวา เงินปัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ดินในการให้บริการประชาชนของเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยคือ เจ้าหน้าที่กรมที่ดินที่ใช้ระบบงานในสำนักงานที่ดิน ตามโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดิน ระยะที่ 1 จำนวน 73 แห่ง เครื่องมือวิจัยใช้เก็บข้อมูลคือแบบสอบถามที่ได้ประยุกต์มาจากทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model) จำนวน 306 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคระห์เส้นทางอิทธิพล โดยใช้โปรแกรม AMOS 24.0 ผลการวิจัยพบว่าความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยภายนอกต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของเจ้าหน้าที่กรมที่ดินมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 204.909 df= 189, P-value = .203, / =1.084, CFI = .997, GFI = .946, AGFI = .921, RMR=.011, RMSEA = .017) ตัวแบบมีความเที่ยงและความแม่นตรงโดยการวัดได้จากสถิติ CR และ AVE ซึ่งมีค่า 0.857 และ 0.750 ตามลำดับ ปัจจัยที่ส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบไปด้วยปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์การใช้ระบบสารสนเทศที่ดิน การรับรู้ความง่ายของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดิน ทัศนคติที่มีต่อการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดิน แรงจูงใจในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดิน และได้รับปัจจัยอิทธิพลทางอ้อมมาจากปัจจัยการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดินที่เหมาะสมกับงาน และความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์กับงานระบบสารสนเทศที่ดิน ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นนำไปสู่การใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดิน ซึ่งตัวแปรต่างๆอธิบายค่าความแปรปรวนของอิทธิพลต่อการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ได้ที่ร้อยละ 75.8


ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์, อรณิชา เสตะคุณ Jan 2017

ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์, อรณิชา เสตะคุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 2) เพื่อทราบระดับประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง 3) เพื่อสำรวจปัญหาอุปสรรคของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และ 4) เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน โดยศึกษาจากระบบการพัฒนาข้าราชการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (HRD e-Learning) ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้ที่เคยเข้ารับการอบรมในระบบดังกล่าว จำนวน 331 คน ซึ่งเป็นข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการทดสอบค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้เข้าอบรม (ด้านแรงจูงใจในการเรียนรู้ และด้านความสามารถในการเรียนรู้) มีผลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน ก.พ. 2) ปัจจัยด้านคุณลักษณะการออกแบบการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ ด้านการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ ด้านการออกแบบการนำเสนอเนื้อหา และด้านการร่วมมือและแบ่งปัน) มีผลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน ก.พ. 3) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงาน (ด้านโอกาสในการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้) มีผลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน ก.พ. 4) ประสิทธิผลของการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน ก.พ. ตามการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


