Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Discipline
Institution
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type
File Type

Articles 80491 - 80520 of 713458

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

การตัดสินใจยอมรับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม, อรญา สบประสงค์ Jan 2021

การตัดสินใจยอมรับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม, อรญา สบประสงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้ปุ๋ยที่มากเกินจำเป็นในการปลูกข้าว ทำให้เกิดเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดขึ้น แม้ภาครัฐจะส่งเสริมการใช้ปุ๋ยสั่งตัดเพื่อช่วยลดต้นทุนปุ๋ยของเกษตรกรและเพิ่มธาตุอาหารในดินให้ตรงกับความต้องการของพืช แต่เกษตรกรที่ยอมรับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดและนำมาใช้อย่างต่อเนื่องยังมีจำนวนน้อยมาก การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการยอมรับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อรายได้สุทธิของเกษตรกรที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด ของเกษตรกรในอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม โดยการประมาณค่าแบบสองขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ใช้แบบจำลองโพรบิทและวิธีกำลังสองน้อยที่สุดในขั้นตอนที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรมีความน่าจะเป็นในการยอมรับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดสูงมากขึ้น ได้แก่ การมีหนี้สิน การได้รับการฝึกอบรม ระดับความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด และการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด ในขณะที่การรับรู้ถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีไม่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจใช้เทคโนโลยี สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด ปัจจัยที่ส่งผลในทางบวกต่อรายได้สุทธิ ได้แก่ จำนวนแรงงานที่ใช้ปลูกข้าวในครัวเรือน ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด และการมีหนี้สิน ข้อค้นพบสะท้อนให้เห็นว่า การยอมรับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดที่เกิดขึ้นช้าและไม่แพร่หลายส่วนหนึ่งมาจากการที่เกษตรกรยังไม่เห็นประโยชน์จากปุ๋ยสั่งตัดมากนักเพราะต้นทุนแรงงานที่เกี่ยวข้องจากการผสมปุ๋ย หากภาครัฐสามารถสนับสนุนเครื่องมือที่ช่วยในการผสมปุ๋ย งบประมาณ หรืออุปกรณ์การตรวจธาตุอาหารหลักในดิน และการสื่อสารถึงประโยชน์ของปุ๋ยสั่งตัด น่าจะช่วยเพิ่มโอกาสและความน่าจะเป็นในการยอมรับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้ในอนาคต


เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยระบบการกำกับดูแลธุรกิจไรด์-แชริ่ง (Ride-Sharing), พิชญา กาวิหก Jan 2021

เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยระบบการกำกับดูแลธุรกิจไรด์-แชริ่ง (Ride-Sharing), พิชญา กาวิหก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การให้บริการยานพาหนะร่วมเดินทางผ่านแอปพลิเคชัน ไรด์-แชริ่ง (Ride - Sharing) เป็นรูปแบบของธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้จากทรัพย์สินที่มีมากเกินความจำเป็น และไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว ผ่านการให้บริการบนแพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ ให้เข้าถึงสินค้าหรือบริการ โดยอาศัยข้อมูลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ แนวคิดนี้จึงเป็นที่มาของการนำเทคโนโลยีมาช่วยแก้ปัญหาในระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ และทำให้ได้รับความนิยมจากผู้ใช้บริการไปทั่วโลก การให้บริการในรูปแบบไรด์-แชริ่ง (Ride-Sharing) นี้ ทำให้เกิดการพลิกผันของธุรกิจมากมาย เนื่องจาก ดิสรัปทีฟ เทคโนโลยี (Disruptive Technology) ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงบริบทที่เป็นอยู่ปัจจุบัน และยังทำลายระบบการให้บริการขนส่งสาธารณะในลักษณะเดิมที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยการปฏิวัติสังคมไปในทางที่ดีขึ้น สำหรับสมาชิกประชาคมอาเซียนจำนวน 7 ใน 10 ประเทศ (ยกเว้นประเทศไทย เมียนมา ลาว) ล้วนให้การสนับสนุน และมีกฎหมายรองรับ กำกับดูแลการให้บริการในลักษณะนี้ เนื่องจากเป็นการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้แก่ประชาชนให้เข้าถึงบริการ และเป็นการยกระดับระบบขนส่งมวลชนสาธารณะภายในประเทศ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการกำกับดูแลธุรกิจไรด์-แชริ่ง (Ride-Sharing) ของไทย และอาเซียนในปัจจุบัน รวมทั้งศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทางเศรษฐกิจ และการเมือง ที่ส่งผลต่อนโยบายหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบการกำกับดูแลธุรกิจไรด์-แชริ่ง (Ride-Sharing) สำหรับการศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้ข้อมูลประเภททุติยภูมิแบบรายปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2556 ถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 8 ปี มาทำการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยใช้ทฤษฎีสมการถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อนโยบายหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบการกำกับดูแลธุรกิจไรด์-แชริ่ง (Ride-Sharing) ได้แก่ ราคาค่าบริการรถขนส่งสาธารณะ, อัตราภาษีรถ, ค่าใบอนุญาติขับขี่ และจำนวนรถ สำหรับการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจไรด์-แชริ่ง (Ride-Sharing) ในไทย และอาเซียน สามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคคล, ด้านตัวรถ, ด้านบริษัทที่ขอใบอนุญาต และด้านระบบและการให้บริการ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากฎหมายกำกับดูแลในไทยต่อไป


ลักษณะและกระบวนการสร้างสรรค์มีมจากภาพยนตร์ไทยในสื่อสังคมออนไลน์, กฤษณ์ ทองรอด Jan 2021

ลักษณะและกระบวนการสร้างสรรค์มีมจากภาพยนตร์ไทยในสื่อสังคมออนไลน์, กฤษณ์ ทองรอด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะ การใช้งาน และการเกิดขึ้นของมีมจากภาพยนตร์ไทย และ2) ศึกษากระบวนการสร้างสรรค์มีมจากภาพยนตร์ไทยในสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบทภาพมีมจากภาพยนตร์ไทย ประกอบด้วยภาพยนตร์ชุดหอแต๋วแตกและภาพยนตร์ร่างทรง ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สร้างภาพยนตร์และผู้ผลิตมีมในฐานะผู้ชมภาพยนตร์ จากการศึกษาพบว่ามีมจากภาพยนตร์ไทยนั้นมีลักษณะการสร้างสรรค์ใน 3 ลักษณะ ได้แก่ การจับภาพจากภาพยนตร์ การใช้โปรแกรมตัดต่อ และการใช้ภาพทางการ มีการใช้งานมีมใน 6 ลักษณะ ได้แก่ การทำซ้ำ การเพิ่มองค์ประกอบอื่น การใส่บริบทใหม่ การเพิ่มองค์ประกอบอื่นและใส่บริบทใหม่ การเปลี่ยนแปลงภาพตัวละคร และการเปลี่ยนแปลงบทพูด อีกทั้งประเด็นทางสังคมที่ถูกวิพากษ์อย่างเป็นวงกว้างและสภาพการณ์ทางการเมืองที่มีการกดทับอย่างเป็นระบบมีส่วนช่วยให้เกิดการสร้างมีมเพื่อล้อเลียน นอกจากนั้น การสร้างมีมจากภาพยนตร์ไทยนั้นผู้สร้างมีมได้เริ่มต้นสร้างจากการพิจารณากระแสสังคมหรือประเด็นใดๆที่กำลังถูกพูดถึง จากนั้นจึงหาภาพยนตร์ที่มีความใกล้เคียงหรือสอดคล้องทางบริบทและทำการสร้างมีมเพื่อล้อเลียน


การวิเคราะห์เนื้อหาโฆษณาที่ใช้ตรรกะวิบัติในสินค้าที่มีความเกี่ยวพันต่ำ, คณิน ตั้งปัญญาไว Jan 2021

