Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Discipline
Institution
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type
File Type

Articles 30991 - 31020 of 713523

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดตราด ผ่านกระบวนการและบทบาทของศูนย์ดำรงธรรม โดยอธิบายในระดับอำเภอและจังหวัด (กรณีศึกษา จังหวัดตราด), อนุพัฒน์ วัฒนา Jan 2023

ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดตราด ผ่านกระบวนการและบทบาทของศูนย์ดำรงธรรม โดยอธิบายในระดับอำเภอและจังหวัด (กรณีศึกษา จังหวัดตราด), อนุพัฒน์ วัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง "ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดตราด ผ่านกระบวนการและบทบาทของศูนย์ดำรงธรรม โดยอธิบายในระดับอำเภอและจังหวัด (กรณีศึกษาจังหวัดตราด) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ผ่านกระบวนการและบบาทของศูนย์ดำรงธรรม โดยได้นำแนวคิดการบริหารจัดารภาครัฐแนวใหม่ (NPM) แนวคิดหลัก Good Governace ทฤษฎีการนำนโยบายไปปฏิบัติ แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความหมายและกระบวนการนโยบายสาธารณะ แนวคิดการบริหารเวลาและการประสานงาน ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาในพื้นที่ผ่านกระบวนการของศูนย์ดำรงธรรม และปัจจัยที่ทำให้การนำนโยบายไปปฏิบัติแล้วประสบความสำเร็จและล้มเหลว ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นการเก็บข้อมูลแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และการเก็บข้อมูลจากการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ข้อมูลและ Infographic เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดและครอบคลุม โดยมุ่งพรรณนาเชิงวิเคราะห์ (Analytical Description) ที่มา ความสำคัญและสาระสำคัญของการจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรม และสถิติการรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ของศูนย์ดำรงธรรมของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดตราด ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอบ่อไร่ ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเขาสมิง และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเกาะช้าง โดยมีการเปรียบเทียบสถิติประเภทเรื่องร้องเรียนที่คงค้างและไม่สามารถแก้ไขได้ และประเภทเรื่องร้องเรียนที่สามารถแก้ไขได้ในแต่ละอำเภอและภาพรวมทั้งจังหวัด และนำมาวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดตราดของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ และวิเคราะห์ปัจจัยความแตกต่างในเรื่องพื้นที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและอำเภอ ผลการศึกษา พบว่า ผู้วิจัยได้สรุปผลการศึกษาออกมาเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหาจากแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (NPM) และ แนวคิดหลัก Good governance เพื่อแสดงให้เห็นว่าปัจจัยใดที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหาผ่านบทบาทของศูนย์ดำรงธรรม เป็นไปตามแนวคิดดังกล่าวหรือไม่ 2) การนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหาผ่านกระบวนการและบทบาทของศูนย์ดำรงธรรม ว่ามีความประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลว ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหาคือ ข้อกฎหมาย คำสั่ง หลักเกณฑ์ ระเบียบ และนโยบาย, อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานและประสิทธิภาพของการบูรณาการของหน่วยงานในพื้นที่ และ ทักษะและประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติงานหรือบุคลากร 3) ประสิทธิภาพของศูนย์ดำรงธรรมในการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นส่วนสรุปของการวิจัยทั้งหมดนี้เพื่อนำมาสู่การประเมิน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลนโยบายตลอดการมีอยู่ของศูนย์ดำรงธรรมมาตลอด 9 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 โดยยกกรณีศึกษาจังหวัดตราด และ อำเภอในจังหวัดตราดที่แตกต่างกันในเชิงพื้นที่ ทั้งบริบทสภาพแวดล้อม สังคม และหน่วยงานของรัฐในพื้นที่มา 3 อำเภอ คือ อำเภอบ่อไร่ อำเภอเขาสมิง และอำเภอเกาะช้าง และจากผลการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยอภิปรายมานั้นแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ในเชิงกระบวนการการทำงาน การบริหารราชการในเชิงพื้นที่ให้เกิดการบูรณาการและการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นเพียงเท่านั้น ยังไม่สามารถตอบสนองต่อประชาชนได้มากเพียงพอประกอบกับในบางเรื่องร้องเรียนที่มีความสลับซับซ้อน ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของศูนย์ดำรงธรรมก็ไม่สามารถบรรลุในผลลสัมฤทธิ์อย่างครบถ้วนเท่าที่ควร …


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, อภิชญา กาญจนกิจสกุล Jan 2023

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, อภิชญา กาญจนกิจสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง "ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง" มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยเป็นการศึกษาเชิงปริมาณ เพื่อนำผลการวิเคราะห์จากปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง มาเป็นข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแนวทางการรักษาบุคลากร ทั้งในด้านค่าตอบแทน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านบทบาทของหัวหน้างาน ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา ด้านเส้นทางรวมถึงด้านความก้าวหน้าในสายอาชีพ ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 201 คน และใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายข้อมูลเชิงประชากรศาสตร์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน เพื่อทดสอบสมมติฐานของงานวิจัย ได้แก่ T-Test F-Test และสถิติการถดถอยเชิงพหุ เพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพ อายุ วุฒิการศึกษา รายได้รวมต่อเดือน และอายุงาน ที่แตกต่างกันส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยความพึงพอใจที่มีผลต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้แก่ ด้านความก้าวหน้า และด้านค่าตอบแทนซึ่งมีอิทธิพลในทิศทางบวกต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยความผูกพันที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้แก่ ด้านความภาคภูมิใจ และด้านผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอิทธิพลในทิศทางบวกต่อการคงอยู่ของพนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ศาลเตี้ยออนไลน์ : กรณีศึกษาสถานการณ์ ปฏิสัมพันธ์ และผลกระทบที่เกี่ยวกับคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงแต่ถูกสืบสวนและตัดสินในโลกออนไลน์, เขมสรณ์ หนูขาว Jan 2023

ศาลเตี้ยออนไลน์ : กรณีศึกษาสถานการณ์ ปฏิสัมพันธ์ และผลกระทบที่เกี่ยวกับคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงแต่ถูกสืบสวนและตัดสินในโลกออนไลน์, เขมสรณ์ หนูขาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ศาลเตี้ยออนไลน์ : กรณีศึกษาสถานการณ์ ปฏิสัมพันธ์ และผลกระทบที่เกี่ยวกับคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงแต่ถูกสืบสวนและตัดสินในโลกออนไลน์” สามารถสรุปผลการศึกษาโดยอาศัยข้อมูลจากการวิจัยเชิงคุณภาพได้ว่า ศาลเตี้ยออนไลน์คือพื้นที่ทางอารมณ์ที่แสดงบทบาทคู่ขนานไปกับกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก ในรูปแบบของพิธีกรรมที่ทุกคนสามารถริเริ่มและมีกลุ่มคนเข้าร่วมในภายหลัง กลายเป็นการกระทำซ้ำ ๆ ที่มีการเตรียมการ การปฏิบัติการ และการลงโทษ โดยเป็นการใช้อำนาจผ่านสื่อออนไลน์ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งและนำมาซึ่งความรุนแรง ประกอบด้วย 4 ตัวแสดงที่มีบทบาทแตกต่างกัน ได้แก่ 1) ผู้แสดงส่วนที่ 1 หมายถึง สื่อออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อสังคม 2) ผู้แสดงส่วนที่ 2 หมายถึง กลุ่มคนที่มาร่วมแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์ 3) ใช้การมองเห็นและการรับรู้เป็นอาวุธจนเกิดการแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง และ 4) เหยื่อหรือผู้ได้รับผลกระทบ ประกอบด้วยสถานการณ์ 5 รูปแบบ เรียงลำดับจากความรุนแรงน้อยไปหามาก ตั้งแต่การให้ข้อมูล การตีแผ่ การปักธง การสืบสวน และการไล่ล่า ซึ่งเป็นกระบวนการของสถานการณ์ที่ก่อรูปทรงจากพื้นที่ทางอารมณ์ จนกลายเป็นพลังงานทางอารมณ์ และแสดงออกผ่านปฏิสัมพันธ์แบบมีบทบาทแลกเปลี่ยน ที่อาจนำไปสู่ผลกระทบตามมาหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านผู้กระทำ ด้านเหยื่อหรือผู้ได้รับผลกระทบ ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านกระบวนการยุติธรรม และด้านสังคม อย่างไรก็ดี ศาลเตี้ยออนไลน์สามารถพิจารณาได้ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ด้านหนึ่งอาจก่อให้เกิดความอยุติธรรม กลายเป็นกระบวนการยุติธรรมไวรัลหรือกระบวนยุติธรรมแบบปากต่อปากในโลกออนไลน์ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงที่จะเกิดการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมและการลงโทษที่ไม่ได้สัดส่วน อีกด้านหนึ่งเปรียบได้ดั่งรูปแบบคู่ขนานของกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก ที่ช่วยถ่วงดุลกระบวนการยุติธรรมผ่านเลนส์เทคโนโลยี จึงจำเป็นจะต้องสนับสนุนด้านบวกและควบคุมด้านลบ เพื่อนำศาลเตี้ยออนไลน์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง


แนวทางการป้องกันอาชญากรรมบนเทคโนโลยีการเงินแบบกระจายศูนย์ (Defi) : กรณีศึกษาปรากฏการณ์ล้มทั้งยืน (Rug Pull), กุลนันทน์ ศรีเจริญ Jan 2023

แนวทางการป้องกันอาชญากรรมบนเทคโนโลยีการเงินแบบกระจายศูนย์ (Defi) : กรณีศึกษาปรากฏการณ์ล้มทั้งยืน (Rug Pull), กุลนันทน์ ศรีเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา รูปแบบ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดปรากฏการณ์ล้มทั้งยืน (Rug Pull) ซึ่งเป็นอาชญากรรมบนเทคโนโลยีการเงินแบบกระจายศูนย์ (DeFi) เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่สังคมและนำไปสู่การแสวงหาแนวทางป้องกันที่เหมาะสม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการบูรณาการการวิจัยเชิงเอกสาร การสังเกตแบบชาติพันธุ์วรรณาดิจิทัลและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญของหน่วยงานรัฐ หน่วยธุรกิจและตัวแทนนักลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล จำนวน 16 ราย ผลการศึกษา พบว่า ปรากฎการณ์ล้มทั้งยืน (Rug Pull) เป็นอาชญากรรมไซเบอร์ที่อาศัยความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของ DeFi เจตนาหลอกลวงให้นักลงทุนนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาฝากในแพลตฟอร์ม จากนั้นเกิดสถานการณ์ทำให้นักลงทุนสูญเสียเงินลงทุนบางส่วน หรือทั้งหมด หรืออาจจะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่กล่าวอ้าง ด้วยสภาพปัญหา 4 ด้าน คือ 1) ด้านโลกาภิวัตน์ ผู้ใช้งานสามารถทำธุรกรรมโดยไม่ระบุตัวตนของคู่สัญญาด้วยความรวดเร็วผ่านระบบนิเวศ DeFi การระบุพื้นที่ หรือเขตอำนาจศาลในการลงโทษผู้กระทำผิดจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก 2) ด้านสังคมความเสี่ยง เกิดขึ้นการจากนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อน โดยมีสัญญาอัจฉริยะเป็นกลไกหลักในการควบคุมเงื่อนไขต่าง ๆ 3) ด้านกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ไม่มีตัวกลางในการกำกับดูแล ทำให้ขาดการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงจากภาครัฐ เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นจากการฉ้อโกง หรือให้บริการที่ไม่เป็นธรรม จึงไม่ได้รับการคุ้มครอง และ 4) ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งขาดกระบวนการส่งต่อ หรือรับข้อมูลสำคัญที่จะนำมาใช้ในการติดตามตรวจสอบ สืบหาตัวผู้กระทำผิด ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ล้มทั้งยืนสามารถเกิดขึ้นได้ 3 รูปแบบ คือ 1) การขโมยสภาพคล่อง 2) การจำกัดการซื้อขาย และ การลากและทุบ โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดปรากฎการณ์ล้มทั้งยืน 3 ปัจจัยหลัก คือ 1) เกิดจากผู้ที่มีความสามารถในการก่ออาชญากรรม 2) เกิดจากนักลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล และ 3) เกิดจากขาดผู้พิทักษ์ที่มีความสามารถ ทั้งนี้ แนวทางการป้องกัน ได้แก่ การพัฒนาการกำกับดูแลและการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลบน DeFi ที่เป็นสากลและชัดเจน การสร้างเครือข่ายเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลบน DeFi การส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยและพัฒนาเครื่องมือ หรือกลไกการป้องกันฯ ให้มีประสิทธิภาพ การออกมาตรการกำกับดูแลผู้ให้บริการตรวจสอบสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract Security Audit) สำหรับแพลตฟอร์ม DeFi และการสร้างกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและผู้ให้บริการสินทรัพย์เสมือน (VASP) เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมไซเบอร์รูปแบบใหม่ ซึ่งจะสามารถลดช่องโอกาสของการเกิดปรากฎการณ์ล้มทั้งยืน (Rug …


พลวัต เครือข่าย และกรอบโครงความคิดของขบวนการต่อต้านทักษิณในจังหวัดเชียงใหม่, จุฑามาศ สังข์เงิน Jan 2023