การจัดการเมืองเศรษฐกิจชายแดน, อาภาพร น่วมถนอม Jan 2017

การจัดการเมืองเศรษฐกิจชายแดน, อาภาพร น่วมถนอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษาชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รวมถึงองค์กรภาคเอกชน และภาคประชาสังคม และประเมินความก้าวหน้าหรือความสำเร็จ และข้อจำกัดของการดำเนินนโยบาย โดยเลือกกรณีศึกษาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 2 จังหวัด ได้แก่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้วและจังหวัดตราด จากการศึกษานี้พบว่า นโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของไทยมีภาครัฐส่วนกลางเป็นผู้ริเริ่มนโยบาย และดำเนินนโยบายโดยใช้เงินงบประมาณและกลไกของรัฐส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นหลัก จากกรณีศึกษาทั้ง 2 แห่ง พบว่า การดำเนินนโยบายจากภาครัฐส่วนกลางในแต่ละพื้นที่มีประเด็นส่วนใหญ่คล้ายคลึงกันคือ การเร่งจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาโครงสร้างทางกายภาพอย่างเร่งด่วน แต่มีรายละเอียดในการปฏิบัติที่แตกต่างกัน ได้แก่ การกำหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ การจัดทำผังเมือง การให้เช่าพื้นที่ของกรมธนารักษ์ นอกจากนั้น ปัจจัยบริบทในพื้นที่ของเขตเศรษฐกิจทั้ง 2 แห่งมีลักษณะแตกต่างกัน ได้แก่ ลักษณะพื้นที่เชิงกายภาพ การมีส่วนร่วมของหน่วยงานในระดับพื้นที่ และหน่วยงานที่เข้ามาลงทุนในพื้นที่ ด้วยกลวิธีการดำเนินนโยบายของรัฐในพื้นที่ประกอบกับบริบทของพื้นที่ที่แตกต่างกันนี้ส่งผลให้เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราดมีความก้าวหน้าในด้านการลงทุนและการพัฒนาพื้นที่มากกว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้ว เนื่องจากการวางสถานะเมืองตราดมีความชัดเจน บริบทเชิงกายภาพของพื้นที่มีขอบเขตชัดเจน และการมีส่วนร่วมของทั้งหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง-ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดตราด แต่อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของไทยโดยรวมยังมีข้อจำกัดเนื่องจากการขับเคลื่อนหลักมาจากภาครัฐส่วนกลางที่ไม่สอดคล้องกับบริบทเชิงพื้นที่ หน่วยงานในพื้นที่ไม่มีอำนาจตัดสินใจในเรื่องต่างๆได้เอง และมุ่งเน้นแต่การพัฒนาโครงสร้างทางกายภาพเป็นหลัก ทำให้เกิดการพัฒนาที่ไม่สมบูรณ์เพราะยังขาดการพัฒนาด้านสังคม ทั้งนี้เนื่องมาจากขาดการวางแผนจากรัฐบาลระดับชาติที่ชัดเจน จึงทำให้เกิดหน่วยงานต่างทำภารกิจของตนเอง (Fragmented Management) และขาดหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการพื้นที่อย่างชัดเจนในระยะยาว


พลวัตกรอบความคิดและการเคลื่อนไหวของขบวนการแพทย์ชนบท : ความขัดแย้งและการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง, ณัฐรุจ วงศ์ทางสวัสดิ์ Jan 2017

พลวัตกรอบความคิดและการเคลื่อนไหวของขบวนการแพทย์ชนบท : ความขัดแย้งและการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง, ณัฐรุจ วงศ์ทางสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ศึกษาพลวัตการเคลื่อนไหวของขบวนการแพทย์ชนบท โดยพยายามตอบคำถามสำคัญเหตุใดขบวนการแพทย์ชนบทจึงประสบความสำเร็จในการผลักดันการปฏิรูประบบสาธารณสุข และขบวนการแพทย์ชนบทมีพลวัตทางกรอบความคิด และการเคลื่อนไหวอย่างไร โดยงานชิ้นนี้ศึกษาผ่านกรอบแนวคิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม 3 แนวคิดได้แก่ แนวคิดการระดมทรัพยากร แนวคิดกระบวนการสร้างกรอบความคิด และแนวคิดโครงสร้างโอกาสทางการเมือง การเก็บข้อมูลใช้วิธีการวิจัยจากเอกสาร ควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องจำนวน 33 คน ผลการวิเคราะห์พบว่าพลวัตกรอบความคิดและการเคลื่อนไหวของขบวนการแพทย์ชนบท สามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลาสำคัญ ช่วงแรก คือช่วงก่อตั้งชมรมแพทย์ชนบทในปี พ.ศ.2521 ถึงช่วงก่อนเหตุการณ์พฤษภาคม พ.ศ.2535 เป็นช่วงเวลาที่ขบวนการแพทย์ชนบทมีลักษณะเป็นขบวนการเคลื่อนไหวเชิงวิชาชีพ เคลื่อนไหวภายใต้โครงสร้างระบบราชการของกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้กรอบความคิดการพัฒนาและลดความเหลื่อมล้ำ ช่วงที่สอง คือช่วงหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ถึง ช่วงปี 2545 ขบวนการแพทย์ชนบทเปลี่ยนจากขบวนการเคลื่อนไหวเชิงวิชาชีพ มาเป็นหนึ่งในขบวนการเคลื่อนไหวปฏิรูประบบสาธารณสุขและพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ภายใต้กรอบความคิดการมีส่วนร่วม การกระจายทรัพยากรและอำนาจ โดยสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรองค์กรพัฒนาเอกชน และพันธมิตรชนชั้นนำทางการเมือง ผลักดันการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโอกาสทางการเมือง ผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 และรัฐธรรมนูญ 2540 ที่เปิดโอกาสในการเคลื่อนไหวผลักดันการก่อตั้งองค์กรตระกูล ส.จนเป็นผลสำเร็จ และ ช่วงเวลาที่สาม ได้แก่ ช่วงพ.ศ.2545 จนถึง 2560 ซึ่งเป็นช่วงของการปฏิบัติการของเครือข่ายองค์กรตระกูล ส. ในฐานะเครือข่ายองค์กรในการระดมทรัพยากร เคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูประบบสาธารณสุข ภายใต้กรอบความคิดสุขภาวะ การกระจายทรัพยากรและอำนาจ ทำให้ขบวนการแพทย์ชนบทสามารถระดมทรัพยากรจากภาครัฐจำนวนมาก เพื่อนำมาสนับสนุนการเคลื่อนไหวของขบวนการและเครือข่ายได้อย่างเป็นอิสระจากการฝ่ายราชการและฝ่ายการเมือง จนทำให้เกิดสภาวะการมีอำนาจอธิปไตยเชิงซ้อนขึ้นในโครงสร้างระบบสาธารณสุข ข้อเสนอหลักในงานชิ้นนี้ คือ การปรับตัวของกรอบความคิดและการเคลื่อนไหวของขบวนการแพทย์ชนบท ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างโอกาสทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ขบวนการแพทย์ชนบทประสบความสำเร็จในการเคลื่อนไหวผลักดันการปฏิรูประบบสาธารณสุข โดยมีลักษณะของการใช้การเข้าถึงชนชั้นนำทางการเมือง ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ก็ตาม ควบคู่ไปกับการเคลื่อนไหวร่วมกับขบวนการทางสังคมที่ประกอบไปด้วยเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนที่เคลื่อนไหวเพื่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง


ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย กับการดำเนินนโยบายต่างประเทศ พ.ศ. 2544-2548, กุลนันทน์ คันธิก Jan 2017

ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย กับการดำเนินนโยบายต่างประเทศ พ.ศ. 2544-2548, กุลนันทน์ คันธิก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทำความเข้าใจถึงการดำเนินนโยบายต่างประเทศไทยภายใต้แนวคิดการทูตเชิงรุกของรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2544-2548 จำเป็นที่จะต้องศึกษาบทบาทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น คือ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทโดยตรงในการนำนโยบายไปปฏิบัติ การศึกษาครั้งนี้ได้นำแนวคิดเรื่องการวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศ การศึกษานโยบายสาธารณะ และแนวคิดด้านจิตวิทยามาปรับใช้ในการศึกษาบทบาทของรัฐมนตรีผู้นี้ ผลการศึกษาพบว่า ดร. สุรเกียรติ์ มีบทบาทใน 3 มิติสำคัญคือ 1) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ผ่านการฟื้นฟูและกระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาคอื่นๆ 2) การดำเนินการทูตเชิงรุกด้วยการสร้างวาระและกรอบความร่วมมือใหม่ๆ ที่วางสถานะให้ประเทศไทยมีบทบาทนำ และ 3) การปรับกลไกของกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งในส่วนของการปรับวิสัยทัศน์ จุดยืนเชิงนโยบาย และกระบวนการทำงาน ให้มีบทบาทและการทำงานเชิงรุกเพื่อรองรับการดำเนินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาล การศึกษายังพบอีกด้วยว่าปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ ดร. สุรเกียรติ์ สามารถขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การต่างประเทศเชิงรุกได้นั้น เป็นผลจากการจัดความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการประจำ ที่ฝ่ายการเมืองมีบทบาทนำในกระบวนการกำหนดนโยบาย การได้รับความไว้วางใจจากนายกรัฐมนตรี และที่สำคัญก็คือคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ ภูมิหลัง ความตื่นตัวและประสบการณ์ด้านการต่างประเทศ รูปแบบและวิธีการทำงาน รวมถึงโลกทัศน์และวิสัยทัศน์ที่ส่งเสริมต่อการทำงานด้านการต่างประเทศ