การวิเคราะห์เนื้อหาโฆษณาที่ใช้ตรรกะวิบัติในสินค้าที่มีความเกี่ยวพันต่ำ, คณิน ตั้งปัญญาไว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาจำนวนภาพยนตร์โฆษณาที่พบตรรกะวิบัติ 2. เพื่อศึกษาจำนวนและประเภทของตรรกะวิบัติที่พบในภาพยนตร์โฆษณาทั้งหมด 3. เพื่อศึกษาลักษณะและจำนวนของตรรกะวิบัติที่พบในแต่ละกลุ่มประเภทสินค้า เป็นการศึกษาด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยศึกษาจากภาพยนตร์โฆษณาประเภทสินค้าที่มีความเกี่ยวพันต่ำ โดยเป็นสินค้าประเภท Fast Moving Consumer Goods (FMCG) หรือสินค้าที่จำหน่ายเร็วและมีต้นทุนต่ำ 4 กลุ่มได้แก่ 1. กลุ่มเครื่องดื่ม 2. กลุ่มอาหาร 3. กลุ่มความงามและของใช้ส่วนบุคคล 4. กลุ่มสินค้าในครัวเรือน กลุ่มละ 10 ตราสินค้า รวม จำนวน 798 ชิ้นที่ปรากฎในช่วงเดือนธันวาคม 2562 - ธันวาคม 2564 และเกณฑ์การคัดเลือกตราสินค้านั้นเป็นไปตามข้อมูลทางสถิติส่วนแบ่งการตลาดจากฐานข้อมูล Euromonitor จากการวิจัยพบว่า โฆษณาที่ใช้ตรรกะวิบัติมีสัดส่วนร้อยละ 66.42 จากภาพยนตร์โฆษณาทั้งหมด และพบว่าสินค้ากลุ่มความงามและของใช้ส่วนบุคคลมีการใช้ตรรกะวิบัติมากถึงร้อยละ 84.58 ของภาพยนตร์โฆษณาในกลุ่มความงามและของใช้ส่วนบุคคลทั้งหมด โดยตรรกะวิบัติประเภทเกณฑ์ความเพียงพอ หมายถึงการจำแนกที่หลักฐานที่มาสนับสนุนคำกล่าวอ้างให้ข้อสรุปหนักแน่น พบมากถึงร้อยละ 45.69 จากตรรกะวิบัติที่พบทั้งหมด รองลงมาคือตรรกะวิบัติประเภทเกณฑ์ความเกี่ยวข้องที่หมายถึงตรรกะวิบัติด้วยการพิจารณาที่เหตุกับผลว่ามีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่นั้นพบมากถึง 31.96 จากตรรกะวิบัติที่พบทั้งหมด มีภาพยนตร์โฆษณามากถึงร้อยละ 25.97 พบว่าใช้ตรรกะวิบัติมากกว่า 1 ครั้ง


การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย, จิดาภา ล้อมพิทักษ์ Jan 2021

การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย, จิดาภา ล้อมพิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย และเพื่อศึกษารูปแบบของกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยการวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้มีอํานาจระดับบริหารหรือมีหน้าที่ความรับผิดชอบในส่วนงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจโทรทัศน์ และนักวิชาการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ผลการวิจัยพบว่าการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย แบ่งกลุ่มเป้าหมายในการสื่อสารได้ 8 กลุ่มดังนี้ 1.ผู้ชม 2.ชุมชน/สังคม 3.ผู้บริหารและพนักงานของบริษัท 4.ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน 5.ผู้จัดละคร/ผู้ผลิตรายการ/นักแสดง 6.คู่ค้า/เจ้าหนี้ 7.สื่อมวลชน 8.ภาครัฐกำกับดูแล ภาคประชาสังคม และองค์กรการกุศล โดยมีวัตถุประสงค์ 7 ประการ ดังนี้ 1.เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีและถูกต้องในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร 2.เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีทั้งระหว่างบุคลากรในองค์กร และระหว่างองค์กรกับประชาชน 3.เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้สังคม ตระหนักในประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และนำไปสู่การปฏิบัติ หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 4.เพื่อนำไปสู่การแก้ไขประเด็นปัญหาในสังคม 5.เพื่อสร้างภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร 6.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม 7.เพื่อนำไปสู่การสนับสนุนให้ความร่วมมือในการดำเนินงานต่าง ๆ ขององค์กร โดยมีกลยุทธ์การสื่อสาร 6 ประการ ดังนี้ 1.นำเสนอผ่านละครและรายการ 2.นำเสนอในมุมบันเทิง 3.ใช้ผู้มีชื่อเสียงขององค์กรในการสื่อสาร 4.สื่อสารอย่างชัดเจนและรวดเร็ว 5.สอดแทรกให้กลมกลืนเพื่อให้สามารถเข้าใจง่าย และ 6.ทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยเครื่องมือในการสื่อสารสามารถแบ่งได้ ดังนี้ 1. สื่อขององค์กร 2.สื่อภายนอกองค์กร ทั้งนี้รูปแบบกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย ประกอบด้วย 3 ประการดังนี้ 1) การนำเสนอประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านละครและรายการของสถานี โดยมุ่งเน้นการผลิตและนำเสนอละครและรายการที่ดีมีคุณภาพ เป็นประโยชน์ต่อผู้ชม ควบคู่ไปกับการให้ความบันเทิง 2 ) สนับสนุนกิจกรรมสาธารณะของหน่วยงานพันธมิตรอื่น ๆ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประการ ได้แก่ การสนับสนุนเงินหรือสิ่งของในการบริจาคช่วยเหลือองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ การให้การสนับสนุนหารประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคมของหน่วยงานต่าง และการให้การสนับสนุนดารา นักแสดง หรือผู้มีชื่อเสียง ในการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเป็นกระบอกเสียงในการประชาสัมพันธ์ หรือเป็นวิทยากรในการให้ความรู้เนื่องในโอกาสต่าง ๆ 3) การจัดกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างการรับรู้และความตระหนักในประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม โดยพบในบางกิจกรรมมีการนำเนื้อเรื่องของละครหรือรายการมาเป็นเส้นเรื่องในการกำหนดกิจกรรม ผ่านกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ โดยสามารถแบ่งได้ 6 รูปแบบ ดังนี้ 1.การส่งเสริมการรับรู้ประเด็นปัญหาทางสังคม 2.การตลาดเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาสังคม 3.การตลาดที่เกี่ยวโยงกับประเด็นทางสังคม 4.การบริจาคเพื่อการกุศล 5.การอาสาช่วยเหลือชุมชน 6. การประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม อีกทั้งผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทยแยกกันไม่ออกจากบทบาทหน้าที่ของวิทยุโทรทัศน์ที่มีต่อสังคม


ผลของมาตรฐานความงามและประเภทสินค้าต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค, ชญานิศ เหมประชิตชัย Jan 2021

ผลของมาตรฐานความงามและประเภทสินค้าต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค, ชญานิศ เหมประชิตชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ในรูปแบบ 2x2 แฟคทอเรียล (Factorial Design) ดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบหลักและผลกระทบร่วมกันของ 2 ปัจจัย คือ (1) มาตรฐานความงามในโฆษณา (มาตรฐานความงามแบบดั้งเดิม และมาตรฐานความงามแบบใหม่) และ (2) ประเภทสินค้า (ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางระดับเคาน์เตอร์แบรนด์ และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางระดับดรักสโตร์) ที่ส่งผลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค ผู้เข้าร่วมการทดลองเป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เรียนวิชาหลักการประชาสัมพันธ์ จำนวน 125 คน แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดลองออกเป็น 4 กลุ่มตามเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ผลการวิจัยพบว่า มาตรฐานความงามในโฆษณาไม่ส่งผลกระทบทางตรงต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภคที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และประเภทสินค้าไม่ส่งผลกระทบทางตรงต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภคที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 อีกทั้งเมื่อพิจารณาในส่วนของผลกระทบร่วมกันของทั้ง 2 ปัจจัย พบว่า มาตรฐานความงามในโฆษณาและประเภทสินค้าส่งผลกระทบร่วมกันต่อทัศนคติต่อโฆษณา แต่ไม่ส่งผลกระทบร่วมกันต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภคที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05


การสื่อสารนักลงทุนสัมพันธ์การเปิดรับสื่อ ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจลงทุนในบริษัทการค้าปลีกมหาชนของนักลงทุน, ชยุตม์ ล้ำเลิศสุข Jan 2021

การสื่อสารนักลงทุนสัมพันธ์การเปิดรับสื่อ ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจลงทุนในบริษัทการค้าปลีกมหาชนของนักลงทุน, ชยุตม์ ล้ำเลิศสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา ถึงการสื่อสารนักลงทุนสัมพันธ์การเปิดรับสื่อ ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจลงทุนในบริษัทการค้าปลีกมหาชนของนักลงทุน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อหาความสัมพันธ์ของการสื่อสารนักลงทุนสัมพันธ์การเปิดรับสื่อ ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจลงทุนในบริษัทการค้าปลีกมหาชนของนักลงทุน อายุระหว่าง 20-60ปี ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ใช้การสุ่มตัวอย่าง(Sampling) เป็นการสร้างแบบสอบถามออนไลน์เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ชุดผลการศึกษาพบว่า (1)พบกว่ามีนักลงทุนเพศชายมากที่สุดจำนวน 222 คน คิดเป็นร้อยละ 55.5 และในลำดับต่อมาคือ เพศหญิงจำนวน 178 คน คิดเป็นร้อยละ 44.5 (2)นักลงทุนมีการเปิดรับข่าวสารผ่าน Facebook เป็นระดับสูงสุดที่ 3.67 รองลงมาคือ เว็บไซต์ 3.41 เพื่อน 3.20 Youtube 3.15 และน้อยที่สุดคือ โฆษณาในโรงภาพยนตร์ 1.60 (3)ผลการวิจัยในด้านภาพลักษณ์องค์กร พบว่า นักลงทุนให้ความสำคัญในด้านภาพลักษณ์องค์กร คิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (M = 4.16,SD 0.619) (4)ผลวิจัยในด้านทัศนคติต่อการสื่อสารนักลงทุนสัมพันธ์ พบว่า นักลงทุนให้ความสำคัญต่อ นักลงทุนสัมพันธ์ด้วยค่าเฉลี่ย 4.00(5)ผลวิจัยในด้านความตั้งใจลงทุนของนักลงทุน พบว่า นักลงทุนให้ความสำคัญต่อ ความตั้งใจลงทุนด้วยค่าเฉลี่ย 4.23