พลวัต เครือข่าย และกรอบโครงความคิดของขบวนการต่อต้านทักษิณในจังหวัดเชียงใหม่, จุฑามาศ สังข์เงิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ศึกษาเรื่องขบวนการต่อต้านทักษิณในจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างปีพ.ศ.2548 – พ.ศ.2557 ศึกษาผ่านกรอบแนวคิดการระดมทรัพยากร แนวคิดการสร้างกรอบโครงความคิด และแนวคิดการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม ในการตอบวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1. เพื่อศึกษาการก่อตัว พัฒนาการ และพลวัตของขบวนการต่อต้านทักษิณในจังหวัดเชียงใหม่ และ 2. เพื่อศึกษากรอบโครงความคิดของขบวนการต่อต้านทักษิณในจังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ 2 ข้อดังนี้ วัตถุประสงค์ข้อที่ 1. ขบวนการต่อต้านทักษิณเชียงใหม่ก่อตัวขึ้นจากความร่วมมือระหว่างเครือข่ายภาคประชาสังคมนักพัฒนาเอกชน คนเดือนตุลา ชนชั้นกลาง นักวิชาการ นักศึกษา และนักการเมืองท้องถิ่นที่เคยเป็นขบวนภาคประชาชนที่สนับสนุนขบวนการประชาธิปไตย ในช่วงการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร ฯ พวกเขารวมกลุ่มกันภายใต้การนำของกลุ่มนักพัฒนาเอกชนและเคลื่อนไหวร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ จนกระทั่งเกิดความขัดแย้งทางความคิดภายในขบวนการจนเครือข่ายนักพัฒนาเอกชน เครือข่ายนักศึกษา และเครือข่ายนักการเมืองล่าถอยออกจากขบวนการ ทำให้ขบวนการอยู่ภายใต้การนำของเครือข่ายชนชั้นกลางและเสื่อมพลังลงจนยุติการเคลื่อนไหว ขบวนการต่อต้านทักษิณจังหวัดเชียงใหม่กลับมาก่อตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงกลุ่มกปปส. ภายใต้การนำของเครือข่ายนักการเมืองท้องถิ่นโดยได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายชนชั้นกลางเชียงใหม่ ทำให้ขบวนการกลับมาเคลื่อนไหวและได้รับการสนับสนุนขบวนการอย่างสูง แต่เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างเครือข่ายแนวร่วมทั้งสองทำให้เครือข่ายชนชั้นกลางล่าถอยออกจากขบวนการในที่สุด วัตถุประสงค์ข้อที่ 2. ขบวนการต่อต้านทักษิณจังหวัดเชียงใหม่มีกรอบโครงความคิดที่แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ ความคิดทางการเมืองแบบเสรีนิยมและความคิดทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยม ในการก่อตัวของขบวนการช่วงกลุ่มพันธมิตร ฯ พวกเขามีความคิดทางการเมืองแบบเสรีนิยมทำให้ขบวนการมีความหลากหลายทางความคิดและเปิดกว้างให้เครือข่ายแนวร่วมที่มีจุดยืนทางการเมืองแตกต่างเข้าต่อสู้ร่วมกันได้โดยมีเป้าหมายในการขับไล่รัฐบาลทักษิณจากการเมืองไทย แต่ในเวลาต่อมากลุ่มที่มีความคิดทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยมที่ชูแนวทางกษัตริย์นิยม ศาสนานิยม ชาตินิยม และนิยมทหารได้เข้ามามีบทบาทนำเหนือขบวนการผ่านการขยายกรอบโครงความคิดและการระดมทรัพยากร ทำให้กลุ่มที่มีความคิดทางการเมืองแบบเสรีนิยมถอนตัวจากขบวนการต่อต้านทักษิณเชียงใหม่ ต่อมาในการกลับมาของกลุ่มกปปส. ขบวนการก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มที่มีความคิดทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยมโดยในระยะแรกพวกเขามีเป้าหมายร่วมกันเพื่อขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ต่อมาพวกเขารับเอาแนวทางของกลุ่มกปปส.ที่ชูแนวทางต่อต้านประชาธิปไตยและใช้แนวทางแบบชาตินิยม ศาสนานิยม และนิยมทหารจนนำไปสู่การสนับสนุนให้ทหารยึดอำนาจรัฐบาลยิ่งลักษณ์


การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินศักยภาพพื้นที่สีเขียวสำหรับความยืดหยุ่นปรับตัวของเมืองในจังหวัดสมุทรสาคร, กรรณิการ์ จันทร์ชิดฟ้า Jan 2023

การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินศักยภาพพื้นที่สีเขียวสำหรับความยืดหยุ่นปรับตัวของเมืองในจังหวัดสมุทรสาคร, กรรณิการ์ จันทร์ชิดฟ้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การกลายเป็นเมืองอย่างรวดเร็วของจังหวัดสมุทรสาครส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่สีเขียวและพื้นที่สาธารณะของเมืองทำให้มีความจำเป็นเร่งด่วนในการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อปรับปรุงระบบนิเวศที่จำเป็นของเมืองและสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่สีเขียวในจังหวัดสมุทรสาคร และประเมินศักยภาพพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสมต่อความยืดหยุ่นปรับตัวของเมืองในจังหวัดสมุทรสาคร ด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การวิเคราะห์แบบหลายเกณฑ์โดยวิธีกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ความเชื่อมโยงพื้นที่สีเขียวและความยืดหยุ่นปรับตัวของเมือง โดยใช้ข้อมูลจากกรมพัฒนาที่ดิน ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และการสัมภาษณ์ผู้รู้ในพื้นที่ ผลการศึกษามีดังนี้ (1) จังหวัดสมุทรสาครมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินระหว่าง ปี พ.ศ. 2543 ถึง ปี พ.ศ. 2564 เท่ากับ ร้อยละ 35.13 ของพื้นที่จังหวัด โดยพื้นที่เกษตรกรรมเป็นพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนไปเป็นที่ดินประเภทอื่น ๆ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 63.20 ของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินทั้งหมด ซึ่งเป็นการเปลี่ยนไปเป็นการใช้ที่ดินประเภทพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างมากที่สุด ร้อยละ 59.46 ของการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่เกษตรกรรม ทำให้เห็นว่าพื้นที่สีเขียวมีแนวโน้มลดลงและพื้นที่เมืองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยรูปแบบการใช้ที่ดินนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงตามการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพของจังหวัด (2) การประเมินศักยภาพพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสมต่อความยืดหยุ่นปรับตัวของเมือง ประกอบด้วยเกณฑ์หลัก 4 ด้าน คือ เศรษฐกิจ-สังคม กายภาพ ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม และการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ผลการประเมินศักยภาพของพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสมต่อความยืดหยุ่นปรับตัวของเมือง พบว่า นอกเหนือจากร้อยละ 26.72 ที่เป็นพื้นที่เมืองแล้วนั้น พื้นที่ร้อยละ 73.28 ของจังหวัด คือ พื้นที่ศักยภาพ ซึ่งสามารถจำแนกเป็น 5 ระดับตามศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับการขยายตัวของเมือง ประกอบด้วย ศักยภาพสูงมาก (ร้อยละ 3.86) ศักยภาพสูง (ร้อยละ 61.48) ศักยภาพปานกลาง (ร้อยละ 34.13) ศักยภาพต่ำ (ร้อยละ 0.49) และศักยภาพต่ำมาก (ร้อยละ 0.05) ตามลำดับ พื้นที่ระดับศักยภาพสูงมากส่วนใหญ่เป็นการใช้ที่ดินหลากหลายประเภท ประกอบด้วย สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พืชสวน แหล่งน้ำธรรมชาติ ไม้ผล พื้นที่นา พื้นที่ลุ่ม และ ป่าชายเลน ตามลำดับ พื้นที่เหล่านี้กระจายอยู่ในตำบลต่างๆ ใกล้พื้นที่เขตเมืองและอุตสาหกรรมของจังหวัด เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ต้องการพื้นที่สีเขียวรองรับการขยายตัวของเมืองเพื่อส่งเสริมให้เมืองมีความยั่งยืนและยืดหยุ่น


Covid-19 Infodemic And Social Media Platforms In Thailand, Abhibhu Kitikamdhorn Jan 2023

Covid-19 Infodemic And Social Media Platforms In Thailand, Abhibhu Kitikamdhorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aims to fill a knowledge void on disinformation in a non-western context by examining the infodemic phenomenon in Thailand covering an extensive period from 31 December 2019 to 31 July 2021. The research examines how disinformation about COVID-19 spreads on Facebook and Twitter in Thailand, as well as the effectiveness of counter-disinformation approaches, and policy gaps in addressing the infodemic. Data collection relies on these methodologies—content analysis, sentiment analysis, social network analysis, in-depth interviews, and document analysis. Content analysis of sampled data shows that herbal medicine claims, and politicized COVID-19 information, especially about censorship, are prevalent. Contextual factors …


ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในการคัดกรองและตรวจสอบผู้โดยสารของตำรวจตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานดอนเมือง, รัฐพล สุวรรณรัฐ Jan 2023

ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในการคัดกรองและตรวจสอบผู้โดยสารของตำรวจตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานดอนเมือง, รัฐพล สุวรรณรัฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในการคัดกรองและตรวจสอบผู้โดยสารของตำรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานดอนเมืองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของตำรวจตรวจคนเข้าเมืองในการป้องกันอาชญากรรมในการคัดกรอง และตรวจสอบผู้โดยสารที่เดินทางเข้าประเทศไทยผ่านท่าอากาศยานดอนเมือง 2)เพื่อเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรอง และตรวจสอบผู้โดยสารที่เดินทางเข้าประเทศไทยผ่านท่าอากาศยานดอนเมืองใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (semi-structured selection interview) สัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานระดับผู้บริหาร ผู้ควบคุมการปฏิบัติ และผู้ปฏิบัติงานในการคัดกรองและตรวจสอบผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานดอนเมืองที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามาในช่วงเวลาชั่วโมงหนาแน่น ทำให้ระบายผู้โดยสารได้ช้า หรือบุคลากรที่มีในหน่วยงานไม่เพียงพอ ระบบเทคโนโลยีไม่เสถียร ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน เป็นต้น แนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานควรมีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน เช่น ข้อมูลหมายจับ ข้อมูลประวัติบุคคลพ้นโทษ และมีการอัพเดทข้อมูลต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้การตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเป็นไปได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสนามบินและในหลายพื้นที่ต้องปฏิบัติ หน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งมีความจำเป็นต้องประสานตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ จึงควรมีช่องทางกลางในการประสานงานร่วมระหว่างหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิด และสามารถติดต่อสอบถามได้ตลอด 24 ชั่วโมง


พลวัตของแนวคิดและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในยุคหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 และผลกระทบต่อชุมชนพื้นที่รับน้ำ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา, อาทิตย์ ภูบุญคง Jan 2023

พลวัตของแนวคิดและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในยุคหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 และผลกระทบต่อชุมชนพื้นที่รับน้ำ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา, อาทิตย์ ภูบุญคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ประกอบด้วยวัตถุประสงค์การศึกษา 3 ส่วนคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและพัฒนาการของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในประเทศไทย ก่อนและหลังรัฐประหาร 2557 2) เพื่อศึกษาปฏิบัติการ กลไกการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่เกิดขึ้นจริงในระดับพื้นที่ และ 3) เพื่อศึกษาผลกระทบของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับชุมชน ผลการศึกษาพบว่า การจัดการน้ำในยุคหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ถูกกำหนดทิศทางโดยโครงสร้างใหม่ผ่าน 3 เสาหลัก ประกอบด้วย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี และพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 โครงสร้างนี้มีเป้าประสงค์ร่วมคือการแก้ปัญหาการจัดการน้ำของไทยที่ขาดการบูรณาการ และยังมุ่งเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการน้ำระดับลุ่มน้ำและระดับพื้นที่อีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ในเชิงเนื้อหาการจัดการน้ำที่สถาปนาขึ้นใหม่เสมือนมีความก้าวหน้าอย่างมาก ทว่ายังมีรายละเอียดหลายส่วนที่ยังคงสะท้อนว่าอำนาจการจัดการน้ำยังคงรวมศูนย์ไว้ที่รัฐ สำหรับการจัดการน้ำระดับปฏิบัติการในพื้นที่รับน้ำบางบาลนั้น ได้มีการกำหนดโครงสร้างการจัดการน้ำหลายระดับให้สอดคล้องกับโครงสร้างระดับชาติ เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการลุ่มน้ำเจ้าพระยา และการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ ไม่เพียงเท่านั้น การจัดการน้ำในพื้นที่แห่งนี้ยังอยู่ภายใต้นโยบายพื้นที่รับน้ำบางบาล ซึ่งมุ่งปกป้องพื้นที่เมืองและอุตสาหกรรมให้ปลอดภัยจากปัญหาน้ำท่วม ซึ่งกระบวนการกำหนดนโยบายนี้ดำเนินไปโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีความหมาย ภายใต้โครงสร้างการจัดการน้ำที่ที่โยนภาระให้ชาวบ้านรับน้ำ ประกอบกับการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมยังไม่เกิดขึ้นจริงนั้น ได้ก่อให้เกิดผลกระทบหลายประการในพื้นที่ทั้งปัญหาน้ำท่วมและการขาดแคลนน้ำ เหตุดังนี้ ชาวบ้านในพื้นที่จึงสร้างพื้นที่การต่อสู้ต่อรองเพื่อเปลี่ยนแปลงการจัดการน้ำที่เป็นอยู่ให้เป็นธรรมมากยิ่งขึ้น 2 รูปแบบได้แก่ การต่อสู้ต่อรองในพื้นที่สื่อ และการต่อสู้ต่อรองในพรมแดนความรู้ผ่านงานวิจัยชาวบ้าน


A Survey Of Cybersecurity Awareness Among Undergraduate Students At Yunnan University Of Finance And Economics In China, Xiaoyu Du Jan 2023

A Survey Of Cybersecurity Awareness Among Undergraduate Students At Yunnan University Of Finance And Economics In China, Xiaoyu Du

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Telecommunications and cyber fraud are prevalent online risks that have caused trouble for college students. Undergraduate students are particularly vulnerable to fraud due to a lack of experience and cybersecurity awareness. It is essential for educators to provide cybersecurity-related training to raise the students’ level of cybersecurity awareness. The aim of this study was to see how Chinese undergraduate students learned about cybersecurity and examine a relationship between training and cybersecurity awareness. A questionnaire was administered to survey cybersecurity learning approaches and a degree of cybersecurity awareness of undergraduates at Yunnan University of Finance and Economics in China. Four aspects …


การดำเนินงานการแปลงเอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่ให้เป็นดิจิทัลของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, พีรสันต์ ลำต้น Jan 2023

การดำเนินงานการแปลงเอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่ให้เป็นดิจิทัลของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, พีรสันต์ ลำต้น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของเอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติได้รับมอบและจัดเก็บไว้ รวมถึงแหล่งที่มาและวิธีการได้มา และศึกษาการดำเนินงานการแปลงเอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่ให้เป็นดิจิทัลของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ในด้านนโยบายการแปลงให้เป็นดิจิทัล ด้านขั้นตอนการแปลงให้เป็นดิจิทัล และปัญหาที่ประสบ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติส่วนใหญ่จัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่ที่มีลักษณะเป็นแผนที่ แผนผัง และแบบแปลน โดยได้รับเอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่จากหน่วยงานภาครัฐ และมีการกำหนดนโยบายการแปลงเอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่ให้เป็นดิจิทัล หอจดหมายเหตุแห่งชาติส่วนใหญ่จัดจ้างหน่วยงานภายนอกให้ดำเนินการแปลงเอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่ให้เป็นดิจิทัลโดยมีการกำหนดราละเอียดการว่าจ้างได้แก่ ค่าใช้จ่ายมีความเหมาะสมกับงบประมาณที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติได้รับ ความรวดเร็วในการส่งมอบงาน และหน่วยงานผู้รับจ้างมีประสบการณ์หรือเคยได้รับการว่าจ้างจากหอจดหมายเหตุในโครงการก่อนหน้า และหอจดหมายเหตุแห่งชาติมีการกำหนดประเภทของไฟล์ดิจิทัลที่โดยใช้รูปแบบ JPEG และ TIFF ที่มีความละเอียดระหว่าง 200-600 dpi และใช้สื่อจัดเก็บประเภทฮาร์ดไดรฟ์ ปัญหาที่ประสบได้แก่ ปัญหาด้านงบประมาณ ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาด้านนโยบาย และปัญหาด้านเทคโนโลยี


การศึกษาการประยุกต์ใช้มาตรฐานเมทาดาทาเพื่อการสงวนรักษาพรีมิส (Preservation Metadata: Implementation Strategies - Premis) สำหรับคอลเลกชันหนังสือหายากดิจิทัล, ศิริพร คำยาด Jan 2023