การรับรู้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในรัฐสวัสดิการของพลเมืองเดนมาร์ก, ติรัส ตฤณเตชะ Jan 2017

การรับรู้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในรัฐสวัสดิการของพลเมืองเดนมาร์ก, ติรัส ตฤณเตชะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของพลเมืองเดนมาร์กกับกระบวนการกำหนดนโยบายรัฐสวัสดิการของเดนมาร์ก ซึ่งทำการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากพลเมืองของเดนมาร์กในเมืองโคเปนฮาเก้นและเมืองฮอร์เซ่นส์ ใน 4 กลุ่มอาชีพ อันได้แก่ ข้าราชการ เกษตรกร ผู้ประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรม และนักศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 48 คน ผลการวิจัยพบว่าลักษณะอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในรัฐสวัสดิการของพลเมืองเดนมาร์กที่สำคัญประกอบไปด้วย หนึ่ง ความรู้สึกร่วมของการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สอง การให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมกันในสังคม และสาม ลักษณะดุลยภาพของวัฒนธรรมแบบปัจเจกนิยมและกลุ่มนิยม ซึ่งการที่พลเมืองเดนมาร์กรับรู้ถึงลักษณะอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมดังกล่างของตน จึงมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งต่อกระบวนกำหนดนโยบายรัฐสวัสดิการซึ่งพลเมืองเดนมาร์กได้เข้าไปมีส่วนร่วม ทำให้คุณค่าเชิงซ้อนและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สะท้อนออกมาจากเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายรัฐสวัสดิการมีความสอดคล้องกับลักษณะอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของพลเมืองเดนมาร์กเป็นอย่างยิ่ง


การลงทุนต่างประเทศจากประเทศกำลังพัฒนาในรัฐสังคมนิยม : ศึกษากรณีการลงทุนของบรรษัทข้ามชาติไทยในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม, วิทวัส บูรณะ Jan 2017

การลงทุนต่างประเทศจากประเทศกำลังพัฒนาในรัฐสังคมนิยม : ศึกษากรณีการลงทุนของบรรษัทข้ามชาติไทยในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม, วิทวัส บูรณะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจที่มีต่อประเทศสังคมนิยม โดยเป็นการศึกษาบรรษัทข้ามชาติจากประเทศกำลังพัฒนาที่ไปลงทุนทางตรง (Foreign Direct Investment, FDI) ในรัฐสังคมนิยมโดยใช้กรณีศึกษาของบรรษัทข้ามชาติจากประเทศไทย ได้แก่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ปูนซิเมนต์ไทย (SCG) และกลุ่มไทยซัมมิท (Thai Summit) ที่ไปลงทุนในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม วัตถุประสงค์ต้องการทราบว่าโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจที่มีตัวแสดงสำคัญคือบรรษัทข้ามชาติมีอิทธิพลหรือไม่อย่างไรในเวียดนาม และ ต้องการทราบว่าบรรษัทข้ามชาติไทยจะมีอิทธิพลในฐานะตัวแสดงทางการเมืองระหว่างประเทศในกรณีการลงทุนในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามหรือไม่ อย่างไร การศึกษานี้ใช้วิธีการในเชิงคุณภาพโดยการศึกษาสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก 49 ท่าน ประกอบกับการศึกษาตำรา บทความ ตลอดจนสื่อสารมวลชนต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า เวียดนามไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจได้ แต่มีปัจจัยสำคัญคือ การเป็นรัฐเผด็จการคอมมิวนิสต์ การปลูกฝังค่านิยมตามแนวทางขงจี๊อ และค่านิยมรักชาติ เป็นเครื่องมือตลอดจนเป็นภูมิคุ้มกันสำคัญ ในการสนับสนุนให้เวียดนามเป็นตัวแสดงที่มียุทธศาสตร์ และสามารถอยู่ท่ามกลางโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจได้ ในมิติของการเป็นตัวแสดงทางการเมืองของบรรษัทข้ามชาติไทย ผู้วิจัยพบว่าในระยะเริ่มแรกของการเข้าไปลงทุน ซีพีมีฐานะเป็นตัวแสดงทางการเมืองระหว่างประเทศเนื่องจากการครอบครองเทคโนโลยีทางการเกษตร และจะมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเกษตรที่เวียดนามเผชิญอยู่ เอสซีจีไม่มีฐานะในการเป็นตัวแสดงทางการเมืองระหว่างประเทศจากปรัชญาการทำธุรกิจของบริษัท ขณะที่ไทยซัมมิทไม่มีบทบาทในฐานะตัวแสดงการเมืองระหว่างประเทศโดยการลงทุนของไทยซัมมิทนั้นได้ประโยชน์ในฐานะที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตยานยนต์ที่ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีอยู่แล้ว การดำเนินธุรกิจในระยะต่อมาพบว่าซีพีไม่มีฐานะเป็นตัวแสดงทางการเมืองระหว่างประเทศเนื่องจากปัญหาด้านการเกษตรในเวียดนามได้รับการแก้ไข เอสซีจีในเวียดนามไม่มีฐานะเป็นตัวแสดงทางการเมืองระหว่างประเทศด้วยตัวเอง แต่สามารถใช้ความเข้มแข็งในประเทศผลักดันนโยบายผ่านตัวแสดงทางเมืองของไทยได้ ในขณะที่การลงทุนของไทยซัมมิทยังคงเป็นไปในลักษณะเช่นเดิม