การบริหารจัดการธุรกิจละครข้ามชาติในอุตสาหกรรมสื่อไทย, ชวนา สุทธินราธร Jan 2021

การบริหารจัดการธุรกิจละครข้ามชาติในอุตสาหกรรมสื่อไทย, ชวนา สุทธินราธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษากลยุทธ์และการบริหารจัดการธุรกิจละครข้ามชาติขององค์กรผู้ให้บริการเนื้อหาในประเทศไทย รวมถึงอุปสรรคและแนวโน้มในอนาคตของธุรกิจดังกล่าวในอุตสาหกรรมสื่อไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารจากองค์กรสื่อที่ดำเนินธุรกิจละครข้ามชาติ 6 ราย และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อข้ามชาติ 2 ราย ผลการศึกษาพบว่า องค์กรผู้ให้บริการเนื้อหาในประเทศไทยไม่ว่ารายใหญ่หรือรายย่อยต่างให้ความสำคัญกับตลาดผู้ชมต่างประเทศ เป้าประสงค์ในการดำเนินธุรกิจเป็นไปเพื่อแสวงหารายได้และฐานผู้ชมที่ใหญ่ขึ้น โอกาสทางธุรกิจและการต่อยอดความสำเร็จ รวมถึงเสริมสร้างอำนาจอ่อนให้แก่ประเทศ ปัจจัยด้านการเมือง เทคโนโลยี วัฒนธรรมและกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก เป็น 4 ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการกำหนดกลยุทธ์อุตสาหกรรมสื่อไทยในภาพรวมมีจุดเด่นอยู่ที่บุคลากรที่มีความสามารถและเทคโนโลยีการผลิตที่ได้รับการยอมรับ รูปแบบการดำเนินธุรกิจมีทั้งการซื้อขายลิขสิทธิ์ละคร การผลิตร่วมและการรับจ้างผลิต ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นสอดคล้องไปกับเป้าประสงค์ คือ องค์กรมีการเติบโตในแง่ของรายได้และฐานผู้ชม อีกทั้งยังได้รับการยอมรับจากตลาดเนื้อหาสากล ทว่าก็ยังมีอุปสรรคจากระบบเซนเซอร์ของประเทศจีนที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การสนับสนุนจากภาครัฐที่ไม่ต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม ข้อจำกัดทางงบประมาณและรสนิยมที่แย้งกันระหว่างผู้ชมภายในและต่างประเทศ ทั้งนี้ ธุรกิจละครข้ามชาติเป็นธุรกิจที่มีความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เนื่องจากขึ้นอยู่กับหลากหลายตัวแปร เมื่อประกอบกับการขาดการผลักดันที่เป็นรูปธรรมจากภาครัฐ จึงทำให้การเติบโตขององค์กรสื่อไทยในธุรกิจนี้ไม่แข็งแรงนัก


กลวิธีการเล่าเรื่องฉากเลิฟซีนในละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยม, ญาดา วิภาดาพรพงษ์ Jan 2021

กลวิธีการเล่าเรื่องฉากเลิฟซีนในละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยม, ญาดา วิภาดาพรพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง "กลวิธีการเล่าเรื่องฉากเลิฟซีนในละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยม" มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษากลวิธีการเล่าเรื่องและการสื่อความหมายของฉากเลิฟซีนในละครโทรทัศน์ไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างละครโทรทัศน์ทั้งหมด 3 เรื่อง คือ สวรรค์เบี่ยง คลื่นชีวิต และ ปีกหงส์ ผลการวิจัยพบกลวิธีการสื่อสารฉากเลิฟซีนผ่านองค์ประกอบการเล่าเรื่อง ดังนี้ 1) แก่นเรื่องหลักคือทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้ด้วยการพูดคุยกันอย่างไม่ใช้อคติ ประกอบกับการดำเนินเรื่องด้วยความแค้นของตัวละครเอกฝ่ายชาย นำมาซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นในฉากเลิฟซีน 2) โครงเรื่อง ใช้การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นจุดเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ (Turning Point) ของตัวละครเอกฝ่ายชายฝ่ายหญิง และถูกใช้เป็นเครื่องมือการแก้แค้นที่รุนแรงที่สุด 3) ตัวละคร คือ ตัวละครเอกฝ่ายชายเป็นผู้ที่เต็มไปด้วยความแค้น ตัวละครเอกฝ่ายหญิงเป็นคนดีและอ่อนโยน จึงทำให้ฉากเลิฟซีนที่เริ่มต้นด้วยตัวละครเอกฝ่ายชายที่เป็นอารมณ์เชิงลบมีแต่ความโกรธแค้น แตกต่างจากฉากเลิฟซีนที่เริ่มต้นด้วยตัวละครเอกฝ่ายหญิงที่เป็นอารมณ์เชิงบวก เกิดจากความรัก และพบการสื่อความหมายของฉากเลิฟซีน 2 ลักษณะ คือ 1) ฉากเลิฟซีนที่สื่อความหมายเชิงบวก เช่น เกิดจากความรัก ความห่วงใย เป็นต้น 2) ฉากเลิฟซีนที่สื่อความหมายเชิงลบ เช่น เกิดจากความโกรธ ความแค้น เป็นต้น โดยใช้ภาพที่มีแสง และโทนสีสว่าง โดยเฉพาะสีขาวที่แสดงถึงความบริสุทธิ์ ประกอบกับเพลงประกอบละครและดนตรีที่มีจังหวะช้าเพื่ออธิบายและเน้นอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครเอกทั้งสองฝ่ายด้วยความรักโรแมนติก เพื่อลดทอนความรุนแรงที่เกิดขึ้นในฉากเลิฟซีนนั้น


การใช้แฮชแท็กบนโซเชียลมีเดีย, ณฐมน โพธา Jan 2021

การใช้แฮชแท็กบนโซเชียลมีเดีย, ณฐมน โพธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษา (1) วัตถุประสงค์การใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมในไทย ได้แก่ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม (2) แฮชแท็กในโซเชียลมีเดียแต่ละแพลตฟอร์ม และ (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน จากการสำรวจด้วยแบบสอบถามผู้ใช้แฮชแท็กจำนวน 423 คน วิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้แฮชแท็กส่วนใหญ่ใช้มากกว่า 1 แพลตฟอร์ม โดยใช้แฮชแท็กในทวิตเตอร์มากที่สุด รองลงมา คือ เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม วัตถุประสงค์การใช้แฮชแท็กมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้โซเชียลมีเดีย คือ การตอบสนองด้านข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งวัตถุประสงค์การใช้แฮชแท็กยังสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ทั้งสิ้น 10 ด้าน ได้แก่ การค้นหาและติดตามข้อมูล สนับสนุนบุคคลที่ชื่นชอบ การจัดการข้อมูล การกระจายเนื้อหาและเข้าถึงผู้คนจำนวนมาก ประโยชน์ทางธุรกิจและการซื้อขายสินค้า ความสนุกสนานและตลกขบขัน การแสดงความคิดเห็น การสร้างความสัมพันธ์ การนำเสนอตนเอง สื่อความหมายและทดแทนอวัจนภาษา ซึ่งผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มจะให้รายละเอียดเพิ่มเติมในแต่ละประเด็น ด้านความแตกต่างระหว่างแพลตฟอร์ม การใช้แฮชแท็กในทวิตเตอร์จะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะและความสนใจส่วนบุคคล ขณะที่การใช้แฮชแท็กในอินสตาแกรมเป็นข้อมูลที่เน้นตนเองเป็นหลัก ส่วนเฟซบุ๊กเป็นการใช้แฮชแท็กในเชิงข้อมูลเกี่ยวกับคนรู้จักและการเน้นข้อความ นอกจากนี้พบว่าผู้ใช้แฮชแท็กตัดสินใจเลือกใช้แฮชแท็กจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง สังคม ลักษณะแฮชแท็ก และการรองรับของแพลตฟอร์ม ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า แม้ว่าแฮชแท็กจะถือกำเนิดจากการจัดระเบียบข้อมูล แต่ผลการศึกษาพบว่าการใช้แฮชแท็กสามารถตอบสนองการใช้ประโยชน์ที่หลากหลายตามทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพการใช้เครื่องมือสื่อสาร เพื่อตอบสนองความต้องการของตนในแต่ละด้าน