การศึกษาการประยุกต์ใช้มาตรฐานเมทาดาทาเพื่อการสงวนรักษาพรีมิส (Preservation Metadata: Implementation Strategies - Premis) สำหรับคอลเลกชันหนังสือหายากดิจิทัล, ศิริพร คำยาด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หนังสือหายากดิจิทัลของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นบนสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วรุดหน้าไปกว่าองค์ความรู้ในการจัดการ เพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้งานหนังสือหายาดิจิทัลในระยะยาว งานวิจัยนี้จึงเน้นศึกษาการประยุกต์มาตรฐานเมทาดาทาเพื่อการสงวนรักษาพรีมิสสำหรับคอลเลกชันหนังสือหายากดิจิทัลในบริบทห้องสมุดมหาวิทยาลัย 3 แห่งในไทย เพื่อเป็นแนวทางกำหนดหน่วยเชิงความหมายในเอ็นทิตี (Entities) และกำหนดค่าข้อมูลในแต่ละหน่วยเชิงความหมายที่เหมาะสมกับบริบทความต้องการของหนังสือหายากดิจิทัล การศึกษาพบว่าบรรณารักษ์ของห้องสมุดทั้ง 3 แห่งกำหนดใช้ 3 เอ็นทิตี ได้แก่ วัตถุ (Object) เหตุการณ์ (Event) และตัวกระทำ (Agent) แต่ไม่เลือกใช้เอ็นทิตีสิทธิ์ (Rights) และกำหนดระดับความสำคัญของหน่วยเชิงความหมายใน 3 เอ็นทิตีที่ระดับความสำคัญต่างกันในแต่ละหน่วยงาน และแตกต่างกับระดับความสำคัญที่ปรากฏในรายการหน่วยเชิงความหมายต้นแบบ นอกจากนี้ บรรณารักษ์ที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมดมีการกำหนดค่าข้อมูลและรูปแบบค่าข้อมูล และใช้แหล่งค่าข้อมูลที่คล้ายกัน เพราะมีกระบวนการจัดการและบรรณารักษ์ผู้ดูแลคอลเลกชันหนังสือหายากดิจิทัลที่มีประสบการณ์และองค์ความรู้ในการปฏิบัติงานที่ใกล้เคียงกัน ปัญหาที่พบจากการใช้มาตรฐานพรีมิส ได้แก่ ความซับซ้อนของมาตรฐานพรีมิสซึ่งกระทบต่อความสามารถในการเรียนรู้และเข้าใจมาตรฐาน ตลอดจนการกำหนดค่าข้อมูลและรูปแบบค่าข้อมูลของบรรณารักษ์ ความสับสนจากลักษณะโครงสร้างของมาตรฐาน และความกังวลเรื่องความสอดคล้องของมาตรฐานกับระบบที่หน่วยงานใช้งานอยู่ และพบความต้องการสิ่งสนับสนุนเพื่อการประยุกต์ใช้มาตรฐานพรีมิสสำหรับหนังสือหายากดิจิทัล ได้แก่ คู่มือ กรณีศึกษา และผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ยังพบความต้องการสิ่งสนับสนุนอื่น ๆ ได้แก่ การศึกษาช่องว่างระหว่างมาตรฐานพรีมิสกับระบบคลังสารสนเทศดิจิทัล ข้อมูลชี้แหล่งค่าข้อมูล เครื่องมือสกัดและบันทึกข้อมูลแทนคน (Automation) และองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการใช้งานมาตรฐานเมทาดาทาพรีมิส


อาเซียนกับความมั่นคงทางพลังงาน, วโรตม์ ชอินทรวงศ์ Jan 2023

อาเซียนกับความมั่นคงทางพลังงาน, วโรตม์ ชอินทรวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษากลไกความร่วมมือทางพลังงานของอาเซียน เพื่อจัดการกับปัญหาความขาดแคลนทางพลังงาน เพื่อไปสู่ความมั่นคงทางพลังงานของภูมิภาคอาเซียน การวิเคราะห์บทบาทตัวแสดงที่สำคัญที่มีส่วนต่อการพึ่งพาอาศัยอันนำไปสู่ความมั่นคงทางพลังงานของภูมิภาคอาเซียน รวมถึงให้ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินนโยบายที่มีส่วนสำคัญต่อความมั่นคงทางพลังงาน ผลวิจัยพบว่าอาเซียนจำเป็นต้องขยายความร่วมมือทางพลังงาน เพื่อจัดการกับปัญหาความขาดแคลนทางพลังงาน และมุ่งไปสู่ความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งมีลักษณะการพึ่งพาอาศัยกันอย่างสลับซับซ้อน (Complex Interdependence) มากยิ่งขึ้นโดยมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ ประการแรก มีช่องทางการปฏิสัมพันธ์และตัวแสดงที่หลากหลายในความร่วมมือ ทั้งบทบาทของรัฐ เอกชน และปัจเจกบุคคล ประการที่สอง ความมั่นคงประกอบไปด้วยประเด็นที่หลากหลายรอบด้านมากกว่าทางการทหาร และความมั่นคงทางพลังงานก็เป็นประเด็นหนึ่งที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียน และประการที่สาม การพึ่งพาอาศัยอย่างสลับซับซ้อน ทำให้มีรัฐเข้าสู่ข้อขัดแย้งที่อาจเกิดการใช้กำลังน้อยลง ส่งเสริมการเกิดสันติภาพขึ้นในภูมิภาคผ่านการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ แต่ก็ยังมีอุปสรรคที่อาเซียนยังต้องร่วมกันแก้ปัญหา และปรับตัวให้ทันกับประเด็นความท้าทายต่อความมั่นคงทางพลังงานในยุคปัจจุบัน


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงในหน่วยงานราชการของประเทศไทย, วิภู ชลานุเคราะห์ Jan 2023

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงในหน่วยงานราชการของประเทศไทย, วิภู ชลานุเคราะห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงในหน่วยงานราชการของประเทศของไทย โดยเป็นงานวิจัยแบบผสมซึ่งอาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหลักฐานและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง 17 ราย จากหน่วยงานราชการทั้งสิ้น 5 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงาน ก.พ. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรมชลประทาน กรมการปกครอง และกรมการพัฒนาชุมชน จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง มีทั้งหมด 19 ปัจจัย ได้แก่ 1. แรงจูงใจในรูปแบบของการพัฒนาตนเอง 2. แรงจูงใจในรูปแบบของเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ 3. แรงจูงใจในรูปแบบของการสร้างเครือข่าย 4. แรงจูงใจในรูปแบบของการมองประโยชน์ขององค์กรเป็นสำคัญ 5. แรงจูงใจจากการเห็นเป็นแบบอย่าง 6. การกำหนดคุณสมบัติด้านภาษาของผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก 7. การมอบอำนาจให้หน่วยงานราชการคัดเลือกข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงเอง 8. ความไม่เข้าใจในสาระสำคัญของกระบวนการพัฒนา 9. ปัญหาด้านงบประมาณเมื่อเวียนกรอบโดยคำสั่งปฏิบัติงาน 10. การลาออกจากระบบระหว่างการเวียนกรอบสั่งสมประสบการณ์ของตัวข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง 11. การหลีกเลี่ยงการอบรมที่ใช้ระยะเวลานาน 12. มุมมองที่ส่วนราชการมีต่อการกำหนดตำแหน่งเป็นการเฉพาะคราว 13. ส่วนราชการไม่ได้จัดสรรค่าตอบแทนพิเศษให้กับข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง 14. การรวบรวมผลงานที่ยากและการเวียนกรอบที่ไม่ตรงกับตำแหน่งเป้าหมาย 15. การติดตามของกองการเจ้าหน้าที่ 16. การดำเนินการของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 17. ข้าราชการผู้ได้รับการกำหนดตำแหน่งเป็นการเฉพาะคราวไม่สามารถกลับเข้าสู่โครงสร้างของหน่วยงานได้ 18. ข้อจำกัดในการขึ้นสู่ระดับเชี่ยวชาญของข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง และ 19. ข้อจำกัดในการขึ้นสู่ระดับอำนวยการของข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง


ภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กรณีศึกษา บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) โรงผลิตสารโอเลฟินส์, วิศิษฏ์ นบน้อม Jan 2023

ภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กรณีศึกษา บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) โรงผลิตสารโอเลฟินส์, วิศิษฏ์ นบน้อม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาภาวะหมดไฟในการทำงานในบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ซึ่งภาวะหมดไฟเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพและประสิทธิภาพของพนักงานในสภาพแวดล้อมที่มีความเครียดในการทำงานสูง ได้ทำการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 122 คน นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานเพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะหมดไฟและผลกระทบที่เกิดขึ้น ผลการศึกษาพบว่าพนักงานส่วนใหญ่ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน มีการรับรู้ถึงภาระงานอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ และรับรู้ถึงทรัพยากรในงานในระดับค่อนข้างสูง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ พฤติกรรมในการทำงานที่เป็นพิษ ปริมาณงาน และ ปัญหาด้านสุขภาพ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ การมีอิสระในการทำงาน ความก้าวหน้าในตำแหน่ง สิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงาน และ ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน โดยที่ปัจจัยที่ใช้ทำนายภาวะหมดไฟในการทำงานคือ ปริมาณงาน ความซับซ้อนของงาน พฤติกรรมในการทำงานที่เป็นพิษ การมีอิสระในการทำงานการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะหมดไฟในการทำงานในด้านองค์กรพบว่า พนักงานส่วนใหญ่ไม่ต้องการลาออกจากที่ทำงาน มีความผูกพันธ์ต่องานและความพึงพอใจในงานอยู่ในระดับค่อนข้างสูง สำหรับด้านสุขภาพ พบว่าภาวะหมดไฟในการทำงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความเสี่ยงต่อโรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้า โดยที่ผู้ที่เริ่มมีความเสี่ยงภาวะหมดไฟในระดับต่ำ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรควิตกกังวลเพิ่มขึ้น 12.9 เท่า และผู้ที่มีความเสี่ยงภาวะหมดไฟระดับปานกลาง มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้น 42 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงภาวะหมดไฟ


แนวทางการพัฒนาการให้บริการสาธารณะแก่ผู้เดินทางไปทำงานต่างประเทศ: กรณีศึกษา ด่านตรวจคนหางานสุวรรณภูมิ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน, ศนัญฉัตร ศรีด้วง Jan 2023

แนวทางการพัฒนาการให้บริการสาธารณะแก่ผู้เดินทางไปทำงานต่างประเทศ: กรณีศึกษา ด่านตรวจคนหางานสุวรรณภูมิ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน, ศนัญฉัตร ศรีด้วง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและสาเหตุของปัญหา อุปสรรค ตลอดจนแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับการให้บริการสาธารณะตามบทบาทและภารกิจของด่านตรวจคนหางานสุวรรณภูมิ และแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะตามบทบาทและภารกิจของด่านตรวจคนหางานสุวรรณภูมิภายใต้หลักการของการบริหารราชการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้าด่านตรวจคนหางานสุวรรณภูมิ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานในด่านตรวจคนหางานสุวรรณภูมิ จากการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรคในการส่งมอบบริการสาธารณะให้กับประชาชน ได้แก่ การขาดความชัดเจนของข้อกฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่ การทำงานร่วมกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรบุคลากร รวมถึงผู้จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศยังขาดความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการเดินทางและวิธีการเดินทางไปทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย สำหรับแนวทางแก้ไข ได้แก่ การแก้ไขหรือปรับปรุงข้อกฎหมายที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้ชัดเจนมากขึ้นและ/หรืออาจยกเลิกบางข้อกฎหมาย การสร้างข้อตกลงในการทำงานร่วมกันกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง การขยายกรอบอัตรากำลังของด่านตรวจคนหางานสุวรรณภูมิ และการให้หน่วยงานในสังกัดกรมการจัดหางานร่วมกันประชาสัมพันธ์นำความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดที่มีผู้เดินทางไปทำงานต่างประเทศจำนวนมาก ทั้งนี้ผลการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพของการให้บริการสาธารณะโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางพบว่ามีข้อเสนอแนะหลายประการ ได้แก่ การทำให้ด่านตรวจคนหางานสุวรรณภูมิเป็นที่รู้จักมากขึ้น การเพิ่มการตรวจตราผู้ลักลอบไปทำงานต่างประเทศ การยกระดับด่านตรวจคนหางานสุวรรณภูมิเป็น One Stop Service การอบรมเพื่อพัฒนาและเพิ่มพูนความเชี่ยวชาญให้แก่เจ้าหน้าที่ การขยายกรอบอัตรากำลัง และการสร้างความมั่นใจในการทำงานงานโดยมีผู้บังคับบัญชาคอยให้ความช่วยเหลือ


คุณลักษณะการสื่อสารของนวัตกรที่มีประสิทธิผลในเครือข่ายสังเคราะห์นวัตกรรม, พิเชษฐ์ แตงอ่อน Jan 2023

คุณลักษณะการสื่อสารของนวัตกรที่มีประสิทธิผลในเครือข่ายสังเคราะห์นวัตกรรม, พิเชษฐ์ แตงอ่อน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาคุณลักษณะการสื่อสารของนวัตกรที่มีประสิทธิผลในเครือข่ายสังเคราะห์นวัตกรรมของประเทศไทย เป็นการวิจัยเพื่อการสำรวจหรือการวิจัยเชิงบุกเบิกด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนวัตกรที่มีประสิทธิผล (มีผลงานอย่างต่อเนื่อง) จำนวน 20 ท่าน คัดเลือกแบบหลายขั้นตอนร่วมกับการคัดเลือกแบบเจาะจงจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกเป็นเครื่องมือหลักในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัยแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. โครงสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์: เครือข่ายสังเคราะห์นวัตกรรมที่นวัตกรที่มีประสิทธิผลสังกัด ประกอบด้วยสมาชิกความเชี่ยวชาญหลากหลาย (สหวิทยาการ/สหวิชาชีพ) แต่มีทัศนคติและวิธีคิดสอดคล้องกัน จึงทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมาชิกในเครือข่ายฯ ได้รับมอบหมายบทบาทแตกต่างกันตามศักยภาพ และมีความสัมพันธ์กันบนพื้นฐานการทำงานเป็นหลัก โดยเครือข่ายฯ มีผู้นำ (มักได้แก่ตัวนวัตกรที่มีประสิทธิผล) รวมถึงผู้จัดการที่มีทักษะการสื่อสาร มีภาวะผู้นำสูง รอบรู้หลายเรื่องที่เกี่ยวข้อง ตัดสินใจในแต่ละขั้นตอนได้เร็ว รวมถึงมีทักษะการบริหารจัดการที่สามารถควบคุมปัจจัยในการทำงานที่ยากภายใต้ข้อจำกัดด้านทรัพยากรและเวลาได้ นอกจากนี้ นวัตกรในเครือข่ายฯ จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากสามารถ 1) เชื่อมโยงกับสมาชิก/หน่วยงานที่มีต้นทุนทางสังคมสูง ได้แก่ สมาชิก/หน่วยงานที่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับระดับสูง และ/หรือมีเครือข่ายด้านแหล่งทุนที่พร้อมและเอื้อต่อการทำงาน และ 2) ดำเนินงานภายใต้องค์กรที่มีระบบงานสนับสนุนซึ่งเอื้อต่อกระบวนการสังเคราะห์นวัตกรรม หรือเอื้อต่อการพัฒนาเครือข่ายสังเคราะห์นวัตกรรมให้เป็นหน่วยงานใหม่ที่มีข้อจำกัดในการทำงานน้อยลง 2. พฤติกรรมการสื่อสาร: สมาชิกเครือข่ายสังเคราะห์นวัตกรรมที่นวัตกรที่มีประสิทธิผลสังกัด มักเปิดกว้างทางความคิดแต่ยังปรากฏการคิดตามกลุ่ม (groupthink) บ้าง มักทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มย่อยแบบไม่เป็นทางการ เพราะคล่องตัวและแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที มีพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนข้อมูล/การถ่ายทอดความรู้แบบทุกทิศทางและเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยการแสดงความคิดเห็นที่เป็นที่ยอมรับต้องมีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุน ในกรณีของการทำงานเป็นกลุ่มใหญ่เพื่อตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาร่วมกัน สมาชิกเครือข่ายฯ จะโต้แย้งแสดงเหตุผลเพื่อลดให้เหลือเฉพาะตัวเลือกที่สำคัญแล้วให้ผู้นำเครือข่ายตัดสินใจอีกครั้ง นอกจากนี้ แนวทางสำคัญของการสื่อสารภายในเครือข่ายฯ ได้แก่ 1) การเปิดกว้างให้สมาชิกสื่อสารได้ทุกเรื่อง 2) ผู้นำ/ผู้จัดการควรสร้างกระบวนการทำงานและการสื่อสารที่ถูกต้อง ชัดเจน รวดเร็ว 3) สมาชิกควรมีทักษะในการสื่อสารให้เข้าใจง่าย และทราบว่าต้องสื่อสารเรื่องใด กับใคร อย่างไร และ 4) มีการจัดการความรู้ (เช่น จัดทำคู่มือ รายงาน แนวปฏิบัติที่ดี ฯลฯ) เพื่อลดขั้นตอนในสิ่งที่ต้องสื่อสารกันบ่อยครั้ง