ทายาทความรุนแรง : แนวคิดการประกอบสร้างทางสังคมต่อการจัดการประสบการณ์ความรุนแรง, นญา พราหมหันต์ Jan 2017

ทายาทความรุนแรง : แนวคิดการประกอบสร้างทางสังคมต่อการจัดการประสบการณ์ความรุนแรง, นญา พราหมหันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องทายาทความรุนแรง: แนวคิดการประกอบสร้างทางสังคมต่อการจัดการประสบการณ์ความรุนแรง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) เป็นเครื่องมือหลักในการรวบรวมข้อมูล ศึกษาวิจัยผ่านเรื่องเล่า (narrative) ของผู้หญิงอายุระหว่าง 20 - 60 ปี จำนวน 5 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มาจากพื้นฐานครอบครัวตั้งต้นที่รุนแรงหรือมีประสบการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นช่วงก่อนอายุ 20 ปีบริบูรณ์ จากการศึกษาวิจัย มีข้อค้นพบดังต่อไปนี้ 1) กรอบแนวคิดทายาทความรุนแรง อธิบายปัจเจกบุคคลที่มีประสบการณ์ความรุนแรงในครอบครัวซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับ "พิษ" "ความรุนแรง" หรือ "ผลกระทบในเชิงลบ"อันเนื่องมาจากประสบการณ์ดังกล่าว ซึ่งอาจสะท้อนผ่านทัศนคติที่รุนแรง อารมณ์ที่รุนแรง จนอาจนำไปสู่พฤติกรรมที่รุนแรงต่าง ๆ ต่อไปได้ 2) แนวคิดการประกอบสร้างทางสังคมเป็นการอธิบายกลไกทางสังคม 4 ระดับ ประกอบด้วย ความรุนแรงที่แฝงอยู่ในระดับความคิดความเชื่อหรือวัฒนธรรมที่รุนแรง (Toxic Root) สภาพแวดล้อมทางสังคมที่รุนแรง (Toxic Environment) ความสัมพันธ์ที่รุนแรง (Toxic Relationships) และปัจเจกบุคคลในฐานะทายาทความรุนแรง (Toxic Fruits) ซึ่งทั้งหมดถือเป็นปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้ความรุนแรงในฐานะโครงสร้างทางสังคมสามารถถูกสืบทอดและถ่ายทอดมาอย่างยาวนานรุ่นแล้วรุ่นเล่า 3) ทายาทความรุนแรงสามารถเลือกจัดการกับประสบการณ์ความรุนแรงได้ 2 แนวทาง ได้แก่ การจัดการด้วยวิถีทางที่รุนแรงและการจัดการด้วยวิถีทางที่ไม่รุนแรง (4) ปัจเจกบุคคลที่เติบโตมาจากพื้นฐานครอบครัวตั้งต้นที่รุนแรงมีแนวโน้มที่จะสืบทอดหรือผลิตซ้ำความรุนแรงต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม บุคคลนั้นก็สามารถเสริมสร้างพลังแห่งตนและเรียนรู้ที่จะจัดการประสบการณ์ความรุนแรงเหล่านั้นด้วยวิถีทางที่ไม่รุนแรงได้เช่นกัน 5) ในการยุติวงจรความรุนแรงในครอบครัว จำเป็นต้องอาศัย 2 พลังสำคัญ ทั้งพลังภายในของปัจเจกบุคคลเองและพลังภายนอกจากสังคมทุกภาคส่วนที่จะเข้ามามีส่วนในการแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวร่วมกัน เพราะฉะนั้นการเสริมสร้างพลังแห่งตนจึงต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการเสริมสร้างพลังทางสังคมเพื่อยุติโครงสร้างความรุนแรง โดยสรุป เนื่องจากมนุษย์ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ผลผลิตจากการประกอบสร้างทางสังคมเท่านั้น แต่มนุษย์เสมือนผลผลิตทางสังคมซึ่งมาพร้อมกับเมล็ดพันธุ์ที่ทรงพลัง ซึ่งมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงตนเองและมีความสามารถในการสร้างสรรค์สังคมไปในวิถีทางที่ดีขึ้นต่อไปได้