รูปแบบและประสิทธิผลของการสื่อสารการตลาดแบบอไจล์, ณพัฒน์ เอี่ยมยิ่ง Jan 2021

รูปแบบและประสิทธิผลของการสื่อสารการตลาดแบบอไจล์, ณพัฒน์ เอี่ยมยิ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่ออธิบายรูปแบบและประสิทธิผลของการสื่อสารการตลาดแบบอไจล์ 2) เพื่อสำรวจมุมมองของนักสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับรูปแบบและประสิทธิผลของการสื่อสารการตลาดแบบอไจล์ โดยมีขั้นตอนการวิจัยเริ่มจากการสัมภาษณ์นักวิชาชีพและนักวิชาการด้านการสื่อสารการตลาด จำนวน 30 คน ประกอบกับการวิเคราะห์เอกสาร หลังจากนั้นใช้การวิจัยเชิงสำรวจเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือนักสื่อสารการตลาดที่มีประสบการณ์ อย่างน้อย 1 ปี จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบอไจล์ มีลักษณะปรับเปลี่ยนยืดหยุ่นตามการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคและสถานการณ์ตลาด ทีมการตลาดสามารถทำงานได้อย่างอิสระ ใช้ข้อมูลขับเคลื่อนผ่านช่องทางการสื่อสารแบบผสมผสานตามวัตถุประสงค์ของโครงการ พร้อมติดตามผลและนำผลกลับมาตรวจสอบเพื่อพัฒนาการสื่อสารให้ดีขึ้น โดยมีกระบวนการ 5 ขั้นตอนแบบวนซ้ำ ได้แก่ 1) การลำดับความสำคัญงาน 2) การสกรัม 3) การวางแผนระยะเวลาของการสื่อสาร 4) การตรวจสอบความถูกต้อง และ 5) การหยุดคิดเพื่อพิจารณา สามารถทำควบคู่กับแผนงานแบบเดิม หรือ ตั้งทีมแยกสำหรับโครงการที่มีความรู้เฉพาะต่างกัน ประสิทธิผลประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเข้าถึงและสนับสนุน 2) ด้านการรับรู้และการเติบโตของยอดขาย 3) ด้านการกระทำและการตอบรับของผู้บริโภค 4) ด้านการเปิดรับเนื้อหา 5) ด้านความสนใจและใช้เวลากับข้อมูล 6) ด้านทักษะการทำงานเชิงกระบวนการ มุมมองของนักสื่อสารการตลาด แบ่งได้ออกเป็น 4 มุมมอง ได้แก่ 1) การสื่อสารการตลาด แบบอไจล์เสริมสร้างแบรนด์อย่างรวดเร็ว 2) ทิศทางของการสื่อสารการตลาดแบบอไจล์สู่กลยุทธ์การสื่อสารสมัยใหม่ 3) รูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบอไจล์ปรับสู่รูปแบบออนไลน์ เชื่อมโยงกับเส้นทางของผู้บริโภค 4) ตรงจุดคล่องตัวและจัดเรียงการทำงานของทีมอไจล์อย่างรวดเร็ว


อิทธิพลของคุณค่าตราสินค้าศิลปินนักร้องและคุณค่าตราสินค้าของสินค้าต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, ณัฐวิชช์ อนันต์ชัยธนกุล Jan 2021

อิทธิพลของคุณค่าตราสินค้าศิลปินนักร้องและคุณค่าตราสินค้าของสินค้าต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, ณัฐวิชช์ อนันต์ชัยธนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณค่าตราสินค้าศิลปินนักร้อง คุณค่าตราสินค้าของสินค้า และพฤติกรรมผู้บริโภค (ได้แก่ การรับรู้ภาพลักษณ์ของตราสินค้า ทัศนคติต่อตราสินค้า ความผูกพันต่อตราสินค้า และความตั้งใจซื้อ) และ 2) อิทธิพลของคุณค่าตราสินค้าศิลปินนักร้องและคุณค่าตราสินค้าของสินค้า ต่อพฤติกรรมผู้บริโภค โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่าง อายุระหว่าง 20 – 30 ปี จำนวน 415 คน แบ่งเป็น ผู้ที่ชื่นชอบศิลปิน The Toys 201 คน และศิลปินนนท์ ธนนท์ 214 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณค่าตราสินค้าศิลปินนักร้อง คุณค่าตราสินค้าของสินค้า และพฤติกรรมผู้บริโภคของผู้ติดตามศิลปิน The Toys และศิลปินนนท์ ธนนท์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยคุณค่าตราสินค้าศิลปินนักร้อง มีอิทธิพลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของตราสินค้า ทัศนคติต่อตราสินค้า และความผูกพันต่อตราสินค้าของผู้ติดตามศิลปิน The Toys และคุณค่าตราสินค้าศิลปินนักร้อง มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อ ทั้งผู้ติดตามศิลปิน The Toys และศิลปินนนท์ ธนนท์ และคุณค่าตราสินค้าของสินค้า มีอิทธิพลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของตราสินค้า ทัศนคติต่อตราสินค้า ความผูกพันต่อตราสินค้า และความตั้งใจซื้อของทั้งตราสินค้า Wall's และตราสินค้า Nestle นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบว่า มิติของตัวแปรคุณค่าตราสินค้าศิลปินนักร้องของศิลปิน The Toys ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคทั้ง 4 ด้าน มากที่สุดคือ ความไว้วางใจได้ ส่วนมิติความมุ่งมั่นของตัวแปรคุณค่าตราสินค้าศิลปินนักร้องของศิลปินนนท์ ธนนท์ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคทั้ง 4 ด้าน มากที่สุด และมิติของตัวแปรคุณค่าตราสินค้าของตราสินค้า Wall's ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคทั้ง 4 ด้าน มากที่สุดคือ ความภักดีในตราสินค้า ส่วนมิติการตระหนักรู้และการเชื่อมโยงตราสินค้าของตัวแปรคุณค่าตราสินค้าของตราสินค้า Nestle มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคทั้ง 4 ด้าน


การออกแบบกระบวนการเรียนรู้สำหรับแฟนคลับเพื่อแก้ปัญหาการทำให้ไอดอลหญิงเป็นวัตถุทางเพศ, ทรรศิกา สมใจ Jan 2021

การออกแบบกระบวนการเรียนรู้สำหรับแฟนคลับเพื่อแก้ปัญหาการทำให้ไอดอลหญิงเป็นวัตถุทางเพศ, ทรรศิกา สมใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปรากฏการณ์การทำให้ไอดอลหญิงเป็นวัตถุทางเพศ โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ไอดอลหญิง นักกิจกรรม นักวิชาการ และแฟนคลับ เพื่อออกแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการทำให้เป็นวัตถุทางเพศในไอดอลหญิงสำหรับแฟนคลับ แล้วนำไปทดลองใช้กับแฟนคลับเพื่อประเมินผลและปรับปรุง ผลการวิเคราะห์ปรากฏการณ์การทำให้ไอดอลหญิงเป็นวัตถุทางเพศ พบว่า วาทกรรมเพศสภาพ บรรทัดฐานรักต่างเพศ ปิตาธิปไตย วัฒนธรรมอำนาจนิยม ทุนนิยม บุคคลสาธารณะ และเทคโนโลยีและพื้นที่ออนไลน์ ทำงานร่วมกันเป็นจิ๊กซอว์แห่งความรุนแรงที่ทำให้ไอดอลหญิงกลายเป็นวัตถุทางเพศ ในการนำผลการวิเคราะห์ปรากฏการณ์การทำให้ไอดอลหญิงเป็นวัตถุทางเพศมาออกแบบกระบวนการเรียนรู้ มีเป้าหมายคือ 1) สร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการทำให้เป็นวัตถุทางเพศในไอดอลหญิง 2) ทำให้เห็นโครงสร้างความรุนแรงทางเพศ และเข้าใจการกดขี่ทางเพศที่ไอดอลหญิงต้องพบเจอ และ 3) สร้างรูปแบบการติดตามในวัฒนธรรมไอดอลที่จะไม่ทำให้ไอดอลหญิงเป็นวัตถุทางเพศจากประสบการณ์และความคิดเห็นของแฟนคลับ โดยเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่อยู่บนวัฒนธรรมอำนาจร่วม (Power Shared) เพื่อการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ โดยกระบวนการเรียนรู้ ภายหลังการปรับปรุง ประกอบด้วย 8 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม O.O.O (Odd One Out) กิจกรรม Gender Frame กิจกรรม History กิจกรรม Her Story กิจกรรม In Your Position กิจกรรม Mirror กิจกรรม What is Love และกิจกรรม Rewrite the story ใช้เวลา 2 วันหรือประมาณ 10 ชั่วโมงตลอดกิจกรรม