ประสิทธิผลของการปรึกษาหารือของสมาชิกวุฒิสภาในการแสดงบทบาทของวุฒิสภาต่อหน่วยงานภาครัฐ, กวินท์ นิลประสิทธิ์ Jan 2023

ประสิทธิผลของการปรึกษาหารือของสมาชิกวุฒิสภาในการแสดงบทบาทของวุฒิสภาต่อหน่วยงานภาครัฐ, กวินท์ นิลประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการปรึกษาหารือของสมาชิกวุฒิสภาที่เป็นช่องทางในการแสดงบทบาทของวุฒิสภาในการกำกับตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล หรือภารกิจอื่นใดตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้บัญญัติไว้ โดยเป็นการวิจัยแบบผสมในเชิงปริมาณและคุณภาพ เนื่องจากมีการเก็บข้อมูลและพรรณนาเชิงสถิติที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการปรึกษาหารือของสมาชิกวุฒิสภา และศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของวุฒิสภาไทย ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า กระบวนการปรึกษาหารือของสมาชิกวุฒิสภาเป็นช่องทางหนึ่งในการแสดงบทบาทของวุฒิสภาในการเร่งรัด ตรวจสอบ การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถสะท้อนปัญหาที่เห็นควรต้องได้รับการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ ให้รัฐบาลรวมถึงหน่วยงานภาครัฐทั้งหมดได้ดำเนินการให้สอดคล้องตามประเด็นของข้อปรึกษาหารือนั้น ซึ่งสอดคล้องกับหน้าที่และบทบาทตามรัฐธรรมนูญ 2560 เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน แต่การแสดงบทบาทดังกล่าวนั้นผ่านกลไกข้อปรึกษาหารือของสมาชิกวุฒิสภา พบว่าข้อปรึกษาหารือของสมาชิกวุฒิสภาไม่ได้รับการให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมีข้อสังเกตว่าสาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐมีภารกิจ หน้าที่และอำนาจโดยตรงเดิมอยู่แล้วในการปฏิบัติตามกลไกราชการแบบปกติ เมื่อศึกษาจากสารนิพนธ์นี้ จึงสรุปได้ว่า ประสิทธิผลของการปรึกษาหารือทำได้ค่อนข้างน้อย หรือการปรึกษาหารือของสมาชิกวุฒิสภานั้น ไม่ได้ส่งผลต่อการแสดงบทบาทของวุฒิสภามากนัก


ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในสวัสดิการกับความผูกพันองค์กร: กรณีศึกษาพนักงาน บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ที่ปฏิบัติงานส่วนสำนักงานใหญ่ ในยุค Post-Covid-19, ชญาภรณ์ นันท์นฤมิตร Jan 2023

ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในสวัสดิการกับความผูกพันองค์กร: กรณีศึกษาพนักงาน บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ที่ปฏิบัติงานส่วนสำนักงานใหญ่ ในยุค Post-Covid-19, ชญาภรณ์ นันท์นฤมิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษางานวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในสวัสดิการกับความผูกพันองค์กร: กรณีศึกษา พนักงาน บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ที่ปฏิบัติงานส่วนสำนักงานใหญ่ ในยุค Post-COVID-19 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความพึงพอใจในสวัสดิการของพนักงาน ศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน และศึกษาความพึงพอใจในสวัสดิการที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน โดยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 323 คน ผลจากการวิจัยสรุปได้ว่า พนักงานมีความพึงพอใจในสวัสดิการโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจในสวัสดิการด้านสุขภาพมากที่สุด ส่วนสวัสดิการด้านอื่นๆ ได้รับความพึงพอใจในระดับปานกลาง และพบว่าพนักงานมีความรู้สึกผูกพันต่อองค์กรในระดับที่รู้สึกเห็นด้วยต่อความผูกพันต่อองค์กร พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในสวัสดิการ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นปัจจัยส่วนบุคคลด้านประเภทกลุ่มงาน ที่มีความพึงพอใจในสวัสดิการแตกต่างกัน พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์กร แตกต่างกัน ยกเว้นปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ ระดับการศึกษา และลักษณะการปฏิบัติงาน ที่พนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรไม่แตกต่างกัน โดยความพึงพอใจในสวัสดิการด้านเกี่ยวกับการเงิน สวัสดิการด้านสุขภาพ และสวัสดิการด้านวันหยุด ของพนักงาน ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


The Role Affiliation Membership Plays In An Ffa Chapter: A Qualitative View From Kentucky, Jacob Falwell, Kristie B. Guffey Jan 2023

The Role Affiliation Membership Plays In An Ffa Chapter: A Qualitative View From Kentucky, Jacob Falwell, Kristie B. Guffey

Murray State Theses and Dissertations

Research exists to demonstrate the benefits of FFA membership and the three-circle model of agriculture education. FFA membership had shown minimal growth in the 20 years following the rebranding. The innovative approach of affiliation membership has ushered in a steady growth of FFA membership, but not all chapters are participating in affiliation. FFA membership is provided to every student who is enrolled in agriculture education classes with affiliation, and the dues collection process is eliminated. This study investigated the view of affiliation membership in Kentucky High School Agriculture Education programs by researching the enrollment, involvement, and educational outcomes of affiliated …


Evaluation Of Cytokeratin-Specific Antibody And Autofluorescent Signals As Predictors Of Time Since Deposition For Saliva Samples, Dillon Ryder Jan 2023

Evaluation Of Cytokeratin-Specific Antibody And Autofluorescent Signals As Predictors Of Time Since Deposition For Saliva Samples, Dillon Ryder

Master of Science in Forensic Science Directed Research Projects

In a forensic investigation, STR profiles generated from biological evidence can frequently be informative to identify an individual or provide an investigative lead. However, STR typing does not provide information to answer activity-level questions which can be highly important to a criminal case, such as the Time Since Deposition (TSD) of biological evidence. Determining the relative time in which a biological sample was left at a crime scene would provide additional information regarding the timeline of a crime and a person of interest’s relationship to the scene. One proposed method of estimating TSD is to use flow cytometry to analyze …