ร่มเกล้าชาวจุฬาฯ : "พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" (ตอนที่3), ชัชพล ไชยพร Sep 2016

ร่มเกล้าชาวจุฬาฯ : "พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" (ตอนที่3), ชัชพล ไชยพร

Jamjuree Journal

No abstract provided.


บทบรรณาธิการ, สุกัญญา ค้ำชู Sep 2016

บทบรรณาธิการ, สุกัญญา ค้ำชู

Jamjuree Journal

No abstract provided.


บันทึกจดหมายเหตุ : รวมพลังบริหารบ้านเมือง Sep 2016

บันทึกจดหมายเหตุ : รวมพลังบริหารบ้านเมือง

Jamjuree Journal

No abstract provided.


กิจกรรมจามจุรี Sep 2016

กิจกรรมจามจุรี

Jamjuree Journal

No abstract provided.


ใจจุฬาฯ : 70 ปี กษัตริย์เกษตรในหลวงรักเรา Sep 2016

ใจจุฬาฯ : 70 ปี กษัตริย์เกษตรในหลวงรักเรา

Jamjuree Journal

No abstract provided.


จามจุรีรำลึก : หนึ่งร้อยปีพระราชพิธีวางศิลาพระฤกษ์ ตึกบันชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือน, พีรศรี โพวาทอง Sep 2016

จามจุรีรำลึก : หนึ่งร้อยปีพระราชพิธีวางศิลาพระฤกษ์ ตึกบันชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือน, พีรศรี โพวาทอง

Jamjuree Journal

No abstract provided.


เรื่องเล่าชาวจุฬาฯ : ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Sep 2016

เรื่องเล่าชาวจุฬาฯ : ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Jamjuree Journal

No abstract provided.


เที่ยวจุฬาฯ : ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Smart Chula Engineering Library, ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย, สุพรรณี ยงกิจเจริญลาภ Sep 2016

เที่ยวจุฬาฯ : ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Smart Chula Engineering Library, ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย, สุพรรณี ยงกิจเจริญลาภ

Jamjuree Journal

No abstract provided.


บันทึกจดหมายเหตุ : พระร่วงโรจนฤทธิ์ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร, พงศกร ยิ้มสวัสดิ์ Sep 2016

บันทึกจดหมายเหตุ : พระร่วงโรจนฤทธิ์ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร, พงศกร ยิ้มสวัสดิ์

Jamjuree Journal

No abstract provided.


จุฬาฯ จาฤก : พระบรมราชประทรรศนีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, ปิยะนุช นาคคง Sep 2016

จุฬาฯ จาฤก : พระบรมราชประทรรศนีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, ปิยะนุช นาคคง

Jamjuree Journal

No abstract provided.