ความเป็นวีรชนคนสามัญในละครไทยพีบีเอส, ทัศนีย์ มากคล้าย Jan 2021

ความเป็นวีรชนคนสามัญในละครไทยพีบีเอส, ทัศนีย์ มากคล้าย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง “ความเป็นวีรชนคนสามัญในละครไทยพีบีเอส” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การสร้างสรรค์ความเป็นวีรชนคนสามัญในละครไทยพีบีเอส และ 2) วิเคราะห์ลักษณะความเป็นวีรชนคนสามัญที่ปรากฏในละครไทยพีบีเอส โดยใช้การวิเคราะห์ตัวบท (textual analysis) จากละครไทยพีบีเอสจำนวน 7 เรื่อง ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สร้างสรรค์และผู้ควบคุมการผลิตละครไทยพีบีเอส นักวิชาการ และการสนทนากลุ่มกับตัวแทนสภาผู้ชมผู้ฟังไทยพีบีเอส ผลการวิจัยพบว่าการสร้างสรรค์ความเป็นวีรชนคนสามัญในละครไทยพีบีเอสมักนำเสนอในรูปแบบละครยาวแนวชีวิตและอิงประวัติศาสตร์ มักมีโครงสร้างการเล่าเรื่องแบบไม่เรียงลำดับเหตุการณ์ จุดเริ่มต้นในการออกเดินทางต่อสู้ของวีรชนคนสามัญแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 1) เห็นผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน 2) ตนเองได้รับความเดือดร้อน วัตถุประสงค์การต่อสู้ ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม และ 2) ท้าทายและต่อต้านค่านิยมหรือกฎเกณฑ์อันไม่ชอบธรรมในสังคม ลักษณะวีรชน คนสามัญในละครไทยพีบีเอสมักมีความเป็นมนุษย์ที่สมจริง มีตัวละครฝ่ายสนับสนุน 3 ประเภท ได้แก่ 1) ครอบครัว 2) เพื่อนหรือเพื่อนร่วมงาน และ 3) ผู้ทรงภูมิความรู้หรือนักบวช ส่วนตัวละครผู้ร้ายมักมิใช่ผู้ร้ายตามขนบ ได้แก่ 1) ผู้มีอำนาจทางการปกครอง 2) ผู้บังคับบัญชา 3) ครอบครัว และ 4) ผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจ ส่วนความขัดแย้งที่พบแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ความขัดแย้งกับสังคม และ 2) ความขัดแย้งภายในจิตใจของตนเอง ในด้านฉากการต่อสู้ของวีรชนคนสามัญมักเกิดในที่ทำงานและที่บ้านเป็นหลัก ส่วนจุดจบของวีรชนคนสามัญแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ 1) สานต่อความฝันหรือการผจญภัยบทใหม่ 2) กลับถิ่นฐานบ้านเกิด และ 3) ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต นอกจากนี้ยังพบว่าคุณลักษณะสำคัญที่เป็นจุดร่วมของวีรชนคนสามัญในละครไทยพีบีเอส คือความกล้าหาญเสียสละเพื่อคนในสังคมและที่สำคัญคือการเอาชนะอุปสรรคภายในหรือจิตใจฝ่ายต่ำของตนเองไปให้ได้ ส่วนลักษณะการต่อสู้เป็นการสู้โดยปราศจากอาวุธ อีกทั้งวีรชนคนสามัญในละครไทยพีบีเอสมักมีทุกเพศทุกวัยและปรากฏอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย


การโหยหาอดีตผ่านเพลงไทยสากลในยุค ’90s, ธัญพร เฮงวัฒนอาภา Jan 2021

การโหยหาอดีตผ่านเพลงไทยสากลในยุค ’90s, ธัญพร เฮงวัฒนอาภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาและสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์โหยหาอดีตผ่านเพลงไทยสากลในยุค ’90s ในสังคมไทย, พฤติกรรมการสื่อสารที่แสดงถึงการโหยหาอดีตและการสร้างเนื้อหาขึ้นเองของผู้ฟังที่นิยมเพลงไทยสากลยุค ’90s, กระบวนการสื่อความหมายของการโหยหาอดีตผ่านเนื้อหาต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตสื่อบันเทิงสร้างขึ้นโดยมีเพลงไทยสากลยุค ’90s เป็นองค์ประกอบ รวมถึงศึกษาการสร้างเนื้อหาและพฤติกรรมการสื่อสารที่แสดงถึงการโหยหาอดีต ที่ศิลปินนักร้องในยุค ’90s และศิลปินยุคปัจจุบันมีต่อแฟนเพลง ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยแหล่งข้อมูลประเภทเอกสาร การใช้ข้อมูลเชิงชาติพันธุ์วรรณาจากประสบการณ์ของผู้วิจัย การสัมภาษณ์เชิงลึก และการเข้าสังเกตการณ์แบบเปิดเผยและมีส่วนร่วม โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับการโหยหาอดีต แนวคิดเกี่ยวกับเนื้อหาที่ผู้บริโภคสร้างเอง และแนวคิดเกี่ยวกับการผลิตสื่อเพื่อความรู้สึกโหยหาอดีต เป็นกรอบในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ความรู้สึกโหยหาอดีตผ่านเพลงไทยสากลในยุค ’90s เกิดจากมิติปัจเจกบุคคล ได้แก่ การมีบทบาทหน้าที่เพิ่มขึ้นตามวัยจนรู้สึกโหยหาความสดใสและความเป็นอิสระในอดีต และมิติทางสังคม ได้แก่ สภาพการณ์บ้านเมืองและสภาวะโดยรวมของโลกที่ทำให้รู้สึกไม่มีความสุขเหมือนในอดีต ความรู้สึกที่เกิดขึ้นประกอบไปด้วย การโหยหาตัวตนในอดีตและภาพประสบการณ์ส่วนตัว การโหยหาถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องในอดีต การโหยหาสภาพสังคม การโหยหาการเปิดรับสื่อ และการโหยหาลักษณะของเพลงไทยสากลในยุค ’90s โดยกลุ่มผู้รับสารจะแสดงออกถึงความรู้สึกเหล่านี้ผ่านพฤติกรรมการใช้สื่อต่าง ๆ ในปัจจุบัน ซึ่งนำไปสู่การสร้างเนื้อหาที่ผู้บริโภคสร้างเอง ที่มีบทบาทอย่างยิ่งในกระบวนการสร้างสรรค์สื่อบันเทิง ส่วนผู้ผลิตสื่อมีวิธีสร้างเนื้อหาเพื่อสื่อความหมายของการโหยหาอดีต ได้แก่ “Remaster” หรือ การปรับปรุงของเดิมให้สดใหม่ “Remake” หรือ การสร้างเนื้อหาใหม่จากโครงสร้างเดิม และ “Reboot” หรือ การสร้างเนื้อหาใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน สำหรับกลุ่มศิลปินนักร้องเพลงไทยสากลในยุค ’90s มีพฤติกรรมการสื่อสารเพื่อความรู้สึกโหยหาอดีต ได้แก่ การรักษาความเป็นตัวตน การรักษาและพัฒนาความสามารถ และการรักษาความสัมพันธ์กับแฟนเพลง ในขณะที่กลุ่มศิลปินนักร้องในปัจจุบันนิยมใช้การแสดงตัวตนที่เป็นเด็กยุค ’90s หรือมีประสบการณ์ชีวิตที่เกี่ยวข้องกับเพลงไทยสากลในยุค ’90s มาก่อน ซึ่งความหมายของความโหยหาอดีตจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม มีทั้งความสอดคล้องและขัดแย้งกัน.


รูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับสื่อ และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมสร้างสุขภาพและชะลอวัยของกลุ่มผู้บริโภคที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ, ปภัสสร บูรณมานัส Jan 2021

รูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับสื่อ และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมสร้างสุขภาพและชะลอวัยของกลุ่มผู้บริโภคที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ, ปภัสสร บูรณมานัส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายรูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มผู้บริโภคที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ และเพื่อสำรวจการเปิดรับสื่อและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมสร้างสุขภาพและชะลอวัยของกลุ่มผู้บริโภคที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ โดยงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 50-59 ปี จำนวน 530 คน ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มผู้ที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ แบ่งได้เป็น 13 รูปแบบ ได้แก่ 1) กลุ่มคนชอบเที่ยวแบบชิลล์ ๆ 2) กลุ่มไฮเทค กระฉับกระเฉง 3) กลุ่มใส่ใจสุขภาพ การดูแลตนเอง 4) กลุ่มรักสวยรักงามรักการแต่งตัว 5) กลุ่มใช้ชีวิตบนเน็ต 6) กลุ่มความคิดก้าวหน้า 7) กลุ่มรักการอยู่บ้าน 8) กลุ่มสุขภาพ รักการออกกำลังกาย 9) กลุ่มสายบุญ 10) กลุ่มคนรักอิสระ 11) กลุ่มคนพิจารณากับการใช้จ่าย 12) กลุ่มชีวิตอนาล็อก และ 13) กลุ่มการทำงานคือชีวิตจิตใจ กลุ่มตัวอย่างเปิดรับสื่อเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมสร้างสุขภาพและชะลอวัยผ่านช่องทางสื่อโดยรวมอยู่ในระดับน้อย มีเพียงการเปิดรับสื่อผ่านช่องทางสื่อใหม่ เช่น ยูทูบ แอปพลิเคชันชอปปิง ที่อยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าการเปิดรับสื่อโดยรวมมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมสร้างสุขภาพและชะลอวัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้ เป็นความสัมพันธ์เชิงบวกและอยู่ในระดับต่ำ


ปัจจัยพยาการณ์ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงของกลุ่มผู้บริโภค, พรรณวดี หิรัญศุภโชค Jan 2021