Investigation Into The Relationship Between Dna Content And Dna Yield Prediction And Presence Of A Multiple Contributor Cell Population In Trace Dna, Sarah Holton Roisch Jan 2023

Investigation Into The Relationship Between Dna Content And Dna Yield Prediction And Presence Of A Multiple Contributor Cell Population In Trace Dna, Sarah Holton Roisch

Master of Science in Forensic Science Directed Research Projects

Due to advancements in DNA analysis technology and an increased ability to detect trace quantities of low template DNA, ‘touch’ or trace DNA has become a prevalent form of evidence for forensic investigations. Trace DNA is biological material left on a surface from skin cells after being touched or handled. The success rate of casework could be improved with new methods to non-destructively screen trace DNA to predict DNA yield and whether multiple cell populations are present in the evidence prior to STR analysis. Current methods of trace DNA analysis require quantifying the sample with qPCR followed by STR analysis, …


Morphological And Autofluorescence Signatures For The Identification Of Vaginal Cells In Mixture Samples Containing Saliva And/Or Epidermal Cells, Hannah L. Burden Jan 2023

Morphological And Autofluorescence Signatures For The Identification Of Vaginal Cells In Mixture Samples Containing Saliva And/Or Epidermal Cells, Hannah L. Burden

Master of Science in Forensic Science Directed Research Projects

In forensic casework the identification of body fluids at a crime scene can frequently play an important role in reconstructing the events that occurred. There are several bodily fluid identification methods to characterize unknown stains recovered as evidence. However, there has not been a reliable method for detecting the presence vaginal cells and/or differentiate it from other forensically relevant tissue types that may be recovered from a crime scene. The detection of vaginal fluid is important for forensic casework due to the abundance of sexual assault kits that are not only backlogged but continue to be submitted to the lab …


Horizontal And Vertical Transmission Of Microbes Associated With Blow Flies Of Forensic Importance, Gabrielle Alisa Burton Jan 2023

Horizontal And Vertical Transmission Of Microbes Associated With Blow Flies Of Forensic Importance, Gabrielle Alisa Burton

Master of Science in Forensic Science Directed Research Projects

Entomological and microbiological evidence can be used in the estimation of postmortem intervals (PMI). This study observes the horizontal and vertical transmission of the microbial community associated with blow flies of forensic importance. Variable region four (V4) of the 16S ribosomal DNA (16S rDNA) was amplified and sequenced from various life stages of blow flies (n=72) using dual-index high throughput sequencing strategy on the MiSeq FGx platform. No significant difference in bacterial community structure was observed between blowfly adults with carrion access and blowfly adults with no carrion access. Dysgonomonas, unclassified Proteobacteria, Escherichia, Ignatzschia, Providencia, …


Assessment Of The Acidified Hydrogen Peroxide Method On Uncontrolled Fired Cartridge Case Samples, Kylie S. Richardson Jan 2023

Assessment Of The Acidified Hydrogen Peroxide Method On Uncontrolled Fired Cartridge Case Samples, Kylie S. Richardson

Master of Science in Forensic Science Directed Research Projects

The use of fingerprints to identify individuals in forensic cases has been useful for many years due to the persistence and individuality of the prints. In addition, the presence of firearms in forensic casework is steadily increasing over the years. This study aims to expand upon prior research in the development and recovery of latent prints on fired, brass ammunition using an acidified hydrogen peroxide method. Although latent prints are left on the cartridge casing of ammunition during the handling and loading of ammunition into the firearm, it is hypothesized that the pressure within the barrel of the firearm during …


Evaluation Of Direct-To-Amplification Cell Lysis Techniques For Forensically Relevant Non-Sperm Cells, Rhea Arya Jan 2023

Evaluation Of Direct-To-Amplification Cell Lysis Techniques For Forensically Relevant Non-Sperm Cells, Rhea Arya

Master of Science in Forensic Science Directed Research Projects

While efforts have been made to reduce the pervasive backlog of sexual assault evidence collection kits, the actual laboratory process remains very time-consuming due to the requirement of a differential lysis step before DNA purification, as well as intricate mixture analysis towards the end of the DNA workflow. Previous work in the Dawson Green laboratory at VCU has developed alternative solutions for differential extractions with sexual assault samples using both an in-tube and microdevice assay. Prior work led to the identification of an alternative sperm lysis method – alkaline lysis using 1M NaOH. However, the current lysis method used for …


Optimization Of Microfluidic Device Methodology For Optical Trapping Epithelial Cells In A Mixture, Brittney N. Hackworth Jan 2023

Optimization Of Microfluidic Device Methodology For Optical Trapping Epithelial Cells In A Mixture, Brittney N. Hackworth

Master of Science in Forensic Science Directed Research Projects

Evidence containing biological mixtures can make DNA interpretation more difficult due to ambiguous allele calls and artifacts that may be present within electropherograms. Separating out these cell mixtures can be advantageous to the analysts’ analysis methods for identifying STR profiles with higher accuracy. A potential cell separation method that could be implemented in the beginning of the forensic DNA workflow is optical trapping.

This research utilized a 5W ytterbium linearly polarized laser split into two optical traps, paired with a microfluidic device to isolate spermatozoa and vaginal epithelial cells from a 1:1 mixture of vaginal fluid and 1:20 diluted seminal …


Analysis Of Forensic Relevant Cell Mixtures Using Cellular Autofluorescence And Fluorescence Activated Cell Sorting (Facs), Shayla Smith Jan 2023

Analysis Of Forensic Relevant Cell Mixtures Using Cellular Autofluorescence And Fluorescence Activated Cell Sorting (Facs), Shayla Smith

Master of Science in Forensic Science Directed Research Projects

Biological mixtures containing DNA from more than one contributor can make DNA profile interpretation challenging, especially for ‘touch’ or trace biological evidence. One approach to improve this is by differentiating cell populations from separate individuals prior to DNA profiling by utilizing intrinsic features of cells such as size, shape, and biochemical profiles. The goal of this study was to develop a new method for detecting and separating contributor populations in biological mixture samples using flow cytometry, a rapid and non-destructive approach with an unexplored potential for forensic casework. To accomplish this, two different mixture systems were investigated (1) mixtures containing …


Development And Validation Of Microrna Markers For Forensic Body Fluid Identification Using Rt-Qpcr, Jane Goble Jan 2023

Development And Validation Of Microrna Markers For Forensic Body Fluid Identification Using Rt-Qpcr, Jane Goble

Master of Science in Forensic Science Directed Research Projects

Body fluid identification is one of the first and most fundamental steps in the forensic DNA workflow. It allows analysts to determine where a sample might exist on an item of evidence, as well as the type of sample that they are dealing with. However, current serological methods have been documented to produce false or inaccurate results in some cases, and may consume large amounts of sample during processing. Molecular methods, such as the use of microRNA and microbial profiles have been introduced as a means to increase specificity of testing, and have even been combined into a singular assay …


Evaluation Of The Age Of Evidence In Mock Biological Touch Evidence Samples, Emma P. Hirst Jan 2023

Evaluation Of The Age Of Evidence In Mock Biological Touch Evidence Samples, Emma P. Hirst

Master of Science in Forensic Science Directed Research Projects

As more sensitive DNA profiling techniques have been developed, questions about how and when the DNA was deposited have become a driving issue in forensic casework. Image flow cytometry (IFC) offers a way to estimate the time since deposition (TSD) of trace DNA samples based on individual cells' morphological and autofluorescence properties. Previous work has shown that a TSD can be determined from a single contributor in touch samples. To determine if TSD could be correctly estimated for mixtures containing a fresh deposit (less than a week old) and an older deposit, this project characterized a series of samples that …