Loss Of Value In House Properties Due To Air Pollution In Map Ta Phut Industrial Area Of Thailand, Nararuk Boonyanam Sep 2016

Loss Of Value In House Properties Due To Air Pollution In Map Ta Phut Industrial Area Of Thailand, Nararuk Boonyanam

Applied Environmental Research

Air pollution in the Map Ta Phut Industrial Estate in Thailand, has caused increasing risk of death, injury and health problems for local residents. Existing control measures are inef-fective due to weak law enforcement. Although the problem has drawn a lot of attention, the monetary value of the impacts of air pollution in Map Ta Phut is not known. The objective of this paper was to estimate the economic cost of air pollution damage in Map Ta Phut using theHedonic Pricing Method, with 192 house samples. The results showed that the marginal willing-ness to pay (MWTP) for a one unit …


Application Of Life Cycle Assessment Method For Environmental Impact Assessment Of Fired Brick Production Plant In Thailand, Rutjaya P. Na Talang, Sanya Sirivithayapakorn Sep 2016

Application Of Life Cycle Assessment Method For Environmental Impact Assessment Of Fired Brick Production Plant In Thailand, Rutjaya P. Na Talang, Sanya Sirivithayapakorn

Applied Environmental Research

In many Asian countries, fired bricksare producedby burning raw bricks in a rudimen-tary clamp kiln without pollution control mechanisms, a practice which contributes to several kinds of environmental impact. This research investigated the inputs and outputs associated with production of fired bricks using the rice husk-fuelled clamp kiln. Data collected includedraw material use, energy, products, emissions and kiln temperatures. To quantify environmental impacts, the consequential-focused life cycle assessment (LCA) approach was adopted. The impactswere assessed in terms of fuel substitution as the acquisition of another fuelwas re-quired to substitute for electricity. The findings indicated that the clamp kiln technology pro-duced …


Enhanced Biodegradation Of Spent Engine Oil Contaminated Soil Using Organic Wastes, Tolulope M. Obuotor, Abdulwasiu O. Sakariyau, Babatunde S. Bada Sep 2016

Enhanced Biodegradation Of Spent Engine Oil Contaminated Soil Using Organic Wastes, Tolulope M. Obuotor, Abdulwasiu O. Sakariyau, Babatunde S. Bada

Applied Environmental Research

Physical and chemical methods of remediating contaminated soils are less environment-friendly compared to the biodegradation method. This study investigated the ability of selected organic wastes to enhance biodegradation of Spent Engine Oil (SEO) contaminated soil. One kilogram of uncontaminated soil was thoroughly mixed with 10% (w/v) SEO in seven treatments with two replicates. Spent Fruit Residues (SFR), Cassava Peel (CP) and a combination of Bean Husk and Chromolaena odorata(BHC) were added at 10% and20% (w/w), with an untreated control. Total Heterotrophic Bacterial Count (THBC), Total Fungal Count (TFC), Total Hydro-carbon Degrading Bacterial Count (THDBC) and Total Hydrocarbon Degrading Fungal Count …


Removal Of Copper (Ii) From Aqueous Solutions Using Cuttlebone As Bio-Adsorbent, Pathompong Vibhatabandhu, Sarawut Srithongouthai Sep 2016

Removal Of Copper (Ii) From Aqueous Solutions Using Cuttlebone As Bio-Adsorbent, Pathompong Vibhatabandhu, Sarawut Srithongouthai

Applied Environmental Research

Biosorptionis an effective process for removal and recovery of heavy metal ions from aqueous solutions. In the present study, batch adsorption experiments were carried out for the removal of copper (Cu II) from aqueous solutions using cuttlebone powder (<100 µm)as a bio-adsorbent. The effects of initial pH, adsorbent dosage, initial concentration, and contact time on adsorption efficiency and capacity were studied to evaluate the optimum conditions for copper removal.The results found optimal conditions at initial pH of 5.0, 10 g L-1cuttlebone, 500 mg L-1initial concentration of Cu II in solution, and 150 min of equilibrium time.The Langmuir isotherm and pseudo-second order kinetic model were fitted to the experimental adsorption data. The maxi-mum adsorption capacity calculated from theLangmuir isotherm was 54.05 mg g-1. This result shows that cuttlebone is an effective bio-adsorbent, constituting a promising, efficient, low-cost, and eco-friendly technology bio-sorbent for reducing copper pollution during wastewater treatment.