ปัจจัยพยาการณ์ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงของกลุ่มผู้บริโภค, พรรณวดี หิรัญศุภโชค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจการเปิดรับสื่อ ทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดและทัศนคติต่อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตาของผู้บริโภค 2) เพื่อสำรวจการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตาของผู้บริโภค และ 3) เพื่ออธิบายอิทธิพลของการเปิดรับสื่อ ทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดและทัศนคติต่อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตาที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตาของผู้บริโภค เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือแบบสอบถามจากกลุ่มผู้บริโภคที่เคยมีประวัติซื้อสินค้าหรือใช้บริการด้านการเสริมดวงชะตา 400 คน ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 24 – 41 ปี อยู่ระดับปริญญาตรี เป็นพนักงานบริษัทเอกชนและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในระดับ 15,001 – 30,000 บาท สำหรับพฤติกรรมด้านการซื้อสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตา ส่วนใหญ่ใช้บริการการดูดวง อยู่ที่ 3 – 5 ครั้งต่อเดือน ค่าใช้จ่ายต่อครั้งอยู่ที่ 300 – 500 บาท โดยเน้นวัตถุประสงค์ในเรื่องความรัก ส่วนใหญ่มีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตา จากเพื่อนฝูง ครอบครัว คนใกล้ตัว และตัดสินใจซื้อและใช้บริการด้วยตัวเอง มีการเปิดรับสื่อข่าวสารข้อมูลด้านช่องทางการเปิดรับสื่อออนไลน์และออฟไลน์ และทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดของสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตา ในด้านประเภทของสื่อที่เปิดรับ, ด้านช่องทางการเปิดรับสื่อ, ด้านเนื้อหาการเปิดรับสื่อ ในระดับมากทั้งหมด ด้านทัศนคติต่อสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตา ในด้านความรู้ความเข้าใจ และด้านอารมณ์ความรู้สึก อยู่ในระดับเห็นด้วยมากทั้งหมด เช่นเดียวกันกับการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตาพบว่าเห็นด้วยในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ช่วงอายุที่แตกต่างกันส่งผลต่อทัศนคติต่อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตาที่แตกต่างกัน และปัจจัยพยากรณ์ด้านทัศนคติต่อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตามีอิทธิพลต่อการมีการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตา ส่วนปัจจัยพยากรณ์ด้านการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับสินค้าและบริการด้านการเสริมดวงชะตาไม่มีอิทธิพลต่อการมีการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเสริมดวงชะตา


อิทธิพลของปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, ปีย์รติ กายสิทธิ์ Jan 2021

อิทธิพลของปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, ปีย์รติ กายสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ ทัศนคติ (ได้แก่ ทัศนคติต่อรายการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ และทัศนคติต่อตราสินค้า) พฤติกรรมของผู้บริโภค (ได้แก่ การซื้อซ้ำ ความพึงพอใจ การตั้งใจแนะนำ และการตั้งใจติดตาม) 2) อิทธิพลของปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค และ 3) อิทธิพลของทัศนคติ ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 25-40 ปี ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์จากการรับชมรายการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา แบ่งเป็นตราสินค้า Amado 220 คน และตราสินค้า Madame Fin 211 คน รวมทั้งหมด 431 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์โดยรวม และทัศนคติของผู้บริโภคตราสินค้า Amado และตราสินค้า Madame Fin แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่พฤติกรรมผู้บริโภคทั้งสองตราสินค้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ ปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ทั้ง 3 ด้าน มีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้บริโภคทั้งด้านทัศนคติต่อรายการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ และทัศนคติต่อตราสินค้า และปัจจัยความเชื่อในการขายสินค้าตรงทางโทรทัศน์ทั้ง 3 ด้าน ยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งด้านการซื้อซ้ำ ความพึงพอใจ การตั้งใจแนะนำ และการตั้งใจติดตาม นอกจากนี้ ทัศนคติของผู้บริโภคยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคตราสินค้า Amado และ Madame Finเช่นกัน


การเปิดรับสื่อ แรงจูงใจ จิตสำนึกสาธารณะ และความตั้งใจในการบริจาคโลหิตในช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด19, ภัครดา อิ่มสุขศรี Jan 2021

การเปิดรับสื่อ แรงจูงใจ จิตสำนึกสาธารณะ และความตั้งใจในการบริจาคโลหิตในช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด19, ภัครดา อิ่มสุขศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งศึกษาการเปิดรับสื่อ แรงจูงใจ จิตสำนึกสาธารณะที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการบริจาคโลหิตในช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด19 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลทั่วไปที่มีอายุระหว่าง 18 – 60 ปี ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถตัดสินใจบริจาคโลหิตได้ด้วยตัวเอง จำนวน 360 คน ทำการวิเคราะห์สถิติโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษา พบว่า เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ผู้บริจาคโลหิตจะมีความถี่ในการบริจาคโลหิตลดจำนวนลง การเปิดรับสื่อเกี่ยวกับการบริจาคโลหิตมีความสำคัญในระดับมาก เนื่องจากทำให้เห็นว่า เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสังคม เชื่อว่ากิจกรรมการรับบริจาคโลหิตที่พบในสื่อเป็นการนำโลหิตไปใช้ประโยชน์แก่ป่วยจริง แรงจูงใจภายในเกี่ยวกับการบริจาคโลหิตมีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด เนื่องจากการรู้สึกสงสารผู้ป่วยที่ขาดแคลนโลหิต รู้สึกดีที่ได้ทำประโยชน์ด้วยการบริจาคโลหิต และรู้สึกว่าโลหิตในประเทศมีความขาดแคลนจึงต้องร่วมช่วยเหลือ ส่วนจิตสำนึกสาธารณะมีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเห็นว่าโลหิตที่บริจาคจะถูกนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยในอนาคต เชื่อว่าการบริจาคโลหิตเป็นการช่วยเหลือผู้อื่น และคิดว่าการบริจาคโลหิตเป็นการช่วยเหลือสังคมส่วนรวม เมื่อทำการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การเปิดรับสื่อ จิตสำนึกสาธารณะ และแรงจูงใจภายในมีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการบริจาคโลหิตในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาถึงระดับความสำคัญ พบว่า การเปิดรับสื่อ (Beta เท่ากับ .419) และจิตสำนึกสาธารณะ (Beta เท่ากับ .374) มีความสำคัญต่อความตั้งใจในการบริจาคโลหิตในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด19


แนวทางการยกระดับภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญไทยสู่การเป็นสินค้าของประเทศ, รัตน์ฤดี ปิ่นแก้ว Jan 2021

แนวทางการยกระดับภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญไทยสู่การเป็นสินค้าของประเทศ, รัตน์ฤดี ปิ่นแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานการณ์และปัจจัยแวดล้อมของภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญไทย เพื่อนำเสนอแนวทางในการสนับสนุนภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญในฐานะสินค้าของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย ผ่านการค้นคว้าและวิเคราะห์เอกสาร ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากตัวแทนผู้สร้างภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญไทยที่ประสบความสำเร็จในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรเพื่อเป็นกรณีศึกษา คือ ภาพยนตร์เรื่อง ‘ร่างทรง’ ภาพยนตร์เรื่อง ‘ปริศนารูหลอน’ และซีรีส์เรื่อง ‘เด็กใหม่ 2’ รวมถึงสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถสะท้อนภาพรวมตามวัตถุประสงค์ในการศึกษา ผลการวิจัยพบว่าภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญไทยได้สร้างปรากฏการณ์ความนิยมในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ การมีรากฐานความเชื่อต่อสิ่งลี้ลับที่ใกล้เคียงกับคนไทย อีกทั้งอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีผลต่ออำนาจในการซื้อสินค้าและบริการ รวมถึงความเข้มงวดของกฎหมายเซ็นเซอร์ในชาติมุสลิมที่ทำให้ภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญไทยได้เปรียบในการส่งออกสู่ประเทศนั้น และที่สำคัญคือการขยายตัวของสื่อออนไลน์สตรีมมิงที่ผู้ใช้งานสามารถเปิดรับเนื้อหาได้หลากหลายจากทั่วโลก ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญไทยเดินทางข้ามเส้นแบ่งพรมแดนได้อย่างอิสระ อย่างไรก็ตามภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญยังคงขาดนโยบายในการส่งเสริมด้านการส่งออกจากภาครัฐ และการมองถึงการแข่งขันในตลาดต่างประเทศของภาคเอกชน ทั้งนี้การยกระดับภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญไทยจะต้องตระหนักถึงปัจจัยสำคัญใน 3 ด้าน​ คือ ด้านการผลิตและออกฉาย ด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ และด้านบุคลากร หากได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสม ย่อมส่งผลให้ภาพยนตร์และซีรีส์สยองขวัญสามารถแข่งขันในตลาดโลกตามกรอบแนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน


ทัศนคติและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลที่มีต่อตราสินค้าเครื่องสำอางที่มีบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นเจ้าของในประเทศไทยและต่างประเทศ, สิรีธร ศิวายพราหมณ์ Jan 2021

ทัศนคติและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลที่มีต่อตราสินค้าเครื่องสำอางที่มีบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นเจ้าของในประเทศไทยและต่างประเทศ, สิรีธร ศิวายพราหมณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยส่วนแรกเป็นการวิเคราะห์เอกสารจากบัญชีผู้ใช้อย่างเป็นทางการของตราสินค้าเครื่องสำอางไทยและต่างประเทศ บนช่องทางเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม จำนวน 373 ชิ้น เพื่อวิเคราะห์การสื่อสารการตลาดของตราสินค้าเครื่องสำอาง และการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มมิลเลนเนียล อายุ 26-38 ปี จำนวน 400 คน เพื่อสำรวจ อธิบายความสัมพันธ์และความแตกต่างของลักษณะทางประชากร ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค ผลการวิเคราะห์เอกสารพบว่า ตราสินค้าเครื่องสำอางไทยและต่างประเทศมีการสื่อสารการตลาดที่มีเนื้อหาเพื่อแจ้งให้ทราบมากที่สุด นิยมใช้โทนสีแบบสดใส ฉากประกอบแบบสตูดิโอ และบุคคลที่มีชื่อเสียงในลักษณะถ่ายแบบ ทั้งนี้พบว่าตราสินค้าไทยจะมีลักษณะการให้ข้อมูลที่ละเอียดมาก ในขณะที่ตราสินค้าต่างประเทศจะมีการให้ข้อมูลที่ละเอียดน้อย ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับของทัศนคติในด้านเนื้อหาเพื่อให้ความรู้ และการให้ข้อมูลที่ละเอียดมากมากที่สุด โดยผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดออนไลน์ และทัศนคติต่อตราสินค้าเครื่องสำอางไทยและต่างประเทศ มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อีกทั้งอายุและรายได้ ส่งผลต่อทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดออนไลน์ และเพศ อายุ และรายได้ ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ อีกทั้งทัศนคติต่อตราสินค้าเครื่องสำอางไทยและทัศนคติต่อตราสินค้าเครื่องสำอางต่างประเทศ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความชื่นชอบ ด้านความซื่อสัตย์ และด้านการรับรู้อำนาจ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


อิทธิพลของความน่าเชื่อถือของวีทูบเบอร์และสตรีมเมอร์ที่มีต่อความตั้งใจซื้อเกมของผู้ชมทั่วไปและโอตาคุ, อภิญญา สุรกานนท์ Jan 2021

อิทธิพลของความน่าเชื่อถือของวีทูบเบอร์และสตรีมเมอร์ที่มีต่อความตั้งใจซื้อเกมของผู้ชมทั่วไปและโอตาคุ, อภิญญา สุรกานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อหาปัจจัยของความน่าเชื่อถือที่สามารถทำนายความตั้งใจซื้อเกมของผู้ชมทั่วไปและโอตาคุ (2) เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความน่าเชื่อถือของวีทูบเบอร์และสตรีมเมอร์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อเกมในกลุ่มโอตาคุและผู้ชมทั่วไป โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้ความน่าเชื่อถือ (ความเชี่ยวชาญในการเล่นเกม ความน่าดึงดูดใจ ความไว้วางใจ) ของวีทูบเบอร์และสตรีมเมอร์เป็นปัจจัยที่ใช้ในการทำนายความตั้งใจซื้อเกมในกลุ่มผู้ชมทั่วไปและกลุ่มโอตาคุ ผู้วิจัยเลือก วีทูบเบอร์ Aisha Channel และสตรีมเมอร์ zbing z เป็นตัวแทนในงานวิจัย ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้เทคนิคการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นโอตาคุ 200 คน และ ผู้ชมทั่วไป 200 คน และใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Survey Monkey) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความน่าเชื่อถือต่อความตั้งใจซื้อของวีทูบเบอร์และสตรีมเมอร์ในกลุ่มผู้ชมทั่วไปและกลุ่มโอตาคุมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า องค์ประกอบสำคัญสำหรับการเพิ่มความตั้งใจซื้อเกมของ Aisha Channel ในกลุ่มผู้ชมทั่วไป คือ ความเชี่ยวชาญในการเล่นเกม และความน่าดึงดูดใน และกลุ่มโอตาคุ คือ ความเชี่ยวชาญในการเล่นเกม และความไว้วางใจ องค์ประกอบสำคัญสำหรับการเพิ่มความตั้งใจซื้อเกมของ zbring z. ในกลุ่มผู้ชมทั่วไป คือ ความน่าดึงดูดใจ และกลุ่มโอตาคุ คือ ความน่าดึงดูดใจและความไว้วางใจ


อิทธิพลของการออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชันต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภค, สุธาทิพย์ มีสุวรรณ Jan 2021

อิทธิพลของการออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชันต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภค, สุธาทิพย์ มีสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน ความรู้สึกของผู้บริโภค (ได้แก่ อารมณ์ ทัศนคติต่อการใช้งานโมไบล์แอปพลิเคชัน ทัศนคติต่อตราสินค้า และความไว้วางใจได้) และประสบการณ์ของผู้บริโภค (ได้แก่ ความพึงพอใจ ความถี่ในการซื้อ และความภักดีต่อการใช้งานโมไบล์แอปพลิเคชัน) และ 2) อิทธิพลของการออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน ต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ จาก 1) กลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 20 – 39 ปี ที่มีการดาวน์โหลดและเคยซื้อสินค้าผ่านโมไบล์แอปพลิเคชันของตราสินค้า UNIQLO อย่างน้อย 1 ครั้ง ในระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 325 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 20 – 39 ปี ที่มีการดาวน์โหลดและเคยซื้อสินค้าผ่านโมไบล์แอปพลิเคชันของตราสินค้า H&M อย่างน้อย 1 ครั้ง ในระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 242 คน รวมทั้งหมด 567 คน ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟส ความรู้สึกของผู้บริโภค และประสบการณ์ของผู้บริโภคตราสินค้า UNIQLO และตราสินค้า H&M แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสำหรับตราสินค้า UNIQLO การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน ในมิติของสุนทรียศาสตร์ในการออกแบบ และการรับรู้ถึงความมีประโยชน์ มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภคมากที่สุด ขณะที่การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน ในมิติของการรับรู้ถึงความเพลิดเพลิน มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านโมไบล์แอปพลิเคชันของตราสินค้า H&M มากที่สุด


Domestic Customers' Perceived Value Toward Thai Cultural Products, Krittanan Deedenkeeratisakul Jan 2021

Domestic Customers' Perceived Value Toward Thai Cultural Products, Krittanan Deedenkeeratisakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As Thai cultural identity is one of the remarkable assets in Thai culture and has gained wider attention, there is a growing trend for the market to capture domestic customers' behavior. This study investigates consumers' value perceptions and their intentions to purchase Thai cultural products by extending the theory of consumption value through four values that influence perceived value of product attitude, which also affect purchase intention and customer satisfaction. Online Survey data from 412 people in Thailand were used to test the hypotheses, and content analysis of 9 in-depth interviewees was used to understand the product's perceptions better. The …


Cost-Effectiveness Analysis Of Managed Care For Osteoporotic Hip Fractures, Benchaporn Kotnarin Jan 2021

Cost-Effectiveness Analysis Of Managed Care For Osteoporotic Hip Fractures, Benchaporn Kotnarin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Osteoporotic fracture patients are still unidentified, untreated for osteoporosis. This group of patients is likely to have recurrent fractures and has more morbidity, these problems put a burden on the high cost of taking care of patients and poor clinical outcomes. The intervention for improving the quality of osteoporosis treatment, King Chulalongkorn Memorial Hospital (KCMH) calls “Managed care”. Managed care has an orthopedist who plays a crucial role in fragility fracture and long-term osteoporosis treatment. The purpose of this study is to access the cost-effectiveness of managed care for patients aged 50 years and over with osteoporotic hip fractures compared …


ปัจจัยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเส้นทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี, ศรัญญู จันทร์วงศ์ Jan 2021

ปัจจัยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเส้นทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี, ศรัญญู จันทร์วงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง "ปัจจัยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเส้นทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา ชุมชนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี" ในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณกับการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อ 1) เพื่อศึกษาทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรีที่สามารถนำมาต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่มและกิจกรรมทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตัวแทนชุมชนและสมาชิกในชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี 3) เพื่อเสนอแนะปัจจัยที่นำไปสู่แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรีในอนาคต ผลการศึกษา พบว่า 1) ทุนทางวัฒนธรรมมีความสอดคล้องและเอื้อให้สามารถให้เกิดกระบวนการที่ดำเนินให้เกิดการพัฒนา โดยสามารถใช้ปัจจัยภายในชุมชนนำเสนอและยกระดับให้เกิดการสร้างแรงจูงใจนักท่องเที่ยวชาวไทย 2) การมีส่วนร่วมในชุมชนมีการให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวค่อนข้างน้อย เนื่องจากการจัดงานดำเนินการโดยกลุ่มแกนนำเป็นส่วนมาก ทำให้สมาชิกในชุมชนส่วนหนึ่งมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในระดับน้อย ทางด้านศักยภาพของชุมชนมีความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวชาวไทยในระดับที่ดี ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดแล้ว สังคมและชุมชน 3) แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเส้นทางวัฒนธรรมที่ต้องอาศัยการจัดการที่ดีและความมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เนื่องจากชุมชนมีทิ้งจุดเด่นและจุดที่ต้องปรับปรุงของชุมชนที่สามารถพัฒนาไปเป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และกระตุ้นเศรษฐกิจภายในชุมชนไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น โดยในชุมชนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรีมีปัจจัยอยู่ 4 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านการจัดการ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านการเข้าถึงและปัจจัยด้านสถานที่ท่องเที่ยว


สงครามจิตวิทยาของอังกฤษในมลายา 1948 ถึง 1960, เมลีซา อับดุลเลาะห์ Jan 2021

สงครามจิตวิทยาของอังกฤษในมลายา 1948 ถึง 1960, เมลีซา อับดุลเลาะห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทำสงครามต่อต้านการก่อความไม่สงบของอังกฤษในมลายา ได้รับการยอมรับจากผู้ที่ศึกษาเรื่องสงครามต่อต้านการก่อความไม่สงบในปัจจุบันว่า เป็นการรับมือกับสงครามนอกแบบที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากรัฐบาลอังกฤษในมลายารู้จักปรับตัวและสร้างวิธีคิดชุดใหม่ ที่มุ่งให้ความสำคัญกับนโยบายทางการเมืองเป็นหลัก วิทยานิพนธ์นี้วิเคราะห์ให้เห็นว่าการทำปฏิบัติการสงครามจิตวิทยาในมลายาถือเป็นเงื่อนไขทางการเมืองอันโดดเด่นที่ส่งผลให้รัฐบาลอังกฤษได้รับชัยชนะในสงครามดังกล่าว ผ่านแนวคิดการทำปฏิบัติการสงครามจิตวิทยาของ เซอร์ โรเบิร์ต ทอมสัน บทเรียนสำคัญจากการทำสงครามต่อต้านการก่อความไม่สงบในมลายา ชี้ให้เห็นว่าการใช้กำลังไม่ใช่ทางออกสำหรับการทำสงคราม หากแต่เป็น “การขจัดองค์กรของศัตรู” ผ่านปฏิบัติการสงครามจิตวิทยา ในขณะเดียวกันสงครามในมลายายังพิสูจน์ให้เห็นว่า มาตรการทางจิตวิทยา อย่างการโฆษณาชวนเชื่อในรูปแบบการใช้ใบปลิวประชาสัมพันธ์นโยบายการมอบตัวและข้อเสนอของรัฐบาล เป็นเครื่องมือที่สามารถโน้มน้าวให้กลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐเข้ามามอบตัวและให้ความร่วมมือกับรัฐบาลเป็นจำนวนมาก จนสามารถทำลายองค์กรของศัตรูได้อย่างมีนัยสำคัญ กระทั่งจำนวนลดน้อยลงมาก จนกองกำลังที่เหลือต้องถอยออกไปยังเขตชายแดนมลายา-ไทย ทำให้รัฐบาลอังกฤษสามารถยุติสงครามดังกล่าวได้ภายในเวลาเพียง 12 ปี


การเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันของระบบสาธารณสุขประเทศแคนาดาอันเป็นผลจากการรับมือโรคระบาดระหว่างไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ (H1n1) และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19), พรนภัส วรรัตนานุรักษ์ Jan 2021

การเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันของระบบสาธารณสุขประเทศแคนาดาอันเป็นผลจากการรับมือโรคระบาดระหว่างไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ (H1n1) และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19), พรนภัส วรรัตนานุรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเกิดขึ้นของโรคระบาดส่งผลสำคัญต่อระบบสาธารณสุขของประเทศแคนาดาในฐานะที่เป็นสถาบันหนึ่งที่คงอยู่มาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญที่เข้ามาสั่นคลอนความมีเสถียรภาพของระบบสาธาณสุขซึ่งหยั่งรากลึกเชิงโครงสร้างมาจนถึงปัจจุบันส่งผลให้สถาบันดังกล่าวต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับโรคระบาดที่เกิดขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในระบบสาธารณสุขของแคนาดาเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปซึ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายเพื่อเตรียมพร้อมตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน โดยเรียกการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวว่า ‘การเปลี่ยนแปลงแบบเบี่ยงเบน (Institutional Drift)’ การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่าระบบสาธารณสุขของประเทศแคนาดาไม่มีความพร้อมในการรับมือกับโรคระบาดมาตั้งแต่ต้นและทำได้เพียงรับมือสถานการณ์แบบเฉพาะหน้าเท่านั้น บทความนี้ทำการศึกษาระบบสาธารณสุขของประเทศแคนาดาผ่านกรอบทฤษฎีเส้นทางการพัฒนาของสถาบัน (Path dependence) และการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบัน (Institutional change) โดยมีการเปรียบเทียบการรับมือกับโรคระบาด 2 โรค ในช่วงเวลาที่ต่างกันระหว่างโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ (H1N1) และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19)


ความสัมพันธ์ระหว่างสติ การยอมรับ ความเข้าใจในไตรลักษณ์และความสามารถในการฟื้นพลังของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี, เตชภณ ภูพุฒ Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างสติ การยอมรับ ความเข้าใจในไตรลักษณ์และความสามารถในการฟื้นพลังของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี, เตชภณ ภูพุฒ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสามารถในการฟื้นพลัง คือความสามารถของบุคคลในการก้าวผ่านสภาวะทุกข์ทางใจและปรับตัวกลับเป็นปกติหลังประสบกับเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต เป็นคุณลักษณะทางจิตวิทยาเชิงบวกที่นักจิตวิทยามุ่งศึกษาเพื่อเข้าใจปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดความสามารถในการฟื้นพลัง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่พบการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสติ การยอมรับ ความเข้าใจในไตรลักษณ์ และความสามารถในการฟื้นพลังในตัวบุคคล ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่าง สติ การยอมรับ ความเข้าใจในไตรลักษณ์ ที่ทำนายระดับความสามารถในการฟื้นพลังในนิสิตนักศึกษา โดยในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 172 คน มีอายุเฉลี่ย 21.5 ปี (SD = 1.61) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบไปด้วย (1) มาตรวัดสติ (Freiburg Mindfulness Inventory: FMI) (2) มาตรวัดการยอมรับ (Acceptance and Action Questionnaire) มาตรวัดความเข้าใจในไตรลักษณ์ (Mindful Insight Scale) และ 4) มาตรวัดความสามารถในการฟื้นพลัง โดยกรมสุขภาพจิต ผลการวิจัยสรุปได้ว่าสติ การยอมรับ และความเข้าใจในไตรลักษณ์ ต่างมีสหสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความสามารถในการฟื้นพลัง และ สติ การยอมรับและความเข้าใจในไตรลักษณ์ร่วมกันทำนายระดับความสามารถในการฟื้นพลังในตัวบุคคลได้ที่ R2 = .433 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผลการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ โดยองค์ความรู้ที่ได้รับสามารถต่อยอดเป็นแนวทางสำหรับพัฒนาเครื่องมือหรือโปรแกรมกลุ่มเพื่อพัฒนาระดับความสามารถในการฟื้นพลังในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในโอกาสต่อไป อนึ่งผลการวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง สติ การยอมรับ ความเข้าใจในไตรลักษณ์ ที่ทำนายระดับความสามารถในการฟื้นพลังในนิสิตนักศึกษา ดังนั้นการอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากรอื่นที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน พึงทำด้วยความระมัดระวัง


ประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่ให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์, เมย์ลภัส บุญสิทธิ์วิจิตร Jan 2021

ประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่ให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์, เมย์ลภัส บุญสิทธิ์วิจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่ให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 6 ราย มีเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง คือ มีประสบการณ์ให้การปรึกษาไม่ต่ำกว่า 2,000 ชั่วโมง โดยมีประสบการณ์การให้การปรึกษารูปแบบวีดีโอ ผลการวิจัยสามารถแบ่งได้ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ลักษณะการรับรู้ประสบการณ์ในการให้บริการจิตวิทยาการปรึกษาออนไลน์ พบว่า นักจิตวิทยาคิดเปรียบเทียบการให้บริการรูปแบบออนไลน์กับรูปแบบพบหน้า การประเมินประโยชน์และข้อจำกัดของจิตวิทยาการปรึกษาออนไลน์ และมีระดับการยอมรับบริการรูปแบบออนไลน์ที่หลากหลาย (2) จุดเน้นในกระบวนการจิตวิทยาการปรึกษาออนไลน์ พบว่ามีการให้ความสำคัญต่อ การปรับสภาวะจิตใจ การเตรียมพื้นที่ที่เหมาะสม การจัดเตรียมอุปกรณ์ และการเตรียมแก่ผู้รับบริการ (3) อุปสรรคของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในรูปแบบออนไลน์ พบอุปสรรคทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายใน อาทิ สถานที่รับบริการไม่มีความเป็นส่วนตัว ความไม่เชี่ยวชาญในอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสาร สัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่เสถียร ความเหนื่อยล้าทางร่างกาย การรับรู้อวัจนภาษาที่จำกัด ความยากในการใช้เทคนิคจิตวิทยาการปรึกษาผ่านออนไลน์ การขาดการเชื่อมโยงอารมณ์ความรู้สึกที่ลึกซึ้งผ่านจอภาพ (4) กระบวนการรับมือแก้ไขปัญหาผ่านการยอมรับในข้อจำกัดและใช้ทรัพยากรที่มีในการแก้ไขและป้องกัน โดยอาศัยความรู้ประสบการณ์ด้านจิตวิทยาการปรึกษาและศาสตร์อื่น