Isotope Evidence Of Rainfall And Groundwater For Tracing Recharge Areas In Kaeng Khoi District, Saraburi Province, Thailand, Wanlapa Wisittammasri, Srilert Chotpantarat Sep 2016

Isotope Evidence Of Rainfall And Groundwater For Tracing Recharge Areas In Kaeng Khoi District, Saraburi Province, Thailand, Wanlapa Wisittammasri, Srilert Chotpantarat

Applied Environmental Research

This study was conducted in the districts of Kaeng Khoi and Muang, located in the center of Saraburiprovince, Central Thailand. The purpose was to use a stable isotope technique to iden-tify recharge areas where rainfall infiltrates. Analysis of stable isotopes in groundwater, surface water and rainwater were conducted in September 2014. Isotope compositions of groundwater were found to have dD values that ranged from -37.55‰ to -48.04‰ while d18O values ranged from -5.30‰ to -7.34‰. The Local Meteoric Water Line (LMWL) in the study area was indis-tinguishablefrom the Bangkok Local Meteoric Water Line (BKK LMWL), and the stable iso-tope values …


The Establishment Of A Community-Based Mangrove Forest Management Plan: Lessons Learned From Mangrove Forest Conservation In The Nernkhor Sub-District, Rayong Province, Thailand, Piyapong Janmaimool Sep 2016

The Establishment Of A Community-Based Mangrove Forest Management Plan: Lessons Learned From Mangrove Forest Conservation In The Nernkhor Sub-District, Rayong Province, Thailand, Piyapong Janmaimool

Applied Environmental Research

This study aims to investigate key elements of community-based ecological management (CBEM) in a rural area with plentiful mangrove resources. The investigated elements of CBEM include stakeholders' benefits from sharing ecosystems services provided by themangrove forests, stakeholders' roles in ecological conservation, and their participation in decision-making processes at each stage of the ecological management process. Additionally, the study intends to reveal factors that determine the success of CBEMcreation processes, including agenda setting, matching, restructuring, clarifying, and the routinizing stage. Semi-structured interviews and group discussions were conducted with relevant stakeholders, such as community leaders, typical villagers, fishermen, and local businessmen residing …


Application Of Wood Vinegar For Fungal Disease Controls In Paddy Rice, Wilawan Chuaboon, Nattapone Ponghirantanachoke, Dusit Athinuwat Sep 2016

Application Of Wood Vinegar For Fungal Disease Controls In Paddy Rice, Wilawan Chuaboon, Nattapone Ponghirantanachoke, Dusit Athinuwat

Applied Environmental Research

A survey of an outbreak of fungal diseases of rice variety Phitsanulok2 (PLS91014-16-1-5-1) was conducted in Thailand during June 2014 to January 2015 using aW-random sampling pat-tern. The study revealed the incidence of several diseases including brown spot (Bipolaris oryzae), narrow brown leaf streak (Cercospora oryzae), and dirty panicle (Alternaria padwickii, C. oryzae, Curvularia lunata, Fusarium semitectum, and B. oryzae). This study evaluated the ef-ficacy of wood vinegar for control of these fungal diseases. A compleel randomized design was used, using the above variety in 3 replications. In the laboratory we found wood vinegar to be effective in inhibiting growth …


Biosand Filter (Bsf): Types And Mechanisms Behind Its Efficiency, Dao Janjaroen Sep 2016

Biosand Filter (Bsf): Types And Mechanisms Behind Its Efficiency, Dao Janjaroen

Applied Environmental Research

More than 760 million people around the world lack access to clean drinking water. A biosand filter was developed through the collaboration of research groups in developing and developed countries. This type of filter is considered a point-of-use filtration system that can be easily in-stalled at home, and has shown promising results. Thousands of these filters have been distributed and are currently in use in developing countries around the world, helping to alleviate poor water quality conditions. Although these filters have been proven to improve water quality in terms of biological contaminants, there are still concerns over their ability to …


ร่มเกล้าชาวจุฬาฯ : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการป้องกันประเทศ May 2016

ร่มเกล้าชาวจุฬาฯ : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการป้องกันประเทศ

Jamjuree Journal

No abstract provided.